เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 17
  พิมพ์  
อ่าน: 83652 โปรตุเกสเข้าเมือง
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 30 เม.ย. 11, 09:41

ท่าน NAVARAT อธิบายเรื่องทหารรับจ้างโปรตุเกสได้ชัดเจนเห็นภาพ     ดิฉันไม่มีอะไรจะเพิ่ม นอกจากเอาศัพท์มาบอกให้รู้กัน เผื่อไปเห็นในหนังสือ
พวกนี้ เรียกว่า Soldier of Fortune   แปลเป็นไทยง่ายๆว่านักเผชิญโชค      อีกชื่อหนึ่งคือ  mercenary = ทหารรับจ้าง  หรือเรียกกว้างๆว่า  adventurer = นักผจญภัย   ก็ได้
ไม่จำเป็นต้องเป็นทหารมาก่อน    แต่ต้องอดทนสำบุกสำบัน และเอาตัวรอดเก่ง    
นักผจญภัยชาวยุโรปที่ซัดเซพเนจรไปอยู่ตามประเทศต่างๆ มีอยู่หลายยุคหลายสมัย  เช่นกองทหารต่างด้าวของคนยุโรปในแอฟริกาเหนือสมัยยังเป็นอาณานิคม      ทหารรับจ้างบางคนก็ไม่ได้ลำบากลำบนอะไรนัก แต่ไปรับจ้างเป็นทหารในประเทศอื่นรายได้ดีกว่าทำงานอยู่ในบ้านเมือง   สมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่ ๒  ชายสวิสที่ไม่ได้รบเพราะประเทศอยู่เป็นกลางไม่มีการรบ   ก็ไปรับจ้างรบกับประเทศนั้นประเทศนี้ก็มี

โปรตุเกสรับจ้างพม่ารบไทย  รับจ้างไทยรบพม่า  รับจ้างเขมรรบไทย  รับจ้างไทยรบเขมร   ฯลฯ  ถ้าไม่ตายเสียก่อน ก็ได้สตางค์ลูกเดียว
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 30 เม.ย. 11, 09:45

ต่อเรื่องจับปิ้งอีกนิดนึง

พอเห็นต้นศัพท์ดังกล่าว ผมก็ตื่นเต้นเล็กน้อย สมัยนี้สงสัยใคร่รู้อะไรเข้าเวปแพร๊บเดียวก็รู้เรื่อง ผมจึงรีบเอาคำว่า chapinhaไปค้นหาในกูเกิลต่อ หวังจะได้รูปจับปิ้งของแท้ของโปรตุเกสเอามาฝาก
 
แต่รูปทั้งหมดที่เจอ กลับกลายเป็นไอ้เจ้าข้างล่างนี่ ไทยแปลจากคำภาษาอังกฤษมาตรงๆว่า เครื่องดัดผม

ผมก็ไม่รู้ภาษาโปรตุเกสแม้กระจิ๊ดเดียว ไม่สามารถจะค้นต่อได้ว่า เจ้าเครื่องดัดผมมือถือเนี่ย มันจะเป็นคำแผลงมาจากจับปิ้งได้อย่างไร มีผมตรงนั้นสักเส้นให้ดัดที่ไหน

เชิญท่านอื่นต่อครับ


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 30 เม.ย. 11, 09:47

พลิกตัวไม่ทัน .. ยิงฟันยิ้ม มาจับปิ้งเสียแล้ว เลยบรรณาการ จับปิ้งสมัยรัชกาลที่ ๕ อีกแบบซึ่งไม่ได้เป็นลวดถัก

จับปิ้งนิยมสวมให้กับเด็กหญิงใช่ไหมครับ สำหรับเด็กชายจะไม่ใส่แต่ให้คล้องปลัดขิกเล็กๆที่เอวไว้แทน


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 30 เม.ย. 11, 09:51


“จับปิ้ง” คนสมัยนี้คงไม่รู้จักกันแล้ว แม้คนสมัยผมจะเคยเห็นตอนเด็กๆ ก็ไม่เคยเห็นชาวกรุงแท้จะใส่ให้ลูก นอกจากพวกที่ย้ายถิ่นฐานจากต่างจังหวัดเข้ามากลิ่นอายชาวกรุงยังไม่ติดตัวนัก จึงพอได้เห็นเด็กผู้หญิงสองสามขวบห้อยจับปิ้งไว้ที่เอวด้านหน้ากันโป๊ พ่อแม่ปล่อยให้วิ่งเล่นอยู่ในตรอกในซอย แต่เวลาไปทำบุญสงกรานต์ทุกปีที่วัดปรมัย ปากเกล็ดซึ่งเป็นถิ่นของชาวมอญ จะเห็นเด็กๆห้อยจะปิ้งกันแทบจะทุกบ้าน ก็หน้าร้อนสมัยก่อน เขาไม่นิยมนุ่งผ้ากัน


จับปิ้ง เห็นจะเป็นของธรรมดาสำหรับชาวกรุงในสมัยคุณแม่ดิฉัน   ส่วนยุคดิฉัน   เกิดมาก็ไม่เคยเห็นญาติพี่น้องผู้หญิงวัยเดียวกันใส่กันเลยสักคน  ในบ้านก็ไม่มี   แต่จำได้ว่าเคยเห็นวางขายอยู่ในร้านเก่าๆ ขายพวกเครื่องเงิน    คุณแม่ชี้ให้ดูว่าเป็นจับปิ้ง หรือเรียกแบบชาวบ้านว่าตะปิ้ง
เมื่อเรียนจบไปเป็นอาจารย์   ลูกศิษย์หนุ่มๆสาวๆ   จัดงานเลี้ยงกันในมหาวิทยาลัย แต่งตัวกันสวยงาม  มีคนหนึ่งสวมสร้อยคอคล้ายรูปข้างล่างนี้     ครูเห็นเข้าแทบช็อค    จะบอกกลางงานก็ไม่ได้  แต่ก็สบายใจว่า คนทั้งงานไม่รู้หรอกว่ามันคืออะไร 


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 30 เม.ย. 11, 10:03

ต่อเรื่องจับปิ้งอีกนิดนึง

พอเห็นต้นศัพท์ดังกล่าว ผมก็ตื่นเต้นเล็กน้อย สมัยนี้สงสัยใคร่รู้อะไรเข้าเวปแพร๊บเดียวก็รู้เรื่อง ผมจึงรีบเอาคำว่า chapinhaไปค้นหาในกูเกิลต่อ หวังจะได้รูปจับปิ้งของแท้ของโปรตุเกสเอามาฝาก
 
แต่รูปทั้งหมดที่เจอ กลับกลายเป็นไอ้เจ้าข้างล่างนี่ ไทยแปลจากคำภาษาอังกฤษมาตรงๆว่า เครื่องดัดผม

ดิฉันก็ตามหาจับปิ้งโปรตุเกสอีกคนเหมือนกันเพราะอยากเห็น    เจอเครื่องดัดผม   เอาคำนี้ส่งให้กูเกิ้ลแปลเป็นอังกฤษ  ได้มาหลายคำ แต่ยังไม่เจออะไรที่คล้ายจับปิ้ง  ฝากคุณ siamese คุณเพ็ญชมพู หรือคุณ DD หากันต่อไป
ก็ยังสงสัยว่าจับปิ้งมันใช้ได้กับประเทศที่อากาศร้อนพอเด็กเล็กๆจะวิ่งเปลือยกายได้    มีอะไรปิดร่างกายไว้นิดเดียวกันอุจาด    แต่โปรตุเกสเป็นประเทศหนาว   ต้องนุ่งห่มมิดชิด  จะผลิตจับปิ้งไว้หาประโยชน์อันใด


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 30 เม.ย. 11, 10:04

ชุดทหารโปรตุเกสเมื่อประมาณ 400 ปีก่อน ถ้าหมวกเกราะ คงจะใกล้เคียงกัน

- เกราะพร้อมเครื่อง
- หมวกโล่ห์หนังติดแถบเป็นลวดลายงาม พร้อมสายสะพายบ่าปักดิ้น 1 โล่ห์
- เสื้อเกราะทำด้วยกำมะหยี่และต่วนสีต่างๆ
 ภาพนี้ก็ตรงกับสิ่งที่ทูตนำมาถวายครับ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 30 เม.ย. 11, 10:21

^
ภาพสวยมากค่ะ   คงจะโก้มากทีเดียวในสายตาชาวอยุธยา

ไหนๆออกทะเลไปเรื่องจับปิ้ง  ก่อนกลับเข้าฝั่งมาหาทหารโปรตุเกส   ขอจับปลาสักตัวในทะเลมาฝากกันก่อน

ดิฉันยังนึกภาพจับปิ้งโปรตุเกสไม่ออกว่าจะใช้ในโอกาสไหนยังไง  เพราะอย่างที่บอก คือเป็นเมืองหนาว   เด็กโปรตุเกสวิ่งตัวเปล่าๆตามถนนคงปอดบวม  หรือถึงไม่บวมก็ไม่ใช่ธรรมเนียมของพวกเขาที่จะเปลือยกายให้ใครเห็น แม้แต่ในบ้าน
แต่มีอะไรอย่างหนึ่งที่ผู้หญิงยุโรปสวม  เพื่อปกป้องอวัยวะ     เรียกว่า chastity belt  หรือเข็มขัดพรหมจารี   เคยอธิบายไว้ในกระทู้เก่าเรือนไทยที่ไหนสักกระทู้      เข็มขัดนี้ผู้หญิงสวมไว้เพื่อป้องกันมิให้ผู้ชายล่วงเกินทางเพศ   ในยุคกลาง เมื่ออัศวินทั้งหลายจะไปสงครามครูเสดยาวนานนับปีๆ  ก็สวมเข็มขัดให้ภรรยา   แล้วเอากุญแจไขเข็มขัดติดตัวไปด้วย     รับรองว่าปลอดภัยหายห่วง  ไม่ต้องกลัวว่าชายอื่นจะมาฉุดคร่าหรือตีท้ายครัว    สามีกลับมาเห็นเข็มขัดยังสวมอยู่บนร่างภรรยาก็โล่งใจ ว่าเธอไม่มีชู้แน่
ถ้าดัดแปลง chastity belt มาเป็นจับปิ้ง ก็พอจะเข้าเค้า     แต่ถ้าบอกว่าโปรตุเกสมีจับปิ้งใช้แบบไทยสมัยก่อน   ยังนึกภาพไม่ออกค่ะ


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 30 เม.ย. 11, 10:28

ผมมีความเห็นเรื่อง จับปิ้ง
๑. ตามความเห็นของ อ.เทาชมพู ด้วยว่าชาวโปรตุเกสเป็นเมืองหนาว
๒. อาจจะเป็นการเรียกของภาษาโปรตุเกส ที่ได้มาเจอกับของสิ่งนี้ในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ (ฝรั่งเขามีแต่เป็นเหล็กถักในชุดเกราะ โรมัน)
๓. ถ้าวัฒนธรรมโปรตุเกสมี อย่างน้อยต้องเห็นกระจายตามแหล่งเมืองขึ้น (นึกถึงการประดับประดา เครื่องห้อย ...อินเดีย..)
๔. ในภาพเขียนสีน้ำมันโปรตุเกส ภาพเด็กน้อย น่าจะมีบ้าง ทั้งในโปรตุเกสและสเปน


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 30 เม.ย. 11, 10:40

รอยอินท่านสะกดรอยไปแค่ว่ามาจากภาษามลายู ยังไม่ไปไกลถึงโปรตุเกส

จะปิ้ง น. เครื่องปิดของลับของเด็กหญิง ทําด้วยเงิน ทอง หรือนาก เป็นต้น, กระจับปิ้ง จับปิ้ง ตะปิ้ง หรือ ตับปิ้ง ก็เรียก. (ม.); แผ่นโลหะที่ติดฝาหีบสําหรับลั่นกุญแจ, ใช้เรียกสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายกัน เช่น จะปิ้งหูกลอง จะปิ้งห่วงประตู.

ฤๅว่าอาจารย์พิทยะจะเห็นคำว่า chaping หน้าตาคล้าย chapinha จึงสรุปเช่นนั้น

 ฮืม
 
 
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 30 เม.ย. 11, 10:49

เด็กหญิงโปรตุเกสยุคพระไชยราชา แต่งกายกันแบบนี้ค่ะ  เอาผ้าจีบรอบคอออกไป ก็จะเห็นเสื้อแขนยาวและกระโปรงยาว  ไม่ได้สอดคล้องกับจับปิ้ง

เห็นคล้อยตามคุณเพ็ญชมพู

อ้างถึง
ฤๅว่าอาจารย์พิทยะจะเห็นคำว่า chaping หน้าตาคล้าย chapinha จึงสรุปเช่นนั้น


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 30 เม.ย. 11, 11:14

ไม่นึกว่าจับปิ้งอันนิดเดียวจะพาขบวนล่าโปรตุเกสพลัดพรากจากเป้าหมายจนออกทะเลไปไกลถึงเพียงนี้
ต้องแสดงความรับผิดชอบพาเข้าฝั่งสักหน่อย
เอ…เราถึงไหนกันแล้วนั่น

อ้างถึง
อยุธยาก็เลยมีทหารโปรตุเกสร่วมในกองทัพด้วย 120 คน สมเด็จพระไชยราชาธิราชทรงจ้างเป็นทหารรักษาพระองค์ (bodyguards)พวกนี้เองได้สอนให้ชาวสยามรู้จักใช้ปืนใหญ่

ปืนใหญ่ยุคต้นที่ฝรั่งพุทธเกศเอามาขายและถ่ายทอดเทคโนโลยี่ให้ เป็นปืนที่เรียกว่า muzzle loading cannon หรือปืนใหญ่แบบบรรจุกระสุนทางปลายปากกระบอก
 
ปืนเช่นนี้ยืนยงมาหลายศตวรรษ กว่าจะสามารถหล่อปืนที่เปิดและปิดทางท้ายกระบอกเพื่อความสะดวกในการบรรจุกระสุน แล้วต้องปลอดภัยด้วย ไม่ใช่พอลั่นตูมแล้วเกิดการเป็นbackfire คนยิงทั้งปวงเละเทะระเนระนาด


ปืนที่ฝรั่งพุทธเกศเอามาขายนั้น ไทยก็ใช้เทคโนโลยี่ของการหล่อพระพุทธรูป ลอกแบบออกมาเหมือนกัน แต่ถ้าเป็นกระบอกเล็กๆก็พอได้อาศัย แต่พอใหญ่ขึ้นมาหน่อยก็ระแวง คงจะกระบอกแตกเวลายิงมาแล้ว อย่างว่า โลหะที่นำมาผสมหล่อเป็นปืน ซึ่งเรียกว่าสัมฤทธิ์นั้น คุณสมบัติของแต่ละวัสดุที่ใช้อาจจะไม่นิ่ง ทำให้ความแข็งแรงไม่ได้ตามปรารถนา สุดท้ายก็ซื้อฝรั่งดีกว่า

รู้สึกว่าปรัชญาในการหาอาวุธมาใช้ในกองทัพที่ปฏิบัติมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยานี้ ยังอยู่ยงคงกระพันมาจนสมัยปัจจุบันทีเดียว


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 30 เม.ย. 11, 11:18

ปืนใหญ่ของโปรตุเกสที่ขุดได้ที่อยุธยา เป็นปืนใหญ่ในยุคหลังๆแล้วก็จริง แต่ก็ยังบรรจุกระสุนทางปากกระบอกเช่นเดียวกับรุ่นแรกที่เอามาขาย


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 30 เม.ย. 11, 11:29

กลไกของปืนใหญ่ชนิดนี้ก็ง่ายๆ
จะยิงแต่ละครั้งก็ทำได้โดย

๑ กรอกดินปืนลงไป ให้พอดีสำหรับจะเป็นชนวนด้วย
๒ ดินปืน ถ้าน้อยไปก็ยิงไม่ถึงเป้าหมาย แรงไป กระบอกอาจแตกได้
๓ เอาเศษผ้าหรือฝ้ายทำเป็นหมอน กระทุ้งลงไปอัดดินปืนให้แน่น
๔ ใส่กระสุน งานหนักหน่อย เพราะทำด้วยเหล็ก มันหนักจริงๆ
๕ ใส่หมอนอีกชั้นหนึ่ง กระทุ้งให้แน่น แล้วจุดสายชนวนยิงได้

ภาพเล็กกับภาพใหญ่กลับด้านกันนะครับ ดูแล้วอย่าสลับสับสน ผมไม่ได้ประดิษฐ์ภาพเหล่านี้ขึ้นเอง ขอยิ้มเขามาให้ท่านดูทั้งน้าน



บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 30 เม.ย. 11, 11:38

กลไกของปืนใหญ่ชนิดนี้ก็ง่ายๆ
จะยิงแต่ละครั้งก็ทำได้โดย

๔ ใส่กระสุน งานหนักหน่อย หนักจริงๆ

เคยเห็นกระสุนโบราณ มีทั้งแบบลูกเหล็ก ขนาดเท่าลูกกอล์ฟ ใหญ่จนลูกตะกร้อ ส่วนที่เป็นหิน-ดินเผา ก็ทำหลายขนาด เคยเห็นใหญ่ ย่อมๆลูกนิมิตยังเคยเห็น ท่าทางเวลา load กระสุนคงเหนื่อยน่าดู  ยิ้มกว้างๆ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 30 เม.ย. 11, 11:46

อ่านจากที่ท่าน NAVARAT เล่า  แสดงว่าปืนใหญ่แบบนี้ยิงได้ทีละลูก   ยิงไปแล้วต้องบรรจุดินปืนและกระสุนใหม่   ถ้าเป็นเช่นนั้น พระเจ้าแผ่นดินก็ต้องสั่งซื้อหลายๆกระบอก    กระบอกเดียวยิงไม่ทันแน่

ปืนใหญ่แบบนี้หรือเปล่าคะ  ที่ก่อนเสียกรุงครั้งที่ ๒  พระยาวชิรปราการหรือพระเจ้าตาก ยิงโดยพลการไม่ได้ขอพระราชานุญาต เลยโดนโทษหนักเพียงแต่ยกไว้    สาเหตุจริงๆไม่น่าจะเป็นเสียงปืนกึกก้องจนพระสนมแสบหูทนไม่ไหว  น่าจะเป็นเพราะขาดแคลนดินปืนและกระสุนด้วยหรือเปล่า
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 17
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.043 วินาที กับ 20 คำสั่ง