เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9 ... 17
  พิมพ์  
อ่าน: 83630 โปรตุเกสเข้าเมือง
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 90  เมื่อ 01 พ.ค. 11, 21:54

ขยายความก่อน กันงง

คำว่าStrait ปกติก็แปลว่าช่องแคบในทะเล ถ้าเป็นช่องแคบสากลใช้ในการเดินเรือนานาชาติมักจะใส่sเป็นพหูพจน์เป็น Straits (แต่จะใส่หรือไม่ใส่ ฝรั่งเองก็มั่วน่าดู) ในมาเลเซียมีช่องแคบมะละกา หรือ Straits of Malacca และ Straits of Singapore ซึ่งอยู่ระหว่างเกาะสิงคโปร์และเกาะสุมาตราของอินโดนีเซีย เมื่ออังกฤษเข้ามาเป็นจ้าวเข้าครองแถบนี้ในปี1826 ได้เรียกอาณานิคมนี้ว่า Straits Settlements ซึ่งมีความหมายรวมทั้งสิงคโปร มะละกา(ที่ยึดไปจากโปรตุเกส) และปินัง อันเป็นที่ตั้งสาขาของบริษัทอินเดียตะวันออกที่อยู่ภายใต้การบริหารเดียวกัน สมัยนี้คำดังกล่าวกร่อนลงเหลือแต่เพียงStraitsเฉยๆ หนังสือพิมพ์ฉบับหลักของสิงคโปร์ยังอนุรักษ์ชื่อ The Straits Times อยู่ในความหมายเดียวกับ The London Times หรือ The New York Times โดยไม่ยักยอมใช้ว่า The Singapore Times




บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 91  เมื่อ 01 พ.ค. 11, 22:00

ส่วนคำว่า Eclectic Style เป็นภาษาของนักออกแบบ มีความหมายว่า เอาไอ้โน่นนิด ไอ้นี่หน่อยที่ดีๆเอามาผสมกัน เป็นของๆตัว
“Straits” Eclectic Style เป็นคำที่พวกจีนมาเลย์บัญญัติขึ้นสำหรับสถาปัตยกรรมลูกผสม ที่คนจีนในภูมิภาคช่องแคบมะละกา ลอกแบบกันไปลอกแบบกันมาในช่วงเวลาร้อยกว่าปี เกิดเป็นรูปแบบที่ไม่ใช่จีนในแผ่นดินแม่ หรือจีนโพ้นทะเลใดๆในโลก แล้วก็ไม่ใช่ฝรั่งด้วย

คิดดูแล้วก็คล้ายๆที่สยามแตกตัวมาจากขอมโดยมีวัฒนธรรมติดมาด้วย นานวันเข้าก็ค่อยๆพัฒนามาเป็นรูปแบบของตนเอง จนหลายร้อยปีให้หลังผิดจากขอมโดยสิ้นเชิง แล้วอยู่ๆเขมรมาบอกว่าของอันนี้โขมยมาจากเขมร ก็เลยต้องชกกัน


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 92  เมื่อ 01 พ.ค. 11, 22:03

ถ้ายังสงสัยอยู่ ผมจะพาท่านไปที่มะละกา อาณานิคมของโปรตุเกสในแหลมมลายูเพื่อดูว่าจะมีรูปแบบสถาปัตยกรรมฝรั่งผสมจีนอย่างไรหรือไม่

เมื่อแรกยกพลขึ้นบกเข้าตั้งที่มั่นในปี 1511 (สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่2 แห่งกรุงศรีอยุธยา)คนโปรตุเกสก็สร้างเป็นเมืองป้อมปราการขึ้นบนภูเขาเลย ไม่ได้ไว้ใจชาวเมืองที่เป็นมุสลิมหรอก ต่างคนต่างอยู่อยู่แล้ว



บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 93  เมื่อ 01 พ.ค. 11, 22:14

คนจีน เพิ่งจะมามีอิทธิพลแท้จริงในมลายู ก็มาเอาสมัยรัชกาลที่๕ เมื่ออังกฤษใช้ฮ่องกงเป็นฐาน ขนคนกวางตุ้งและฮกเกี้ยนเข้ามาเป็นแรงงานทำเหมืองดีบุกเป็นจำนวนมากมายมหาศาลจนเกิดปัญหาการเมืองระหว่างคนมาเลย์แท้ๆกับมาเลย์เชื้อสายจีนจนเข่นฆ่ากันมาแล้วในอดีตไม่กี่สิบปีที่ผ่านมา

คนจีนไม่เกี่ยวอะไรกับพวกโปรตุเกสที่มลายู แต่เกี่ยวข้องโดยตรงที่มาเก๊า ซึ่งผมจะพาไปดูในลำดับต่อไป

ดังนั้นวิวัฒนาการอาคารตึกแถวของคนจีนในมะละกา ก็เป็นไปตามอิทธิพลท้องถิ่นเหมือนเมืองที่สำคัญๆในคาบสมุทรมลายู ส่วนอาคารที่ขึ้นทะเบียนโบราณสถานในเขตยึดครองของโปรตุเกสในมะละกาก็เป็นแบบฝรั่งทั้งดุ้น มิได้มีจีนผสมอยู่เลย





บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 94  เมื่อ 01 พ.ค. 11, 22:26

มะละกา ไม่มีใครรู้จักชิโนโปรตุกีสที่คนไทยบอกว่ามีต้นกำเนิดที่นี่




บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 95  เมื่อ 01 พ.ค. 11, 22:29

เลยไปสิงคโปรกัน แถวนั้นเขาพยายามอนุรักษ์อาคารเก่าที่เหลืออยู่ หลังจากได้ทุบทิ้งไปทำตึกระฟ้ากันจนแทบจะหมดเกาะแล้ว อาคารแบบนี้เขาจะเรียกเต็มปากเต็มคำว่า“Straits” Eclectic Style Architecture




บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 96  เมื่อ 01 พ.ค. 11, 22:31

ไม่มีใครที่นั่นรู้จักชิโนโปรตุกีสเช่นกัน




บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 97  เมื่อ 01 พ.ค. 11, 22:41

มาเก๊า อันเป็นต้นกำเนิดของคำว่า Sino-Portuguese Relationship

เดิมทีโปรตุเกสได้ไปตั้งหลักแหล่งค้าขายอยู่ที่มาเก๊าเพื่อเป็นศูนย์กลางทางการค้าระหว่างโปรตุเกสกับจีน โดยในช่วงแรกเป็นการเช่าที่ดินส่วนหนึ่งจากจีนแล้วประกาศว่าดินแดน28.2 ตารางกิโลเมตรนี้เป็นจังหวัดโพ้นทะเลของโปรตุเกส (Overseas province of Portugal) โดยที่จีนไม่ได้ตอบรับ จนกระทั่งพ.ศ.2430 จีนยกดินแดนมาเก๊าให้โปรตุเกสอย่างเป็นทางการเพื่อเป็นการตอบแทนที่ โปรตุเกสอาสาจีนปราบปรามโจรสลัดที่อาละวาดในเขตทะเลจีนใต้จนราบคาบ อันเป็นที่มาของสญธิสัญญาที่เรียกว่า Sino-Portuguese Treaty



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 98  เมื่อ 01 พ.ค. 11, 22:44

ไล่กวดกระทู้มาไม่ลดละ  สู้สู้..สู้ตาย..ไว้ลาย สู้ตาย   สู้สู้


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 99  เมื่อ 01 พ.ค. 11, 22:50

^
มากันกี่คนน่ะครับ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 100  เมื่อ 01 พ.ค. 11, 22:53

แต่หลังจากที่โปรตุเกสไม่ได้เป็นมหาอำนาจทางทะเลแล้ว มาเก๊าก็หมดความหมาย การค้าทั้งหมดระหว่างจีนกับโลกภายนอกไปกระจุกตัวอยู่ที่ฮ่องกง บ้านเมืองจึงทรุดโทรมเศรษฐกิจล้มละลาย หาเศรษฐีมาอยู่มิได้ ต่อมาโปรตุเกสปิ๊งความคิดขึ้นมาได้ด้วยการเปิดให้มาเก๊าเป็นแหล่งที่เล่นการพนันได้โดยเสรี เข้าทางเศรษฐีจีนทั้งที่ฮ่องกง และจีนโพ้นทะเล พากันแห่ไปคาสิโนในมาเก๊าจนเศรฐกิจที่นั่นกระดี้กระด้าขึ้นมาพักหนึ่ง สมัยสี่ห้าสิบปีก่อน อาเสี่ยจากเยาวราชจะยกขบวนนั่งเครื่องบินไปมาเก๊าในวันศุกร์แล้วตัวเบากลับบ้านในวันอาทิตย์ ตอนหลังมาเลเซียทำเกนติ้งไฮแลนด์ขึ้นมาแข่งขัน มาเก๊าก็เสียลูกค้าแถวนี้ไปเยอะ

วันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2542 โปรตุเกสได้ส่งมอบมาเก๊าคืนแก่จีน โดยทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะใช้ระบบ “หนึ่งประเทศสองระบบ” (one country, two systems) และมาเก๊ามีสถานะเป็นเขตบริหารพิเศษของจีน



คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 101  เมื่อ 01 พ.ค. 11, 22:56

ว่ามาซะนานเพื่อจะบอกว่า สถาปัตยกรรมที่นั่น ก็ไม่ยักมีใครเอ่ยคำว่า Sino-Portuguese Style เลย




บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 102  เมื่อ 01 พ.ค. 11, 22:57

มากันหลายคนค่ะ  แต่คนอื่นยังสปีดไม่ทันเจ้าเรือน  ยิงฟันยิ้ม

ไปจอร์ชทาวน์และปีนังเมื่อปีก่อนนี้เอง  เห็นรูปแล้วอยากจะกลับไปดูอีกครั้ง   ตอนนั้นไม่รู้จักชิโนปอตุกีส  เลยเหมารวมเป็นตึกจีนไปหมด  เสียดายจริงๆ
เห็นรูปโบสถ์โปรตุเกสในมาเก๊า  ยังจำได้   เหลือแต่ผนังด้านหน้า   เป็นจุดท่องเที่ยวที่ใครไปมาเก๊าก็ต้องไปถ่ายรูป  


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 103  เมื่อ 01 พ.ค. 11, 23:10

ตกลง สถาปัตยกรรมแบบชิโนโปรตุกีส ในโลกนี้มีแต่ในภูเก็ตเท่านั้นเองคะรับท่านผู้อ่าน

แต่ก็เออ ดีไปอย่างนะครับ ออกเสียงให้นักท่องเที่ยวฟังง่ายดี
แล้วก็ออกจะดูโก้กว่าที่จะบอกว่าเป็นแบบ“Straits” Eclectic Style
อ่านออกเสียงก็ยาก ท่านอาจารย์เทาชมพูกรุณาสาธิตหน่อยเถิดครับ ออกเสียงยังไงฟังแล้ว ฝรั่งจะไม่แปลว่า"รูปแบบการไฟฟ้าของรัฐ"ไปซะงั้น
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 104  เมื่อ 02 พ.ค. 11, 08:01

อ่านออกเสียงก็ยาก ท่านอาจารย์เทาชมพูกรุณาสาธิตหน่อยเถิดครับ ออกเสียงยังไงฟังแล้ว ฝรั่งจะไม่แปลว่า"รูปแบบการไฟฟ้าของรัฐ"ไปซะงั้น

อ่านว่า เอคเคลคติค ค่ะ 
ถ้าอ่านผิดเป็นอีเล็คทริค  ก็จะเป็นสถาปัตยกรรมแบบ กฟผ. บางกรวย  หรือกฟภ.งามวงศ์วาน ไปแทน

ติดตามอ่านของท่าน NAVARAT    เกิดอยากเห็นให้ชัดๆ ว่าอาคารแบบโปรตุเกสเป็นยังไง  ก่อนจะมาเป็นแบบยำใหญ่ ผสมโน่นนิดนี่หน่อยในอุษาคเนย์    เลยไปหาตึกแถวที่ลิสบอนมาลงให้ดูกัน
รูปข้างบนคือชิโนปอร์ตุเกสที่ท่าน NAVARAT ไปรวมรวมมาให้ดู



รูปล่างทั้งสองรูป คือตึกแถวที่ลิสบอน  เมืองหลวงของโปรตุเกส  ก็พอมองเห็นเค้าที่มาของโครงสร้าง   ส่วนสีสันที่ดูตุ้งแช่ นั้นเป็นแบบจีน



บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9 ... 17
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.056 วินาที กับ 19 คำสั่ง