เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 13 14 [15] 16 17
  พิมพ์  
อ่าน: 83657 โปรตุเกสเข้าเมือง
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 210  เมื่อ 21 พ.ค. 11, 19:16

ด้วยความเคารพครับ เรื่องเหล่านี้เคยอ่านผ่านๆ แต่จำไม่ได้แล้วว่ามาจากไหนกันแน่  ร้องไห้

เหมือนกับ กิีรดังได้ยินมาว่า จับปิ้งในภาษาโปรตุเกส คำที่ออกเสียงคล้ายๆกันนี้ แปลว่า แผ่นเหล็กที่ใช้ปิดรูกุญแจครับ

อีกคำหนึ่ง ที่ กิรดังได้ิยินมาเช่นกัน คือ หลวงโกชาอิศหาก ที่อาจารย์เทาชมพูพูดถึงไปนานแล้วนั้น คำว่า อิศหาก มาจากชื่อบุคคลในพระคัมภีร์ คือ อิสอัค หรือ Isaac (อย่างไอแซค นิวตัน) แต่เป็นสำเนียงอาหรับ จะอ่านว่า อิศหากครับ

คิดว่าราชทินนาม โกชาอิศหากนี้ น่าจะเป็นของมุสลิมมะห์มากกว่าพวกล่ามโปรตุเกศที่เป็นคริสเตียนครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 211  เมื่อ 21 พ.ค. 11, 21:56

ดิฉันจำสับกันระหว่างล่ามโปรตุเกสกับล่ามมลายู    ขออภัยด้วย  คุณกุรุกุลาท้วงถูกแล้วค่ะ
เคยเขียนเป็นบทความในเรือนไทยว่า

" เมื่อตั้งกรุงธนบุรีและรัตนโกสินทร์ คนไทยเชื้อสายโปรตุเกสอพยพมาตั้งบ้านเรือนอยู่แถวตำบลกุฎีจีน ตำบลสามเสน ออกเสียงเรียกอย่างชาวบ้านว่า "ฝรั่งกฎีจีน" หรือ "ฝรั่งกระดีจีน" พวกนี้พอจะเรียนรู้ภาษาโปรตุเกสบ้างตามที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ จึงมักรับราชการในตำแหน่งที่เรียกว่า "ล่ามฝรั่ง" อยู่ในกรมท่า มีอัตราอยู่ 5 คน หัวหน้ามีราชทินนามเป็นขุนเทพวาจา รับเบี้ยหวัดปีละ 7 ตำลึง หน้าที่การงานมีน้อยมาก เพราะไทยติดต่อกับโปรตุเกสก็แต่เฉพาะการค้าขายที่เมืองมาเก๊า นานๆเจ้าเมืองจะมีหนังสือมาสักครั้งหนึ่ง

ส่วนการติดต่อค้าขายกับอังกฤษเริ่มมีขึ้นมาบ้างในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ ไม่มีล่ามไทยคนไหนพูดอังกฤษได้ นายเรืออังกฤษจึงต้องอาศัยแขกมลายูเป็นล่าม ดังนั้นการติดต่อค้าขายระหว่างรัฐบาลไทยกับเรือสินค้าอังกฤษก็ดี หรือการติดต่อทางราชการกับอังกฤษที่เกาะหมาก และสิงคโปร์ก็ดี ต้องใช้ภาษามลายูล้วนๆ


ในปลายรัชกาลที่ 3 ไวศ์รอยหรือผู้สำเร็จราชการแห่งอินเดีย มีบัญชาให้นายจอห์น ครอฟอร์ด เป็นทูตมาเจรจาติดต่อกับประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. 2364 ก็ต้องอาศัยภาษามลายูเป็นพื้นฐานการติดต่อ ปรากฏในจดหมายเหตุของครอฟอร์ด ฟังดูก็ค่อนข้างทุลักทุเล คือทูตอังกฤษเริ่มต้นด้วยการพูดภาษาอังกฤษแก่ล่ามมลายูที่พามาด้วย ล่ามแปลคำพูดจากอังกฤษเป็นภาษามลายูให้ล่ามไทยที่รู้ภาษามลายูชื่อหลวงโกชาอิศหากฟัง แล้วหลวงโกชาอิศหากจึงแปลจากภาษามลายูเป็นภาษาไทยให้เจ้าพระยาพระคลังรับทราบอีกทีหนึ่ง เมื่อเจ้าพระยาพระคลังจะตอบว่าอะไร ก็ต้องแปลย้อนกลับเป็นลำดับจากไทย มลายู และอังกฤษ กลับไปเป็นทอดๆอีกที
บันทึกการเข้า
Bidya Sriwattansarn
อสุรผัด
*
ตอบ: 8


ความคิดเห็นที่ 212  เมื่อ 30 พ.ค. 11, 13:42

ขอต้อนรับสู่เรือนไทยค่ะ
ถ้าอาจารย์นั่งในเรือนไทยไปสักพัก  สมองจะเกิดภูมิคุ้มกันเองค่ะ จากนั้นก็จะสนุกไปเอง
ขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 213  เมื่อ 30 พ.ค. 11, 13:44

อ้าว อาจารย์กลับมาแล้ว
มีเรื่องโปรตุเกสจะเล่าสู่กันฟังกับชาวเรือนไทยอีกไหมคะ   กระทู้นี้ยังไม่จำเป็นต้องจบ
บันทึกการเข้า
Bidya Sriwattansarn
อสุรผัด
*
ตอบ: 8


ความคิดเห็นที่ 214  เมื่อ 30 พ.ค. 11, 13:48

^
^
^
โปรตุเกสเข้าเมืองมาแล้ววว


ด้วยความเคารพครับ ท่านอาจารย์ Bidya Sriwattansarn
เจ๋ง สนุกดีครับว่างๆผมจะแวะมาเสวนาเพื่อความระมัดระวังในการอ้างอิงงานของผมบางส่วนครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 215  เมื่อ 10 มิ.ย. 11, 17:24

ดึงกระทู้นี้ขึ้นมาอีกครั้ง เนื่องจากได้อ่านหนังสือ สามนคร ของม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช  ท่านพูดถึงอิทธิพลของดัทช์หรือฮอลันดาในสมัยอยุธยาเอาไว้ และเอ่ยถึงโปรตุเกสอีกนิดหน่อย
จึงคิดว่าควรจะเก็บมาบันทึกไว้ในกระทู้นี้

ท่านเล่าอย่างที่พวกเราคุยกันมาในกระทู้นี้ละค่ะ   ว่าอยุธยาเริ่มติดต่อกับตะวันตก  เมื่อพระมหากษัตริย์แห่งอยุธยาทรงรับทูตโปรตุเกสที่ยึดมะละกาเอาไว้ได้     ตั้งแต่ครั้งแรกเมื่อค.ศ.  1518  ไทยก็แสดงความใจกว้างรับรองชาวตะวันตกอย่างเต็มใจ   นอกจากติดต่อค้าขายด้วยก็ยังอนุญาตให้เผยแพร่ศาสนาได้  ไม่รังเกียจเดียดฉันท์
จากโปรตุเกส  ฮอลันดาก็เข้ามาหลังค.ศ. 1600 เล็กน้อย    แต่สองชาติคือโปรตุเกสกับฮอลันดานี้คบหากับไทยต่างกัน   ม.ร.ว.คึกฤทธิ์เล่าว่าฮอลันดาก้าวร้าว  ผิดกับโปรตุเกสที่สามารถทำตัวคลุกคลีปะปนกับชาวบ้านได้อย่างสนิท  จนชาวอยุธยาไม่รู้สึกว่าผลประโยชน์ของโปรตุเกสเป็นผลประโยชน์ของคนต่างชาติ
ส่วนฮอลันดานั้นหนักไปทางแผ่อิทธิพล  จนอยุธยารู้สึกว่าเป็นอันตรายต่อความมั่นคง    จนสมเด็จพระนารายณ์หันไปคบฝรั่งเศส  เพื่อถ่วงดุลย์อำนาจของฮอลันดา  แต่ฝรั่งเศสก็หวังผลตอบแทนที่พระองค์ให้ไม่ได้ คือหวังว่าพระเจ้าแผ่นดินไทยจะหันไปนับถือคริสตศาสนา
ด้วยเหตุนี้ปลายรัชสมัย พระเพทราชาก็ปราบปรามอิทธิพลฝรั่งเศสให้สิ้นซากในอยุธยา      ปิดอาณาจักรจากฝรั่งนับแต่นั้น  แต่ว่าโปรตุเกสซึ่งมาตั้งหลักแหล่งอยู่ยาวนาน และไม่เป็นพิษเป็นภัยต่อความมั่นคง ก็ได้รับอนุญาตให้อยู่ในอยุธยา มีลูกมีหลานเป็นคนไทยเชื้อสายโปรตุเกสกันต่อมา จนสิ้นสุดอาณาจักรเมื่อพ.ศ. 2310

จบ
บันทึกการเข้า
Bidya Sriwattansarn
อสุรผัด
*
ตอบ: 8


ความคิดเห็นที่ 216  เมื่อ 23 มิ.ย. 11, 18:27

พิทยะ
ผมน้อมรับในคำวิจารณ์ข้างต้นครับ และได้ตรวจสอบจากทูตวัฒนธรรมโปรตุเกสและแล้วปรากฏว่าในช่วงอายุของเธอก็ไม่รู้จักจับปิ้ง

ได้เขียนไปถามเว็บไซต์คุณแม่(www.mum.org)ซึ่งก็ได้รับคำตอบว่า ไม่รู้จักเช่นกัน ดังนั้นในเบื้องต้นนี้ผมจึงต้องยอมรับตามข้อเสนอของทั้งสองท่านโดยดุษณี  ด้วยความขอบคุณครับผม อนึ่ง ในการเสวนาทางวิชาการเรื่อง Spice, trade and sacred ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อ 21 มิย. 54 ผมก็ได้อ้างถึงข้อถกเถียงนี้ในhttp://www.reurnthai.comด้วยความชื่นชมเช่นเดียวกัน
ขอแสดงความนับถือ
พิทยะ ศรีวัฒนสาร
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 217  เมื่อ 23 มิ.ย. 11, 18:41

อ้างถึง
ในการเสวนาทางวิชาการเรื่อง Spice, trade and sacred ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อ 21 มิย. 54

อาจารย์จะกรุณาเล่าย่อๆได้ไหมว่าเสวนาเรื่องนี้พูดถึงโปรตุเกสว่าอย่างไรบ้างคะ  สำหรับท่านที่สนใจแต่ไม่มีโอกาสไปฟัง
หรือจะนำเอกสารประกอบมาลง ก็ยินดี ค่ะ
บันทึกการเข้า
Bidya Sriwattansarn
อสุรผัด
*
ตอบ: 8


ความคิดเห็นที่ 218  เมื่อ 01 ก.ค. 11, 16:55

ขอความกรุณาอ่านใน เว็บ http://siamportuguesestudy.blogspot.com ชื่อบทความ Seafaring, Spice route, Sacred Christ  ครับ
บันทึกการเข้า
คริสต์ศตวรรษที่ 17
อสุรผัด
*
ตอบ: 17



ความคิดเห็นที่ 219  เมื่อ 07 ก.ย. 13, 14:32

ชอบจังเลยครับเรื่องประเภทนี้
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 220  เมื่อ 07 ก.ย. 13, 18:29

เอารูปเด็กไทยใส่จับปิ้งมาให้ดูเล่นน่ารักๆเฉยๆ

เครื่องแต่งกายชิ้นน้อยนี้เกือบกลายเป็นโปรตุเกสนำมาเผยแพร่อย่างเป็นทางวิชาการซะแล้ว


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 221  เมื่อ 07 ก.ย. 13, 18:43

สาวๆ อย่าเผลอคิดว่าเป็นสร้อยคอเข้าล่ะ


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 222  เมื่อ 07 ก.ย. 13, 21:04

เห็นภาพแล้วทำให้ย้อนนึกขึ้นได้ว่า ตัวเองเคยซื้อเก็บสะสมไว้อันหนึ่ง นานมาแล้ว เป็นเงินผสม

ก็ด้วยสนใจในวิธี (จะเรียกว่าเทคโนโลยีก็น่าจะพอได้) การร้อยห่วงจนเป็นแผงที่มีน้ำหนักทิ้งตัว และพริ้วเหมือนผ้า ไม่มีโอกาสติดหรือพันกันเป็นก้อนเลย
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 223  เมื่อ 07 ก.ย. 13, 21:31

ไม่ทราบว่าช่างที่ดีไซน์จับปิ้งเป็นใคร  แต่ว่าออกแบบได้คลาสสิคจริงๆ 
ภาพที่นำมาลงข้างล่างนี้เป็นสร้อยคอสั้นติดคอของสตรี เรียกว่า choker  มีหลายแบบ  จะเห็นได้ว่าบางแบบเหมือนจับปิ้งของเราเลย


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 224  เมื่อ 07 ก.ย. 13, 22:04

จับปิ้ง หรือ ตะปิ้ง ?
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 13 14 [15] 16 17
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.07 วินาที กับ 19 คำสั่ง