เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 8 9 [10] 11 12 ... 17
  พิมพ์  
อ่าน: 83479 โปรตุเกสเข้าเมือง
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 135  เมื่อ 04 พ.ค. 11, 09:35

อ้างถึง
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ อยู่ในบันทึกของวันวลิต เขาบอกว่าพระเจ้าแผ่นดินยิ่งกริ้วและชังน้ำหน้าโปรตุเกสมากพอๆกับเกลียดชังสเปน ประจวบเหมาะกับปีเดียวกันนั้นพวกนี้เอาเรือไปปิดปากแม่น้ำตะนาวศรี ทำให้เรือสินค้าจากกวางตุ้งเดินทางมาค้าขายที่อยุธยาไม่ได้ ก็ยิ่งเป็นเหตุให้เป็นปรปักษ์หนักเข้าไปอีกแล้วเมืองตะนาวศรีอยู่ตรงไหน แล้วปากแม่น้ำตะนาวศรี วันวลิตหมายถึงที่ใด ผมสงสัยมานมนานแล้ว

ตะนาวศรีนั้นมีหลายชื่อด้วยกัน อังกฤษจะเรียกว่า Tenasserim อันเป็นชื่อของเทือกเขาที่ตั้งตระหง่านทอดตัวยาวไปตามพรมแดนธรรมชาติระหว่างไทยกับพม่าด้วย ส่วนพม่าเรียก Tanintharyi อันหมายถึงภาคใต้ของเขาที่มีอาณาเขตตั้งแต่ทวายลงไปถึงระนอง โดยมีเมืองที่สำคัญอีกเมืองหนึ่งคือมะริด อังกฤษเรียก Mergui พม่าเรียกMyeik
ส่วนตะนาวศรีที่เป็นชื่อชุมชนนั้น ก็เล็กแค่ระดับหมู่บ้านชนบท ห่างไกลความเจริญสุดกู่

แต่ตะนาวศรีในพระราชพงศาวดารของไทยนั้น ให้ความสำคัญเหลือเกิน ในบางยุคเช่นรัชสมัยสมเด็จพระนเรศวร ทรงโปรดให้แม่ทัพนายกองทั้งสิ้นไปตีเมืองมะริดและตะนาวศรี เพื่อแก้ตัวที่ติดตามช้างทรงไม่ทันในสงครามยุทธหัตถี ครั้นตีได้แล้วก็แต่งตั้งให้พระยาศรีไสยณรงค์ แม่ทัพหน้าครั้งนั้น เป็นเจ้าเมืองตะนาวศรี ดูเหมือนจะตกรางวัลให้แต่พระยาศรีไสยณรงค์กลับน้อยใจ พลั้งปากไปว่า ถ้ารู้จะเป็นอย่างนี้ก็ไปเป็นข้าพม่าเสียดีกว่า คนของกอรมน.ได้ยินเข้าก็แจ้งมากรุงศรี เลยเจอข้อหากบฎ สุดท้ายก็ศรีษะหลุดจากบ่าจนได้
เมืองตะนาวศรีสำคัญเพียงใดหรือ แล้วมันไปเกี่ยวอะไรกับเรือสินค้าของไต้ก๋งจีนจากกวางตุ้งที่เดินทางมาค้าขายที่อยุธยาไม่ได้ เพราะโปรตุเกสเอาเรือไปปิดปากแม่น้ำตะนาวศรี

มาดูแผนที่สักนิด เมืองตะนาวศรีตั้งอยู่บนที่ราบเชิงเขาตะนาวศรีฝั่งพม่า และบนฝั่งแควที่เป็นต้นน้ำของแม่น้ำตะนาวศรี ไหลไปออกทะเลอันดามันที่เมืองมะริด และแยกเป็นสาขาไปออกทะวายได้อีกเส้นหนึ่ง
 
คนละโพ้นทะเลกับเมืองกวางตุ้งโน่นเลยครับ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 136  เมื่อ 04 พ.ค. 11, 09:39

ปัจจุบัน หมู่บ้านตะนาวศรีของพม่า ขนาดกว้างยาวประมาณแค่๘๐๐เมตร ดูจุดที่ตั้งแล้วก็น่าจะใช่ว่าเคยเป็นเมืองยุทธศาสตร์ เพราะอยู่ตรงโค้งสุดท้ายของแม่น้ำตะนาวศรี ซึ่งเป็นคูเมืองธรรมชาติ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 137  เมื่อ 04 พ.ค. 11, 09:42

สภาพบ้านเรือนในปัจจุบัน




บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 138  เมื่อ 04 พ.ค. 11, 09:43

วัดที่อยู่ฝั่งตรงข้าม ตรงคุ้งน้ำหน้าเมืองพอดี


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 139  เมื่อ 04 พ.ค. 11, 09:48

เส้นทางแม่น้ำตะนาวศรีที่จะไปจากมะริด ไปทะลุแถวๆทะวายได้นั้น ขนาดพอที่เรือขนาดนี้จะวิ่งได้ แต่แม่น้ำนี้ไม่ได้เฉียดไปช่องเขาที่ใช้เป็นทางเดินข้ามาฝั่งอ่าวไทย ซึ่งต้องไปตามลำธารเล็กๆคดเคี้ยวที่เห็นอีกทีหนึ่ง


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 140  เมื่อ 04 พ.ค. 11, 09:55

ลำธารนี้ไหลลงมาจากที่ทิวเขาตะนาวศรี ตื้นและเต็มไปด้วยหิน ต้องใช้แพถ่อไป
คณะบาทหลวงฝรั่งเศสคณะแรกที่เข้ามากรุงศรีอยุธยาสามคน ประกอบด้วยบาทหลวงลาม็อต ลังแบรต์ (De La Motte Lambert) ซึ่งเป็นสังฆราชแห่งเบริธ (Eveque de Beryte) เป็นหัวหน้าคณะร่วมกับ บาทหลวง เดดิเอร์ (D’idier) และบาทหลวงเดอบูร์ช (De Brourges) ได้เลี่ยงการเดินทางอ้อมแหลมมลายู มาขึ้นฝั่งที่มะริด ได้บันทึกไว้เป็นเรื่องเป็นราวว่า ได้เปลียนจากสำเภามานั่งเรือเล็ก มุ่งมาที่ตะนาวศรี จากนั้นก็นั่งแพไปจนสุดสายเท่าที่แพจะไปได้ แล้วจึงลงเดินเท้าข้ามภูเขามาออกที่ด่านสิงขร(เดี๋ยวนี้ชาวบ้านก็ยังใช้วิธีนี้) เมื่อพ้นมาแล้ว เดินไปอีกเป็นวันเพื่อลงเรือที่แม่น้ำกุยบุรี เพื่อเดินทางทอดสุดท้ายเข้ากรุงศรีอยุธยา
นัยว่าเส้นทางที่ว่าเร็วกว่าเดินทางโดยสำเภา สงสัยว่าคงเพราะต้องวิ่งสวนลม ไม่ช่วงลงใต้ก็ช่วงขึ้นเหนือใด ขาใดขาหนึ่งนั่นเอง

ตะนาวศรีจึงมีฐานะแค่เมืองหน้าด่านป้องกันเส้นทางเดินข้ามแดน  ไม่ใช่เมืองค้าเมืองขายระดับอินเตอร์ที่สำเภาจะมาเทียบท่า



บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 141  เมื่อ 04 พ.ค. 11, 09:56

ดังนั้นที่วันวลิตบอกว่าพระเจ้าแผ่นดินยิ่งกริ้วและชังน้ำหน้าโปรตุเกสมากพอๆกับเกลียดชังสเปน เพราะพวกนี้เอาเรือไปปิดปากแม่น้ำตะนาวศรี ทำให้เรือสินค้าจากกวางตุ้งเดินทางมาค้าขายที่อยุธยาไม่ได้ จึงไม่เป็นเหตุเป็นผลด้วยประการทั้งปวง


นอกจากว่า……….(ติดไว้ก่อนครับ)
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 142  เมื่อ 04 พ.ค. 11, 10:10

อินเตอร์มิชชั่น
 ยิงฟันยิ้ม

ถึงเวลาเสิฟขนมเค้กกับกาแฟดำเย็นจากโปรตุเกสค่ะ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 143  เมื่อ 04 พ.ค. 11, 10:13

^
เล่นเสิฟวิธีนี้ ต้องจุดธูปด้วยนะครับ ผมถึงจะได้กิน ลังเล
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 144  เมื่อ 04 พ.ค. 11, 11:09

เถอะน่า     แบบนี้  รับประทานได้ไม่อั้นค่ะ  แคลอรี่เป็นศูนย์
ส่วนเรื่องตะนาวศรี  ไม่มีความเห็นเพราะไม่รู้จักแถบนี้เลยค่ะ   อ่านประวัติศาสตร์ ก็รู้แต่ว่าทวาย มะริด ตะนาวศรี เป็นเมืองที่ถูกแย่งกันไปมาระหว่างพม่ากับไทย   

โปรตุเกสทั้งๆชะตาตกในอยุธยา  แต่ก็พยายามตีตื้นขึ้นในค.ศ. 1684 หรือพ.ศ. 2227  ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์    มีทูตโปรตุเกสจากเมืองหลวงในยุโรปโน่นมาเจริญพระราชไมตรีกับอยุธยา    ทูตผู้นำสาส์นมาก็ไม่ใช่คนเล็กคนน้อย แต่เป็นถึงลูกชายราชทูตโปรตุเกสในญี่ปุ่น   จุดมุ่งหมายเพื่อจะมาทำสัญญาการค้า  และพร้อมกันนั้นก็จะกันท่าพวกฝรั่งเศสที่ชักจะแผ่อิทธิพลเข้ามามากในแถบนี้
แต่ความพยายามข้อนี้ไม่สำเร็จ     เพราะขุนนางกรีกคนสำคัญแห่งสยาม คือเจ้าพระยาวิชเยนทร์ถือหางฝรั่งเศสเต็มตัว    โปรตุเกสก็เลยถูกจำกัดขอบเขตไว้แค่นั้น

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 145  เมื่อ 04 พ.ค. 11, 13:02

ตามธรรมเนียม เมื่อลิสบอนส่งทูตมา  ทางอยุธยาก็ส่งทูตไปเจริญพระราชไมตรีเป็นการตอบแทน   ในปีเดียวกัน
เส้นทางของทูตสยามคือเดินเรือไปเมืองกัวในอินเดีย   เพื่อจะสมทบขอโดยสารขบวนทัพเรือของโปรตุเกสไปลิสบอน    แต่จะเป็นด้วยข่าวสารส่งถึงกันช้า หรือเดินทางเจออุปสรรคอะไรก็ไม่แน่ชัด    ปรากฏว่ากว่าทูตไทยจะไปถึงกัว   เรือโปรตุเกสก็ออกเดินทางไปแล้ว  ทำให้ราชทูตไทยต้องตกค้างอยู่ในเมืองกัวเกือบหนึ่งปี   
ในที่สุด ทูตไทยก็โดยสารเรือจากกัวไปยุโรปจนได้    แต่ว่าเจ้ากรรม  เรือเกิดไปอับปางนอกแหลมอะกลหัสนอกฝั่งแอฟริกาใต้     ส่วนหนึ่งก็ตายไปพร้อมเรือ  อีกฝ่ายไปขึ้นฝั่งที่แหลมกู๊ดโฮปแล้วหาเรือที่เดินทางไปปัตตาเวีย  กลับมาอยุธยาได้ในปีต่อมา

จากนั้นก็ไม่มีบันทึกเรื่องสัมพันธไมตรีอย่างเป็นทางการระหว่างสยามกับโปรตุเกสอีก    แต่ชาวโปรตุเกสก็ยังตั้งถิ่นฐานอยู่ในอยุธยาเรื่อยมาจนถึงตอนปลาย    บันทึกของบาทหลวงนิโคลัส แจเวส์ ชาวฝรั่งเศส ระบุว่ามีโปรตุเกสประมาณ 700 - 800 ครอบครัวในหมู่บ้าน   ส่วนบาทหลวงตาชาด์ จดจากคำบอกเล่าของเจ้าพระยาวิชเยนทร์ว่าในค.ศ. 1685 มีชาวโปรตุเกสตั้งถิ่นฐานอยู่  4,000 กว่าคน
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 146  เมื่อ 04 พ.ค. 11, 15:33

ถ้าผมจำไม่ผิดน่าจะเป็นไมเคิล ไรท์ที่เคยเขียนไว้ว่าเรือที่เดินทางผ่านช่องแคบมะละกาจะเสียเวลามากในช่วงที่เดินทางในช่องแคบ เพราะไม่มีลม บางครั้งต้องใช้เวลาเป็นเดือนในการเดินทางผ่านช่องแคบไป ในขณะที่ใช้เวลาเดือนทางในทะเลเปิดเพียงด้านละไม่เกินหนึ่งสัปดาห์ครับ

ผมลองค้นเว็บพยากรณ์ลม ก็ได้ข้อมูลว่าลมในแถบช่องแคบมะละกานั้นแปรปรวนมาก เรือไม่น่าจะใช้ใบแล่นได้ถนัดแน่ ถือว่าสอดคล้องกับข้อมูลข้างต้นครับ

นอกจากเรื่องเวลา ในอดีต ช่องแคบมะละกามักไม่มีรัฐใหญ่ที่มีอำนาจมากพอที่จะดูแลความปลอดภัยให้กับเรือที่เดินทางผ่านช่องแคบ สภาพทางภูมิศาสตร์ร่วมกับปัญหาเรื่องลมทำให้เป็นจุดที่โจรสลัดทำมาหากินง่าย และมีชุกชุม เรือที่แล่นผ่านต้องมีความเสี่ยงในเรื่องนี้ด้วย

เส้นทางเดินบกข้ามคาบสมุทรซึ่งอยู่ใกล้ศูนย์กลางอำนาจอยุธยา พม่า หรือมอญ ปัญหาเรื่องความปลอดภัยจะน้อยกว่าด้วยครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 147  เมื่อ 04 พ.ค. 11, 16:33

โอ้ คุณม้าขาวขี่อัศวินมาช่วยผมแล้ว

กำลังติดสันดอนอยู่ไปต่อไม่ได้ นึกไม่ออกว่าเส้นทางเรืออ้อมแหลมมลายูมันอะไรกันหักหนา พ่อค้าและนักเดินทางจึงเลือกใช้เส้นทางที่ผมว่ามันหินโหดกว่า ต้องปีนเขาลุยห้วยข้ามอันดามันมาอ่าวไทย ทำมั้ย..ไม่นั่งๆนอนมาบนเรือสบายๆ

เป็นอย่างนี้นี่เอง ไม่ใช่ยาวอย่างเดียว มันมีลมนิ่งให้สำเภาลอยเท้งเต้งรอให้โจรสลัดมาเชือดด้วย

มิน่า โปรตุเกสครั้งหนึ่งยังแพ้สงครามทางทะเลกับพวกอาเจะจากสุมาตรา ที่ใช้เรือยาวเหมือนของพระนเรศวร มารุมกินโต๊ะเรือสำเภาเดินสมุทรในช่องแคบมะละกา นึกภาพออกแล้ว มันลอยเท้งเต้งอยู่นิ่งๆให้เขาเอาเรือเทียบ แล้วสะพายหอกสะพายดาบโหนกราบขึ้นไป ฝรั่งจะยิงปืนไฟได้สักกี่โป้งก็ยอมให้ยิง เดี๋ยวก็เสร็จแขก


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 148  เมื่อ 04 พ.ค. 11, 16:43

เป็นอันว่า ตะนาวศรีเป็นเมืองด่านที่สำคัญในด้านการรักษาความปลอยภัยจากโจรสลัดที่หากินในแม่น้ำลำธารด้วย อาจมีความสำคัญไม่น้อยกว่าเมืองกุยสมัยก่อน ที่หมดความหมายไป ผมเคยไปเดินหาทรากกำแพงเมืองเก่าที่เขาว่าอยู่ข้างๆโรงพักในปัจจุบัน ถามใครที่นั่นก็ไม่มีใครรู้ว่าผมพูดถึงอะไร ตกลงเสียเวลาเปล่า

มิน่า สมเด็จพระนเรศวรจึงให้มือขนาดพระยาศรีไสยณรงค์รักษาเมืองนั้น
คราวนี้มาดูปากอ่าวของแม่น้ำตะนาวศรี ที่มาออกทะเล ตรงนั้นน่ะเป็นเมืองท่าแท้จริง



บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 149  เมื่อ 04 พ.ค. 11, 16:56

มะริดในหน้าเวป เจริญกว่าสมัยที่ผมไปมาเมื่อสิบกว่าปีก่อนนิดเดียว สมัยโน้นอาคารหลังคาจั่วสีแดงหมด ยังไม่มีแบบโมเดิร์นทั้งหลาย โรงแรมที่พออยู่ได้ก็ไม่มี เพื่อนพม่าที่พาไปเขาติดต่อไว้ ขอไปนอนในหอพักของข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ด่านศุลกากร พอดีรองนายด่านมีกิจต้องไปย่างกุ้ง นายด่านจึงให้ผมสองคนเข้าไปใช้ห้องที่เขาอยู่ เตียงที่เขานอนนั้น

เกรงใจเจ้าของห้องสุดๆ แต่ดูเหมือนพวกเขาทุกคนจะชินกับสภาวะเช่นนั้น คนที่นี่บางที่ต้องสละห้องให้ใครก็ไม่รู้ ตัวเองไปขอนอนห้องเพื่อนข้างๆ

เป็นวัฒนธรรม น้ำใจของคนตะวันออกครับ สมัยก่อนก็เหมือนๆกันทุกชาติ


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 8 9 [10] 11 12 ... 17
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.065 วินาที กับ 19 คำสั่ง