เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 6 7 [8] 9 10 ... 17
  พิมพ์  
อ่าน: 83483 โปรตุเกสเข้าเมือง
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 105  เมื่อ 02 พ.ค. 11, 08:16

พอเห็นรูปตึกแถวในลิสบอน  แล้วนึกถึงตึกแถวบางแห่งในกรุงเทพ    เคยนำมาทายเป็นภาพโหดหินด้วยฝีมือคุณ siamese ในค.ห. 302 ของกระทู้ภาพเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 106  เมื่อ 02 พ.ค. 11, 09:05

เมื่อไปจอร์ชทาวน์บนเกาะปีนังช่วงสงกรานต์ปีก่อน     ในเมื่อไม่รู้จักชิโนปอร์ตุเกส  ก็เลยกระทบสายตาแต่ตึกที่เห็นหน้าตาเป็นอังกฤษ ซึ่งเป็นตึกใหญ่ๆ อยู่ทั่วเมือง   สถานที่สำคัญๆก็สร้างแบบอังกฤษ     ส่วนตึกแถวเก่าๆนั้นดูเหมือนจะเหลือน้อยเต็มทีแล้วบนเกาะปีนัง   ถ้าไม่ซ่อมแซมใหม่ให้ดีก็ดูโทรมเต็มที   ไม่น่าดู
ถ้าได้กลับไปอีก คงจะไปเดินดูตึกแบบต่างๆให้ถี่ถ้วนกว่านี้ละค่ะ

ก่อนจะเพลิดเพลินกับอาคารลูกผสมต่อไป     ขอเตือนตัวเองเรื่องโปรตุเกส  ด้วยคำถามว่า  โปรตุเกสยังอยู่ในอยุธยาต่อมาจนถึงกรุงแตกครั้งที่ ๒ หรือเปล่า     มีส่วนร่วมรบกับพม่าด้วยหรือไม่
ยังไม่รู้คำตอบ  จึงขอถามไว้ก่อน  แต่ถ้าไม่มีใครตอบก็จะไปปรึกษาคุณกู๊ก หาคำตอบให้ตัวเองต่อไป

โดยส่วนตัวคิดว่าโปรตุเกสเข้ามาสมัยพระไชยราชา ตั้งบ้านเรือนเป็นปึกแผ่นกันได้ตั้งแต่ก่อนเสียกรุงครั้งที่ ๑     ถ้าไม่มีโปรตุเกสรุ่นใหม่ทยอยกันเข้ามาเรื่อยๆ     ลูกหลานโปรตุเกสรุ่นเก่าพวกนั้น กว่าจะถึงเสียกรุงครั้งที่ ๒ คงกลายเป็นชายหญิงไทยกินหมากฟันดำ ตัดผมทรงหลักแจวกันไปหมดแล้วละมังคะ 
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 107  เมื่อ 02 พ.ค. 11, 09:24

ฝากสถาปัตยกรรมโบสถ์เซนต์ปอล ที่มาเก๊า เป็นโบสถ์ที่ก่อสร้างยุคสมัยโปรตุเกสเข้าครอบครองครับ

ดูจากสถาปัตยกรรมที่ อ.NAVARAT.C อธิบายเป็นลักษณะของสถาปัตยกรรมอย่างจีน + ยุโรป หรือยุคอาณานิคมที่อังกฤษเข้าปกครองดินแดนในภูมิภาคนี้รวมทั้งที่กวางตุ้งและบรรดาเมืองท่าต่างๆที่จีน ต่อมาได้พัฒนาการตกแต่งจากวัฒนธรรมจีน-มาเลย์เข้าไป หรือ พวกบาบ๋า ตกแต่งให้มีความสวยงาม

ในอาคารแบบจีนยุคแรกๆนั้นทางไทยเองก็ล่องเรือค้าขายกับสิงคโปร์ ก็ได้จำแบบการสร้างตึกมาเล่าถวายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ จึงโปรดให้สร้างอาคารแบบดังกล่าวสร้างเป็นหมู่ตึกแถวถนนบำรุงเมือง และในต้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ โปรดให้นำตัวอย่างการก่อสร้างตึกแถวจากสิงคโปร์มา (ซึ่งได้พัฒนามีการตกแต่งลวลลาย) สร้างเพิ่มขึ้นทั่วกรุงเทพ บ้านเมืองจึงได้สวยงามอย่างมาก


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 108  เมื่อ 02 พ.ค. 11, 09:29

สถาปัตยกรรมโปรตุเกสที่เมืองกัว อินเดีย



บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 109  เมื่อ 02 พ.ค. 11, 09:36

ลักษณะโครงสร้างสถาปัตยกรรมตึกที่สร้างเป็นห้องแถวต่อกันไป สูง 2-3 ชั้น กวางตุ้งเมื่อ 150 ปีก่อน

ด้านล่างไว้ทำการค้า ด้านบนไว้พักอาศัย หรือเป็นที่เก็บสินค้า เป็นลักษณะ Shop-House


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 110  เมื่อ 02 พ.ค. 11, 09:41

^
ครับ
ผมขอย้ำอีกที ในโลกนี้จริงๆแล้วไม่มีสถาปัตยกรรมแบบชิโนปอร์ตุกีส อย่าไปเที่ยวเดินหา มีแต่จีนผสมยุโรปรวมๆกัน แยกแยะไม่ออกว่าตรงไหนเป็นเอกลักษณ์สถาปัตยกรรมของอังกฤษ ดัชท์ โปรตุกีส เสปญหรือฝรั่งเศส ซึ่งรากเง่าจริงๆแล้วก็มาจากกรีกและโรมันเหมือนกัน ภูเก็ตเอาคำว่าชิโนปอร์ตุกีสไปขายในการตลาดของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว (ก็คงเป็นสถาปนิกนั่นแหละ ที่ไปคิดให้เขา)

แต่หนังสือสถาปัตยกรรมเล่มนี้ ไม่ยอมเออออห่อหมกตาม แต่ได้แยกแยะรูปแบบอาคารแบบจีนที่นั่นออกมา คล้ายๆกับของมาเลเซียที่ผมเสนอไปข้างต้น

http://www.art4d.com/nipponpaint/sites/04/images.html




บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 111  เมื่อ 02 พ.ค. 11, 09:45

ล่องเรือโดยไม่ทอดสมอ ลมพัดไปยังฟิลิปินส์ นำโบสถ์สถาปัตยกรรมโปรตุเกส ให้ชมอีกครั้ง

จะเห็นว่าลักษณะสถาปัตยกรรมของโปรตุเกส และสเปน มีความคล้ายคลึงกัน โดยเน้นเสากลม และวงโค้ง มีการเจาะช่องหน้าต่างเป็นสี่เหลี่ยมและวงกลม และหน้าบันปูนปั้นที่ดูบึกบึน บางครั้งก็ทำอย่างป้อมปราการดูน่าเกรงขาม


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 112  เมื่อ 02 พ.ค. 11, 09:51

จากวิกี้

ชาวโปรตุเกสได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานและทำการค้าบริเวณเมืองท่ามะละกา และได้นำเอาศิลปวัฒนธรรม ตลอดจนวิทยาการตะวันตกเข้ามาเผยแพร่ และได้สร้างบ้าน และสถาปัตยกรรมตามรูปแบบของตน ซึ่งช่างชาวจีนได้นำผังการก่อสร้างไปดำเนินการ แต่ลักษณะของสถาปัตยกรรมได้เพี้ยนไปจากเดิมโดยช่างชาวจีนได้ตกแต่งลวดลายสัญลักษณ์รวมถึงลักษณะรูปแบบบางส่วนของตัวอาคารตามคติความเชื่อของจีน เกิดการผสมผสานกันระหว่างสถาปัตยกรรมโปรตุเกสและจีน เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวขึ้นท่ามกลางสังคมของกลุ่มชน 3 เชื้อชาติ อันได้แก่โปรตุเกส จีน และมาเลย์ ในดินแดนแหลมมลายู

ต่อมาเมื่อชาวดัตช์และอังกฤษเข้ามามีอิทธิพลในดินแดนแถบนี้ ก็ได้ปรับปรุงรูปแบบของอาคารโดยดัดแปลงและเพิ่มเติมลวดลายต่างๆ และมีชื่อเรียกลักษณะการก่อสร้างอาคารเหล่านี้ว่า สถาปัตยกรรม “ชิโนโปรตุกีส” คำว่า “ชิโน” หมายถึงคนจีน และคำว่า “โปรตุกีส” หมายถึง โปรตุเกส แม้ว่าอังกฤษและดัตช์จะเข้ามามีอิทธิพลในการผสมผสานศิลปะของตนเข้าไปในยุคหลังด้วยก็ตามก็ยังเรียกรวมกันว่า ชิโนโปรตุกีส

................

ยังมีต่อ

ลักษณะของสถาปัตยกรรมแบบชิโนโปรตุกีสคือการผสมผสานระหว่างสถาปัตยกรรมยุโรปและศิลปะจีน กล่าวคือ “สถาปัตยกรรมแบบอาณานิคม” หรือ “อาคารแบบโคโลเนียล” (Colonial Style) ถ้าเป็นอาคารสองชั้นกึ่งร้านค้ากึ่งที่อยู่อาศัย (shop-house or semi-residential) จะมีด้านหน้าอาคารที่ชั้นล่างมีช่องโค้ง (arch) ต่อเนื่องกันเป็นระยะ ๆ เพื่อให้เกิดการเดินเท้า ที่ภาษาไทยเรียกทับศัพท์ว่า “อาเขต” (arcade) หรือที่ภาษาจีนฮกเกี้ยนเรียกว่า “หง่อคาขี่” ซึ่งมีความหมายว่า ทางเดินกว้างห้าฟุต นอกจากอาเขตแล้ว อาคารแบบโคโลเนียลมีการนำลวดลายศิลปะตะวันตกแบบกรีก โรมัน หรือเรียกว่า “สมัยคลาสสิก” เช่น หน้าต่างวงโค้งเกือกม้า หรือหัวเสาแบบโยนิก หรือไอโอนิก (แบบม้วนก้นหอย) และคอรินเทียน (มีใบไม้ขนาดใหญ่ประดับ) เป็นต้น ซึ่งนักวิชาการบางท่านอาจเรียกสถาปัตยกรรมแบบนี้ว่า “นีโอคลาสสิก”

สิ่งที่ผสมผสานศิลปะจีนคือ ลวดลายการตกแต่ง ไม่ว่าจะเป็นภาพประติมากรรมนูนต่ำหรือนูนสูงทำด้วยปูนปั้นระบายสีของช่างฝีมือจีนประดับอยู่บนโครงสร้างอาคารแบบโปรตุเกส บานประตูหน้าต่าง ตลอดจนการตกแต่งภายในที่มีลักษณะเป็นศิลปะแบบจีน


สถาปัตยกรรมแบบชิโนโปรตุกีสแบบที่คุณวิกกี้อธิบาย รู้สึกจะเน้นว่าต้องมี "อาเขต"

ขอความรู้คุณนวรัตนเรื่อง "อาเขต" ว่าเกี่ยวข้องกับสถาปัตยกรรมโปรตุเกสหรือไม่

 ฮืม
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 113  เมื่อ 02 พ.ค. 11, 10:06

ผมจะนำเสนอสถาปัตยกรรม วิวัฒนาการของการก่อสร้างตึกให้ฟังสักนิดนะครับ อยากฟังกันไหมเอ่ย ซึ่งเกี่ยวข้องกันในสมัยอยุธยา


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 114  เมื่อ 02 พ.ค. 11, 10:09

^
เชิญคุณหนุ่มครับ
ของคุณเพ็ญ ขอติดไว้ก่อน
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 115  เมื่อ 02 พ.ค. 11, 10:25

ได้อ่านจดหมายเหตุของราชทูต ลาลูแบร์ เกี่ยวกับเรื่องการก่อสร้างอาคารในสยาม (กรุงศรีอยุธยา) ระบุว่าการก่อสร้างตึกของชาวสยามนั้นก่อสร้างโดยสถาปัตยกรรมแบบเดิม คือ โบสถ์-วิหาร เป็นของตนเองก่อน ไม่ได้นำตัวอย่างการก่อสร้างมาจากจีน แต่ตึกแบบฝรั่งที่เข้ามาในกรุงศรีอยุธยารุ่นแรกที่เรียกว่า "ตึก" ในจดหมายเหตุระบุว่า "ฝรั่งคนแรกซึ่งได้สร้างตึกขึ้นในเมืองนี้ชื่อ แฟกเตอร์

คนจีนเรียกตึกเรือนเหล่านี้ว่า "แฟกตอรี" ชาวสยามไม่รู้จักคำนี้ แต่ไผล้ไปเรียกพระอุโบสถสถานที่ก่อด้วยอิฐปูนว่า "โบสถ์แฟกตอรี่" ซึ่งหมายถึง ตึกที่สร้างตามอย่างนายแฟกเตอร์

มาดูกันว่าเจ้าตึกแบบ "แฟกเตอร์" นี้มีลักษณะหน้าตาเป็นอย่างไร และกระจายตัวอยู่ที่ไหนกันบ้าง ?

ให้ดูภาพวาดลายเส้นแผนผังเมืองมาเก๊า สมัยโปรตุเกส จะเห็นลักษณะหมู่ตึกไม่เหมือนตึกอย่างจีน แต่เป็นอาคารทรงตัน สี่เหลี่ยม เจาะช่องประตู หน้าต่างเท่านั้น ดูออกทึบๆ ไม่โปร่งสบายตา


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 116  เมื่อ 02 พ.ค. 11, 10:26

จดหมายเหตุที่ลาลูแบร์ กล่าวถึง


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 117  เมื่อ 02 พ.ค. 11, 10:34

ดังนั้น อาคารตำหนักสมเด็จพระพุฒาจารย์ ที่อยุธยา ก็ได้รับสถาปัตยกรรมแบบตึกแฟกเตอร์มาเช่นเดียวกัน คือมีลักษณะ2 ชั้น หน้าต่าง ประตูเจาะช่องแบบทึบ ไม่มีกันสาด แต่ยังคงถือธรรมเนียมบันได นำไว้นอกอาคารกันจัญไร

รู้จัก "ถนนสิบสามห้าง" กันไหมครับ ถนนสิบสามห้างเป็นถนนอยู่ข้างวัดบวรนิเวศ ที่ถูกสร้างเป็นหมู่ตึกแถวในสมัยรัชกาลที่ ๔ ก็ถือธรรมเนียมนี้จากเมืองกวางตุ้งที่ฝรั่งสร้างไว้ คำว่า "สิบสามห้าง" สำหรับชาวสยามมิได้แปลว่า ร้านค้าจำนวน 13 อย่างแต่สยามรับชื่อมาใช้โดยเรียกสถาปัตยกรรมที่เขาเรียกกัน

สำหรับที่กวางตุ้งแล้วสามารถย้อนไปยัง "ตึกแบบแฟกเตอรี่" ได้โดยการก่อสร้างแบบนี้อาศัยการก่อสร้างแบบอย่างนายแฟกเตอร์มาใช้ คือ เป็นอาคารทึบ มีหน้าต่างน้อย เจาะช่องไว้ มี 2 ชั้นไว้เก็บสินค้า และพักอาศัย และมีเจ้าอาณานิคมจำนวน 13 ประเทศเข้าทำการค้า คือ สเปน อังกฤษ ฝรั่งเศส อเมริกา เนเธอร์แลนด์ จีน เดนมาร์ก เป็นต้น จึงเป็นที่มาของคำว่า Thirteen Factory ครับ


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 118  เมื่อ 02 พ.ค. 11, 10:39

รูปวาดเมืองมาเก๊า ที่ดูจากโครงสร้างเป็นตึกอาคารทึบมีหน้าต่างน้อยๆ โดยที่มาของนายแฟกเตอรี่ ได้นำสถาปัตยกรรมโกดัง อย่างยุโปรมาใช้ก่อสร้างในดินแดนอาณานิคมเมื่อ 400 ปีก่อน ซึ่งทางยุโรปเป็นเมืองหนาว เจาะหน้าต่างน้อย บานสี่เหลี่ยมจตุรัส เป็นที่นิยมของชาวยุโรป จึงเป็นที่มาของความนิยมการก่อสร้างตึกดังกล่าว และได้กลมกลืนเป็นสถาปัตยกรรมผสมกับจีน ในเวลาต่อมา


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 119  เมื่อ 02 พ.ค. 11, 10:53

ลักษณะตึกดิน ที่มีการก่อสร้างโดยอาศัยรูบแบบอย่างตึกแฟกเตอรี่ ผสมกับสถาปัตยกรรมจีน สมัยรัชกาลที่ ๔


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 6 7 [8] 9 10 ... 17
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 2.255 วินาที กับ 19 คำสั่ง