เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 ... 13
  พิมพ์  
อ่าน: 158329 ทรงผมคนไทยโบราณ
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 60  เมื่อ 29 เม.ย. 11, 07:55


คุณเพ็ณชมพูครับ กรรแกร นั้น ชักไม่แน่ใจ ที่จำได้ คือ กรรไกร ที่มีที่จับโค้งติดกัน

สะกดว่า เพ็ญชมพู ค่ะ
กรรแกร ของคุณ puyum หมายถึงกรรไกรโบราณหรือเปล่าคะ

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 61  เมื่อ 29 เม.ย. 11, 08:04

กาละฝัต มองผมทรงหลักแจวสมัยรัชกาลที่ ๒  ออกมาเป็นทรงผมทันสมัยเหมือนปัจจุบันนี้เชียว
คนไทยสมัยนั้น โครงหน้าคงดูแบนมาก ในสายตาฝรั่ง


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 62  เมื่อ 29 เม.ย. 11, 08:08

วิธีการตัดผมของชาวสยาม จากวชิรญาณวิเศษ รัตนโกสินทร์ศก ๑๑๐ ราคาแผ่นละ ๓๒ อัฐ

ช่างตัดผมแต่โบราณนั้น เขาใช้ตัดกันด้วยตะไกรไทย ถ้าช่างผู้ชายก็มีเครื่องมือ คือ ตะไกรเล่มหนึ่ง มีดโกนจีนเล่มหนึ่ง หวีเล่มหนึ่ง ขีผึ้ง
ดำสำหรับติดผมตลับหนึ่ง น้ำมันตะนีโถหนึ่ง ช่างผู้หญิงก็มีตะไกรมีดโกนกระจก หวี ขีผึ้งดำน้ำมันตะนีเหมือนกัน แต่มีพิเศษออกไปอีก ๓ อย่าง คือ
เขม่า ๑ ไม้สอยไร ๑ ฝุ่นเช็ดไร ๑
เครื่องมือเหล่านี้ช่างผู้ชายชอบใช้ห่อผ้าหรือล่วม ช่างผู้หญิงใช้ใส่กะโล่ หรือกระทายเที่ยวเดินไป แล้วแต่ผู้
ใดจะเรียกให้ตัด ไม่ได้ตั้งร้านตัดประจำที่

วิธีผมที่ตัดกันในเวลาโน้นนั้น ถ้าผู้ชายตัด ๒ ชนิดเรียกว่าผมมหาดไทย อย่าง ๑ ผมรองทรงอย่าง ๑

ผมมหาดไทยนั้น ใช้ตัดครึ่งหนึ่งโกนครึ่งหนึ่งคือที่กลางศีศะนั้นเว้นไว้ไม่ตัด มีปริมณฑลเรือนผมเท่าใบบัวสายย่อม ๆ หรือพอรับกับโฉมหน้าของผู้
นั้น ๆ นอกจากนั้นโกนหมดรอบศีศะ สันฐานทรงของผมที่ตัดนั้นข้างหน้าตัดหน่อยหนึ่ง ประมาณองคุลีเศษ แล้วก็ตัดไล่ให้ยาวขึ้นไปถึงกึ่งกลาง แล้วก็ตัดไล่ให้สั้นลง
ไปข้างหลังขริบปลายผมให้เรียบร้อย แลสั้นกว่าข้างหน้าหน่อยหนึ่ง แล้วจึ่งหวีให้ไปล่แปล้ข้างหลังแลข้างๆ เหมือนหวีผมดอกกระทุ่มกลาย ๆ ถ้าคนผู้ใหญ่ ๆ
ที่มีอายุมากมักชอบตัดสั้น ๆ ถ้าคนหนุ่มแล้วอยู่ข้างชอบยาวหน่อย ๆ ตามที่เขาเห็นงามกันในเวลานั้น ขุนนางแลราษฎรในเวลานั้นตัดผมมหาดไทย
ทั้งสิ้น

ที่เรียกว่าผมรองทรงนั้นฉเพาะตัดได้แต่ท่านที่มีบรรดาศักดิ์สูง ๆ สัณฐานทรงผมรองทรงนั้นก็คล้าย ๆ กันกับผมมหาดไทย แต่ไม่ใช้โกนใช้
ตัดทั้งสิ้น คือ ตัดไล่ให้ยาวขึ้นไปเปนลำดับจนให้รับกันกับทรง ข้างบนวิธีหวีก็หวีเหมือนผมมหาดไทย

ฝ่ายผู้หญิงนั้นใช้ตัดผมไรจุก คือเมื่อแรกจะตัดต้องกันจุกให้พอเหมาะกับศีศะ แล้วจึ่งเอาขี้ผึ้งรวมไว้คล้าย ๆ จุกเด็กก่อน แล้วจึ่งตัดผมนอกไรนั้นให้สั้นประมาณกระเบียดหนึ่งบ้าง ครึ่งกระเบียดบ้าง ตามแต่จะเหมาะกับทรงศีศะ แล้วจึ่งตัดผมที่กันไรรวมไว้นั้น ข้างหน้าให้สั้น ๆ แล้วตัดไล่ให้ยาวขึ้นไปประมาณครึ่งองคุลีเศษ กลางสูงท้ายสั้นคล้าย ๆ วงหวี แล้วขริบปลายผมให้เรียบเสมอกัน หวีผมให้ไปล่ไปข้างหลังแลข้าง ๆ เล็กน้อยพอทรงรับกันกับ ผมที่ตัดสั้น ๆ นั้น แล้วจึ่งกันหน้าแลคิ้วผมต้นฅอเช็ดเขม่าแล้วเปนเสร็จ การตัดผมในครั้งนั้นผมผู้ชายใช้วานกันตัดมากกว่าจ้าง เพราะว่าตัดง่าย แต่ผมผู้หญิงจ้างมากกว่าวาน ตัดยากกว่าผู้ชาย การที่ตัดผมมหาดไทยแลไรจุกนี้ เปนผมแบบแผนโบราณมา แต่มาบัดนี้ในกรุงเทพ ฯ ไม่มีใครตัดเลย ยังมีอยู่แต่ชาวหัวเมือง แลชาวบ้านนอกบ้าง
 



บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 63  เมื่อ 29 เม.ย. 11, 08:14

(ต่อ)
ในสมัยนี้การตัดผมแลเครื่องมือที่ตัดประณีตดีขึ้นกว่าโบราณมาก คือ ช่างตัดผมผู้ชายเขาตั้งเปนที่รับตัดขึ้นหลายแห่งทุกถนนไม่ต่ำกว่า ๕๐ ตำบล ๆ หนึ่งมีช่างตัดอยู่ใน ๒ คน ๓ คนทุกแห่งเครื่องมือที่เขาใช้นั้นคนหนึ่งต้องมีตะไกรฝรั่ง ๓ เล่มสำหรับตัดผมที่ยาวเล่ม ๑ เก็บผมให้เสมอเล่ม ๑ ขริบปลายผมตามต้นฅอแลซอกหูเล่ม ๑ มีดโกนฝรั่งเล่ม ๑ แปรงสำหรับปัดผมอัน ๑ แปรงชุบน้ำอัน ๑ ถ้วยน้ำถ้วย ๑ หวีเขากระบืออัน ๑ กระจกบาน ๑ น้ำมันใส่ผมขวด ๑ ของเหล่านี้เปนเครื่องมือตัดผมวางไว้บนโต๊ะ แต่กระจกนั้นบางแห่งตั้งบนโต๊ะบางแห่งติดฝาผนัง แลมีม้าหรือเก้าอี้สำหรับนั่ง ๓ ตัวบ้าง ๔ ตัวบ้าง การที่ลงทุนเครื่องมือแลเก้าอี้หรือม้านั่งตัดผมนั่งพักไม่ต่ำกว่า ๓๐ บาท ๔๐ บาท ถ้ามีผู้มาตัดผมแล้วก็ให้ผู้นั้นนั่งลงบนม้าหรือเก้าอี้ แล้วจึ่งเอาผ้าขาวคลุมตัวผู้นั้นลงให้มิดชิดเพื่อไม่ให้ผมตกลงไปเปื้อนผิวเนื้อแลเสื้อผ้า แล้วถามว่าชอบผมรองทรง หรือดอกกระทุ่มกระทุ่มกลายสั้นยาวอย่างไรตามแต่ใจผู้เจ้าของ จึ่งให้ผินหน้าไป

ตรงกระจกจะได้คอยดูผมของตัว แล้วเอาหวี ๆ ให้เส้นผมเรียบ แล้วเอาตะไกรตัดไล่ขึ้นไปเปนลำดับ ไม่ให้เปนรอยเปนคั่นตะไกร ถ้าตัดผมฝรั่งก็ตัดข้างหลังให้สั้นไว้ ข้างหน้าให้ยาวพอสมควร แลหวีแสกกลางปัดหวีผมหน้าให้เปนกระบัง หรือหวีให้เปนกระบังตามแต่เจ้าของจะชอบใจ ถ้าเปนดอกกระทุ่มญวนก็ตัดไล่ขึ้นไปข้างบนให้สั้น ทั้งหน้าหลังข้าง ๆ

พอสมควรกับทรงแลใบหน้าเจ้าของ ถ้ากระทุ่มกลายตัดให้ยาวกว่ากระทู่มญวนหน่อยหนึ่ง หวีขึ้นไปตรงให้ผมปัดไปข้างหลังแลข้างพอสลวย ๆ ถ้าเปนรองทรงก็ตัดเหมือนที่กล่าวมาแล้วข้างต้น จึ่งเอาตะไกรอย่างย่อมเก็บผมที่ไม่เรียบให้เรียบอีกครั้งหนึ่ง แล้วเปลื้องผ้าออกปัดผมเสียครั้งหนึ่ง แล้วก็คลุมลงใหม่ตะไกรเล็ก ๆ ขริบผมต้นฅอแลซอกหูให้หมดเรียบร้อย

แล้วจึ่งเอาแป้งนวนผัดตามต้นฅอ แลซอกหู ปัดด้วยแปรงให้ผมออกหมดแล้วเปนเสร็จกัน แต่ผมที่ตัดกันทุกวันนี้ ใช้ตัดกระทุ่มกลาย มากกว่ากระทุ่มญวนแลรองทรง ราคาจ้างตัดนั้น คนละหนึ่งเฟื้องเปนธรรมเนียม บางทีเจ้านายหรือขุนนางเรียกไปตัดไปทรงเครื่อง ช่างตัดต้องแต่งตัวให้เรียบร้อยสอาด แลตัดโดยประณีตกว่าราษฎรสามัญ การที่รังวัลแลประทานแก่ช่างตัดผมนั้นไม่เปนกำหนด แต่คงได้มากกว่าธรรมดาหลายเท่าช่างผู้หญิงนั้นยังไม่มีใครตั้งที่รับตัดผมเลย ยังคงใช้เครื่องมือกระเดียดกระทาย เที่ยวอยู่เหมือนช่างโบราณ ๆ วิธีที่ตัด ๆ ผมดอกกระทุ่มกลายเปนพื้น ไว้ผมทัดบ้างไม่ไว้บ้าง ผมรองทรงกระทุ่มไรมีบ้างแต่ไม่สู้มาก ราคาค่าจ้างตามธรรมดาเฟื้องหนึ่ง เหมือนกันไม่ผิดแผกอะไรกันเลยเหมือนกันทั้งสิ้นถ้าจะคิดถัวกันทุกตำบล

ในวันหนึ่ง ๆ ช่างตัดผมคงได้ค่าจ้างตัดไม่ตำกว่า ๓๒ อัฐ ถ้าวันเสาร์หรือวันธงไชย คงได้ไม่ต่ำกว่ากึ่งตำลึง หรือ ๑๐ สลึง ถ้าคิดเปนเดือนคนหนึ่งคงได้ไม่ต่ำกว่า๓๐ บาท บางร้านที่เขาตัดดี ๆ ถ้าวันเสาร์วันธงไชย ตัดได้วันยังค่ำจนพลบต้องจุดไฟเสียอีก การตัดผมนี้ถ้าช่างผู้ชายก็ตัดผมผู้ชายช่างผู้หญิงก็ตัดผมตามผู้หญิงโดยมาก สิ้นวิธีตัดผมโดยสังเขปเท่านี้

บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 64  เมื่อ 29 เม.ย. 11, 08:18

กาละฝัต มองผมทรงหลักแจวสมัยรัชกาลที่ ๒  ออกมาเป็นทรงผมทันสมัยเหมือนปัจจุบันนี้เชียว
คนไทยสมัยนั้น โครงหน้าคงดูแบนมาก ในสายตาฝรั่ง

ไม่รู้ว่า นายกาละฝัด นั้นไปหานายแบบจากผู้ใด แต่ยังคงเห็นร่องรอยการไว้ผมแสกกลาง และรอบไรจุกมีการแบ่งผมไว้ ๒ ช่วง
จัดภาพขยายให้ชม จะได้เห็นกันชัดๆ  ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 65  เมื่อ 29 เม.ย. 11, 08:23

นายแบบ นางแบบ กิตติมศักดิ์ชาวสยาม ฝ่ายสตรีไว้ผมทรงอะไร เดาไม่ออก แต่มือไม้มีลีลาการโพสท่า  ยิ้มเท่ห์ ส่วนฝ่ายชายทรงหลักแจว
ดูให้ดีๆสักหน่อย การห่มผ้าฝ่ายสตรี เป็นเพียงเอาผ้ามาบังตา ฝรั่งคงวาดออกมาไม่เป็น


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 66  เมื่อ 29 เม.ย. 11, 09:03

ใครเอ่ย ?

ขุนนางสมัยอยุธยา แต่หน้าตาและทรงผมทันสมัยเชียว


 ยิงฟันยิ้ม




ยังมีขุนนางอยุธยาอีก ๒ ท่านร่วมคณะในภารกิจเดียวกัน

ทรงผมเดียวกัน

ใครเอ่ย ?

 ยิ้มเท่ห์





คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 67  เมื่อ 29 เม.ย. 11, 09:10

เคยได้ยินมาว่า คนโบราณจะมีการห้ามตัดผมในวันพุธ มีสาเหตุมาจากอะไรเหรอคะ  ฮืม
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 68  เมื่อ 29 เม.ย. 11, 09:52

ใครเอ่ย ?

ขุนนางสมัยอยุธยา แต่หน้าตาและทรงผมทันสมัยเชียว

 ยิงฟันยิ้ม

ออกขุนชำนาญใจจงในปี ค.ศ. 1689 วาดโดย คาร์โล มารัตตา ครับ  ยิ้มเท่ห์ เคยอ่านประวัติท่านเป็นทูตไปยังฝรั่งเศส แต่เรือเกิดอับปางแถวแหลมกู๊ดโฮป ท่านหมดตัวไม่มีอะไรจะกิน ต้องเอารองเท้าหนังมาปิ้งไฟกิน และได้เห็นคนป่าเปลือยกาย ซึ่งก็คือ ชาวอัฟริกา ครับ

ดังนั้นภาพทูตอีก ๒ ท่านที่คุณเพ็ญชมพูยกมา คงหมายถึง "ออกขุนชำนาญใจจงยังได้เป็นสมาชิกคณะผู้แทนอันประกอบด้วยข้าราชการสามคนที่ถูกส่งไปเข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ในฝรั่งเศส และสมเด็จพระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ ๑๑ ในโรม ตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชในปี ค.ศ. 1688 ทูตอีกสองคนในคณะประกอบด้วยออกขุนวิเศษภูบาลและออกหมื่นพิพิธราชา"
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 69  เมื่อ 29 เม.ย. 11, 11:34

ภาพขุนนางไว้ทรงผมมหาดไทย จากหนังสือ The Impression of Siam ของท่านเซอร์ จอห์น บาวริ่ง


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 70  เมื่อ 29 เม.ย. 11, 11:39

สตรีผู้ดีไทย ไว้ผมทรงดอกกระทุ่ม แต่ท่านนี้ไม่ไว้จอนหู สมัยรัชกาลที่ ๔


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 71  เมื่อ 29 เม.ย. 11, 11:57

^
^
เรื่องตัดผมสั้น น่าจะมีมานานแล้วนะครับ ผมจำไม่ได้จริงๆ ว่าอ่านมาจากไหน (ขออภัยอย่างสูง) ว่า
มีบันทึกของชาวต่างชาติเรื่องการตัดผมสั้นของชายไทย ถ้าจำไม่ผิดจะประมาณช่วงอยุธยาตอนต้นหรือก่อนหน้านั้น

เรื่องชนชั้นสูงในอยุธยา ไว้ผมยาวเกล้ามวย ประดับเกี้ยวหรือศิราภรณ์แบบต่างๆ นั้น มีระบุอยู่ในกฎมนเทียรบาล
แต่จะมาเปลี่ยนตัดผมสั้นเมื่อใด ไม่ทราบแน่ชัด

ตามความเห็นของผมคิดว่า  ลุ่มน้ำเจ้าพระยามีอากาศร้อนชื้น ไม่เหมาะกับการไว้ผมยาว โดยเฉพาะชาวบ้าน ที่ต้องตากแดดทำนา
ดังนั้นในระดับประชาชนทั่วไป น่าจะไว้ผมสั้นมานานพอควร

ส่วนชนชั้นสูงนั้น  สามารถไว้ผมยาวได้  เพราะสามารถดูแลรักษา ทำความสะอาด ซึ่งอาจถือเป็นเครื่องแสดงฐานะว่าเป็นชนชั้นสูงในสังคมด้วย
เหมือนอย่างประมาณสมัยรัชกาลที่ ๔  ชายชั้นสูงไทยจะไว้เล็บยาว  ซึ่งผู้ใช้แรงงานทั่วไปคงไว้เล็บยาวไม่ได้เป็นแน่

การโกนหรือตัดผมข้างๆ สั้น  น่าจะสัมพันธ์ กันการไว้จุกตอนเด็กๆ  ที่จะโกนผมข้างๆ ไม่โกนบนกระหม่อม  หรืออยางผู้หญิงปลายอยุธยา ก็ไว้ผมยาวประบ่า  แต่มีการกันผมเป็นแนวตามที่เคยไว้จุกเดิม  

การตัดมหาดไทย มีหลักฐานแน่ชัดว่าตั้งแต่สมัยพระนารายณ์เป็นต้นมา
อย่างไรก็ตาม เคยอ่านว่ามีผู้สันนิษฐานว่า ตัดสั้นมาตั้งแต่สมัยพระไชยราชาบ้าง พระมหาจักรพรรดิบ้าง  หรือพระนเรศวรบ้าง ในช่วงที่รบกับพม่า
เพื่อความสะดวกในการรบ  และให้แตกต่างจากชาวพม่า
บ้างก็ว่า ชนชั้นสูงในสมัยพระนารายณ์ ตัดผมมหาดไทยแบบชาวบ้าน เพื่อให้เหมือนชาวตะวันตก (ฝรั่งเศส) ที่ตัดผมสั้นเพื่อใส่วิก

โดยส่วนตัวคิดว่า  ชนชั้นสูง เชื้อพระวงศ์อยุธยา ตัดมหาดไทยสมัยพระนารายณ์  แต่ยังไม่แน่ชัดว่าเพราะอะไร

เรื่องทรงผมของคนไทยสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชนี้  มองซิเออร์ เดอ ลา ลูแบร์ บันทึกไว้ในจดหมายเหตุ ลา แบร์ ราชอาณาจักรสยาม แปลโดย สันต์ ท. โกมลบุตร ว่า

ผมของชาวสยามนั้นสีดำ เส้นหยาบและเหยียด ทั้งสองเพศไว้ผมสั้นมาก ผมที่ปรกรอบศีรษะยาวลงมาเสมอระดับใบหูข้างบนเท่านั้น ต่ำลงมากว่าระดับนั้นก็กร้อนเสียเกือบติดหนังศีรษะ การไว้ผมแบบนี้ก็ไม่ทำให้หน้าตาดูน่าเกลียดแต่ประการใด พวกผู้หญิงนั้นหวีผมตั้งไว้บนหน้าผากโดยมิได้รวบเข้าเกล้ากระหมวด และลางนางซึ่งส่วนมากเป็นชาวรามัญ ปล่อยให้ผมยาวไปข้างหลังพอประมาณเพื่อขมวดมุ่นเป็นมวยไว้ที่ท้ายทอย ชายหนุ่มและหญิงสาวที่อยู่ในวัยที่จะมีเรือนได้แล้ว ก็ไว้ผมแปลกไปอีกทำนองหนึ่ง คือใช้กรรไกรหนีบตัดผมกลางกระหม่อมเสียสั้นเกรียน ครั้นแล้วรอบเรือนผมนั้น เขาถอนออกมาเป็นกระจุกเล็ก ๆ กระจุกหนึ่ง มีความหนาขนาดเหรียญเอกิวขาวสองเหรียญ (ซ้อนกัน) และทางด้านล่างนั้นเขาปล่อยให้มันงอกยาวออกไปจนเกือบประบ่า เพราะอากาศร้อน พวกสเปญก็มักจะกร้อนผมบนกระหม่อมเสียเหมือนกัน แต่่เขามิได้ถอนเส้นผมโดยรอบเรือนผมนั้น

น่าแปลกใจที่ทรงผมของท่านทูตทั้ง ๓ ใน # ๖๖ ดูขัดกับบันทึกของ ลา ลูแบร์ เป็นอย่างมาก

 ฮืม
บันทึกการเข้า
werachaisubhong
องคต
*****
ตอบ: 449



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 72  เมื่อ 29 เม.ย. 11, 12:14

ทรงผมผู้หญิงชาวล้านนา
ผู้หญิงชาวเชียงใหม่ จะรวบผมเกล้ามวยไว้เหนือท้ายทอยหรือต่ำบริเวณท้ายทอยพอดีโดยดึงผมด้านหน้าตึงเรียบ
สำหรับมวยผมจะเสียบหย่องโลหะ (เข็มเสียบผม)ทำด้วยเส้นโลหะบิดเป็นเกลียวเล็กๆ ตัดโค้งคล้ายตัวยู (U) หย่องนี้อาจจะทำด้วย เงิน ทอง นาก หรือโลหะอื่นๆ
ก็แล้วแต่ฐานะของผู้ใช้ นอกจากนี้พบว่า ผู้หญิงบางคนยังนิยมเกล้าผมมวยแบบชักหงีบ คือดึงด้านหน้าตรงกลางตึงเรียบ แล้วใช้นิ้วสอดสองข้างดึงตรงขมับ
ให้ผมโป่งออกมาเล็กน้อยทั้งสองข้าง


บันทึกการเข้า

ฅนเมียงแป้ มาอยู่ เจียงฮาย
werachaisubhong
องคต
*****
ตอบ: 449



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 73  เมื่อ 29 เม.ย. 11, 12:18

ทรงผมผู้หญิงสาวชาวล้านนา
เป็นการเกล้าหลักงัวเเล้วชักว้องออกมา ชักว้อง คือชักปอยผมออกมาเป็นวงกลม



บันทึกการเข้า

ฅนเมียงแป้ มาอยู่ เจียงฮาย
werachaisubhong
องคต
*****
ตอบ: 449



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 74  เมื่อ 29 เม.ย. 11, 12:20

หญิงชาวล้านนาโบราณนิยมไว้ผมยาวตั้งแต่วัยเด็กถึงวัยชรา ทำให้ต้องมีการเกล้าผมแบบต่างๆ แล้วตบแต่งด้วยดอกไม้ เช่น ดอกมะลิ  ดอกหอมนวล(ลำดวน)  ดอกเอื้อง(กล้วยไม้)  ดอกตาเหิน(มหาหงส์)  ดอกสารภี  ดอกเก็ดถะหวา(ดอก พุดซ้อน)  หรือช่อดอกไม้เงิน-ดอกไม้ทองที่เรียกว่า ดอกไม้ไหว สำหรับมวยผมอาจจะเสียบหย่องโลหะ(เข็มเสียบผม) ซึ่งทำด้วยเส้นโลหะบิดเป็นเกลียวเล็กๆ ตัดโค้งคล้ายตัวยู(U)  ทำจากเงิน ทอง นาก หรือโลหะอื่นๆขึ้นกับฐานะของผู้ใช้ และโอกาสในการใช้ การเกล้าผมที่นิยมกันโดยทั่วไปมีหลายแบบ คือ
                    1.เกล้าผมวิดว้อง เป็นการเกล้าผมมวยแบบสูงโอบศีรษะโดยมีการดึงปอยผมขึ้นมาเป็น “ว้อง” คือ เป็นห่วงกลางมวยผม
                    2.เกล้า ผมอั่วช้อง เป็นการเกล้าผมโดยนำเอาเส้นผมทำเป็นช่อเรียกว่า ช้อง ซึ่งทำจากเส้นผมนำมามัดกับเศษผมและขี้ตังนี้ คือชันโรงแล้วนำมาเสริมผมให้ยาวและหนาขึ้น เมื่อทำมวยผมเสร็จแล้วจะประดับด้วยดอกไม้ หรือเครื่องประดับผม การเกล้าผมแบบนี้บ้างก็เรียกว่า เกล้าผมพันมวยอั่วช้อง
                    3.เกล้า ผมเหวิ้น เป็นการเกล้ามวยโดยนำเอาช้องผมมาวางบนศีรษะแล้วเกล้ามวย มวยผมที่ได้ก็จะพองกว่าปกติ จากนั้นจะดึงผมด้านหน้ามาทางมวยด้านหลังให้ตึงเรียบ และ “ชักหงีบ” คือใช้นิ้วสองข้างดึงผมตรงหงีบหรือขมับให้โป่งออกมาเล็กน้อยทั้งสองข้าง
                    4.เกล้า ผมอี่ปุ่น คือการเกล้ามวยผมแบบญี่ปุ่น มีลักษณะคล้ายเกล้าผมมวยทั่วไป แต่มีการแต่งชายผมด้านหน้าให้ยกขึ้นเล็กน้อยเป็นกรอบกระบัง ซึ่งอาจใช้หมอนหนุนผมให้มองดูสูงตั้ง ลักษณะผมตรงท้ายทอยอาจดึงให้ตึงหรือโป่งแล้วแต่ความพอใจของผู้แต่ง ปักปิ่นตรงมวยด้านใดด้านหนึ่ง แล้วเหน็บหวีเขาควาย ถ้าเป็นโอกาสพิเศษ หญิงที่มีฐานะดี หรือเจ้านายจะติดช่อดอกไม้เงินหรือทอง ผมทรงนี้ บางทีเรียกว่า “ทรงผมพระราชชายา” เพราะพระราชชายาเจ้าดารารัศมีทรงเป็นผู้นำเข้ามาแพร่หลายในหัวเมืองฝ่ายเหนือ เมื่อคราวเสด็จกลับเชียงใหม่ในปี พ.ศ. 2457 และได้รับความนิยมกันแพร่หลาย โดยเฉพาะเมื่อมีการแต่งกายในโอกาสพิเศษ
บันทึกการเข้า

ฅนเมียงแป้ มาอยู่ เจียงฮาย
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 ... 13
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.073 วินาที กับ 20 คำสั่ง