เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 9 10 [11] 12 13
  พิมพ์  
อ่าน: 157905 ทรงผมคนไทยโบราณ
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 150  เมื่อ 05 ก.ค. 15, 11:36

ทรงผมนิสิตหญิงคณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ประมาณ พ.ศ. ๒๔๙๐ ต้น ๆ คงจัดอยู่ในสมัยโบราณได้อยู่  ยิงฟันยิ้ม

บรรยากาศห้องเรียน ไม่ทราบ พ.ศ.



ประมาณ 2490s ต้นๆ  สังเกตจากทรงผมของนิสิตหญิง

เขาเรียกว่า "คลื่นถาวร" ค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 151  เมื่อ 05 ก.ค. 15, 12:12

อาจารย์เทาชมพูเอ่ยถึงคลื่นถาวร
ดูชาวจุฬาฯ ในยุคนั้น  เสียดายสวมหมวกในขณะเชียร์กิฬา

ถนนเจริญกรุงยังไม่จบ ขอต่อวันหลัง




บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 152  เมื่อ 05 ก.ค. 15, 12:13

ทรงผมนิสิตหญิงคณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ประมาณ พ.ศ. ๒๔๙๐ ต้น ๆ คงจัดอยู่ในสมัยโบราณได้อยู่  ยิงฟันยิ้ม


โบราณเลยหรา...
บันทึกการเข้า
ปิ่น
ชมพูพาน
***
ตอบ: 172


ความคิดเห็นที่ 153  เมื่อ 05 ก.ค. 15, 12:35

งานบอลหรือเปล่าคะ
บันทึกการเข้า
เอื้องหลวง
มัจฉานุ
**
ตอบ: 55


ความคิดเห็นที่ 154  เมื่อ 05 ก.ค. 15, 12:50

เมื่อก่อนนี้เค้าฮิตทำผมกันเป็นคณะเหรอคะ  ฮืม
หรือเพราะเมื่อก่อนมีอยู่ไม่กี่คณะ แล้วอักษรศาสตร์มีผู้หญิงเยอะที่สุด
ผมออกมาเป็นทรงเดียวกันหมดเลยค่ะ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 155  เมื่อ 05 ก.ค. 15, 13:57

งานบอลหรือเปล่าคะ

คุณปิ่นคงหมายถึงงานฟุตบอลประเพณีจุฬา-ธรรมศาสตร์ แต่ครั้งแรกที่เห็นคำว่า "งานบอล" นึกถึงใน ความหมายของคุณสุจิตต์ วงษ์เทศ

กูเป็นนิสิตนักศึกษา
วาสนาสูงส่งสโมสร
ย่ำค่ำนี่จะย่ำไป งานบอลล์
เสพเสน่ห์เกสรสุมาลี
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 156  เมื่อ 05 ก.ค. 15, 14:01

เมื่อก่อนนี้เค้าฮิตทำผมกันเป็นคณะเหรอคะ  ฮืม
หรือเพราะเมื่อก่อนมีอยู่ไม่กี่คณะ แล้วอักษรศาสตร์มีผู้หญิงเยอะที่สุด
ผมออกมาเป็นทรงเดียวกันหมดเลยค่ะ

เมื่อก่อนนี้ แฟชั่นไม่หลากหลายค่ะ  ถ้าผมหยิกด้วยการดัดเข้าสมัย ก็คลื่นถาวรกันทั้งเมือง
บันทึกการเข้า
ปิ่น
ชมพูพาน
***
ตอบ: 172


ความคิดเห็นที่ 157  เมื่อ 05 ก.ค. 15, 14:06

งานบอลหรือเปล่าคะ

คุณปิ่นคงหมายถึงงานฟุตบอลประเพณีจุฬา-ธรรมศาสตร์ แต่ครั้งแรกที่เห็นคำว่า "งานบอล" นึกถึงใน ความหมายของคุณสุจิตต์ วงษ์เทศ

กูเป็นนิสิตนักศึกษา
วาสนาสูงส่งสโมสร
ย่ำค่ำนี่จะย่ำไป งานบอลล์
เสพเสน่ห์เกสรสุมาลี


เรียนอาจารย์เพ็ญที่เคารพ

เด็กสมัยนี้ เรียกงานฟุตบอลประเพณีจุฬา-ธรรมศาสตร์ ติดปากว่า ไปงานบอล

แต่ถ้าในบทกวีของคุณสุจิตต์ วงษ์เทศ งานบอลล์ คงหมายถึง ball party มากกว่า ถ้าเป็นเด็กยุคนี้มาเห็น เผลอๆจะนึกว่า คุณสิจิตต์บอกว่านิสิตนักศึกษาไปงานฟุตบอลประเพณีได้เกี้ยวสาวเป็นแน่แท้
บันทึกการเข้า
เอื้องหลวง
มัจฉานุ
**
ตอบ: 55


ความคิดเห็นที่ 158  เมื่อ 05 ก.ค. 15, 15:58

เมื่อก่อนงานบอลล์จัดเป็นงานของมหาลัยที่นิสิตทุกคณะมาร่วมงานเลยเหรอคะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 159  เมื่อ 05 ก.ค. 15, 18:29

สมัยโน้น    งานบอลประเพณีเป็นงานใหญ่ที่นิสิตตั้งหน้าตั้งตารอตั้งแต่สอบติดก็ว่าได้  เพราะจะต้องซ้อมเชียร์  ซ้อมเดิน ซ้อมเป็นดรัมเมเยอร์  ซ้อมเป็นเชียร์ลีดเดอร์     
แล้วยังขึ้นรถเปิดประทุนแห่กันเชียร์ไปรอบกรุงเทพในช่วงเช้า ก่อนเข้าสนามกีฬา
ถ้าไม่ป่วยเจียนตาย   ไม่มีใครเว้นจากไปงานฟุตบอลประเพณี

ดรัมเมเยอร์ไม้หนึ่ง ไม้สอง ลงรูปใหญ่ในไทยรัฐเดลินิวส์ ไม่แพ้ดารา

การประกวดประขัน แปรอักษรระหว่างมหาวิทยาลัย เป็นเรื่องลับ ที่รุ่นพี่(น่าจะถาปัด)ซุ่มซ้อมกันทำอยู่เป็นแรมเดือน     ว่าแปรอักษรใครฝ่ายไหนจะเด็ดกว่าใคร    เรื่องนี้ต้องถามรายละเอียดที่ท่านนวรัตน์ดอทซีค่ะ

การยกขบวนเข้าสนาม ล้อเลียนการเมืองและสังคมด้วยคำคมต่างๆ ก็เป็นฉ็อทเด็ดที่คนดูรอเฝ้ากันหน้าจอทีวี 

ตั้งแต่ปีหนึ่งจนปีสุดท้าย ยังไงก็ต้องไปงานบอลประเพณี  ยิ่งปีสุดท้ายยิ่งต้องไป เพราะถือว่าเป็นการอำลา  เรียนจบแล้วไม่มีโอกาสไปอีก  ถึงไปได้ก็ไม่เหมือนเดิม เพราะเพื่อนฝูงก็ย้ายแยกกันไปหมดแล้ว

มาถึงยุคลูกสาวเข้าจุฬา    ไม่เห็นงานบอลเป็นเรื่องน่าตื่นเต้นอีกแล้ว  จะไปก็ได้ไม่ไปก็ได้     
แม่ถามว่าปีนี้ทำไมไม่ไป  เขาตอบว่ากลัวเป็นหวัดกลับมา  จบ


บันทึกการเข้า
ปิ่น
ชมพูพาน
***
ตอบ: 172


ความคิดเห็นที่ 160  เมื่อ 05 ก.ค. 15, 19:48

หนูจำได้ว่ามีอยู่ปีนึง น่าจะตอบปี๓ ไปงานบอล ปีนั้นจุฬาฯอยู่ฝั่งแดด ไปนั่งตากแดดอยู่บนสแตนด์เชียร์ตั้งแต่เที่ยงจนเลิกตอนสองทุ่ม ก็ขำตัวเองว่าบ้า ไปนั่งตากแดดได้ตั้ง ๘ ชั่วโมง ไม่ลุกเข้าห้องน้ำ(เพราะลุกไม่ได้) ไม่ขยันไปไหน วันนี้สองนี่ หน้าดำตัวดำ แต่เป็นประสบการณ์ที่สนุกมากๆเลยค่ะ เห็นด้วยว่าพอเรียนจบแล้วไปร่วมอีกความรู้สึกมันไม่เหมือนกันแล้วค่ะ
บันทึกการเข้า
Anna
องคต
*****
ตอบ: 552


ความคิดเห็นที่ 161  เมื่อ 05 ก.ค. 15, 19:54

อาจารย์สุมนัส อาจารย์สอนวิชาสังคมที่โรงเรียนเตรียมฯเคยเล่าว่า งานฟุตบอลล์ประเพณีสมัยที่ท่านเป็นนิสิตสนุกมากค่ะ นัดแนะไปงานกันเป็นกลุ่มใหญ่ คนที่มีรถก็ขับตระเวนรับเพื่อนๆ อาจารย์เล่าว่าแม้แต่ขับผ่านป้ายรถเมล์ถ้าเห็นว่าเป็นนิสิตจุฬาด้วยกันก็ยังแวะรับ



บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 162  เมื่อ 05 ก.ค. 15, 20:46

สมัยเป็นนิสิตเคยแต่นั่งบนสแตนด์เชียร์ ความจริงก็นั่งเชียร์มาแต่ชั้นมัธยมแล้ว รูปแบบการเชียร์ของเด็กมัธยมก็ถ่ายทอดมาจากรุ่นพี่ที่อยู่ในมหาวิทยาลัยอีกที

สิ่งหนึ่งที่สมัยเด็กทำได้ แต่เมื่ออยู่เป็นรุ่นจูเนียร์หรือซีเนียร์แล้วทำไม่ได้คือการออกเสียง "วี้ด......." ในเพลงบูมนี่แหละ

ผู้อัญเชิญพระเกี้ยวก็ได้ดีเป็นดาวเด่นในจอแก้วหลายคน อย่างน้องแต้วนี่ก็คนหนึ่ง

ณฐพร เตมีรักษ์ "น้องแต้ว-เจ้าสร้อยฟ้า" รุ่นน้องคุณนวรัตน ผู้อัญเชิญพระเกี้ยวในงานฟุตบอลประเพณีจุฬา-ธรรมศาสตร์ ครั้งที่ ๖๖



เรื่องฟุตบอลประเพณีคุยกันต่อที่กระทู้นี้ http://www.reurnthai.com/index.php?topic=5659.0 น่าจะดี  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 163  เมื่อ 06 ก.ค. 15, 09:28

ภาพนี้คือคุณนวลสวาท (ลังกาพินธุ์)เปาโรหิตย์  นางสาวถิ่นไทยงามปี 2496  และรองนางสาวไทยปี 2497  ดัดผมทรงคลื่นถาวรเหมือนกัน


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 164  เมื่อ 06 ก.ค. 15, 09:33

ดาราหนังอย่างคุณอมรา อัศวนนท์ ก็ทรงเดียวกัน


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 9 10 [11] 12 13
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.067 วินาที กับ 20 คำสั่ง