เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 13
  พิมพ์  
อ่าน: 158341 ทรงผมคนไทยโบราณ
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 75  เมื่อ 29 เม.ย. 11, 13:20

ขอบคุณครับ คุณwerachaisubhong ที่พาขึ้นสู่ดินแดนล้านนา ให้รู้จักการทำผมแบบทางเหนือ

รบกวนถามครับว่า อย่างภาพนี้ภาพเจ้าพระชายา ดารารัศมี ทรงไว้ทรงผมขนาดใหญ่ และมีปิ่นปักผมรอบพระเกศาด้วย แบบนี้ตรงกับทรงอะไรครับ


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 76  เมื่อ 29 เม.ย. 11, 13:25

คนเหนือกับทรงผมหลากหลาย


บันทึกการเข้า
werachaisubhong
องคต
*****
ตอบ: 449



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 77  เมื่อ 29 เม.ย. 11, 14:51

ขอบคุณครับ คุณwerachaisubhong ที่พาขึ้นสู่ดินแดนล้านนา ให้รู้จักการทำผมแบบทางเหนือ

รบกวนถามครับว่า อย่างภาพนี้ภาพเจ้าพระชายา ดารารัศมี ทรงไว้ทรงผมขนาดใหญ่ และมีปิ่นปักผมรอบพระเกศาด้วย แบบนี้ตรงกับทรงอะไรครับ


ทรงเกล้าผมอี่ปุ่น คือการเกล้ามวยผมแบบญี่ปุ่น มีลักษณะคล้ายเกล้าผมมวยทั่วไป แต่มีการแต่งชายผมด้านหน้าให้ยกขึ้นเล็กน้อยเป็นกรอบกระบัง ซึ่งอาจใช้หมอนหนุนผมให้มองดูสูงตั้ง ลักษณะผมตรงท้ายทอยอาจดึงให้ตึงหรือโป่งแล้วแต่ความพอใจของผู้แต่ง ปักปิ่นตรงมวยด้านใดด้านหนึ่ง แล้วเหน็บหวีเขาควาย ถ้าเป็นโอกาสพิเศษ หญิงที่มีฐานะดี หรือเจ้านายจะติดช่อดอกไม้เงินหรือทอง ผมทรงนี้ บางทีเรียกว่า “ทรงผมพระราชชายา” เพราะพระราชชายาเจ้าดารารัศมีทรงเป็นผู้นำเข้ามาแพร่หลายในหัวเมืองฝ่าย เหนือ เมื่อคราวเสด็จกลับเชียงใหม่ในปี พ.ศ. 2457 และได้รับความนิยมกันแพร่หลาย โดยเฉพาะเมื่อมีการแต่งกายในโอกาสพิเศษ
บันทึกการเข้า

ฅนเมียงแป้ มาอยู่ เจียงฮาย
werachaisubhong
องคต
*****
ตอบ: 449



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 78  เมื่อ 29 เม.ย. 11, 14:59

ทรงผมของพี่น้องลาวโซ่ง-ไทยดำ ดอนมะนาว สองพี่น้อง สุพรรณบุรี
ภาพถ่ายเก่าแสดงทรงผม "ปั้นเกล้า" สุดแสนคลาสสิก ไม่แน่ใจว่าผมทรงนี้ เป็นทรงที่มีมาแต่ครั้งอยู่เวียดนามด้วยหรือไม่ และอีกอย่างทรงนี้ขาดหวีไม่ได้ ต้องสับหวีคาไว้ที่ผมตลอด




บันทึกการเข้า

ฅนเมียงแป้ มาอยู่ เจียงฮาย
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 79  เมื่อ 29 เม.ย. 11, 15:20

ขอบคุณครับ คุณ werachaisubhong ที่แท้เป็นการทำทรงผมแบบญี่ปุ่น นั่นเอง ถ้ามีข้อมูลก็ช่วยเพิ่มเติมเลยนะครับ

มาต่อกันที่จิตรกรรมลายรดน้ำ สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช บรรกาศบ้านไทย คนหนุ่มไว้ผมหลักแจว ส่วนฝ่ายหญิงก็โกนผมรอบหัวสั้นเหมือนกัน บนคงไว้ทรงดอกกระทุ่ม ส่วนเด็กเล็กๆ เห็นไว้แกละสองข้าง จัดถักเป็นเปีย ส่วนเด็กโตตามหน้าต่างไว้จุกกลางศีรษะเรียบร้อย ปักด้วยปิ่นปักผม และอีกคนเป็นดอกไม้รัดจุกไว้

ส่วนชายชราด้านล่างมุมภาพ ก็ไม่ตัดสั้น แต่หวีผมเสยไปรวมไว้หลังศีรษะ



บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 80  เมื่อ 29 เม.ย. 11, 15:23

ขุนนางอยุธยา สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช นุ่งผ้าลาย คาดผ้า พกดาบ เสื้อแขนกระบอกคอจีน สวมลอมพอก ผมสั้น ดูทะมัดทะแมงดี

ทำให้นึกถึงสิ่งที่คุณเพ็ญชมพู สงสัยเรื่องทูตไปฝรั่งเศส ๓ ท่าน "ออกขุนชำนาญใจจง" คงเดินทางนานกว่า ๖ เดือนผมจึงยาวมากเช่นนี้


บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 81  เมื่อ 29 เม.ย. 11, 15:27

เคยได้ยินมาว่า คนโบราณจะมีการห้ามตัดผมในวันพุธ มีสาเหตุมาจากอะไรเหรอคะ  ฮืม

ไม่รู้มีคนตอบคุณดีดีไปแล้วหรือยัง

โบราณท่านว่าไว้ว่า....

"อนึ่งวันชำระสระพระเกล้า  อังคารเสาร์สิ้นวิบัติปัดไถม
ตัดเล็บวันพุธจันทร์กันจังไร เรียนสิ่งใดวันพฤหัสสวัสดี"

(สวัสดิรักษา)

ปกติวันพุธจะเป็นวันสำหรับตัดผม ตัดเล็บ ของพระมหากษัตริย์หรือพระบรมวงศานุวงศ์
ฉะนั้นการที่คนปกติสามัญจะไปตัดผม ตัดเล็บ ในวันพุธนั้น...
ถือเป็นการทำตัวเทียมเจ้าเทียมนาย เป็นสิ่งอัปมงคล (ในขณะที่เชื้อพระวงศ์ทำจะเป็นสิ่งมงคล)

โบราณกาลท่านจึงห้ามไว้ฉะนี้แล ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 82  เมื่อ 29 เม.ย. 11, 15:33

^ ขอบคุณคุณ art47 ค่ะ สงสัยมานาน  ยิงฟันยิ้ม
จนถึงทุกวันนี้ก็ไม่กล้าตัดผมวันพุธค่ะ คุณแม่ห้าม แต่ก็ไม่ทราบเหตุผล..
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 83  เมื่อ 29 เม.ย. 11, 15:39

เรื่องตัดผมวันพุธ เคยได้ยินมาอีกกระแส เพิ่มเติมจากคุณอาร์ทว่า

"เมื่อเจ้านายทรงเครื่องใหญ่ (ตัดผม) ในวันพุธทีไร บรรดาช่างตัดผมก็จะถูกเกณฑ์เข้าพระบรมมหาราชวัง ทำให้ช่างที่จะตัดผมมีน้อยราย ด้วยว่าหายาก จึงไม่นิยมตัดผมกันวันพุธ"  ยิ้มเท่ห์
บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 84  เมื่อ 29 เม.ย. 11, 15:49

เรื่องตัดผมวันพุธ เคยได้ยินมาอีกกระแส เพิ่มเติมจากคุณอาร์ทว่า

"เมื่อเจ้านายทรงเครื่องใหญ่ (ตัดผม) ในวันพุธทีไร บรรดาช่างตัดผมก็จะถูกเกณฑ์เข้าพระบรมมหาราชวัง ทำให้ช่างที่จะตัดผมมีน้อยราย ด้วยว่าหายาก จึงไม่นิยมตัดผมกันวันพุธ"  ยิ้มเท่ห์

เรื่องที่คุณไซมีสเล่านั้นผมก็เคยได้ยินมาเก่าก่อน แต่คงเป็นเรื่องเล่ามากกว่า

ผมคิดว่าสมัยก่อน อาชีพช่างตัดผมนี้ยังคงไม่มีกระมั้งครับ ถึงมีก็ไม่เฟื่องฟูขนาดยึดเป็นอาชีพได้
เพราะใครๆ ก็ตัดผมกันได้โดยไม่จำเป็นต้องมีช่างตัดผม (หรือช่างเสริมสวย สมัยนี้ ที่ขาดไม่ได้เด็ดขาด)

อย่างพระมหากษัตริย์ทรงเครื่องใหญ่ ก็เป็นหน้าที่ของภูษามาลาไม่ใช่เหรอครับคุณไซมีส
ช่างตัดผมคงไม่ได้เข้าวังหรอก ยิงฟันยิ้ม

ใครจะกล้ารับประกันว่าช่างตัดผมผู้นั้นไม่คิดปองร้ายต่อสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ถือมีด ถือกรรไกรใกล้ชิดพระองค์ซะขนาดนั้น
(เหมือนเรื่องเล่าสมัยพระเจ้าอู่ทองของวันวลิตไง)
บันทึกการเข้า
werachaisubhong
องคต
*****
ตอบ: 449



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 85  เมื่อ 29 เม.ย. 11, 15:53

ผมอ่านเจอจากเวปๆหนึ่งเรื่องการแต่งกายและการไว้ผมของ ชายและหญิง ในยุคตั้งแต่สมัยน่านเจ้า ลองอ่านดูนะครับ มีอะไรเสริมได้นะครับ

สมัยน่านเจ้า(พ.ศ. ๑๑๖๑–๑๑๙๔)
           เมื่อชนชาติไทยอพยพเคลื่อนที่ลงมาสู่แหลมอินโดจีนโดยลำดับ จนได้ตั้งอาณาจักรไทยน่านเจ้าขึ้นเป็นอาณาจักรไทยแห่งหนึ่งที่หนองแสตาลีฟู หญิงไทยคงรักษาวัฒนธรรมและประเพณีทางการแต่งกายของตนไว้ ไม่ใช้ฝุ่นผัดหน้าหรือเขียนคิ้ว ใช้น้ำกลั่นจากต้นหม่อนทาผม หญิงผู้ดีนุ่งซิ่นไหม ใช้ผ้าไหมอีกผืนหนึ่งคาดเอวไว้ ผมมุ่นสูง บางทีถักเป็นเปียห้อยลงสองข้าง ใช้ต่างหูทำด้วยไข่มุก ทับทิมหรืออำพัน นิยมใช้รองเท้าฟาง


บันทึกการเข้า

ฅนเมียงแป้ มาอยู่ เจียงฮาย
werachaisubhong
องคต
*****
ตอบ: 449



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 86  เมื่อ 29 เม.ย. 11, 15:57

สมัยเชียงแสน(พ.ศ ๑๖๖๑–๑๗๓๑)
           อาณาจักรน่านเจ้าสิ้นสุดลง ชนชาติไทยเคลื่อนสู่แหลมอินโดจีนรวบรวมกันเป็นอาณาจักรใหม่ เรียกลานนาไทย หรือเชียงแสน ราว พ.ศ. ๑๖๖๑–๑๗๓๑ เนื่องแต่เข้ามาอยู่ในเขตร้อน หญิงไทยจึงนุ่งซิ่นถุง แต่การทอผ้ามีลวดลายตกแต่งประดับประดา เช่น ซิ่นทอลายขวาง เกล้าผมสูง ปักปิ่นประดับผม


บันทึกการเข้า

ฅนเมียงแป้ มาอยู่ เจียงฮาย
werachaisubhong
องคต
*****
ตอบ: 449



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 87  เมื่อ 29 เม.ย. 11, 16:05

สมัยสุโขทัย (พ.ศ. ๑๗๘๑–๑๘๒๖)
           อาณาจักรสุโขทัยเริ่มราว พ.ศ. ๑๗๘๑ เป็นระยะเวลาใกล้กับที่ไทยอีกพวกหนึ่งเรียกตัวเองว่า ปงหรือปา ไปก่อตั้งอาณาจักรอาหม บัดนี้คือมณฑลอัสสัมในอินเดีย พ่อขุนรามคำแหงแห่งสุโขทัย ทรงคิดตัวอักษรไทยขึ้น อิทธิพลทางวัฒนธรรมพราหมณ์และขอมแพร่มาถึงสตรีไว้ผมเกล้าสูง อย่างที่เรียกว่า โองขโดง คือรวบขึ้นไปเกล้ามวยกลางกระหม่อม มีเกี้ยวหรือพวงมาลัยสวม สนมกำนัลแต่งกรัชกายนุ่งห่มผ้าลิขิตพัสตร์ ผ้าสุวรรณพัสตร์ ประดับเครื่องอลังกาภรณ์ มีจดหมายเหตุบันทึกการแต่งกายสตรีว่า หญิงนุ่งผ้าสูงพ้นดิน ๒ - ๓ นิ้ว (กรอมเท้า) สวมรองเท้ากีบทำด้วยหนังสีดำสีแดง


บันทึกการเข้า

ฅนเมียงแป้ มาอยู่ เจียงฮาย
werachaisubhong
องคต
*****
ตอบ: 449



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 88  เมื่อ 29 เม.ย. 11, 16:09

สมัยอยุธยา รัชกาลสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ
           พระมเหสีเทวีแต่โบราณเสวยพระกระยาหารต่างเวลากับพระมหากษัตริย์ ย่อมโปรดให้ข้าหลวงตั้งเครื่องเสวยของพระองค์เองก่อนหรือภายหลัง เพื่อมีเวลาถวายปรนนิบัติพระราชสวามีได้เต็มที่ เครื่องทรงเป็นภูษาจีบห่มผ้าปัก มีเครื่องประกอบยศขัตติยนารี

ต้นสมัยอยุธยา (พ.ศ. ๑๘๙๓– ๒๑๓๑)
           พระเจ้าอู่ทอง ทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยา ศิลปะการดนตรีขับร้องและกลอนเพลงเฟื่องฟู ไทยเริ่มนุ่งโจงกระเบน แปลงจากทรงหยักรั้งอย่างขอม หญิงนุ่งจีบห่มสไบ มีผ้าห่มชั้นในอีกผืนหนึ่งห่มอย่างผ้าแถบสไบชั้นนอกใช้ผ้าเนื้อหนาก็ได้ ตามกฎมณเฑียรบาลสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถระบุว่า “เมื่องานใส่เศียรเพชรมวย” คือเกล้าไว้ที่ท้ายทอย "เกล้าหนูนยิกเกี้ยวแซม" คือ ผมเกล้าสูงไว้บนกระหม่อม

สมัยอยุธยา (พ.ศ. ๒๒๗๕ - ๒๓๐๑)
           ในสมัยอยุธยารัชกาลพระเจ้าบรมโกษฐ์ วรรณคดีไทยเฟื่องฟูมาก เช่น มีกาพย์เห่เรือของเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ ซึ่งได้ใช้ขับเห่เรือพระที่นั่งมาจนปัจจุบัน การแต่งกายสตรีตามภาพพจน์นิพนธ์กล่าวว่า

                                              “คิดอนงค์องค์เอวอร       ผมประบ่าอ่าเอี่ยมไร”
                                         และ “ผมเผ้าเจ้าดำขลับ       แสงยับยับกลิ่นหอมรวย
                                                ประบ่าอ่าสละสลวย       คือมณีสีแสงนิล”

           แสดงว่าสตรีนิยมไว้ผมยาว เจ้าฟ้ากุณฑลและเจ้าฟ้ามงกุฎ พระราชธิดาสมเด็จพระเจ้าบรมโกษฐ์ได้นิพนธ์บทละครเรื่อง ดาหลังและอิเหนา ขึ้น ตามเค้าเรื่องที่ข้าหลวงเชื้อชาติมลายูเล่าถวาย
   สิ้นรัชกาลพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐ์ ประเทศไทยต้องทำศึกสงคราม การแต่งกายของสตรีจึงเปลี่ยนแปลงไป
ผมที่เคยไว้ยาวประบ่าก็ต้องตัดสั้น เพื่อสะดวกในการปลอมเป็นชายอพยพหลบหนี ห่มผ้าคาดอกแบบตะเบงมานรวบชายผูกเงื่อนที่ต้นคอ แสดงถึงหญิงไทย แม้จะเป็นเพศอ่อนโยนสวยงาม แต่ก็อาจปรับตัวรับสถานการณ์ฉุกเฉินได้ งานบ้านปรกติก็ต้องทำ เช่น ฝัดข้าวไว้หุง แต่พอมีสัญญาณภัยก็วางกะด้ง คว้าดาบพร้อมที่จะสู้ได้ทันที

ที่มา......http://www.culture.go.th/knowledge/story/Dress/dress.html



บันทึกการเข้า

ฅนเมียงแป้ มาอยู่ เจียงฮาย
werachaisubhong
องคต
*****
ตอบ: 449



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 89  เมื่อ 29 เม.ย. 11, 16:18

คราวนี้มาแนวเด็กกันบ้างนะครับ
ผมจุก
ผมจุก กล่าวตามพจนานุกรมของราชบัณฑิตยสถาน หมายถึง "ผมที่ขมวดเอาไว้ตรงขม่อม ราชาศัพท์ว่า พระเมาลี หรือ พระโมลี คำล้อเลียนผมจุก "ผมจุกคลุกน้ำปลา เห็นขี้หมา นั่วไหว้กระจ๋องหง่อง"


บันทึกการเข้า

ฅนเมียงแป้ มาอยู่ เจียงฮาย
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 13
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.043 วินาที กับ 19 คำสั่ง