han_bing
|
ไม่ได้เข้ามาเรือนไทยเสียนาน
ล่าสุดนี้อยู่ในจีนแล้วต้องไปแสดงความสามรถทางวัฒนธรรมของชาติไทยอีกรอบ รำไปก็เหนื่อย เลยไปนั่งทำขนมจีบไทยที่เป็นรูปตัวนก กับช่อม่วงด้วยความวิริยะเพื่อแสดงความงามของวัฒนธรรมไทย จริงๆว่าจะทำขนมอาลัว ขนมทองเอก และขนมสัมปันนีแสดงด้วยเพราะว่ามันไม่ต้องอบ กวนแล้วก็กินได้
แต่เนื่องจากว่าขาดประสบการณ์ทำของหวานทั้งปวง ตอนทำขนมสัมปันนีมันเลยแป้งไม่สุก ทุกวันนี้สงสัยว่าพลาดตอนไหน เพราะก็คั่วแป้งแล้ว เอากวนในกระทะก็แล้ว แต่มันก็ยังไม่สุก หรือต้องคั่วแป้งจนเป็นสีเหลือง
งานที่ว่าผ่านไปแล้วด้วยดีกับขนมจีบไทยและช่อม่วง แต่สัมปันนีนี้ยังคาใจอยู่ลึก
ท่านใดผ่านตาวานบอกทีเถิด สวัสดี
ปล. ด้วยหาแป้งข้าวเจ้าไ่ด้เลยเอาแป้งทำฮะเก๋ามาทำแทน โก้มาก
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 1 เมื่อ 21 เม.ย. 11, 11:42
|
|
แหมนึกถึงคุณหาญอยู่เชียวค่ะ
ปั้นขนมจีบได้ค่าตัว ๕๐ ชั่งแล้วนะคะ
หมู่นี้ดิฉันโดนตามตัวไปหาหนังสือกับเพื่อน ๆ ตอนสงกรานต์ทำกระทงทองไส้ครีมไก่เป็นของว่าง
ว่าจะทำหมูผัดใส่กระเทียมดองก็ทำไม่ทัน สหายที่นับถือสั่งว่าผัดไส้พิซซาจะง่ายกว่า
หลังสุดได้ไทยเขษมรวมเล่มใหญ่มา ๑๑ เล่ม สภาพดีมาก เห็นหนังสือเก่าก็ตื้นตันใจ
กินอะไรไม่ลง ขนาดตาลลอยแก้วในน้ำตาลสดยังเหลือในตู้เย็นเลยค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
tb
อสุรผัด

ตอบ: 46
|
ความคิดเห็นที่ 2 เมื่อ 21 เม.ย. 11, 20:19
|
|
ทั้งสวยและภูมิใจในความเป็นไทย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
han_bing
|
ความคิดเห็นที่ 3 เมื่อ 22 เม.ย. 11, 12:54
|
|
เรียนคุณวันดี
คิดถึงเช่นกันครับ เพราะตอนกวนสัมปันนีแล้ววินาศนี้อยากจะถามใครสักคนจริงๆว่าพลาดตรงไหน นี้ถ้าคราวหน้ามีคนเรียกให้ไปแสดงอีกจะเพิ่มสาคูไส้หมูด้วย แหม คิดไปเรากว่าจะปั้นอะไรก็หลังขดหลังแข็ง พอคนกินจับใส่ปาก...พริบตาเดียวก็หมด เฮ้อ...
เธอจะรู้ไหมหนาว่าฉันเหนื่อย
นี้จะมีคนจ้างไปรำไทยด้วย ให้ค่าจ้างสูงจนขออย่าให้เขาล้มงาน
สาธุ...
อนึ่ง วันนี้เข้ามาดู เลยอยากเล่าสู่กันฟัง เรื่องพิมพ์ขนมของจีน ข้าพเจ้าด้วยตั้งหน้าตั้งตาทำสัมปันนี (พร้อมกับน้องชาวไทยอีกหมู่ใหญ่) ด้วยว่าได้พิมพ์ไม้มา สวยมากๆ เป็นพิมก์สั่งตรงมาจากเมืองแต้จิ๋ว หรือภาษาจีนกลางเรียกว่าเฉาโจว (潮州chao zhou) แกะสลักด้วยมือ ราคาแพงจับใจ แต่กลั้นใจซื้อด้วยความอยากได้
พิมพ์นี้ไซร้จริงๆเขาเอาไว้ทำขนมผิง กำลังคนอยู่ว่าภาษาจีนกลางแท้ๆเขาเรียกว่าอะไรด้วยศัพท์ที่รู้มีแต่ทางจีนมาเลย์ใช้
ไว้ได้ความเพิ่มแล้วจะมาเล่าสู่กันฟัง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 4 เมื่อ 26 เม.ย. 11, 06:12
|
|
เคยเห็นรูปมะปรางริ้วที่ปอกลายต่าง ๆ ในหนังสือฉบับหนึ่งค่ะ
ปอกแล้วชุบน้ำเชื่อมเรียงในจานแก้ว งามเหลือหลาย
สมัยก่อนมีมีดทองเล่มเล็กๆ ใช้คว้านและสลักผลไม้ จับไม่ถนัดเลย
เคยทำ เจลโล ใส่ในเงาะคว้าน เสียเวลามากมาย
ต่อมาทำเจลโลในถ้วยของหวานแล้วใส่ฟรุตสลัด พัฒนาการไปอีกโดยใช้พีชครึ่งลูกควำ่ในถ้วยขนม บรรณาธิการหนุ่มน้อยคนหนึ่ง เคยมาร่วมกลุ่มที่บ้าน เธอแปลหนังสือไปก็กินพีชเจลโล หรือเยลลี่ไปเรื่อยๆ นับได้สิบกว่าถ้วย หลังสุดใช้ถ้วยเล็กจิ๋วใส่เงาะหรือลิ้นจี่ แล้วหยอดเจลโลพอดีคำ
เรื่องพายเรื่องถ่อนั้น ดิฉันไม่สู้ท่านผู้ใดค่ะ
คิดถึง จขกท ผู้สัญญาว่าจะพาดิฉันไปหาของกินกลางวันคือเป็ดพะโล้ แต่ต้องออกไปพบกันแต่เช้าตรู่ และต้องไปก่อนสิบโมงเช้าเพราะเป็ดหมด คนที่ไม่อยู่เมืองไทยนี่เป็นนักกินแทบทุกคน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
han_bing
|
ความคิดเห็นที่ 5 เมื่อ 26 เม.ย. 11, 12:44
|
|
จริง...
คนไม่อยู่เมืองไทยมักอยากกินอาหารไทย
วันหยุดยาวเด็กไทยในนานกิงจะนัดทำขนมไทย
อันได้แก่ สัมปันนี ทองเอก ทองชมพูนุช และเสน่ห์จันทน์ เนื่องด้วยไปซื้อพิมพ์ไม้อย่างดูแต่ราคาถูกจากโรงงาน
จริงๆข้าพเจ้าซื้อมาก่อนเพื่อน และแพงกว่าเพื่อน สุดท้ายถึงรู้ว่าอีกเว็ปไซด์ที่เป็นโรงงานขายเองถูกกว่าครึ่งหนึ่ง
อนึ่ง
กำลังเถียงกันว่าขนมทองเอกใช้แป้งสาลีหรือถั่งเขียวเราะเปลือกบดละเอียด
ผู้รู้วานบอกด้วย
สวัสดี
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 6 เมื่อ 26 เม.ย. 11, 12:53
|
|
ทำไมไม่ทำครองแครงคะ ไม้เซาะร่องแผ่นเดียว
ใคร ๆ ก็ช่วยทำได้ ใครทำใครกิน
เจ้าของสถานที่ไม่ต้องเก็บล้าง
ทำให้อร่อยไม่ยากนะคะ ถูกสตังค์ กินง่าย เก็บง่าย
ทองม้วนก็ทำง่าย ต้องอาศัยคนผสมเก่ง ๆ แต่หน้าเตาร้อนน้่จะเหมาะกับอากาศหนา
เดี๋ยวหาคำตอบให้ค่ะ กองตำราไว้แถวนี้แล้ว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
han_bing
|
ความคิดเห็นที่ 7 เมื่อ 26 เม.ย. 11, 22:19
|
|
ขอบคุณสำหรับคำแนะนำครับ แต่ที่ไม่ทำครองแครงเพราะว่าหัวหน้าคณะ (คือกระผม) ไม่ชอบกินครองแครง แล้วหาไม่ได้
ส่วนน้องม้วนคณะหาพิมพ์ไม่ได้ และในเมืองจีนมีขายทั่วไป (ไม่น่าเชื่อแต่เป็นเรื่องจริง) เลยไม่ทำ
ที่ทำขนมดังกล่าว เพราะว่าได้พิมพ์สวยๆมา
และที่สำคัญ เราใ้ช้ไมโครเวฟทำ
อันนี้เรื่องมันอยู่ที่การคั่วแป้งและเคี่ยวกะทิให้เป็นน้ำเชื่อกะทิครับ
เดิมตอนคั่วแป้งทำขนมข้างต้นใช้เวลาคั่ว ๔๐ นาทีถึง ๗๕ นาที ลองทำแล้ว เมื่อยมาก
แล้วต่อมาไปดูสูตรทำขนมผีงแบบมาเลเซียที่เรียกว่า "keih bang kit" หลายเว็ปไซด์ที่่เหล่าแม่บ้านวัยสาวแนะนำว่าให้ใช้เตาไมโครเวฟคั่วแป้ง เอาเข้าเตาสัก ๕ นาทีแล้วอบด้วยไฟแรงที่สุด ทุกๆหนึ่งนาทีให้นำมาคนที่หนึ่ง เป็นเสร็จ
แต่ทำจริงๆใช้เวลาประมาณ ๑๑ - ๑๒ นาที จะดีกว่า ไม่รู้เพราะเตาไมโครเวฟของเรามันโบราณไปหรือเปล่า
ส่วนน้ำตาลที่ต้องเคี่ยวกับกะทิจนข้น เห็นเว็ปไซด์การทำขนมเขาว่าเอาเข้าเตาไมโครเวฟ ๑๐ - ๑๕ นาที ทุกๆ ๕ นาทีให้เอามาคนทีหนึ่ง ก็เสร็จ
เลยลองทำตามดู ผลคือ ภายในครึ่งชั่วโมงที่อย่างเสร็จงดงามดั่งคั่วแป้งชั่วโมงกว่า เี่คี่ยวกะทิครึ่งชั่วโมง แต่ทั้งหมดทำภายใน เวลาไม่ถึงครึ่งชั่วโมง
เสร็จแล้วเอาส่วนผสมมากวนไฟอ่อนด้วยเตาไฟฟ้า เวลาประมาณ ๕ - ๑๐ นาที
แล้วก็เอาเข้าพิมพ์ไม้
เร็วสะดวก และขนมนี้หากินยากกกกกกกกกกกกมาก
ทุกคนจึงกรี้ดกราดกันมาก
กระผมทำขนมชนิดเป็นคนแรก โดยถึง ๕ ครั้งกว่าจะได้สูตรลงตัว สี่ครั้งแรกทิ้งหมด...บางทีเอาไปต้มแล้วก็ทำเป็นบัวลอยแทน
ไว้ทำแล้วจะถ่ายรูปมาลงเรือนไทย
อนึ่ง...
โปรดเมตตาบอกสูตรดั้งเดิมด้วยนะครับ เพราะยังเถียงกันอยู่
แล้วอีกข้อ
ทองเอกจริงๆใ้ช้ไข่กี่ฟองครับ...
อันนี้เป็นที่ถกเีถียงกันมากถึงการใช้ไข่ในขนมไทย เพราะพี่คนหนึ่งที่ชอบกินขนมไทยบอกว่าต้องมันเยิ้ม แล้วบางเว็ปไซด์บอกว่าแป้ง ๑ ถ้วยตวงใส่ไข่ ๓ - ๔ ฟองก็พอ นอกนั้นใช้สีผสมอาหาร
แต่บางเว็ปไซด์ใช้ไข่ถึง ๘ ฟองต่อแป้ง ๑ ถ้วยตวง
เลยถกเีถียงกันระหว่างเดินไปตลาดว่า
ขนมไทยใช้ไข่เยอะแค่ไหนในการทำ
โปรดเมตตา...
สวัสดี
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 8 เมื่อ 26 เม.ย. 11, 23:35
|
|
ทองเอก ตำราท่านผู้หญิงเปลี่ยน
น้ำตาลทรายหนัก ๒๕ บาท เมล็ดอัลมันด์ฤาแขกเรียดว่า ว่ำอาด่ำ หนัก ๑๒ บาท ไข่เป็ด ๗ ฟอง ถ้าใช้ไข่ไก่ ๑๔ ฟอง น้ำหญ้าฝรั่นหนัก ๒ บาท น้ำดอกไม้เทศหนัก ๑ บาท ทองคำเปลว
แช่เมล็ดอัลมันด์ให้เปลือกล่อน ตำให้ละเอียด น้ำตาลทรายเชื่อมแล้วกรอง ไข่เป็ด หรือ ไข่ไก่ ใช้แต่ไข่แดง ตีให้ขึ้นฟู
เอาอัลมันด์ที่ตำไว้นั้นเทลงในน้ำตาลทราย ตั้งไฟ กวน อย่าให้ไหม้ เมื่อข้นดีแล้ว ใส่ไข่ น้ำดอกไม้เทศและน้ำหญ้าฝรั่น กวนไปจนเข้ากันดี เมื่อค่นพอจะกดพิมพ์ เกลี่ยทองคำเปลวนิด ๆ ลงที่พิมพ์ ควักขนมอัดลงไป
เมื่อเคาะออกทองก็ติดหน้า ใส่โถอบ หรือจะอบควันเทียนก็ได้
อย่างของสมเด็จพระพันวษา ใช้เมล็ดแตงแทนอัลมันด์ ถ้าต้องใช้เร็ว ไม่ต้องอบก็ได้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
han_bing
|
ความคิดเห็นที่ 9 เมื่อ 27 เม.ย. 11, 06:13
|
|
โอ้...แสดงว่าแต่โบราณมาเราใช้เมล็ดอัลมอนด์
สรุปการถกเถียงกันว่าเป็นแป้งสาลีหรือแป้งถั่วทองเป็นอันพับไปจนสิ้น
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
han_bing
|
ความคิดเห็นที่ 10 เมื่อ 27 เม.ย. 11, 06:17
|
|
เอ้...คุณวันดีครับ เลยสงสัยต่อไป แล้วอย่างขนมจ่ามงกุฎนี้เขาใช้แป้งอะไรหรือครับ เพราะเห็นว่าบางคนอธิบายว่าเป็นแป้งชนิดเดียวกันกับที่ทำขนมทองเอก
แ้ล้วแป้งสาลีนี้ในขนมตระกูลทองนี้มีใช้บ้างไหมครับ
แล้วเมล็ดแตงนี้เมล็ดแตงโมใช่ไหมครับ
รบกวนอีกแล้ว
แล้วมาตราส่วนบาทหนึ่งหนักเท่าใดกันนี้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 11 เมื่อ 27 เม.ย. 11, 08:03
|
|
สัมปะนี
สำหรับนักเรียนมัธยมปีที่ ๑ - ๒ - ๓ หลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ โดย อาจารย์สัมฤทธิ์ สุวรรณบล พิมพ์ที่โรงพิมพ์เจริญธรรม พระนคร ๒๕๐๒
ขนมสัมปะนี น้ำตาลทรายเม็ดใหญ่ ๑ กก. = ๔ ถ้วยครึ่ง แป้งมัน ๑ กก. = ๗ ถ้วย มะพร้าวขาว ๒ กก. สีขนม ดอกมะลิ กระดังงา
อบน้ำด้วยดอกมะลิ กระดังงาค้างคืนไว้ คั้นกะทิ ด้วยน้ำดอกไม้ข้น ๖ ถ้วย เอาน้ำตาลเชื่อมกับน้ำดอกไม้ข้น ๆ พอเดือด กรองด้วยผ้าขาวบาง
เอาน้ำเชื่อมกับกะทิ เคี่ยวด้วยกระทะทองจนงวดเกือบเป็นยางมะตูม (ระวังอย่าให้ข้นเกิน จะร่วนตกทราย)
ยกมากวนข้างล่างด้วยพายคนไปทางเดียวจนเย็นเป็นสีขาว
เอาแป้งใส่กระทะทอง คั่วทีละน้อย ๆ จนสุก อย่าให้เหลือง ร่อนอีกครั้งใส่ชามไว้
เอาแป้งใส่ในน้ำตาลที่คน ทีละน้อยๆ ใช้พายตะล่อมให้เข้ากันเป็นก้อนกลม
ใส่สีตามความต้องการ
ยกขึ้นตั้งไฟให้ละลาย พอเดือด รีบยกลงมากวนข้างล่าง กวนพอเป็นก้อนชิมได้
ตักใส่ภาชนะ เอาผ้าขาวบางชุบน้ำบิดให้หมาด ๆ คลุมไว้
อัดใส่พิมพ์ห้แน่น เอามีดปาดหน้าให้เรียบ เคาะออกจากพิมพ์
ใส่โหลอบด้วยดอกมะลิ กระดังงาซึ่งรมควันเทียนเสียก่อน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 12 เมื่อ 27 เม.ย. 11, 08:48
|
|
สัมปะนี
ตำราของหลานแม่ครัวหัวป่า จ.จ.ร. พิมพ์ที่เสริมวิทย์บรรณาคาร ๒๕๑๗
ข้าวเหนียวข้าวสาร ๑ ทะนาน น้ำตาลทราย ๑ ๑/๒ กก. มะพร้าว ๓ ผล ไข่ไก่ ๒ ฟอง(ขอบคุณขบวนการที่เตือนค่ะ)
ตำข้าวเหนียวให้ละเอียด ขูดมะพร้าวด้วยกระต่ายจีน คั้นกะทิ ละลายแป้งกับน้ำตาล ตั้งไฟ กวน อย่าให้ไฟแรงนัก ต่อยไข่ เอาไข่แดงออก
ก่อนจะใส่ไข่ เอาแป้งที่กวนแตะเล็บ ถ้าเห็นว่าไม่ติด เอาไข่ขาวและน้ำสักครึ่งชามพรมลงในแป้ง
เมื่อเห็นว่าขาวดีแล้ว เทขนมลงบนกระดาษที่ทาน้ำมันมะพร้าว จะตากแดด หรือจะตัด จะปั้นเป็นก้อน หรือรูปร่างอย่างไรก็ได้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 13 เมื่อ 27 เม.ย. 11, 09:06
|
|
อ่านสูตรแล้วน่าทานมากครับ คุณ wandee อยากทราบว่า ๒ สูตรนี้ต่างกันตรงที่แป้งที่เอามาทำ ๑. สูตรแรกใช้แป้งมัน ๒. สูตรสองใช้แป้งข้าวเหนียว จึงสงสัยว่าทำไมขนมในลักษณะนี้จึงได้มีการเปลี่ยนชนิดแป้งได้ถึงขนาดนี้ ถ้ายกตัวอย่างการทำเบเกอรี่ หากใช้แป้งผิดสูตรจะทำให้ขนมไม่เป็นขนมเอาเสียเลย 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 14 เมื่อ 27 เม.ย. 11, 09:29
|
|
ขนมจ่ามงกุฎ
ในการเก็บหนังสืองานศพ เห็นหนังสือที่ไหนก็ต้องยืนละห้อยจนเพื่อนๆทนไม่ได้ ต้องยกให้
เมื่อไม่นานมานี้ ได้หนังสือของ คุณหญิงเจือ นครราชเสนี(๒๔๓๗ - ๒๕๒๔) อ่านด้วยความเลื่อมใสและเคารพ
ท่านเป็นธิดาคนแรกของ พระยาประเสริฐสุนทราสัย (กระจ่าง สิงหเสนี) และคุณหญิงตุ่ม
มีพี่น้องร่วมมารดา ๘ คน ต่างมารดาอีก ๙ คน
ได้สมรสกับพระยานครราชเสนี(สหัด สิงหเสนี)
น้องสาวของท่านเล่าว่าท่านทำขนมไทยได้สวยงามและอร่อย
ขนมสัมปนี ท่านกวนแล้วใส่สีเขียวอ่อน ชมภูอ่อน ปั้นคำเล็ก ๆห่อกระดาษสีจักหัวท้ายเป็นฝอย ๆ
ขนมจ่ามงกุฎนั้น เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ทองเอกกระจัง หรือดาราทอง ขนมนี้โอชาเพราะมีรสหวานมัน ของทองเอกและแป้งผสมไข่ รวมทั้งเม็ดแตงโมฉาบน้ำตาล
จารึกความรู้ว่า จ่ามงกุฎ มีชื่ออื่นอีก
หนังสือเล่มนี้ มี ประวัติย่อของเจ้าพระยาอภัยราชา(ปิ่น) เจ้าพระยาบดินทรเดชา(สิงห์) และเรื่อง เดชบดินทร์ ของ คุณปรีดา ศรีชลาลัย
หนังสืองานศพดี ๆ กำลังจะเป็นหนังสือหายากแล้วค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|