เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3
  พิมพ์  
อ่าน: 14142 ถามเรื่องพระพุทธรูป
hobo
พาลี
****
ตอบ: 324


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 27 เม.ย. 11, 19:56

เป็นกระทู้ที่ดูแล้วมีความสุขมากอีกกระทู้หนึ่งครับ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 27 เม.ย. 11, 20:10

พระพทุธรูปศิลปะสุโขทัย ที่กล่าวกันว่างดงามที่สุดในประเทศนั้น ประกอบไปด้วยองค์ประกอบหลายประการช่วยเสริมองค์พระให้เด่น สง่า น่าศรัทธา

"พระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก"

ดังที่ได้เกริ่นไว้แล้วว่าองค์ประกอบที่ทำให้พระพุทธชินราช งดงามคือ
๑. องค์พระพุทธรูป ศิลปะสุโขทัย หมวดพระพระพุทธชินราช คือ พระเศรียรค่อนข้างโต รับกับพระศอ (คอ) ท่อนแขนใหญ่ล่ำ พระวรกายตั้งตรง (ถ้าเทียบกับกับหมวดบริสุทธิ์จะดูกระด้างกว่า) พระหัตถ์ยาวเสมอกัน
๒. ซุ้มเรือนแก้ว เป็นองค์ประกอบให้ความงามของพระพุทธชินราชเสริมชะลูดขึ้นไป ดูโปร่ง เบา ลอยตัว
๓. ลักษณะพื้นวิหาร บริเวณประตูทางเข้าจะสูงกว่าองค์พระราว ๑ ฟุต (คือองค์พระอยู่ต่ำกว่าประตูทางเข้า) ทำให้องค์พระลอยเด่นเมื่อกระทบกับแสงจากปากประตู
๔. ลักษณะวิหารองค์พระออกแบบหลังคาคลุมปรกพื้น แสงสว่างเน้นทางด้านหน้า และเปิดช่องแสงด้านบนหลังคา จึงเสริมบรรยากาศให้กับองค์พระมากขึ้น


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 27 เม.ย. 11, 20:16

จนเมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสเมืองพิษณุโลก ได้เสด็จนมัสการและได้ตรัสชมถึงความงามแห่งองค์พระ ซึ่งมีพระราชประสงค์ให้ชะลอองค์พระลงมายังกรุงเทพมหานคร แต่เนื่องด้วยเป็นเหตุให้ชาวเมืองต่างทุกข์เศร้าที่ได้สูญเสียพระพุทธชินราช พระองค์จึงได้โปรดเกล้าให้พระประสิทธิปฏิมา (ม.ร.ว.เหมาะ ดวงจักร เมื่อครั้งเป็นหลวงประสิทธิปฏิมา) จางวางช่างหล่อขวา ซึ่งเป็นช่างหล่อฝีมือดีที่สุด ขึ้นไปปั้นหุ่นถ่ายแบบจากพระพุทธชินราชองค์เดิมที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก (เริ่มทำหุ่นตลอดจนถ่ายแบบ ๑๓ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๔๓) แล้วเสด็จพระราชดำเนิน ทรงเททองหล่อเป็นส่วนๆ เมื่อวันที่ ๒๐ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๔๔

ภาพรายละเอียดการสร้างพระ การหล่อพระ การย้ายพระเข้าประดิษฐานยังพระอุโบสถวัดเบญจมพิตร ผมเคยลงไว้
http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2009/01/K7451551/K7451551.html


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 27 เม.ย. 11, 20:41

พระศรีศากยมุนี วัดสุทัศน์เทพวราราม

เป็นพระพุทธรูปสำริดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เป็นศิลปะสุโขทัย หมวดหลัง โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้าฯให้อัญเชิญลงมาเนื่องจากต้องตากแดดไว้กลางแดด กลางฝนเป็นเวลานาน โดยองค์พระที่เห็นในปัจจุบันนี้ได้ถูกแปลง แต่งเสริมองค์พระให้ดูสมส่วนขึ้น ในพระราชพงศาวดารรัชกาลที่ ๒ ระบุว่า โปรดเกล้าให้หล่อแก้พระพักตร์ให้มีขนาดใหญ่ขึ้น เพื่อรับกับองค์พระ และโปรดเกล้าให้หล่อเสริมพระหัตถ์ให้ยาวเสมอกัน

ดังนี้องค์พระดั้งเดิม เป็นแบบสุโขทัยที่พระพักตร์แบบสุโขทัย หัวไหล่ผายสง่างาม


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 27 เม.ย. 11, 20:50

ศิลปะสุโขทัย หมวดกำแพงเพชร

ก็มีศิลปะสกุลช่างกำแพงเพชร ผสมกับ สกุลช่างสุโขทัย ลงไปผสม โดยพระพุทธรูปหมวดกำแพงเพชร จะมีจุดเด่นหลายประการ เช่น

๑. เม็ดพระศก หรือ เม็ดก้นหอยที่พระเศียร จะมีขนาดเล็ก เหมือนหนามขนุน
๒. พระพักตร์ได้ยืดออกยาวขึ้น ไม่กลมป้อมเหมือนผลมะตูม
๓. พระเกศหรือปลียอด แบบเปลวเพลิง และมักถอดได้
๔. ลักษณะที่บ่งชี้คือ ประทับนั่งบนขา ๓ - ๔ ขา เรียกว่า "ขาโต๊ะ" ซึ่งหมวดสุโขทัยบริสุทธิ์จะประทับนั่งบนฐานเขียง


บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 28 เม.ย. 11, 08:25

พระพุทธชินราชงามจริงๆ ครับ

ขอบพระคุณคุณไซมีส เจ้าพ่อภาพถ่ายที่นำมาให้ชมจ้า ยิงฟันยิ้ม

พระพุทธรุปองค์อื่นๆ ในยุคสุโขทัยที่งดงามก็มีอีกมาก
เช่น พระพุทธรูปปางลีลาที่ประดิษฐานอยู่พระระเบียงวัดเบญจมบพิตร
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 28 เม.ย. 11, 08:56

เมื่อคุณ Art47 ได้กล่าวถึงเรื่องพระลีลา จึงจะนำพระพุทธรูปสุโขทัย ศิลปะสุโขทัย มาให้ชมกัน

องค์นี้เป็นพระพุทธรูปปางลีลา ที่สร้างขึ้นใน พ.ศ. ๑๙๗๐ อยู่ในยุคสุโขทัยเรืองอำนาจ ดูลีลาความงามซิครับ


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 28 เม.ย. 11, 09:00

พระพุทธปฏิมาลีลาแบบสุโขทัยที่สร้างขึ้นหลังจากอาณาจักรสุโขทัยตกเป็นเมืองลูกหลวงของอยุธยา คือช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๐ เป็นต้นมา เช่นองค์ใน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สวรรควรนายก จังหวัดสุโขทัย จะมีชายจีวรที่พับทบเป็นแผ่นยาวจรดพระนาภีพาดผ่านพระโสณีซ้าย ขอบบนของสบงเป็นเส้นเดียวเว้าตามพระนาภี ยกพระหัตถ์ซ้ายประทานอภัย ขอบจีวรทิ้งลงใต้ ข้อพระกรและเป็นเส้นเว้าโค้งขมวดเข้าที่มุม ชายจีวรด้านล่างเป็นเส้นโค้งรับกับชายสบง

แม้ว่าพระพุทธรูปในช่วงเวลานี้อิทธิพลของสุโขทัยค่อยๆลดอำนาจไป ซึ่งตรงกับหมวดยุคเสื่อม แต่ฝีมือช่างด้านปั้นพระพุทธรูปของสกุลช่างสุโขทัย มิได้ถดถอยลงเลย


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 28 เม.ย. 11, 09:05

แต่บางท่านกล่าว่า ถึงแม้จะมีลีลาเยื้องย่างลีลา จีวรพริ้วไหวสักปานใด เป็นเพราะสร้างในสมัยที่ตกอยู่ใต้อิทธิพลของอยุธยาแล้วไซร้ พระพุทธรูปปางลีลา ศิลปะสุโขทัย ก็ขาดจิตวิญญาณของสุโขทัยไปอย่างสิ้นเชิง ให้ดูพระพุทธรูปปางลีลา ศิลปะสุโขทัยที่พบในกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ จ.อยุธยา


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 28 เม.ย. 11, 09:09

มาดูในพระปางลีลาในหมวดกำแพงเพชร ซึ่งพระปางลีลาสกุลช่างกำแพงเพชรนั้นแตกต่างจากพระพุทธปฏิมาลีลาแบบสุโขทัย แบบกำแพงเพชรส่วนใหญ่ไม่มี ชายจีวรที่พาดผ่านพระโสณีซ้าย นอกจากนั้นแล้ว ขอบจีวรด้านล่างทั้งสองด้านยังทำเป็นมุมแหลมคล้าย พระพุทธปฏิมาอยุธยา


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 28 เม.ย. 11, 09:11

พระปางลีลา ศิลปะสุโขทัย สกุลช่างกำแพงเพชร นั้นก็ถือว่างามไม่แพ้กัน


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 28 เม.ย. 11, 09:18

พระปางลีลา อีกประเภทหนึ่งที่แยกย่อยสาขาออกมา เป็นสกุลช่างสวรรคโลก แต่มิได้สร้างเมื่อสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี หากแต่ถูกสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ สมัยกรุงศรีอยุธยา


บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 28 เม.ย. 11, 09:22

พระปางลีลา อีกประเภทหนึ่งที่แยกย่อยสาขาออกมา เป็นสกุลช่างสวรรคโลก แต่มิได้สร้างเมื่อสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี หากแต่ถูกสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ สมัยกรุงศรีอยุธยา

ทำไมคุณไซมีสถึงคิดว่าสร้าง (หรือบูรณะ ฮืม) ในสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศล่ะครับ สังเกตจากอะไร
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 28 เม.ย. 11, 09:26

สำหรับคุณ Art47 ที่ถามถึงพระพุทธรูปปางลีลา ที่ประดิษฐานที่วัดเบญจมพิตร นั้นซึ่งกล่าวกันว่า เป็นพระปางลีลาสุโขทัย ที่งามที่สุดในโลก แต่ว่า อันที่จริงแล้วพระพุทธรูปองค์ดังกล่าว มิได้สร้างขึ้นเมื่อสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี กำหนดอายุเวลาได้จากการเปรียบเทียบกับเทวรูปพระนารายณ์ในส่วนรายละเอียดของพระพักตร์ เช่น พระขนงโค้งรับกับสันพระนาสิกทั้งสองด้าน ลักษณะของพระโอษฐ์ที่แย้มพระสรวลที่มุม และพระหนุซึ่งมีลักษณะใกล้เคียงกันมากกับพระพักตร์เทวรูปพระนารายณ์ (ส.ข. ๑๕ และ ส.ข. ๒๖) (สุภัทรดิศ ๒๕๐๙) ซึ่งจากลักษณะของพระพักตร์ และลวดลายเครื่องประดับน่าจะสร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ (พ.ศ. ๒๑๙๙ – ๒๒๓๑)


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 28 เม.ย. 11, 09:32

พระปางลีลา อีกประเภทหนึ่งที่แยกย่อยสาขาออกมา เป็นสกุลช่างสวรรคโลก แต่มิได้สร้างเมื่อสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี หากแต่ถูกสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ สมัยกรุงศรีอยุธยา

ทำไมคุณไซมีสถึงคิดว่าสร้าง (หรือบูรณะ ฮืม) ในสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศล่ะครับ สังเกตจากอะไร

พระพุทธปฏิมาลีลาแบบสวรรคโลกส่วนใหญ่ เป็นพระพุทธปฏิมาปูนปั้นที่ติดอยู่กับโบราณสถาน เช่นภายในซุ้มซีกของประตูทางเข้าวิหารสิบเอ็ดยอด วัดเจดีย์เจ็ดแถว สวรรคโลก (ปัจจุบันคืออุทยาน ประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย) ซึ่งมีขอบจีวรด้านซ้ายที่ห้อยลงจากพระกัปประ เป็นลูกคลื่น และม้วนกลับตอนปลาย ทำให้มุมขอบจีวรเป็นเส้นโค้ง ส่วนชายจีวรและชายสบงด้านล่างก็โค้งรับกับ ข้อพระบาทขวาที่ยกขึ้น กำหนดอายุได้จากรูปแบบของวิหารสิบเอ็ดยอดที่มีรูปแบบเดียวกันกับภาพ จิตรกรรมฝาผนังวิหารหลายยอดในอุโมงค์พระมณฑปวัดศรีชุม จังหวัดสุโขทัย ซึ่งก็มีพระพุทธปฏิมาลีลา ประดิษฐานอยู่ในซุ้มซีก จึงน่าจะสร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์เช่นกัน

พระพุทธปฏิมาลีลาปูนปั้นวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สวรรคโลก (ปัจจุบันคือ เชลียง อำเภอ ศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย) พระกรซ้ายและขอบจีวรที่ห้อยลงจากพระกัปประรวมทั้ง ชายจีวรด้านล่างหักหายไป ส่วนชายจีวรที่พับทบกันเป็นริ้วยาวจรดพระนาภี เป็นลักษณะเฉพาะของพระพุทธปฏิมาแบบสวรรคโลก  นอกจากนั้นแล้ว หน้านางของสบงยังทำเป็นเส้นนูนเชื่อม กับขอบสบงด้านบน เช่นเดียวกับพระพุทธปฏิมาลีลา อยุธยา  และเนื่องด้วยว่าพระพุทธปฏิมาลีลาองค์นี้ สร้างบนฐานชุกชีขององค์พระประธานในพระวิหาร ซึ่งน่าจะสร้างขึ้นเมื่อสมเด็จพระเจ้าบรมโกศทรงบูรณะปฏิสังขรณ์พระปรางค์ของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จึงน่าจะสร้างขึ้นในช่วง รัชกาลนั้น (พิริยะ ๒๕๔๕, ๗๒ – ๗๓)





บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.046 วินาที กับ 20 คำสั่ง