เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 9
  พิมพ์  
อ่าน: 79683 อาหารโปรตุเกส
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 25 เม.ย. 11, 11:08

นั่นซีคะ  อาจเหมือนทองพลุก็ได้    แบบเดียวกับเอแคลร์
ส่วนรูปนี้คือทาร์ตคัสตาร์ดของโปรตุเกศ

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 25 เม.ย. 11, 11:18

นี่คือ  Bacalhau ค่ะ  จานนี้เรียกว่า  bolinhos de bacalhau ทำด้วยปลาค้อดเค็ม ( salted cod) ปั้นเป็นก้อนทอด     เป็นอาหารดั้งเดิมของโปรตุเกศ   นิยมทำกันในโอกาสพิเศษเช่นในงานฉลองคริสต์มาส
หน้าตาเหมือนทอดมันปลากรายไหมคะ



บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 25 เม.ย. 11, 11:22

ส่วนรูปนี้คือทาร์ตคัสตาร์ดของโปรตุเกศ



"ทาร์ตไข่"

ต่อมาไม่นานนี้ร้านขายไก่ทอดชื่อดังได้นำมาขายในประเทศ ทำให้วัยรุ่นกินกันมากขึ้น

ไม่ใช่วัยรุ่นก็ชอบรับประทาน

อร่อยดี


 ยิงฟันยิ้ม  ยิงฟันยิ้ม  ยิงฟันยิ้ม

วัยรุ่นคนนี้บอกว่า มันค่อนจะออกหวาน + มันเนยมากเกินไป  ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม อยากไปลองกินแบบต้นฉบับที่โปรตุเกส เห็นได้ข่าวว่าเวลาซื้อต้องต่อคิวยาวมากๆๆๆๆๆๆๆๆ
บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 25 เม.ย. 11, 11:45

Flat chargrilled chook เขาบอกว่าเป็น Portuguese charcoal chicken

เหมือน ไก่ย่าง ทานคู่ส้มตำเลยค่ะ ฮิฮิ... ยิงฟันยิ้ม



บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 25 เม.ย. 11, 12:04

ส่วนจานนี้ชื่ออะไร อ่านไม่ออก หน้าตาคล้าย กะหรี่ปั๊บ หรือ ปั้นสิบ นะคะ



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 25 เม.ย. 11, 12:19

กะหรี่ปั๊บ  ในภาษาไทย มาจาก  Karipap ในภาษามาเลย์    อังกฤษเรียกว่า curry puff   เป็นของว่างพื้นเมืองของมาเลย์และสิงคโปร์
ตามประวัติบอกว่าพวกโปรตุเกศนำเข้ามา ตั้งแต่ค.ศ. 1511  สมัยที่มีอำนาจเหนือมะละกา   ชื่อเดิมของมันคือ   Empanada หน้าตาเป็นงี้ค่ะ



ขอสมนาคุณ  คุณ DD  ด้วย empanada ๑ จานพูนๆ

บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 25 เม.ย. 11, 12:27

^ ขอบพระคุณค่ะ  ยิงฟันยิ้ม
คิดถึง กะหรี่ปั๊บ มวกเหล็ก สระบุรีนะคะ แค่เดินชิม ก็อิ่มแล้ว ฮิฮิ....

เรียนถามอีกชื่อนะคะ ขนมมัสกอด ค่ะ

"มัสกอดกอดอย่างไร....................น่าสงสัยใคร่ขอถาม
กอดเคล้นจะเห็นความ.................ขนมนามนี้ยังแคลง"
(พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระราชนิพนธ์กาพย์เห่เรือชมเครื่องคาวหวาน)

ชื่อของขนม มีที่มาอย่างไรค่ะ
  หน้าตาเป็นอย่างไร และมาจากขนมอะไรของชาติไหนคะ 
บางที่บอกว่ามาจากโปรตุเกส บางที่บอกว่ามาจากสกอตต์แลนด์

ดูรูปจากเน็ต เหมือน cup cake มีหน้าด้วยค่ะ น่าจะเพี้ยนไปเยอะนะคะ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 25 เม.ย. 11, 12:48

มัสกอด ดิฉันเข้าใจว่ามาจากเมืองแขกค่ะ   รอคุณเพ็ญชมพูและคุณ siamese มาเฉลยดีกว่า
cup cake เมื่อ ๒๐๐ ปีก่อน  ไม่น่าจะมีในเมืองไทย
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 25 เม.ย. 11, 13:25

ไปเจอตำราทำขนมมัสกอด ในเว็บบอกว่าเป็นขนมจากโปรตุเกศ    ส่วนเรื่องที่ว่าขนมชนิดนี้มาจากสกอตแลนด์ คงเอามาจากชื่อ มั(สกอด) ละมัง

มัสกอด
ส่วนผสม: มะพร้าวขาว ๒ ขีด คั้นแล้วเคี่ยวให้เป็นขี้โล้ ๑/๔ ถ้วย, น้ำตาลทรายขาว ๑ ถ้วย, ไข่ไก่ ๓ ถ้วย, แป้งเค้ก ๒ ถ้วย, ไข่ขาวสำหรับแต่งหน้า ๒ ฟอง, น้ำมะนาว ๑ ช้อนชา, น้ำตาลทรายป่นละเอียด ๑ ถ้วย, สีผสมอาหารสีชมพู ฟ้า เขียว เหลือง
วิธีทำ: ตีไข่ให้ขึ้น แล้วค่อยๆ ใส่น้ำตาลลงไปเรื่อยๆ จนขึ้นฟู ใส่แป้งลงในไข่ที่ตีขึ้นแล้ว โดยใช้ไม้ตีไข่ คนตะล่อมไปทางเดียวกันให้เข้ากัน อย่าคนมากนักขนมจะยุบ ทาพิมพ์ด้วยน้ำมันขี้โล้ให้ทั่ว อบพิมพ์ให้ร้อน แล้วตักแป้งที่ผสมแล้วใส่ลงไป ๓/๔ พิมพ์ นำไปเข้าเตาอบ อบทั้งไฟบนและล่างใช้ไฟอ่อน ความร้อนประมาณ ๒๕๐-๓๐๐ องศาฟาเรนไฮด์ ประมาณ ๑๕-๒๐ นาที (สังเกตให้ขนมพอเป็นสีนวล) นำออกจากเตาแล้วรีบแกะออกจามพิมพ์ ถ้าทิ้งไว้ให้เย็นจะแคะยาก ตีไข่ขาวให้ฟู ใส่น้ำตาลทรายป่นลงไป ตีเรื่อยๆจนขึ้นฟูแข็ง แบ่งใส่สีต่างๆตามต้องการ นำไปทาหน้าขนมจนทั่ว อบเฉพาะไฟบน ๓-๕ นาทีหรือจนกว่าหน้าขนมจะเป็นสีนวล จึงใช้ได้  ถ้าจะรับประทานกับมะพร้าวทึนทึก ต้องขูดมะพร้าวหยาบๆ แล้วโรยลงไปบนไข่ขาวที่ทาหน้าขนมแล้ว จึงนำไปอบ พอเหลืองนวลเช่นกัน

http://www.ubmthai.com/leksoundsmf3/index.php?topic=9651.0

ดูจากวิธีทำ  เหมือนทำขนมเค้ก มีหน้าเค้กเป็นน้ำตาลไอซิ่งด้วย     แต่มะพร้าวขูดไม่น่าจะเป็นของโปรตุเกศ  น่าจะเป็นของไทยนี่เอง
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 25 เม.ย. 11, 13:46

มัสกอด ดิฉันเข้าใจว่ามาจากเมืองแขกค่ะ   รอคุณเพ็ญชมพูและคุณ siamese มาเฉลยดีกว่า

คุณเทาชมพูเข้าใจถูกต้องแล้ว

จากบทความเรื่อง ตามรอย สำรับแขกคลองบางหลวง โดย ธีรนันท์ ช่วงพิชิต นิตยสารสารคดี  ฉบับที่ ๑๙๔ เดือน เมษายน ๒๕๔๔

มัศกอดกอดอย่างไร     น่าสงสัยใคร่ขอถาม
กอดเคล้นจะเห็นความ    ขนมนามนี้ยังแคลง

อ่านกาพย์บทนี้จบแล้ว อดรู้สึกคล้อยตามไม่ได้ โดยเฉพาะวรรคสุดท้ายที่ว่า "ขนมนามนี้ยังแคลง" ด้วยนึกสงสัยมานานแล้วว่า ทำไมขนมชนิดนี้จึงได้ชื่อว่า "มัศกอด" เมื่อสอบถามเรื่องนี้ กับคุณย่าคุณยาย ท่านเล่าว่า "มัศกอด" ก็คือ "ฮะหรั่ว" ชนิดหนึ่ง นอกจากฮะหรั่วขาว และฮะหรั่วแดงที่เล่ามาแล้ว ยังมีฮะหรั่วอีกประเภทหนึ่ง ที่เวลากวน ใช้น้ำมันเนยแทนกะทิ กวนค่อนข้างยาก เมื่อจวนสุกจะใส่ "มะด่ำ" หรือเมล็ดอัลมอนด์บุบ ปนไปในเนื้อขนมด้วย รสชาติจะหอมเนยเป็นพิเศษ เรียกฮะหรั่วชนิดนี้ว่า "ฮะหรั่วเนย" หรือ "ฮะหรั่วมัศกอด" บางคนเรียกว่า "ฮะหรั่วมัสกัด"

ชื่อ มัศกอด นั้น มาจากชื่อเมือง มัสกัต (Muscat) เมืองท่าบริเวณปากอ่าวโอมาน ในอดีต หากจะเดินทางจากประเทศเปอร์เชีย (อิหร่านในปัจจุบัน) จะต้องเดินทางโดยทางเรือ ผ่านอ่าวเปอร์เชียออกอ่าวโอมาน จอดเรือพักที่เมืองมัสกัต แล้วจึงออกสู่มหาสมุทรอินเดีย

ขนมนี้ไม่ว่าจะชื่ออะไรก็ตาม เสน่ห์ของมันอยู่ที่เวลากิน จะต้องห่อด้วยแผ่นลุดตี่ ซึ่งยังเล่าค้างอยู่อีกชนิดหนึ่ง ที่ต้องกินควบกับฮะหรั่ว

"ลุดตี่" ที่ว่านี้ทำจากแป้งข้าวเจ้าเช่นกัน โดยนำน้ำแป้งมาเกรอะ หรือทับน้ำออกให้เหลือเฉพาะเนื้อแป้ง นำมานวดจนเป็นเนื้อเดียวกัน นำก้อนแป้งนี้ไปต้มในน้ำเดือดพอสุก จากนั้นนำมานวดอีกครั้ง จนเนื้อแป้งเนียนนุ่ม แบ่งแป้งออกเป็นก้อนกลม ๆ ขนาดพอเหมาะ แล้วบดด้วยไม้บดแป้ง ที่ทำจากปล้องไม้ไผ่สั้น ๆ แผ่เป็นแผ่นกลม สมัยปู่ย่าตายาย จะแผ่แป้งบนก้นขันลงหินที่คว่ำอยู่ รองแป้งด้วยใบตอง คลึงแผ่แป้งจนได้ขนาดเท่ากับก้นขันลงหิน แล้วจึงนำไปปิ้ง บนกระทะร้อนจนสุกเสมอกัน เราเรียกแผ่นแป้งชนิดนี้ว่า "ลุดตี่" นำมาห่อฮะหรั่ว ก็จะได้ขนมที่รสกลมกล่อมไม่หวานเกินไป

 ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 25 เม.ย. 11, 13:47

ขอบคุณค่ะ  ยิงฟันยิ้ม
ตาม link ไปอ่านมาแล้วค่ะ มีอาหารตามพระราชนิพนธ์กาพย์เห่เรือชมเครื่องคาวหวาน อีกเพียบเลยค่ะ ใครสนใจลองตามไปอ่านดูนะคะ

ขนม มัสกอด มีปรากฏในพระราชนิพนธ์รัชกาลที่ 2
แสดงว่า เตาอบ ที่เราพูดถึงกันในกระทู้ของเสวยในรัชกาลที่ 5 ก็มีมาแล้วตั้งแต่รัชกาลที่ 2 เหรอคะ ฮืม

เรียนถามอีกนิดค่ะ ทำไมอาจารย์เขียนโปรตุเกส ด้วย ศ คะ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 25 เม.ย. 11, 13:57

เมื่อสอบถามเรื่องนี้ กับคุณย่าคุณยาย ท่านเล่าว่า "มัศกอด" ก็คือ "ฮะหรั่ว" ชนิดหนึ่ง นอกจากฮะหรั่วขาว และฮะหรั่วแดงที่เล่ามาแล้ว ยังมีฮะหรั่วอีกประเภทหนึ่ง ที่เวลากวน ใช้น้ำมันเนยแทนกะทิ กวนค่อนข้างยาก เมื่อจวนสุกจะใส่ "มะด่ำ" หรือเมล็ดอัลมอนด์บุบ ปนไปในเนื้อขนมด้วย รสชาติจะหอมเนยเป็นพิเศษ เรียกฮะหรั่วชนิดนี้ว่า "ฮะหรั่วเนย" หรือ "ฮะหรั่วมัศกอด" บางคนเรียกว่า "ฮะหรั่วมัสกัด"

แล้วฮะหรั่วคืออะไร

ฮะหรั่ว คือขนมกวนทุก ๆ ชนิดของชาวเปอร์เชีย คล้าย ๆ กับแยม (jam) ของฝรั่ง ถ้าจะให้ใกล้ตัวสักหน่อย ก็จะต้องบอกว่า ฮะหรั่วที่กำลังพูดถึงนี้ คือต้นตำรับของขนม "อาลัว" ที่พวกสาว ๆ ชอบซื้อกินกันนั่นเอง

ฮะหรั่วทำจากแป้งข้าวเจ้า ที่ได้จากการนำข้าวสารไปแช่ น้ำที่เจือผสมเวลาโม่ ใช้น้ำอบดอกมะลิ ดอกกระดังงา และควันจากเทียนอบ เมื่อได้น้ำแป้งแล้ว ก็นำมากวนกับกะทิ และน้ำตาลในกระทะทองเหลือง ถ้าใช้น้ำตาลทรายขาวผสม ก็จะต้องใช้กะทิคั้นจากมะพร้าวขาว ที่ปอกผิวแล้ว เรียกว่า "ฮะหรั่วขาว" แต่ถ้าใช้น้ำตาลปึกกวน จะใช้กะทิจากมะพร้าวที่ไม่ได้ปอกผิว สีสันที่ได้จะออกไปทางสีน้ำตาล เรียกว่า "ฮะหรั่วแดง" เวลาทำบุญ ต้องทำทั้งสองชนิดคู่กัน

ฮะหรั่วทั้งสองแบบ บางทีก็เรียกรวมว่า "ฮะหรั่วกะทิ" เวลากวนจะใช้ไฟไม่แรงมาก ไม่เช่นนั้นขนมจะติดกระทะและไหม้ กวนจนข้นขึ้นมันเงา แป้งกับกะทิจับตัวเป็นลูก เทลงถาดขณะร้อน ๆ พอขนมเย็นตัวจะนุ่มตึงมือ ตัดเป็นชิ้นพอคำ รูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน

ฮะหรั่วกะทิไม่หวานแหลม แต่เน้นให้มีกลิ่นหอมนำ หวานตาม ที่สำคัญขนมจะต้องนุ่ม

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 25 เม.ย. 11, 14:03

ภาพขนม อาลัว ที่วางขายอยู่ในปัจจุบันค่ะ
ข้างนอกกรอบๆ ข้างในเป็นแป้งเละๆ หวานๆ ค่ะ

ลุดตี่ น่าจะมาจากคำว่า โรตี นะคะ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 25 เม.ย. 11, 14:30

ขอบคุณค่ะ  ยิงฟันยิ้ม

เรียนถามอีกนิดค่ะ ทำไมอาจารย์เขียนโปรตุเกส ด้วย ศ คะ

ไม่ได้เช็คว่ารอยอินให้สะกด ส หรือ ศ ค่ะ  เข้าใจว่าสะกด ศ   เหมือนคำว่า พุทธเกศ   ซึ่งเป็นคำที่คนไทยเรียกคนโปรตุเกส
เพิ่งไปเช็ค  รอยอินให้สะกด ส
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 25 เม.ย. 11, 14:33

มัสกอด ดิฉันเข้าใจว่ามาจากเมืองแขกค่ะ   รอคุณเพ็ญชมพูและคุณ siamese มาเฉลยดีกว่า
cup cake เมื่อ ๒๐๐ ปีก่อน  ไม่น่าจะมีในเมืองไทย

เห็นคุณเพ็ญชมพูได้อธิบายหมดแล้ว มาพร้อมด้วยวิธีการกิน ซึ่งอยากจะกินมาก ไม่รู้ว่าที่ใดมีขายบ้างหนอ  ฮืม

ถ้าบอกว่ากินกับ "ลุดตี่" ก็เป็นแบบโรตีใช่ไหม คงไม่ใช่แบบ "นาน" แน่เลย

จัดสำรับคาว - หวานกันไปมา เริ่มเห็นว่า เรารับวัฒนธรรมหลายจาน หลายแกงนะครับ นี่ขนาดไม่รวม จีน เปอร์เซีย มอญ พม่า
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 9
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.093 วินาที กับ 20 คำสั่ง