เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 9
  พิมพ์  
อ่าน: 79684 อาหารโปรตุเกส
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 75  เมื่อ 26 เม.ย. 11, 07:58

ขนม Papo-de-Anjo ของผสมเหมือนทองหยอด แต่ต้นฉบับมีแป้งเยอะกว่ามาก

Ingredientes:

6 xícaras de açúcar น้ำตาล (ส่วนของตัวขนม)

4 xícaras de água (น้ำเปล่า)

1 colher (de chá) de essência de baunilha (ผงฟู)

1 colher (de chá) de fermento em pó 24 gemas (แป้ง)


ส่วนของน้ำเชื่อม
1k de açúcar (น้ำตาล)

24 ovos (ไข่แดง)

Essência de baunilha (ผงฟู)





บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 76  เมื่อ 26 เม.ย. 11, 08:26

ได้อ่านบทความเรื่อง บทบาทในการเผยแพร่วัฒนธรรมการกินอยู่ของชุมชนชาวโปรตุเกสในประวัติศาสตร์ไทย ของคุณพิทยะ ศรีวัฒนสาร พูดถึงเรื่อง ขนมไทย-ขนมโปรตุเกส น่าสนใจดี

ขออนุญาตยกมาให้อ่าน เพื่อจะได้ย่อยวิเคราะห์วิจารณ์กันต่อไป   ยิงฟันยิ้ม

ดังจะอธิบายได้จากองค์ความรู้ที่ปรากฏอยู่ใน "นิทรรศการขนมนานาชาติ" ซึ่งจัดโดยภาควิชาภาษาตะวันตก คณะอักษาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๑ ได้จำแนกกลุ่มขนมหวานของไทยที่ได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมโปรตุเกส คือ ทองหยิบ ฝอยทอง ทองหยอด บ้าบิ่น ลูกชุบ ขนมผิง ทองม้วน หม้อแกง ขนมไข่ กะหรี่ปั๊ป (ซึ่งชุมชนย่านโบสถ์คอนเซ็บชัน สามเสนยังทำอยู่แต่เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ขนมปะแตน) มีคำอธิบายถึงแหล่งกำเนิดของขนมบางอย่าง เช่น ในประเทศโปรตุเกส ขนม ตรูซูช ดาช กัลดัช (Trouxas das caldas) เป็นต้นตำหรับของขนมทองหยิบ ขนมเกวชาดาช ดึ กูอิงบรา (Queljadas de coimbra) เป็นต้นตำหรับของขนมบ้าบิ่นของไทย ซึ่งในโปรตุเกสจะมีเนยแข็งเป็นส่วนผสมแต่ในไทยใช้มะพร้าวแทน ลูกชุบ(Massapães) เป็นขนมประจำท้องถิ่นของแคว้นอัลการ์ฟ (Algarve) ในโปรตุเกส มีเม็ดอัลมอนด์เป็นส่วนผสมสำคัญแต่ในไทยใช้ถั่วเขียวแทน ผู้รู้กล่าวว่าในอดีตบาทหลวงและแม่ชีในประเทศโปรตุเกส ได้รับการยอมรับว่าเป็นเจ้าตำหรับของการประดิษฐ์คิดค้น และมีการทำขนมหวานชนิดใหม่ ๆ ออกมาเผยแพร่เสมอ การชี้ให้เห็นถิ่นกำเนิดของขนมโปรตุเกส ที่เข้ามาเผยแพร่ในเมืองพระนครศรีอยุธยา ทำให้ทราบว่าสมาชิกของชุมชนโปรตุเกสส่วนหนึ่งมีความสัมพันธ์กับบรรพบุรุษ ซึ่งเดินทางมาจากอัลการ์ฟ และกูอิงบราเป็นต้น

ในสมัยอยุธยาหลักฐานคำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม กล่าวถึงตลาดขายขนมชนิดต่าง ๆ อาทิ ถนนย่านป่าขนม ถนนย่านขนมจีน ย่านตำบลหัวสาระพา และถนนหน้าวัดมหาธาตุ ถนนย่านขนมนั้น

" …ชาวบ้านย่านนั้นทำขนมขาย แลนั่งร้านขายขนม ชะมดกงเกวียน สามเกลอ หินฝนทอง ขนมกรุบ ขนมพิมพ์ถั่ว ขนมสำปะนี แลขนมแห้งต่าง ๆ ชื่อตลาดป่าขนม"

ส่วนถนนย่านขนมจีน มีหลักฐานกล่าวว่า

" …มีร้านโรงจีน ทำขนมเปีย ขนมโก๋ เครื่องจันอับ ขนมจีนแห้ง ขายเป็นร้านชำชื่อตลาดขนมจีน…"

ย่านตำบลหัวสาระพา มีโรงทำเครื่องจันอับและขนมแห้งของพ่อค้าจีน ส่วนถนนหน้าวัดมหาธาตุมีพ่อค้าจีนมาคอยเอาข้าวพอง ตังเมมาแลกของต่าง ๆ นอกจกขนมเหล่านี้แล้ว ยังมีการทำขนมลอดช่องส่งขายให้แก่ชาวเมืองบริเวณบ้านกวนลอดช่องอันเป็นย่านที่อยู่อาศัยของแขกตานี หรือแขกมุสลิมจากเมืองปัตตานี จนถึงกับทำให้ย่านนี้ได้ชื่อว่าบ้านกวนลอดช่อง หรือบ้านลอดช่องมาจนถึงปัจจุบัน

เป็นที่เข้าใจกันดีว่า ขนมเปีย ขนมโก๋ เครื่องจันอับและขนมจีนแห้ง เป็นขนมที่ชาวจีนทำขึ้น ส่วนขนมข้าวพองและตังเมนั้น แม้ผู้นำมาแลกของจะเป็นพ่อค้าจีน แต่หนังสือ อักขราภิธานศรับท์ ของหมอบรัดเลย์ ก็อธิบายว่า เป็นขนมไทยทั้งสองชนิด และขนมลอดช่องนั้นเดิมทีเป็นของชาวมุสลิม เนื่องจากมีส่วนประกอบของน้ำตาล กะทิ แป้งและใบเตย อันเป็นสินค้าส่วนหนึ่งที่นำมาจากหัวเมืองทางปักษ์ใต้ ประเด็นสำคัญคือ ขนมซึ่งชาวบ้านในย่านป่าขนม "ทำขายและนั่งร้านขาย" นั้น หากมองอย่างผิวเผิน อาจจะเห็นว่าล้วนเป็นขนมไทยทั้งสิ้นได้แก่ขนมชะมด กงเกวียน สามเกลอ หินฝนทอง กรุบ พิมพ์ถั่ว และสำปะนี ขนมดังกล่าวมักเป็นส่วนหนึ่งของขนมในงานพิธีมงคล อาทิ งานแต่งงาน งานขึ้นปีใหม่ งานบุญวันนักขัตฤกษ์ต่าง ๆ และงานฉลองเลื่อนชั้นยศ เลื่อนตำแหน่ง เป็นต้น แต่เมื่อกล่าวถึงขนมไทยแท้ๆ จากการศึกษาได้พบว่า ส่วนประกอบหลักของขนมไทย มักหนีไม่พ้นของสามสิ่ง คือ แป้ง น้ำตาล และมะพร้าว นำมาคลุกเคล้าผสมผสาน ดัดแปลงตามสัดส่วนที่เหมาะสม ด้วยวิธีต่าง ๆ อาทิ ต้ม นึ่ง ทอด จี่ ผิง ฯลฯ ก็จะได้ขนมไทยมากมายหลายชนิด และมีคำอธิบายของผู้ใหญ่สูงอายุชี้ว่า สมัยโบราณ คนไทยไม่ได้กินขนมกันทุกวัน หากแต่จะได้กินก็ต่อเมื่อมีงานนักขัตฤกษ์ หรืองานบุญสำคัญเท่านั้น ขนมไทยที่กินกับน้ำกะทิ และทำเลี้ยงแขกในงานบุญเสมอก็คือ ขนมสี่ถ้วย ซึ่งหมายถึง ไข่กบ(เม็ดแมงลัก) นกปล่อย(ลอดช่อง) มะลิลอย(บัวลอย) และอ้ายตื้อ(ข้าวเหนียวน้ำวุ้น)  ส่วนขนมที่ใช้เลี้ยงในงานมงคลต่าง ๆได้แก่ ขนมชั้น ขนมจ่ามงกุฏ ขนมกง ขนมสามเกลอ ขนมชะมด ขนมบ้าบิ่น ขนมหม้อแกง ขนมปุยฝ้าย ขนมถ้วยฟู ขนมเทียนแก้ว ขนมทองหยิบ ขนมทองหยอด ขนมทองพลุ ขนมทองเอก ขนมทองโปร่ง ขนมทองม้วน ขนมฝอยทอง เป็นต้น ขนมบางชนิดไม่เพียงแต่จะประกอบด้วยแป้ง และน้ำตาลเท่านั้น ยังมีส่วนผสมสำคัญของขนมไทยนั้นๆ ผู้เชี่ยวชาญการทำขนมท่านหนึ่งเชื่อว่า นางมารี ปินา ดึ กีมาร์ (Marie Pena de Guimar หรือ Guiomar) ภรรยาชาวโปรตุเกสของเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ ได้รับบรรดาศักดิ์เป็น "ท้าวทองกีบม้า" ตำแหน่งเวิเศสกลาง ถือศักดินา ๔๐๐ ได้เป็นผู้กำกับการพนักงานของหวานเป็นผู้นำมาเผยแพร่ กล่าวคือ

" ท่านท้าวทองกีบม้าผู้นี้เป็นต้นสั่งสอนให้ชาวสยามทำของหวานคือ ขนมทองหยิบ ทองหยอ ฝอยทอง ขนมทองโปร่ง ทองพลุ ขนมผิง ขนมฝรั่ง ขนมขิง ขนมไข่เต่า ขมมทองม้วน ขนมสัมปันนี ขนมหม้อแกง เป็นต้นเหตุเดิมที่ท้าวทองกีบม้าทำและสอนให้ชาวสยาม… "

ดังนั้นแม้ว่าหลักฐานคำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรมจะมิได้บอกว่า บรรดาขนมทั้งหลายซึ่งถูก "ทำขาย" และ "นั่งร้านขาย" ในตลาดย่านป่าขนม อันได้แก่ ขนมชะมด ขนมกง ขนมเกวียน ขนมสามเกลอ ขนมหินฝนทอง ขนมกรุบ ขนมพิมพ์ถั่ว ขนมสำปะนี และขนมแห้งต่างๆ เป็นขนมชื่อไทยซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากขนมโปรตุเกส แต่ส่วนผสมหลักของขนมเหล่านี้อันได้แก่ แป้งถั่วเหลือง แป้งมัน และไข่แดง เป็นสิ่งบ่งชี้ให้เห็ยที่มาดั้งเดิมของขนมดังกล่าวได้เป็นอย่างดี โดยขนมกงเกวียน ทำจากแป้ง ถั่ว คลุกน้ำตาล ปั้นเป็นรูปดั่งรูปกงเกวียน มีฝอยทองคลุม ฝอยดังกล่าวทำจากแป้ง ถั่ว ผสมไข่แดง ทอดน้ำมันโรยเป็นฝอย ขนมกงขนมเกวียน จึงจัดอยู่ในกลุ่มเดียวกันกับขนมฝอยทอง (fios de ovos) ทองหยิบ ทองหยอด และทองม้วน ของชาวโปรตุเกส ขนมชะมด ขนมสามเกลอ และขนมหินฝนทองต่างก็มีส่วนผสมของแป้งและน้ำตาลทอดน้ำมันหรือ คั่วให้สุกก่อนจะปั้นแต่งให้มีรูปลักษณะตามชื่อขนม ขนมกรุบนั้นอาจจัดอยู่ในกลุ่มขนมขนมกรอบเค็ม ซึ่งโปรตุเกสเรียกว่า "Coscorões" ส่วนขนมพิมพ์ถั่วอาจหมายถึงขนมซึ่งหมอบรัดเลย์เรียกว่า "ขนมตบตี" ทำโดยเอาแป้งถั่วเหลืองมาคั่วให้สุก คลุกเข้ากับน้ำตาลให้หวานแล้วพิมพ์เป็นรูปต่าง ๆ

การที่หลักฐานคำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรมระบุว่า พ่อค้าจีนเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายขนมแบบวัฒนธรรมจีน อาทิ ขนมโก๋ ขนมเปีย และขนมจันอับ อาจเชื่อมโยงไปถึงการตีความว่าผู้ค้าขนมแบบโปรตุเกสในเมืองพระนครศรีอยุธยาว่าน่าจะเป็นชาวบ้านจาชุมชนโปรตุเกสได้ด้วย แต่เนื่องจากหลักฐานคำให้การฉบับนี้ได้บันทึกชื่อขนมดังกล่าวเป็นคำเรียกภาษาไทยอย่างชัดเจนแล้ว แสดงให้เห็นว่าขนมดังกล่าวได้ผ่านขั้นตอนพัฒนาการ การผสมผสานและการเปลี่ยนผ่านทางวัฒนธรรมระหว่างสยามกับโปรตุเกสมาเป็นเวลานานพอสมควร จึงทำให้เชื่อว่าผู้ขายขนมไทยอิทธิพลโปรตุเกสในเมืองพระนครศรีอยุธยาเป็นกลุ่มคนที่อาจมีความสัมพันธ์กับชุมชนโปรตุเกสเป็นอย่างดี โดยอาจเป็นการโยงใยสายสัมพันธ์ฉันท์เครือญาติ หรือเป็นผู้ที่ได้รับการถ่ายทอดความรู้ในการทำขนมเหล่านั้นมาจากชุมชนโปรตุเกสผ่านทางราชสำนัก ดังได้กล่าวไปแล้วข้างต้น การที่หลักฐานคำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม มิได้กล่าวถึงขนมไทยประเพณี หรือขนมไทยแท้แต่ดั้งเดิม อาทิ ข้าวเหนียวแดง ข้าวต้มผัด ข้าวเม่าคลุก ขนมต้มต่างๆ รวมไปถึงขนมสี่ถ้วย (คือไข่กบ นกปล่อย มะลิลอย อ้ายตื้อ)ฯลฯ คงจะมีสาเหตุมาจากขนมเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของวิถีการดำเนินชีวิต ของชาวสยาม ซึ่งแต่ละบ้านแต่ละเขต แขวงสามารถทำกินกันเองได้โดยไม่ต้องซื้อหา ขณะที่การทำขนมแบบจีนต้องทำโดยชาวจีน ขนมแบบโปรตุเกสก็จำเป็นต้องอาศัยประสบการณ์ความรู้และความชำนาญพิเศษซึ่งน้อยคนนักจะมีโอกาส ฝึกฝนจนสามารถทำขายได้เช่นกัน ด้วยเหตุนี้ ขนมอิทธิพลทางวัฒนธรรมโปรตุเกส จึงถูกกล่าวถึงในคำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม ในฐานะสิ่งพิเศษในสังคมเมืองพระนครศรีอยุธยา ซึ่งจะต้องซื้อด้วยเงินจึงจะมีโอกาสได้ลิ้มรสขนมดังกล่าว

หลักฐานจดหมายของบาทหลวงฝรั่งเศสชิ้นหนึ่ง อาจบ่งบอกถึงความ มีระดับ ความมีหน้ามีตา และความมีรสนิยม ในการบริโภคขนมหวานของชุมชนโปรตุเกสได้เป็นอย่างดี เนื่องด้วย แม้แต่ราชสำนักสยาม ยังต้องเกณฑ์ขนมหวานจากพวกเข้ารีตโปรตุเกส เข้าไปบริโภคในพระราชวัง เนื่องในโอกาสนักขัตฤกษ์ทีละมาก ๆ ได้ กล่าวคือ

" ในเวลานี้ได้เกิดการลำบากขั้นในการที่พวกเข้ารีตบางครัวต้องถูกเกณฑ์ให้ทำของหวานแก่พระเจ้าแผ่นดินในวันนักขัตฤกษ์ ในวันชนิดนี้พระเจ้ากรุงสยามก็มีรับสั่งให้พวกเข้ารีตเหล่านี้ทำของหวานเป็นอันมากอ้างว่าสำหรับงานนี้งานนั้น เป็นต้นว่าสำหรับงานพิธีล้างศรีษะช้างซึ่งถือกันว่าเป็นพระเจ้าองค์หนึ่ง หรือสำหรับงานไหว้พระพุทธบาทดังนี้ ครั้นพวกเข้ารีตได้รับคำสั่งให้ทำของหวานตามรับสั่ง พวกนี้ก็ตอบว่าเขาไม่เข้าใจว่าช้างอะไร แต่ก็คงทำตามคำสั่งหาขัดพระราชโองการไม่ ข้าพเจ้าไม่ทราบว่าที่เขาตอบดังนี้จะเป็นด้วยความโง่เขลาหรืออย่างไร แต่ข้าพเจ้าเองก็ไม่เห็นด้วย"

แม้ว่าครอบครัวที่ถูกเกณฑ์ไปทำขนมหวานจะไม่ใคร่พอใจต่อการถูกเกณฑ์เท่าใดนัก แต่ก็ไม่อาจขัดพระราชโองการได้ จดหมายข้างต้นเป็นหลักฐานยืนยันได้เป็นอย่างดีว่านอกจากท้าวทองกีบม้า ภรรยาของเจ้าพระยาวิชาเยนทร์จะได้รับราชการเป็นนางต้นห้องเครื่องหวาน หรือวิเศสกลางแล้วยังอาจมีหญิงเชื้อสายโปรตุเกส จากชุมชนโปรตุเกส ติดตามเข้าไปรับราชการในราชสำนักสยาม สืบต่อ ๆ กันมาด้วยก็ได้ เห็นได้จากตำแหน่งวิเศสกลาง นอกจากท้าวทองกีบม้าแล้ว ยังมีท้าวทองพยศอีกผู้หนึ่ง ที่ได้ว่าของหวาน ในกรมวิเศสกลาง ตามหลักฐานในทำเนียบพระไอยการตำแหน่งนาพลเรือน และลูกมือทำขนมหวานก็คือคนจากชุมชนโปรตุเกสนั่นเอง การมีชื่อเสียงในเรื่องการทำอาหารเครื่องหวานอันเป็นวัฒนธรรมประจำชาติโปรตุเกส เป็นสิ่งบ่งชี้ให้เห็นว่าชุมชนโปรตุเกสในเมืองพระนครศรีอยุธยา น่าจะเป็นกลุ่มคนที่บริโภคน้ำตาลมากที่สุดกลุ่มหนึ่งในขณะนั้น

บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 77  เมื่อ 26 เม.ย. 11, 08:56

ขนมเจาะหู ของชาวใต้ในงานบุญเดือนสิบ หน้าตาคล้าย ขนม Papo-de-Anjo ของท่าน siamese ไหมคะ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 78  เมื่อ 26 เม.ย. 11, 10:15

กำลังจะเล่าเรื่องขนมลูกชุบของโปรตุเกส     แต่อ่านตัวอักษรชื่อขนมชนิดนี้ไม่ออก   ไม่รู้ว่าตัวแรกคืออะไร
กรุณาถอดให้ทีนะคะ


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 79  เมื่อ 26 เม.ย. 11, 10:17

ลูกชุบ (Massapães) เป็นขนมประจำท้องถิ่นของแคว้นอัลการ์ฟ (Algarve) ในโปรตุเกส มีเม็ดอัลมอนด์เป็นส่วนผสมสำคัญแต่ในไทยใช้ถั่วเขียวแทน

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 80  เมื่อ 26 เม.ย. 11, 10:30

อยากรู้ว่าตัวอักษร ข้างหน้า _ _ assapdes  น่ะ   มันตัวอะไรคะ
บันทึกการเข้า
pathuma
ชมพูพาน
***
ตอบ: 110


ความคิดเห็นที่ 81  เมื่อ 26 เม.ย. 11, 11:15

เมื่อก่อน ขนมทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง ไม่ค่อยมีคนทำขายมากนักและจะเห็นกันตอนมีงานใหญ่ๆ เช่น ทำบุญ งานบวช ฯลฯ คนทำขนมพวกนี้เป็นคงมีไม่มาก จำได้ว่า  ครั้งหนึ่ง มีงานทำบุญ ที่บ้านต้องไปจ้างคนแถว ตำบลสำเภาล่ม อยุธยา ซึ่งเป็นชุมชนโปรตุเกส ดั้งเดิมมาทำขนม ทองหยอด ฝอยทอง 
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 82  เมื่อ 26 เม.ย. 11, 11:25

อยากรู้ว่าตัวอักษร ข้างหน้า _ _ assapdes  น่ะ   มันตัวอะไรคะ


ตามคุณเพ็ญชมพูเลยครับ....Massapães ครับ เลยจัดหาลูกชุบไส้อัลมอนด์ มาเสริฟ  ยิ้ม


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 83  เมื่อ 26 เม.ย. 11, 11:27

ขนมเจาะหู ของชาวใต้ในงานบุญเดือนสิบ หน้าตาคล้าย ขนม Papo-de-Anjo ของท่าน siamese ไหมคะ

ขอบคุณครับ นี่ถ้าแป้งขึ้นฟูสักหน่อยนี่ เป็นโดนัท ได้เลยนะ  ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 84  เมื่อ 26 เม.ย. 11, 11:42

มาแถมเพิ่ม จากคุณ siamese  ว่า ขนมลูกชุบก็มาจากโปรตุเกส  ชื่อในภาษาเดิมคือ  maçapão
ตัวอย่างอย่างในรูปนี้ค่ะ



 

ลูกชุบในภาษาเดิมนั้นมีหลายหลากชื่อ

maçapão, massapan, marzipan, massepain

เรียกอย่างไรก็ได้ไม่ผิด

คุณวิกกี้ ให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องชื่อของลูกชุบในภาษาฝรั่งชาติต่าง ๆ ไว้ดังนี้

The origin could be from the Latin term "martius panis", which means bread of march. However, the ultimate etymology is unclear; for example, the Italian word derives from the Latin words "Massa" (itself from Greek Μάζα "Maza") meaning pastry and "Pan" meaning bread, this can be particularly seen in the Provençal massapan, the Portuguese maçapão (where 'ç' is an alternative form for the phoneme 'ss') and old Spanish mazapan - the change from 'ss' to 'z' in Latin words was common in old Spanish and the 'r' appeared later.

 ยิงฟันยิ้ม

บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 85  เมื่อ 26 เม.ย. 11, 11:58

ลูกชุบโปรตุเกส หน้าตาคล้ายกับดินน้ำมันปั้นนะคะ  
ของไทยเอาไปชุบวุ้นดูแววาวน่าทานกว่า
ช่างเก่งจริงนะ บรรพบุรุษของเรา...ภูมิใจจัง...  ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 86  เมื่อ 26 เม.ย. 11, 12:03

คุณวิกกี้พูดถึงที่มาของลูกชุบ ไว้น่าสนใจว่าอาจจะมีการเดินทาง ดังนนี้

ตะวันออกกลาง  --> จีน --> ยุโรป

Other sources establish the origin of marzipan in China, from where the recipe moved on to the Middle East and then to Europe through Al-Andalus.

คุณหาญเคยเห็นลูกชุบในจีนหรือเปล่า

 ฮืม
บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 87  เมื่อ 26 เม.ย. 11, 12:07

เรียนสมาชิกเรือนไทย

               อาจจะมี แต่ผมไม่เคยเห็นครับ คงต้องค้นคว้าดูก่อน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 88  เมื่อ 26 เม.ย. 11, 12:24

ลูกชุบฝรั่ง


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 89  เมื่อ 26 เม.ย. 11, 12:31

ใครกินลูกชุบพวกนี้ลงบ้างคะ?





บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 9
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.08 วินาที กับ 19 คำสั่ง