เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3 ... 9
  พิมพ์  
อ่าน: 79865 อาหารโปรตุเกส
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
 เมื่อ 24 เม.ย. 11, 15:56

อาหารจานนี้ของโปรตุเกศ  ถ้ามีถ้วยน้ำพริกกะปิวางเคียงเสียหน่อย จะเหมือนน้ำพริกปลาทูทอดของเรามาก
มันคือปลาซาร์ดีนย่างค่ะ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 24 เม.ย. 11, 15:58

ซุปน้ำข้นของโปรตุเกศ   เหมือนอาหารอย่างไหนของเรา?


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 24 เม.ย. 11, 19:33

อาหารจานนี้ของโปรตุเกศ  ถ้ามีถ้วยน้ำพริกกะปิวางเคียงเสียหน่อย จะเหมือนน้ำพริกปลาทูทอดของเรามาก
มันคือปลาซาร์ดีนย่างค่ะ



อ้างถึง
ที่สามปลา ปลานั้นยาวกว่าปลาทูหน่อย พอพาดปากจาน ทอดหนังกรอบเนื้อนุ่มไม่พบก้าง
ทรงเทียบกับปลาทู แต่ยาวกว่า เลยนึกถึงปลา mackerel 
ถามคุณเพ็ญชมพูหรือคุณ DD ว่าภาษาไทยเรียกว่าปลาอะไรคะ



ปลาแมกเคอเรล เหมือน ปลาซาร์ดีน อยู่อย่างหนึ่งคือไม่ใช่ชื่อของปลาชนิดใดชนิดหนึ่ง แต่เป็นชื่อเรียกรวม ๆ ของปลาทะเลหลายวงศ์ (family)  ปลาทูก็เป็นปลาแมกเคอเรลชนิดหนึ่ง ชื่อภาษาอังกฤษเรียกว่า Short-bodied mackerel ส่วนปลาที่รัชกาลที่ ๕ เสวยอาจเป็น Mediterranean horse mackerel เพราะมีชุกชุมในแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน



ถ้าปลาตัวข้างบนกับตัวข้างล่างของคุณเทาชมพู เป็นชนิดเดียวกัน

ก็ไม่ใช่ปลาซาร์ดีน แต่เป็นปลาแมกเคอเรล

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 24 เม.ย. 11, 19:47

ซุปน้ำข้นของโปรตุเกศ   เหมือนอาหารอย่างไหนของเรา?

เหมือนต้มยำกุ้ง (แบบน้ำข้น) เลยครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 24 เม.ย. 11, 20:14

ในรูปที่ดิฉันเอามาให้ดูบรรยายว่าเป็นปลาซาร์ดีนค่ะ   
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 24 เม.ย. 11, 20:20

ซุปข้นของโปรตุเกศ รสชาติคงไม่เหมือนต้มยำกุ้งน้ำข้น  แต่หน้าตาเหมือนมาก  ยิงฟันยิ้ม
มีอาหารอีกอย่างของโปรตุเกศเอามาให้ดู    มันก็ข้าวผัดนี่แหละ    ทิ้งคำถามไว้ว่า ข้าวผัดที่เรากินกันอยู่ทุกวันนี้มาจากห้องเครื่องของท้าวทองกีบม้าหรือเปล่า


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 24 เม.ย. 11, 20:42

^
ต้องเทีบบเคียงจาน ด้วย "ข้าวผัดปู" อย่างจีน  ยิ้มกว้างๆ


บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 24 เม.ย. 11, 20:59

ต้องรอคนแถบบ้านฝรั่งกูฏีจีนมาอธิบาย

แถบนั้นน่าจะมีร่องรอยอยู่เยอะกว่า
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 24 เม.ย. 11, 21:02

นี่ก็อีกจานหนึ่ง    แต่อ่านภาษาโปรตุเกศไม่ออก เลยไม่รับรองว่าเป็นจานเด็ดของเขาแต่ดั้งเดิม หรือว่าคนทำมาเที่ยวเมืองไทยแล้วเอากลับไปทำบ้าง
 ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 24 เม.ย. 11, 21:03

นี่ก็อาหารโปรตุเกศเหมือนกัน


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 24 เม.ย. 11, 21:23

คุณ siamese ถามถึงของคาวของโปรตุเกศ ก็เลยไปหาอาหารโปรตุเกศมาให้ดู   
มีซุปที่คล้ายๆต้มยำน้ำใสของเราด้วย     ใส่มะนาว และพริก  กับใส่เนื้อสัตว์คือไก่หรือหมู

ขอพักแค่นี้ก่อน   ถ้าหากหาขนมสัมปันนีได้จะเอารูปมาลงในกระทู้นี้ค่ะ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 24 เม.ย. 11, 21:46

คุณ siamese ถามถึงของคาวของโปรตุเกศ ก็เลยไปหาอาหารโปรตุเกศมาให้ดู   
มีซุปที่คล้ายๆต้มยำน้ำใสของเราด้วย     ใส่มะนาว และพริก  กับใส่เนื้อสัตว์คือไก่หรือหมู

ขอพักแค่นี้ก่อน   ถ้าหากหาขนมสัมปันนีได้จะเอารูปมาลงในกระทู้นี้ค่ะ

ขอบคุณครับ


ขนมไทย ทำจากพืชที่หาง่ายในท้องถิ่น เช่น แป้งจากพืชตระกูลหัว เช่น เผือก ท้าวยายม่อม และแป้งจากเมล็ดข้าว เช่น แป้งข้าวเหนียว แป้งข้าวเจ้า
ส่วนแป้งสาลี สมัยก่อนไม่นำมาทำขนมไทย
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 24 เม.ย. 11, 22:07

ชุมชนไทยเชื้อสายโปรตุเกสในปัจจุบันกระจัดกระจายอยู่ในเขตพระนครศรีอยุธยา และที่กรุงเทพมหานคร มีทั้งที่เป็นชุมชนดั้งเดิมตั้งแต่สมัยอยุธยา และชุมชนใหม่ที่ผู้คนอพยพเข้ามายังกรุงธนบุรีและกรุงเทพฯ สมัยรัตนโกสินทร์  จะขออธิบายถึงชุมชนที่กรุงเทพฯ ซึ่งมีอยู่มากกว่าเสียก่อน หลังจากนั้นจึงย้อนไปกล่าวถึงชุมชนหมู่บ้านโปรตุเกสที่อยุธยาซึ่งมีอยู่ค่อนข้างน้อย

ที่กรุงเทพฯ  มีชุมชนไทยเชื้อสายโปรตุเกสตั้งรกรากกันอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งเป็นชุมชนกระแสหลักในปัจจุบัน โดยอพยพเข้ามาครั้งแรก แยกออกเป็น ๔ กลุ่มหรือ ๔ สายด้วยกันคือ

กลุ่มที่ ๑ สมัยกรุงศรีอยุธยา ชุดที่บาทหลวงหลุยส์ ลาโน ชาวฝรั่งเศส ได้ขอพระราชทานที่ดินจากสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เพื่อสร้างโบสถ์สำหรับชาวคริสตังเข้ารีตเมื่อปี ค.ศ. ๑๖๗๙  ณ บริเวณที่เป็นวัดคอนเซ็ปชัญในปัจจุบัน

กลุ่มที่ ๒ สมัยกรุงธนบุรี ประมาณปี ค.ศ. ๑๗๖๗ ชาวโปรตุเกสผู้จงรักภักดีและกล้าหาญ ได้เข้าร่วมเป็นทหารอาสากู้เอกราชกับพระเจ้าตาก ต่อมาเมื่อพระเจ้าตากสถาปนากรุงธนบุรีแล้ว ทรงตอบแทนบุญคุณความดีแก่ชาวโปรตุเกสและครอบครัว จึงได้รับพระราชทานที่ดินให้ตั้งรกราก ในบริเวณที่เรียกว่าชุมชนกุฎีจีน

กลุ่มที่ ๓ สมัยกรุงธนบุรี ชาวไทยเชื้อสายโปรตุเกส อพยพเข้ามาเพิ่มเติมตามลำพังภายหลังการเสียกรุงปี ค.ศ. ๑๗๖๗ หรือก่อนหน้านั้นไม่นาน เดินทางเข้ามาสมทบกับชุมชนโปรตุเกส ซึ่งตั้งชุมชนได้แล้วในกรุงธนบุรี รวมทั้งชาวญวนเข้ารีตจากจันทบุรีอีกจำนวนหนึ่ง

กลุ่มที่ ๔ สมัยกรุงเทพฯ เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอกฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดให้ชาวไทยคริสตังที่หนีไปอยู่เมืองเขมรระหว่างสงครามกับพม่า และคนเขมรเข้ารีตอีกรวมกันประมาณ ๔๐๐-๕๐๐ คน ซึ่งลี้ภัยจากบ้านเกิดกลับเข้ามาตั้งบ้านเรือนอยู่เหนือวัดราชาธิราช ภายหลังการสถาปนากรุงเทพฯ เป็นราชธานี ใน ค.ศ. ๑๗๘๒ บางทีก็เรียกชุมชนบ้านเขมร

ดังนั้นชาวไทยเชื้อสายโปรตุเกสที่กรุงเทพฯ ก็คือ ผู้ที่ตั้งรกรากมาแต่เดิมสมัยอยุธยาหรืออพยพลี้ภัยสงครามเข้ามาในสมัยกรุงธนบุรีและรัตนโกสินทร์ รวมเวลาไม่ต่ำกว่า ๓๐๐ ปี หรือประมาณ ๖ ชั้นอายุขัยขึ้นไป และมีถิ่นที่อยู่ชัดเจนตรงตามประวัติการตั้งชุมชน อนึ่งศูนย์การของชุมชนโปรตุเกสซึ่งยังคงเป็นสัญลักษณ์ถาวรของชุมชนล้วนมีเอกลักษณ์เหมือนกันหมด อันได้แก่ “โบสถ์” ที่ใช้ในการประกอบพิธีทางศาสนาของคนในชุมชน โบสถ์ของชาวคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก ที่ยืนหยัดคู่ชุมชนไทยเชื้อสายโปรตุเกสมาจนบัดนี้ มีอยู่ด้วยกัน ๓ โบสถ์คือ โบสถ์ของวัดคอนเซ็ปชัญ, วัดซางตาครู้ส และวัดกาลหว่าร์ ซึ่งเมื่อสืบประวัติของผู้คนในอดีตของชุมชนทั้งสามแห่งนี้ก็พบว่าพวกเขาล้วนมีบรรพบุรุษเป็นชาวโปรตุเกสทั้งสิ้น

ดังนั้นแล้วทรัพยากรด้านการทำอาหารคาวแบบโปรตุเกส ก็ต้องปรับตัวตามพืชพรรณท้องถิ่น ผสมกับ การทำอาหารท้องถิ่น ผสมกันออกมาเป็นหน้าตาใหม่ๆ

ฝากขนมฝรั่งกุฎีจีนให้เพื่อนสมาชิกที่แวะเวียนเข้ามาได้อร่อยกัน + น้ำชาร้อนๆสักแก้วนะ


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 24 เม.ย. 11, 22:11

คุณวิกกี้ เล่าเรื่องอาหารของชาวไทยเชื้อสายโปรตุเกส ไว้ว่าเป็นอาหารที่ได้รับตำรับจากโปรตุเกส แต่ได้ผสมผสานกับไทยไปไม่น้อยเช่นกัน  อาหารที่สำคัญๆของชาวไทยเชื้อสายโปรตุเกสได้แก่

แกงเหงาหงอด ซึ่งคล้ายกับแกงส้มแต่มีกรรมวิธีต่างออกไป สมัยก่อนเมื่อถึงฤดูน้ำหลากจะมีการจับปลาสังกะวาดมาทำแกง แต่ปัจจุบันหายาก จึงใช้ปลาเนื้ออ่อนแทน ก่อนอื่นต้องล้างเมือกออกจากตัวปลา แล้วขัดด้วยแกลบจนหนังขาว เอาไส้ออกแล้วหั่นเตรียมไว้ พริกแกงตำแบบแกงส้ม โดยใช้ทั้งพริกแห้งและพริกสดสีเหลืองตำกับหัวหอมมากหน่อย และใส่กระเทียมด้วย แต่ใส่กะปิและกระชาย เวลาแกงมาละลายน้ำกรองด้วยผ้าขาวบาง เอาแต่น้ำไปต้มจนเดือดจึงใส่ปลา ปรุงรสด้วยเกลือ มะนาว ไม่ใส่มะขามเปียก และไม่ใส่น้ำตาล แกงจะออกรสเค็มและเปรี้ยว ก่อนเสิร์ฟใส่ใบโหระพาเป็นอันเสร็จ

ต้มมะฝาด คล้ายต้มจับฉ่ายของคนจีน โดยมีลูกผักชี ยี่หร่า ใบกระวาน กานพลู รากผักชี กระเทียม และขมิ้นตำจนละเอียด หั่นกะหล่ำปลี ผักคะน้า หัวไชเท้า ต้นหอม ผักชี เรียงลงในหม้อ จากนั้นใส่หมู เป็ด ไก่สดลงไปบนผัก หรือจะใส่เนื้อวัวด้วยก็ควรต้มให้นิ่มก่อน วางสลับกันเป็นชั้นอย่างนี้ไปเรื่อยพร้อมกับโรยเครื่องปรุงที่ตำไว้แล้วลงบนผักและเนื้อ ใส่น้ำแกงพอสมควร แล้วปรุงรสด้วยน้ำปลา น้ำตาลปีบ และน้ำส้มสายชู ต้มเคี่ยวจนผักเปื่อยเนื้อนุ่มก็รับประทานได้น้ำแกงสีเหลืองสวยจากขมิ้นคล้ายกับแกงเหลืองของภาคใต้

เนื้อแซนโม เป็นอาหารพิเศษกินกันในครอบครัวช่วงเทศกาลสำคัญต่าง ๆ วิธีทำเริ่มจากการหาเนื้อสะโพกมาตัดแบ่งเป็นชิ้น ๆ ให้หนาราว ๒ นิ้ว กว้างราว ๑๖ นิ้ว แล้วนำมันหมูแข็งที่หั่นเป็นชิ้นยาวมาคลุกเคล้ากับพริกไทย เกลือ และหอมแดงที่บุบผสมเข้าไป พร้อมกับนำเนื้อชิ้นดังกล่าวไปคลุกกับพริกไทย เกลือ และหอมแดงบุบ ก่อนนำไปทอดในน้ำมันพอเหลืองหอมไม่ต้องถึงสุก จึงนำไปต้มอีกทีในน้ำแกงที่ผสมหัวหอม เกลือ ซอสแม็กกี้ และซีอิ้วดำ ซึ่งเหยาะเพียงแค่นิดหน่อยเพื่อให้สีสวย พร้อมกับห่อผ้าขาวที่ใส่เครื่องเทศมีลูกกระวาน กานพลู พริกไทย และอบเชย เวลากินเสิร์ฟเหมือเนื้อตุ๋น แต่ต้องนำชิ้นเนื้อมาหั่นเป็นแว่นๆ จะเห็นมันหมูเป็นไส้ข้างใน กินกับข้าว หรือขนมปังก็ได้ ปัจจุบันในชุมชนเหลือคนทำเนื้อแซนโมได้น้อยคน เนื่องจากหลายขั้นตอน และเสียเวลามาก

ขนมจีนไก่คั่ว หรือที่บางคนเรียกว่าขนมจีนน้ำยาไก่ จะทำกันในงานฉลองพระแม่ไถ่ทาส เดเมย์เซเดย์ หรือที่ชาวบ้านคอนเซ็ปชัญเรียกว่า พระแม่ขนมจีน และงานมงคลอย่างงานแต่งงานเท่านั้น เวลาปกติไม่ค่อยมีใครทำเนื่องจากขั้นตอนและวิธีการทำยุ่งยาก ผู้สูงอายุก็หวงวิชาเก็บไว้เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตน แม้แต่ลูกหลานบางคนก็ยังไม่ได้รับความรู้นี้เลย คนที่ทำขนมจีนไก่คั่วได้จึงเหลือไม่กี่คน และขนมจีนไก่คั่วหากินยาก มีเฉพาะบ้านคอนเซ็ปชัญเท่านั้น และคาดว่าคงจะเป็นอาหารดั้งเดิมของโปรตุเกส ส่วนประกอบก็มี ถั่วตัดสับละเอียด เนื้อไก่สับหรือบด พริกเหลืองและพริกแดงตำละเอียด เครื่องในไก่ เลือดไก่ และต้นหอมผักชี วิธีการทำคือ นำเครื่องแกงลงไปผัดกับกะทิให้หอม แล้วใส่เนื้อไก่ยีให้เข้ากัน ใส่กะทิ ส่วนพริกเหลืองพริกแดงให้ผัดกับกะทิต่างหาก ใช้ประกอบสำหรับคนทานเผ็ด เวลาทานก็โรยต้นหอมผักชี คนเฒ่าคนแก่บางคนว่ากันว่า ขนมจีนขนานแท้ต้องใส่กระดูกไก่สับละเอียดลงไปด้วย เวลารับประทานก็เคี้ยวกรุบ ๆ เพิ่มรสชาติในการับประทานอาหาร

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 24 เม.ย. 11, 22:14

^
ชีวิตนี้จะไม่กินปลาสังกะวาด เลยครับ บ้านยายผมอยู่ริมแม่น้ำบางปะกง เป็นปลาที่คนไม่นิยมกินกัน จึงมีมากมายเต็มท้องน้ำ โดนเงี่ยงก็ปวดแสบไม่น้อยยามตกเบ็ดเล่น  ยิ้มเท่ห์ ยิ้มเท่ห์ เป็นปลาที่ทานของถ่ายทุกข์จากเรา  ยิ้ม
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 ... 9
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.066 วินาที กับ 19 คำสั่ง