เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 4 5 [6]
  พิมพ์  
อ่าน: 29304 จารึกอักษรพระปรมาภิไธยรัชกาลที่ ๕ - ๖ - ๗
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 75  เมื่อ 26 เม.ย. 11, 19:38

เทียนขี้ผึ้ง ๒ เล่ม  ที่คุณไซมีสเอามาให้คุณดีดีนั้น
จะให้เอามาทำน้ำมนต์  หรือลนน้ำมันพรายไม่ทราบ

ส่วนคุณอาร์ท  ผมสงสัยว่า เมืองโคราชนี่
เขาส่งส่วยขี้ผึ้งหรือเปล่า  ผมความจำไม่ค่อยดี

อนุกรรมการ ปปช. ได้สืบสาวถึงที่มาเทียนขี้ผึ้งหนัก 2 บาทกึ่งเฟื้อง ของคุณไซมีส
ซึ่งอ้างว่าทำมาจากขี้ผึ้งป่าเมืองโคราชนั้น

ฉะนี้ อนุกรรมการตรวจสอบแล้วมีหลักฐานชั้นต้นว่า

(จดหมายเหตุรัชกาลที่ 3 เล่ม 2 เรื่อง "บัญชีกองส่วย")

จำนวนอากรป่าผึ้ง แบ่งขึ้นมาแต่พระบรมมหาราชวัง 5 เมือง ฝ่ายพระราชวังบวร 1 เมือง มีแจ้งอยู่ในนี้
เมืองพิษณุโลก หลวงรักษาอุดม นายอากรป่าผึ้ง ส่งขี้ผึ้งหนักปีละ 3 ภารา 3 หาบ
เมืองพิจิตร ขุนศรีสมบัติ นายอากรป่าผึ้ง ส่งขี้ผึ้งหนักปีละ 2 หาบ
เมืองกำแพงเพชร พระยากำแพงเพชร เจ้าเมือง ส่งขี้ผึ้งอากรหนักปีละ 2 หาบ
เมืองตาก พระอินทรคิรี ส่งขี้ผึ้งอากรหนักปีละ 2 หาบ
เมืองสุโขทัย ขุนภักดีรักษา นายอากรป่าผึ้ง ส่งขี้ผึ้งหนักปีละ 20 ชั่ง
เมืองนครสวรรค์ พระบริบูรณ์ภุมรา จางวาง กองอากรส่วยผึ้ง คุมเลขรักษาป่าผึ้ง คนขุนหมื่น 30 คนไพร่ 253 คนทาส 10 รวม 293 คน ส่งขี้ผึ้ง หนักปีละ 6 หาบ

............

เมืองนครราชสีมา 2 กอง หลวงภิรมย์ภุมเรศ ส่วยผึ้ง ขุนหมื่น 5 ยกไพร่ 12 ทำส่วยไพร่ 50 คน เงิน 3 ชั่ง 60 บาท รวม 67 คน ส่วยค้าง
                           ขุนฤทธิกำแหง ส่วยผึ้ง ยกไพร่ 7 ทำส่วยไพร่ 30 คน เงิน 2 ชั่ง 20 บาท รวม 37 คน ส่วยค้าง
                           รวม ขุนหมื่น 5 ยกไพร่ 19 ทำส่วยไพร่ 80 คน เงิน 6 ชั่ง รวม 104
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 76  เมื่อ 26 เม.ย. 11, 19:45

^
หวังว่าคงจำได้แล้วนะครับ คุณหลวงเล็ก... ขอบคุณคุณ Art47 มากครับ (เราเอาน้ำตาเทียนไปหยดเป็นการลงโทษ กันไหม  ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม)
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 77  เมื่อ 26 เม.ย. 11, 22:00

โคลงหนุ่มสยามฟั่นเทียน

หวังบูชาคุณเจ้าด้วยเทียนน้อย        ไว้เปล่งแสงส่องลานยามสั่งสอน
สองบาทกึ่งเฟื้องไม่จากจร            คำพระสอนต้องจำให้ขึ้นใจ
ด้วยหว่างทางเจอเสียงอื้ออึงอ้าง     เนื้อมวลสารที่มาน่าสงสัย
จากโคราชรกชัฎดินแดนไกล            คุณอาร์ทเฉลยให้ได้ทันการณ์


โคลงหนุ่มสยามนับตังค์

อย่าได้ถามทำไมต้องสองบาท  ด้วยทำยากหนักหนากว่าจะได้
สองอัฐฤากึ่งเฟื้องเท่ากันนา        จัดหาด้ายฟั่นปั่นเป็นลาย
ทุกวันนี้อิดออดนับอัฐฬศ  มัวแต่จดเงินชั่งตำลึงหมาย
ให้ข้าทาสยกกำปั่นเยื้องย่างกราย      กระดานหงายเสาเรือนทรุดทุกวันเอย

 ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 78  เมื่อ 27 เม.ย. 11, 08:00


อนุกรรมการ ปปช. ได้สืบสาวถึงที่มาเทียนขี้ผึ้งหนัก 2 บาทกึ่งเฟื้อง ของคุณไซมีส
ซึ่งอ้างว่าทำมาจากขี้ผึ้งป่าเมืองโคราชนั้น

ฉะนี้ อนุกรรมการตรวจสอบแล้วมีหลักฐานชั้นต้นว่า

(จดหมายเหตุรัชกาลที่ 3 เล่ม 2 เรื่อง "บัญชีกองส่วย")

จำนวนอากรป่าผึ้ง แบ่งขึ้นมาแต่พระบรมมหาราชวัง 5 เมือง ฝ่ายพระราชวังบวร 1 เมือง มีแจ้งอยู่ในนี้
............

เมืองนครราชสีมา 2 กอง หลวงภิรมย์ภุมเรศ ส่วยผึ้ง ขุนหมื่น 5 ยกไพร่ 12 ทำส่วยไพร่ 50 คน เงิน 3 ชั่ง 60 บาท รวม 67 คน ส่วยค้าง
                           ขุนฤทธิกำแหง ส่วยผึ้ง ยกไพร่ 7 ทำส่วยไพร่ 30 คน เงิน 2 ชั่ง 20 บาท รวม 37 คน ส่วยค้าง
                           รวม ขุนหมื่น 5 ยกไพร่ 19 ทำส่วยไพร่ 80 คน เงิน 6 ชั่ง รวม 104

ดีมากครับ  ขอบคุณสหายอาร์ทที่ค้นข้อมูลมาให้ทันท่วงที
แสดงว่าเทียนขี้ผึ้งจากป่าโคราชของคุณไซมีสเป็นของแท้แน่นอน
เป็นอันว่ายกข้อสงสัยได้  รอดตัวไป เจ๋ง

^
หวังว่าคงจำได้แล้วนะครับ คุณหลวงเล็ก... ขอบคุณคุณ Art47 มากครับ (เราเอาน้ำตาเทียนไปหยดเป็นการลงโทษ กันไหม  ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม)

รสนิยมของคุณท่านออกแนวซาดิสม์นะขอรับ   ใครอยู่ใกล้ๆ โปรดระวังตัว เศร้า

 
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 79  เมื่อ 27 เม.ย. 11, 08:16



กำปั่นนั้น  เท่าที่อ่านมา  ท่านล่ามไว้กับเสาเรือน  หรือล่ามกุญแจที่ตอกไว้กับพื้น

หรือซ้อนกันสูงสามใบเรียงตลอดผนัง

ยกไปยกมาไม่ใช่กำปั่นกระมัง      น่าจะเป็นกระจาดของนางกระแอขายข้าวเหนียวที่เสาชิงช้า

ข้าวเหนียวแถวเสาชิงช้าราคากก.ละ ๑๔๐ บาทแล้วค่ะ     ไปรับหนังสือโบราณที่ร้านหนังสือริมสะพานอรุณอัมรินทร์
แล้วแวะซื้อ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 80  เมื่อ 27 เม.ย. 11, 09:15



กำปั่นนั้น  เท่าที่อ่านมา  ท่านล่ามไว้กับเสาเรือน  หรือล่ามกุญแจที่ตอกไว้กับพื้น

หรือซ้อนกันสูงสามใบเรียงตลอดผนัง

ยกไปยกมาไม่ใช่กำปั่นกระมัง      น่าจะเป็นกระจาดของนางกระแอขายข้าวเหนียวที่เสาชิงช้า

ข้าวเหนียวแถวเสาชิงช้าราคากก.ละ ๑๔๐ บาทแล้วค่ะ     ไปรับหนังสือโบราณที่ร้านหนังสือริมสะพานอรุณอัมรินทร์
แล้วแวะซื้อ

กำปั่นต้องมั่นกับเสาเรือน        ตอกย้ำเตือนข้าทาสบริวารหนา
ด้วยกลอนบอกกำลังเยื้องย่างมา     จึงมิได้นำพามาใส่สายยู
อันกำปั่นหีบเหล็กปิดสนิท        กำบังมิดแน่นหนาห้ามแง้มดู
ด้วยอันแน่นเงินชั่งนะโฉมตรู     อย่าได้ว่าอย่างบุญเพ็งหีบเหล็กเอย  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 81  เมื่อ 27 เม.ย. 11, 15:03

จารึกอักษรพระปรมาภิไธย จ.ป.ร. ครั้งที่ ๔

ปีร,ศ, ๑๐๘  เสด็จฯ ประพาสทะเลตะวันตกด้วยเรือพระที่นั่งอุบลบุรพทิศ
โปรดเกล้าฯ ให้ทอดเรือพระที่นั่งที่อ่าวธาร  เพื่อเสด็จฯ ขึ้นเกาะพงัน
เมื่อ ๑๖ ก.ค. ๑๐๘  เพลาเช้า  เสด็จฯ ไปตามลำธารถึงก้อนศิลาที่จารึกอักษร
พระปรมาภิไธย จ.ป.ร. ๑๒๕๐  โปรดเกล้าฯ ให้ช่างจารึกเลขศก ๑๒๕๑ ลง
ที่ใต้เลข ๑๒๕๐  แล้วเสด็จฯ ต่อไปตามลำธารผ่านน้ำตก ๔ แห่ง
จนถึงหลังเขาเป็ฯลำธารต่อไปอีก  ๒๐๐  เส้น  แล้วโปรดเกล้าฯ ให้จารึก
จารึกอักษรพระปรมาภิไธย จ.ป.ร. แลเลขศก ๑๐๘  ไว้ที่ก้อนศิลาที่สุดทางนั้น
เป็นจารึกอักษรพระปรมาภิไธยที่ ๔  เสด็จฯ ต่อไปอีก  ๓๐ วา  หรือ ๒ เส้น
ถึงหลังเขาซึ่งเป็นที่ราบ  มีไร่เรียกว่า ท้องชนาง อยู่ในระหว่างยอดเขาสูงล้อม
โปรดเกล้าฯ ใหจารึกที่ก้อนศิลาที่ปลายธารนั้นว่า "ต่อไปมีไร่"  แล้ว
เสด็จฯ ประพาสแห่งอื่นต่อไป
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 82  เมื่อ 27 เม.ย. 11, 15:15

๑๘  ก.ค. ร,ศ, ๑๐๘  เสด็จฯ ไปประพาสที่เกาะพงันอีก 
โปรดเกล้าฯ ให้ช่างสลักจารึกที่น้ำตกแรกหน้าต้นกร่าง
อันเป็นที่ประทับสรงน้ำ  ว่า "ธารเสด็จ"  เป็นนามพระราชทาน
และโปรดเกล้าฯ ให้พระยาวิชิตภักดี ผู้ว่าราชการเมืองไชยา ทำศาลาไว้ที่นั้นด้วย
แล้วเสด็๗ฯ ต่อไปที่เกาะสี่เกาะห้า ในทะเลสาบ


จารึกอักษรพระปรมาภิไธย จ.ป.ร. ครั้งที่ ๕

๒๔  ก.ค.  ร,ศ, ๑๐๘  โปรดเกล้าฯ จารึกอักษรพระปรมาภืไธย จ.ป.ร.
กับเลศก ๑๐๘  ไว้ที่หน้าผาเพิงถ้ำที่เรียกว่า หน้าเทวดา  แห่งหนึ่ง หน้าค่ายหลวง
หน้าผานี้เป็นเพิงเชิงเขาเพดานราบ  ก่อเป็นแท่นไว้วางเครื่องสังเวย
ของพวกที่ทำรังนกในเขตนั้น  ที่จะต้องมาเซ่นก่อนทำการเก็บรังนกทุกครั้ง
เสร็จแล้ว  เสด็จฯ ไปยังเมืองพัทลุง
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 4 5 [6]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.06 วินาที กับ 19 คำสั่ง