เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6
  พิมพ์  
อ่าน: 29310 จารึกอักษรพระปรมาภิไธยรัชกาลที่ ๕ - ๖ - ๗
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 21 เม.ย. 11, 12:19

พระปรมาภิไธยย่อ ปปร.

สถานที่ : น้ำตกปาโจ จังหวัดนราธิวาส

ประวัติ :
ปี พ.ศ. 2471 สมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จมาเยือนน้ำตกแห่งนี้ และได้ลงพระปรมาภิไธยย่อของพระองค์ท่านไว้บนหินก้อนหนึ่งที่น้ำตกแห่งนี้ด้วย ในครั้งนั้นทางจังหวัดได้สร้างพลับพลาที่ประทับขึ้นเพื่อรับเสด็จ และพลับพลาแห่งนี้ได้ชื่อว่า พลับพลา “ศาลาธารทัศน์” ปัจจุบันเป็นสถานที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของนำตกปาโจ


บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 21 เม.ย. 11, 12:44

พระปรมาภิไธยย่อ ปปร.

สถานที่ : ถ้ำเขาปินะ หมู่ที่ 7 ตำบลนาวง อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง

ประวัติ :
เขาปินะเป็นเขาหินปูนภายในกลวงเป็นถ้ำจนถึงยอดเขา มีลักษณะคล้ายกะทะคว่ำอยู่ท่ามกลางสวนยางและทุ่งนา มีความต่างระดับถึง 6 ระดับ  บริเวณเชิงเขาเป็นที่ตั้งของวัดปินะ มีบันไดขึ้นไปชมถ้ำ ซึ่งมีอยู่หลายชั้นและชมทิวทัศน์รอบ ๆ เขาได้ และที่สำคัญบนเพิงผาส่วนของถ้ำจำปาบริเวณที่สูงที่สุดของเขา มีอักษรจารึก “ปปร.” พระปรมาภิไธยย่อของรัชกาลที่ 7 ปรากฏอยู่


บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 21 เม.ย. 11, 13:34

คุณดีดีช่วยทำสรุปให้หน่อยได้ไหมครับว่า
ตอนนี้เราได้จารึกอักษรพระปรมาภิไธยรัชกาลที่ ๕ - ๖ - ๗
ในสถานที่แห่งใดมาบ้างแล้ว  และแต่ละที่จารึกขึ้นเมื่อใด
ขอบคุณมากๆ มาล่วงหน้า ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 48  เมื่อ 21 เม.ย. 11, 13:54

ยินดีค่ะ  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 49  เมื่อ 21 เม.ย. 11, 15:13

ได้ 30 รายการค่ะ
(อ้อ! มี แหลมเหนือหรือนอร์ทเคป ประเทศนอร์เวย์ 12/07/2450 รัชกาลที่ 5 อีกหนึ่งรายการค่ะ)  ยิงฟันยิ้ม
น่าสังเกตว่าไม่มีภาคอีสานเลยนะคะ...


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 50  เมื่อ 21 เม.ย. 11, 15:26

^
^
ความพยายามยอดเยี่ยม


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 51  เมื่อ 21 เม.ย. 11, 15:30

ยอดเยี่ยมครับ คุณดีดี  //// คุณหลวงต้องให้รางวัลคุณดีดีบ้าง  โกรธ


รายการที่ ๑ พ.ศ. ๒๔๐๓ เลยหรอ คุณดีดี ฮืม บวกตัวเลขผิดไปหรือเปล่าครับ


บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 52  เมื่อ 21 เม.ย. 11, 15:39

พระปรมาภิไธยย่อ จปร.

สถานที่ :วัดพระพุทธฉาย ตำบลหนองปลาไหล อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี

ประวัติ :
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ เสด็จพระราชดำเนินมานมัสการพระพุทธฉายหลายครั้ง ทรงจารึกพระปรมาภิไธยย่อ จปร. เมื่อ รศ. ๗๙ รศ.๙๑ รศ.๑๐๔ และรศ. ๑๑๕ ณ บริเวณใกล้กับที่ปรากฏภาพพระพุทธฉายด้วย



น่าจะไม่ผิดนะคะ
จาก http://www.watphraphutthachai.com/watphrabuddhachay/boransatan/boran7.htm ค่ะ

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระปิยมหาราช หรือ พระพุทธเจ้าหลวง
รัชกาลที่ ๕ เสด็จพระราชดำเนินมานมัสการพระพุทธฉาย ๔ ครั้ง คือ ร.ศ. ๗๙  
(พ.ศ.๒๔๐๓)  , ร.ศ. ๙๑ (พ.ศ.๒๔๒๘) ,ร.ศ. ๑๑๕ (พ.ศ.๒๔๓๙)

วันจันทร์ที่ ๑๗ ธันวาคม เวลาเช้า หนึ่งโมงเศษ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เสด็จทรงม้าพระที่นั่ง ออกพลับพลาไปตามทางหลวงข้ามทางรถไฟออกทุ่งนา และเข้าดงถึงพระพุทธฉาย เวลาเช้า ๓ โมงเศษ ระยะทาง ๒๒๓ เส้น มีพระสงฆ์สวดชยันโตรับเสด็จอยู่ที่เชิงเขา เสด็จพระราชดำเนินขึ้นนมัสการพระพุทธฉาย แล้วประทับเสวยเช้าที่ศาลา แล้วทรงจารึกอักษรพระนาม จ.ป.ร. ที่เพิงผา และมีปีที่เสด็จพระราชดำเนินมา ณ ที่นี้ ร.ศ.๗๙ และ ๙๑ และ ๑๐๔ และ ๑๐๕


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 53  เมื่อ 21 เม.ย. 11, 16:09

^
^
ผมว่าแปลกมากนะครับ ร.ศ. ๗๙ ตรงกับ พ.ศ. ๒๔๐๓ ทรงมีพระชนมายุ ๗ ชันษา แผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ยังไม่ใช้ "รัตนโกสินทร์ศก" เป็นตัวกำหนดระยะเวลา

ผมจึงมีแนวโน้มไปในทางว่า ทรงให้ช่างแกะจารึกสลักพระปรมาภิไธย ย้อนหลังไปในช่วงเวลานี้ เพื่อเป็นการประกาศว่า พระองค์เคยเสด็จมาตั้งแต่ทรงพระเยาว์
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 54  เมื่อ 21 เม.ย. 11, 16:13

กระทู้นี้ไม่มีคะแนนให้นะครับ  กรุณาอย่าเรียกร้องเลย

มีแต่คำชมเชยจากผมและคนที่เข้ามาอ่านว่า  คุณดีดีเก่งมาก


ขอตรวจจารึกอักษรพระปรมาภิไธยรัชกาลที่ ๗ ก่อน
เท่าที่คนเคยรวบรวมไว้   รัชกาลที่ ๗ ได้ทรงจารึกอักษรพระปรมาภิไธย
ไว้รวมทั้งหมด  ๑๓  ครั้ง  (ที่ไหนบ้างนั้น  ขอเชิญผู้ใฝ่รู้หากันต่อไป)

ที่ตอบมาแล้วนั้น  มีดังนี้

๑.จารึกอักษรพระปรมาภิไธย ป.ป.ร. ๒๔๖๙  
ที่ถ้ำพระยานคร  อุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอด
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์  วันที่  ๒๐/๐๖/๒๔๖๙  
สถานที่แห่งนี้  ในขณะนั้น เรียกชื่อว่า  ถ้ำคูหาคฤหาสถ์  
(ตามเอกสารรัชกาลที่ ๗ ได้บันทึกพระราชกิจในการเสด็จประพาสครั้งนั้น)
ส่วนวันที่ที่ถูกคือ  วันพุธที่ ๑๖  มิถุนายน  ๒๔๖๙

๒.จารึกอักษรพระปรมาภิไธย ป.ป.ร. ๒๔๖๙  
จำนวน ๒ แห่ง ที่เกาะพงัน  เมื่อวันที่ ๒๓/๐๖/๒๔๖๙
ผมสงสัยว่าปี ๒๔๗๑  รัชกาลที่ ๗ เสด็จประพาสเกาะพงัน
และได้ทรงจารึกที่เกาะพงันด้วยหรือ  ใครว่างตรวจสอบหน่อย

๓.จารึกอักษรพระปรมาภิไธย ป.ป.ร. ๒๔๖๙  
ที่ถ้ำผาไท  จังหวัดลำปาง  วันที่  ๑๓/๐๑/๒๔๖๙
อันนี้ถูก  ผมเพิ่มวันที่ทรงจารึกให้

๔.จารึกอักษรพระปรมาภิไธย ป.ป.ร.
ที่น้ำตาปาโจ  จังหวัดนราธิวาส (เดิมบริเวณอยู่ในจังหวัดสายบุรี)
ทรงจารึกเมื่อ ๒๐/๐๔/๒๔๗๑  ตามเอกสารว่า มีจารึก ๒ แห่ง

๕.จารึกอักษรพระปรมาภิไธย ป.ป.ร.
ที่จังหวัดยะลา  ณ วัดคูหาภิมุข  ตรงถ้ำและสระแก้ว
เมื่อวันที่ ๑๙/๐๔/๒๔๗๑  ไม่ใช่ ๒๔๗๒  

๖.จารึกอักษรพระปรมาภิไธย ป.ป.ร. ๒ แห่ง
ที่จังหวัดตรัง  ที่น้ำตกโตนปลิว (เอกสารเก่าเรียกว่า ธารหทัยสำราญ)
ที่จังหวัดพัทลุง  ที่ถ้ำคูหาสวรรค์
ทั้ง ๒ แห่ง จารึกในวันเดียวกัน คือ ๒๕/๐๑/๒๔๗๑  

๗.จารึกอักษรพระปรมาภิไธย ป.ป.ร.
ที่เขาปินะ  จังหวัดตรัง  วันที่  ๑๐/๐๒/๒๔๗๑  
วันที่จารึกผมเพิ่มให้

๘.จารึกอักษรพระปรมาภิไธย ป.ป.ร.
ที่ถ้ำวัดสุวรรณคูหา  อ.ตะกั่วทุ่ง จ.พังงา
จารึกเมื่อวันที่  ๐๗/๐๒/๒๔๗๑
วันที่จารึกผมเพิ่มให้
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 55  เมื่อ 21 เม.ย. 11, 16:23

^
^
ผมว่าแปลกมากนะครับ ร.ศ. ๗๙ ตรงกับ พ.ศ. ๒๔๐๓ ทรงมีพระชนมายุ ๗ ชันษา แผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ยังไม่ใช้ "รัตนโกสินทร์ศก" เป็นตัวกำหนดระยะเวลา

ผมจึงมีแนวโน้มไปในทางว่า ทรงให้ช่างแกะจารึกสลักพระปรมาภิไธย ย้อนหลังไปในช่วงเวลานี้ เพื่อเป็นการประกาศว่า พระองค์เคยเสด็จมาตั้งแต่ทรงพระเยาว์

เจอคนช่างสงสัยเสียแล้ว   ถูกแล้วครับ  จารึกนั้นมีรับสั่งให้ช่างจารึกเมื่อ ปีร,ศ, ๑๑๕
และการที่จารึกคราวนั้นได้โปรดเกล้าฯ ให้ช่างจารึกปีร,ศ,ที่ได้เคยเสด็จฯ มาครั้งก่อนๆ
ลงไปด้วย  แน่นอนว่า รัตนโกสินทรศก  เพิ่งมีใช้เมื่อ ปีร,ศ,๑๐๘  ร,ศ,ที่เก่ากว่านั้น
เป็นของที่ใช้ย้อนอดีตมาแปลงปี จ,ศ, ให้เป็น ร,ศ,  ซึ่งก็มีที่อื่นไม่ใช่หรือ
ที่ทรงให้จารึกเป็นปี จ,ศ,  ไม่ใช้ ร,ศ,
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 56  เมื่อ 21 เม.ย. 11, 16:29

^
^
ผมว่าแปลกมากนะครับ ร.ศ. ๗๙ ตรงกับ พ.ศ. ๒๔๐๓ ทรงมีพระชนมายุ ๗ ชันษา แผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ยังไม่ใช้ "รัตนโกสินทร์ศก" เป็นตัวกำหนดระยะเวลา

ผมจึงมีแนวโน้มไปในทางว่า ทรงให้ช่างแกะจารึกสลักพระปรมาภิไธย ย้อนหลังไปในช่วงเวลานี้ เพื่อเป็นการประกาศว่า พระองค์เคยเสด็จมาตั้งแต่ทรงพระเยาว์

เจอคนช่างสงสัยเสียแล้ว   ถูกแล้วครับ  จารึกนั้นมีรับสั่งให้ช่างจารึกเมื่อ ปีร,ศ, ๑๑๕
และการที่จารึกคราวนั้นได้โปรดเกล้าฯ ให้ช่างจารึกปีร,ศ,ที่ได้เคยเสด็จฯ มาครั้งก่อนๆ
ลงไปด้วย  แน่นอนว่า รัตนโกสินทรศก  เพิ่งมีใช้เมื่อ ปีร,ศ,๑๐๘  ร,ศ,ที่เก่ากว่านั้น
เป็นของที่ใช้ย้อนอดีตมาแปลงปี จ,ศ, ให้เป็น ร,ศ,  ซึ่งก็มีที่อื่นไม่ใช่หรือ
ที่ทรงให้จารึกเป็นปี จ,ศ,  ไม่ใช้ ร,ศ,

แล้ว จอ สอ ร้อย ละครับ  แลบลิ้น
บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 57  เมื่อ 21 เม.ย. 11, 17:17

จารึกอักษรพระปรมาภิไธยรัชกาลที่ ๗ แก้ไขให้ถูกต้องตามที่ คุณ luanglek ตรวจค่ะ

(คุณหลวง น่าจะส่งข้อมูลไปให้ทางจังหวัดหรือผู้ดูแลรับผิดชอบนะคะ
จะได้เห็นความสำคัญ และจัดทำข้อมูลเผยแพร่ให้ถูกต้องครบถ้วนสมบูรณ์)


บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 58  เมื่อ 21 เม.ย. 11, 17:40

พระปรมาภิไธยย่อ วปร.

สถานที่: น้ำตกคลองเจ้า (น้ำตกอนัมก๊ก หรือน้ำตกธารสนุก) เกาะกูด จังหวัดตราด

ประวัติ :
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เคยเสด็จประพาสเมื่อปี พ.ศ.2454 และทรงพระราชทานนามน้ำตกแห่งนี้ว่า “น้ำตกอนัมก๊ก” เพื่อเป็นที่ระลึกแก่ “องค์เชียงสือ” กษัตริย์ญวนผู้ก่อตั้งราชวงศ์เหงียนขึ้นเป็นราชวงศ์สุดท้ายของเวียดนาม ที่เคยเข้ามาลี้ภัยการจลาจลตั้งแต่ในสมัยรัชกาลที่ 1 และได้ช่วยปราบโจรสลัด ในน่านน้ำทะเลตราด โดยได้สลักพระปรมาภิไธยย่อ "วปร. ๑๓๐"  ไว้บนแผ่นหิน และใกล้กันนั้นโปรดให้สลักอักษร "ภส BS ๑๑๔"
ซึ่งเป็นพระนามย่อของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าภานุรังสีสว่างวงศ์  กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ด้วย

เรื่องธารสนุกนี้มีพระราชบันทึกไว้ในพระราชบันทึกใน “ประวัติต้นรัชกาลที่ ๖” เล่ม ๒ ว่า

“วันที่  ๒๒  เช้าถึงเกาะกูด,  ฉันและบริวารได้ลงเรือกรรเชียงมีเรือยนต์จูงไปจนถึงปากคลองจึ่งแก้เชือก  แล้วตีกรรเชียงเฃ้าไป.  ที่ปากคลองมีสันดอนทราย,  ต่อเฃ้าไปมีหินปักการังมากหน่อย,  แต่พอพ้นที่แนวหาดแล้วก็ไปได้โดยสดวก.  ต่อนั้นเฃ้าไปอีก ๓๐ เส้นเปนคลองรูปดื่น,  คือมีลักษณะเหมือนคลองริมทเลทั้งปวง,  สองฃ้างฝั่งมีไม้โกงกาง,  นานๆ จึ่งจะเห็นกล้วยไม้ทีหนึ่ง.  ตั้งแต่ปากคลองเฃ้าไปจนถึงท่าขึ้นหาที่สนุกหรือน่าดูไม่ได้จนแห่งเดียว.  ได้ความว่าคลองนี้ไม่มีชื่อ,  ฉันจึ่งให้ชื่อประชดว่า “คลองสนุกน้อย”, สำหรับต่อไปคนไปเที่ยวที่นั้นจะได้ค้นหา “คลองสนุกใหญ่” ว่ามันอยู่ที่ไหน.
ขึ้นจากเรือแล้วเดิรต่อไปอีกพักใหญ่ๆ จึ่งถึงธารน้ำตก,  ซึ่งเปนที่น่าดูพอใช้.  น้ำที่ตกนั้นไหลอาบลงจากน่าผา,  แยกเปน  ๒ สายใหญ่  และตกลงในอ่าง,  ซึ่งมีรูปกลมราวกับคนสร้าง,  มีผาล้อมรอบเปนฉาก.  ด้าน ๑ มีผาใหญ่ซึ่งน่าราบดี,  จึ่งได้จาฤก ว.ป.ร.ไว้ที่น่าผา,  และฉันให้ชื่อธารนั้นว่า “ธารสนุก”.   ที่นี้ทูลกระหม่อมมิได้เคยเสด็จเลย.  กรมหลวงดำรงเล่าว่า จะเสด็จหลายครั้งแล้ว,  พะเอินมีคลื่นจัดเสด็จขึ้นไม่ได้เลย.  ทูลกระหม่อมอา ได้เคยเสด็จแล้ว,  และได้ทรงคุยทับถมมานักแล้ว,  กรมหลวงดำรงจึ่งได้จัดให้ฉันขึ้นไปในครั้งนี้จงได้.  ธารที่กล่าวนี้ทูลกระหม่อมอาท่านเรียกว่าธารเจ้าอนัมก๊ก,  และท่านทรงอ้างว่า องเชียงสือ, เมื่อครั้งหนีจากเมืองญวนเฃ้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารนั้น,  ได้ไปพักอยู่ที่เกาะกูดก่อนเฃ้าไปกรุงเทพฯ.  ตามความจริงองเชียงสือได้พักอยู่ที่เกาะกระบือ.  ที่ทูลกระหม่อมอาทรงอ้างว่าไปพักที่เกาะกูดนั้น  เพราะมีอ่าวเรียกว่า “อ่าวจ้าว”;  และเพราะเหตุที่ไม่เคยปรากฏว่าได้มีเจ้าใดๆ อาศัยเกาะในชายทเลแถบนี้นอกจากองเชียงสือ,  ท่านจึ่งทรงลงความสันนิษฐานว่า อ่าวนั้นเรียกตามองเชียงสือ.  แต่สืบสวนกันดูได้ความว่าที่อ่าวนั้นมีผู้ใหญ่บ้านชาวเกาะกูดคน ๑ ชื่อจ้าวตั้งภูมิลำเนาอยู่,  และในเวลาที่ฉันไปที่เกาะกูดคราวนั้นก็ยังอยู่.
เวลาบ่ายกลับลงเรือ,  และบ่าย ๓ นาฬิกาเศษออกเรือแล่นดูรอบเกาะกูด,  แล้วกลับไปทอดสมอในอ่าวคลองสนุกน้อยตามเดิม.  ในคืนนั้นออกเรือเดิรทางไปเกาะช้าง.” 
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 59  เมื่อ 21 เม.ย. 11, 17:47

อักษรพระนามาภิไธย "มว" ในความเห็นที่ ๔๐ นั้นคือ อักษรพระนามาภิไธยย่อของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร  อักษรพระนามาภิไธยนี้ทรงใช้ในช่วงเวลาที่ยังทรงเป็นสมเด็จพระยุพราช  เมื่อเสด็จเสวยสิริราชสมบัติแล้วจึงทรงใช้อักษรพระนามย่อ ว.ป.ร.
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.069 วินาที กับ 20 คำสั่ง