เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 6
  พิมพ์  
อ่าน: 29136 จารึกอักษรพระปรมาภิไธยรัชกาลที่ ๕ - ๖ - ๗
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 20 เม.ย. 11, 15:43

อนุสาวรีย์แห่งความรัก - น้ำตกพลิ้ว

แม้ว่าบริเวณน้ำตกพลิ้วจะไม่ได้สลักพระปรมาภิไธยย่อ จ.ป.ร. แต่สถานี้ก็เป็นประจักษ์พยานได้ถึงการเสด็จสร้างอนุสาวรีย์ให้กับสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ และมีการจารึกอักษรไว้ สร้างเป็นอนุสาวรีย์ไว้ ๒ อย่าง แบบเจดีย์ (อลงกรณ์เจีดย์ สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๙ และแบบปิรามิด เพื่อประดิษฐานพระอัฐิสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ ซึ่งสร้างไว้เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๔)


บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 20 เม.ย. 11, 15:56

1.พระปรมาภิไธยย่อ จปร.
2.พระปรมาภิไธยย่อ ปปร.

สถานที่ : ถ้ำพระยานคร อุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอด อ.กุยบุรี และกิ่งอำเภอสามร้อยยอด จ.ประจวบคีรีขันธ์
ประวัติ :
ถ้ำพระยานคร เป็นถ้ำขนาดใหญ่ บนเพดานถ้ำมีปล่องให้แสงสว่างลอดเข้ามาได้ จุดเด่นของถ้ำแห่งนี้ คือ "พระที่นั่งคูหาคฤหาสน์" เป็นพลับพลาแบบจตุรมุข สร้างในสมัยรัชกาลที่ 5 คราวเสด็จประพาสเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2433 เป็นฝีพระหัตถ์ของพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าขจรจรัสวงศ์ ทรงสร้างขึ้นในกรุงเทพฯ แล้วส่งมาประกอบทีหลังโดยให้พระยาชลยุทธโยธินเป็นนายงานก่อสร้าง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จมายกช่อฟ้าด้วยพระองค์เอง ที่กำแพงหินด้านขวามีพระปรมาภิไธยย่อในรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 7(พ.ศ. 2469) เป็นตัวหนังสือใหญ่สีขาวสะดุดตา พระที่นั่งคูหาคฤหาสน์นับเป็นจุดเด่นของถ้ำพระยานคร และเป็นตราประจำจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ในปัจจุบัน



บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 20 เม.ย. 11, 16:08

เกาะเต่า จ.สุราษฎร์ธานี

แหลมหิน จปร. เป็นที่ตั้งของหินสลักพระปรมาภิไธยย่อของรัชกาลที่ 5 ตั้งอยู่ริมหาดทรายรี เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของการเสด็จประพาสทางทะเล


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 20 เม.ย. 11, 16:11

พระราชหัตถเลขาฉบับที่ ๔

เรือพระที่นั่งอุบลบุรทิศ  ทอดที่ปากน้ำเมืองหลังสวน
วันที่  ๑๐  สิงหาคม  รัตนโกสินทร๒๒ศก ๑๐๘

ถึง  ท่านกลาง แลกรมหลวงเทวะวงศ์วโรปการ

..................

วันที่  ๑๐  ก่อนกินเข้าไปที่สวนพระยาจรูญ  อยู่ใต้บ้านลงมาหน่อยหนึ่ง  ปลูกมะพร้าว หมาก พลู กาแฟ มังคุด มะไฟ เงาะ และต้นผลไม้เมืองจีนต่าง ๆ  ทั้งกานพลู จันทน์เทศ  ทุเรียนลางสาดนั้นเปนพื้นสวน  เวลาบ่ายลงเรือขึ้นไปตามลำน้ำ  น้ำเชี่ยวหนักขึ้นไปทุกที  จนพอที่จะเรียกว่าเรี่ยวว่าแก่งได้  แต่แปลกันกับข้างไทรโยค  แม่น้ำนั้นดูค่อย ๆ สูงขึ้นไป  มีที่น้ำเชี่ยวน้ำอับ  แต่ในแม่น้ำนี้ไม่มีที่น้ำอับ  มีแต่เชี่ยวมากเชี่ยวน้อย  แลเห็นน้ำสูงได้ในระยะใกล้ ๆ

เรือไฟทอนิครอฟต์ลากขึ้นไปสองชั่วโมงกับ ๔๕ มินิตถึงน่าถ้ำเขาเอ็น  เปนถ้ำเสมอพื้นตลิ่ง   ที่ต้องขึ้นนั้นขึ้นตลิ่งมิใช่ขึ้นเขา  แต่ศิลาน่าผาชันสูงใหญ่ดูงามดี  ทีสามถ้ำด้วยกัน  ถ้ำกลางตรงน่าไม่สู้กว้างใหญ่  ปากถ้ำเปิดสว่าง  มีพระพุทธรูปโตบ้างย่อมบ้าง ปิดทองใหม่ ๆ หกองค์  พระศิลาพม่าของพระยาระนองและพระยาหลังสวนมาตั้งไว้ ๒ องค์  ได้จารึกอักษรตามที่เคยจารึกไว้ที่ผนังถ้ำ  และให้สร้างพระเจดีย์ซึ่งทำค้างอยู่ที่ชง่อนศิลาน่าถ้ำองค์หนึ่ง  ถ้ำอีกสองถ้ำนั้นอยู่บนไหล่เขาสูงขึ้นไป  ถ้ำหนึ่งฉันไม่ได้ไปดู  เขาว่ากว้างเท่า ๆ กันกับถ้ำล่าง  เปนแต่ลึกเข้าไป  อีกถ้ำหนึ่งต้องเดิรเลียบเขาห่างตลิ่งเข้าไปหน่อยหนึ่ง  ปากถ้ำแคบในนั้นมืด  ได้ไปมองดูที่ปากช่องจะไม่โตกว่าถ้ำกลางมากนัก  แต่เปนคั้งค้าวจอกแจกไปทั้งถ้ำ  เวลาเย็นเสียแล้วจึงได้รีบกลับมา


ถ้ำเขาเอน ซึ่งเสด็จประพาสในวันที่ ๑๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๓๒  ทรงให้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น ถ้ำเขาเงิน

รอยจารึกพระปรมาภิไธยย่อ จ.ป.ร. และ ร.ศ. ๑๐๘  ที่ผนังถ้ำเขาเงิน



 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 20 เม.ย. 11, 16:11

ถ้ำเขาเงิน จ.ชุมพร

“พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินประพาสหัวเมืองฝั่งทะเลตะวันตกโดยลำดับ ถึงเมืองหลังสวนเมื่อวันที่ ๙ สิงหาคม รัตนโกสินทร์ศก ๑๐๘ ประทับแรมที่พลับพลาตำบลบางขันเงิน

ครั้นถึงวันที่ ๑๐ สิงหาคม เสด็จพระราชดำเนินมาทางชลมารค ขึ้นมาตามลำดับถึง วัดถ้ำเขาเอนนี้ มีพระเจดีย์ที่ทำค้างอยู่ที่ชะง่อนศิลาหน้าถ้ำ ได้ทรงนมัสการแล้ว ทรงดำริว่า ควรจะสถาปนาพระเจดีย์ขึ้นไว้ให้เปนที่ระฤก ถึงการที่ได้เสด็จมาประพาสถึงตำบลนี้ และจะได้เปนที่สักการะบูชาของพุทธสาสนิกชนสืบไปสิ้นกาลนาน จึ่งมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้พระยาจรูญราชโภคากร ผู้ว่าราชการเมืองหลังสวน ปฏิสังขรณ์พระเจดีย์นี้ขึ้นไว้ และให้เปลี่ยนนามถ้ำนี้ใหม่ ให้เรียกว่าถ้ำเขาเงินต่อไป...”

ลายมือที่จารึกไว้ยังมีต่อพอจะได้ใจความอีกว่า...

“ต่อมาผู้ว่าราชการพร้อมด้วยกรมการได้ลงมือก่อพระเจดีย์ตั้งแต่วันที่ ๗ พฤษภาคม ร.ศ.๑๑๑ แล้วเสร็จเมื่อวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ร.ศ.๑๑๑ (สมัยก่อนนับเดือนเมษายนเป็นวันขึ้นปีใหม่) สิ้นพระราชทรัพย์ ๔ ชั่ง ๓๖ บาท ๒๖ อัฐ แล้วได้ทำการฉลองในวันที่ ๒๖ มีนาคม ร.ศ.๑๑๑ มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้จาฤกประกาศพระบรมราชูทิศไว้ในแผ่นศิลาติดไว้ที่ฐานพระเจดีย์นี้ เพื่อเป็นที่มหาชนผู้มานมัสการได้อนุโมทนาในพระราชกุศลผล บุญราสีนี้ ฯ”



บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 20 เม.ย. 11, 16:14

พระปรมาภิไธยย่อ จปร.

สถานที่ : วัดถ้ำคีรีวงศ์ ตั้งอยู่ที่ตำบลธงชัย อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ อยู่ห่างจากถนนเพชรเกษมไปทางทิศตะวันออกประมาณ 5.5 กิโลเมตร

ประวัติ :
ในสมัยที่ หลวงปู่ม่วง ยังมีชีวิตอยู่ รัชกาลที่ 5 ได้เสด็จมาพบหลวงปู่ม่วงที่วัดคีรีวงศ์ โดยโปรดให้จารึกพระปรมาภิไธยย่อไว้ที่ผนังถ้ำด้วย


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 20 เม.ย. 11, 16:16

ครั้นถึงวันที่ ๑๐ สิงหาคม เสด็จพระราชดำเนินมาทางชลมารค ขึ้นมาตามลำดับถึง วัดถ้ำเขาเอนนี้ มีพระเจดีย์ที่ทำค้างอยู่ที่ชะง่อนศิลาหน้าถ้ำ ได้ทรงนมัสการแล้ว ทรงดำริว่า ควรจะสถาปนาพระเจดีย์ขึ้นไว้ให้เปนที่ระฤก ถึงการที่ได้เสด็จมาประพาสถึงตำบลนี้ และจะได้เปนที่สักการะบูชาของพุทธสาสนิกชนสืบไปสิ้นกาลนาน จึ่งมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้พระยาจรูญราชโภคากร ผู้ว่าราชการเมืองหลังสวน ปฏิสังขรณ์พระเจดีย์นี้ขึ้นไว้ และให้เปลี่ยนนามถ้ำนี้ใหม่ ให้เรียกว่าถ้ำเขาเงินต่อไป...

พระเจดีย์ซึ่งทำค้างอยู่ที่ชะง่อนศิลาหน้าถ้ำ ซึ่งเดิมมีแต่ฐาน  โปรดเกล้าฯ ให้พระยาจรูญราชโภคากร (คอซิมเต็ก  ณ  ระนอง) เจ้าเมืองหลังสวนปฏิสังขรณ์พระเจดีย์ขึ้นไว้


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 20 เม.ย. 11, 16:17

สัตหีบ จ.ชลบุรี

เมื่อเวลา ๒๑.๒๘ ของค่ำวันที่ ๑๙ เมษายน ๒๕๐๙ พระอัจฉริยภาพทางด้านการแล่นในพระอัจฉริยภาพทางช่างผ่านงานฝีพระหัตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ประจักษ์แก่ปวงชนชาวไทยด้วยความปลื้มปีติ

 
เมื่อพระองค์ทรงทรงแล่นใบข้ามอ่าวไทยด้วยพระองค์เองเพียงลำพัง จากหน้าวังไกลกังวล  อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ฝ่าคลื่นและลมหลากรูปแบบ ตามลักษณะภูมิประเทศ ข้ามอ่าวมาถึงอ่าวเตยงาม อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี


และได้ปักธงราชนาวิกโยธินที่พระองค์ทรงนำไปด้วย บนยอดหินใหญ่ชาดหาดหน้ากองบัญชาการนาวิกโยธิน

ณ ศิลาประวัติศาสตร์นั้นได้สลักความไว้ว่า


ณ ที่นี้
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
จอมทัพไทย
ได้ทรงเรือใบขนาด 13 ฟุต ด้วยพระองค์เองพระองค์เดียว
จากหัวหินมาถึงสัตหีบ เมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2509
เริ่มเวลา 04.28 ถึงเวลา 21.28
ทั้งนี้เป็นพระปรีชาสามารถอย่างยอดเยี่ยม
เป็นครั้งแรกในประวัติการณ์
กองทัพเรือได้ขอพระราชทานพระมหากรุณา
ให้ทรงลงพระปรมาภิไธยไว้เป็นสิริมงคล
และเพื่อเป็นเกียรติประวัติแก่กองทัพเรือสืบไป






บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 20 เม.ย. 11, 16:20

อืมม์  มีจารึกอักษรพระปรมาภิไธยหลายแห่งเลย

ไม่ทราบว่าหมดหรือยัง  หรือยังมีอีก ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 20 เม.ย. 11, 16:26

ยังมีอีกเยอะค่ะ ...
คุณ luanglek อาจจะดูยากหน่อยและอาจจะมีข้อมูลซ้ำกัน แนะนำให้ลองรวบรวมเป็นรายจังหวัดจะสะดวกขึ้นค่ะ..
ไม่ทราบว่า คุณ luanglek จะทำรายงาน หรือรวบรวมข้อมูลไปทำอะไรคะ (จะได้ช่วยกันหาข้อมูลได้ตรงวัตถุประสงค์  ยิงฟันยิ้ม)
น่าจะมีโปรเจคไปเก็บข้อมูลในสถานที่จริงนะคะ จะได้ยกแก๊งส์ลูกน้ำไปเที่ยว เอ้ย!ไปช่วยงานค่ะ.. ยิงฟันยิ้ม


พระปรมาภิไธยย่อ ปปร.

สถานที่ : วนอุทยานถ้ำผาไท ตั้งอยู่ระหว่างอำเภอเมืองกับอำเภองาว จังหวัดลำปาง ห่างจากตัวเมืองประมาณ 66 กม.

ประวัติ :
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ได้เคยเสด็จประพาสถ้ำผาไท เมื่อพุทธศักราช 2469 และได้จารึกพระปรมาภิไธยย่อ ปปร. ไว้ภายในถ้ำเพื่อเป็นที่ระลึกในการเสด็จประพาสครั้งนั้น


บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 20 เม.ย. 11, 16:37

ยังมีอีกเยอะค่ะ ไม่ทราบว่าคุณluanglek จะทำรายงาน หรือรวบรวมข้อมูลไปทำอะไรคะ (จะได้ช่วยกันหาข้อมูลได้ตรงวัตถุประสงค์  ยิงฟันยิ้ม)
น่าจะมีโปรเจคไปเก็บข้อมูลในสถานที่จริงนะคะ จะได้ยกแก๊งส์ลูกน้ำไปช่วยงาน.. ยิงฟันยิ้ม


ผมไม่ได้เอาไปทำรายงานส่งหรอกครับ
พอดีไปอ่านเจอบทความชิ้นหนึ่งในหนังสือใกล้มือ
ก็เลยสนใจอยากจะทราบว่า  จารึกอักษรพระปรมาภิไธย
รัชกาลที่ ๕ - ๖ - ๗  มีทั้งหมดกี่แห่ง  แต่ละแห่งจารึกขึ้นเมื่อใด
จึงได้เอามาให้สหายในเรือนไทยช่วยกันค้นหาให้หน่อย
ใครผ่านไปผ่านมา  เห็นแล้วจะได้อ่านและทราบข้อมูลด้วย

ส่วนใครสนใจจะจัดทริปวางแผนตามรอยจารึกอักษรพระปรมาภิไธย
ก็เชิญเถิด   ท่าทางจะสนุกดี   แต่ผมคงไม่ไป
เพราะมีงานต้องทำหลายอย่าง

ป.ล.   ขอบคุณสหายทั้งหลายที่ช่วยค้นข้อมูลมาเสนอกัน
แต่ขอกระซิบดังๆ ว่า   ยังมีจารึกอักษรพระปรมาภิไยอีกหลายแห่งนะครับ
ที่ตอบมานี่  ได้สัก  ๑  ส่วนใน ๕ ส่วนกระมัง ยิงฟันยิ้ม เจ๋ง
บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 20 เม.ย. 11, 16:44

พระปรมาภิไธยย่อ จปร.

สถานที่ : ถ้ำค้างคาว (ถ้ำระฆัง) บริเวณค่ายบุรฉัตร ต.เกาะพลับพลา อ.เมือง จ.ราชบุรี

ประวัติ :
ที่ผนังถ้ำมีจารึกลายฝีพระหัตถ์พระปรมาภิไธยย่อ “จปร.” พร้อมกับตัวเลข “๑๑๘” สันนิษฐานว่าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสถ้ำนี้เมื่อ รศ. 118 (พ.ศ.2442)


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 20 เม.ย. 11, 16:45

น้ำตกกระโรม จ.นครศรีธรรมราช

น้ำตกกระโรมซึ่งเป็นเขตที่จัดว่าอากาศดีที่สุดในประเทศไทย แต่ไม่ทราบติดอันดับดีที่สุดในโลกหรือเปล่า น้ำตกแห่งนี้มีทั้งหมด 9 ชั้น แต่ดิฉันจะพาไปถึงชั้นที่ 7 เท่านั้น เพราะเป็นชั้นที่สวยงามอีกชั้นหนึ่ง และชั้นนี้มีความสำคัญมากๆคือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 ท่านเคยเสด็จประพาสน้ำตกแห่งนี้ และพร้อมกับทรงสลักพระปรมาภิไธยไว้ที่หน้าหินผาแห่งนี้ด้วย


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 20 เม.ย. 11, 16:48

ผาเสด็จ จ.สระบุรี

ผาเสด็จ ตั้งอยู่หมู่ที่ 5 ตำบลทับกวางใกล้กับสถานีรถไฟผาเสด็จ มีหินผาขนาดใหญ่เป็นชะง่อนยื่นออกมาขวางเส้นทางรถไฟสายแก่งคอย -มวกเหล็กซึ่งวิศวกรชาวฝรั่งเศลพยายามจะระเบิดทำลายเพื่อจะทำทางรถไฟผ่านก็ไม่สามารถระเบิดได้ มีคนงานเสียชีวิตในระหว่างก่อสร้างเป็นจำนวนมากจนกระทั่งความทราบถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 จึงได้ทรงเสด็จมาเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2438 เพื่อทอดพระเนตร และได้ทรงลงพระปรมาภิไธยย่อ "จปร" "สผ" "รศ.115" ไว้บนก้อนหินนั้น ซึ่งยังคงมีจารึกอยู่จนกระทั่งปัจจุบันนี้


บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 20 เม.ย. 11, 16:58

พระปรมาภิไธยย่อ จปร.

สถานที่ :ถ้ำจอมพล จังหวัดราชบุรี

ประวัติ :
เป็นถ้ำประวัติศาสตร์ที่คนราชบุรีภาคภูมิใจ ซึ่ง 3 กษัตริย์ไทยเคยเสด็จประพาส ปรากฏหลักฐานพระปรมาภิไธยย่อ จปร. ภปร. และ มวก. สลักบนแผ่นหินปากทางเข้าถ้ำ
-พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสถ้ำ เมื่อปี พ.ศ. 2438 ทรงพระราชทานตั้งชื่อเป็น ถ้ำจอมพล
-พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จประพาสถ้ำจอมพล ในคราวที่ทรงนำกองพลเสือป่ามาซ้อมรบในจังหวัดราชบุรี เมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2457
-พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีได้เสด็จฯ ประพาส เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2499 โดยได้ทรงปลูกต้นสัก ต้นกัลปพฤกษ์ และ ต้นนนทรี ไว้เป็นที่ระลึกที่บริเวณหน้าถ้ำ
-สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ก็ได้เสด็จฯ ประพาสถ้ำจอมพลแห่งนี้ และเสวยพระกระยาหารกลางวันที่บริเวณสวนรุกขชาติ ในคราวเสด็จพระราชดำเนินวางศิลาฤกษ์อาคารโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช จอมบึง เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2520


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 6
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.049 วินาที กับ 20 คำสั่ง