เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
อ่าน: 31968 รบกวนสอบถาม ความแตกต่าง ระหว่าง นางสนองพระโอษฐ์ คุณข้าหลวง นางพระกำนัล ค่ะ
nakor
อสุรผัด
*
ตอบ: 25


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 10 มิ.ย. 11, 12:22

ขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า
Svetanandana
อสุรผัด
*
ตอบ: 3


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 22 พ.ค. 14, 04:43

ไปถามผู้รู้ ตัวจริงเสียงจริงมาตอบให้ครับ

นางพระกำนัล เป็นตำแหน่งเกียรติยศ สำหรับผู้ที่สมเด็จพระราชินี หรือสมเด็จเจ้าฟ้าหญิงทรงรับไว้เพื่อสนองพระราชเสาวนีย์สำหรับงานธุรการในพระองค์ ทั้งงานในวังและมีหน้าที่ติดตามเวลาเสด็จพระราชดำเนินออกภายนอกวังด้วย

นางสนองพระโอษฐ์ คือนางพระกำนัลที่เมื่อจะแต่งงาน ต้องกราบบังคมทูลลาออกก่อนทุกคนไป หากทรงโปรดฯให้เข้ามาทำงานรับสนองพระราชเสาวนีย์อีก จะเรียกนางสนองพระโอษฐ์   เป็นตำแหน่งเกียรติยศสูงกว่านางพระกำนัล เพราะอาวุโสกว่า

คุณข้าหลวง คือพนักงานแรงงานที่รับสนองพระกรุณาในเรื่องส่วนพระองค์ทุกเรื่องบนพระตำหนัก ไม่ใช่ตำแหน่งเกียรติยศแต่ประการใด

หวังว่าคงแจ่มแจ้งนะครับ
บันทึกการเข้า
Svetanandana
อสุรผัด
*
ตอบ: 3


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 22 พ.ค. 14, 04:50

ข้าราชการฝ่ายใน ในพระราชสำนักตามทำเนียบที่กล่าวมาในข้างต้นนี้ ในปัจจุบันไม่มีแล้วคงมีแต่ตำแหน่งตามระบบราชการทั่วไป คือ ตำแหน่งหัวหน้าแผนก ประจำแผนก และพนักงาน ส่วนการบรรดาศักดิ์เป็นท้าวนางนั้นยกเป็นบรรดาศักดิ์ สำหรับพระราชทานสตรีที่มีความสำคัญเป็นพิเศษบางท่านเท่านั้น
อธิบายเพิ่มเติม

คุณพนักงาน
  หมายถึง สตรีที่มีบิดามีบรรดาศักดิ์ตั้งแต่ชั้นพระยาขึ้นไปที่ได้รับทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้มีตำแหน่งเป็นพนักงานพิเศษ เรียกว่า " คุณพนักงาน " มีคำหน้านามว่า " คุณ " ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยคำนำหน้านามสตรีเพิ่มเติม พ.ศ. 2464

I would like to add the definition of คุณพนักงาน. I hope the information mentioned above will help making you understand it better. 
คุณพนักงาน
หมายถึง สตรีที่มีบิดามีบรรดาศักดิ์ตั้งแต่ชั้นพระยาขึ้นไปที่ได้รับทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้มีตำแหน่งเป็นพนักงานพิเศษ เรียกว่า " คุณพนักงาน "

Each and everyone of คุณพนักงาน was not just a loboror with very little role in the palace. Please take your time to go and visit the website to view the information there. Thanks.
Reference:

http://www.oknation.net/blog/print.php?id=289600
บันทึกการเข้า
Svetanandana
อสุรผัด
*
ตอบ: 3


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 22 พ.ค. 14, 04:57

ข้าหลวง คือ ข้าทูลละอองทุลีพระบาท หรือ ข้าราชสำนัก ประเภทหนึ่งมีหน้าที่ถวายการรับใช้เจ้านายที่ตนเองสังกัดอยู่ สามารถแบ่งตามชั้นได้ 3 ชั้นคือ

1. ข้าหลวงชั้นสูง คือ เจ้านายชั้น หม่อมเจ้า หรือ ธิดาผู้มีตระกูล อาทิ หม่อมราชวงศ์หญิง หม่อมหลวงหญิง ธิดาข้าราชการขั้นผู้ใหญ่ต่างๆ โดยมีหน้าที่หลักคือ ถวายการรับใช้ส่วนพระองค์ เช่น พนักงานพระภูษา พนักงานพัด พนักงานพระศรี หรือ พนักงานชาวที่ เป็นต้น

2. ข้าหลวงชั้นกลาง คือ ธิดาข้าราชการต่างๆ คหบดี ที่ผู้ปกครองนำไปถวายตัว เพื่อให้ฝึกฝนกริยามารยาท มีหน้าที่รับใช้ทั่วไป ตามที่จะทรงโปรด หรือคุณข้าหลวงข้าหลวงผู้ใหญ่ จะสั่ง หรืออาจหมายถึง พนักงานเชิญเครื่อง จ่าโขลน ที่รับเบี้ยหวัด

3. ข้าหลวงชั้นต่ำ มักเป็นลูกคนของหลวง มีหน้าที่ผลัดเวรเข้าไปเป็นแรงงานรับใช้ในวัง เช่น หาบน้ำ ตักส้วม ทำสวน หรืออาจหมายถึงโขลน หรือ บ่าวไพร่ ของคุณข้าหลวงชั้นสูง

กรณีคุณสาย แม่ของแม่พลอย และแม่พลอย ถือเป็นข้าหลวงงชั้นสูง เพระถือผู้รับใช้เฉพาะองค์เสด็จ โดยเฉพาะแม่พลอย ก็เป็นลูกสาวพระยา อีกทั้งมีบ่าวคอยรับใช้อีกด้วย

Reference:

Please go to view the information at:

http://www.atriumtech.com/cgi-bin/hilightcgi?Home=/home/InterWeb2000&File=/home2/searchdata/Forums2/http/www.pantip.com/cafe/library/topic/K5626667/K5626667.html
บันทึกการเข้า
พนักงานชาวที่
อสุรผัด
*
ตอบ: 14


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 23 พ.ค. 14, 14:06

ขอบคุณมากๆครับที่นำความรู้มาให้ ผมทำงานในวังมา20ปีแล้วแต่ก็เพิ่งจะเข้ามาหาความรู้เพิ่มเติมในเว๊บนี้ไม่นานมานี้เอง อยากให้เจ้าหน้าที่สำนักพระราชวังรุ่นหลังๆได้เข้ามาศึกษาประวัติศาสตร์ในราชสำนักกันเยอะๆ เด็กเดี๋ยวนี้ไม่ค่อยเรียนรู้เรื่องเก่าๆกันเลย
บันทึกการเข้า
Jalito
องคต
*****
ตอบ: 478


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 25 พ.ค. 14, 09:31

พนักงานชาวที่ มีหน้าที่อะไรบ้างครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.054 วินาที กับ 19 คำสั่ง