เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 9594 ว่าด้วยเรื่องเกราะและข้อมูลที่รวบรวมได้ .....
ShopperKimpy
อสุรผัด
*
ตอบ: 11



 เมื่อ 19 เม.ย. 11, 09:56

ลิลิตยวนพ่าย
- ทุกพ้องพิรพ่าหเจ้าจอมเมลือง เสิศแฮ สรรพเครื่องสรรพาวุธเลิศล้วน เกราะกรายสำลีเนืองนอกออก ไปแฮ ทวนธนูหน้าไม้ล้วนหมู่หมาย ฯ
- พวกพลกล้ำกล้ากลาดไปหนา หนั่นแฮ หาญห่มเกราะกรายกรายก่อนม้า ประดับประดาดาแหนแห่ พระนา แลเครื่องแลหน้าม้าใคร่ชม ฯ
…………………………………………………………….

พงศาวดารเหนือ ประชุมพงศาวดารเล่ม 1
- ครั้นถึงเดือนอ้ายขึ้นค่ำหนึ่ง พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก พระเจ้าเชียงแสน ให้เสนาอำมาตย์แลมหาอุปราชตรวจจัดรี้พลโยธาช้างม้าเครื่องสาตราวุธทุกท้าว พระยา ปืนหอกดาบโล่ห์ธนูน่าไม้ เกราะเหล็กเกราะเขา แล้วจึงตั้งพระยาเชียงราย พระยาเชียงลือเปนแม่ทัพน่า ตั้งพระยาเชียงเงิน พระยาเชียงตุงเปนปีกขวา ตั้งพระยาเชียงน่าน พระยาเชียงฝางเปนปีกซ้าย
…………………………………………………………….

พระราชพงศาวดารกรุงสยามฉบับบริติชมิวเซียม หน้าที่ ๑-๓๗๐
- ฝ่ายกองตระเวนรามัญเห็นดังนั้น ก็เข้าไปกราบทูลพระเจ้าหงสาวดีโดยได้เห็นทุกประการ สมเด็จพระเจ้าหงสาวดีตรัสว่า ชะรอยจะเป็นทัพพระมหาจักรพรรดิราชาธิราชเจ้า ยกออกมาจะกระทำคชพยุหสงครามกับเรา พระองค์ตรัสให้ยกพลหลวงออก จากค่ายตั้งกระบวน สมเด็จพระเจ้าหงสาวดีทรงเกราะเครื่องพิชัยยุทธ ย่อมทับถมด้วยวิชาสาตราเวทคาถา แล้วสอดพระมหา สุวรรณสังวาลประดับเพชรพื้นถม สรรพคุณเวทคาถาต่าง ๆ ทรง พระมหามาลาลงเลขยันต์กันสรรพสาตราวุธภยันตราย สำหรับราชรณรงค์ยุทธเสร็จ

- ครั้นเพลา ๑๑ ทุ่ม พระมหาอุปราชาก็สอดฉลองพระองค์ทรงเกราะสุวรรณประดับพลอยสพักสังวาลมรกต ๓ สาย ทรงสุวรรณรัตนมหามงกุฎอย่างขัตติราชรามัญ ยอดเงื้อมไปหน้าดุจเศียรวาสุกรี แล้วทรงเครื่องสำหรับกันสรรพาวุธพร้อมเสร็จ เสด็จ ทรงช้างต้นพลายพัทธกอ สูง ๖ ศอกคืบ ๕ นิ้ว ติดน้ำมันหน้า หลัง เป็นพระคชาธารกันเศวตฉัตร สมิงนันทมางเป็นกลางช้างเจ้าเมืองมล่วนเป็นควาญ พร้อมด้วยแวงจัตุลังคบาทและหน้าช้าง

- พระบาทสมเด็จบรม บพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ ก็เสด็จพยุหบาตราด้วยพระคชาธารทั้งสองอันประดับด้วยเครื่องคเชนทราลังการ์ อันพิจิตรด้วยกาญจนมณีรัตนชัชวาล และโอฬารด้วยเครื่องพระอภิรมย์เศวตฉัตร กลิ้งกลดชุมสายลายพิจิตรพิพิธรัตนพัชนีจามรบวรพรรณโอภาส เดียรดาษด้วยท้าวพระยาสามนตราช เสนาบดีมนตรี พิริยโยธาทหาร แห่ห้อมล้อม เป็นบริพารดูอธึก พันลึกด้วยพวกพลคเชน ทรนิกร บวรมหาคชสารสินธพ สมุหโยธาทั้งหลาย ดูพรรณรายด้วยเครื่องสรรพา ยุทธ์เกราะกราย ย้ายกันแห่โดยขนัดซ้ายขวาหน้าหลัง และพลช้างเครื่อง ๘๐๐ พลม้า ๑,๕๐๐ พลโยธาหาญ ๑๐๐,๐๐๐
…………………………………………………………….

พระราชพงศาวดารกรุงสยาม ประชุมพงศาวดารเล่ม _ หน้า 221
พญาโกษาตีเมืองเชียงใหม่
- แลซึ่งช้างม้าทั้งหลายนั้นให้ทำเกือกหนัง เสื้อหนัง หน้าหราหนังใส่ครบทุกๆตัว แลพลโยธาหาญนั้นก็ให้ตกแต่งกายสวมใส่หมวกเสื้อแลรองเท้าล้วนทำด้วยหนังทั้งสิ้น

-  ฝ่ายท้าวพญานายทัพนายกองทั้งปวงเห็นดวงพลุนั้น ก็ขับพลคชาแลโยธาหาญทั้งหลาย ล้วนแต่แต่งกายสวมใส่เครื่องหนัง มีมือถือหอก แลทวนสำหรับจะรับไม้ซุง แลถือเขน ถือโล่ ฝาโพล่ ฝาแฟ้ม สำหรับจะป้องกัน กรวดทราย ปูนผง แลน้ำมันยางอันร้อน
…………………………………………………………….

พระราชพงศาวดารฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม)
สเด็จยกทัพหลวงปราบพระเจ้าละแวก
- ให้พระยามหาโยธาขี้ช้างพลายไฟภัทกัลป์ คุมทหาร ๓,๐๐๐ เข้าโดยถนนประตูด้านเหนือ ช้างนั้นให้ใส่หน้าร่าห์เกือกเหล็ก ทหาร ๑๒,๐๐๐ ให้ใส่เกือกเสื้อหมวกหนัง
…………………………………………………………….

ประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม ๑๒
เรื่อง พงศาวดารเมืองละเวก จ.ศ.๑๑๗๐ หน้า 96
- ครั้น ณ วันจันทร์ เดือน ๕ ขึ้น ๙ ค่ำ เถลิงศกศักราช ๑๕๓๔ ปีชวดนักกษัตริย์จัตวาศกจึ่งเจ้าพญาจักรี จางวางกรมช้างให้หามา เจ้ากรม ปลัดกรม จางวางขุน หมื่นครูหมอกรมช้าง กองนอกกองใน ระวางต้นระวางเพรียว จัดหาช้างสิง(ซึ่ง) มีกำลัง แลมีศอกมีนิ้วกล้างา เป็นช้างศึกสำหรับทัพ ให้ฝึกสอนให้ชำนิชำนาญอยู่กับปืนยืนกะหอก ให้คนรู้ดีตามตำราไสยศาสตร์ ตัว ๑ คือ ๓ คนนี้ เป็นช้างคชาธารนั้น ให้ผูกเป็นคชาธาร มีช้างดั้ง ช้างเขน มีเสโลโตมร คนตีนั้นให้ใส่เกราะเหล็ก หมวกเหล็ก หมอขี่คอนั้นถือขอแลง้าวด้วย คนกลางนั้นถือปืน ควาญท้ายนั้นถือหอกขอ

- ครั้น ณ เดือน ๙ แรมหนึ่ง เข้าพระวษา กรมม้าฝึกม้า ให้ทนงองอาจสู้ศึกสำหรับศึก ให้รู้เดินเพลงทวนแลเพลงทั้งปวง แลมีเครื่องประดับให้ทุกทวนตามกระบวนใหญ่น้อย คนขึ้นขี่ม้านั้น ใส้เสื้อเกราะเหล็ก หมวกเหล็กมีแส้ ธนูแลทวนถือ แล้วให้ผู้รักษา เมืองปากใต้ฝ่ายเหนือ ให้ตระเตรียมรี้พลสกลโยธา หัดยิงปืนไฟ ธนูหน้าไม้ รำดาบ รำดั้ง กระบี่ มวยปล้ำ เพลงตะบอง แลทั้งเรือทั้งบก ให้ชำนาญการศึกให้รู้สิ้น ถ้ามีการศึกจะได้เกณฑ์ไปศึก ถ้าไม่มีศึกเป็นพระราชพิธีการแห่จะได้เกณฑ์ไปแห่แลสมโภช เจ้าพนักงานทั้งปวงกระทำตามพระราชโองการรับสั่ง ไพร่พลสกลทวยหาญชำนิชำนาญการพร้อมได้ทุกสิ่งสิ้นแล้ว
…………………………………………………………….

ตำราพิชัยสงครามฉบับรัชกาลที่ ๑

- อันว่าโยคเสนางค์นั้นไซร้ ให้ป้องกันขันธเสมามณฑล แลแต่งค่ายคูเขื่อนทวารหอรบธงชัย แลสตุรงคเสนางค์นั้น คือพลช้างสรรพด้วยจำลองแลกระโจมอันมีพรรณต่างๆ แลทหารซึ่งจะขี่ขอช้างนั้น สรรพด้วยหมวกแลเกราะนวมประดับสำรับช้างนั้น แลพลม้าสรรพด้วยทวนอันมีส้นตรุคือ สำหรับม้านั้น แลทวนคันยาว แลพลเดินเท้านั้น ถือดั้งแลเขนเขียนเขนทอง แลทวนเท้าแลคบไฟ  ปืนใหญ่ ปืนนกสับ ตรวจจัดทหารทั้งปวงไว้ แล้วจึ่งแต่งเป็นนายทัพ ยกกระบัตรเกียกกาย แลสารวัตรอาชญาศึก กองแล่น กองใช้สรรพ แล้วจึ่งให้ไปตั้งประจำอยู่ทกๆ หัวเมืองทั้งปวงตามใกล้แลไกลนั้น แลตกแต่งการทั้งปวงดุจนี้ ชื่อว่าโยคเสนางค์แล


…………………………………………………………….

หนังสือสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชของคณะกรรมการมูลนิธิสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช 2523 หน้า 137-143
- เครื่องพิชัยสงครามสำหรับชนช้าง ทรงพระสนับเพลาลงราชะซับใน ๑ ทรงฉลองพระองค์ย้อมว่านลงราชะซับใน ๑ ทรงพระสนับเพลาแพรดำเกราะซับนอก ๑ ทรงฉลองพระองค์นวมซับนอก ๑ ทรงพระมาลาราชะซับใน ๑ ทรงพระมาลาเบี่ยงนอก ๑ ทรงรัดพระองค์เจียรบาศพื้นดำ ๑ สิริเป็น ๗ สิ่ง
…………………………………………………………….

เครื่องประกอบพระแท่นมณฑลในพระราชพิธีพระบรมราชาภิเษก

๑. หีบเครื่องพระพิชัยสงคราม
๒. หีบเครื่องพระมนต์พิเศษ
๓. พระมาลาเบี่ยง
๔. ฉลองพระองค์เกราะเหล็ก
๕. ฉลองพระองค์เกราะนวม

๖. เครื่องทรงลงยันต์ราชะ ๗ สี

รูปเครื่องทรงลงยันต์ราชะ ๗ สี

เครดิต : คุณเงาอดีต http://www.oknation.net/blog/been555/2010/04/29/entry-2
…………………………………………………………….

ลายพระหัตถ์ของกรมพระยานริศฯถึงพระยาอนุมานราชธน


เครดิต : คุณอัศวินอโยธยา,คุณSamun007 http://www.konrakmeed.com/webboard/upload/lofiversion/index.php?t9970.html
…………………………………………………………….

หนังสือ South East Asian Warfare 1300-1900 โดย MICHAEL C. CHARNEY
- Body armour was similarly diverse and ranged from very light
cover to metal cuirasses. In the sixteenth century, Peguan soldiers
wore very light and weak armour, while in Tenasserim, the soldiers
went into battle wearing padded armour. The early Chams wore
armour made of woven rattan plates and some Javanese made use of
armour made of buffalo hide in the seventeenth century. Europeans
who visited Southeast Asia did not always see the armour worn by
Southeast Asians and it appears that armour may have been used more
against indigenous opponents than against Europeans. Few European
sources mention Siamese armour, for example, but the indigenous
chronicles refer to their use in battle into the seventeenth century


Elite warriors also wore hot, heavy, expensive, and ornate mail
armour, which embellished their grandeur.
…………………………………………………………….





รูปภาพประกอบอื่นๆ ขอขอบคุณเจ้าของภาพและผู้ถ่ายภาพทุกๆท่านไว้ ณ ที่นี้ด้วย



แม่ทัพพม่า น่าจะเป็นมหาพันฑุละ จาก Narrative of the burmese war.
(หรืออาจจะเป็นคนอื่น เพราะมหาพันฑุละ น่าจะเสียชีวิตไปแล้วตอนเจรจากัน ?)


เจ้าฟ้าไต ?
เครดิต : คุณชมจันทร์ http://www.konrakmeed.com/webboard/upload/lofiversion/index.php?t9970.html


จิตกรรมฝาผนังวัดม
เครดิต : คุณSamun007 http://www.konrakmeed.com/webboard/upload/lofiversion/index.php?t9970.html


นายทหารม้าสมัยรัชกาลที่ ๕
เครดิต : คุณหนุ่มรัตนะ Pantip


จิตกรรมฝาผนังวัดยม
ถ่ายโดย : คุณ Katathorn หลวงวิเศษอัศดร


ขุนนางเขมร ?
เครดิต : คุณ Tabuya จาก Pantip


เกราะของพวกโมโร ฟิลิปปินส์ circa 19 century
เครติด :
http://webprojects.prm.ox.ac.uk/arms-and-armour/o/Form-and-Function/1940.8.2/




เกราะของชาวมาเลเซีย อันแรกทำจาก ดีบุก อันหลังทำจากหนังจรเข้
เครดิต : http://www.vikingsword.com/vb/showthread.php?t=412&highlight=nias+armor

บันทึกการเข้า
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 20 เม.ย. 11, 08:55

มีปรากฏหลักฐานอีกที่ครับ อยู่ในประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๗๓

ทำเนียบข้าราชการนครสรีธัมมราช ครั้งรัชชกาลที่ ๒ ครับ


ออกพระสรีราชสงครามราชภักดี ปลัด ถือสักดินา ๓๐๐๐ ฝ่ายขวา ถือตรารูปโตยืนบนแท่น เครื่องประจำยสมีช้างพลาย ๑ ช้างพัง ๑ จำลอง ๒ ทงทวน ๔ นวม ๖ แหลน ๔ ปืนนกสับ หลังช้าง ๒ กระบอก หมวกม้า ๒ เครื่องม้า ๒๐ ปืนกระสุนนิ้วกึ่ง


หลวงชัยสงคราม รองปลัด นา ๑๐๐๐ ถือตรารูปโตไม่มี แท่น มีช้างพลาย ๑๒ ทงทวน ๒ นวม ๓ แหลน ๒๐ หมวก สำหรับช้าง ๑ ปืนกระสุนนิ้วกึ่งบันดาสักดิ์ ๑ กระบอก ปืนนกสับบันดาสักดิ์ ๑ กระบอก ปืนนกสับชเลยสักดิ์ ๔ กะบอก เสื้อ ๔ ทงทวน ๑๐ เสื้อ ๑๐ ทวนเท้า ๔ เรือพนัก ๑ ลำ ได้รับพระราชทานเชิงประกัน


ออกพระภักดีราช ยกรบัตร นา ๑๖๐๐ ฝ่ายขวา ถือตรา มีช้างพลาย ๑ ช้างพัง ๑ จำลอง ๑ ทงทวน ๔ นวม ๑ แหลน ๔๐ หมวกสำหรับช้าง ๖ ปืนนกสับบันดาสักดิ์ ๒๔ กะบอก ปืนนกสับ หลังช้าง ๒๐๐ กะบอก ม้า ๑ เครื่องม้า ๑ ทวน ๑ หมวกม้า ๑ ปืนกระสุนนิ้วกึ่งบันดาสักดิ์ ๒ กะบอก หมวก ๒๐ หอกเขน ๓๐ ทวนเท้า ๑๕ ได้พิจารนาเนื้อความนานาประเทส


ฯลฯ


สังเกตว่า ของที่ได้รับพระราชทาน เป็นอาวุธและเครื่องประดับยศนะครับ  น่าสงสัยว่า "นวม" ที่ผม Hilight นั้นหมายถึงอะไร ?

เกราะนวมหรือไม่ ?
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 20 เม.ย. 11, 09:04

สินค้าส่งออกอย่างหนึ่งสมัยกรุงศรีอยุธา คือ หนังกวาง ส่งออกไปยังญี่ปุ่น เพื่อทำชุดเกราะหนังกวางครับ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 20 เม.ย. 11, 09:25

น่าสนใจครับ ข้อมูลบางอย่างผมเพิ่งเคยเห็นเป็นครั้งแรกนี่แหละ

ขอบคุณที่นำมาเสนอครับ
บันทึกการเข้า
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 21 เม.ย. 11, 00:22

ภาพนักรบเกาหลีที่ อ.เทาชมพู แนบมานี่ ดูแล้วก็งง ๆ ครับ เพราะถ้าเป็นตามที่บอก เมื่อพันห้าร้อยปีก่อนถ้าเทียบกับทางจีน ก็ราว ๆ ราชวงศ์ซ่ง-ถัง  ซึ่งเกราะในภูมิภาคนั้นไม่ได้เป็นแบบนี้แน่ ๆ

ตรงส่วนที่ป้องกันคอ ในยุคถังไม่มีแบบนั้นแน่นอน ต่อให้ย้อนไปถึงราชวงศ์ฮั่นตะวันตก ส่วนป้องกันคอก็ไม่ดูหรูหราขนาดนี้ น่าจะเป็นจินตนาการเกราะจากยุโรปยุคกลางมาผสมมากกว่าครับ

ส่วนเกราะของม้านั้น ธรรมเนียมจีนไม่เคยหุ้มเกราะม้าทั้งตัวแบบนี้ ถ้าเป็นยุโรปยุคอัศวินยังว่าไปอย่างครับ
บันทึกการเข้า
ShopperKimpy
อสุรผัด
*
ตอบ: 11



ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 21 เม.ย. 11, 08:48

ภาพนักรบเกาหลีที่ อ.เทาชมพู แนบมานี่ ดูแล้วก็งง ๆ ครับ เพราะถ้าเป็นตามที่บอก เมื่อพันห้าร้อยปีก่อนถ้าเทียบกับทางจีน ก็ราว ๆ ราชวงศ์ซ่ง-ถัง  ซึ่งเกราะในภูมิภาคนั้นไม่ได้เป็นแบบนี้แน่ ๆ

ตรงส่วนที่ป้องกันคอ ในยุคถังไม่มีแบบนั้นแน่นอน ต่อให้ย้อนไปถึงราชวงศ์ฮั่นตะวันตก ส่วนป้องกันคอก็ไม่ดูหรูหราขนาดนี้ น่าจะเป็นจินตนาการเกราะจากยุโรปยุคกลางมาผสมมากกว่าครับ

ส่วนเกราะของม้านั้น ธรรมเนียมจีนไม่เคยหุ้มเกราะม้าทั้งตัวแบบนี้ ถ้าเป็นยุโรปยุคอัศวินยังว่าไปอย่างครับ



ทหารม้าโครกรูยอ

วิ่งไหวแน่นอนครับ



 ยิ้มเท่ห์
บันทึกการเข้า
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 21 เม.ย. 11, 23:48

ผมก็ว่าอยู่  เพราะราชวงศ์โครกรูยอ หรือ โกรกูรยอ มันตรงกับยุคราชวงศ์ซีฮั่น หรือก็คือ ฮั่นตะวันตก ซึ่งผ่านมาเกือบ ๆ สองพันปีแล้วครับ

มันต่างจากยุคราชวงศ์ถัง หรือแม้แต่ยุคราชวงศ์หมิงที่ตรงกับรัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรเป็นพัน ๆ ปีเลยนะครับ
บันทึกการเข้า
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 21 เม.ย. 11, 23:52



นี่คือชุดเกราะในสมัยสามก๊ก ซึ่งก็จัดเป็นรอยต่อระหว่าง ฮั่นตะวันออก กับ ยุคสามก๊ก สังเกตได้ว่าส่วนที่ป้องกันคอ จะโดดเด่นขึ้นมาเหมือนกับชุดของยุคโกรคูรยอ

บันทึกการเข้า
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 21 เม.ย. 11, 23:57



ในยุคฮั่น ทหารราบหรือทหารเลวทั่ว ๆ ไป ก็ไม่ได้ใส่เกราะอะไรเลิศเลอนักหรอกครับ ก็ยึดแนวคิดเดิมมาจากยุคฉินเป็นหลัก จะเป็นสไตล์ Lamella เสียเป็นส่วนมาก


จริง ๆ ในกระทู้นี้ ผมว่า ถ้าจะยกตัวอย่างเกราะ ก็น่าจะเป็นไปในยุคที่ใกล้ ๆ กันน่าจะดีกว่ากระมังครับ เพราะถ้าย้อนไปมากเป็นพัน ๆ ปี ความคลาดเคลื่อนมันอาจจะมีได้นะครับ
บันทึกการเข้า
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 22 เม.ย. 11, 00:11

ส่วนที่คุณ kimby บอกมา ตรงนั้นผมเชื่อครับว่า ทหารม้าเกราะเหล็กอย่างหนักแบบนั้น วิ่งได้แน่นอน เพราะในแต่ละยุคของจีน ก็จะใส่ชุดประเภท lamella กันเป็นส่วนใหญ่อยู่แล้ว

ยกเว้นบางช่วงเวลาที่เผ่านอกด่านมาเป็นใหญ่ได้ อย่างเช่น มองโกล หรือ แมนจู ที่จะเปลี่ยนไปเป็น Brigandine กันมากกว่า แต่ถึงจะเป็น Brigandine ข้างในก็ยังมีช่องใส่โลหะไว้เหมือนกันครับ


ตัวอย่างรูป ทหารม้าเกราะหนักยุคราชวงศ์หมิงตอนปลาย เดา ๆ ว่าน่าจะเป็นรัชกาลจักรพรรดิว่านลี่ตอนต้น ๆ  ก็ก่อนสมัยสมเด็จพระนเรศวรพอควร

บันทึกการเข้า
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 22 เม.ย. 11, 00:16

ไม่ทราบว่าคุณต้องการเกราะยุคใกล้ๆกัน   ดิฉันขอลบภาพของดิฉันก่อนนะคะ   ถ้าเจอเกราะยุคเดียวกับเกราะอื่นๆจะนำมาโพสให้ค่ะ

ต้องขออภัยครับ เนื่องจากที่ได้เรียนไปว่า เมื่อพันกว่าปีก่อนยุคช่วงนั้น เกาหลีจะตรงกับอาณาจักรโชซอน ซึ่งอยุ่ในสมัยเดียวกับราชวงศ์ถังของจีน แต่ถ้าต้องการจะสื่อเพื่อให้เห็นว่าเกราะในยุคโครกูรยอนั้นหน้าตาเป็นอย่างไรก็ไม่ได้ผิดแต่อย่างใดครับ
บันทึกการเข้า
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 22 เม.ย. 11, 00:24



ตัวอย่างหมวก และเกราะประเภท Lamella ในยุคฉิน-สามก๊ก  ซึ่งเกราะของโกรคูรยอ ได้อิทธิพลจากแบบนี้ไปครับ ถามว่าหนักไหม ก็น่าจะราว ๆ ๒๐ กว่ากิโลกรัมได้นะครับ
บันทึกการเข้า
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 22 เม.ย. 11, 00:28



ตัวอย่างเกราะแบบ Brigandine ซึ่งเดาว่า น่าจะใกล้เคียงเกราะนวมบ้านเรา ภาพนี้เป็นเกราะยุคมองโกล ราชวงศ์หยวน ในสมัยของ จักรพรรดิกุบไลข่าน ที่ยกไปตีญี่ปุ่นครับ

บันทึกการเข้า
ShopperKimpy
อสุรผัด
*
ตอบ: 11



ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 25 พ.ค. 11, 15:50

"ELEPHANT ARMY OF SIAM" จากหนังสือ JOURNAL DES VOYAGES ตีพิมพ์เมื่อปี 1907



ภาพ "A Burmese Minister of State in Military Dress."
ตีพิมพ์ในหนังสือ Illustrated London News ปี 1885



เกราะของมหาพันธุละ จัดแสดงที่ London
จากหนังสือ A Burmese Wonderland : a tale of travel in Lower and Upper Burma


นักรบโมโร



***********
รวบรวมรูปมาจากพันทิปครับ ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.146 วินาที กับ 20 คำสั่ง