เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 10 11 [12] 13 14 ... 18
  พิมพ์  
อ่าน: 99669 พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 165  เมื่อ 23 เม.ย. 11, 23:04

บางคนไม่รู้จักคลองอรชร จึงได้นำตำแหน่งของคลองมาให้ชมกัน จากแผนที่สมัยรัชกาลที่ ๖ (ตามลูกศร) เป็นคลองที่เชื่อมจากคลองถนนตรง (ถนนพระราม ๔) ไปเชื่อมกับคลองบางกะปิ (ซึ่งเดิมเรียกรวมกันไปว่า คลองแสนแสบ)


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 166  เมื่อ 23 เม.ย. 11, 23:08

ภาพถ่ายทางอากาศ (อีกครั้ง) พ.ศ. ๒๔๖๓ ตามแนวลูกศร ของถนนอังรีดุนังต์ และคลองอรชร (ติดรั้วจุฬาฯ) มีต้นไม้ปลูกเป็นระยะๆ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
bthawees
มัจฉานุ
**
ตอบ: 65


ความคิดเห็นที่ 167  เมื่อ 23 เม.ย. 11, 23:10

อาจารย์ทวีเคยถามถึงกลอนของคุณประยอม ซองทอง เขียนถึงแคฝรั่ง   ดิฉันไปขอมาได้แล้วค่ะ

                                     แผลชีวิต
             แคฝรั่งพรั่งพรูกรูจากกิ่ง      ริ้วร่างดิ่งลงคลองล่องลับหาย
ดูแล้วแดเราจะดิ้นชีวินวาย              ไม่ควรหมายมาดูแคให้แพ้ใจ
ไม่อยากเห็นก็ต้องเห็นจำเป็นพบ      จะหลีกหลบลี้ไกลกระไรได้
เพระพันธะที่ผูกพันทุกวันไป              แรงฤทัยรึก็เร้าให้เฝ้ามอง
             ชีวิตเอ๋ย                     ไม่นึกเลยจะระกำถึงซ้ำสอง
เคยรอบคอบก่อนมอบใจให้ใครครอง   กลับมาหมองเหมือนมีมีดมากรีดแด
เจ็บครั้งนี้ทีจะจำสุดสำนึก              ด้วยรู้สึกเหลือฉกาจเหนือบาดแผล
แม้ไม่ดิ้นสิ้นร่างลงอย่างแค              ไหนจะแก้แผลชีวิตได้มิดรอย
         
         กลอนบทนี้แต่งเมื่อพ.ศ.2502   พี่ประยอมให้คำอธิบายประกอบว่า 

        "  แรงบันดาลใจจากแคฝรั่งริมคลองอรชร ทั้งข้างโรงพยาบาลจุฬา ฯ ข้างคณะรัฐศาสตร์   และดูเหมือนที่มุมด้านที่เป็นตึกโรงอาหารและที่จอดรถปัจจุบัน ก็ดูเหมือนจะมีด้วย ถ้าจำไม่ผิด  แต่ไม่กล้ายืนยันว่า มีแคฝรั่งในจุฬาฯ"
       
          อย่างน้อยพี่ประยอมก็แน่ใจว่าริมคลองอรชร มีแคฝรั่งแน่ๆค่ะ    ส่วนมุมด้านตึกโรงอาหารก็คือมุมจุฬาถัดจากตึกบรมราชกุมารี ไปสุดกำแพงรั้วด้านถนนอังรี   ปัจจุบันกลายเป็นอาคารที่จอดรถ
ขอบคุณมากครับกลอนของศิลปินแห่งชาติเพราะมาก ๆ ในจุฬาฯมีปลูกแคฝรั่งตั้งแต่ปี 2484 ปัจจุบันแคฝรั่งในยุคนั้นยังเหลือรอดมา 4 ต้นครับ
บันทึกการเข้า
bthawees
มัจฉานุ
**
ตอบ: 65


ความคิดเห็นที่ 168  เมื่อ 23 เม.ย. 11, 23:16

ภาพถ่ายทางอากาศ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๓ ภาพขาวดำด้านล่างภาพเป็นบริเวณสนามม้าสปอร์ตคลับ และเรื่อยขึ้นไปกลางภาพเป็นถนนอังรีดุนังต์ และทางเข้าหลักมหาวิทยาลัย เทียบกับ ภาพสีในปัจจุบัน
ภาพนี้ปี 2463 หรือ 2468 ครับ
บันทึกการเข้า
bthawees
มัจฉานุ
**
ตอบ: 65


ความคิดเห็นที่ 169  เมื่อ 23 เม.ย. 11, 23:19

บางคนไม่รู้จักคลองอรชร จึงได้นำตำแหน่งของคลองมาให้ชมกัน จากแผนที่สมัยรัชกาลที่ ๖ (ตามลูกศร) เป็นคลองที่เชื่อมจากคลองถนนตรง (ถนนพระราม ๔) ไปเชื่อมกับคลองบางกะปิ (ซึ่งเดิมเรียกรวมกันไปว่า คลองแสนแสบ)
ภาพแผนที่ถนนที่เห็นพื้นที่จุฬาฯ ทั้งหมดมีไหมครับ และเป็นแผนที่ในช่วงปีอะไรครับ
บันทึกการเข้า
bthawees
มัจฉานุ
**
ตอบ: 65


ความคิดเห็นที่ 170  เมื่อ 23 เม.ย. 11, 23:22

บางคนไม่รู้จักคลองอรชร จึงได้นำตำแหน่งของคลองมาให้ชมกัน จากแผนที่สมัยรัชกาลที่ ๖ (ตามลูกศร) เป็นคลองที่เชื่อมจากคลองถนนตรง (ถนนพระราม ๔) ไปเชื่อมกับคลองบางกะปิ (ซึ่งเดิมเรียกรวมกันไปว่า คลองแสนแสบ)
ผมสงสัยเรื่องคลองไผ่สิงโตครับ ว่าอยู่ในพื้นที่ของจุฬาฯด้วยหรือ เห็นมีเขียนในหนังสือ 90 ปี กายภาพของจุฬาฯ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 171  เมื่อ 23 เม.ย. 11, 23:23

บางคนไม่รู้จักคลองอรชร จึงได้นำตำแหน่งของคลองมาให้ชมกัน จากแผนที่สมัยรัชกาลที่ ๖ (ตามลูกศร) เป็นคลองที่เชื่อมจากคลองถนนตรง (ถนนพระราม ๔) ไปเชื่อมกับคลองบางกะปิ (ซึ่งเดิมเรียกรวมกันไปว่า คลองแสนแสบ)
ภาพแผนที่ถนนที่เห็นพื้นที่จุฬาฯ ทั้งหมดมีไหมครับ และเป็นแผนที่ในช่วงปีอะไรครับ

แผนที่ปี ๒๔๖๐ ครับ เพิ่งก่อสร้างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยไม่กี่ปีเอง


บันทึกการเข้า
bthawees
มัจฉานุ
**
ตอบ: 65


ความคิดเห็นที่ 172  เมื่อ 23 เม.ย. 11, 23:26

หอประชุม ไม่ทราบปี พ.ศ.
เป็นไปได้ไหมครับว่าประมาณปี 2527 หลังจากปิดซ่อมใหญ่
บันทึกการเข้า
bthawees
มัจฉานุ
**
ตอบ: 65


ความคิดเห็นที่ 173  เมื่อ 23 เม.ย. 11, 23:31

บางคนไม่รู้จักคลองอรชร จึงได้นำตำแหน่งของคลองมาให้ชมกัน จากแผนที่สมัยรัชกาลที่ ๖ (ตามลูกศร) เป็นคลองที่เชื่อมจากคลองถนนตรง (ถนนพระราม ๔) ไปเชื่อมกับคลองบางกะปิ (ซึ่งเดิมเรียกรวมกันไปว่า คลองแสนแสบ)
ภาพแผนที่ถนนที่เห็นพื้นที่จุฬาฯ ทั้งหมดมีไหมครับ และเป็นแผนที่ในช่วงปีอะไรครับ

แผนที่ปี ๒๔๖๐ ครับ เพิ่งก่อสร้างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยไม่กี่ปีเอง
ขอบคุณครับ ถนนบรรทัดทองยังไม่ได้ตัดเลย ผมสงสัยครับว่าทำไมคลองอรชรจึงเห็นในแผนที่อยู่ในแนวเดียวกับที่จะเป็นถนนบรรทัดทอง ผมเข้าใจตามที่บอกมาว่าอยู่ในแนวขนานกับถนนสนามม้าเท่านั้น
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 174  เมื่อ 23 เม.ย. 11, 23:34

ภาพลายเส้นแบบแปลนเดิมของการก่อสร้างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


รูปนี้ชัดกว่า



บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 175  เมื่อ 23 เม.ย. 11, 23:35

บางคนไม่รู้จักคลองอรชร จึงได้นำตำแหน่งของคลองมาให้ชมกัน จากแผนที่สมัยรัชกาลที่ ๖ (ตามลูกศร) เป็นคลองที่เชื่อมจากคลองถนนตรง (ถนนพระราม ๔) ไปเชื่อมกับคลองบางกะปิ (ซึ่งเดิมเรียกรวมกันไปว่า คลองแสนแสบ)
ผมสงสัยเรื่องคลองไผ่สิงโตครับ ว่าอยู่ในพื้นที่ของจุฬาฯด้วยหรือ เห็นมีเขียนในหนังสือ 90 ปี กายภาพของจุฬาฯ

คลองไผ่สิงโตอยู่ฝั่งเหนือโรงพยาบาลจุฬา ครับ และพื้นที่ส่วนนี้ก็เป็นส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัยจุฬา ซึ่งคลองไผ่สิงโตถูกโอนเป็นสาธารณะประโยชน์เมื่อปี ๒๔๘๕


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 176  เมื่อ 23 เม.ย. 11, 23:36

^
^
โปรดสังเกตว่าเป็นแบบของ University of Siam at Bangkok

ซึ่งเป็นชื่อที่คิดไว้ครั้งแรกสำหรับ "จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย"

เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี (เมื่อครั้งยังมีบรรดาศักดิ์เป็นพระยาวิสุทธสุริยศักดิ์) ซึ่งเป็นผู้ที่ร่างโครงการศึกษา พ.ศ. ๒๔๔๒ เป็นการจัดการศึกษาตั้งแต่ชั้นอนุบาลจนถึงระดับอุดมศึกษา และเสนอให้ใช้คำว่า “สากลวิทยาลัย” ในระดับอุดมศึกษา ดังนั้นมหาวิทยาลัยที่จะจัดตั้งขึ้นควรมีชื่อเป็น “รัตนโกสินทร์สากลวิทยาลัย” (University of Siam) ข้อเสนอในเอกสารฉบับนี้เป็นที่พอพระราชหฤทัยในสมเด็จพระปิยมหาราช แต่ยังมิได้ทรงดำเนินพัฒนาโรงเรียนที่ทรงจัดตั้งขึ้นเป็นยูนิเวอร์ซีตีก็เสด็จสวรรคต ต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงมีพระราชประสงค์ให้มหาวิทยาลัยแห่งแรกมีพระนามเดียวกับพระบรมชนกนาถ เพื่อให้เป็นการเพิ่มพูนพระเกียรติยศ เป็นที่คำนึงถึงพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระบรมราชานุสาวรีย์อันยิ่งใหญ่ ถาวร และจะอยู่คู่เมืองไทยไม่มีวันเสื่อมสูญ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ อัญเชิญพระนามาภิไธยในสมเด็จพระบรมราชชนกเป็นชื่อมหาวิทยาลัยว่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีความหมายว่า มหาวิทยาลัยของสมเด็จฯ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ เป็นชื่อที่สืบเนื่องจากโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ด้วยเหตุนี้เมื่อเขียนชื่อมหาวิทยาลัยเป็นภาษาอังกฤษและใช้ University นำหน้า จะต้องเป็น University of Prince Chulalongkorn

ข้อมูลจาก หอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยลัย

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 177  เมื่อ 23 เม.ย. 11, 23:39

^
^
โปรดสังเกตว่าเป็นแบบของ University of Siam at Bangkok

ครับ เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรก  ยิ้มเท่ห์
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 178  เมื่อ 23 เม.ย. 11, 23:49

ย้อนกลับไปแผนที่ พ.ศ. ๒๔๔๕  เรื่องคลองอรชร อาจจะเป็นคลองสายเดียวกัน ซึ่งดูจากการเรียกชื่อแล้วผสมกันไปมาดังนี้

๑. แผนที่ฉบับ ๒๔๔๕ ไม่ได้ระบุชื่อคลองซึ่งอยู่ในตำแหน่งเดียวกัน แต่บ่งว่าคลองนั้นผ่านเข้ามายังพื้นที่ของจุฬาแน่นอน
๒. แผนที่ฉบับ ๒๔๖๐ คลองอรชร ถูกระบุว่าตั้งอยุ่ในแนวเดียวกับถนนบรรทัดทองในปัจจุบันนี้
๓. แผนที่ฉบับ ๒๔๘๕ เรียกคลองที่ผ่านหน้าจุฬา ว่า คลองสนามม้า ซึ่งเข้าใจว่า เป็นคลองอรชร ที่ผ่านหน้าจูฬาและโรงเรียนเตรียมอุดมในอดีต


บันทึกการเข้า
bthawees
มัจฉานุ
**
ตอบ: 65


ความคิดเห็นที่ 179  เมื่อ 23 เม.ย. 11, 23:55

บางคนไม่รู้จักคลองอรชร จึงได้นำตำแหน่งของคลองมาให้ชมกัน จากแผนที่สมัยรัชกาลที่ ๖ (ตามลูกศร) เป็นคลองที่เชื่อมจากคลองถนนตรง (ถนนพระราม ๔) ไปเชื่อมกับคลองบางกะปิ (ซึ่งเดิมเรียกรวมกันไปว่า คลองแสนแสบ)
ผมสงสัยเรื่องคลองไผ่สิงโตครับ ว่าอยู่ในพื้นที่ของจุฬาฯด้วยหรือ เห็นมีเขียนในหนังสือ 90 ปี กายภาพของจุฬาฯ

คลองไผ่สิงโตอยู่ฝั่งเหนือโรงพยาบาลจุฬา ครับ และพื้นที่ส่วนนี้ก็เป็นส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัยจุฬา ซึ่งคลองไผ่สิงโตถูกโอนเป็นสาธารณะประโยชน์เมื่อปี ๒๔๘๕
ขอบคุณครับ ที่ผมเห็นมาเป็นคลองที่อยู่ในแนวขนานกับคณะสถาปัตย์ครับ ผมก็เลยงง ตามแผนที่ที่ลากให้ดู คลองไผ่สิงโตดูเหมือนจะเป็นสาขาของคลองสนามม้าหรือคลองอรชร
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 10 11 [12] 13 14 ... 18
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.095 วินาที กับ 20 คำสั่ง