เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 9 10 [11] 12 13 ... 18
  พิมพ์  
อ่าน: 99379 พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 150  เมื่อ 23 เม.ย. 11, 16:25

ดอกไม้สีชมพู ริมสระน้ำจุฬา

กัลปพฤกษ์



บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 151  เมื่อ 23 เม.ย. 11, 17:13

ชมพูพันธุ์ทิพย์

ดูภาพนี้แล้ว เห็นตะเบบูญ่า หรือชมพูพันธุ์ทิพย์มาแจมอยู่ด้วย
เขาคงเห็นว่าต้นนี่ออกดอกเป็นสีชมพูมั้ง เลยเอามาปลูกหน้ามหาวิทยาลัย
ต้นชมพูพันธุ์ทิพย์ด้านหลังสระน้ำ ศ.เดชา บุญค้ำเป็นคนวางตำแหน่งและดำเนินการปลูกเมื่อประมาณปีพ.ศ. 2520 เวลาผ่านไป 34 ปี ต้นไม่ใหญ่เท่าไหร่ แต่เมื่อปี 2553 ช่วงต้นปีแล้งมาก ชมพูพันธุ์ทิพย์ทิ้งใบเกือบหมดและออกดาวสีชมพูพราวทั้งต้น สวยงามมาก เอาไว้ดูภาพในหนังสือนะครับ






บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 152  เมื่อ 23 เม.ย. 11, 19:21

ภาพนี้รวมมิตร

กัลปพฤกษ์ - ชมพูพันธุ์ทิพย์ - เฟื่องฟ้าสีชมพู

มีคณะของคุณนวรัตนเป็นฉากหลัง

 ยิงฟันยิ้ม


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 153  เมื่อ 23 เม.ย. 11, 19:43

ภาพนี้รวมมิตร

กัลปพฤกษ์ - ชมพูพันธุ์ทิพย์ - เฟื่องฟ้าสีชมพู

มีคณะของคุณนวรัตนเป็นฉากหลัง

 ยิงฟันยิ้ม

 ขยิบตา  อ่อ นึกว่า ตัวคุณนวรัตน์เป็นฉากหลัง อ่านดีๆจึงเห็นว่า เป็นคณะของคุณนวรัตน์  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 154  เมื่อ 23 เม.ย. 11, 19:53

หอประชุม ไม่ทราบปี พ.ศ.


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 155  เมื่อ 23 เม.ย. 11, 20:14

ต้นสักที่คณะวิศวกรรมศาสตร์


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 156  เมื่อ 23 เม.ย. 11, 20:20

ลั่นทมที่คณะของคุณเทาชมพู

 

ภาพโดยคุณ sweetypenguin    http://sweetypenguin.multiply.com/photos/album/14/14  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
bthawees
มัจฉานุ
**
ตอบ: 65


ความคิดเห็นที่ 157  เมื่อ 23 เม.ย. 11, 21:45

ชมพูพันธุ์ทิพย์

ดูภาพนี้แล้ว เห็นตะเบบูญ่า หรือชมพูพันธุ์ทิพย์มาแจมอยู่ด้วย
เขาคงเห็นว่าต้นนี่ออกดอกเป็นสีชมพูมั้ง เลยเอามาปลูกหน้ามหาวิทยาลัย
ต้นชมพูพันธุ์ทิพย์ด้านหลังสระน้ำ ศ.เดชา บุญค้ำเป็นคนวางตำแหน่งและดำเนินการปลูกเมื่อประมาณปีพ.ศ. 2520 เวลาผ่านไป 34 ปี ต้นไม่ใหญ่เท่าไหร่ แต่เมื่อปี 2553 ช่วงต้นปีแล้งมาก ชมพูพันธุ์ทิพย์ทิ้งใบเกือบหมดและออกดาวสีชมพูพราวทั้งต้น สวยงามมาก เอาไว้ดูภาพในหนังสือนะครับ






ภาพสวยมากเลยครับ ชมพูสดใส
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 158  เมื่อ 23 เม.ย. 11, 22:16

ภาพลายเส้นแบบแปลนเดิมของการก่อสร้างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


บันทึกการเข้า
bthawees
มัจฉานุ
**
ตอบ: 65


ความคิดเห็นที่ 159  เมื่อ 23 เม.ย. 11, 22:20

ภาพลายเส้นแบบแปลนเดิมของการก่อสร้างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
แปลนเดิมที่จะเป็นตึกบัญชาการไช่ไหมครับ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 160  เมื่อ 23 เม.ย. 11, 22:23

ภาพลายเส้นแบบแปลนเดิมของการก่อสร้างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
แปลนเดิมที่จะเป็นตึกบัญชาการไช่ไหมครับ

ดูจากแปลนแล้ว ประกอบด้วยอาคาร ๓ กลุ่ม ซ้าย - กลาง - ขวา ซึ่งอาคาร ซ้าย และขวา คงเหมือนในปัจจุบันนี้
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 161  เมื่อ 23 เม.ย. 11, 22:47

ตึกนี้คือตึกอักษรศาสตร์ หรือที่อาจารย์ทวีเรียกว่าตึกบัญชาการ   เมื่อลงมือสร้างจริงๆ  ลดความซับซ้อนลงกว่าแปลน   คือยอดปรางค์ทั้งสามแห่งหายไป  หลังคาที่ซ้อนกันสามชั้นก็เหลือชั้นเดียว    ส่วนหน้าบันยังอยู่ 
ตัวอาคารเมื่อสร้างก็ยังเป็นเค้าโครงตามแปลน    ตึกกลางมีมุขยื่นออกมา  ส่วนอาคารปีกทั้งสองข้างไม่มีมุข    ส่วนที่เชื่อมระหว่างอาคารทั้งสาม  ในแปลนดูจะยาวกว่าของจริง
ดูออกแค่นี้ค่ะ    ถ้าจะถามรายละเอียดคงต้องพึ่งท่าน NAVARAT.C  ช่วยอธิบายในฐานะสถาปนิก

ตึกหอสมุดสร้างแบบตึกอักษรศาสตร์ เกือบจะเป็นฝาแฝด แต่ไม่ละเอียดประณีตเท่า    ที่เห็นชัดคือตรงหน้าบันที่ไม่มีลายปูนปั้นอย่างตึกอักษรศาสตร์ แต่ประดับช่องหน้าต่างกระจกแทน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 162  เมื่อ 23 เม.ย. 11, 22:51

อาจารย์ทวีเคยถามถึงกลอนของคุณประยอม ซองทอง เขียนถึงแคฝรั่ง   ดิฉันไปขอมาได้แล้วค่ะ

                                     แผลชีวิต
             แคฝรั่งพรั่งพรูกรูจากกิ่ง      ริ้วร่างดิ่งลงคลองล่องลับหาย
ดูแล้วแดเราจะดิ้นชีวินวาย              ไม่ควรหมายมาดูแคให้แพ้ใจ
ไม่อยากเห็นก็ต้องเห็นจำเป็นพบ      จะหลีกหลบลี้ไกลกระไรได้
เพระพันธะที่ผูกพันทุกวันไป              แรงฤทัยรึก็เร้าให้เฝ้ามอง
             ชีวิตเอ๋ย                     ไม่นึกเลยจะระกำถึงซ้ำสอง
เคยรอบคอบก่อนมอบใจให้ใครครอง   กลับมาหมองเหมือนมีมีดมากรีดแด
เจ็บครั้งนี้ทีจะจำสุดสำนึก              ด้วยรู้สึกเหลือฉกาจเหนือบาดแผล
แม้ไม่ดิ้นสิ้นร่างลงอย่างแค              ไหนจะแก้แผลชีวิตได้มิดรอย
         
         กลอนบทนี้แต่งเมื่อพ.ศ.2502   พี่ประยอมให้คำอธิบายประกอบว่า 

        "  แรงบันดาลใจจากแคฝรั่งริมคลองอรชร ทั้งข้างโรงพยาบาลจุฬา ฯ ข้างคณะรัฐศาสตร์   และดูเหมือนที่มุมด้านที่เป็นตึกโรงอาหารและที่จอดรถปัจจุบัน ก็ดูเหมือนจะมีด้วย ถ้าจำไม่ผิด  แต่ไม่กล้ายืนยันว่า มีแคฝรั่งในจุฬาฯ"
       
          อย่างน้อยพี่ประยอมก็แน่ใจว่าริมคลองอรชร มีแคฝรั่งแน่ๆค่ะ    ส่วนมุมด้านตึกโรงอาหารก็คือมุมจุฬาถัดจากตึกบรมราชกุมารี ไปสุดกำแพงรั้วด้านถนนอังรี   ปัจจุบันกลายเป็นอาคารที่จอดรถ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 163  เมื่อ 23 เม.ย. 11, 22:59


อ้างถึง
อ้างถึง
ภาพนี้รวมมิตร

กัลปพฤกษ์ - ชมพูพันธุ์ทิพย์ - เฟื่องฟ้าสีชมพู

มีคณะของคุณนวรัตนเป็นฉากหลัง

อ้างถึง
อ่อ นึกว่า ตัวคุณนวรัตน์เป็นฉากหลัง อ่านดีๆจึงเห็นว่า เป็นคณะของคุณนวรัตน์


นี่ครับ ภาพคณะของคุณนวรัตน แต่เป็นคณะเพื่อนถาปัดตอนเป็นน้องใหม่ที่ไปเชียรโปโลน้ำ สมัยโน้นเขาเล่นกันในสระหน้าจุฬา สระเดียวกับรูปของคุณเพ็ญชมพูที่ว่ามีคณะของคุณนวรัตนเป็นฉากหลังนั้นแหละ น้ำเขียวๆใสๆ พวกนักกิฬาจึงมีโรคประจำตัว๒โรค คือตาแดง๑ กับสังคังอีก๑ โชคดีผมเป็นสัตว์บก ไม่ใช่สัตว์น้ำ เขาเลยเอาไปเล่นกิฬาอย่างอื่น รอดตัวไป
ในภาพ จะเห็นคณะของคุณนวรัตนอยู่หลังคณะของคุณนวรัตนอีกที (อ่านแล้วจะเข้าใจไหมนั่น ก็คนเขียนเองยังงงๆอยู่เลย)

อ้อ เดี๋ยวใครจะมาหาว่ารูปไม่เกี่ยวกับต้นไม้ เกี่ยวซีครับ เห็นนนทรีไหมละท่าน ตอนนั้นเขายังไม่เอาต้นที่มีดอกสีชมพูหวานแหววมาปลูก เอ..ไม่รู้ว่านนทรีพวกนี้ยังอยู่หรือเปล่า หรือว่าเขาย้ายไปอยู่เกษตรแล้ว


บันทึกการเข้า
bthawees
มัจฉานุ
**
ตอบ: 65


ความคิดเห็นที่ 164  เมื่อ 23 เม.ย. 11, 23:00

ตึกนี้คือตึกอักษรศาสตร์ หรือที่อาจารย์ทวีเรียกว่าตึกบัญชาการ   เมื่อลงมือสร้างจริงๆ  ลดความซับซ้อนลงกว่าแปลน   คือยอดปรางค์ทั้งสามแห่งหายไป  หลังคาที่ซ้อนกันสามชั้นก็เหลือชั้นเดียว    ส่วนหน้าบันยังอยู่ 
ตัวอาคารเมื่อสร้างก็ยังเป็นเค้าโครงตามแปลน    ตึกกลางมีมุขยื่นออกมา  ส่วนอาคารปีกทั้งสองข้างไม่มีมุข    ส่วนที่เชื่อมระหว่างอาคารทั้งสาม  ในแปลนดูจะยาวกว่าของจริง
ดูออกแค่นี้ค่ะ    ถ้าจะถามรายละเอียดคงต้องพึ่งท่าน NAVARAT.C  ช่วยอธิบายในฐานะสถาปนิก

ตึกหอสมุดสร้างแบบตึกอักษรศาสตร์ เกือบจะเป็นฝาแฝด แต่ไม่ละเอียดประณีตเท่า    ที่เห็นชัดคือตรงหน้าบันที่ไม่มีลายปูนปั้นอย่างตึกอักษรศาสตร์ แต่ประดับช่องหน้าต่างกระจกแทน

อาจารย์เทาชมพูเห็นสภาพกายภาพของจุฬาฯ เป็นแบบนี้ไหมครับ


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 9 10 [11] 12 13 ... 18
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.079 วินาที กับ 20 คำสั่ง