siamese
|
ความคิดเห็นที่ 45 เมื่อ 19 เม.ย. 11, 21:38
|
|
เมื่อประมาณปีพุทธศักราช ๒๕๐๐ มีคณะต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมาย จึงต้องโค่นต้นจามจุรีเพื่อสร้าง ตึกใหม่ ต้นจามจุรีจึงลดน้อยลงอย่างน่าใจหาย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงรับสั่งว่าต้นจามจุรีมีความผูกพันกับคนแถวนี้มาก หากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยไม่ปลูกจะเสด็จพระราชดำเนินมาปลูกต้นจามจุรีเอง
เด็กนักเรียนอัสสัมชัญ รู้จักต้นจามจุรี มานานแล้วครับ โรงเรียก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๘ มีต้นจามจุรีต้นแรกของประเทศไทยปลูกไว้ ตามหนังสืออุโฆษสารของโรงเรียนครับ ต้นจามจุรีต้นแรกนี้ยังอยู่หรือเปล่าครับ ถูกโค่นทิ้งไปกว่า ๔๐ ปีแล้วครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 46 เมื่อ 19 เม.ย. 11, 21:40
|
|
ประวัติของต้นจามจุรีที่นำเข้าในประเทศไทย มีอยู่หลายเวอร์ชั่น เวอร์ชั่นของคุณไซอามีส อยู่ในเรื่องเล่าของ คุณวิกกี้ต้นจามจุรีต้นแรกในประเทศไทยปลูกอยู่ภายในโรงเรียนอัสสัมชัญ โดยบาทหลวงรอมิเอล ซึ่งเป็นนักบวชที่อยู่ในวัดอัสสัมชัญ เป็นผู้นำพันธุ์มาจากเมืองไซง่อน ประเทศเวียดนาม ต่อมาภายหลังก็เป็นที่แพร่หลายและนิยมนำมาปลูกเป็นต้นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่เพื่อให้ร่มเงาเวอร์ชั่นที่สอง อยู่ใน เว็บคลังปัญญาจามจุรี เป็นพันธุ์ไม้ที่รู้จักกันทั่วไป อาจพบเห็นได้ตามริมถนน วัด หรือสถานที่ราชการต่าง ๆ เข้าใจว่ามิสเตอร์ เอช เสลด (Mr. H. Slade.) อธิบดีกรมป่าไม้คนแรกได้นำพันธุ์จากประเทศพม่ามาปลูกเป็นครั้งแรกที่ทำการป่าไม้เขตเชียงใหม่ ประมาณปี พ.ศ. ๒๔๔๓ ต่อมาจึงได้นำไปปลูกตามถนนกรุงเทพฯ และจังหวัดอื่น ๆ อย่างแพร่หลายเนื่องจากเป็นไม้โตเร็วเรือนยอดแผ่กว้างให้ร่มเงาเป็นอย่างดี เวอร์ชั่นที่สาม มาจากหนังสือ เรื่องปกิณณกะในรัชกาลที่ ๕ โดย นายแพทย์นวรัต ไกรฤกษ์ ในเรื่อง "เสด็จประพาสชะวา" เจ้าคุณพ่อเล่าให้ฟังว่าท่านประสบโชคดี ได้ตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประพาสชะวา ๒ ครั้ง คือเมื่อ ร.ศ. ๑๑๕ (พ.ศ. ๒๔๓๙) ขณะที่ท่านมีบรรดาศักดิ์เป็นนายสุจินดา หุ้มแพร และเมื่อ ร.ศ. ๑๒๐ (พ.ศ. ๒๔๔๔) ขณะที่ท่านเป็นเจ้าหมื่นสรรพเพ็ธภักดี
ท่านได้เล่าถึงการเสด็จชะวา ร.ศ. ๑๑๕ ว่า........
จากการเสด็จประพาสชะวาครั้งนี้ ได้มีสิ่งที่งอกงามได้เร็จตามเข้ามายังกรุงเทพพระมหานครด้วย คือ
๑. ต้นไม้ชนิดหนึ่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงนำเมล็ดเข้ามาเพาะ ปรากฏว่าขึ้นงอกงามเร็ว มีกิ่งก้านแตกสาขาออกไปมาก จึงพระราชทานชื่อให้ใหม่ว่า "ต้นก้ามปู" ขณะนี้มีอยู่ทั่วประเทศ ใช้เป็นประโยชน์ นอกจากให้ความร่มเย็นแล้ว ยังเป็นที่สำหรับปล่อยตัวครั่งเป็นอย่างดี(มีอีก ๓ อย่างที่นำเข้ามาพร้อมกับต้นก้ามปูคือ ผักตบชวา, ปาล์มขวด และกวางดาว) ถ้าจามจุรีต้นแรกของคุณไซอามีสปลูกก่อน พ.ศ. ๒๔๓๙ จริง ก็น่าจะเป็นต้นแรกจริง 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 47 เมื่อ 19 เม.ย. 11, 21:47
|
|
ถามอาจารย์ทวีว่า เรื่องนี้จริงหรือไม่ ต่อมาคุณหลวงสมานวนกิจพบว่าเป็นไม้ใหม่ยังไม่มีชื่อทางวิทยาศาสตร์เลยให้ชื่อ Enterolobium saman เห็น คุณวิกกี้ บอกว่า The original name, saman - known in many languages and used for the specific name - derives from zamang, meaning "Mimosoideae tree" in some Cariban languages of northern Venezuela. 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
bthawees
มัจฉานุ
 
ตอบ: 65
|
ความคิดเห็นที่ 48 เมื่อ 20 เม.ย. 11, 06:42
|
|
ถามอาจารย์ทวีว่า เรื่องนี้จริงหรือไม่ ต่อมาคุณหลวงสมานวนกิจพบว่าเป็นไม้ใหม่ยังไม่มีชื่อทางวิทยาศาสตร์เลยให้ชื่อ Enterolobium saman จามจุรีเป็นพันธุ์ไม้พื้นเมืองของประเทศที่อยู่ทางตอนเหนือของอเมริกาใต้ จากโคลัมเบีย ลงมาถึงบราซิล และมีการตั้งชื่อวิทยาศาสตร์เอาไว้ตั้งแต่ปี 1800s แต่ชื่อวิทยาศาสตร์ที่ยอมรับกันในปัจจุบันคือ Samanea saman (Jacq.) Merr. ดังนั้นที่กล่าวว่าคุณหลวงสมานวนกิจพบว่าเป็นไม้ใหม่ยังไม่มีชื่อทางวิทยาศาสตร์เลยให้ชื่อ Enterolobium saman จึงน่าจะคลาดเคลื่อน ที่ถูกน่าจะเป็น "เป็นไม้ใหม่ที่เข้ามาในประเทศไทย และหาชื่อวิทยาศาสตร์ได้เป็น Enterolobium saman
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
V_Mee
|
ความคิดเห็นที่ 49 เมื่อ 20 เม.ย. 11, 06:53
|
|
มีพันธุ์ไม้อีกชนิดที่ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๕ ทรงนำเข้ามาปลูกคือ มะฮอกกานี ซึ่งโปรดเกล้าฯ ให้พระยาบุรุษรัตนราชพัลลภ (นพ ไกรฤกษ์) เป็นผู้เพาะขยายต้นพันธุ์ เมื่อล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ พระราชทานที่ดินสวนกระจังเป็นสถานที่ก่อสร้างโรงเรียนมหาดเล็กหลวง เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรีได้กราบบังคมทูลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตต้นมะฮอกกานีจากพระยาบุรุษรัตนฯ มาปลูกที่สองข้างถนนหน้าโรงเรียนตลอดแนวคลองเปรมประชากร เพื่อให้เข้าคู่กับต้นมะขามที่ปลูกอยู่ริมถนนพระรามที่ ๕ แต่ไม่พบหลักฐานว่า เมื่อพระราชทานที่ดินตำบลปทุมวันให้โรงเรียนข้าราชการพลเรือนฯ นั้น เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรีได้ขอพระราชทานต้นมะฮอกกานีไปปลูกหรือไม่?
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
bthawees
มัจฉานุ
 
ตอบ: 65
|
ความคิดเห็นที่ 50 เมื่อ 20 เม.ย. 11, 07:18
|
|
ประวัติของต้นจามจุรีที่นำเข้าในประเทศไทย มีอยู่หลายเวอร์ชั่น เวอร์ชั่นที่สาม มาจากหนังสือ เรื่องปกิณณกะในรัชกาลที่ ๕ โดย นายแพทย์นวรัต ไกรฤกษ์ ในเรื่อง "เสด็จประพาสชะวา" เจ้าคุณพ่อเล่าให้ฟังว่าท่านประสบโชคดี ได้ตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประพาสชะวา ๒ ครั้ง คือเมื่อ ร.ศ. ๑๑๕ (พ.ศ. ๒๔๓๙) ขณะที่ท่านมีบรรดาศักดิ์เป็นนายสุจินดา หุ้มแพร และเมื่อ ร.ศ. ๑๒๐ (พ.ศ. ๒๔๔๔) ขณะที่ท่านเป็นเจ้าหมื่นสรรพเพ็ธภักดี
ท่านได้เล่าถึงการเสด็จชะวา ร.ศ. ๑๑๕ ว่า........
จากการเสด็จประพาสชะวาครั้งนี้ ได้มีสิ่งที่งอกงามได้เร็จตามเข้ามายังกรุงเทพพระมหานครด้วย คือ
๑. ต้นไม้ชนิดหนึ่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงนำเมล็ดเข้ามาเพาะ ปรากฏว่าขึ้นงอกงามเร็ว มีกิ่งก้านแตกสาขาออกไปมาก จึงพระราชทานชื่อให้ใหม่ว่า "ต้นก้ามปู" ขณะนี้มีอยู่ทั่วประเทศ ใช้เป็นประโยชน์ นอกจากให้ความร่มเย็นแล้ว ยังเป็นที่สำหรับปล่อยตัวครั่งเป็นอย่างดี มีข้อมูลที่เป็นพระราชหัตถเลขาของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน ร.ศ. 128 ที่ทรงเรียก จามจุรี ในสมัยนั้นว่า "ต้นกุ้งก้ามกราม" และทรงสั่งให้ปลูกริมถนนพญาไท ในปี 2452 (วารสารจามจุรี ปีที่ 12 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2553 หน้า 46-51 โดย บัณฑิต จุลาศัย และรัชดา โชติพานิช)
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 51 เมื่อ 20 เม.ย. 11, 07:27
|
|
ประวัติของต้นจามจุรีที่นำเข้าในประเทศไทย มีอยู่หลายเวอร์ชั่น เวอร์ชั่นของคุณไซอามีส อยู่ในเรื่องเล่าของ คุณวิกกี้ต้นจามจุรีต้นแรกในประเทศไทยปลูกอยู่ภายในโรงเรียนอัสสัมชัญ โดยบาทหลวงรอมิเอล ซึ่งเป็นนักบวชที่อยู่ในวัดอัสสัมชัญ เป็นผู้นำพันธุ์มาจากเมืองไซง่อน ประเทศเวียดนาม ต่อมาภายหลังก็เป็นที่แพร่หลายและนิยมนำมาปลูกเป็นต้นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่เพื่อให้ร่มเงาสำหรับภาพนี้ผมนำมาจากหนังสือ ๑๐๐ โรงเรียนอัสสัมชัญ พิมพ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๘ ระบุว่าเป็นต้นจามจุรีต้นแรกในประเทศไทย (ซึ่งแก่กว่าวิกกี้ หลายปี  ) จากตึกเรียนด้านหลังนั้นได้ถูกวางศิลาฤกษ์ โดยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมงกุฎราชกุมาร เมื่อวันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๔๓๐ ดังนั้นการปลูกต้นจามจุรี ก็คงปลูกหลังจากนี้ไม่นาน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 52 เมื่อ 20 เม.ย. 11, 09:33
|
|
มีพันธุ์ไม้อีกชนิดที่ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๕ ทรงนำเข้ามาปลูกคือ มะฮอกกานี ซึ่งโปรดเกล้าฯ ให้พระยาบุรุษรัตนราชพัลลภ (นพ ไกรฤกษ์) เป็นผู้เพาะขยายต้นพันธุ์ มะฮอกกานีคงได้มาจากเมื่อคราวเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่สอง ร.ศ. ๑๒๖ เป็นมะฮอกกานีพันธุ์ใบใหญ่ Swietenia mocrophylla King ซึ่งเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ เนื้อแข็งมีกลิ่นหอม ผู้รับสนองพระบรมราชโองการจัดหาเมล็ดพันธุ์มะฮอกกานีใบใหญ่ และนำมาพร้อมกับพระองค์คราวเสด็จกลับจากการเสด็จประพาสยุโรป คือพระสารสาสน์พลขันธ์ (ยี อี เยรินี) ดังปรากฏในพระราชนิพนธ์ไกลบ้าน ว่า ...ส่วนพืชพันธุ์นั้น ต้องไปเอาพระสารสาสน์ (เยรินี) มาขอให้ช่วยเป็นผู้จัดการได้ตกลงกันว่า ไม้ที่ปลูกด้านหัวกำลังเป็นฤดูอยู่ ในเวลานี้จะให้สั่งหัวเข้าไปก่อน เม็ดที่ควรจะได้ก็ให้สั่ง แต่ไม้ที่ต้องเอาต่อกิ่งเข้าไป ซึ่งเป็นฤดูส่งจะได้ต่อเดือนตุลาคมนั้น จะไว้คอยส่งลงเรือเมล์ที่พ่อจะกลับที่เดียวจะได้ดูแลรักษาไปได้ ส่วนไม้ที่จะส่งล่วงหน้าไปก่อนนั้น พ่อสั่งให้แกพูดโดยตรงกับกรมดำรงฯ เมื่อได้ส่งอะไรมาบ้าง จึงบอกให้รู้ 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 53 เมื่อ 20 เม.ย. 11, 10:21
|
|
ภาพตึกคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ในปัจจุบันครับ
ต้นไม้เปลี่ยนไปจากเมือสมัยผมเข้าเรียนในปี๒๕๐๙มากมาย ที่เห็นเป็นป่าจามจุรีข้างสระน้ำหน้าคณะ ตอนนั้นพวกนั้ยังวัยรุ่นอยู่ ไม่ใหญ่โตดังในภาพ ถนนหน้าคณะเคยเป็นหางนกยูง ในภาพนี้ดูไม่ออกว่ายังใช่อยู่ หรือเป็นจามจุรีไปแล้ว
อีกฝั่งหนึ่งของถนน ติดกับตึก เคยเป็นตะแบก หรือเสลาไม่แน่ใจ ถ้ายังใช่อยู่ก็คงเป็นต้นมโหฬาร แคฝรั่งปลูกอยู่แถวมุมตึก ได้ข่าวว่ายังคงอยู่ น่าจะแก่แล้ว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 54 เมื่อ 20 เม.ย. 11, 10:27
|
|
ดูภาพนี้แล้ว เห็นตะเบบูญ่า หรือชมพูพันธุ์ทิพย์มาแจมอยู่ด้วย เขาคงเห็นว่าต้นนี่ออกดอกเป็นสีชมพูมั้ง เลยเอามาปลูกหน้ามหาวิทยาลัย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 55 เมื่อ 20 เม.ย. 11, 10:32
|
|
ถึงที่นี่จะมีหางนกยูงอยู่ ไหนจะสู้ชงโคบานลานอักษร ถึงริมโขงจะเป็นบ้านเมืองมารดร ให้อาวรณ์หรือจะเท่าเจ้าพระยา ประยอม ซองทอง ศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๘ ในแดนดินถิ่นงามจามจุรี ยังมีที่ไม้พรรณอื่นยืนอาศัย หางนกยูงงามดอกออกร่มใบ ดุจสายใยสายสัมพันธ์อันมั่นยืน 
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 56 เมื่อ 20 เม.ย. 11, 11:04
|
|
ต้นแคที่หน้าตึกสถาปัตย์ไม่ได้เรียกว่าแคฝรั่งครับ ที่ถูกคือแคแสด
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 57 เมื่อ 20 เม.ย. 11, 11:48
|
|
ดอกบัวงามในสระน้ำหน้าเสาธง
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 58 เมื่อ 20 เม.ย. 11, 11:52
|
|
ฤๅจะสู้นวลอนงค์ชาวจุฬา
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 59 เมื่อ 20 เม.ย. 11, 12:15
|
|
ดูดุจัง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|