เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 18
  พิมพ์  
อ่าน: 99376 พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 19 เม.ย. 11, 12:22

เบื้องหน้าต้นใหญ่เป็นต้นจามจุรี ส่วนไม้ประดับรอบๆตึก น่าจะเป็นหมากเหลือง และเห็นไม้ทรงพุ่มแหลมไกลๆ ..สนทะเล

ภาพนี้ประมาณพ.ศ. อะไร ครับ และจะหาภาพที่มีรายละเอียดสูงได้จากที่ไหนครับ ขอบคุณมากครับ

ภาพนี้ได้จากเนตครับ ไม่มีภาพละเอียดสูงครับ ภาพนี้เดาช่วงอายุจากรถ + หอประชุมยังไม่มีการต่อเติมปีกข้างอาคาร คงเดาช่วงอายุได้ แต่ผมไม่ถนัดเรื่องรถยนต์ครับ  อายจัง
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 19 เม.ย. 11, 12:29

จากการสอบถามนิสิตรุ่น พ.ศ.2474-2477 ทราบว่ายังไม่มีสระน้ำและถนนรอบหอประชุมอย่างในปัจจุบัน นิสิตที่เรียนตั้งแต่ พ.ศ.2485 เป็นต้นมาจะเริ่มทราบเกี่ยวกับเรื่องนี้เชื่อว่าสระน้ำจะถือกำเนิดในช่วงที่สร้างหอประชุมมหาวิทยาลัยเมื่อ พ.ศ. 2481 ประกอบกับมีการสร้างตึกคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ตึกเคมี 2 และตึกคณะเภสัชกรรมศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ศาลาวิทยาศาสตร์ (ตึกขาว) ของคณะวิทยาศาสตร์ อ้อมไปด้านหน้าผ่านตึกสร้างใหม่ฝั่งขวามือของหอประชุม เสาธงซึ่งสร้างคู่กับหอประชุมทำให้มีสนามด้านหน้าหอประชุม ครั้งกระนั้นการขุดสระเพื่อให้ดินถมสนามจึงทำให้จุฬาฯ ได้ทั้งสระน้ำสนามที่กว้างและถนนรอบหอประชุม ทำให้ภูมิสถาปัตยกรรมงามสง่าขึ้นมาก

"บัวสาย"
ผมอยากทราบครับว่าถนนสายแรกของจุฬาฯ ที่เริ่มจากประตูด้านถนนสนามม้า ผ่านตึกอักษรศาสตร์ 1 ตึก 1 (ปราสาทแดง สร้างเสร็จ ปี 2478) ของคณะวิศวฯ ผ่านตึกจุลจักรพงษ์ (สร้างเสร็จปี 2475) ผ่านตึกขาว (สร้างเสร็จปี 2471) และออกถนนพญาไท ถนนสายนี้สร้างเมื่อปีพ.ศ. ใด ครับ ผมว่าก่อนการสร้างหอประชุมจุฬาฯ แต่ไม่สามารถระบุปีที่สร้างได้
คงมีการกรุยถนนให้สำหรับเป็นทางเดินมังครับ ให้ดูแผนที่ ๒๔๘๒ ครับ แผนที่ระวางนี้จัดทำขึ้นก่อนที่จะสร้างอาคารหอประชุม ลองดูถนนตามอาคารต่างๆนะครับ


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 19 เม.ย. 11, 13:22

ภาพตึกคณะเภสัชศาสตร์ ปัจจุบันเป็นคณะศิลปกรรมศาสตร์ ผลงานของพระสาโรชรัตนนิมมานก์ (พ.ศ.๒๔๗๕ เป็นอาจารย์พิเศษสอนวิชา
เขียนแบบสถาปัตยกรรมและวิชาก่อสร้าง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) มีไม้ใหญ่ร่มเงาด้านหน้า ๓-๔ ต้น


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 19 เม.ย. 11, 13:33

หมู่ตึกบัญชาการ (คณะอักษรฯ)

ที่มา หนังสือสมุดภาพสถาปัตยกรรมกรุงรัตนโกสินทร์ (กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์กราฟิคอาร์ต, ๒๕๒๕.
พิมพ์เนื่องในการสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี ๒๔๒๔), ๓๘๐


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 19 เม.ย. 11, 13:40

ตึกคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

มูลเหตุ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร์ อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก เมื่อครั้งยังทรงดำรงพระอิสริยศักดิ์เป็นสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนสงขลานครินทร์ ทรงกำหนดให้สร้างอาคารขึ้นสำหรับการจัดการเรียนการสอน วิชาวิทยาศาสตร์แก่นิสิตคณะแพทยศาสตร์และคณะวิศวกรรมศาสตร์ ทั้งนี้เป็นไปตามข้อตกลงเกี่ยงกับความร่วมมือระหว่างประเทศไทยกับมูลนิธิRockefeller ว่า ประเทศไทยจะต้องสร้างตึกทดลองวิทยาศาสตร์หนึ่งหลัง อาคารนี้สร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ.๒๔๗๐ และเริ่มใช้งานในปลายปี พ.ศ. ๒๔๗๑๙ (สร้างเสร็จ พ.ศ. ๒๔๗๑)

ภาพด้านข้างตึก จะเห็นผู้ถ่ายภาพนั้นยืนใต้ร่มก้ามปู

ที่มา : ชาตรี ประกิตนนทการ. การเมืองและสังคมในศิลปสถาปัตยกรรม สยามสมัย ไทยประยุกต์
ชาตินิยม. (กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มติชน, ๒๕๔๗), ๒๔๑.


บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 19 เม.ย. 11, 13:44

ต้นหมากค่ะ


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 19 เม.ย. 11, 13:50

ตึกจักรพงษ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

มูลเหตุ ตึกจักรพงษ์เป็นสโมสรสถานที่พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ ทรงสร้างประทานจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเพื่อเป็นอนุสาวรีย์ถวายแด่สมเด็จพระชนกคือ จอมพลสมเด็จพระเชษฐาธิราชเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนารถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานารถ เมื่อพ.ศ. ๒๔๗๕ อาคารนี้ตั้งอยู่ระหว่างคณะวิศวกรรมศาสตร์และคณะวิทยาศาสตร์ หันหน้าไปทางหอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยด้านทิศเหนือ ด้านหลังจรดสระว่ายน้ำของมหาวิทยาลัย

พระบรมราชชนกจึงได้พระราชทานคำแนะนำว่า ควรสร้างสโมสรสถานให้อาจารย์และนิสิตใช้เป็นที่พบปะสังสรรค์และเล่นกีฬาในร่ม เพราะนิสิตไม่มีอาคาร
เพื่อกิจการดังกล่าว พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักพงศ์จึงประทานเงินจำนวน ๒๐,๐๐๐ บาท ให้สร้างขึ้น ในปี พ.ศ. ๒๔๙๗ พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าจุลจักรพงศ์ทรงเห็นว่ามีนิสิตเพิ่มมากขึ้นจึงประทานเงินจำนวน ๑๐๐,๐๐๐ บาท ให้ก่อสร้างเพิ่มเติมด้านหลังของอาคาร

ต่อมาใน พ.ศ. ๒๕๐๗ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยพิจารณาเห็นว่าจำนวนของนิสิตและกิจกรรมนิสิตมีประมาณเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับได้มีการเปลี่ยนการบริหารงานของคณะนิสิตเป็นองค์การบริหารนิสิต ซึ่งมีสโมสรและชุมนุมต่าง ๆ บริหารงานเกี่ยวกับนิสิต มีสภานิสิตเป็นองค์กรที่ดำเนินงานควบคู่กับองค์การบริหารนิสิต จึงสร้างอาคารอเนกประสงค์คือศาลาพระเกี้ยวขึ้น พร้อมกันนั้นก็มอบส่วนหนึ่งของอาคารศาลาพระเกี้ยวให้คณะนิสิตดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ

ตึกจักรพงษ์เมื่อแรกสร้าง(ยังไม่ได้ต่อเติมมุขด้านหลัง) ต้นไม้พุ่มตรงบันไดหน้าตึก ไม่มีแล้ว
ที่มา : วิมลสิทธิ์ หรยางกูร และคนอื่นๆ, พัฒนาการแนวความคิดและรูปแบบของงาน
สถาปัตยกรรม อดีต ปัจจุบัน และอนาคต (กรุงเทพฯ : สมาคมสถาปนิกสยาม, ๒๕๓๖), ๕๖


บันทึกการเข้า
bthawees
มัจฉานุ
**
ตอบ: 65


ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 19 เม.ย. 11, 14:22

จากการสอบถามนิสิตรุ่น พ.ศ.2474-2477 ทราบว่ายังไม่มีสระน้ำและถนนรอบหอประชุมอย่างในปัจจุบัน นิสิตที่เรียนตั้งแต่ พ.ศ.2485 เป็นต้นมาจะเริ่มทราบเกี่ยวกับเรื่องนี้เชื่อว่าสระน้ำจะถือกำเนิดในช่วงที่สร้างหอประชุมมหาวิทยาลัยเมื่อ พ.ศ. 2481 ประกอบกับมีการสร้างตึกคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ตึกเคมี 2 และตึกคณะเภสัชกรรมศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ศาลาวิทยาศาสตร์ (ตึกขาว) ของคณะวิทยาศาสตร์ อ้อมไปด้านหน้าผ่านตึกสร้างใหม่ฝั่งขวามือของหอประชุม เสาธงซึ่งสร้างคู่กับหอประชุมทำให้มีสนามด้านหน้าหอประชุม ครั้งกระนั้นการขุดสระเพื่อให้ดินถมสนามจึงทำให้จุฬาฯ ได้ทั้งสระน้ำสนามที่กว้างและถนนรอบหอประชุม ทำให้ภูมิสถาปัตยกรรมงามสง่าขึ้นมาก

"บัวสาย"
ผมอยากทราบครับว่าถนนสายแรกของจุฬาฯ ที่เริ่มจากประตูด้านถนนสนามม้า ผ่านตึกอักษรศาสตร์ 1 ตึก 1 (ปราสาทแดง สร้างเสร็จ ปี 2478) ของคณะวิศวฯ ผ่านตึกจุลจักรพงษ์ (สร้างเสร็จปี 2475) ผ่านตึกขาว (สร้างเสร็จปี 2471) และออกถนนพญาไท ถนนสายนี้สร้างเมื่อปีพ.ศ. ใด ครับ ผมว่าก่อนการสร้างหอประชุมจุฬาฯ แต่ไม่สามารถระบุปีที่สร้างได้
คงมีการกรุยถนนให้สำหรับเป็นทางเดินมังครับ ให้ดูแผนที่ ๒๔๘๒ ครับ แผนที่ระวางนี้จัดทำขึ้นก่อนที่จะสร้างอาคารหอประชุม ลองดูถนนตามอาคารต่างๆนะครับ

ต้องสารภาพครับดูไม่เป็นครับ ว่าตรงไหนเป็นแนวถนน
บันทึกการเข้า
bthawees
มัจฉานุ
**
ตอบ: 65


ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 19 เม.ย. 11, 14:25

ภาพตึกคณะเภสัชศาสตร์ ปัจจุบันเป็นคณะศิลปกรรมศาสตร์ ผลงานของพระสาโรชรัตนนิมมานก์ (พ.ศ.๒๔๗๕ เป็นอาจารย์พิเศษสอนวิชา
เขียนแบบสถาปัตยกรรมและวิชาก่อสร้าง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) มีไม้ใหญ่ร่มเงาด้านหน้า ๓-๔ ต้น


ตึกนี้สร้างเสร็จปี 2484 ปัจจุบันมีต้นไม้ขนาดใหญ่อยู่หลายต้น แต่ละต้นสูงมากและมองไม่เห็นดอก บางต้นยังหาชื่อไม่ได้ครับ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 19 เม.ย. 11, 16:08

ขอส่งไม้ประดับสัก ๑ อย่าง แม้ว่าไม่ใช่ไม้ยืนต้นหยั่งรากลึกลงไป แต่เป็นไม้อากาศ ยึดติดกับไม้ใหญ่บริเวณคณะทันตะกับคณะสัตวศาสตร์ กว่า ๒๐ ปีมาแล้ว คือ "เอื้องกุหลาบกระเป๋าปิด" ซึ่งมีความพิเศษคือ สีชมพู ค่อนออกไปทางขาวแต่ไม่เผือก มีกลิ่นหอมมาก ออกดอกทุกพฤษภาคม ดอกมีจุดชมพูประปรายแต่ไม่เข้มมาก ไม่เหมือนกุหลาบกระเป๋าปิดที่ไหนเลย เคยขอแบ่งมาปลูกไว้ที่บ้าน เมื่อออกดอกเลยนำมาให้ชมครับ

คณะที่ติดกับคณะทันตะเห็นจะเป็นคณะสัตวแพทยศาสตร์มากกว่านะคุณไซอามีส

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 19 เม.ย. 11, 16:26

ขอส่งไม้ประดับสัก ๑ อย่าง แม้ว่าไม่ใช่ไม้ยืนต้นหยั่งรากลึกลงไป แต่เป็นไม้อากาศ ยึดติดกับไม้ใหญ่บริเวณคณะทันตะกับคณะสัตวศาสตร์ กว่า ๒๐ ปีมาแล้ว คือ "เอื้องกุหลาบกระเป๋าปิด" ซึ่งมีความพิเศษคือ สีชมพู ค่อนออกไปทางขาวแต่ไม่เผือก มีกลิ่นหอมมาก ออกดอกทุกพฤษภาคม ดอกมีจุดชมพูประปรายแต่ไม่เข้มมาก ไม่เหมือนกุหลาบกระเป๋าปิดที่ไหนเลย เคยขอแบ่งมาปลูกไว้ที่บ้าน เมื่อออกดอกเลยนำมาให้ชมครับ

คณะที่ติดกับคณะทันตะเห็นจะเป็นคณะสัตวแพทยศาสตร์มากกว่านะคุณไซอามีส

 ยิงฟันยิ้ม

ครับๆ ตามคุณเพ็ญชมพูเลยครับ บังเอิญขณะพิมพ์คณะนี้ ก็พลอยให้นึกถึงรุ่นพี่กำลังผ่าม้าทั้งตัวอยู่ครับ เลยตกคำว่า "แพทย์" ไป อายจัง
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 19 เม.ย. 11, 16:31

เมื่อประมาณปีพุทธศักราช ๒๕๐๐ มีคณะต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมาย จึงต้องโค่นต้นจามจุรีเพื่อสร้าง ตึกใหม่ ต้นจามจุรีจึงลดน้อยลงอย่างน่าใจหาย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงรับสั่งว่าต้นจามจุรีมีความผูกพันกับคนแถวนี้มาก หากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยไม่ปลูกจะเสด็จพระราชดำเนินมาปลูกต้นจามจุรีเอง

ในหนังสือ "คราบหมอควาย" ของ ศาสตราจารย์เชื้อ ว่องส่งสาร เขียนเล่าไว้ว่า

จุฬาสมัยนั้น (ประมาณ พ.ศ. ๒๔๗๙ ปีที่อาจารย์เชื้อเรียนปี ๑ - เพ็ญชมพู) มีตึกอยู่สามหลัง เหมือนโบสถ์หลังหนึ่ง (คณะอักษรศาสตร์) วิหารหลังหนึ่ง (คณะวิทยาศาสตร์) และเป็นตึกสมัยใหม่หลังหนึ่ง คือตึกคณะวิศวกรรมศาสตร์ บริเวณด้านหน้าติดกับคู หน้าจุฬามีคู ต้นก้ามปูขึ้นเต็มไปหมด ต้นนี้เรียกว่าก้ามปู เรียกว่าต้นฉำฉา ดูเหมือนไม้จะคล้ายไม้ทำลัง ซึ่งสมัยก่อนเรียกว่าลังไม้ฉำฉา ต่อมาคุณหลวงสมานวนกิจพบว่าเป็นไม้ใหม่ยังไม่มีชื่อทางวิทยาศาสตร์เลยให้ชื่อ Enterolobium saman และได้ชื่อใหม่ว่า จามจุรี เห็นจะเป็นเพราะดอกมีเกสรคล้ายขนจามจุรีก็ไม่ทราบ บังเอิญเกสรเป็นสีชมพูซึ่งเป็นสีมหาวิทยาลัย และก็เป็นจังหวะที่มีการใช้ต้นไม้เป็นสัญลักษณ์

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ ก่อตั้งใหม่ได้มีการปลูกต้นจามจุรีเต็มไปหมดเพื่อใช้ร่ม เพราะเป็นบริเวณกลางทุ่งและแสนไกล เมื่อคราวมีการปรับปรุงขนานใหญ่ จุฬาโค่นต้นจามจุรีจนเกือบหมดแล้วไปเอาต้นนนทรีมาปลูกแทน ทางเกษตรต้นนนทรีก็ยังเล็กมีแต่จามจุรีเต็มไปหมด เลยงงไปว่าต้นจามจุรีและนนทรีเป็นของใครกันแน่ เดี๋ยวนี้ค่อยยังชั่ว มหาวิทยาลัยเกษตรตัดต้นจามจุรีเกือบหมด ต้นนนทรีออกดอกสะพรั่งโตงามดีทั้งที่เกษตรและจุฬา

 ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
bookaholic
ชมพูพาน
***
ตอบ: 145


ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 19 เม.ย. 11, 16:45

จนบัดนี้ก็ยังมีนนทรีอยู่ริมสนามครับ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 19 เม.ย. 11, 16:51

เมื่อประมาณปีพุทธศักราช ๒๕๐๐ มีคณะต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมาย จึงต้องโค่นต้นจามจุรีเพื่อสร้าง ตึกใหม่ ต้นจามจุรีจึงลดน้อยลงอย่างน่าใจหาย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงรับสั่งว่าต้นจามจุรีมีความผูกพันกับคนแถวนี้มาก หากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยไม่ปลูกจะเสด็จพระราชดำเนินมาปลูกต้นจามจุรีเอง

ในหนังสือ "คราบหมอควาย" ของ ศาสตราจารย์เชื้อ ว่องส่งสาร เขียนเล่าไว้ว่า

จุฬาสมัยนั้น (ประมาณ พ.ศ. ๒๔๗๙ ปีที่อาจารย์เชื้อเรียนปี ๑ - เพ็ญชมพู) มีตึกอยู่สามหลัง เหมือนโบสถ์หลังหนึ่ง (คณะอักษรศาสตร์) วิหารหลังหนึ่ง (คณะวิทยาศาสตร์) และเป็นตึกสมัยใหม่หลังหนึ่ง คือตึกคณะวิศวกรรมศาสตร์ บริเวณด้านหน้าติดกับคู หน้าจุฬามีคู ต้นก้ามปูขึ้นเต็มไปหมด ต้นนี้เรียกว่าก้ามปู เรียกว่าต้นฉำฉา ดูเหมือนไม้จะคล้ายไม้ทำลัง ซึ่งสมัยก่อนเรียกว่าลังไม้ฉำฉา ต่อมาคุณหลวงสมานวนกิจพบว่าเป็นไม้ใหม่ยังไม่มีชื่อทางวิทยาศาสตร์เลยให้ชื่อ Enterolobium saman และได้ชื่อใหม่ว่า จามจุรี เห็นจะเป็นเพราะดอกมีเกสรคล้ายขนจามจุรีก็ไม่ทราบ บังเอิญเกสรเป็นสีชมพูซึ่งเป็นสีมหาวิทยาลัย และก็เป็นจังหวะที่มีการใช้ต้นไม้เป็นสัญลักษณ์

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ ก่อตั้งใหม่ได้มีการปลูกต้นจามจุรีเต็มไปหมดเพื่อใช้ร่ม เพราะเป็นบริเวณกลางทุ่งและแสนไกล เมื่อคราวมีการปรับปรุงขนานใหญ่ จุฬาโค่นต้นจามจุรีจนเกือบหมดแล้วไปเอาต้นนนทรีมาปลูกแทน ทางเกษตรต้นนนทรีก็ยังเล็กมีแต่จามจุรีเต็มไปหมด เลยงงไปว่าต้นจามจุรีและนนทรีเป็นของใครกันแน่ เดี๋ยวนี้ค่อยยังชั่ว มหาวิทยาลัยเกษตรตัดต้นจามจุรีเกือบหมด ต้นนนทรีออกดอกสะพรั่งโตงามดีทั้งที่เกษตรและจุฬา

 ยิงฟันยิ้ม




เด็กนักเรียนอัสสัมชัญ รู้จักต้นจามจุรี มานานแล้วครับ โรงเรียก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๘ มีต้นจามจุรีต้นแรกของประเทศไทยปลูกไว้ ตามหนังสืออุโฆษสารของโรงเรียนครับ


บันทึกการเข้า
bthawees
มัจฉานุ
**
ตอบ: 65


ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 19 เม.ย. 11, 21:15

เมื่อประมาณปีพุทธศักราช ๒๕๐๐ มีคณะต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมาย จึงต้องโค่นต้นจามจุรีเพื่อสร้าง ตึกใหม่ ต้นจามจุรีจึงลดน้อยลงอย่างน่าใจหาย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงรับสั่งว่าต้นจามจุรีมีความผูกพันกับคนแถวนี้มาก หากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยไม่ปลูกจะเสด็จพระราชดำเนินมาปลูกต้นจามจุรีเอง




เด็กนักเรียนอัสสัมชัญ รู้จักต้นจามจุรี มานานแล้วครับ โรงเรียก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๘ มีต้นจามจุรีต้นแรกของประเทศไทยปลูกไว้ ตามหนังสืออุโฆษสารของโรงเรียนครับ

ต้นจามจุรีต้นแรกนี้ยังอยู่หรือเปล่าครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 18
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.081 วินาที กับ 20 คำสั่ง