เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 16 17 [18]
  พิมพ์  
อ่าน: 99298 พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 255  เมื่อ 05 ก.ค. 15, 12:09

^
คนขวาคือซูซาน ดีย์ จากแพททริดจ์ แฟมิลี หรือเปล่าคะ  หน้าคุ้นๆ
ใช่ค่ะ   
ในสามวัย ตั้งแต่สาวน้อย สาวมาก จนสาว(เหลือ)น้อย


บันทึกการเข้า
ปิ่น
ชมพูพาน
***
ตอบ: 172


ความคิดเห็นที่ 256  เมื่อ 05 ก.ค. 15, 12:40

ผมทรงยาวตรงนี่ยุคสมัยไหนๆก็ไม่ old fashion
บันทึกการเข้า
เอื้องหลวง
มัจฉานุ
**
ตอบ: 55


ความคิดเห็นที่ 257  เมื่อ 05 ก.ค. 15, 12:52

เรื่องทรงผมสาวอักษรยุค ๒๔๙๐ นำไปแปะไว้ที่กระทู้ ทรงผมคนไทยโบราณ แล้ว  ยิงฟันยิ้ม

ขอบคุณอาจารย์เพ็ญชมพูมากเลยค่ะ  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 258  เมื่อ 18 มี.ค. 16, 10:58

            ถึงที่นี่จะมีหางนกยูงอยู่            ไหนจะสู้ชงโคบานลานอักษร
          ถึงริมโขงจะเป็นบ้านเมืองมารดร    ให้อาวรณ์หรือจะเท่าเจ้าพระยา
                                                       ประยอม ซองทอง  ศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๘

           ในแดนดินถิ่นงามจามจุรี             ยังมีที่ไม้พรรณอื่นยืนอาศัย
          หางนกยูงงามดอกออกร่มใบ        ดุจสายใยสายสัมพันธ์อันมั่นยืน



สังขารทั้งปวงย่อมสิ้นไปเสื่อมไปเป็นธรรมดา หางนกยูงในจุฬาก็ไม่พ้นสัจธรรมนี้ นับแต่มี ข่าวต้นหางนกยูงล้มฟาดนิสิตวิศวะ จุฬา บาดเจ็บหลายรายเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว (วันพุธที่ ๙ มีนาคม ๒๕๕๙)  หางนกยูงพิการหลายต้นก็ต้องล้มลงเพื่อความปลอดภัยของบุคลากรในจุฬา

ต้นนี้อยู่ข้างตึกคณะวิทยาศาสตร์



คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 259  เมื่อ 18 มี.ค. 16, 19:28

 เศร้า


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 260  เมื่อ 19 มี.ค. 16, 11:00

กระทู้นี้เป็นหนังสือไปแล้วนะครับ
ศาสตราจารย์ ทวีศักดิ์ บุญเกิด ท่านเปิดตัวหนังสือเล่มนี้ไปเมือปลายสัปดาห์ที่แล้ว เนื้อหาสาระ วิชาการแน่นเพียบ

ผู้สนใจอาจซื้อหาได้ที่ศูนย์หนังสือจุฬา


บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 261  เมื่อ 26 มี.ค. 16, 18:12

วันนี้จุฬาครบ 99 ปี สู่ปีที่ร้อย มีงานใหญ่ที่สนามหน้าหอประชุม
พรรณไม้เก่าดั้งเดิมถ้าอยู่มา 99 ปีคงจะใหญ่น่าดู (ถ้าผู้บริหารยุคก่อนใส่ใจเรื่องต้นไม้)
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 262  เมื่อ 26 มี.ค. 16, 18:57

ภาพสดจากไลน์ของเพื่อน ตรงนี้หน้า-เยื้องตึกถาปัตย์


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 263  เมื่อ 11 เม.ย. 16, 10:28

กระทู้นี้เป็นหนังสือไปแล้วนะครับ
ศาสตราจารย์ ทวีศักดิ์ บุญเกิด ท่านเปิดตัวหนังสือเล่มนี้ไปเมือปลายสัปดาห์ที่แล้ว เนื้อหาสาระ วิชาการแน่นเพียบ


หนังสือเล่มนี้กล่าวถึงต้นไม้หลายหลากชนิด แต่ที่น่าสนใจสำหรับชาวจุฬาฯ เห็นจะเป็น "ต้นจามจุรี"

พื้นที่ซึ่งเป็นที่ตั้งของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในเวลานั้น เดิมเป็นเรือกสวนไร่นาอันกว้างใหญ่ของทุ่งพญาไท และเป็นที่ดินของพระคลังข้างที่ โดยทิศเหนือจรดถนนสระปทุม (ถนนพระราม ๑ในปัจจุบัน) ทิศใต้จรดถนนหัวลำโพง (ถนนพระราม ๔ ปัจจุบัน) ทิศตะวันออกจรดคลองอรชร มีถนนสนามม้าคู่ขนานไปกับคลอง(ถนนอังรีดูนังต์) ทิศตะวันตกจรดคลองอรชร(ถมแล้วสร้างเป็นถนนบรรทัดทอง) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดให้ตัดถนนพญาไทผ่านพื้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อเชื่อมถนนสระปทุมและถนนหัวลำโพงเข้าด้วยกันในปีพ.ศ. ๒๔๕๒ ทรงมีรับสั่งให้ปลูกต้นจามจุรี เป็นไม้ตลอดสองข้างทางของถนนพญาไท

ต่อมาทรงโปรดให้ตัดถนนเชื่อมระหว่างถนนพญาไทกับถนนสนามม้า จึงเกิดเป็น ถนนสายแรกในจุฬาฯ คือถนนเส้นที่ตัดจากถนนพญาไท ผ่านตึกขาว (ตึกชีววิทยา ๑ ในปัจจุบัน), ตึกจักรพงษ์, ตึก ๑ และตึก ๒ คณะวิศวกรรมศาสตร์ และตึกบัญชาการ(ตึกอักษรศาสตร์) ไปออกสนามม้า(ถนนอังรีดูนังต์) ทรงรับสั่งให้ปลูกต้นจามจุรีบริเวณสองข้างทางของถนนสายนี้ ปรากฎในแผนที่จุฬาฯ ซึ่งจัดทำในปีพ.ศ. ๒๔๖๘ และภาพถ่ายทางอากาศพ.ศ. ๒๔๘๖


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 264  เมื่อ 11 เม.ย. 16, 10:35

จามจุรีที่ปลูกในช่วงต้น ๆ ของการก่อตั้งมหาวิทยาลัยนี้ น่าจะเป็นที่มาของ "ป่าจามจุรี" ที่นิสิตจุฬาฯ รุ่นแรก ๆ เรียกขานกัน

"ป่าจามจุรี" สมัยนั้นร่มครึ้มและแน่นขนัดไปด้วยต้นไม้ ดังบทบรรยายท่อนหนึ่งที่ว่า

“ครั้งหนึ่งทางคณะอักษรศาสตร์ได้จัดให้มีงานชุมนุมต้อนรับนิสิตใหม่ภายในโรงอาหารไม้หลังเก่าของ สจม.(สโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) ซึ่งในช่วงที่ดิฉันยังเรียนอยู่นั้น ยังไม่ได้รื้อ ภายหลังได้รื้อไปตั้งแต่เมื่อโค่นป่าจามจุรีเพื่อสร้างหอประชุมจุฬาฯ เมื่อพูดถึงครั้งเริ่มโค่นจามจุรีสร้างหอประชุมมหาวิทยาลัยครั้งกระโน้น ก็ใคร่ขอกล่าวย้อนไปให้เห็นสภาพของจุฬาฯ และถ้าจะให้แคบลงมาอีกสักหน่อยก็คือ อาณาบริเวณตึกอักษรศาสตร์ที่ดิฉันเริ่มเข้าไปศึกษาขณะนั้น มีแต่เสียงจักจั่นและจิ้งหรีดเรไรร้องระงม เพราะบริเวณนั้นยังเป็นป่ารกชัฏ มีลำธารน้ำไหลเซาะไปตามป่า ให้ความร่มเย็นและสงบสงัดแก่พวกเราชาวอักษรศาสตร์เป็นอย่างยิ่ง”

จากบทความเรื่อง ‘อักษรศาสตร์ชาติจุฬา’ ในหนังสือมหาวิทยาลัย เขียนโดย ศาสตราจารย์พิเศษเรืองอุไร กุศลาสัย เมื่อครั้งเข้าศึกษาในคณะอักษรศาสตร์ พ.ศ. ๒๔๘๐
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 265  เมื่อ 11 เม.ย. 16, 10:41

ประมาณปีพ.ศ. ๒๕๐๐ จำนวนต้นจามจุรีลดลงอย่างมาก บางส่วนล้มตายตามอายุขัย ถูกโรค-แมลงรบกวน ถูกโค่นเพื่อนำพื้นที่ไปใช้ก่อสร้างอาคารและสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อรองรับการเจริญเติบโตของมหาวิทยาลัย

ช่วงปลายพ.ศ. ๒๕๐๔ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชปรารภว่า

“จามจุรีมีความผูกพันกับคนแถวนี้มาก หากจุฬาฯ ไม่ปลูก จะเสด็จมาปลูกเอง”

เมื่อวันที่ ๑๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๕ เวลา ๑๖.๓๐ น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน ณ จุฬาฯ พระราชทานต้นจามจุรีแก่มหาวิทยาลัย จำนวน ๕ ต้น พระองค์ทรงนำมาจากพระราชวังไกลกังวล หัวหิน และทรงปลูกด้วยพระองค์เอง ณ บริเวณด้านหน้าหอประชุมจุฬาฯ ฝั่งด้านสนามฟุตบอลทางด้านขวา จำนวน ๓ ต้น ด้านซ้ายจำนวน ๒ ต้น และทรงมีพระราชกระแสรับสั่งในตอนท้ายไว้ว่า

“ฝากต้นไม้ไว้ห้าต้น ให้เป็นเครื่องเตือนใจตลอดกาล”


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 266  เมื่อ 11 เม.ย. 16, 10:50

ต่อมาเนื่องในโอกาสมหามงคลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเถลิงถวัลย์สิริราชสมบัติ ครบ ๕๐ ปี จุฬาฯ จึงตกแต่งบริเวณที่ปลูกจามจุรีพระราชทานทั้ง ๕ ต้น เป็นส่วนหนึ่งของโครงการเฉลิมพระเกียรติกาญจนาภิเษก และ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จมาทรงเปิด "ลานจามจุรี" เมื่อวันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๙ นับถึงวันนี้ต้นจามจุรีพระราชทานทั้ง ๕ ต้น มีอายุครบ ๕๔ ปีแล้ว

จากบทความเรื่อง จามจุรี หนึ่งไม้ใหญ่คู่เมือง อันมีเนื้อหาเกี่ยวกับการเปิดตัวหนังสือ 'พรรณไม้ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย'


บันทึกการเข้า
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 267  เมื่อ 11 เม.ย. 16, 15:17

วันที่เสด็จเปิดลานนั้น ผมอยู่เฝ้ารับเสด็จอยู่ด้วยครับ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 268  เมื่อ 11 เม.ย. 16, 16:22

แด่ชาวจุฬาฯ

จามจุรีสืบต่อก่อความหมาย
คือมหา'ลัยเด่นดีศรีสยาม
คือจุฬาสถาบันอันเด่นงาม
คือนิยามชาวจุฬาสง่าจริง
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 16 17 [18]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.079 วินาที กับ 19 คำสั่ง