เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 18
  พิมพ์  
อ่าน: 99681 พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 19 เม.ย. 11, 10:06

เมื่อประมาณปีพุทธศักราช ๒๕๐๐ มีคณะต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมาย จึงต้องโค่นต้นจามจุรีเพื่อสร้าง ตึกใหม่ ต้นจามจุรีจึงลดน้อยลงอย่างน่าใจหาย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงรับสั่งว่าต้นจามจุรีมีความผูกพันกับคนแถวนี้มาก หากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยไม่ปลูกจะเสด็จพระราชดำเนินมาปลูกต้นจามจุรีเอง และในวันที่ ๑๕ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๐๕ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงปลูกต้นจามจุรี ๕ ต้น หน้าหอประชุม และได้พระราชทานพระราชดำรัชถึงความผูกพันระหว่างชาวจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกับต้นจามจุรี ทรงเน้นว่าดอกสีชมพูเป็นสัญลักษณ์สูงสุดอย่างหนึ่งของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทรงเล่าว่า ทรงปลูกต้นไม้ที่พระตำหนักไกลกังวล ต้นจามจุรีงอกขึ้นบริเวณต้นไม้ที่ทรงปลูกไว้ จึงทรงถือว่าทรงปลูกจามจุรีเหล่านั้นด้วย เมื่อจามจุรีโตขึ้นแล้วเห็นว่าควรเข้ามหาวิทยาลัยเสียที ก่อนจบกระแสพระราชดำรัส ได้รับสั่งว่า ฝากต้นไม้ไว้ ๕ ต้นให้เป็นเครื่องเตือนใจตลอดกาล จามจุรีพระราชทานห้าต้นจึงยืนต้น อย่างแข็งแรงเป็นศรีสง่าและสิริมงคลแก่ชาวจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมาจนถึงปัจจุบันและตลอดไป


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 19 เม.ย. 11, 10:12

อาจารย์สวัสดิ์ จงกล ผู้เชี่ยวชาญเอกสารหอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้บันทึกถึง ความผูกพันของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกับจามจุรี อันเป็นที่มาของลานจามจุรีนี้ไว้ในสูจิบัตรการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยครั้งที่ ๒๑ จามจุรีเกมส์ว่า ต้นจามจุรีมีความผูกพันกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของสยามประเทศมาตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง ตลอดถนนพญาไทซึ่งยังไม่กว้างเหมือนสมัยนี้ มีต้นจามจุรีทั้ง ๒ ฝั่ง มีผู้คนให้ข้อสังเกตว่าถ้าจะมาโรงเรียนจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก็ให้ดูบริเวณถนนที่ผ่านต้นจามจุรีมาก ๆ เป็นหลัก และนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้อาศัยร่มเงาต้นจามจุรีในขณะที่เดินทางมาเรียน อาศัยโคนต้นเป็นที่อ่านหนังสือ พูดคุยปรึกษา และยังเป็นที่ ๆ เกิดตำนานรัก หนุ่มสาวชาวจุฬาฯ หลายคู่


จากคำบอกเล่าของนิสิตรุ่นปีพุทธศักราช ๒๔๙๐ เล่าว่า ในพิธีรับน้องใหม่เริ่มมีการนำ กิ่งก้านของจามจุรีมาใช้ในการทำซุ้มและเริ่มมีมาลัยใบจามจุรีมอบให้น้องใหม่เป็นรางวัลสำหรับนักกีฬาของคณะต่าง ๆ มีการนำใบและดอกจามจุรีมาเป็นสัญลักษณ์ครั้งแรกของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเมื่อครั้งที่สโมสรนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดการแข่งขันฟุตบอลโดยใช้ชื่อทีมฟุตบอลว่าจามจุรี



บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 19 เม.ย. 11, 10:14

ภาพตึกจักรพงษ์ (หอประวัติ) ค่ะ ซ้ายมือคือ ตึกมหาจุฬาลงกรณ์ สมัยที่ยังไม่ได้สร้างตึกมหาวชิราวุธเชื่อมต่อกัน และยังไม่มีตึกคณะวิศวะ และหอประชุม ค่ะ
มีต้นอะไรบ้างเนี่ย...?

ได้สองต้นครับ  ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 19 เม.ย. 11, 10:19

สโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
[ หอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ]

ในสมัยเมื่อจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยยังเป็นโรงเรียนมหาดเล็กนั้น บรรดานักเรียนได้ขอก่อตั้ง "สมาคมนักเรียนโรงเรียนมหาดเล็ก" ขึ้น เพื่อจัดกิจกรรมต่างๆ นักเรียนได้รับอนุญาตให้ก่อตั้งสมาคมได้และได้รับการสนับสนุนให้ปกครองกันเอง เรียนรู้ที่จะทำงานร่วมกับผู้อื่น จัดกิจกรรมด้านสันทนาการและด้านความเป็นผู้นำ เมื่อโรงเรียนมหาดเล็กเปลี่ยนเป็นโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมาคมของนักเรียนก็ยังคงอยู่ภายใต้ชื่อว่า "สโมสรนักเรียนโรงเรียนข้าราชการพลเรือนพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว" และเมื่อจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับการสถาปนาขึ้น สโมสรนี้ก็กลายมาเป็น "สโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" โดยที่ทำการของสโมสรนิสิตมีอยู่ ๒ แห่ง แห่งหนึ่งอยู่ปทุมวันซึ่งเป็นศูนย์กลางสำหรับนิสิตทุกคน อีกแห่งหนึ่งอยู่ที่ศิริราชสำหรับนิสิตแพทย์


มาในปีพุทธศักราช ๒๔๖๕ มหาวิทยาลัยได้ปรับปรุงการบริหารงานของสโมสรนิสิตให้ดีขึ้น โดยสโมสรนิสิตประกอบด้วยนายกสโมสร ประธานฝ่ายและประธานชมรมต่างๆ และคณะกรรมการกลางที่ประกอบด้วยผู้แทนจากคณะต่างๆ ในตอนแรกสโมสรนิสิตยังไม่มีตึกที่ทำการของตนเองและใช้ปีกหนึ่งของหอพักเป็นสถานที่ทำการ ต่อมาได้ย้ายไปอยู่ที่บ้านไม้สองชั้นใกล้กับหอพัก

ในพุทธศักราช ๒๔๗๕ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ได้ทรงรับพระราชดำริของสมเด็จพระบรมราชชนก เกี่ยวกับการสนับสนุนกิจกรรมของสโมสรนิสิต พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ได้ประทานทุนทรัพย์ส่วนพระองค์เป็นเงินสองหมื่นบาทเพื่อสร้างตึกที่ทำการของสโมสรนิสิต และเพื่อเฉลิมพระเกียรติ แด่เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลก ประชานารถ ผู้ทรงมีพระดำริเกี่ยวกับการบริหาร ปกครองโดยนิสิตด้วยกันเอง

ด้านหน้าปลูกหมากประดับไว้ ๒ ด้าน มีไม้ตัดทงพุ่มฉัตรด้วย



บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 19 เม.ย. 11, 10:23

สิ่งหนึ่งซึ่งเป็นที่ยอมรับกันทั้งชาวจุฬาฯ และสังคมทั่วไปก็คือ บริเวณที่เป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนั้นมีต้นจามจุรีขึ้นอย่างหนาแน่น อาจารย์และนิสิตรุ่นเก่า ๆ เล่าให้ฟังว่า ในอดีตใครก็ตามประสงค์จะไปติดต่อราชการหรือธุระส่วนตัวที่ “โรงเรียนมหาวิทยาลัย” หรือ ”โรงเรียนจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” ซึ่งค่อย ๆ สั้นลงมาเป็น “โรงเรียนจุฬาฯ” และเหลือแต่ “จุฬาฯ” นั้น จะมีผู้แนะนำให้สังเกตว่าที่ใดเป็นโรงเรียนมหาวิทยาลัยนั่นคือไปที่ประทุมวัน บริเวณที่มีถนนผ่านต้นจามจุรีมาก ๆ พอไปถึงจะเป็นตึกเรียน นักเรียนและอาจารย์เส้นทางที่จะไปสถานที่ซึ่งมีจามจุรีมาก ๆ คือ ถนนพระราม 1 ถนนพระราม 4 และถนนพญาไท

นิสิตรุ่น พ.ศ.2460 กว่า ๆ เล่าให้ฟังว่า บริเวณที่เป็นส่วนหนึ่งของสนามศุภชลาศัยและที่เป็น “เชียงกง” และร้านค้าใกล้สี่แยกเจริญผลเป็นสวนผัก ซึ่งนิสิตจะแอบมองและเกี้ยวพาราสี “หมวยสาว” โดยเฉพาะผู้ที่อยู่หอพักหลังวังวินด์เซอร์ ส่วนบริเวณที่เป็น Siam Square ในปัจจุบันเป็นสวนหย่อมซึ่งทางราชการใช้เป็นแหล่งทดลองปลูกหม่อนเลี้ยงไหม เส้นทางถนนพญาไท ทางเดินและทางรถยนต์เลี้ยวเข้าวังวินด์เซอร์แถวหน้าโรงเรียมเตรียมอุดมศึกษาในปัจจุบันนั้น เป็นเส้นทางซึ่งสมเด็จพระบรมราชชนกทรงขับรถยนต์พระที่นั่งผ่านเพื่อไปสอนหนังสือที่วังวินด์เวอร์ นิสิตคณะแพทยศาสตร์คงจำกันได้แม่นยำว่าจะพากันเดินช้า ๆ (กะว่าเวลารถยนต์พระที่นั่งผ่าน) พระองค์ท่านจะทรงหยุดรถและรับนิสิตขึ้นรถยนต์พระที่นั่งเพื่อให้ไปเรียนทัน บ่อยเข้าก็รับสั่งอย่างรู้ทันว่าหากอยากนั่งรถยนต์พระที่นั่งก็รอปากทางก็แล้วกัน ไม่ต้องเดินทอดน่องให้เห็นหรอก เล่นเอานิสิตผู้วางแผน “มาสาย” เขินไปตาม ๆ กัน นิสิตรุ่นนั้นต่างเล่าตรงกันว่าต้นจามจุรีให้ร่มเงาในเวลาเดินทางไปมา และเดินทางจากวังวินด์เซอร์ไปเรียนที่อาคารตึกบัญชาการ (ตึกอักษรศาสตร์ 1 ในปัจจุบัน) และได้อาศัยโคนต้นจามจุรีเป็นที่นั่งพักผ่อนตลอดจนดูหนังสือ

นิสิตรุ่น พ.ศ. 2470 กว่า ๆ ต่างก็ให้ข้อมูลตรงกัน เช่น ศาสตราจารย์ ม.ล.จิรายุ นพวงศ์ องคมนตรี คุณเกรียง กีรติกร อดีตอธิบดีกรมสามัญศึกษา (ถึงแก่กรรมมาหลายปีแล้ว) เล่าให้ฟังว่าคุณเกรียงกับศาสตราจารย์ ม.ล. จิรายุ นพวงศ์ เป็นคู่หนึ่งในหลาย ๆ คู่ ที่ซ้อนท้ายจักรยานจากวังวินด์เซอร์ไปเรียนที่ตึกบัญชาการเวลาเปลี่ยนชั่วโมงเรียนเพื่อไปเรียนภาษาอังกฤษ ได้อาศัยร่มเงาของจามจุรีเดินทางทั้งตามถนนโรยกรวด หรือถ้าไม่มีฝนตกก็ลัดเลาะผ่านต้นจามจุรีซึ่งขึ้นเต็มไปหมด

นิสิตรุ่น พ.ศ.2480 กว่า ๆ ได้เล่าให้ลูกศิษย์และน้อง ๆ และลูกหลานฟัง โดยเฉพาะนิสิตหญิงคณะอักษรศาสตร์จะจดจำกันว่าเวลาถึงหน้าหนาวจะต้องคอยดูเสื้อกันหนาวของตนให้ดี นิสิตที่ยิ่งสวยมากเท่าไรก็มีโอกาสที่เสื้อกันหนาวจะลอยไปค้างที่กิ่งจามจุรีหลังตึกอักษรศาสตร์ ส่วนใหญ่กลัว 2 อย่างคือกลัวผี เพราะมีคนผูกคอตายหลายราย กับกลัวสัตว์ร้าย โดยเฉพาะงู เพราะต้นจามจุรีขึ้นหนาทึบ ตามพื้นดินมีกิ่งไม่ใบไม้ทับถมหนา จามจุรีจึงเป็นต้นไม้แห่งความหลังอันระทึกใจ และมีทั้งชื่นใจและตรอมใจอยู่หลายคู่

นิสิตรุ่น พ.ศ.2490 กว่า ๆ เริ่มพบกับจามจุรีที่เป็นซุ้มรับน้องใหม่ ปลายทศวรรษนี้เริ่มมีมาลัยจามจุรีมอบให้น้องใหม่หรือเป็นรางวัลสำหรับนักกีฬาของคณะต่าง ๆ ในปี พ.ศ. 2492 ต่อ 2493 สุนทราภรณ์ได้แต่เพลง “จามจุรีศรีจุฬาฯ” ให้แก่ชาวจุฬาฯ ทั้งนี้เพราะสมัยโน้นวงดนตรีสุนทราภารณ์และจุฬาฯ ใกล้ชิดกันมาก สุนทราภรณ์ได้นำความผูกพันระหว่างชาวจุฬาฯ และจามจุรีมาแต่เนื้อร้องที่มีความหมายกินใจ และใส่ทำนองเพลงที่ไพเราะยิ่งเชื่อว่าสายสัมพันธ์อันเป็นที่มาของเพลงนี้คงจะมีมาก่อนทศวรรษ 2490 แน่นอน

ช่วงเวลา พ.ศ. 2490 จามจุรีเป็นชื่อทีมฟุตบอลที่แข่งขันถ้วยต่าง ๆ สโมสรนิสิต (สจม.) และสโมสรนิสิตเก่า (สนจ.) ใช้เป็นชื่อทีมฟุตบอลแข่งขันงานที่สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยจัดขึ้น คนรุ่นหลังโดยเฉพาะผู้ที่ชอบและติดตามการแข่งขันฟุตบอลเริ่มรู้ว่าชาวจุฬาฯ มีความผูกพันกับจามจุรีเพียงใด

นอกเหนือจากข้อมูลที่ประมวลมาเสนอข้างต้นแล้ว สิ่งที่นิสิตจุฬาฯ มีความรู้สึกนึกคิดตรงกันคือสีดอกจามจุรีเป็นสีชมพู จามจุรีให้ร่มเงาสำหรับการเดินไปมา การพักผ่อน การดูหนังสือ ใช้กิ่งก้านใบจามจุรีในกิจกรรมรับน้องใหม่กับการแข่งขันกีฬา วัฏจักรของจามจุรีสอดคล้องกับวิถีชีวิตของชาวจุฬาฯ กล่าวคือ สีเขียวชอุ่มให้ความสดชื่นในภาคต้น และภาคที่สองทั้งใบและฝักเตือนให้รีบดูหนังสือเตรียมตัวสอบปลายปีมิฉะนั้นจะพบกัน repeat หรือ retire จามจุรีอยู่ที่จุฬาฯ มานานจนบอกไม่ได้ว่าเมื่อไร ด้วยเหตุนี้จามจุรีกับจุฬาฯ จึงผูกพันกันมากจนกลายเป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยและเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของจุฬาฯ

ประมาณต้นทศวรรษของ พ.ศ. 2500 ผู้บริหารของจุฬาฯ เห็นว่าจามจุรีเป็นไม้ที่สลัดใบ และฝักทำให้ถนนและคูข้างถนนในจุฬาฯ สกปรก มีโรคพืชทำให้กิ่งก้านหักหล่น จึงไม่มีนโยบายปลูกทดแทนต้นที่ตายไป นอกจากนั้นในช่วง พ.ศ.2480-2500 มีคณะต่าง ๆ เกิดขึ้นมาก จึงต้องโค่นจามจุรีเพื่อสร้างตึกใหม่ จามจุรีจึงลดจำนวนลงอย่างน่าใจหาย ส่วนจะมีเหตุอะไรที่อยู่เบื้องหลังนโยบายไม่ปลูกต้นจามจุรีจะมีอะไรบ้างนั้นคงจะเล่าเรื่องบางเรื่องในข้อเขียนไม่ได้เพราะเสี่ยงต่อการตกเป็นจำเลยในข้อหาหมิ่นประมาท

จากการที่จามจุรีมีน้อยลงอย่างเห็นชันเจน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชกระแสถามถึงเหตุที่ทำไมจามจุรีจึงมีน้อย อาจารย์และนิสิตเก่าอาวุโสหลายท่านเล่าให้ฟังว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรับสั่งว่าจามจุรีมีความผูกพันกับคนแถวนนี้มาก หากจุฬาฯ ไม่ปลูกจะเสด็จพระราชดำเนินมาปลูกต้นจามจุรีเอง โดยที่ไม่มีใครคาดคิดมาก่อน ในวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2506 มีโทรศัพท์จากพระราชตำหนักจิตรดารโหฐานถึงผู้บริหารจุฬาฯ ว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จพระราชดำเนินมาปลูกต้นจามจุรี ความโกลาหลระคนกับความปลื้มปิติเกิดขึ้นและแผ่ขยายไปทั้งจุฬาฯ ในวันนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงปลูกต้นจามจุรี 5 ต้นหน้าหอประชุม ได้พระราชทานพระราชดำรัสถึงความผูกพันระหว่างชาวจุฬาฯ กับจามจุรี ทรงเน้นว่าดอกสีชมพูเป็นเป็นสัญลักษณ์สูงสุดอย่างหนึ่งของจุฬาฯ ทรงเล่าว่าทรงปลูกต้นไม้ที่พระตำหนักไกลกังวล จามจุรีงอกขึ้นที่บริเวณต้นไม้ซึ่งทรงปลูกไว้ จึงทรงถือว่าทรงปลูกจามจุรีเหล่านั้นด้วย เมื่อจามจุรีโตขึ้นแล้วเห็นว่าควรเข้ามหาวิทยาลัยเสียที สถานที่เรียนนั้นไม่มีที่ใดเหมาะเท่าจุฬาฯ จึงทรงนำมาปลูกไว้ที่จุฬาฯ ก่อนจบกระแสพระราชดำรัสในวันที่ได้รับสั่งว่า “ฝากต้นไม้ไว้ห้าต้น ให้เป็นเครื่องเตือนใจตลอดกาล” จามจุรีพระราชทานทั้งห้าต้นจึงยืนต้นอย่างแข็งแรงเป็นศรีสง่าและสิริมงคลแก่ชาวจุฬาฯ มาจนถึงปัจจุบันและตลอดไป

ที่มา http://www.memocent.chula.ac.th/article/%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%88%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%99/



บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 19 เม.ย. 11, 10:34

จากการสอบถามนิสิตรุ่น พ.ศ.2474-2477 ทราบว่ายังไม่มีสระน้ำและถนนรอบหอประชุมอย่างในปัจจุบัน นิสิตที่เรียนตั้งแต่ พ.ศ.2485 เป็นต้นมาจะเริ่มทราบเกี่ยวกับเรื่องนี้เชื่อว่าสระน้ำจะถือกำเนิดในช่วงที่สร้างหอประชุมมหาวิทยาลัยเมื่อ พ.ศ. 2481 ประกอบกับมีการสร้างตึกคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ตึกเคมี 2 และตึกคณะเภสัชกรรมศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ศาลาวิทยาศาสตร์ (ตึกขาว) ของคณะวิทยาศาสตร์ อ้อมไปด้านหน้าผ่านตึกสร้างใหม่ฝั่งขวามือของหอประชุม เสาธงซึ่งสร้างคู่กับหอประชุมทำให้มีสนามด้านหน้าหอประชุม ครั้งกระนั้นการขุดสระเพื่อให้ดินถมสนามจึงทำให้จุฬาฯ ได้ทั้งสระน้ำสนามที่กว้างและถนนรอบหอประชุม ทำให้ภูมิสถาปัตยกรรมงามสง่าขึ้นมาก

"บัวสาย"



บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 19 เม.ย. 11, 10:41

ต้นเข็มแดง ก็ปลูกประดับอยู่ทั่วบริเวณ


บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 19 เม.ย. 11, 11:08


ด้านหน้าปลูกหมากประดับไว้ ๒ ด้าน มีไม้ตัดทงพุ่มฉัตรด้วย



เนื่องจากผู้ออกแบบตึกจักรพงษ์นี้คือ พระสาโรชรัตนนิมมานก์ (สารโรช ร. สุขยางค์) กับหลวงวิศาลศิลปกรรม (เชื้อ  ปัทมจินดา) ซึ่งเป็นผู้ออกแบบตึกวชิรมงกุฎและตึกพยาบาลที่วชิราวุธวิทยาลัย  แล้วที่หน้าตึกวชิรมงกุฎสมัยที่ผมเรียนเมื่อสี่สิบปีก่อนมีต้นสนตัดเป็นทรงพุ่มอยู่ที่เชิงบันไดคู่หนึ่ง  ต้นไม้ทรงพุ่มฉัตรที่หน้าตึกจักรพงษ์จึงน่าจะเป็นต้นสนเหมือนกัน 

อีกประเด็นที่สองสถาบันนี้คล้ายกันคือ มีการปลูกค้นก้ามปูไว้บังลม  ผมเคยนั่งถกกับ อ.สวัสดิ์  จงกล ถึงเรื่องต้นก้ามปูนี้ว่า  ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างตึกบัญชาการเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๘  และมาแล้วเสร็จในปี ๒๔๕๙  ในขณะเดียวกันปี ๒๔๕๙ ก็ได้พระราชทานที่ดินสวนกระจังด้านทิศตะวันตกติดกับโรงรถยนต์หลวงให้เป็นสนามกีฬาของโรงเรียนมหาดเล็กหลวง  เมื่อผมเป็นนักเรียนนั้นรอบสนามกีฬาที่นักเรียนเรียกกันว่า "สนามหลัง" เพราะอยู่หลังโรงเรียน  มีต้นก้ามปูปลูกเรียงกันโดยรอบสนาม  แต่ละต้นมีขนาดใหญ่มาก  จึงชวนให้สันนิษฐานไปว่า ต้นก้ามปู้ที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวงนี้น่าจะปลูกพร้อมกันกับที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปี พ.ศ. ๒๔๕๙ เป็นแน่   
บันทึกการเข้า
bthawees
มัจฉานุ
**
ตอบ: 65


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 19 เม.ย. 11, 11:26

จากการสอบถามนิสิตรุ่น พ.ศ.2474-2477 ทราบว่ายังไม่มีสระน้ำและถนนรอบหอประชุมอย่างในปัจจุบัน นิสิตที่เรียนตั้งแต่ พ.ศ.2485 เป็นต้นมาจะเริ่มทราบเกี่ยวกับเรื่องนี้เชื่อว่าสระน้ำจะถือกำเนิดในช่วงที่สร้างหอประชุมมหาวิทยาลัยเมื่อ พ.ศ. 2481 ประกอบกับมีการสร้างตึกคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ตึกเคมี 2 และตึกคณะเภสัชกรรมศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ศาลาวิทยาศาสตร์ (ตึกขาว) ของคณะวิทยาศาสตร์ อ้อมไปด้านหน้าผ่านตึกสร้างใหม่ฝั่งขวามือของหอประชุม เสาธงซึ่งสร้างคู่กับหอประชุมทำให้มีสนามด้านหน้าหอประชุม ครั้งกระนั้นการขุดสระเพื่อให้ดินถมสนามจึงทำให้จุฬาฯ ได้ทั้งสระน้ำสนามที่กว้างและถนนรอบหอประชุม ทำให้ภูมิสถาปัตยกรรมงามสง่าขึ้นมาก

"บัวสาย"
ผมอยากทราบครับว่าถนนสายแรกของจุฬาฯ ที่เริ่มจากประตูด้านถนนสนามม้า ผ่านตึกอักษรศาสตร์ 1 ตึก 1 (ปราสาทแดง สร้างเสร็จ ปี 2478) ของคณะวิศวฯ ผ่านตึกจุลจักรพงษ์ (สร้างเสร็จปี 2475) ผ่านตึกขาว (สร้างเสร็จปี 2471) และออกถนนพญาไท ถนนสายนี้สร้างเมื่อปีพ.ศ. ใด ครับ ผมว่าก่อนการสร้างหอประชุมจุฬาฯ แต่ไม่สามารถระบุปีที่สร้างได้
บันทึกการเข้า
bthawees
มัจฉานุ
**
ตอบ: 65


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 19 เม.ย. 11, 11:28

เบื้องหน้าต้นใหญ่เป็นต้นจามจุรี ส่วนไม้ประดับรอบๆตึก น่าจะเป็นหมากเหลือง และเห็นไม้ทรงพุ่มแหลมไกลๆ ..สนทะเล

ภาพนี้ประมาณพ.ศ. อะไร ครับ และจะหาภาพที่มีรายละเอียดสูงได้จากที่ไหนครับ ขอบคุณมากครับ
บันทึกการเข้า
bthawees
มัจฉานุ
**
ตอบ: 65


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 19 เม.ย. 11, 11:29

ภาพมุมสูง ต้นไม้ยังเตี้ยๆอยู่เลย

พอจะทราบปีที่ถ่ายไหมครับ
บันทึกการเข้า
bthawees
มัจฉานุ
**
ตอบ: 65


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 19 เม.ย. 11, 11:33

ภาพตึกจักรพงษ์ (หอประวัติ) ค่ะ ซ้ายมือคือ ตึกมหาจุฬาลงกรณ์ สมัยที่ยังไม่ได้สร้างตึกมหาวชิราวุธเชื่อมต่อกัน และยังไม่มีตึกคณะวิศวะ และหอประชุม ค่ะ
มีต้นอะไรบ้างเนี่ย...?


จะขอภาพมาลงหนังสือได้ไหมครับ แต่อยากได้ที่ความละเอียดของภาพมากกว่านี้ครับ ขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า
bthawees
มัจฉานุ
**
ตอบ: 65


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 19 เม.ย. 11, 11:37

จากการสอบถามนิสิตรุ่น พ.ศ.2474-2477 ทราบว่ายังไม่มีสระน้ำและถนนรอบหอประชุมอย่างในปัจจุบัน นิสิตที่เรียนตั้งแต่ พ.ศ.2485 เป็นต้นมาจะเริ่มทราบเกี่ยวกับเรื่องนี้เชื่อว่าสระน้ำจะถือกำเนิดในช่วงที่สร้างหอประชุมมหาวิทยาลัยเมื่อ พ.ศ. 2481 ประกอบกับมีการสร้างตึกคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ตึกเคมี 2 และตึกคณะเภสัชกรรมศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ศาลาวิทยาศาสตร์ (ตึกขาว) ของคณะวิทยาศาสตร์ อ้อมไปด้านหน้าผ่านตึกสร้างใหม่ฝั่งขวามือของหอประชุม เสาธงซึ่งสร้างคู่กับหอประชุมทำให้มีสนามด้านหน้าหอประชุม ครั้งกระนั้นการขุดสระเพื่อให้ดินถมสนามจึงทำให้จุฬาฯ ได้ทั้งสระน้ำสนามที่กว้างและถนนรอบหอประชุม ทำให้ภูมิสถาปัตยกรรมงามสง่าขึ้นมาก

"บัวสาย"

หอประชุมจุฬาฯ สมัยแรก ๆ ยังมีปลูกสนทะเลทั้งสองข้าง ไม่ทราบว่าสนทะเลคู่นี้ตัดไปตอนปีไหนครับ
บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 19 เม.ย. 11, 11:55

เรียนท่านอาจารย์ทวี  ภาพตึกจักรพงษ์ (หอประวัติ) ในคห.ที่ 14 ได้มาจากอินเตอร์เน็ทค่ะ
ถ้าอาจารย์ต้องการภาพที่มีรายละเอียดสูงเพื่อนำลงเผยแพร่ในหนังสือ คงต้องติดต่อ
หอประวัติจุฬา โทร.0-2218-7097-8,0-2218-4595 ค่ะ
คิดว่าทางหอประวัติน่าจะยินดีสนับสนุน และคงจะมีภาพในอดีตของจุฬา อีกมาก

บันทึกการเข้า
bthawees
มัจฉานุ
**
ตอบ: 65


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 19 เม.ย. 11, 12:19

เรียนท่านอาจารย์ทวี  ภาพตึกจักรพงษ์ (หอประวัติ) ในคห.ที่ 14 ได้มาจากอินเตอร์เน็ทค่ะ
ถ้าอาจารย์ต้องการภาพที่มีรายละเอียดสูงเพื่อนำลงเผยแพร่ในหนังสือ คงต้องติดต่อ
หอประวัติจุฬา โทร.0-2218-7097-8,0-2218-4595 ค่ะ
คิดว่าทางหอประวัติน่าจะยินดีสนับสนุน และคงจะมีภาพในอดีตของจุฬา อีกมาก


ขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 18
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.079 วินาที กับ 19 คำสั่ง