เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 6 7 [8] 9 10 ... 18
  พิมพ์  
อ่าน: 99300 พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 105  เมื่อ 21 เม.ย. 11, 16:40

ต้นหมากเหลือง หายไป ไม้ลั่นทมเข้าแทนที่ ไม่ทราบว่า สมัย อ.เทาชมพู มีการปลูกลั่นทมรอบบริเวณเทวาลัยหรือยังครับ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 106  เมื่อ 21 เม.ย. 11, 16:49

ดิฉันไม่ทราบว่ายุคในรูปข้างบนนี้ยุคไหน   ทำไมชงโคหายไปหมด
สมัยดิฉัน ไม่มีลั่นทมค่ะ   

พี่ประยอมคงจะยังหากลอนสวีแดร์ไม่พบ    ดิฉันเลยไปค้นเองว่ามันต้นอะไร  พบว่าสะกดว่า "สวีแด"  ชื่อสามัญคือแคฝรั่ง  ชื่อวิทยาศาสตร์คือ Gliricidia Sepium Steud



เป็นดอกไม้ประจำวิทยาลัยพยาบาลทหารอากาศ

บันทึกการเข้า
bthawees
มัจฉานุ
**
ตอบ: 65


ความคิดเห็นที่ 107  เมื่อ 21 เม.ย. 11, 17:41

เคยเห็น "ต้นสน คริสมาส" หรือ "สนอังกฤษ" เคยปลูกไว้หน้าศาลาพระเกี้ยว เดี๋ยวนี้ไม่ค่อยเห็นปลูกกันเท่าไร เป็นไม้ยืนต้นสูงใหญ่ใบยาวเป็นแท่ง เป็นใบย่อยเรียงกันเป็นเกลียว

อีกประเภทคือ "พวกปาล์มประดับ" ก็ปลูกอยู่มากนะครับ
พอจะทราบช่วงเวลาปลูกไหมครับ
บันทึกการเข้า
bthawees
มัจฉานุ
**
ตอบ: 65


ความคิดเห็นที่ 108  เมื่อ 21 เม.ย. 11, 17:49

ร่มเงาไม้ จามจุรี

จามจุรีต้นนี้ติดลำดับ ๑-๑๐ ต้นจามจุรีใหญ่ในจุฬาฯ ครับ เห็นไกล ๆ ต้นดูไม่ใหญ่ แต่ถ้าดูใกล้ ๆ ลำต้นอวบอ้วนมากครับ อายุก็น่าจะมากกว่า ๗๐ ปี มีใครพอจะทราบประวัติต้นนี้ไหมครับ
บันทึกการเข้า
bthawees
มัจฉานุ
**
ตอบ: 65


ความคิดเห็นที่ 109  เมื่อ 21 เม.ย. 11, 17:54

ถ่ายจากมุมสูง



สองภาพข้างบนถ่ายเมื่อ วันสถาปนาคณะศิลปกรรมศาสตร์ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓

 ยิงฟันยิ้ม

ไม่มีกระถินณรงค์บริเวณนี้ครับ ที่เห็นบริเวณนี้มีต้นทองหลางลาย อีกต้นน่าจะเป็นประดู่  ขยับไปทางตะวันตกอีกนิดจะเป็นไม้ใหญ่สูงเท่าความสูงของตึกคือต้นยางนาครับ
บันทึกการเข้า
bthawees
มัจฉานุ
**
ตอบ: 65


ความคิดเห็นที่ 110  เมื่อ 21 เม.ย. 11, 18:00

อ้างถึง
รบกวนถามครับว่าใครมีภาพตอนรับน้องใหม่ที่มีพวงมาลัยจามจุรี หรือลอดซุ้มจามจุรี ที่จะอนุญาตให้ลงในหนังสือได้ กรุณาบอกด้วยครับ อยากได้ภาพสมัยเก่า ๆ ครับ

ภาพอย่างนี้พอจะเข้าสะเป๊กบ้างไหมครับ
ถ้าใช้ได้ ในหนังสือรุ่นตามห้องสมุดคณะต่างๆ คงมีให้เลือกไม่หวาดไม่ไหว

อยากได้ภาพที่เป็นต้นฉบับ จะได้ชัดเจนครับ โดยเฉพาะเป็นภาพรับน้องของคนรุ่นเก่า ๆ ตอนนี้ผมมีเก่าสุด เป็นน้องใหม่ปี ๒๔๙๘
บันทึกการเข้า
bthawees
มัจฉานุ
**
ตอบ: 65


ความคิดเห็นที่ 111  เมื่อ 21 เม.ย. 11, 18:06


ตึกตรงนั้น เขาเรียก "เคมีปฏิบัติ"   ดิฉันก็ไม่รู้ว่าเป็นคณะหรืออะไรกัน  เคยมีเพื่อนเข้าไปเรียนอยู่คนหนึ่ง แต่ไม่ได้แต่งเครื่องแบบจุฬา

ไม่น่าจะใช่ เพราะ เคมีปฏิบัติ เป็นนิสิตฝากเรียน สังกัดที่แท้จริงคือ กรมวิทยาศาสตร์บริการ
อาจารย์ทวีช่วยยืนยันที
ยิงฟันยิ้ม
ตึกตรงนั้นคือตึกเคมี ๑ ครับ เคมีปฏิบัติตอนหลังสังกัดจุฬาฯ พอจบ ๓ ปีได้อนุปริญญา มาต่อที่วิดยา อีก ๒ ปีได้ปริญญาตรีครับ
บันทึกการเข้า
bthawees
มัจฉานุ
**
ตอบ: 65


ความคิดเห็นที่ 112  เมื่อ 21 เม.ย. 11, 18:10

คณะวิศวกรรมศาสตร์ ค่ะ

"ต้นไม้ในคณะวิศวกรรมศาสตร์นั้นมีอยู่มากมาย และหลายต้นในนั้นก็มีประวัติที่น่าสนใจและมีค่าเป็นอย่างมาก ต้นไม้แรกที่เราอยากจะพูดถึงในครั้งนี้คือต้นสักหน้าตึก 3 ซึ่งเป็นต้นสักขนาดใหญ่จำนวน 3 ต้น
จากการย้อนรอยพบว่าต้นสัก 3 ต้นปลูก สมัยที่ศาสตราจารย์ ดร.สุรินทร์ เศรษฐมานิต เป็นคณบดี เมื่อตอนต้นปี พ.ศ. 2518 ในโอกาสที่คณะวิศวฯ ครบรอบ 60 ปี ซึ่งปลูกโดย ศาสตราจารย์ ดร. บุญรอด บิณฑสันต์ นายกสภามหาวิทยาลัย 1 ต้น โดย ศาสตราจารย์ ดร. เกษม สุวรรณกุล อธิการบดี 1 ต้น และ โดย ศาสตราจารย์ ดร. ชัย มุกตพันธุ์ อดีตคณบดี 1 ต้น"

ขอบคุณมากครับ ผมถามเพื่อนที่สอนที่วิศวฯ ก็ไม่มีใครรู้เรื่องเกี่ยวกับต้นสัก ๓ ต้นนี้ครับ อาจจะไม่สนใจ
บันทึกการเข้า
bthawees
มัจฉานุ
**
ตอบ: 65


ความคิดเห็นที่ 113  เมื่อ 21 เม.ย. 11, 18:17

ประดู่แดง ภาควิชาวิศวกรรมเหมือนแร่และปิโตรเลียม ค่ะ

"ต้นประดู่แดง 2 ต้นที่ปลูกบริเวณพื้นที่หน้าตึกปฏิบัติการเหมืองแร่ มีขนาดรอบลำต้น 3 เมตร และ 2.40 เมตร สูงใหญ่ร่มเย็น ผู้ที่นำพันธุ์มาปลูกคือ ศ.วรวิทย์ เงยไพบูลย์
ต้นประดูแดงทั้ง 2 ต้นนี้มีอายุมากกว่า 60 ปี เจริญเติบโตมาพร้อมกับภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่ฯ ซึ่งผลิตบัณฑิตรุ่นแล้วรุ่นเล่าจนถึงปัจจุบัน ต้นประดู่แดงคู่นี้เป็นต้นไม้คู่แรกที่นำมาปลูกในคณะวิศวกรรมศาสตร์ และเป็นสัญลักษณ์ของภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียม คณาจารย์และรุ่นพีจะเล่าประวัติของต้นประดู่แดงทั้ง 2 ต้นนี้ให้นิสิตฟังทุกรุ่นว่าประดู่แดงนั้นเป็นสัญลักษณ์ของภาควิชาฯ มีความหมายว่า...
“พวกเรา (บุคลากรและนิสิต) เกิดพลังแห่งความยิ่งใหญ่ ประดู่แดงหมายถึงความพร้อม ความร่วมมือร่วมใจสามัคคี มีพลังเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน”
พวกเราทุกคนชื่นชม รักษ์และภูมิใจต้นประดู่แดงคู่นี้ตลอดไป..."


ศ.วรวิทย์ เงยไพบูลย์ เกษียณประมาณปีไหนครับ ผมอยากเทียบอายุประดู่แดง ๒ ต้นนี้ครับ ทางภาคพฤกษศาสตร์มีข้อมูลว่า ศ.กสิน สุวะตะพันธ์เป็นผู้มอบต้นไม้ ๒ ต้นนี้ให้ อาจารย์วรวิทย์ เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างนิสิตสองคณะหลังจากที่มีเรื่องบาดหมางกันมาก่อนหน้านี้ แต่ผมหาช่วงเวลาไม่ได้
บันทึกการเข้า
bthawees
มัจฉานุ
**
ตอบ: 65


ความคิดเห็นที่ 114  เมื่อ 21 เม.ย. 11, 18:22

ต้นหมากเหลือง หายไป ไม้ลั่นทมเข้าแทนที่ ไม่ทราบว่า สมัย อ.เทาชมพู มีการปลูกลั่นทมรอบบริเวณเทวาลัยหรือยังครับ
ภาพนี้ไม่เก่านะครับ ปัจจุบันลั่นทมต้นที่เห็นก็ไม่โตขึ้นเท่าไร ผมเห็นต้นรวงผึ้งด้วยครับ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 115  เมื่อ 21 เม.ย. 11, 19:26

อ้างถึง
ศ.วรวิทย์ เงยไพบูลย์ เกษียณประมาณปีไหนครับ ผมอยากเทียบอายุประดู่แดง ๒ ต้นนี้ครับ ทางภาคพฤกษศาสตร์มีข้อมูลว่า ศ.กสิน สุวะตะพันธ์เป็นผู้มอบต้นไม้ ๒ ต้นนี้ให้ อาจารย์วรวิทย์ เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างนิสิตสองคณะหลังจากที่มีเรื่องบาดหมางกันมาก่อนหน้านี้ แต่ผมหาช่วงเวลาไม่ได้

ปี๐๙ที่ผมเป็นน้องใหม่แหละครับ เกิดเหตุการณ์ที่ว่า ท่านอาจารย์วรวิทย์ท่านอยู่ในช่วงนั้น แต่เกษียณปีไหนจำไม่ได้
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 116  เมื่อ 21 เม.ย. 11, 20:44

ภาพถ่ายทางอากาศ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๓ ภาพขาวดำด้านล่างภาพเป็นบริเวณสนามม้าสปอร์ตคลับ และเรื่อยขึ้นไปกลางภาพเป็นถนนอังรีดุนังต์ และทางเข้าหลักมหาวิทยาลัย เทียบกับ ภาพสีในปัจจุบัน


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 117  เมื่อ 21 เม.ย. 11, 20:45

ภาพขาวดำขยายใหญ่


บันทึกการเข้า
bthawees
มัจฉานุ
**
ตอบ: 65


ความคิดเห็นที่ 118  เมื่อ 22 เม.ย. 11, 08:17

ภาพขาวดำขยายใหญ่
ผมเห็นแนวต้นจามจุรีที่ปลูกสองข้างถนนสายแรกของจุฬาฯจากถนนสนามม้าผ่านตึกบัญชาการ (อักษรศาสตร์ ๑) ไปออกถนนพญาไท มีภาพที่ชัดและลงหนังสือได้ไหมครับ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 119  เมื่อ 22 เม.ย. 11, 08:59

ภาพขาวดำขยายใหญ่
ผมเห็นแนวต้นจามจุรีที่ปลูกสองข้างถนนสายแรกของจุฬาฯจากถนนสนามม้าผ่านตึกบัญชาการ (อักษรศาสตร์ ๑) ไปออกถนนพญาไท มีภาพที่ชัดและลงหนังสือได้ไหมครับ

ยินดีครับ อ.ทวีศักดิ์ รบกวนส่งอีเมล์หลังไมค์นะครับ ผมส่งภาพให้ แล้วอาจารย์ทวีศักดิ์ค่อยดูว่าใช้ได้หรือไม่นะครับผม
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 6 7 [8] 9 10 ... 18
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.074 วินาที กับ 19 คำสั่ง