เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 19 20 [21] 22 23
  พิมพ์  
อ่าน: 164377 ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 300  เมื่อ 02 พ.ค. 11, 16:32

อ้างถึง
ปกติชาวเรือเมื่อล่องเรือมาถึงปากน้ำจะทอดสายดิ่งหยั่งความลึกของน้ำ
แล้วจะต้องรอจนกระทั่งวัน ๑๕ ค่ำก่อน
และรอน้ำขึ้นสูงสุดจึงจะเอาเรือข้ามสันดอนไป

กรณีพระยาจีนจันตุ เอาสำเภามาในช่วงไม่ใช่เวลาน้ำเกิด
และหนีเขามา จะได้ทอดสายดิ่งหยั่งน้ำดูหรือเราก็ไม่ทราบ
แต่พระยาจีนจันตุสามารถเอาสำเภาข้ามสันดอนปากแม่น้ำ
เจ้าพระยาด้วยการโล้จนลึกได้ในวัน แรม ๔ ค่ำ เดือน ๒
นับว่าเก่งมาก


อย่าลืมว่าพระยาจันตุเป็นจารชน ไม่ใช่พ่อค้าธรรมดาๆนะครับ เขาเข้ามาแล้วก็ต้องเตรียมทีหนีทีไล่ให้รอบคอบ เรื่องทิ้งดิ่งหาความติ้นลึกของสันดอนและแม่น้ำเจ้าพระยาตลอดเส้นทางนั้น ตัวคุณอาจจะไม่ทราบ แต่เขาต้องทำแน่นอน นายเรือทุกคนก็ต้องทำเช่นนั้นเป็นวิสัยอยู่แล้ว ไม่ต้องปกปิดเจ้าของประเทศด้วย

แผนการณ์หนีของเขาเมื่อข้อมูลครบ ก็ต้องกำหนดเวลาเรือออกให้พอดีจังหวะน้ำขึ้นน้ำลง น้ำหนักเรือและผู้คนข้าวของต้องเป๊ะ เรือต้องลอยข้ามสันดอนบริเวณปากอ่าวได้ไม่กินน้ำลึกมากเกิน ก็ไม่ได้เข้ามาค้าขายนี่นา จะแล่นเรือเปล่าๆออกไปก็ไม่ขาดทุนอะไร เดี่ยวถึงเมืองละแวกก็ได้รับปูนบำเหน็จตกเบิกอยู่แล้ว
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 301  เมื่อ 02 พ.ค. 11, 16:33

อ้างถึง
การที่สมเด็จพระนเรศวรให้กองเรือตามพระยาจีนจันตุมาถึงปากน้ำนั้น
คงจะคาดการณ์ไว้แล้วว่า สำเภาพระยาจีนจันตุจะข้ามสันดอน
ไปยังไม่ง่าย ถึงอย่างไรก็ก็อาจจะตามจับได้ที่สันดอนนั่นเอง
ซึ่งในระหว่างนั้น กองเรือของสมเด็จพระนเรศวรอาจจะกำลังรอ
ทัพเรือที่กำลังตามมาสมทบด้วย แต่ปรากฏว่าทัพเรือสมทบมาช้า
ไม่ทันการณ์ พระยาจีนจันตุ โล้ สำเภาพ้นสันดอนตกลึกไปแล้ว

ถ้าคุณหลวงลงทุนอ่านที่ผมเขียนไปแล้วซะหน่อยก็จะพบว่า ผมไม่ได้เชื่อที่พงศาวดารเขียนว่าสมเด็จพระนเรศวรมาทันพระยาจีนจันตุที่ปากน้ำเลย ผมสันนิฐานว่าน่าจะทันๆกันที่คุ้งบางกระเจ้า เพราะพอเข้าทางตรง เรือสำเภาก็จะได้ลมส่งท้ายวิ่งฉิวไปแล้ว เรือดั้งเรือกราบทั้งหลายไม่มีทางตามทัน ไม่ต้องไปรอถึงปากอ่าวดอก

ส่วนเรื่องสันดอนนั้น ถ้าเรือกินน้ำลึกเกินไป มันก็ติด ไม่ใช่เพราะแล่นใบแล้วเรือจึงจะติด เลยต้องใช้วิธีโล้ถึงจะกระเดือกดึ๊บๆไปได้
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 302  เมื่อ 02 พ.ค. 11, 16:36

อ้างถึง
ผมก็สงสัยอยุ่ว่า ถ้าโล้อย่างที่คุณNAVARAT.C ว่า
พระยาจีนจันตุ แกจะเอาสำเภาของแกข้ามสันดอน
ที่กินอาณาบริเวณกว้างเป็นหลายกิโลเมตร
ในช่วงน้ำขึ้นน้อยในเดือน ๒ ได้อย่างไร

ก็ไม่รู้ว่าเอาที่ไหนมาสงสัย ผมว่าไว้เมื่อไหร่ว่าพระยาจีนจันตุโล้เรือสำเภาข้ามสันดอน โธ่เอ๋ย ก็เรือมันแปลว่ายานพาหนะที่ต้องวิ่งบนน้ำ ไม่ใช่จะวิ่งบนเลนได้ ถ้าแล่นใบมาแล้วติดสันดอน ก็ต้องรอน้ำขึ้นสถานเดียวให้เรือหลุดจากโคลน ลอยขึ้นมากับน้ำนั่นแหละ ถึงจะไปต่อได้  ไม่ใช่ใช้วิธีโล้ให้เรือวิ่งไปบนเลนจนกว่าจะพ้นสันดอน นั่นมันหนังการ์ตูนมั๊ง

ถ้ายังข้องใจไม่อยากจะจบ ก็เชิญปุจฉาต่อนะครับ
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 303  เมื่อ 02 พ.ค. 11, 16:56

ระดับน้ำที่คุณหามานั้น ไม่ได้หมายความว่า ระดับที่สันดอนจะต้องสูงเท่านั้นด้วยสักหน่อย  ที่ทั้งสันดอนนั้นสูงเป็นหลังเต่า  
มีบันทึกว่า  ขนาดน้ำขึ้นสูงแล้วยังสูงจากสันดอนไม่เท่าไร
ขนาดว่าทูตฝรั่งที่เข้ามาสยามสมัยกรุงศรีอยุธยา
มาเรือกำปั่นที่ไม่ได้บันทุกอะไรหนักหนา  
ยังทอดสมอเอาเรือไว้นอกสันดอน  


ที่สำคัญ  คุณตอบได้ไหมว่า  ช่วงที่พระยาจีนจันตุหนีไปนั้น
น้ำขึ้น หรือน้ำลง


ผมสงสัยว่า  สำเภาปกติกินน้ำลึกเท่าไร
และถึงไม่ได้บันทุกสินค้า  แต่ก็ต้องบันทุกเสบียง
คน  (ไม่ต่ำกว่า  ๕๐  คนแน่นอน)  โดยเฉพาะน้ำจืด
และจากปากน้ำเจ้าพระยา พระจันจันตุจะไปถึงท่าที่ใด
ถ้าไปปากน้ำโขง   คงใช้เวลาเดินพอสมควร
เพราะเมืองละแวกอยู่ในแผ่นดินเขมร

เว้นเสียแต่ว่าพระยาจีนจันตุจะไปจอดเรือที่เมืองอื่น
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 304  เมื่อ 02 พ.ค. 11, 17:39

อ้างถึง
ระดับน้ำที่คุณหามานั้น ไม่ได้หมายความว่า ระดับที่สันดอนจะต้องสูงเท่านั้นด้วยสักหน่อย ที่ทั้งสันดอนนั้นสูงเป็นหลังเต่า
มีบันทึกว่า ขนาดน้ำขึ้นสูงแล้วยังสูงจากสันดอนไม่เท่าไร

ก็เขาวิ่งเรือขึ้นไปบนหลังเต่าที่ไหนละครับ

ทุกปากแม่น้ำในโลกนี้ตรงจุดที่เรียกว่าสันดอนนั้นจะมีร่องน้ำตามธรรมชาติ สมัยที่ยังไม่มีการขุดลอกสันดอนปากน้ำเจ้าพระยา เขาก็วิ่งเรือตามร่องน้ำ โดยมีผู้รับจ้างที่ชำนาญพื้นที่ “นำร่อง”ให้

เอารูปร่องน้ำธรรมชาติที่ไหลผ่านสันดอนมาให้ดูพอให้เข้าใจ (ไม่ใช่รูปแแม่น้ำเจ้าพระยานะครับ ขอบอก)


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 305  เมื่อ 02 พ.ค. 11, 17:40

อ้างถึง
ขนาดว่าทูตฝรั่งที่เข้ามาสยามสมัยกรุงศรีอยุธยา
มาเรือกำปั่นที่ไม่ได้บันทุกอะไรหนักหนา
ยังทอดสมอเอาเรือไว้นอกสันดอน

เรือทูตเดินสมุทรมาจากยุโรประวางขับน้ำแค่ไหน(แปลว่าใหญ่แค่ไหน+กินน้ำลึกแต่ไหน) เรือพระยาจีนจันตุเป็นสำเภาที่หากินในน่านน้ำแถวนี้ไกลอย่างมากก็กวางตุ้ง เรือไม่ต้องใหญ่เท่าเรือที่ต้องอ้อมแหลมกู๊ดโฮป ผมเขียนไปแล้วว่าเมืองละแวกอยู่ในแม่น้ำ ลึกเข้าจากปากอ่าวพอๆกับกรุงศรีอยุธยา เรื่อวิ่งในแม่น้ำกับวิ่งเลียบฝั่งใกล้ๆได้ มันจะไปใหญ่โตเท่าเรือทูตได้อย่างไร

บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 306  เมื่อ 02 พ.ค. 11, 17:43

อ้างถึง
ที่สำคัญ คุณตอบได้ไหมว่า ช่วงที่พระยาจีนจันตุหนีไปนั้น
น้ำขึ้น หรือน้ำลง

จะน้ำขึ้น หรือน้ำลง หรือน้ำตาย ไม่ใช่ประเด็น ประเด็นคือน้ำในร่องน้ำขณะนั้นลึกเท่าไหร่ ท้องเรือจะติดไหมถ้าวิ่งไปตามร่องน้ำโดยไม่ต้องมีนำร่อง
ตรงนี้พระยาจีนจันตุต้องเตรียมตัวมาอย่างดีแล้ว


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 307  เมื่อ 02 พ.ค. 11, 17:45

อ้างถึง
ผมสงสัยว่า สำเภาปกติกินน้ำลึกเท่าไร


เรือสำเภาที่ใช้วิ่งเลียบชายฝั่งอ่าวไทย ขนาดเรือในภาพที่หากินในอ่าวกวางตุ้งนี่ ตัวเรือเปล่าๆก็ไม่น่าจะกินน้ำลึกเกินเมตรครึ่ง ทั้งนี้ย่อมขึ้นอยู่กับขนาดของเรือด้วย มันมีมาตรฐานซะเมื่อไหร่ว่าเรือสำเภาจะต้องใหญ่เท่านั้นเท่านี้



บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 308  เมื่อ 02 พ.ค. 11, 17:48

อ้างถึง
และถึงไม่ได้บันทุกสินค้า แต่ก็ต้องบันทุกเสบียง
คน (ไม่ต่ำกว่า ๕๐ คนแน่นอน) โดยเฉพาะน้ำจืด

ผมว่าเอามาทำไมตั้ง๕๐  เอามาทำอะไร เปลืองข้าวสุก ดีไม่ดีพระเจ้าแผ่นดินเห็นเอาคนมามาก ก็ให้ไล่ออกไปเลยก็ได้

คนในเรือสัก๑๐คนก็มากเกินพอที่จะมาทำงานเฉพาะกิจ เสบียงก็ไม่ได้มากมาย น้ำจืดก็เรื่องเล็ก ถ้าเพื่อไว้ดื่มกินก็โอ่งเดียวพอ จุดจอดเรือมีตลอดทาง ม้าเร็วจากกรุงศรีอยุธยาไม่มีทางควบทันเพื่อแจ้งข่าว

ถ้าเรือเบาลมดีๆ เพียงสองสามวันก็เข้าเขตเขมรไปลึกแล้ว
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 309  เมื่อ 02 พ.ค. 11, 17:50

อ้างถึง
และจากปากน้ำเจ้าพระยา พระจันจันตุจะไปถึงท่าที่ใด
ถ้าไปปากน้ำโขง คงใช้เวลาเดินพอสมควร
เพราะเมืองละแวกอยู่ในแผ่นดินเขมร
เว้นเสียแต่ว่าพระยาจีนจันตุจะไปจอดเรือที่เมืองอื่น

อันนี้ผมยังไม่ศึกษา จึงไม่อยากสันนิฐานไปมั่วๆ

เชิญถามอีกได้ครับ อะไรที่ตอบได้ผมจะพยายามตอบ อะไรที่ไม่รู้ผมก็จะบอกว่าไม่รู้ 
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 310  เมื่อ 03 พ.ค. 11, 00:04

เอาข้อมูลมาแจมสนุกๆนะครับ

แรมสี่ค่ำเดือนยี่ พระจันทร์ขึ้นราวสามทุ่ม ตกสายๆราว ๙ นาฬิกา แรมสี่ค่ำนี่พระจันทร์ค่อนข้างสว่างนะครับ เพิ่งจะผ่านวันเพ็ญไปแค่สี่วัน

วันแรมสี่ค่ำ น้ำจะขึ้นสูงสุดที่สันดอนปากแม่น้ำเจ้าพระยาในราว ๗-๙ นาฬิกา

บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 311  เมื่อ 04 พ.ค. 11, 16:01

กลับมาดูอีกที ปล่อยไก่อีกแล้ว ขออภัยครับ แรม 4 ค่ำ ไม่ใช่ขึ้น 4 ค่ำ

เรื่องน้ำนั้น ข้างแรม หรือ ข้างขึ้น ไม่ต่างกัน

แต่พระจันทร์ ขึ้นสี่ค่ำ พระจันทร์ขึ้นเอา ๙ นาฬิกาตอนเช้า ตกตอนสามทุ่มครับ กลับกับข้างแรม ดังนั้นช่วงนั้นหลังสามทุ่มไม่เห็นพระจันทร์ครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 312  เมื่อ 04 พ.ค. 11, 18:55

ช่วงเวลาน้ำที่ขึ้นสูงสุด หรือลงต่ำสุดของวันใดก็ตาม สมมติว่าเป็นวันแรม๔ค่ำก็ได้ จะไม่ตรงกันทุกปีหรอกครับ แต่จะเหลื่อมกันประมาณ๑ชั่วโมง+หรือ-ในวันนั้นของปีถัดไป ต้องอาศัยการคำนวณจึงจะทราบ

ตารางน้ำขึ้นน้ำลงที่เรียกว่ามาตราน้ำที่ผมlinkให้นี้ เป็นหน้าที่ของกรมอุทกศาสตร์ทหารเรือที่จะต้องคำนวณออกมาในแต่ละวัน ของทุกเดือน ของแต่ละปี ของแต่ละสถานีวัดน้ำทั้งในแม่น้ำ และทะเลตลอดน่านน้ำไทย แจกให้กับทหารเรือ และขายให้กับประชาชน เมื่อก่อนผมต้องไปซื้อทุกปี ปีละครั้ง เพราะมีหน้าที่การงานเกี่ยวข้องกับน้ำขึ้นน้ำลงอยู่หลายปี

ไม่ทราบว่าเวลาที่คุณม้ากล่าวถึง เป็นสมัยสมเด็จพระนเรศวรก็จริง แต่ถ้ารู้วันที่และพ.ศ.แน่นอน และมีสูตรคำนวณอยู่ในมือ ก็ไม่เหลือวิสัยที่วิศวกรคนหนึ่งจะคำนวณได้
ด้วยความเคารพ(ขอโทษ ไม่ได้เหวงนะครับ) คำถามก็คือคุณม้าได้ตัวเลขที่ว่ามาอย่างไรครับ



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 313  เมื่อ 04 พ.ค. 11, 20:03

ไม่ได้อ่านด้วยตาตัวเองก็ไม่อยากจะเชื่อ      ขอนำไปอวดคนภายนอกว่าในเว็บเรือนไทย  มีผู้สามารถนั่งยานเวลากลับไปดูน้ำขึ้นน้ำลงในคืนพระยาจีนจันตุ ลงเรือหนีสมเด็จพระนเรศวรได้    ถ้าไม่เชื่อให้มาพิสูจน์ในกระทู้นี้   
เสียดายที่ฝรั่งไม่ได้บอกวันเดือนปี ที่ทูตโปรตุเกสจากมะละกาพานักโทษโปรตุเกสในอยุธยาหนีจากพระเจ้าทรงธรรม  ออกอ่าวไทยไปได้โดยเรือหลวงจ้ำฝีพายตามไม่ทัน   (ในกระทู้โปรตุเกสเข้าเมือง)  ไม่งั้นคงได้นั่งยานเวลากลับไปดูกันอีกฉาก

ตอนที่เล่าถึงเหตุการณ์ที่สอง   ดิฉันอดคิดไม่ได้ว่า สันดอนแม่น้ำคงข้ามไม่ยากเย็นนักละมัง  เรือสำเภา(หรือกำปั่น?) จึงสามารถแล่นหนีออกสันดอนปากอ่าวไปได้ไม่ติดขัด   แม้ว่าเป็นการหนีแบบฉุกละหุก   เพราะทูตโปรตุเกสคงไม่ได้คำนวณล่วงหน้าว่าจะหนีตอนคืนไหนน้ำขึ้นมากเท่าไร    เพียงแต่เห็นท่าไม่ดีว่าพระเจ้าทรงธรรมเปลี่ยนพระทัย ทำท่าจะยึดนักโทษกลับเข้าคุก   ก็หนีเอาชีวิตรอดเลยในตอนนั้น  แล้วก็หนีสำเร็จเสียด้วย  ทหารเรือหลวงตามไม่ทัน
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 314  เมื่อ 04 พ.ค. 11, 20:46

ขออภัยที่ไม่ได้อ้างที่มาที่ไปครับ  ยิงฟันยิ้ม

ใช้ข้อมูลจากกรมอุทกศาสตร์กองทัพเรือเหมือนกันครับ เดี๋ยวนี้เขามีแจกบนเว็บแล้วครับ ผมเคยได้ใช้บริการข้อมูลนี้มาหลายครั้งแล้วครับ ขอขอบพระคุณไว้ ณ ที่นี้ด้วย

เรื่องน้ำขึ้นน้ำลง ถ้าเป็นในทะเล ก็จะคำนวณเอาจากแรงดึงดูดของดวงจันทร์เป็นหลัก เสริมด้วยแรงจากดวงอาทิตย์ ประเภทดาวเคราะห์เรียงตัวกัน 7-8 ดวงนี่ไม่ต้องครับ  ยิงฟันยิ้ม

แต่ในแม่น้ำลำคลอง มีเรื่องฝนฟ้าเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย น้ำขึ้นลงสูงสุดแค่ไหนจึงต้องบวกลบเผื่อไว้ด้วยดังที่คุณ Navarat.C กรุณาชี้แนะไว้ครับ

ระดับน้ำย้อนหลังไปนานๆก่อนที่จะมีบันทึกไว้ จึงทำได้ในระดับการดูสถิติย้อนหลังอ้างอิงเอาครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
หน้า: 1 ... 19 20 [21] 22 23
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.109 วินาที กับ 20 คำสั่ง