เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 15 16 [17] 18 19 ... 23
  พิมพ์  
อ่าน: 164378 ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 240  เมื่อ 27 เม.ย. 11, 21:51

เอาแผนที่แม่น้ำเจ้าพระยามาให้ดูครับ ความยาววัดรวมคุ้งน้ำต่างๆจากอยุธยามาปากน้ำประมาณราวๆ 120 กม.

ผมคิดว่าที่พระยาจีนจันตุเลือกออกเรือตอน๒ยาม ก็น่าจะเป็นช่วงที่น้ำกำลังจะขึ้นสูงสุดแล้ว และจะทรงอยู่สักช่วงหนึ่งก่อนที่จะเริ่มไหลลงสู่ทะเลใหม่ เรือจะได้วิ่งตามน้ำตามลมมาสบายๆ ถ้าความเร็วเรือเฉลี่ยประมาณ๘น๊อต หรือประมาณ๑๕ กม./ชม. ก็น่าจะออกปากอ่าวได้ในตอนสายๆ

เรือดั้งของพระนเรศวร โชคดีที่พายตามน้ำมาเหมือนกัน ถ้าจ้ำๆหน่อยก็เร็วมากแต่จะยืนระยะไม่อยู่ ถ้ามาแบบเร่งๆแต่ไม่รีบ(เอ๊ะ แปลว่าอะไร?) พอไม่ให้เหนื่อยจนขาดใจไปเสียก่อน ก็น่าจะมาได้ประมาณ ๓๐ กม./ชม. เพราะมีความเร็วของกระแสน้ำส่งให้ด้วย

เผลอๆ คงจะมายิงกันแถวบางกอกนี่แหละครับ ช่วงที่น่าลุ้นก็คือตอนเรือสำเภาเข้าคุ้งบางกระเจ้า ตรงนั้นแม่น้ำเจ้าพระยาโค้งเหมือนกระเพาะหมู เรือสำเภาใช้ใบต้องวิ่งสลับฟันปลาไปด้วยลำบากแน่ เหมาะที่เรือดั้งจะเข้ารุมกินโต๊ะ แต่พอพ้นไปแล้ว แถวพระประแดง แม่น้ำถึงไม่ตรงก็เกือบตรง เรือสำเภาก็วิ่งได้ฉิวแล้วละครับ

จะทรงวางปืนก็คงจะตอนนั้น ไม่ต้องต่อไปปากน้ำให้ทหารเหนื่อยตายคาเรือเสียเปล่าๆ


ผมลองเอาตัวเลขมาคำนวณตามข้อมูลที่ อ.NAVARAT.C เคยให้ไว้คือ ระยะทางแม่น้ำเจ้าพระยา - ปากอ่าว ยาวประมาณ 120 กม. และลองใช้ความเร็วตามที่เคยกล่าวกันไว้ จะเห็นว่าใช้ความเร็ว 8 ชั่วโมงในการหนี ซึ่งถือว่าเร็วมาก


บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 241  เมื่อ 28 เม.ย. 11, 09:06

ความคิดของผมนะ ผมว่า

พระยาจีนจันตุหนีออกมาจากกรุงศรีอยุธยาตอน 2 ยาม ลัดเลาะลงมาเรื่อยๆ ตามลำแม่น้ำโดยอาศัยความมืดเป็นกำบัง เพราะพระจันทร์ก็ยังไม่สว่างเต็มที (ขึ้น 4 ค่ำ)
แถมอาจจะมีหมอกลงตอนกลางคืนด้วยซ้ำไป (เป็นหน้าหนาว) บวกกับเป็นหน้าน้ำ (เดือนยี่) จึงอาจมีกระแสน้ำช่วยพาส่งให้เรือล่องได้เร็วขึ้น ล่องมาเรื่อยๆ
จนเกือบย่ำรุ่งแถวๆ เมืองนนท์ พวกชาวด่านเห็นเรือพระยาจีนจันตุถนัด จึงไล่จับกันไปตามทาง พายเทียบบ้าง จะปีนขึ้นเรือบ้าง ยิงปะทะกันบ้าง เรือพระยาจีนจันตุ
ก็รั้งรอช้าลงๆ ด้วยฝีมือชาวด่าน

ฝ่ายสมเด็จพระนเรศวรก็ไม่ทรงรุู้เรื่องจนกระทั่งพระยาจีนจันตุไปได้ไกลโข จึงทรงออกจากวังจันทน์เกษมดำเนินการไล่ล่าทันที ทรงลงเรือรบ เรือไล่ ของวังหน้า
(ยังไม่ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ไม่มีสิทธิ์ใช้เรือพระที่นั่งทรงของสมเด็จพระมหาธรรมราชา) ใช้ความเร็วและความคล่องแคล่ว จ้ำพายติดตามจนทันเรือพระยาจีนจันตุ
ที่ถูกพวกชาวด่านรุมกินโต๊ะอยู่แถวๆ เมืองนนท์ ก็จึงเกิดยุทธนาวีอันลือเลื่องตามพระราชพงศาวดาร ไล่ยิงไล่ตามกันจนถึงเมืองธนบุรี แต่พระองค์ไม่สามารถหยุดเรือ
พระยาจีนจันตุได้ จึงต้องปล่อยให้พระยาจีนจันตุหลุดมือไป (แถวปากน้ำ หรือพระประแดง (เก่าหรือใหม่ ฮืม)ฮืม)
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 242  เมื่อ 28 เม.ย. 11, 09:37

^
บอกมาตรงๆเลยว่า โล้เรือ เป็นอย่างไร อย่าได้ลีลาทวนท่าอยู่ตลาดเมืองนนท์ ชะรอยติดใจแม่ค้าหรือของหวาน  ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 243  เมื่อ 28 เม.ย. 11, 10:15

^
บอกมาตรงๆเลยว่า โล้เรือ เป็นอย่างไร อย่าได้ลีลาทวนท่าอยู่ตลาดเมืองนนท์ ชะรอยติดใจแม่ค้าหรือของหวาน  ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม

อันนี้เกินกำลัง สู้จีบแม่ค้าตาคมขายขนมหวานตลาดเมืองนนท์ดีกว่า

กินขนมไป จีบแม่ค้าไป สังเกตการณ์ไป ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 244  เมื่อ 28 เม.ย. 11, 11:11

อ้างถึง
ในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาไม่ได้บอกว่า
กองเรือที่สมเด็จพระนเรศวรเสด็จไปตามตีเรือพระยาจีนจันตุ
เริ่มต้นทางที่ไหนแน่ กรุงศรีอยุธยา หรือเป็นตำบลที่อยู่ล่างลงมา
กองเรือที่ตามเรือพระยาจีนจันตุในช่วงแรก
อาจจะเป็นเรือชาวด่านที่รักษาด่านด่านตามลำน้ำเจ้าพระยา
(เช่นแถวตลาดขวัญ บางกอก พระประแดง ฯลฯ)
ที่ไล่ตีเรือพระยาจีนจันตุทำให้เรือพระยาจีนจันตุเดินทางได้ไม่เร็ว
ทำให้กองเรือ(เรือเร็ว)สมเด็จพระนเรศวรตามทันก็ได้
ทั้งนี้ สมเด็จพระนเรศวรอาจจะไม่ได้เสด็จลงเรือ
มาตั้งแต่กรุงศรี แต่อาจจะทรงม้ามาเสด็จลงเรือแถบตำบลล่างๆ
ก็ได้กระมัง เพราะถ้าเส้นทางแม่น้ำคดอ้อมขนาดนั้น
กว่าจะพายเรือเร็วมาทันกัน ดูจะยากนัก

อันนี้คิดเล่นๆ นะ อย่าถือเป็นจริงเป็นจัง

ผมก็คิดเล่นๆต่อว่า ด่านที่รักษาแม่น้ำเจ้าพระยาสมัยอยุธยาจะมีไหมน๊อ ถ้ามี จะมีอยู่แห่งหนตำบลใด
หลักฐานทางประวัติศาสตร์เราก็ไม่มีให้ค้นกันง่ายๆเลย นอกจากคำว่า “ขนอน” ซึ่งแปลว่า ด่านภาษี และเรามีวัดขนอนอยู่มากมายหลายจังหวัด อาจตั้งอยู่ในตำบลต่างๆที่รัฐตั้งด่านเก็บภาษี

ผมไล่ลำน้ำเจ้าพระยามา ติดใจตรงที่ตั้งของ “ขนอนหลวง” อยู่ริมแม่น้ำพอดี น่าจะ “ใช่เลย” เป็นด่านภาษีแน่ๆ และธรรมเนียมของด่าน ก็ต้องมีกองกำลังด้วย พระยาจีนจันตุจะผ่านไปง่ายๆได้รึ
แต่ทว่า ขนอนหลวงนี้ อยู่ใกล้กรุงศรีอยุธยาเพียงพายเรืออึดใจเดียว ถ้าพระยาจีนจันตุหลุดตรงนี้ได้ ก็คงจะหลุดยาวไปถึงปากน้ำเลย ไม่มีขนอนที่ไหนอีก (วัดขนอนเหนือและวัดขนอนใต้ที่นนทบุรี ไม่อยู่ติดแม่น้ำ อาจเป็นด่านสำหรับเส้นทางทางบก ที่ตลาดขวัญไม่มีขนอน มีแต่แม่ค้ากับคนไปจีบแม่ค้า ยิงฟันยิ้ม)

คิดต่อว่า แล้วพระยาจีนจันตุหลุดด่านนี้ไปได้อย่างไร
ก็มีทางเดียวที่จะเดา
เรื่องค่าน้ำร้อนน้ำชาระหว่างพ่อค้าจีนกับชาวด่านเป็นของคู่กันมาช้านาน แบบไม่ต้องเหนียมแม้น้อย ถ้าก่อนออกเรือ จะโล้เรือมาคุยซะแต่หัววัน ขออำนวยความสะดวกที่จะผ่านด่านตอนน้ำขึ้นรอบดึก ถ้ามีการ “จัดให้” หนักหน่อยสมน้ำสมเนื้อ บางที เรือสำเภาตอนผ่านด่านอาจจะแค่ยกมือบ๋ายบายกัน ไม่ต้องเทียบท่าก็ได้

อันนี้ก็คิดเล่นๆเหมือนกันนะ ใครอย่าถือเป็นจริงเป็นจังไปเชียว


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 245  เมื่อ 28 เม.ย. 11, 11:15

ภาพพระราชพงศาวดารประกอบโคลงชุดนี้ ทรงโปรดให้สร้างไว้ทั้งหมด ๙๑ภาพ  สำนักพระราชวัง ติดประดับที่พระที่นั่งวโรพิมาน พระราชวังบางปะอิน ๒๓ ภาพ เก็บรักษาไว้ ๒๔ ภาพ กรมศิลปากรได้รับพระราชทานมาซ่อม และแสดงที่หอศิลป์และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ๑๗ ภาพ รวมกันแล้วเพียง ๔๑ ภาพ ที่เหลืออยู่แห่งใด ในหนังสือมิได้แจงไว้
ส่วนโคลงที่ประกอบภาพทั้งหมดมีอยู่ครบ บางบทแม้ไม่มีภาพจริง ผมก็คิดว่าน่าจะดูภาพจิตรกรรมฝาผนังที่วัดสุวรรณดารารามประกอบได้ เพราะเขียนขึ้นร่วมสมัยและน่าจะมีอิทธิพลต่อกันบ้างพอสมควร

โคลงเรื่อง สมเด็จพระนเรศวรปีนค่ายพระเจ้าหงสาวดี


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 246  เมื่อ 28 เม.ย. 11, 11:18

เรื่องนี้มีอยู่ว่า หลังจากที่พระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรงยกทัพกลับจากไปปราบกบฏเมืองอังวะสำเร็จ ก็ยกทัพใหญ่มีพลห้าแสนนาย ช้างสามพันเชือกม้าหมื่นตัว เข้าทางด่านแม่ละเมา เพื่อจะมาเชคบิลกับอยุธามั่ง  ถึงแล้วก็ตั้งค่ายล้อมเอาไว้ที่สีกุก ที่กุ่มดอง(บ้านกุ่ม) ที่วัดสังฆาวาสแต่ตั้งทัพหลวงตั้งไกลหน่อย ที่บางประหัน

ค่ายของพระมหาอุปราชา อยู่ที่กุ่มดอง เพราะฉนั้นค่ายของพวกกองหน้าก็น่าจะอยู่แถวทุ่งลุมพลี ซึ่งอยู่ไม่ห่างจากพระราชวังจันทรเกษมเท่าไรนัก สมเด็จพระนเรศวรจึงจัดกองทหารม้าเพียงร้อยกว่าคนยกออกไปปล้นค่าย และเกิดเหตุการณ์ที่ทรงคาบดาบนำทหารปีนค่าย จนถูกแทงตกลงมาหลายหน ก่อนจะเสด็จยกทหารกลับเข้าพระนครศรีอยุธยาไป


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 247  เมื่อ 28 เม.ย. 11, 11:24


เรื่องนี้ พระราชพงศาวดารของพม่าเขียนไว้สั้นๆ ข้อความไม่ตรงกับของเราว่า

๏ศักราช ๙๔๘ จอศก (พ.ศ.๒๑๒๙) ณ วัน ๒ฯ๘๑๒ ค่ำ (ตรงกับวันจันทร์ที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๑๒๙)พระเจ้าหงษางาจีสะยาง(พระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรง) ยกพลลงมาถึงกรุงพระนคร ณ วัน ๕ ๒ฯ๒ ค่ำ (วันพฤหัสบดีที่ ๑๑ ธันวาคม พ.ศ.๒๑๒๙) แลพระเจ้าหงษาเข้าล้อมพระนคร แลตั้งทัพตำบล ขนอนปากคู (ด่านภาษีที่เข้าออกทางแม่น้ำน้อย) แลทัพมหาอุปราชตั้งขนองบางตนาวแลทัพทั้งปวงนั้นก็ตั้งรายกันไปล้อมพระนครอยู่ แลครั้งนั้นได้รบพุ่งกันเป็นสามารถ แลพระเจ้าหงษาเลิกทัพคืนไป ฯl๛

ในพระราชพงศาวดารของไทยระบุว่า

" “ฝ่ายพระเจ้าหงสาวดีเสด็จถึงพระนครแล้ว ก็ทรงพระดำริแต่ที่จะเอากรุงพระนครศรีอยุธยาให้ได้ ก็ให้จัดทแกล้วทหารบำรุงช้างม้ารี้พลเครื่องสรรพศัสตราวุธเสบียงอาหาร กระสุนดินประสิวไว้พร้อมเสร็จ และเมื่อพระ เจ้าหงสาวดีให้เตรียมทัพครั้งนั้น พลห้าสิบหมื่น ช้างเครื่องสามพัน ม้าหมื่นหนึ่ง ให้พระมหาอุปราชา พระเจ้าแปร พระเจ้าเชียงใหม่เข้ากระบวนทัพด้วย

ครั้น ณ วันอาทิตย์ ขึ้น ๑ ค่ำ เดือนอ้าย ศักราช ๙๓๒ ปีมะเมีย โทศก(พ.ศ.๒๑๑๓)เพลาอุษาโยค สมเด็จพระเจ้าหงสาวดีก็ทรงเครื่องพิชัยยุทธนาลังการาภรณวิภูสิตพิพิธโภคมหิมา ดูโมฬาราดิเรกสำหรับชัตติยราชรามัญประเทศไทยพิชัยยุทธสงครามเสร็จ ครั้นได้เพลามหามหุติฤกษ์มังคลาโหราธิบดีลั่นฆ้องชัย ชีพ่อพราหมณ์ถวายเสียงสังข์ประนังศัพทฆ้องกลองกาหลสนั่นนฤนาท เสร็จทรงช้างต้นพลายชัยมงคลเป็นราชพาหนะ ประดับเครื่องคชาภรณ์อลังการ เคลื่อนพยุหโยธาหาญโดยกระบวนซ้ายขวาหน้าหลัง พลดาบดั้งโตมรสลอนพลเสโลทวนทองระยาบ พลดาบเขนเป็นขนัดริ้วรายดูสุดสายตาไสวเถือกธงชัยธงฉานวาลวิชนีกลิ้งกลดบดบังแสงทินกร ไพโรจน์โชตนาการพันลึก อธึกดูพร้อมพรั่งดาษดารอนแรมมาโดยสถลมารค ข้ามแม่น้ำเมาะตะมะ เข้าทางเมืองกำแพงเพชร เสด็จถึงกรุงพระนครศรีอยุธยา ณ วันอังคาร แรม ๑๔ ค่ำ เดือนอ้าย สมเด็จพระเจ้าหงสาวดีตั้งค่ายหลวงตำบลบางประหัน พระมหาอุปราชาตั้งค่ายกุ่มดอง พระเจ้าแปรตั้งค่ายสีกุก พระเจ้าเชียงใหม่ตั้งค่ายตำบลวัดสังฆาวาส

สมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้า ตรัสทราบว่าทัพพระเจ้าหงสาวดียกมา ก็ทรงม้าทวนกับทหารสามกองๆ หนึ่งยี่สิบสองคน กองหนึ่งสี่สิบสองคน กองหนึ่งเจ็ดสิบสองคน ขี่ม้าถือทวนครบมือยกออกไปกองหน้าข้าศึกออกมารบทหารกรุงเทพมหานครตีแตกฉานเข้าไป สมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้าทรงคาบพระแสงดาบกับทหารปีนค่ายขึ้นไปข้าศึกในค่ายเอาทวนแทงพลัดตกลงมาเป็นหลายครั้ง ขึ้นมิได้ ทรงม้าพระที่นั่งกลับเข้าพระนคร ข้าศึกเอาการซึ่งได้รบพุ่งไปกราบทูลสมเด็จพระเจ้าหงสาวดีๆ ตรัสถามเสนาบดีว่าพระนเรศวรออกมาทำเป็นอย่างทหารดังนี้ เหมือนหนึ่งเอาพิมเสนมาแลกเกลือ พระราชบิดานั้นจะรู้หรือหาไม่ เสนาบดีกราบทูลว่า เห็นพระราชบิดาจะไม่รู้ ถ้ารู้แล้วเห็นจะมิให้ออกมาทำ

ด้านล่างเป็นฉากหนึ่งในหนังของท่านมุ้ย ทรงสร้างค่ายไว้เสียสูงลิบ สมเด็จพระนเรศวรคงไม่สามารถปีนขึ้นไปแล้วถูกแทงตกลงมาเป็นหลายครั้งแน่ 


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 248  เมื่อ 28 เม.ย. 11, 11:33

^
ผมสงสัยเกี่ยวกับการพาดบันไดขึ้นไปยังป้อมค่าย ผมคิดว่าถ้าปลายบันได ไม่มีขอไว้เกี่ยวกับค่าย คนด้านบนก็คงผลักบันไดออกจากตัวค่ายโดยง่าย น่าจะมีเหล็กขอสำหรับไว้เกี่ยวรั้งไว้นะครับ
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 249  เมื่อ 28 เม.ย. 11, 13:55

อนึ่งกรุงศรีอยุธยามีด่านขนอนคอยเหตุการณ์ต่างๆ
ตั้งอยู่ตามลำแม่น้ำรอบกรุงทั้ง ๔ ทิศ  ซึ่งเปน
ทางแม่น้ำใหญ่จะเข้ามาในพระนครนั้น
ทิศตวันออกตั้งด่านที่ตำบลบ้านเข้าม่านด่าน ๑
ทิศใต้ตั้งด่านที่ตำบลบ้านบาง.......(เอกสารขาด)ด่าน ๑
ทิศตวันตกตั้งด่านที่ตำบลบ้านปากคูด่าน ๑
ทิศเหนือตั้งด่านที่ตำบลบ้าน..........(เอกสารขาด)ด่าน ๑
รวมเปนด่าน ๔  ตำบล เรียกท่าขนอนหลวง ๔ ทิศรอบกรุง
มีขุนด่านหมื่นขนอนและไพร่หลวงรักษาด่าน
นาย ๒  ไพร่ ๒....... (เอกสารขาด) ในเดือนหนึ่งผลัดเปลี่ยนเวียน
เวรละ  ๑๕  วัน   สำหรับตรวจตราของต้องห้ามตามกฎหมาย
และเครื่องศาสตราวุธที่แปลกประหลาด  แลผู้คนที่แปลก
............(เอกสารขาด)ออก  ต้องทักท้วงไต่ถามตามเหตุการณ์
ที่ด่านทั้ง ๔  ตำบลนั้น  มี.........(เอกสารขาด)ไว้สำหรับคอย
บอกเหตุการณ์มาในกรุง

คัดลอกตามต้นฉบับ
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 250  เมื่อ 28 เม.ย. 11, 14:28

การที่พระยาจีนจันตุล่องสำเภาลงมาโดยไม่มีพวกด่านจับได้นั้น
สันนิษฐานได้หลายประการ

๑.พระยาจีนจันตุอาศัยอยู่นอกด่านขนอนลงมาทางใต้
ทำให้กว่าชาวด่านจะรู้ว่าพระยาจีนจันตุล่องสำเภาหนีลงมาแล้ว
พระยาจีนจันตุก็เดินทางล่วงมาหลายได้เส้น
และลำพังชาวด่านที่เข้าเดือนเวียนเวรกัน ๑๕ วัน
มีนาย ๒ ไพร่เข้าเวร ๑๕ คน  กับเรือเล็กและอาวุธเบาที่ไม่ร้ายแรง
ย่อมไม่สามารถหยุดยั้งเรือพระยาจีนจันตุได้

๒.ในพระราชพงศาวดารบอกว่า
...สมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้าก็เสด็จยกทัพเรือตามพระยาจีนจันตุ
ลงไปในเพลากลางคืนนั้น แล้วตรัสให้ เรือประตู เรือกัน และเรือท้าวพระยาทั้งหลาย
เข้าล้อมสาเภาพระยาจีนจันตุ และได้รบพุ่งกันป็นสามารถ
พระยาจีนจันตุก็ให้โล้สำเภาไปกลางน้ำ...

แสดงว่า  พระยาจีนจันตุไม่ได้ล่องสำเภามากลางแม่น้ำ
แต่ล่องเลาะริมตลิ่งมาตลอดทาง   ทำไมพระยาจีนจันตุถึงทำอย่างนั้น
สันนิษฐานว่า   ถ้าล่องสำเภามากลางน้ำ ย่อมเป็นสังเกตได้ง่าย
เพราะปกติสำเภาพ่อค้าคงจะไม่ได้ล่องขึ้นลงในเวลากลางคืน
ฉะนั้นจึงล่องสำเภามาใกล้ตลิ่ง  ซึ่งก็เสี่ยงที่ชนตลิ่งอยู่ไม่น้อย
และยิ่งแม่น้ำเจ้าพระยาที่ที่คดที่โค้งหลายแห่ง   การล่องมาเวลากลางคืน
ที่พระจันทร์ไม่สว่าง  (ขึ้น  ๔ ค่ำ ) โอกาสที่จะไปชนตลิ่งย่อมมีมาก
ซึ่งแม้ในฤดูกาลจะมีลม  แต่คิดว่าพระยาจีนจันตุคงจะไม่ได้ใช้ใบ
เพราะการล่องสำเภาใกล้ตลิ่งโดยใช้ใบก็ยิ่งจะทำให้ชนตลิ่งง่ายเข้าไปอีก

ฉะนั้นวิธีการดีที่สุดคือ โล้  (จะโล้อย่างไรเชิญเลือกเอาตามใจชอบ)
หรือถ่อสำเภาให้แล่นเลียบตลิ่งไป  ยิ่งในคืนเดือนไม่สว่างเช่นนี้
คงไม่เป็นที่สังเกตได้ง่ายนั้น   เพราะริมฝั่งส่วนใหญ่ก็เป็นที่รกมากแห่ง
อีกทั้งสำเภาพ่อค้าที่มีอยู่รายทางลำน้ำก็คงพอมีบ้าง


แต่เมื่อเรือสมเด็จพระนเรศวรตามมาทัน  การจะโล้สำเภาเลียบฝั่ง
ย่อมไม่ปลอดภัยหนีไม่ทันแน่  พระยาจีนจันตุจึงให้โล้สำเภา
ออกไปกลางแม่น้ำ   เข้าใจว่า  ตอนนี้คงจะใช้ใบและให้กระแสน้ำ
ช่วยเดินเรือให้เร็วขึ้น  (คิดว่าตอนนั้น น้ำคงกำลังลง)
เมื่อเป็นเช่นนี้  สำเภาพระยาจีนจันตุก็แล่นได้เร็ว  และคงจะทิ้งระยะ
กับกองเรือสมเด็จพระนเรศวร   พระองค์จึงให้เรือเล็กไปล้อมสำเภา
แต่ก็แปลกใจว่า  ก็ในเมื่อล้อมสำเภาได้แต่ทำไมขึ้นสำเภาไม่ได้เลย
ทั้งที่กำลังคนและความเร็วกับความคล่องว่องไวของเรือเล็กน่าดีกว่าสำเภา
บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 251  เมื่อ 28 เม.ย. 11, 15:17

^
ผมสงสัยเกี่ยวกับการพาดบันไดขึ้นไปยังป้อมค่าย ผมคิดว่าถ้าปลายบันได ไม่มีขอไว้เกี่ยวกับค่าย คนด้านบนก็คงผลักบันไดออกจากตัวค่ายโดยง่าย น่าจะมีเหล็กขอสำหรับไว้เกี่ยวรั้งไว้นะครับ

ผมว่าถึงมีตะขอเกี่ยวไว้กับเสาระเนียดค่าย ข้าศึกก็คงหาหนทางผลักออกมาได้กระมั้งคุณไซมีส
ทหารพม่าคงไม่อยากให้ทหารไทยปีนขึ้นค่ายได้หรอก
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 252  เมื่อ 28 เม.ย. 11, 15:28

^
ผมสงสัยเกี่ยวกับการพาดบันไดขึ้นไปยังป้อมค่าย ผมคิดว่าถ้าปลายบันได ไม่มีขอไว้เกี่ยวกับค่าย คนด้านบนก็คงผลักบันไดออกจากตัวค่ายโดยง่าย น่าจะมีเหล็กขอสำหรับไว้เกี่ยวรั้งไว้นะครับ

ผมว่าถึงมีตะขอเกี่ยวไว้กับเสาระเนียดค่าย ข้าศึกก็คงหาหนทางผลักออกมาได้กระมั้งคุณไซมีส
ทหารพม่าคงไม่อยากให้ทหารไทยปีนขึ้นค่ายได้หรอก

อันนี้ไม่เถียงว่าเขาต้องหาทางยกออก แต่เราก็ประวิงเวลาได้ ไม่ใช่พาดไป เขาก็ผลักออก นี่การรบนะ ไม่ใช่เล่นกายกรรม คือการที่คิดว่ามีตะขอสับไว้ เมื่อมีการปีน น้ำหนักของตัวเราจะเพิ่มน้ำหนักให้กับบันได หากทหารข้าศึกจะผลักบันไดออกก็ต้องยกบันไดออกเพราะติดตะขอที่เกี่ยวไว้ ทำได้รื้อบันไดยากกว่า แถมยังด้านล้างมีคนหน่วงไว้ หรืออีกทางหนึ่งจัดดาบฟันไปที่บันไดให้หักลงเสียเลย

หากมีตัวช่วยเช่น ทรายร้อน น้ำร้อน น้ำมันดิน ราดลงไปก็ช่วยพ้นภาระคนปีนขึ้นบันไดได้นะขอรับ
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 253  เมื่อ 28 เม.ย. 11, 15:30

^
ผมสงสัยเกี่ยวกับการพาดบันไดขึ้นไปยังป้อมค่าย ผมคิดว่าถ้าปลายบันได ไม่มีขอไว้เกี่ยวกับค่าย คนด้านบนก็คงผลักบันไดออกจากตัวค่ายโดยง่าย น่าจะมีเหล็กขอสำหรับไว้เกี่ยวรั้งไว้นะครับ

ผมว่าถึงมีตะขอเกี่ยวไว้กับเสาระเนียดค่าย ข้าศึกก็คงหาหนทางผลักออกมาได้กระมั้งคุณไซมีส
ทหารพม่าคงไม่อยากให้ทหารไทยปีนขึ้นค่ายได้หรอก

อ๋อ  เขาเตรียมคั่วทรายรอไว้แล้ว  มาถึงก็เทลงไป
บางทีก็ทิ้งหม้อดินระเบิด ตูมเดียววิ่งกันกระจาย

ก่อนที่จะเอาบันไดไปพาดเสาระเนียดค่ายได้  
คงต้องมีออเดิฟนำทางก่อน  เช่น  ปืนใหญ่
ธนูไฟ เป็นต้น

เพื่อให้ในค่ายอลเวง  ละทิ้งเชิงเทินค่ายไปดับไฟ
จากนั้นค่อยประชิดกำแพงค่าย

หรือไม่อย่างนั้น  ให้ข้าศึกเผลอ  ก็ลอบเข้าใกล้ค่าย
สบจังหวะก็ปีนเข้าปล้นค่ายให้ข้าศึกตั้งรับไม่ทัน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 254  เมื่อ 28 เม.ย. 11, 15:36

มันมีบันไดทำด้วยไม้ อยู่ชนิดหนึ่ง เรียกว่า belfry  ฝรั่งใช้มาตั้งแต่ยุคกลางสำหรับปีนกำแพงปราสาทฝ่ายข้าศึก   เป็นบันไดแบบ ladder  (คือบันไดที่ช่างทาสีใช้กัน)
แต่เบลฟรายต่างจาก ladder ตรงที่ไม่ใช้พิงกำแพง หรือเป็นขาหยั่ง  แต่มีฐานตั้งบนพื้น  ด้านข้างเป็นไม้กระดานตั้งฉาก  และมีบันไดพาดข้างในอีกที    เมื่อปีนขึ้นไป ข้าศึกบนเชิงเทินผลักยังไงก็ไม่ล้ม  เพราะบันไดชนิดนี้ยันพื้นอยู่แล้ว
นอกจากนี้ belfry แบบปิด  จะมีไม้กระดานปิดข้างอีกด้าน   คนปีนอยู่ข้างใน    ปีนขึ้นไปถึงเชิงเทินได้    ข้าศึกยิงไม่ถนัด    จึงเรียกอีกอย่างว่า ป้อมเคลื่อนที่
เมื่อเลิกรบกันแล้ว   ป้อมเคลื่อนที่ก็เปลี่ยนเป็นป้อมประจำที่    ความหมายของ belfry ก็กลายไปเป็นอย่างที่เราเห็นกันในปัจจุบัน

ไม่ได้ยืนยันว่าสมเด็จพระนเรศวรทรงใช้ belfry เพราะไม่มีหลักฐานให้เห็น      แต่ถ้าถามความเป็นไปได้   โปรตุเกสเข้ามาในเอเชียอาคเนย์แล้ว จนไทยและพม่ามีปืนไฟใช้    ถ้าพวกนี้จะออกไอเดียสร้าง belfry ขายให้กองทัพอยุธยาบ้าง  ก็หาวัตถุดิบไม่ยาก    ไม้ในป่ามีเหลือเฟือ     เขียนแบบให้กองทัพอยุธยาดู แล้วให้ไปหาไม้มาทำ  ก็สามารถทำได้ตอนล้อมเมืองอยู่น่ะแหละ  ไม่ต้องแบกไปจากกรุงศรีอยุธยา

ภาพตัวอย่าง belfry ที่เจอในกูเกิ้ล เล็กนิดเดียว  คงพอมองเห็นหน้าตานะคะ


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 15 16 [17] 18 19 ... 23
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.069 วินาที กับ 20 คำสั่ง