เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 14 15 [16] 17 18 ... 23
  พิมพ์  
อ่าน: 164781 ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 225  เมื่อ 27 เม.ย. 11, 16:15

คุณหลวงเล็กน่าจะย้อนกลับไปอ่านที่ผมเขียนไว้ต้นๆสักรอบหนึ่ง
จะเห็นว่า ความสงสัยของคุณก็เหมือนๆกับที่ผมสงสัยและเสนอข้อสันนิฐานไปแล้ว

แต่ใครจะเห็นด้วย ไม่เห็นด้วย หรือจะมีความเห็นอย่างอื่น เช่นไม่ได้เสด็จตามมาด้วยเรือ แต่ทรงม้าตามมาแล้วมาหาเรือแถวนี้ตามล่าเรือสำเภาต่อไป ก็เชิญสนุกสนานกันตามสบาย ผมไม่ว่ากระไรอยู่แล้ว
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 226  เมื่อ 27 เม.ย. 11, 16:15

สงสัยครับคุณหลวงเล็ก

๑.โล้,  คือเอาไม้ใส่เข้าที่ท้ายเรือสำป้านแล้วคนหลายคนช่วยกันผลักกะเดือกไป.
   แบบนี้เหมือนถ่อเรือหรือไม่ เพราะมีอาการผลักกะเดือกไป หรือว่า ไม้แกว่งไปมาในน้ำ ทำกิริยาแกว่งอย่างครีบปลา

๒. โล้ นอกจากโล้เรือ โล้ชิงช้าแล้ว...พอรู้จัก "มะพร้าวขี้โล้" ไหมครับ  ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม

๑.  ผมคิดว่า  มันก็คือการถ่อนั่นแหละ  เพียงแต่การถ่อ ที่เรียกว่า โล้ ของสำเภา
ไม่ได้ถ่อที่ข้างเรือ   แต่มาถ่อดันสำเภาที่ท้ายสำเภาที่เดียว  เพื่อให้สำเภาเคลื่อนที่เร็วขึ้น
สำเภาพระยาจีนจันตุ  คงโล้หนีมาตามลำน้ำ  โดยโล้เลียบใกล้ฝั่งตลิ่ง
เพื่อให้ไม่ตัองหยั่งไม้ถ่อลึกนัก  สำเภาจะได้แล่นเร็วยิ่งขึ้น


๒. "มะพร้าวขี้โล้"  ไม่รู้จัก  พาออกนอกประเด็นอีกแล้ว  รู้จักแต่น้ำมันขี้โล้น่ะ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 227  เมื่อ 27 เม.ย. 11, 16:17

เข้าไปดูการถ่อ แจว โล้ ที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามบ้าง

ภาพที่ ๑
วัดเอ๋ยวัดโบสถ์..................ตาลโตนดเจ็ดต้น
         เจ้าขุนทองไปปล้น..................ป่านฉะนี้ไม่เห็นมา
        คดข้าวใส่ห่อ...........................ถ่อเรือไปหา
        เขาก็ร่ำลือว่า...........................เจ้าขุนทองตายแล้ว

ภาพที่ ๒
......เหลือแต่กระดูกแก้ว..........เมียรักจะไปปลง
        เจ้าขุนศรีถือฉัตร.....................ยกกระบัตรถือธง
        ถือไถ้พายเรือหงษ์...................จะไปปลงศพเจ้านา

ภาพที่ ๓
.........จิงเอ๋ยจิงโจ้          มาโล้สำเภา
               หมาไนไล่เห่า            จิงโจ้ตกน้ำ
               หมาไนไล่ซ้ำ             จิงโจ้ดำหนี
              เอากล้วยสองหวี          รับขวัญจิงโจ้







บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 228  เมื่อ 27 เม.ย. 11, 16:22

โล้เรือ และแจวเรือ ใช้แรงที่พายกระทำกับน้ำ ผลักเรือให้เรือเคลื่อนที่ไปข้างหน้า

ถ่อเรือ เขาใช้ลำไม้ไฝ่ แทงลงไปถึงพื้นดินใต้น้ำ แล้วยันไปให้เรือเคลื่อนที่ไปข้างหน้า
ขอนำภาพถ่ายสุดคลาสสิกของอาจารย์จิตร จงมั่นคง มาอธิบายให้ชม



บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 229  เมื่อ 27 เม.ย. 11, 16:33

แก้เครียดสักหน่อย


บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 230  เมื่อ 27 เม.ย. 11, 16:41

คุณหลวงเล็กน่าจะย้อนกลับไปอ่านที่ผมเขียนไว้ต้นๆสักรอบหนึ่ง
จะเห็นว่า ความสงสัยของคุณก็เหมือนๆกับที่ผมสงสัยและเสนอข้อสันนิฐานไปแล้ว

แต่ใครจะเห็นด้วย ไม่เห็นด้วย หรือจะมีความเห็นอย่างอื่น เช่นไม่ได้เสด็จตามมาด้วยเรือ แต่ทรงม้าตามมาแล้วมาหาเรือแถวนี้ตามล่าเรือสำเภาต่อไป ก็เชิญสนุกสนานกันตามสบาย ผมไม่ว่ากระไรอยู่แล้ว

กระทู้ยาวนี้หลายหน้า  ดีว่ามีรูปมาให้พักสายตาหลายรูป
จะให้ผมย้อนกลับอ่านอีกรอบนั้น  ผมขอคิดดูก่อนนะ
เพราะจริงๆ ผมก็ตามสังเกตการณ์มาตลอด
ที่เข้ามานี่  ก็เห็นว่ากระทู้นี้ดี  คนตั้งกระทู้ก็เป็นคนที่สนใจประวัติศาสตร์
เข้าใจหาประเด็นมาอภิปราย   คนที่เข้ามาตอบต่อกระทู้ก็ขยันขันแข็ง
ที่จะหาข้อมูลมาอภิปราย   มาถกเถียง 
ส่วนใครคนใดเห็นด้วยหรือไม่
ก็ไม่ใช่เรื่องสำคัญ  เพราะไม่ได้มุ่งหมายหักล้างให้ใครเจ็บช้ำน้ำใจ
แต่มุ่งหาความเป็นไปได้ในเหตุการณ์ที่ผ่านมาแล้วหลายร้อยปี
ตามกำลังสติปัญญาและเอกสารข้อมูลที่หาได้ 

ตัวผมเองถือว่าการได้แลกเปลี่ยนข้อมูลกัน เป็นปกติของการสนทนาของผู้ใฝ่รู้
เพราะแต่ละคนอ่านหนังสือมาไม่เท่ากัน  คนละทางคนละแนว
ผมไม่ถนัดเรื่องปืน  เรื่องเรือก็พอรู้บ้าง   และไม่คิดว่าตนเองถูกทั้งหมด
ใครว่าอย่างไรถ้าเห็นว่าเข้าท่าน่าฟัง  ก็รับความคิด
แต่ถ้ายังเห็นว่า  ยังมีที่สงสัยก็จะตั้งคำถามให้แก้สงสัย
ส่วนยอมรับได้หรือไม่นั้น  จะไม่ปรากฏในน้ำเสียงและถ้อยคำของผมในกระทู้เด็ดขาด
จะมีก็แต่การยั่วล้อกันบ้างเพื่อคลายเครียด (อย่างที่คุณไซมีสทำ)
ขอบคุณคุณNAVARAT.C
สำหรับการถกเถียงเรื่องการโล้สำเภา


 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 231  เมื่อ 27 เม.ย. 11, 17:13

เรื่องโล้นี่ต้องกลับไปดูที่ที่มา คือเรือสำปั้นก่อนครับ

เรือสำปั้น เป็นเรือที่ใช้กันทั่วไปในแถบนี้ นัยว่าเริ่มมาจากที่เมืองจีนก่อน ชื่อสำปั้นก็มาจากชื่อจีนว่า 三板 อ่านอย่างจีนกลางว่า ซานป่าน ถ้าเป็นสำเนียงแต้จิ๋วก็ ซำปั้ง ซึ่งน่าจะเป็นที่มาของชื่อสำปั้นที่เราพูดถึงกันอยู่นะครับ

คำว่า 三板 นี้แปลว่ากระดานสามแผ่น คือแต่เริ่มเดิมที เรือชนิดนี้ทำจากกระดานสามแผ่นเรียงกัน ขนาดจึงค่อนข้างจะแน่นอนว่าไม่ใหญ่ไม่เล็ก ถ้าคนหลายคนช่วยกัน "โล้" แบบหมอบรัดเลก็น่าสงสัยว่าจะโล้กันท่าไหน หลายคนที่ว่านั้นกี่คน? อย่างน้อยคงต้องสาม อย่างมากกำหนดไม่ถูก แต่แค่สามคนไปยืนกองกันท้ายเรือสำปั้น ยังไม่ทันได้ทำอะไรก็เกรงว่าจะต้องตกน้ำไปสักคนเป็นอย่างน้อยแล้วครับ  ยิงฟันยิ้ม

ที่มาของคำว่าโล้นั้นยิ่งน่าสนใจ และเป็นกุญแจไขสู่คำตอบของเรื่องนี้ได้อย่างชัดเจน

เรือสำปั้นนั้น จะมีแจวยึดอยู่กับหลักแจวทางท้ายเรือ เวลาใช้งานจะต้องโยกแจวอันนี้ไปมาซ้ายขวาอย่างลำตัวปลาเวลาว่ายน้ำ กริยานี้เป็นอย่างที่รอยอินบอกว่าคือการ "โล้" นี่แหละครับ ภาษาจีนจะว่า 摇橹 จีนกลางอ่านว่า เหยาหลู่ กวางตุ้งว่า ยิ่วโหลว พวกฮกเกี้ยน-แต้จิ๋วออกเสียงคล้ายกันว่า เอี่ยวโล่ ฝรั่งเอาคำนี้ไปใช้ โดยเขียนว่า yuloh ครับ

ทั้งนี้คำว่า "เอี่ยว" นั้นแปลว่าโยก ส่วน "โล่" แปลว่าแจว(คำนาม) ครับ
 
เห็นได้ว่า คำว่า "โล้" มาจากว่า "เอี่ยวโล่" ซึ่งเป็นคำกริยาโดยตัดคำหน้าทิ้ง คำว่า โล่(นาม) ในภาษาจีน จึงกลายมาเป็น โล้(กริยา) ในภาษาไทยด้วยประการฉะนี้เองครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 232  เมื่อ 27 เม.ย. 11, 19:25

เรือสำปั้นนั้น จะมีแจวยึดอยู่กับหลักแจวทางท้ายเรือ เวลาใช้งานจะต้องโยกแจวอันนี้ไปมาซ้ายขวาอย่างลำตัวปลาเวลาว่ายน้ำ กริยานี้เป็นอย่างที่รอยอินบอกว่าคือการ "โล้" นี่แหละครับ ภาษาจีนจะว่า 摇橹 จีนกลางอ่านว่า เหยาหลู่ กวางตุ้งว่า ยิ่วโหลว พวกฮกเกี้ยน-แต้จิ๋วออกเสียงคล้ายกันว่า เอี่ยวโล่ ฝรั่งเอาคำนี้ไปใช้ โดยเขียนว่า yuloh ครับ


ลองหาภาพเคลื่อนไหวตามที่แนะนำมาได้ภาพการแข่งขันโล้เรือมาฝากครับ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 233  เมื่อ 27 เม.ย. 11, 20:02

เรื่องสมเด็จพระนเรศวรตามจับพระยาจีนจันตุนี้ มีโคลงพระราชนิพนธิ์ของสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯบรรยายภาพไว้ว่า


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 234  เมื่อ 27 เม.ย. 11, 20:09

^
^
ภาพที่๓ สมเด็จพระนเรศวรตามจับพระยาจีนจันตุ


รัชกาลที่ ๕ ทรงมีพระราชนิพนธ์บรรยายภาพนี้ไว้ว่า

พระยาจันจันตุข้า          ขอมขุน
มาสู่กรุงมุ่งบุญ             ปกเผ้า
ปิ่นภพกอบการุญ          รับปลูก เลี้ยงแฮ
ยกโทษโปรดเกษเกล้า    ห่อนพ้องจองไภย

กลับใจจักสู่เจ้า            ปถพี ตนแฮ
สืบทราบการธานี          ใหญ่น้อย
หวังสยายถ่ายทอดมี      มาแต่ หลังนา
สู่สเภาค่ำคล้อย           ลอบโล้ครรไลย

พระดนัยนเรศวร์แจ้ง      เหตุรหัศ
ทรงพระชลยานรัด        รีบร้น
พร้อมเรือนิกรขนัด       ขนาบไล่ สเภาแฮ
ทรงพระแสงปืนต้น       ลั่นต้องจีนตาย
 
ตัวนายกัมพุชจ้อง        วางปืน มานา
ต้องพระแสงทรงราง     ลั่นร้าว
รบพลางรีบหนีพลาง     เรือตก ลึกเฮย
ลมเกิดกางใบก้าว        ล่องลี้หายลำ
 
http://161.200.145.33/rarebook-ft/doc.asp?dirid=I0037&page=0028&dirname=โคลงภาพพระราชพงศาวดาร



บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 235  เมื่อ 27 เม.ย. 11, 20:15

ทรงใช้คำว่า“โล้”
ซึ่งผมรู้สึกว่าคนไทยจะเรียกกิริยาที่คนจีนยืนใช้ไม้พาย ฉวัดเฉวียนน้ำให้เรือวิ่งไปข้างหน้าว่าโล้หมด ไม่ว่าจะใบพายจะอยู่ที่กราบเรือที่ควรเรียกว่าแจว หรืออยู่ท้ายเรือที่ควรเรียกว่าโล้ก็ตาม

ผมเอารูปเรือสำเภาจีน ที่ติดพายข้างกราบเรือมาให้ดู จะเห็นว่าใช้คนยืนแจวเป็นแถว ทั้งสองด้าน




บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 236  เมื่อ 27 เม.ย. 11, 20:17

ส่วนอีกรูปหนึ่ง เป็นพายขนาดใหญ่ ใช้คัดท้ายแทนหางเสือ หรือหากจำเป็น อาจใช้สองสามคนช่วยกันโล้ ได้เหมือนกัน

เราไม่ทราบว่าเรือพระยาจีนจันตุใช้อะไรแน่ แต่ไม่ได้ใช้ไม้ถ่อไปยืนถ่ออยู่ท้ายเรือแน่ เพราะการทำเช่นนั้นไม่สามารถกระทำได้ขณะเรือวิ่ง การถ่อ จะใช้ไม้ปักไปข้างหน้าก่อน แล้วรอจนไม้ยกตัวขึ้น พอพ้นแนวตั้งฉากจึงจะออกแรง ถ่อให้เรือวิ่งไปข้างหน้าต่อเนื่อง ดังนั้น การถ่อจะต้องยืนถ่อที่กราบเรือเท่านั้น
เรือข้าวสมัยก่อนถึงกับทำกราบเรือให้กว้างพอที่คนถ่อเรือ จะเดินถ่อตั้งแต่หัวเรือมาจรดท้ายเรือ เมื่อสุดกราบแล้ว ก็เดินลากถ่อมาเริ่มต้นที่หัวเรือใหม่

ส่วนใหญ่การถ่อจะใช้เฉพาะเขตน้ำตื้น เช่นในคลอง ส่วนแม่น้ำนั้นลึกเกินด้ามถ่อ ใช้วิธีนี้ไม่ได้ ดังนั้น ข้อสันนิฐานที่ว่าเรือพระยาจีนจันตุอาจจะใช้การถ่อที่ท้ายเรือนั้น ตัดไปได้เลย


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 237  เมื่อ 27 เม.ย. 11, 20:22

อ. NAVARAT.C ดูภาพเรือนี้ เร็วใช้นะครับ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 238  เมื่อ 27 เม.ย. 11, 20:23

ภาพนี้ สตรีก็โล้ได้


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 239  เมื่อ 27 เม.ย. 11, 21:16

พวกเล่นเรือใบจะบัญญัติศัพท์ไว้ดังนี้นะครับ

ลมเบา คือลมที่มีความเร็ว 5 - 8 น๊อต หรือ 9-15 กม./ชม. ( 1 น๊อตเท่ากับ 1.85กม./ชม. )
ลมปานกลาง คือลมที่มีความเร็ว 8 - 12น๊อตหรือ15-22 กม./ชม.
ลมแรง คือลมที่มีความเร็ว 12น๊อต หรือ22กม./ชม.ขึ้นไป

ในภาพของคุณหนุ่มสยาม ลมแรงจนเกือบจะเป็นพายุแล้วนะครับ เรือใบจึงวิ่งฉิวไปเลย

ในฤดูหนาว ช่วงธันวาคมที่พระยาจีนจันตุหนี ลมตะวันออกเฉียงเหนือ มีความเร็วเฉลี่ย 15-30 กม./ชม (ข้อมูลจากกรมอุตุฯ)
แต่มิได้หมายความว่าความเร็วลมเท่าไหร่ เรือใบจะวิ่งได้เท่านั้นนะครับ จะต้องมาหักด้วยน้ำหนักเรือ พื้นที่ของใบเรือ รูปทรงของเรือ และที่สำคัญ การวิ่งเฉียงลม หรือทวนลมในบางครั้ง ทำให้ความเร็วเฉลี่ยของเรือ จะทำได้ประมาณครึ่งนึง

ผมเคยเขียนไว้ว่า ความเร็วเรือสำเภาของพระยาจีนจันตุน่าจะเฉลี่ยประมาณ๘น๊อต หรือประมาณ๑๕ กม./ชม. ก็เร็วพอสมควร ใช้ลมอย่างเดียวไม่ต้องโล้ก็ได้ แต่ในระยะสั้นแพ้เรือเร็วของสมเด็จพระนเรศวรแน่ไม่ต้องสงสัย

ดังนั้น เรือสำเภาจึงต้องออกล่วงหน้ามานาน จนเรือเร็วตามมาแค่เกือบจะทันกันแบบเห็นหลังไวไวเท่านั้น คงจะไม่ใช่ทันแบบประกบลำกันนะครับ ผมว่า เพราะถ้าประกบลำกันได้จริงๆ พระยาจีนจันตุเสร็จทหารของสมเด็จพระนเรศวรร้อยเปอร์เชนต์
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 14 15 [16] 17 18 ... 23
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.071 วินาที กับ 20 คำสั่ง