เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 11 12 [13] 14 15 ... 23
  พิมพ์  
อ่าน: 164800 ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 180  เมื่อ 25 เม.ย. 11, 12:59

จากเวปของสารคดีเช่นกัน

คูเมืองตองอูซึ่งทำหน้าที่ป้องกันข้าศึกในอดีต ปัจจุบันยังปรากฏให้เห็นร่องรอยอย่างชัดเจนทั้ง ๔ ทิศ พงศาวดารไทยระบุว่าคูเมืองนี้เป็นอุปสรรคในการเข้าตีจนสมเด็จพระนเรศวรโปรดให้ขุดคลองขึ้นสายหนึ่งเพื่อระบายน้ำจากคูเมืองไปลงแม่น้ำสะโตง เรียกกันต่อมาว่า “คลองโยเดีย” หรือ “เหมืองสยาม” ปัจจุบันคลองดังกล่าวไม่ปรากฏให้เห็นแล้ว


ภาพที่นำมาแสดงคือภาพแม่น้ำสะโตงที่ไหลผ่านหน้ากำแพงเมือง


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 181  เมื่อ 25 เม.ย. 11, 13:06

เรามาดูภาพถ่ายจากดาวเทียมกัน ผมอยากจะรู้ว่าคลองโยเดียที่สมเด็จพระนเรศวรขุด น่าจะอยู่ตรงไหน ขอเชิญคุณหนุ่มสยามลองช่วยวิเคราะห์ดูหน่อย


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 182  เมื่อ 25 เม.ย. 11, 13:09

รูปสมเด็จพระนเรศวรประทับช้างพระที่นั่ง เสด็จเหยียบเมืองหงสาวดี จากจิตรกรรมฝาผนังวัดสุวรรณดาราราม จังหวัดอยุธยา

อ.ครับ ผมสงสัยมานานแล้วว่า เกิดอะไรขึ้นกับประตูเมืองที่พระนเรศวรเข้าเมือง  ฮืม
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 183  เมื่อ 25 เม.ย. 11, 13:18

^
ภาพวาดน่ะครับ สงสัยจิตรกรคงมีมโนภาพว่าโดนลูกปืนใหญ่มั้ง
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 184  เมื่อ 25 เม.ย. 11, 13:21

นี่ ได้ภาพถ่ายคูเมืองตองอูมาฝาก
ดูซิครับ ใหญ่ขนาดนี้กองทัพพระนเรศวรจึงทำอะไรไม่ได้


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 185  เมื่อ 25 เม.ย. 11, 13:41

เรามาดูภาพถ่ายจากดาวเทียมกัน ผมอยากจะรู้ว่าคลองโยเดียที่สมเด็จพระนเรศวรขุด น่าจะอยู่ตรงไหน ขอเชิญคุณหนุ่มสยามลองช่วยวิเคราะห์ดูหน่อย

ยินดีช่วยวิเคราะห์ ค่ำนี้จะส่องดูให้ เพียงแต่สงสัยว่า พระองค์ทรงให้ขุดคลองเพื่อนำน้ำออกจากคูเมืองเพื่อให้น้ำแห้ง และจะได้ยกพลเข้าเมือง
๑. เมื่อน้ำแห้งแล้วจะบุกเข้าเมืองได้อย่างไร ในเมื่อต้องลงไปในบ่อ แล้วต้องปีนขึ้นไปยังพื้นดินเดิม กลับเป็นภาระปีนสูงขึ้น ไต่บันได้ขึ้นไปอีก
๒. หรือระบายน้ำออกเพื่อให้งวดนิดหน่อย
๓. หากกลับกันระดับน้ำในคูเมืองเกิดต่ำกว่าระดับน้ำในแม่น้ำสะโตง น้ำก็จะไหลเข้าท่วมเมือง (ซึ่งข้อนี้ตกไป เนื่องจากในพงศาวดาระบุว่า ขุดคลองระบายน้ำออก)
๔. เมื่อน้ำงวดแห้งแล้วพื้นดินย่อมเป็นขี้เลน ขี้โคลน เดินเท้าไม่ได้ ต้องใช้ไม้กระดานแพไม้ไผ่ปูทอดข้ามไป ก็ไม่ต่างอะไรกับทำแพลอยน้ำข้ามไป

อันนี้ได้จากเวปจ่ากองร้อย อธิบายไว้ว่าเอาน้ำในคูเมือง ระบายออกไปซึ่งคูเมืองลึกมาก และล้อมเมืองไว้ ๓ เดือน (ให้เกิดการขาดน้ำนั่นเอง)

"ดูหนังท่านมุ้ยอย่าคิดมากครับ  ท่านทรงโปรดของท่าน

อย่างเช่นชุดเกราะ  หรือช้างรบผูกสัปคับ(กรมฯนริศ  ท่านมีพระวินิจฉัยมานานแล้วครับ ว่าผูกไม่ได้ ขืนผูกช้างชนกันโครมเดียว จอมพลร่วงลงมาแอ้งแม้งแน่)

อีกอย่างมอญ-พม่าน่ะพูดไทยชัดแจ๋วทุกคน  แต่บางฉากท่านโปรดให้พูดมอญ-พม่าซะงั้น

และแหะๆ ท่านทรงเนรมิตหงสาวดีซะสุดสวย  (เอาแบบมาจากมัณฑเลย์)แต่กรุงศรีอยุธยา ใครๆก็ทราบว่าเป็นเกาะ  แต่กรุงศรีฯของท่านมุ้ย  ไม่มีแม่น้ำครับ  วิ่งเข้าเมืองได้เลย

พิษณุโลก ใครก็ทราบว่าเป็นเมืองอกแตก  มีแม่น้ำผ่ากลางเมือง  แต่พิษณุโลกของท่านมุ้ย  ไม่มีแม่น้ำเช่นเคย

http://www.iseehistory.com/index.php?lay=boardshow&ac=webboard_show&No=1229539&WBntype=1
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 186  เมื่อ 25 เม.ย. 11, 14:40

เชิญเสด็จท่านมุ้ยตามพระทัยไปก่อน …..

สมมติฐานเรื่องตองอูของคุณหนุ่มสยามตรงกับใจของผมเมื่อครั้งแรกเห็นแผนที่ของกูเกิลหลายปีมาแล้ว แต่ไม่สามารถหาคำตอบให้ตนเองได้เลย

ตอนเด็กๆคิดว่าตองอูอยู่บนภูเขา ต้องขุดคูยาวพอสมควรเพื่อระบายน้ำออกจากคูเมือง แต่น้ำก็จะไหลลงที่ต่ำได้โดยง่าย จากนั้น ทหารก็คงต้องลุยโคลนบ้างเพื่อเข้าประชิดกำแพงเมืองอย่างในภาพเขียน

พอมาเห็นภาพถ่ายทางอากาศ ตองอูอยู่บนที่ราบระหว่างเทือกเขา แต่เป็นทำเลยุทธศาสตร์ที่ยอดเยี่ยม ปราการที่จะป้องกันข้าศึกด่านแรกคือแม่น้ำที่โค้งเป็นคุ้ง ล้อมเมืองไว้หมดยกเว้นด้านตะวันตกเฉียงเหนือ ซึ่งศัตรูที่มาจากด้านนั้นน้อย เพราะทิวเขาเป็นกำแพงธรรมชาติอยู่ พวกไทยใหญ่ที่อยู่ถัดขึ้นไปก็ไม่เท่าไหร่ ส่วนทางด้านใต้คือหงสาวดี และราชอาณาจักรใหญ่ๆอื่นๆ ยังไงๆก็ต้องยกกองทัพผ่านลุ่มแม่น้ำสะโตงขึ้นมา สุดท้ายต้องมาข้ามแม่น้ำอันกว้างใหญ่ก่อนเข้าเมือง และพวกตองอูคงไม่นั่งงอมืองอเท้ารออยู่ ต้องออกไปตั้งค่ายรับยังจุดที่ข้าศึกจะข้ามมาอยู่แล้ว

สมมุติว่ากองทัพสมเด็จพระนเรศวรข้ามแม่น้ำไปได้ด้วยวิธีการใดก็ตาม ก็ต้องตีค่ายตั้งรับของพวกตองอูแตกด้วยจึงจะเข้าล้อมเมืองได้ แล้วไฉนเลยจะครณาแค่คูเมือง ข้ามแม่น้ำมาด้วยวิธีใดก็ใช้วิธีนั้นแหละข้ามคูเมืองไป

การขุดคูระบายน้ำ ทำไมต้องขุด คูเมืองใดๆก็ย่อมมีคูชักน้ำจากแม่น้ำลำธารให้ไหลเข้ามาเติมเต็มอยู่แล้ว ถ้านั่งรอแต่น้ำฝนคงไม่ได้การ ระยะแคบที่สุดระหว่างคูเมืองกับแม่น้ำก็สองร้อยหกสิบกว่าเมตรเอง แต่ถ้าจะเอาน้ำออก ก็เพียงแต่ถมคูชักน้ำนั้นแต่พอกั้นน้ำ แล้วก็วิดน้ำในคูเมืองออก อาศัยคูชักน้ำนั่นแหละระบายน้ำ มายังไงก็ไปอย่างงั้น แต่เป็นงานหนักตรงที่ต้องใช้แรงคนนี่แหละ ส่วนจะวิดไปทำไม นั่นเป็นอีกเรื่องนึง

แต่ถ้าทรงขุดคูไว้จริงก็ไม่ต้องไปหาร่องรอยอะไรหรอก พอทัพไทยให้หลัง พวกตองอูก็ต้องออกมาถม ไม่ทิ้งไว้ตั้งสี่ห้าร้อยปีหรอก


ครับ……เชิญวิสัชนา


บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 187  เมื่อ 25 เม.ย. 11, 15:19

ภาพคูเมืองตองอู เหมือนกับคูเมืองชียงใหม่มากค่ะ ใครสร้างก่อนใครคะ เกี่ยวพันกันไหมคะ  ฮืม


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 188  เมื่อ 25 เม.ย. 11, 16:04

ผังเมืองโบราณส่วนใหญ่จะมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมครับ เพราะง่ายต่อการแบ่งพื้นที่ภายในเมืองด้วย การที่คูเมืองเชียงใหม่จะไปคล้ายของพม่าน่าจะเป็นเรื่องบังเอิณ แม้ว่าพม่า ตั้งแต่สมัยพระเจ้าบุเรงนองจะเข้ามาปกครองเชียงใหม่อยู่ร่วมสองร้อยปีก็ตาม คูเมืองและผังเมือง น่าจะเกิดขึ้นก่อนช่วงนั้นนะครับ

ผมเอาผังเมืองหงสาวดีมาให้ดู


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 189  เมื่อ 25 เม.ย. 11, 16:05

แต่ก็ไม่แน่ แปรมีผังเมืองที่แนวกำแพงเมืองเป็นรูปไข่


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 190  เมื่อ 25 เม.ย. 11, 16:10

อังวะ
ถึงจะสี่เหลี่ยม แต่ก็ไม่เป็นรูปทรงเรขาคณิตเสียทีเดียว
สังเกตุที่แนวคูเมืองที่ยังทิ้งร่องรอยไว้นะครับ ตัวเมืองโบราณนั้นถูกทำลายราบเรียบไปแล้ว


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 191  เมื่อ 25 เม.ย. 11, 16:18

ทะวาย

สังเกตุว่ามีคูเมืองสองชั้น ชั้นในอาจจะเป็นแนวป้องกันวังเจ้าเมือง
เมืองโบราณของมอญนี้อยู่ห่างจากเมืองทะวายปัจจุบันไปนับสิบกิโล

สุดท้าย พม่าฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ และทำลายเมืองเสียสิ้น
เหลือเพียงซากปรักหักพังรกชัฏ


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 192  เมื่อ 25 เม.ย. 11, 16:49

รูบแบบของผังเมืองสมัยโบราณเช่น ทวารวดี จะมีรูปร่างรี กลม หรือ หอยสังข์ คือถือคติรูปเมืองให้มีความมงคลมีคูน้ำรอบ
แต่สมัยสุโขทัย-ล้านนา-พิษณุโลก การวางผังก็เป็นสี่เหลี่ยมพร้อมคูน้ำรอบ

นครวัด นครธม ก็วางผังเมืองเป็นสี่เหลี่ยม มีคูน้ำล้อมรอบ

พม่า ทั้งมัณฑเลย์ หงสาวดี ตองอู ย่างกุ้ง จัดระเบียบเมืองสี่เหลี่ยม มีคูน้ำล้อมรอบ

ประเทศจีน ตั้งแต่สมัยฉิน ฮั่น ซ้อง เรื่อยมาจนถึง ชิง ล้วนวางผังเมืองสีเหลี่ยมอย่างมีระเบียบพร้อมคูน้ำล้อมรอบ

ผมว่าวัฒนธรรมการสร้างบ้านแปลงเมืองนี้ ต้องมีกุนซือแนะนำนะ


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 193  เมื่อ 25 เม.ย. 11, 19:30

เรามาดูภาพถ่ายจากดาวเทียมกัน ผมอยากจะรู้ว่าคลองโยเดียที่สมเด็จพระนเรศวรขุด น่าจะอยู่ตรงไหน ขอเชิญคุณหนุ่มสยามลองช่วยวิเคราะห์ดูหน่อย

เข้าไปดูยังเมืองตองอู สวยงามมาก มีการจัดแบ่งถนนเหนือไปใต้ ตะวันออกไปตะวันตก บนคือทิศเหนือ ล่างคือทิศใต้ ด้านตะวันออกติดแม่น้ำ ประตูทางเข้าด้านตะวันออกมี ๔ จุด ด้านตะวันตกมี ๓ จุด ด้านเหนือมี ๑ จุด ด้านใต้มี ๔ จุด

ฝั่งตะวันตกมีสุสาน และในเมืองด้านตะวันตกเฉียงใต้มีบึงน้ำขนาดใหญ่ ดูจากเส้นสีฟ้าที่ทำขึ้น เป็นร่องรอยแม่น้ำเดิมที่เปลี่ยนทิศ ซึ่งคาดว่า ผ่านมากว่า ๕๐๐ ปีเส้นทางน้ำคงไม่ใช่อย่างที่เราเห็นในปัจจุบันนี้

หากพระนเรศวรล้อมเมือง ด้านใต้เป็นชัยภูมิที่น่าสนใจไม่น้อย เนื่องจากมีรอยแม่น้ำสาขาไหลเข้าใกล้เมืองมากที่สุด


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 194  เมื่อ 25 เม.ย. 11, 19:31

ซุมบริเวณทิศใต้ของเมือง หากจะขุดคลองเพื่อระบายน้ำ น่าจะทำได้ไม่ยาก


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 11 12 [13] 14 15 ... 23
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.047 วินาที กับ 20 คำสั่ง