เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 10 11 [12] 13 14 ... 23
  พิมพ์  
อ่าน: 164898 ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
chupong
พาลี
****
ตอบ: 319


ความคิดเห็นที่ 165  เมื่อ 24 เม.ย. 11, 15:03

ขอบพระคุณท่าน NAVARAT.C
 อย่างสูงยิ่งครับที่กรุณาให้ความรู้ ผมเองยังคิดสงสัยไม่คลายครับ ภาพยนตร์ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๔ จะได้ดู (คนตาบอดก็ดูได้จากเสียงที่ยินแล้ววาดมโนภาพ ประกอบกับคำบอกเล่าของคนตาดีครับ) ศึกหงสาทั้งสองครั้งอย่างละเอียดหละหรือ? อยากดูมหายุทธการครานี้นักหนาครับ เฮ่อ... อวสานแห่งพระราชโอรสผู้ชนะสิบทิศ ไยลงเอยฉะนี้หนอ

 
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 166  เมื่อ 24 เม.ย. 11, 18:02

ขออนุญาตขยายความจากที่ท่าน NAVARAT.C อินโทรไว้  อีกนิดหน่อย   เป็นพงศาวดารพม่าที่ฝรั่งเขียนเอาไว้

ศึกหงสาวดีครั้งที่ ๒  เป็นการล่มสลายของราชวงศ์พระเจ้าบุเรงนองด้วยค่ะ
พระเจ้านันทบุเรงพระโอรสของบุเรงนอง หรือฝรั่งเรียกว่า  Nanda Bayin ขึ้นครองราชย์แล้วเจอศึกหนักเอาการ    พระองค์ไม่ได้เผชิญศึกกับอาณาจักรอยุธยาอย่างเดียว   แต่ปรปักษ์มีรอบด้านทั้งลาว จีน  ยะไข่  (และเงี้ยว หรือไทยใหญ่)    แต่ศึกหนักกว่านี้คือศึกภายในราชวงศ์ด้วยกันเอง   ฝรั่งบอกว่า ทรงมีพระอนุชาหลายองค์ เป็นเจ้าเมืองอังวะ  ตองอู แล้วก็แปร   แต่หอกข้างแคร่เล่มใหญ่สุดคือพระเจ้าแปร นั่นเอง    

ตอนที่สมเด็จพระนเรศวรยาตราทัพไปถึงหงสาวดี   การเมืองในหงสาวดีกำลังอลหม่าน    เกิดศึกกลางเมือง  พระเจ้านันทบุเรงเองก็หมดปัญญาจะจัดการกับศึกภายใน เพราะศึกภายนอกจ่ออยู่ใกล้ประตูเมือง   เจ้าเมืองตองอูหันไปร่วมมือกับเจ้าเมืองยะไข่  ยึดท่าเรือเมืองสิเรียมทางตอนใต้ของหงสาวดีไว้ได้ ในพ.ศ. 2182   ส่วนทางนี้ หงสาวดีก็เท่ากับถูกโดดเดี่ยวให้อ่อนแอลงอีก  มีแต่ทหารหลวงไว้ป้องกันเมือง    เจ้าเมืองยะไข่จึงยกทัพเข้าสมทบกับตองอู ยึดหงสาวดีไว้ได้   พระเจ้านันทบุเรงถูกจับเป็นเชลย    ฝ่ายชนะก็กวาดต้อนผู้คนออกไปแล้วเผาเมืองเสียราบเรียบ
กว่าอยุธยาจะยกทัพไปถึงก็ช้าไปเสียแล้ว  เจอแต่ซากเมืองหงสาวดี   สมเด็จพระนเรศวรยกทัพไล่ตามไปตีเมืองตองอู   แต่ไม่สำเร็จ  จึงถอยทัพกลับอยุธยา
ชะตากรรมสุดท้ายของพระเจ้านันทบุเรง คือถูกสำเร็จโทษด้วยฝีมือพระญาติด้วยกันเอง

เจ้าเมืองยะไข่ยึดเมืองสิเรียมไว้ได้ แล้วตกลงมอบให้โปรตุเกศ    แต่ก็เกิดข้อขัดแย้งกันจนกลายเป็นสงครามพม่า-โปรตุเกศหลังจากนั้น  แต่เป็นอีกเรื่อง ไม่เกี่ยวกับอยุธยา ก็ขอหยุดไว้แค่นี้
ราชวงศ์บุเรงนองที่แผ่อาณาจักรไพศาล จนได้อยุธยาไปเป็นส่วนหนึ่ง   ก็ถึงจุดจบลงพร้อมกับการสิ้นพระชนม์ของพระเจ้านันทบุเรง
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 167  เมื่อ 24 เม.ย. 11, 20:29

พระราชวังหลวงในหงสาวดี    ที่สมเด็จพระนเรศวรเคยประทับอยู่สมัยเป็นตัวประกัน


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 168  เมื่อ 24 เม.ย. 11, 20:38

ภาพงานพระศพพระเจ้านันทบุเรง

พงศาวดารพม่าเล่าว่าพระองค์ถูกจับสำเร็จโทษโดยนัดจินหน่อง   ซึ่งขึ้นเป็นเจ้าเมืองตองอูคนใหม่    ต่อมานัดจินหน่องไปสวามิภักดิ์กับโปรตุเกศจนถึงขั้นเปลี่ยนศาสนาไปนับถือคริสต์
แต่บั้นปลาย ก็กงเกวียนกำเกวียน  นัดจินหน่องถูกประหารโดยพระเจ้าอังวะ ทรงพระนามว่าพระเจ้าอะนอเพตลุน หลานปู่ของบุเรงนอง (พระบิดาคือเจ้าชายนะยองยาน โอรสองค์หนึ่งของพระเจ้าบุเรงนอง)     กษัตริย์องค์นี้กรีฑาทัพบุกเมืองสิเรียม กวาดล้างพวกโปรตุเกศจนสิ้นซาก  ล้างอิทธิพลโปรตุเกศจากพม่าได้หมด  


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 169  เมื่อ 24 เม.ย. 11, 21:38

หงสาวดีของท่านมุ้ย





 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
chupong
พาลี
****
ตอบ: 319


ความคิดเห็นที่ 170  เมื่อ 25 เม.ย. 11, 10:44

กราบขอบพระคุณท่านอาจารย์เทาชมพูเป็นล้นพ้นครับ ได้ความรู้มากมายเลย อ่านข้อมูลที่อาจารย์นำมาลงในกระทู้แล้ว ขออนุญาตเรียนเสนอแบบขำขันสักหน่อยนะครับ

   อาจารย์ครับ ผมคิดถึงพ่อหนุ่มปวินท์จัง เสียดายที่เขากับหนูแพทคืนสู่ปัจจุบันยุคเร็วไปหน่อย ถ้าอย่างไร อาจารย์นำเขากลับมาเล่นศึกในยุคสมเด็จพระนเรศวรมหาราชอีกสักครั้งได้ไหมขอรับ ให้เขากุมทวนแล้วควงพิฆาตข้าศึกเลย หน่วยก้านอย่างเขาฝึกอาวุธมินานก็คงสันทัดจัดเจน  อ้ายวินท์ หนึ่งในทแกล้วทหารสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (แล้วเลยพลอยรู้จักกับเสมาเสียด้วยเมื่อร่วมรบ) แหม คิดแล้วคึกคะนองครับผม
 
บันทึกการเข้า
ShopperKimpy
อสุรผัด
*
ตอบ: 11



ความคิดเห็นที่ 171  เมื่อ 25 เม.ย. 11, 11:07





กรุงมันฑะเล จากหนังสือ Land of the White elephant


ไม่ทราบชื่อภาพ จากพันทิปครับ

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 172  เมื่อ 25 เม.ย. 11, 12:00

^
ภาพทั้งหมดข้างบนนี้ เป็นสมัยที่พม่าทำสงครามกับอังกฤษแล้วครับ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 173  เมื่อ 25 เม.ย. 11, 12:03

ภาพที่๖ เสด็จไปตีเมืองหงสาวดี

ตามคำอธิบายภาพสมเด็จพระนเรศวรตีเมืองหงสาวดีนี้ ไม่ค่อยจะตรงกับที่นักประวัติศาสตร์สมัยหลังๆเชื่อถือตามที่ท่านอาจารย์เทาชมพูเอามาเล่าก่อนหน้า โดยเฉพาะไม่ได้เอ่ยถึงเรื่องที่กองทัพยะไข่เข้าปล้นและเผาเมืองเสียราบ ก่อนที่กองทัพไทยจะไปถึง

ในหนังสือกล่าวว่า พระเจ้านันทบุเรงโปรดให้ลงทัณฑ์พระเจ้าแปรที่ทำเกินรับสั่ง โดยมีพระราชบัญชาให้ยกพลมาตรวจด่าน สืบความเป็นไปในกรุงศรีอยุธยา แต่กลับกำเริบ เดินทัพล่วงเข้ามาถึงกาญจนบุรี เลยถูกกองทัพไทยต่อตีจนพ่ายยับ เสียช้างม้าผู้คนมากมาย สงครามที่ว่านี้ไม่แจ้งว่าเป็นครั้งใด ผมก็ค้นไม่เจอ แต่พระเจ้าแปรผู้เป็นพระราชนัดดาถูกถอดเป็นไพร่ นั่นยังไม่ซวยเท่าไพร่ตัวจริง คือพวกทหารมอญที่ไปทัพด้วยถูกหาว่าไม่ตั้งใจรบ มีพระราชโองการให้จับเอาไปใส่เล้า แล้วเอาไฟครอกทั้งเป็น พวกที่หนีทันก็เลยเข้าป่า เป็นกบฏตัวจริงคอยเข่นฆ่าพวกพม่าไปเลย พวกเจ้าเมืองต่างๆพอทราบข่าวก็พากันกระด้างกระเดื่องต่อพระเจ้ากรุงหงสาวดี ที่ขอเป็นข้าขัณฑสีมาก็มีเมาะตะมะ พะสิม บัวเผื่อน(?) ขะลิก(?) ส่วนพระเจ้าตองอู และพระเจ้าละเคิ่ง(?)ขอเป็นพันธมิตรกับกรุงศรีอยุธยา หากพระนเรศวรยกทัพไปตีหงสาเมื่อใด จะอาสามาช่วยรบ

ตอนนั้นทัพหน้าของไทยอยู่ที่เมืองมอญ ด้วยสมเด็จพระนเรศวรทรงวางแผนระยะยาว มีพระราชบัญชาให้พระยาจักรี คุมทหารมาทำนา สะสมสเบียงอาหารเตรียมทำศึกกับพม่าอยู่ที่เมาะลำเลิง พม่าปั่นป่วนหนัก พระเจ้าตองอูเห็นช่องทางที่จะได้เป็นใหญ่ในแผ่นดินต่อไป จึงส่งคนมาข่มขู่เจ้าเมืองมอญทั้งหลาย ไม่ให้มาสวามิภักดิ์ต่อไทย และให้ทำร้ายทหารไทยเป็นความดีความชอบ พระยาจักรีเห็นท่าไม่ดี ทำหนังสือเข้ามากราบบังคมทูลยังพระนครศรีอยุธยาว่ามอญเป็นกบฏ

สมเด็จพระนเรศวรจึงเสด็จพระราชดำเนินกรีฑาทัพพร้อมสมเด็จพระเอกาทศรถ ตรงกับปีพุทธศักราช ๒๑๔๒ หลังจากตีเมืองเมาะตะมะได้แล้ว กำลังจะเสด็จต่อไปตีหงสาวดี พระเจ้าตองอูซึ่งยกทัพทำทีว่ามาช่วยรบกับไทย พอได้ทีก็คุมตัวพระเจ้านันทบุเรงซึ่งทรงพระประชวรอยู่หนีไปตองอู โดยเทครัวหงสาทั้งหมดไปด้วยและให้เผาเมืองทิ้งเสีย มิให้เป็นประโยชน์แก่กองทัพไทย แต่ทำกลถ่วงเวลา โดยส่งพระธำมรงค์เพชรสามยอดของพระเจ้าหงษาวดีมาถวายสมเด็จพระนเรศวร แต่ทรงไม่ไว้พระทัย รับสั่งฝากไปให้พระเจ้าตองอูเอาช้างดีม้าดีที่ยึดเอาไปจากหงสามาถวายด้วย เมื่อไม่ถวาย ก็เสด็จนำกองทัพต่อไปล้อมเมืองตองอูไว้

ระหว่างนั้นทรงโปรดให้พระมหาเทพเป็นนายกอง ขุนคชภักดี หมื่นคชโยธา และขุนหมื่นอาสาให้ไปลาดตระเวนหาช้างที่พระเจ้าตองอู ย้ายออกจากเมืองเอาไปปล่อยไว้ให้หากินเองในป่าใกล้กรุงอังวะ ได้ช้างใหญ่ที่พระเจ้าตองอูเอาไปซ่อนไว้ห้าสิบเศษ และช้างป่าอีกโขลงหนึ่งมาถวาย

สงครามครั้งนี้ ทัพหลวงตั้งล้อมเมืองตองอูอยู่ได้๓เดือนจึงเรื่มขัดสนเสบียงอาหาร และฤดูฝนใกล้เข้ามา จะทำให้เพลี่ยงพล้ำต่อพม่าได้ จึงโปรดให้เลิกทัพกลับคืนสู่กรุงศรี



บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 174  เมื่อ 25 เม.ย. 11, 12:04

.


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 175  เมื่อ 25 เม.ย. 11, 12:07

รูปสมเด็จพระนเรศวรประทับช้างพระที่นั่ง เสด็จเหยียบเมืองหงสาวดี จากจิตรกรรมฝาผนังวัดสุวรรณดาราราม จังหวัดอยุธยา


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 176  เมื่อ 25 เม.ย. 11, 12:14

ทรงล้อมเมืองตองอู และพยายามจะเข้าตีเมือง


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 177  เมื่อ 25 เม.ย. 11, 12:20

ตำแหน่งเมืองตามแผนที่


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 178  เมื่อ 25 เม.ย. 11, 12:41

พงศาวดารไทยกับพงศาวดารพม่าที่ดิฉันแปลมาจากฝรั่ง  ตรงกันในเหตุการณ์ใหญ่ๆคืออวสานของหงสาวดี ด้วยการที่พวกเดียวกันเผาเสียราบเรียบ อย่างที่ท่าน NAVARAT เล่ามาแต่ต้น
ส่วนที่ต่างกัน คือไทยเราให้ความสำคัญกับพระยาตองอูว่าเป็นตัวการสำคัญในเรื่องนี้    พระยายะไข่เป็นตัวประกอบ  แต่ฝรั่งให้พระยายะไข่เป็นดารานำ หรืออย่างน้อยก็บทบาทเท่าพระยาตองอู

การล่มสลายของหงสาวดีและราชวงศ์บุเรงนอง เกิดจากการจับมือกันระหว่างพระยา ๒ คนนี้    พระยาตองอูเป็นคนพาตัวพระเจ้านันทบุเรงซึ่งตอนนั้นประชวร  ตกอยู่ในเงื้อมมือพระญาติอย่างไม่มีทางสู้  จึงถูกพาหนีศึกไปเมืองตองอู    พร้อมด้วยราชสมบัติแก้วแหวนเงินทองที่พระยาตองอูขนไปด้วย      ทิ้งส่วนที่ยังเก็บไม่หมดให้พระยายะไข่รับสัมปทานกวาดต้อนทรัพย์สมบัติในหงสาวดีต่อไป    พระยายะไข่นี่เองที่พอกวาดได้หมดเมือง   ก็เผาหงสาวดีทิ้ง

จากนั้นพระยายะไข่ก็หายไปจากหน้าพงศาวดารไทย     ไปปรากฏบทบาทในอีกหน้าหนึ่งคือไปมีบทบาททำไมตรีกับโปรตุเกศ โดยมีเมืองท่าชื่อเมืองสิเรียมเป็นเดิมพันอยู่ตรงกลาง   ต่อมาก็ขัดแย้งกันจนเกิดรบกันขึ้น เป็นสงครามพม่า vs โปรตุเกศ     เรื่องนี้ไม่เกี่ยวกับอยุธยา    เราอาจไม่ได้บันทึกไว้ หรือถ้าบันทึกไว้ก็คงมีน้อยมาก  เพราะไม่ได้ถือเป็นเรื่องสำคัญในหน้าพงศาวดารของเรา
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 179  เมื่อ 25 เม.ย. 11, 12:53

^
น่าจะเป็นเช่นนั้นครับ
คือตองอูปล้นก่อน เอาของดีไป พอพวกยะไข่มาถึงไม่ได้พระราชทรัพย์ก็ปล้นสมบัติราษฎร แล้วก็เลยเผาเมืองราบคาบไปเลย

ข้างล่าง จากเวปของสารคดี
“ฝ่ายพระนเรศพระเจ้ากรุงศรีอยุทธยาทราบว่าพระเจ้าหงษาวดีเสด็จไปตั้งอยู่ที่เมืองเกตุมดี(ตองอู) พระนเรศก็ยกพลตามไป ครั้นถึงตำบลจะวะมะกูจรุณชอง (แปลว่าเกาะจะวะมะกู ชองนั้นคือแปลว่าคลอง) พระนเรศก็ตั้งค่ายใหญ่ลงที่ตำบลนั้นโดยแน่นหนามั่นคง...ก็รับสั่งให้พลทหารเข้าตีเมืองเกตุมดี บ้างขุดกำแพงบ้างปีนกำแพงเปนสามารถ”

จากมหาราชวงษ์พงษาวดารพม่า


ในภาพเป็นกำแพงเมืองโบราณที่ยังคงสภาพอยู่


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 10 11 [12] 13 14 ... 23
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.084 วินาที กับ 20 คำสั่ง