เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 7 8 [9] 10 11 ... 23
  พิมพ์  
อ่าน: 164376 ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 120  เมื่อ 20 เม.ย. 11, 13:35

             เรียบเรียง ตัดต่อบางส่วนจาก กรุงเทพธุรกิจ ครับ 

http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/life-style/living/20110417/386553/มหาสำเภาจีนโบราณคืนชีพ.html

มหาสำเภาจีนโบราณคืนชีพ โดย : วลัญช์ สุภากร

            เรือสำเภาจีนโบราณ (สมัยกรุงศรีอยุธยา) เรือเดินสมุทรโบราณที่มีความยาว 35 เมตร
            การนำเรือโบราณลำมหึมาที่สาบสูญไปแล้วกว่า 240 ปี ให้กลับมาอีกครั้ง ต้องอาศัยความรู้และ
ความพยายามของผู้เชี่ยวชาญหลายคน

           กำเนิดเรือสำเภาจีนโบราณลำนี้ เริ่มขึ้นราวกลางปี พ.ศ.2550 เมื่อ ท่านมุ้ย-ม.จ.ชาตรีเฉลิม ยุคล 
มีดำริให้ อ.กนก ขาวมาลา แห่งพิพิธภัณฑ์เรือไทย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เข้าพบปรึกษาการสร้างเรือสำเภา
ซึ่งในรัชสมัยของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช มีการรบทางเรือหลายครั้ง หนึ่งในนั้นที่น่าสนใจคือทรงนำเรือพระที่นั่ง
พายติดตาม เรือสำเภาพระยาจีนจันตุ (ซึ่งเข้ามาเป็นไส้ศึก) ที่แล่นหนีออกจากกรุงศรีอยุธยา

         ไม่มีภาพวาดใดๆ เกี่ยวกับเรือสำเภาพระยาจีนจันตุบันทึกไว้ อ.กนก เล่าว่า ในพงศาวดารมีเพียงบันทึกสั้นๆ
เกี่ยวกับเรือลำนี้ไว้นิดเดียวว่า
 
               "พระยาจีนจันตุได้โล้สำเภาออกไป จนเรือเมื่อถึงปากอ่าว เรือสำเภาได้ลมกินใบ ก็แล่นออกไป
โดยสมเด็จพระนเรศวรทรงตามไม่ทัน"

           “เรื่องของเรือสำเภาที่แล่นออกไปโดยไม่ต้องอาศัยลม เพราะเป็นการแล่นออกไปอย่างฉุกละหุกกะทันหัน
เป็นประเด็นหนึ่งที่ท่านมุ้ยทรงหยิบยกขึ้นมา” อ.กนก กล่าว

           อ.กนกจึงต้องอาศัยวิธีค้นคว้าจากพงศาวดาร เอกสาร หนังสือทั้งไทยและต่างประเทศ โดยเฉพาะหนังสือ
เกี่ยวกับเรื่องเรือในช่วงนั้น
           อ.กนกพบบันทึกเกี่ยวกับ ประวัติการทหารเรือไทย เขียนโดย พลเรือตรีแชน ปัจจุสานนท์ กล่าวถึงการรบทางเรือ
ในสมัยสมเด็จพระนเรศวร ครั้งหนึ่งทรงมีรับสั่งให้ทหารไปรบพม่าที่เมืองทวายทางฝั่งอันดามัน ซึ่งมีเรือของพวกโปรตุเกส
อังกฤษ ฮอลันดา เข้ามาอยู่ทางนั้น มีการกล่าวไว้ว่า
                 เรือรบต่างชาติที่ช่วยสยามรบครั้งนั้น เป็นเรือกรรเชียงใช้ใบ เรียกว่าเรือ แกเลียต (Galliot) ใช้ทาสเป็นฝีพาย
จึงคิดว่ามีความเป็นไปได้ ที่เรือสำเภาพระยาจีนจันตุใช้ลักษณะ กรรเชียง เพื่อให้เรือแล่นออกไปโดยไม่รอกระแสลม

          ส่วนลักษณะภาพรวมของลำเรือสำเภาพระยาจีนจันตุ ศึกษาเพิ่มเติมจากภาพวาดและบันทึกญี่ปุ่นที่กล่าวถึง
สำเภาสยาม ซึ่งเดินทางไปค้าขาย ณ เมืองนางาซากิในช่วงเวลานั้นสำเภาสยามต่อโดยช่างต่อเรือชาวจีน ซึ่งมี
ความชำนาญในการต่อเรือเพื่อลำเลียงสินค้าทางทะเล ขณะที่ช่างต่อเรือชาวสยามเก่งต่อเรือที่ขุดจากท่อนซุงมากกว่า
          สำเภาสยามจึงน่าจะมีความใกล้เคียงกับสำเภาพระยาจีนจันตุซึ่งต่อด้วยช่างชาวจีนเช่นกัน

อ.กนก ขาวมาลา กับแบบจำลองเรือสำเภาสมัยกรุงศรีอยุธยา


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 121  เมื่อ 20 เม.ย. 11, 13:37

            “บันทึกญี่ปุ่นบรรยายไว้ว่า สำเภาของเรานำลักษณะเด่นของสำเภาตะวันตกมาใช้ เช่น มีเสาค้ำยื่นไปด้านหน้า
เรียกว่าโบสปริต (Bowsprit) และมีใบเรือเล็กๆ ห้อยด้านล่าง เรียกว่า จิบ เซล (Jib sail) ช่วยบังคับทิศทาง
มีปืนใหญ่ประจำเรือเพื่อป้องกันทรัพย์สินและโจรสลัด” อ.กนก เล่า

          เรือสำเภาที่ใช้ประโยชน์ในการค้าขายข้ามทะเลไปยังประเทศต่างๆ มักมีความยาวประมาณ 30-45 เมตร
ถ้าขนาดเล็กกว่านี้ก็จะเสี่ยงอันตรายต่อพายุ โดยเรือสำเภาของชาวตะวันตกมีความยาว 40-65 เมตร
เรือจีนมีความยาว 30-40 เมตร บรรทุกสินค้าได้มากและลูกเรือได้นับร้อยคน เรือสำเภาที่มีขนาดใหญ่เช่นนี้
ต้องจอดที่บางกอก ซึ่งร่องน้ำลึกกว่าที่กรุงศรีอยุธยา

          ดังนั้น เรือสำเภาของพระยาจีนจันตุ ซึ่งเป็นเรือขุนนางจีนที่มีความชำนาญในการเดินเรือ จึงน่าจะเป็น
เรือสำเภาที่มีการผสมผสานของเรือแกเลียตของชาวตะวันตก แล่นออกทะเลได้โดยไม่ต้องรอกระแสลม โดยใช้
กรรเชียงก่อนจะใช้ใบเรือเมื่อมีลมช่วยพัด มีอาวุธปืนใหญ่ประจำเรือ ใช้ฝีพายทาสในชั้นใต้ท้องเรือ

          ท่านมุ้ยทรงตัดสินใจสร้างเรือลำนี้ด้วยความยาว 35 เมตร ใช้ใบเรือขนาด 14x25 เมตร ได้ปรึกษากับ
นาวาโทประสาร ขวัญโพชา ร.น. อู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดช กรมอู่ทหารเรือ เป็นผู้ออกแบบโครงสร้างของลำเรือ
โดยเน้นด้านประโยชน์ใช้สอยและความปลอดภัย เห็นพ้องต้องกันว่าควรใช้เหล็กเป็นโครงสร้างของลำเรือ และ
ท้องเรือที่เป็นเหล็กยังทำให้ท้องเรือไม่รั่วง่ายๆ อีกด้วย

         ณ มุมหนึ่งภายในสถานที่ถ่ายทำจังหวัดกาญจนบุรี การวางกระดูกงูเพื่อสร้างเรือสำเภาพระยาจีนจันตุเริ่มขึ้น
ในราวเดือนกันยายน 2553


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 122  เมื่อ 20 เม.ย. 11, 13:38

         นาวาโทประสารออกแบบโครงสร้างหลักของตัวเรือทั้งหมดโดยใช้วัสดุที่เป็น เหล็ก  มีรูปร่างลักษณะเป็น Pontoon
มีกำลังลอยสูง เหมาะสำหรับลอยอยู่ในสระน้ำในกองถ่ายที่มีระดับน้ำสูงเพียง 1.5 เมตรในฤดูร้อน ดำเนินการต่อเรือ
โดยช่างที่มีความรู้ความชำนาญ มีประสบการณ์สูง มีใบรับรองผลงานจากสมาคมต่อเรือ
          ท้องเรือจัดทำเป็นห้องลอย 8 ห้อง (หัวเรือ 1 ห้อง ท้ายเรือ 1 ห้อง ข้างเรือซ้าย-ขวา ด้านละ 3 ห้อง)
เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการใช้งานสูงสุด ห้องลอยเหล่านั้นยังใช้ประโยชน์เพื่อการปรับแต่งความสมดุลของตัวเรือได้
ด้วยการสูบน้ำเข้า-ออกห้องลอยแต่ละห้อง (สมัยโบราณใช้ตุ๊กตาหินอับเฉาหรือสินค้าหนักๆ วางไว้เพื่อสร้างสมดุล)
รวมทั้งให้เรือมีสถานะภาพตามความต้องการ เช่น ให้เรือกินน้ำลึก-ตื้นเพื่อให้องศาพายอยู่ในระดับที่สวยงามเวลาถ่ายทำ

          จากนั้นปิดตัวเรือภายนอกด้วย ไม้สัก หนา 1 นิ้วตลอดลำ เปลือกเรือด้านในปิดด้วย ไม้สนต่างประเทศ
พื้นดาดฟ้าชั้นบนและชั้นล่างปูทับพื้นเหล็กด้วย ไม้ตะเคียนทอง หนา 1-1/4 นิ้ว ผนังและการกรุฝ้าเป็นการผสมผสาน
ระหว่างไม้อัดกับไม้เบญจพรรณ
          สร้างงานตัวเรือในส่วนที่เป็นเหล็ก มีน้ำหนักโดยรวม 60 ตัน
          งานเข้าไม้เปลือกเรือ งานปูพื้นดาดฟ้าเรือ รวมน้ำหนักไม้ 30 ตัน
          งานกรุฝ้า-กรุผนังด้วยไม้ น้ำหนักรวม 15 ตัน
          อุปกรณ์ประกอบตัวเรือ เช่น เสาใบเรือ บ้านท้ายเรือ ฯลฯ หนัก 5 ตัน

          รวมระยะเวลาในการสร้างเรือจนแล้วเสร็จทั้งหมด 120 วัน จากนั้นใช้รถไฮดรอลิกเคลื่อนย้ายเรือสำเภา
ขนาด 35 เมตร หนักราว 110 ตัน จากจุดก่อสร้างเพื่อนำไปลงยังสระน้ำ ณ จุดถ่ายทำเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2553
ใช้รถเครนขนาดใหญ่ยกเสากระโดงเรือ สูง 30 เมตรติดตั้งลงบนเรือ และปรับเพิ่มบันไดเชือกสำหรับทหารปีนขึ้นไป
บนเสาเพื่อให้ฉากต่อสู้ดูน่าสนใจขึ้น

        มีบันทึกไว้ว่าทหารของพระยาจีนจันตุยิงปืนมาต้องสมเด็จพระเอกาทศรถก็เป็นเรื่องที่เกิดขึ้น แม้ขนาดเรือ
ของพระองค์จะเสียเปรียบขนาดเรือของศัตรูอย่างเทียบไม่ได้ ก็ทรงติดตามไป


บันทึกการเข้า
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 123  เมื่อ 20 เม.ย. 11, 16:44

         นาวาโทประสารออกแบบโครงสร้างหลักของตัวเรือทั้งหมดโดยใช้วัสดุที่เป็น เหล็ก  มีรูปร่างลักษณะเป็น Pontoon
มีกำลังลอยสูง เหมาะสำหรับลอยอยู่ในสระน้ำในกองถ่ายที่มีระดับน้ำสูงเพียง 1.5 เมตรในฤดูร้อน ดำเนินการต่อเรือ
โดยช่างที่มีความรู้ความชำนาญ มีประสบการณ์สูง มีใบรับรองผลงานจากสมาคมต่อเรือ
          ท้องเรือจัดทำเป็นห้องลอย 8 ห้อง (หัวเรือ 1 ห้อง ท้ายเรือ 1 ห้อง ข้างเรือซ้าย-ขวา ด้านละ 3 ห้อง)
เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการใช้งานสูงสุด ห้องลอยเหล่านั้นยังใช้ประโยชน์เพื่อการปรับแต่งความสมดุลของตัวเรือได้
ด้วยการสูบน้ำเข้า-ออกห้องลอยแต่ละห้อง (สมัยโบราณใช้ตุ๊กตาหินอับเฉาหรือสินค้าหนักๆ วางไว้เพื่อสร้างสมดุล)
รวมทั้งให้เรือมีสถานะภาพตามความต้องการ เช่น ให้เรือกินน้ำลึก-ตื้นเพื่อให้องศาพายอยู่ในระดับที่สวยงามเวลาถ่ายทำ

          จากนั้นปิดตัวเรือภายนอกด้วย ไม้สัก หนา 1 นิ้วตลอดลำ เปลือกเรือด้านในปิดด้วย ไม้สนต่างประเทศ
พื้นดาดฟ้าชั้นบนและชั้นล่างปูทับพื้นเหล็กด้วย ไม้ตะเคียนทอง หนา 1-1/4 นิ้ว ผนังและการกรุฝ้าเป็นการผสมผสาน
ระหว่างไม้อัดกับไม้เบญจพรรณ
          สร้างงานตัวเรือในส่วนที่เป็นเหล็ก มีน้ำหนักโดยรวม 60 ตัน
          งานเข้าไม้เปลือกเรือ งานปูพื้นดาดฟ้าเรือ รวมน้ำหนักไม้ 30 ตัน
          งานกรุฝ้า-กรุผนังด้วยไม้ น้ำหนักรวม 15 ตัน
          อุปกรณ์ประกอบตัวเรือ เช่น เสาใบเรือ บ้านท้ายเรือ ฯลฯ หนัก 5 ตัน

          รวมระยะเวลาในการสร้างเรือจนแล้วเสร็จทั้งหมด 120 วัน จากนั้นใช้รถไฮดรอลิกเคลื่อนย้ายเรือสำเภา
ขนาด 35 เมตร หนักราว 110 ตัน จากจุดก่อสร้างเพื่อนำไปลงยังสระน้ำ ณ จุดถ่ายทำเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2553
ใช้รถเครนขนาดใหญ่ยกเสากระโดงเรือ สูง 30 เมตรติดตั้งลงบนเรือ และปรับเพิ่มบันไดเชือกสำหรับทหารปีนขึ้นไป
บนเสาเพื่อให้ฉากต่อสู้ดูน่าสนใจขึ้น

        มีบันทึกไว้ว่าทหารของพระยาจีนจันตุยิงปืนมาต้องสมเด็จพระเอกาทศรถก็เป็นเรื่องที่เกิดขึ้น แม้ขนาดเรือ
ของพระองค์จะเสียเปรียบขนาดเรือของศัตรูอย่างเทียบไม่ได้ ก็ทรงติดตามไป

เรือที่เห็นในรูปที่ใหญ่ ๆ นั่นคือ "เรือรบ" ยุคต้าหมิงตอนปลายนะครับ ถ้าเอาเรือแบบนี้แล่นออกมา ผมเชื่อว่าถ้าเหตุการณ์พระยาจีนจันตุหนีไปจริง ตัวพระยาจีนจันตุ ไม่น่าจะรอดเกินขนอนทางใต้ของเกาะเมืองอยุธยาครับ เพราะเรือแบบนี้หนักมาก ถ้าไม่กินลมประมาณทอร์นาโด หรือ ดีเปรสชั่น รับรองได้ว่า เสร็จฝีพายเรือแซงจากอยุธยาแน่ ๆ ครับ

ฝีพายบ้านโพธิ์เรียง กับอีกบ้าน เป็นฝีพายหลวงขึ้นชื่อเรื่องความอดทน และความเร็วในการพายเรือครับ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 124  เมื่อ 20 เม.ย. 11, 21:52

ผมดูหนังท่านมุ้ยแล้วเพลินไปหน่อย ไม่ได้สอบทานกับประวัติศสาตร์ให้ดี ปรากฏว่า เหตุการณ์ที่พระนเรศวรยกกองเรือไปตามตีพระยาจีนจันตุนั้น เป็นพ.ศ.๒๑๒๑ ขณะนั้นทรงมีพระชนมายุเพียงแค่๑๗ปี เพิ่งเสด็จกลับจากการเป็นตัวประกันที่หงสาวดี โดยพระราชบิดาส่งพระพี่นางสุพรรณกัลยาไปแทน และโปรดให้พระองค์ขึ้นไปครองเมืองพิษณุโลก คราวนั้นบังเอิญเสด็จมากรุงศรีอยุธยาพอดีกับเหตุการณ์ที่พระยาจีนจันตุหนี

ชะรอยท่านมุ้ยจะเห็นว่า พระเอกสุดเข้มของท่านแก่เกินจะเล่นเป็นหนุ่มอายุ๑๗ เลยต้องสลับเรื่องเสียใหม่ เอาเป็นว่าพระนเรศวรตามตำนานของท่าน ประกาศอิสระภาพแล้ว จึงมาเล่นสงครามทางน้ำกับพระยาจีนจันตุแทน

ท่านผู้อ่านก็โปรดรับทราบไว้เฉยๆ ไม่ต้องโวยวายอะไร


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 125  เมื่อ 20 เม.ย. 11, 22:25

ก่อนจะผ่านประเด็นเรื่องนี้ ผมขอเอาแนวกระแสลมเหนือ ที่พัดลงมาทำมุมกับแม่น้ำเจ้าพระยาในแนวเฉียงๆมาให้ดู  แม้จะไม่ตรงเป็นแนวฉากแต่ก็ทำให้เรือใบแล่นฉิวได้ทีเดียว ยกเว้นตอนที่แม่น้ำใหลย้อนขึ้น เช่นที่คุ้งบางกระเจ้าที่ผมวงกลมไว้ ถือว่าทวนลมเต็มๆหลายกิโลเมตรอยู่ ช่วงนั้นไต๋ก๋งและบรรดาลูกเรือจะต้องชำนาญอย่างยิ่งยวด ที่จะสลับทิศใบเรือซ่ายทีขวาทีให้สำเภาวิ่งสลับฟันปลา ให้เรือค่อยๆเฉียงตัวไต่โค้งสวนลมไปทีละน้อยๆ ตรงนี้แหละครับเสียเวลามาก เป็นโอกาสเดียวของเรือดั้ง ที่จะจ้ำมาทันและได้ยิงกันให้สนั่นไปทั้งบาง พ้นจากนี้ไปแล้ว แม่น้ำถึงจะยังเหยียดไม่สุดก็ถือว่าเข้าทางตรง ใบเรือกินลมเต็มที่แน่ ยังไงๆก็เหนื่อยเปล่าไม่มีทางที่เรือดั้งจะไปไล่กวดให้ทันได้เลย


บันทึกการเข้า
puyum
พาลี
****
ตอบ: 245


ความคิดเห็นที่ 126  เมื่อ 20 เม.ย. 11, 22:45

เรือรบที่เร็วที่สุดในสมัยนั้น น่าจะเป็นเรือกราบ
พายจากอยุธยาออกอ่าวไทย จะใช้เวลาสัก วันกับอีกหนึ่งคืน
(เทียบกับเคยมีการแข่งขันเรือยาว จากพรหมบุรี สิงห์ ถึงท่าราช กทม)
พระยาจีนจันตุ หนีออกไป ไม่แน่ว่าเรือสำเภาจอดที่ไหน
สมมติว่าที่อยุธยา ก็คงต้องหนีร่วงหน้าไปไม่น้อยกว่าสามวัน
สมเด็จพระนเรศวรใช้เรือกราบตามไปทันแถวสมุทรปราการ
แล้วเรือสำเภาติดลมทะเลออกไป เรือเล็กก็ออกทะเลไม่ได้ เลยไม่ทัน
แต่ไม่น่าเป็นไปได้ว่า หนีร่วงหน้าไปตั้งสามวัน แล้ววังหลวงจึงจะรู้ว่าหนี
ตรงนี้ก็เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่น่าศึกษา และที่จอดเรือสำเภา
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 127  เมื่อ 20 เม.ย. 11, 23:31

เอาคลิปการแล่นเรือใบสวนลมมาให้ชมครับ
ท่านลองจินตนาภาพเรือสำเภาจีน สองหรือสามกระโดง ที่ลูกเรือต้องคอยสลับใบเรือซ้ายขวา และนายท้ายที่ต้องรักษาทิศทางหางเสือให้เที่ยง ไม่ง่ายอย่างเรือใบลำเล็กๆที่เห็นแน่
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 128  เมื่อ 20 เม.ย. 11, 23:45

ก่อนจะผ่านประเด็นเรื่องนี้ ผมขอเอาแนวกระแสลมเหนือ ที่พัดลงมาทำมุมกับแม่น้ำเจ้าพระยาในแนวเฉียงๆมาให้ดู  แม้จะไม่ตรงเป็นแนวฉากแต่ก็ทำให้เรือใบแล่นฉิวได้ทีเดียว ยกเว้นตอนที่แม่น้ำใหลย้อนขึ้น เช่นที่คุ้งบางกระเจ้าที่ผมวงกลมไว้ ถือว่าทวนลมเต็มๆหลายกิโลเมตรอยู่ ช่วงนั้นไต๋ก๋งและบรรดาลูกเรือจะต้องชำนาญอย่างยิ่งยวด ที่จะสลับทิศใบเรือซ่ายทีขวาทีให้สำเภาวิ่งสลับฟันปลา ให้เรือค่อยๆเฉียงตัวไต่โค้งสวนลมไปทีละน้อยๆ ตรงนี้แหละครับเสียเวลามาก เป็นโอกาสเดียวของเรือดั้ง ที่จะจ้ำมาทันและได้ยิงกันให้สนั่นไปทั้งบาง พ้นจากนี้ไปแล้ว แม่น้ำถึงจะยังเหยียดไม่สุดก็ถือว่าเข้าทางตรง ใบเรือกินลมเต็มที่แน่ ยังไงๆก็เหนื่อยเปล่าไม่มีทางที่เรือดั้งจะไปไล่กวดให้ทันได้เลย

ตรงโค้งบางกระเจ้า มีคลองลัดโพธิ์อยุ่นะครับ ถ้าสมัยนั้นมีคลองแล้วคงลัดได้โขเลยนะครับ  ตกใจ
บันทึกการเข้า
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 129  เมื่อ 21 เม.ย. 11, 00:36

เรือรบที่เร็วที่สุดในสมัยนั้น น่าจะเป็นเรือกราบ
พายจากอยุธยาออกอ่าวไทย จะใช้เวลาสัก วันกับอีกหนึ่งคืน
(เทียบกับเคยมีการแข่งขันเรือยาว จากพรหมบุรี สิงห์ ถึงท่าราช กทม)
พระยาจีนจันตุ หนีออกไป ไม่แน่ว่าเรือสำเภาจอดที่ไหน
สมมติว่าที่อยุธยา ก็คงต้องหนีร่วงหน้าไปไม่น้อยกว่าสามวัน
สมเด็จพระนเรศวรใช้เรือกราบตามไปทันแถวสมุทรปราการ
แล้วเรือสำเภาติดลมทะเลออกไป เรือเล็กก็ออกทะเลไม่ได้ เลยไม่ทัน
แต่ไม่น่าเป็นไปได้ว่า หนีร่วงหน้าไปตั้งสามวัน แล้ววังหลวงจึงจะรู้ว่าหนี
ตรงนี้ก็เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่น่าศึกษา และที่จอดเรือสำเภา



ถ้าเรือจอดที่อยุธยา ความน่าจะเป็นในการหนีน้อยมากครับ

ไหนจะต้องผ่านขนอนวัดโปรดสัตว์ทางใต้  ผ่านป้อมเพชรทางใต้ ยิ่งเป็นข้าราชการไม่มีใบบอก หรือไม่มีสาสน์ตราอนุุญาตลงมา จะออกไปโดยพลการ นายด่านจะหัวหลุดเอานะครับ

อีกอย่างคลองลัดเกร็ด ก็เพิ่งมาขุดเอาสมัยพระเจ้าอยุ่หัวท้ายสระ ซึ่งห่างจากยุคสมเด็จพระนเรศวรเป็นร้อยปี

เพราะฉะนั้น ถ้าโล้สำเภามาจากอยุธยาจริง ต่อให้รอดขนอนวัดโปรดสัตว์มาได้ ทางราชการก็ยังมีเวลาเหลือเฝือ เนื่องจากเรือของพระยาจีนจันตุ ต้องไปอ้อมอีกหลายชั่วโมงตรงพื้นที่เกาะเกร็ดในปัจจุบันครับ

อย่างต่ำ ๆ ก็ ๖ ชั่วโมง ถ้าเอาเรือแซงไล่ ไม่น่าจะนานมากเท่าไร อย่างไรเสียก็ทันแน่ ๆ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 130  เมื่อ 21 เม.ย. 11, 07:52

^
ผมก็มีความเห็นทำนองเดียวกันเหมือนกันครับ แต่ไหนแต่ไร งุนงงสับสนเรื่องพระยาจีนจันตุมาตลอดตั้งแต่เด็กจนแก่ บันทึกในพงศาวดารไม่ค่อยสมเหตุสมผลเท่าไร การเดินเรือสำเภาในแม่น้ำเจ้าพระยาในสมัยที่ยังไม่มีคลองลัดนั้นลำบากมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูกาลที่ลมไม่เอื้ออำนวย

มาดูประวัติคลองลัดทั้ง 4 ในแม่น้ำเจ้าพระยากัน

คลองแรก ขุดในรัชสมัย สมเด็จพระไชยราชาธิราช (ครองราชย์ พ.ศ.2077 - 2089) โดยโปรดเกล้าฯ ให้ขุดคลองลัดโค้งเกือกม้าบริเวณปากคลองบางกอกน้อยลงไปถึงปากคลองบางกอกใหญ่ในปัจจุบัน
เมื่อปี พ.ศ. 2089 เฟอร์ดินันด์ เมนเดส บินโด พ่อค้าชาวโปรตุเดินทางมากรุงศรีอยุธยา ได้บันทึกเหตุการณ์ในครั้งนั้นตอนหนึ่งว่า "กรุงศรีอยุธยา ส่งสำเภาไปค้าขายยังต่างเมือง ปีละกว่าร้อยลำ และทุกปีจะมีสำเภาจีนเข้ามาค้าขายที่กรุงศรีอยุธยามากกว่าพันลำ ไม่นับรวมเรือขนาดเล็กอื่น ๆ ตามลำแม่น้ำ ท่าเรือต่าง ๆ จึงเต็มไปด้วยเรือสินค้า"
สมัยนั้นจึงมีบันทึกว่า การเดินทางโดยทางเรือสำเภาสินค้าระหว่างกรุงศรีอยุธยากับปากแม่น้ำเจ้าพระยา ใช้เวลาประมาณ15วัน ก็เป็นไปได้หากเรือหนัก และต้องวิ่งสวนลมในฤดูมรสุมที่ลมกลับทิศ พัดจากใต้ขึ้นเหนือ

คลองที่สอง ขุดในรัชสมัย สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ (ครองราชย์ พ.ศ.2091 - 2111) โดยโปรดเกล้าฯ ให้ขุดเชื่อมระหว่างคลองบางกรวยกับคลองบางกอกน้อยในปัจจุบัน

สองคลองนี้ มีอยู่แล้วในสมัยสมเด็จพระนเรศวร  แต่ก็ยังไม่เอื้ออำนวยความรวดเร็วเท่าที่ควร

คลองที่สาม ขุดในรัชสมัย สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง (ครองราชย์ พ.ศ.2173 - 2198) โดยโปรดเกล้าฯ ให้ขุดคลองลัดโค้งเกือกม้าบริเวณปากคลองบางกรวยกับปากคลองอ้อมนนท์ในปัจจุบัน

คลองที่สี่ ขุดในรัชสมัย สมเด็จพระเจ้าท้ายสระ (ครองราชย์ พ.ศ.2251 - 2275) โดยโปรดเกล้าฯ ให้ขุดคลองลัดโค้งเกือกม้าบริเวณบางบัวทอง - ปากเกร็ด จนเกิดเป็นเกาะกลางน้ำขึ้น เรียกว่า เกาะเกร็ด จนถึงทุกวันนี้

ส่วนคลองลัดโพธิ์ เดิมกล่าวเพียงว่าขุดสมัยอยุธยา แต่บางตำนานระบุว่าสมเด็จพระเจ้าท้ายสระทรงโปรดเกล้าฯให้ขุดเพื่อมิให้ต้องอ้อมโค้งกระเพาะหมูบางกระเจ้า มีผลกระทบมากทั้งด้านยุทธศาสตร์และชีววิทยาสิ่งแวดล้อม  จึงโปรดให้ขุดเป็นคลองเล็กๆเพราะเกรงว่าเรือรบของศัตรูจะเข้ามาถึงอยุธยาเร็วเกินไป เมื่อสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงย้ายมาอยู่ที่กรุงเทพแล้ว ปรากฎว่าพอถึงฤดูน้ำกระแสน้ำทะเลไหลบ่าเข้ามาแรง  น้ำเค็มจะท่วมเรือกสวนไร่นาของราษฎรเสียหายมาก จึงโปรดฯให้ทำทำนบกั้นและถมคลองลัดโพธิ์ให้แคบลงไปอีก

เมื่อถึงรัชสมัยสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้โปรดให้กรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ เป็นแม่กองควบคุมงานขุดคลองลัดใหม่ที่เหนือ คลองลัดโพธิ์ เรียกว่า คลองลัดหลวง เพื่อใช้ประโยชน์ ในการย่นระยะทางระหว่างปากน้ำกับกรุงเทพฯ เมืองนครเขื่อนขันธ์ชุมชนของชาวมอญ ซึ่งตั้งอยู่ ระหว่างปากคลองลัดโพธิ์และคลองลัดหลวง จึงมีอีกชื่อหนึ่งเรียกว่า "ปากลัด" จนทุกวันนี้




บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 131  เมื่อ 21 เม.ย. 11, 08:48

ภาพที่๔ ตีทัพหน้าพระมหาอุปราชาหงสาวดี

พ.ศ. ๒๑๓๓ ครั้นพระมหาธรรมราชาเสด็จสวรรคต สมเด็จพระนเรศวรเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่ พร้อมทั้งทรงสถาปนาสมเด็จพระเอกาทศรถ พระอนุชาธิราชขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่๒ คู่พระบารมีกับพระองค์
เป็นธรรมเนียมอยู่แล้วว่าพม่าเมื่อทราบข่าวผลัดแผ่นดินกรุงศรี ก็จะยกกองทัพเข้ามาตีไทย โดยครั้งนี้นับเป็นครั้งแรก ที่พระเจ้านันทบุเรงโปรดให้พระมหาอุปราชาเป็นแม่ทัพ ยกกำลังพลพม่า๓๐๐,๐๐๐ นาย ข้ามด่านพระเจดีย์สามองค์เข้ามา ปะทะกับทัพไทยของสมเด็จพระนเรศวรกำลังพลเพียง ๘๐,๐๐๐ ที่ยกไปตั้งรับในเขตสุพรรณบุรี ทัพไทยตีพม่าแตกทัพกลับไป ไม่สามารถยกมาถึงกรุงศรีอยุธยาได้

ทรงคิดว่าพม่าจะเข็ดไปหลายปีสักหน่อย  ปีพ.ศ. ๒๑๓๔จึงมีพระราชดำริจะไปตีเมืองละแวกเพื่อแก้แค้นที่ทุกครั้งเมื่อมีศึกพม่า พระนักสัตถาจะส่งกองทัพมารุกราน กวาดต้อนผู้คนแถวชายแดนอยู่เสมอๆ

ขณะที่ทรงเตรียมทัพพร้อมอยู่ ยังมิทันจะยกไปตีเขมร ก็ได้ทราบข่าวศึกว่าพระมหาอุปราชากำลังยกกองทัพพม่าที่ยิ่งใหญ่กว่าเดิม หวังจะเข้ามาล้างอายที่พ่ายแพ้กลับไปเมื่อสองปีก่อน โชดดีของพระนเรศวรที่ทรงพร้อมรบอยู่แล้ว เมื่อปรึกษาบรรดาแม่ทัพนายกองเห็นชอบร่วมกันว่าทัพไทยจะไปรับศึกนอกพระนครเช่นคราวที่แล้ว โดยยกไปตั้งค่ายรอทัพพม่าอยู่ที่ตำบลหนองสาหร่าย แขวงเมืองสุพรรณบุรี

พระราชพงศาวดารระบุว่า จันทร์ที่๑๘ มกราคม พ.ศ. ๒๑๓๕ เป็นวันเสด็จออกรบ ทัพหน้าของไทยปะทะทัพพม่าที่กำลังพลมากกว่า ต้องถอยร่นลงมา ทรงให้ม้าเร็วขึ้นไปบอกแม่ทัพนายกองให้เปิดทางให้พม่ารุกล่วงเข้ามา แล้วจะทรงยกทัพหลวงสวนขึ้นไปโจมตีข้าศึก

สมเด็จพระนเรศวรขึ้นประทับพระคชาธารชื่อเจ้าพระยาไชยานุภาพ ส่วนสมเด็จพระเอกาทศรถประทัพเจ้าพระยาปราบไตรจักร  ช้างทรงทั้งสองกำลังตกน้ำมันเต็มที่
ทรงรอเมฆก้อนใหญ่เคลื่อนพ้น สุริยะสาดแสงแจ่มจรัสดีแล้ว พระโหราธิบดีลั่นฆ้องชัย พระมหาราชครู ปุโรหิต รัวกลองมโหระทึก ประโคมแตร เป่าสังข์ เป็นสัญญาณเคลื่อนพล ทหารไทยโห่ร้องกึกก้อง พระยาช้างทั้งสองได้ยินสรรพเสียงทั้งนั้นก็ให้คึกคะนองยิ่งนัก ชักเท้าวิ่งตลุยไปข้างหน้าอย่างไม่ยั้ง ลุยโหมโจมแทงช้างม้าไพร่พลพม่ากระเจิดกระเจิง ทั้งทัพไทยและพม่าตลุมบอนทั้งฝุ่นทั้งควันฟุ้งตลบมืดมัวไปทั่วทั้งสมรภูมิ ช้างทรงทั้งสองก้ถลำลึกเข้าไปในฝ่ายพม่าจนแม่ทัพนายกองตามเสด็จไม่ทัน


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 132  เมื่อ 21 เม.ย. 11, 08:51

.



คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 133  เมื่อ 21 เม.ย. 11, 08:53

ภาพข้างต้นนี้ พระปมเป็นผู้เขียน แต่ไม่ปรากฏว่าได้รับรางวัล

อ้าว เพิ่งเจอ ภาพพระยาจีนจันตุโล้สำเภา เดิมเขียนว่าไม่ได้รับรางวัลนั้น ปรากฏว่าผู้เขียนชื่อ “นายใหญ่” ได้รางวัลที่๑๐ รับพระราชทานลูกปืน๑ลูก เงิน๖๐บาท

โปรดเข้าใจตามนี้ด้วยนะครับ


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 134  เมื่อ 21 เม.ย. 11, 09:09

นำแผนที่ของคลองลัดหลวง และ คลองลัดโพธิ์ สมัยรัชกาลที่ ๕ มาให้ดูถึงพิกัดของตำแหน่งคลองครับ


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 7 8 [9] 10 11 ... 23
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.15 วินาที กับ 20 คำสั่ง