เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9 ... 23
  พิมพ์  
อ่าน: 164386 ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
katathorn
อสุรผัด
*
ตอบ: 11


"ไปกับอนาคตได้ต้องไม่ลืมอดีต"


ความคิดเห็นที่ 90  เมื่อ 17 เม.ย. 11, 21:47

ส่วนปัญหาของคุณคือสิ่งนี้ใช่ไหมครับ
ใช่แล้วครับผม นั่นล่ะครับที่สงสัย
คือสมัยก่อนผมเคยสงสัยข้อความที่ว่า"มือถือปืนมีคันชีพ"เลยไปถามนักวิชาการทางประวัติศาสตร์ท่านนึง ท่านก็บอกมาว่าเปนขาหยั่งปืนนั่นแหละ แลบลิ้น แล้วผมก็เข้าใจผิดมาโดยตลอดนี่ล่ะครับ วันนี้กระจ่างแล้ว ยิ้มเท่ห์ ขอบคุณมากครับ
บันทึกการเข้า

ภริยา ปรมา สขา
ภริยาเป็นเพื่อนสนิท, ภรรยาเป็นสหายอย่างยิ่ง
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 91  เมื่อ 17 เม.ย. 11, 21:48

คันชีพมีอีกความหมายดั้งเดิมในศาสนาพราหมณ์เวลาทำพิธีตรียัมพวาย คือเป็นจงกลเทียนที่มีหลายกิ่งหล่อจากทองเหลือง เรียกว่าคันชีพ  พราหมณ์ใช้แกว่งไปมาเพื่อบูชาเทวรูป

โหว ไปถึงท่านวามเทพมุนีเลยนะขอรับ  ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 92  เมื่อ 17 เม.ย. 11, 21:48


ดังที่คุณหนุ่มเฉลย

ทหารจะเรียกว่า "ขาทราย" ติดไว้ที่ปืน เมื่อใช้ก็กางขาออกปักดินไว้ ปืนจะนิ่งเล็งยิงได้แม่นยำขึ้น
ฉะนั้นเวลาใช้งาน พ่อมืดคนนั้นก็ต้องโดดลงจากหลังม้าก่อนเพื่อมาตั้งหลักยิง

แต่ถ้าตลุมบอนกัน จำเป็นต้องใช้ปืนบนหลังม้า ก็อย่าไปกางขาทรายออก เดี๋ยวมันจะไปแทงคอม้าอย่างว่า เอามือรวบขาไว้แล้วยิงไป ถ้าระยะใกล้ๆก็ถูกมั่งละน่านะ ผมว่า




บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 93  เมื่อ 17 เม.ย. 11, 22:12

ตามที่ อ.NAVARAT.C เคยว่าไว้ว่า แม่น้ำสะโตงกว้างประมาณ ๖๐๐ - ๘๐๐ เมตร ซึ่งปืนสมัยเมื่อ ๔๐๐ ปีก่อนน่าจะยิงวิถีแนวโค้งประกอบกระมังครับ เนื่องด้วยระยะหวังผลการยิงแนวโค้งจะไปไกลกว่ายิงแนวราบนะครับ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 94  เมื่อ 17 เม.ย. 11, 22:53

^
ตามนี้ครับ

อ้างถึงคคห.30

อ้างถึง
อ้างถึง
ความแม่นของปืน ขึ้นกับอะไรบ้าง ด้วยเคยยิงปืนมาบ้าง ทำให้รู้ว่า "เป้า" นั้นยิ่งไกล ยิ่งยิงยาก เนื่องจากเป้านั้นจะเล็กลงไปเรื่อยๆ โอกาสพลาดได้มาก
นอกจากฝีมือและประสพการณ์ของผู้ยิงแล้ว เป้าหากไกลมากก็ต้องเพิ่มดินปืนตามสัดส่วน แต่ก็ต้องรู้ต้องชำนาญมาก สุ่มสี่สุ่มห้าพอยิงแล้วลำกล้องแตก คนยิงก็จะเป็นผู้ตายเสียเอง
อย่างที่ท่านมุ้ยว่า ระยะยิงกับความกว้างของแม่น้ำสะโตงไม่ใช่ปัญหา คือกระสุนนั้นถึงแน่ แต่ต้องเสียระดับตามแรงดึงดูดของโลก ผู้ยิงจะต้องแก้วิถีกระสุนโดยต้องเล็งเป็นวิถีโค้ง (แม้ปืนสมัยนี้ก็ต้องทำดังว่าเช่นกัน) [/b] เมื่อไม่มีศูนย์หลัง ก็ขึ้นกับความเก่งของคนยิงครึ่งนึก โชคชะตาอีกครึ่งนึง
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 95  เมื่อ 17 เม.ย. 11, 22:59


อ้างถึง
คันชีพ เขาใช้กันในหลายความหมาย สำหรับทหารแล้วหมายถึงกระเป๋าใส่กระสุนปืน ฝรั่งเรียก Gun Chief ไทยเราเรียกเพี้ยนแต่ฟังดูโก้ว่ากระเป๋าคันชีพครับ เป็นเครื่องแบบของทหารรักษาพระองค์

เอาละซีครับ ข้อความข้างต้นนี้ ผมเอามาจากเวปของทหาร ซึ่งมีข้อความลอกกันต่อๆมาหลายหน้ากูเกิลว่า คันชีพ มาจากคำภาษาอังกฤษว่า "Gun Chief" นั้นก็หมายความถึง กระเป๋าสำหรับใส่กระสุนปืนของทหาร นั่นเอง

ด้วยความที่เห็นมันแหม่งๆ ผมเลยเอาคำนี้ไปค้นต่อ เอาละซีครับ Gun Chief ทหารฝรั่งหมายถึงผู้บังคับปืน เป็นคนครับไม่ใช่เป็นสิ่งของ ส่วนกระเป๋าใส่กระสุนปืน ทหารฝรั่งเรียกว่า Pouch ดังตัวอย่างข้างล่างนี่

สงสัยที่ท่านบอกว่าเพี้ยนมาจาก Gun Chief ก็เห็นจะจริงอยู่ ตอนนั้นทหารอังกฤษสมัยวิกตอเรียนที่เข้ามาเป็นครูฝึกทหารสมัยรัชกาลที่๔ บางคนคงเรียกตนเองว่าเป็นกันซี๊ฟ และแต่งเครื่องแบบคาดเข็มขัดกระสุนดังกล่าวดูเท่ห์มากมาย จนเราเอามาทำเป็นเครื่องแบบทหารรักษาพระองค์บ้าง เลยเรียกกระเป๋านี้ว่าเป็นแบบกันซี๊ฟ นานวันเข้าก็เลยเป็นคันชีพไปด้วยประการฉะนี้






บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 96  เมื่อ 18 เม.ย. 11, 11:27

ภาพที่๓ สมเด็จพระนเรศวรตามจับพระยาจีนจันตุ


รัชกาลที่ ๕ ทรงมีพระราชนิพนธ์บรรยายภาพนี้ไว้ว่า

พระยาจันจันตุข้า          ขอมขุน
มาสู่กรุงมุ่งบุญ             ปกเผ้า
ปิ่นภพกอบการุญ          รับปลูก เลี้ยงแฮ
ยกโทษโปรดเกษเกล้า    ห่อนพ้องจองไภย

กลับใจจักสู่เจ้า            ปถพี ตนแฮ
สืบทราบการธานี          ใหญ่น้อย
หวังสยายถ่ายทอดมี      มาแต่ หลังนา
สู่สเภาค่ำคล้อย           ลอบโล้ครรไลย

พระดนัยนเรศวร์แจ้ง      เหตุรหัศ
ทรงพระชลยานรัด        รีบร้น
พร้อมเรือนิกรขนัด       ขนาบไล่ สเภาแฮ
ทรงพระแสงปืนต้น       ลั่นต้องจีนตาย
 
ตัวนายกัมพุชจ้อง        วางปืน มานา
ต้องพระแสงทรงราง     ลั่นร้าว
รบพลางรีบหนีพลาง     เรือตก ลึกเฮย
ลมเกิดกางใบก้าว        ล่องลี้หายลำ
 
http://161.200.145.33/rarebook-ft/doc.asp?dirid=I0037&page=0028&dirname=โคลงภาพพระราชพงศาวดาร

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 97  เมื่อ 18 เม.ย. 11, 18:19

หลังจากติดตามอ่านด้วยความเพลิดเพลินมาเกือบ ๑๐๐ ค.ห.    ก็เกิดอยากรู้ขึ้นมาว่า เขมรบันทึกเรื่องพระยาจีนจันตุว่ายังไงบ้าง  หลังจากหนีรอดไปได้  แกไปทำอะไรอีก    จึงไปค้นประวัติศาสตร์เขมรในยุคสมเด็จพระนเรศวรดู     ผลคือยังไม่พบพระยาจีนจันตุ   แต่พบอะไรที่น่าทึ่ง  อาจจะมีผู้รู้ในเว็บเรือนไทยเคยผ่านตามาแล้ว  แต่ดิฉันยังไม่เคยอ่าน

อย่างแรกคือพระยาละแวกนั้น ไม่ได้ชื่อพระยาละแวก   แต่ละแวกหรือ Lovek เป็นชื่อเมืองหลวงของเขมรแต่โบราณเรื่อยมาจนถึงคริสตวรรษที่ 16   ไม่รู้ว่าปัจจุบันคือจังหวัดหรือเมืองอะไรของกัมพูชา
ตัวพระเจ้าแผ่นดินเขมรที่เราเรียกว่าพระยาละแวก  ชื่อพระเจ้า Satha (สธา?- ไม่ทราบว่าออกเสียงไทย หรือเขมรว่าอย่างไร   ขอใครที่ทราบช่วยบอกด้วยค่ะ)  

สนุกกว่านี้ก็คือ ศึกระหว่างสเปนกับสยาม ในยุคสมเด็จพระนเรศวร    ท่านมุ้ยไม่ได้ใส่เรื่องนี้ไว้ในหนังของท่านเลยหรือคะ   หรือว่ามีเหมือนกันแต่ท่าน NAVARAT ยังเล่าไม่ถึง

As the Siamese king, Naresuen, advanced on Lovek (Cambodia's capital for much of the 16th century), the feeble Cambodian king, Satha, became desperate. Using Diogo Veloso, a Portuguese soldier of fortune, as his envoy, Satha pleaded for aid, first from the Portuguese at Malacca, then from the Spaniards at Manila. A Spanish force was sent from Manila in 1594 but it arrived too late; the Spaniards found that Cambodia had fallen to the Siamese, Veloso was a prisoner in Siam, and King Satha was a refugee in Laos. The Spanish leader, Blaz Ruiz, was captured and placed on a prison ship headed for Siam. Unwilling to give up so easily, Ruiz managed to hijack the ship and take it back to Manila. Meanwhile the equally resourceful Veloso gained favor with Naresuen and got himself placed in command of a ship carrying the Siamese ambassador to Manila.

The adventure became even more bizarre once Veloso and Ruiz were united in Manila. Forgetting that he was now officially a diplomat of Siam, Veloso claimed that he represented Cambodia's ex-king and signed a highly irregular treaty. This document allowed Spanish troops, merchants, and missionaries to travel freely in Cambodia, and promised that the king and queen would become Christians in return for military aid. Then Veloso and Ruiz led a raid on Siamese-occupied Phnom Penh. Deciding at first to return to Manila after this affair, they later changed their minds, jumped ship in a Vietnamese port, and marched overland from Vietnam to Laos, where they discovered that Satha and his eldest son had died. The adventurers returned to Cambodia in 1597 with Satha's second son in tow; fearing another Spanish invasion, the terrified Cambodians allowed them to crown the prince as King Barom Reachea II.

The puppet monarchy was short-lived, though. In 1599 a fight between the Spaniards and some Cham and Malay mercenaries grew into a massacre that killed almost every Spaniard in Phnom Penh. The pro-Spanish king became yet another of Southeast Asia's many victims of regicide. Four years later a fresh royal weakling made overtures to Manila, but Naresuen replaced him with a pro-Siamese monarch immediately. The Spanish game in Cambodia was over, and with it ended Spain's only attempt to expand her empire onto the Asian mainland.
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 98  เมื่อ 18 เม.ย. 11, 18:21

ภาพนี้ไม่มีคำบรรยาย   เลยไม่รู้ว่ากษัตริย์ในเรื่องคือพระเจ้า Satha   หรือว่าสมเด็จพระนเรศวร     แต่อย่างน้อยก็พอสันนิษฐานถึงการแต่งกายในสมัยนั้นได้  ไม่ว่าเขมรหรืออยุธยาคงแต่งกายไม่แตกต่างกันนัก


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 99  เมื่อ 18 เม.ย. 11, 19:21

พิมพ์ไว้ คลิกผิดทีเดียวหายไปหมด  ต้องก้มหน้าก้มตาพิมพ์ใหม่

ประวัติศาสตร์เขมร(ที่น่าจะได้มาจากบันทึกของฝรั่ง) ในตอนนี้ เล่าไว้ว่าสมเด็จพระนเรศวรยกทัพไปบุกเมืองละแวก เมืองหลวงของเขมร    พระเจ้า Satha หรือที่เราเรียกว่าพระยาละแวกรู้ว่าแพ้แน่  ไม่มีทางสู้ก็เลยหันไปขอความช่วยเหลือจากทหารรับจ้างชาวปอร์ตุเกศคนหนึ่งชื่อนายเวโลโซ  ซึ่งมารับจ้างรบอยู่ในเขมร   ส่งตัวเป็นทูตถือสารไปขอความช่วยเหลือจากกองกำลังต่างชาติ    ทีแรกก็ไปขอกองทหารปอร์ตุเกศที่มะละกา  และครั้งที่สองไปขอกองทหารสเปนที่มะนิลา    
กองทหารสเปนจากมะนิลาเดินเรือมาช่วยจริงๆเมื่อพ.ศ.2137     แต่ว่ามาถึงช้าไป   เขมรตกเป็นเมืองขึ้นของอยุธยาไปเรียบร้อยแล้ว    ตัวเวโลโซก็ถูกจับเป็นเชลยอยู่ในอยุธยา    ส่วนพระเจ้าแผ่นดินเขมรหนีไปลี้ภัยอยู่ในลาว   ตัวนายทหารที่คุมกองทหารมาชื่อเบลซ รูอิซ( Blaz Ruiz) ถูกจับได้แล้วขังเป็นนักโทษอยู่ในเรือที่มุ่งหน้ามาอยุธยา    แต่นายคนนี้เก่ง   หลุดจากที่คุมขังแล้วจี้บังคับเรือให้หันหัวกลับไปมะนิลา  ก็เลยรอดไปได้  ส่วนเรื่องจะมารุกรานทำศึกกับอยุธยาก็เจ๊ากันไป
ทางอยุธยา  นายเวโลโซซึ่งรอบจัดพอกัน   ไปประจบประแจงเพ็ดทูลอย่างไรก็ไม่ทราบก็หลุดจากสภาพเชลยศึก    ทำตัวให้สมเด็จพระนเรศวรโปรดปรานจนได้เป็นนายเรือ คุมเรือพาราชทูตไทยไปเจริญสัมพันธไมตรีกับสเปนที่มะนิลา  

แต่พอไปถึงมะนิลา ทั้งเวโลโซและรูอิซเจอกันอีกครั้ง     ลายของนายเวโลโซก็ออก    นอกจากทรยศไม่ยอมรับว่าตัวเองเป็นหนึ่งในคณะราชทูตไทยแล้ว   ยังพลิกกลับไปอ้างว่าตัวเองคือตัวแทนผู้มีอำนาจเต็มของพระเจ้าแผ่นดินเขมรองค์ก่อน   สามารถลงนามในสนธิสัญญา ซึ่งยินยอมให้กองทหารสเปน  พ่อค้าและผู้เผยแพร่ศาสนาได้เดินทางเข้าออกเขมร ไปไหนมาไหนได้อย่างเสรี   แลกกับการขอกำลังสเปนไปช่วยบ้านเมืองเขมรทำศึกกับอยุธยา    แล้วยังสัญญาด้วยว่าพระเจ้าแผ่นดินเขมรกับพระมเหสีจะตกลงเปลี่ยนศาสนามาเป็นชาวคริสต์
เมื่อทำแบบนี้ก็ได้กองกำลังกลับไป   ทั้งสองคนนี้ก็เข้าโจมตีพนมเปญ    ทีแรกตั้งใจว่าเสร็จศึกแล้วจะกลับมะนิลา แต่ก็เปลี่ยนใจไปขึ้นท่าที่เมืองญวนแล้วเดินทางบกไปที่ลาว    เมื่อไปถึงพบว่าพระยาละแวกและพระราชโอรสพระองค์ใหญ่สิ้นพระชนม์กันไปแล้ว   สองคนนี้ก็เลยกลับมาพนมเปญ  พ่วงพระโอรสองค์รองมาด้วย

 
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 100  เมื่อ 18 เม.ย. 11, 19:29

เมื่อไปถึง  ชาวเขมรก็อ่อนน้อมยอมให้สองคนนี้ สถาปนาพระโอรสองค์รองขึ้นเป็นกษัตริย์เขมร ทรงพระนามว่าพระบรมราชาที่ 2 

ที่อ่านเจอนี้เป็นประวัติย่อ  ไม่มีบอกว่าแล้วเกิดอะไรขึ้นกับกษัตริย์เขมรองค์ที่ครองราชย์อยู่เมื่อกองทหารสเปนบุกพนมเปญ   แต่จากรูปการณ์ก็เดาว่าพระราชาองค์นี้แพ้ไปตามระเบียบ   ไม่แน่ว่าตอนสองคนนี้พาพระโอรสพระยาละแวกกลับมา   พระราชาที่แพ้นั้นตายหรือยังไม่ตาย     ถ้ายังไม่ตายก็คงถูกถอดจากบัลลังก์ให้เจ้าชายองค์ใหม่ขึ้นครองแทน

ดูจากพฤติการณ์ของนายเวโลโซในเรื่องที่เล่าข้างบนนี้   แกก็คงมีจุดประสงค์คล้ายๆฝรั่งเศสทำกับอยุธยา สมัยสมเด็จพระนารายณ์     ตัวแกก็คล้ายๆออกญาวิชเยนทร์  เช่นกัน   คือต้องการรวบอำนาจเข้าสู่ตัว และเผยแพร่อิทธิพลของฝรั่งเข้าครอบงำอาณาจักรในเอเชียอาคเนย์
นี่คือเหตุผลว่าทำไมแกไม่สวามิภักดิ์กับสมเด็จพระนเรศวรจริง     กษัตริย์ที่เข้มแข็งอย่างพระองค์ย่อมไม่มีทางให้ความฝันของทหารรับจ้างเป็นจริงขึ้นมาได้
(ยังไม่จบ ค่ะ)
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 101  เมื่อ 18 เม.ย. 11, 19:38

พระเจ้า Satha = นักพระสัฏฐา

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
katathorn
อสุรผัด
*
ตอบ: 11


"ไปกับอนาคตได้ต้องไม่ลืมอดีต"


ความคิดเห็นที่ 102  เมื่อ 18 เม.ย. 11, 20:53

 มาปูเสื่อรอรับชมครับ ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า

ภริยา ปรมา สขา
ภริยาเป็นเพื่อนสนิท, ภรรยาเป็นสหายอย่างยิ่ง
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 103  เมื่อ 18 เม.ย. 11, 21:06

ขอบคุณค่ะ  บางแห่งสะกดว่า นักพระสัตถา  
มาเล่าเวอร์ชั่นฝรั่งของประวัติศาสตร์เขมร ต่อ

รัชสมัยของพระบรมราชาที่ 2  ของเขมร  ผู้ตกอยู่ในฐานะหุ่นเชิดของฝรั่งโปรตุเกศและฝรั่งสเปน อยู่ได้ไม่นานก็ถึงจุดจบ    ในพ.ศ. 2142 พวกทหารรับจ้างจามและมลายูในพนมเปญก็ก่อกบฏขึ้น  สังหารทหารสเปนเสียแทบไม่เหลือหลอ  พระเจ้าบรมราชาที่ 2 เองก็ถูกปลงพระชนม์จากศึกกลางเมืองครั้งนี้    
สี่ปีต่อมา  พระเจ้าแผ่นดินองค์ใหม่ของเขมร( ในนี้ไม่ได้บอกว่าเป็นใคร) พยายามสร้างไมตรีกับสเปนที่มะนิลาอีก    แต่ว่าโดนสมเด็จพระนเรศวรถอดออกจากราชบัลลังก์    แล้วทรงตั้งเจ้าเขมรองค์ใหม่ที่จงรักภักดีต่ออยุธยาขึ้นครองราชย์แทน    จากนั้น อิทธิพลของสเปนในเขมรก็สิ้นสุด    นับเป็นครั้งแรกและครั้งเดียวที่สเปนพยายามยื่นมือเข้ามาครองอำนาจเหนือเอเชียอาคเนย์  

เนื่องจากที่อ่าน เล่าไว้รวบรัดมาก   เลยไม่รู้ว่าเมื่อเกิดฆ่าฟันล้างเผ่าพันธุ์สเปนกันกลางพนมเปญ  ใครชนะ   พระเจ้าแผ่นดินเขมรองค์ใหม่ที่ถูกสมเด็จพระนเรศวรถอดจากบัลลังก์เป็นเจ้านายเขมรฝ่ายไหน       เวโลโซกับรูเอซตายในศึกกลางเมืองครั้งนั้นหรือไม่
แล้วเขมรบันทึกเรื่องสเปน และนายทหารโปรตุเกศ   ตลอดจนทหารรับจ้างต่างชาติที่ก่อศึกกลางเมืองสังหารโหดกันเอาไว้มากน้อยแค่ไหน   ยังไม่ได้หาอ่านต่อ  
ขอเชิญท่านที่สนใจ กรุณาหาอ่านต่อเอง  หรือจะมาโพสเล่ากันในกระทู้นี้ก็จะขอบคุณมาก
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 104  เมื่อ 18 เม.ย. 11, 21:10

ไปหาประวัติของเวโลโซมาได้อีกนิดหน่อย   

คุณวิกี้บอกว่าเขาเป็นฝรั่งคนแรกที่ไปถึงอาณาจักรล้านช้าง     จากประวัติ ดูนายทหารโปรตุเกศจงรักภักดีกับพระยาละแวกหรือนักองค์สัฏฐามาก      ถึงกับตามไปช่วยให้กลับจากลาวมาครองเขมรเหมือนเดิม  แต่ไม่ทัน นักองค์สัฏฐาสิ้นพระชนม์เสียก่อน  กลับมาแกก็ช่วยเขมรทำศึก  ขับไล่กองทัพอยุธยาที่ยึดเขมรบางส่วนไว้ให้ถอยกลับอยุธยาไปได้ 

หลังสงครามกลางเมืองในพนมเปญ  เวโลโซรอดไปได้ ไม่ยักตาย     เขาออกจากเขมรไปมะละกา  จากนั้นก็ไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับตัวเขาอีก  ไม่แน่ว่าตายที่มะละกานั่นเอง หรือว่ากลับไปตายที่โปรตุเกศบ้านเกิดเมืองนอน   หรือว่าตายที่ไหนกันแน่

นักองค์พระสัตถาในฉบับไทยและเขมร เป็นแบบไหนคะ   รออ่านอยู่
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9 ... 23
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.048 วินาที กับ 20 คำสั่ง