เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 23
  พิมพ์  
อ่าน: 164381 ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 75  เมื่อ 17 เม.ย. 11, 14:08

^
นั่นเป็นกิริยาที่ "โล้" เรือละ

แต่คุณคิดว่า สามเกลอนี่จะโล้เรือ ลากสำเภาไหวหรือครับ

อ้างถึง
การโล้สำเภา ในกรณีนี้สำเภาเป็นสำเภาเดินทะเล ออกไปถึงเขมรได้ ไปถึงกวางตุ้งได้ จึงเป็นเรือสำเภาขนาดใหญ่ คงยากที่จะใช้พาย ๆ จึงต้องใช้เรือโยงนำร่องออกไป (เหตุการณ์เกิดช่วงปากอ่าวก็เป็นไปได้) เมื่อเรือกินลมบกแล้ว พัดเรือออกทะเลได้

แบบนี้พอไหวไหมครับ  ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 76  เมื่อ 17 เม.ย. 11, 14:47

ในภาพขยาย จะเห็นยุทธวิธีที่ทรงใช้ พงศาวดารกล่าวว่า พระนเรศวรจะทรงให้ทหารปีนขึ้นสำเภา บัญชาการให้เรือพระที่นั่งหนุนไปให้ชิดเรือของพระยาจีนจันตุ แล้วทรงยิงปืนนกสับถูกจีนผู้ใหญ่ตายสามคน พระยาจีนจันตุยิงปืนนกสับมาต้องรางปืนที่ทรงอยู่ แล้วเร่งโล้สำเภาออกไปพ้นปากน้ำ….

ไม่มีตรงไหนกล่าวถึงปืนใหญ่เล้ย



เหตุการณ์นี้มีบันทึกเป็นภาพไว้อีกแห่งหนึ่ง

พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ที่ทุ่งมะขามหย่อง อยุธยา มีภาพหล่อโลหะนูนต่ำไว้ดังนี้

http://www.siamnava.com/fff/index.php?topic=2129.0




คุณนวรัตนคิดว่าปืนในภาพข้างบนเป็นชนิดเดียวกับ พระแสงปืนต้นข้ามแม่น้ำสะโตง  หรือไม่

 ฮืม
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 77  เมื่อ 17 เม.ย. 11, 15:16

^
ชนิดเดียวกันแน่นอนครับ แต่อาจจะคนละกระบอก


เรื่องพระนเรศวรตามล่าพระยาจีนจันตุนี้ ผมสันนิฐานดังนี้ครับ

๑ เรือสำเภาของพระยาจีนจันตุ ไม่น่าจะเป็นสำเภาที่ใหญ่เทอะทะ ออกแบบสำหรับจะขนสินค้าให้มากอย่างเดียวเช่นเรือค้าขายที่ขึ้นล่องถึงกวางตุ้ง แต่ใหญ่พอที่จะเดินเรือเลียบชายฝั่งได้ และต้องเล็กพอที่จะคล่องตัวในแม่น้ำ ซึ่งทั้งกรุงศรีอยุธยาและเมืองละแวกอยู่ไกลจากปากอ่าวพอๆกัน

๒ เมื่อเรือมีขนาดเล็กลง ก็มีแจวได้ เพื่อไว้ใช้เคลื่อนตัวได้เองโดยไม่ต้องมีเรือจูง(ต้องใช้หลายลำดังภาพของคุณหนุ่มสยามด้วย) ที่ต้องหนักแรงคนเพิ่มขึ้นไปอีก
เรือจูง คงต้องใช้บ้างเพื่อเบนหัวออกจากท่า

๓ อย่างไรก็ดี เมื่อลมอำนวย เรือนี้ก็สามารถวิ่งได้ ช้าหรือเร็วเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ถ้าลมไม่แรงพอและอยู่ในภาวะรีบเร่ง เช่นกำลังหนีเรือเร็วที่ตามมา ก็ต้องแจวเสริมแรงเข้าไปด้วยเพื่อหนีตาย

๔ ฤดูกาลที่คิดหนีก็สำคัญ จะมีช่วงฤดูหนาวเท่านั้นที่จะมีลมเหนือ พัดจากอยุธยาลงมาใต้ และเป็นลมแรงเสียด้วย จะคิดหนี ก็ต้องหนีช่วงนั้น เรือจะกินลมตั้งแต่ยังไม่ถึงปากอ่าว แต่เมื่อเข้าคุ้งน้ำ ก็ต้องวิ่งซิกแซกให้ใบกินลมเสียเวลาไปบ้าง จุดนี้เรือดั้งใช้ฝีพาย มีคนคัดท้ายจะได้เปรียบ

๕ จีนก็เป็นจ้าวของปืนยาวในยุคนั้นเช่นกัน แม้จะไม่ค่อยแม่นยำแต่ก็จะทำให้เรือพระนเรศวรเข้าใกล้ลำบาก พื้นที่บนเรือใหญ่ก็เอื้ออำนวยต่อการบรรจุกระสุนแต่ละชุดได้คล่องกว่าคนบนเรือดั้ง จำนวนพลยิงก็มากกว่า อำนาจการยิงจึงน่าจะเป็นของพระยาจีนจันตุ สำเภาจึงประคองตัวหนีเรือรบของกรุงศรีไปได้ตลอดจนถึงทางตรงที่เป็นร่องลม

๖ เท็จจริงแล้ว พระนเรศวรอาจจะไม่ได้ตามไปถึงปากน้ำก็ได้ เพราะระยะทางร้อยกว่ากิโล ฝีพายคงสิ้นกำลังไปก่อน ข้าวน้ำก็ไม่รู้จะได้กินหรือเปล่า



บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 78  เมื่อ 17 เม.ย. 11, 15:22

แผนที่เมืองละแวกของชาวดัชท์ครับ


บันทึกการเข้า
ธีร์
มัจฉานุ
**
ตอบ: 54



ความคิดเห็นที่ 79  เมื่อ 17 เม.ย. 11, 15:48

เรื่องเรือสำเภาที่วัดยานนาวาครับ

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมหมื่นไกรสรวิชิต (พระองค์โต พระองค์เจ้าชายสุทัศน์ พระโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก กับ เจ้าจอมมารดากลิ่น ว่าการกำกับกรมสังฆการี กรมธรรมการ กรมอาลักษณ์ และคลังเสื้อหมวก เป็นต้นสกุล “สุทัศน์ ณ อยุธยา”) เป็น แม่กองปฏิสังขรณ์พระอุโบสถวัดยานนาวา ที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้เคยปฏิสังขรณ์ไว้แล้ว พร้อมทั้ง ทรงให้สร้างพระเจดีย์มีฐานเป็นสำเภาอยู่ข้างหลังพระอุโบสถ จนแล้วเสร็จในเดือน ๙ ปีมะโรง ฉศก จ.ศ. ๑๒๐๖ พ.ศ. ๒๓๘๗ นั้นเอง และทรงโปรดฯให้สร้างและถวายกุฏีสงฆ์ที่ทรงสร้างใหม่ให้แก่พระสงฆ์ จำนวน ๒ หลัง และปิดทองหน้าบัน บานประตู หน้าต่าง ซุ้มประตูหน้าต่างพระอุโบสถในคราวเดียวกัน และทรงโปรดฯให้มีงานพระราชเพลิงศพ หลวงสุนทรภักดี ด้วย
      ปี จ.ศ. ๑๒๐๗ ปีมะเส็ง สัปตศก พ.ศ. ๒๓๘๘ ทรงมีพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้วัดยานนาวาให้มีเทศนาประจำวัด และเมื่อพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ (พระองค์เจ้าหญิงวิลาส) ได้สิ้นพระชนม์ เมื่อวันพฤหัสบดี ที่ ๒๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๓๘๘ หลังเสร็จงานพระศพแล้ว ก็ได้ทรงโปรดฯให้สร้างรูปหล่อพระเวสสันดรกัณหาชาลี ขึ้น และโปรดฯให้มีงานพระราชพิธีแห่รูปพระเวสสันดรกัณหาชาลี ไปไว้ท้ายเจดีย์เรือสำเภา พร้อมกับทรงโปรดให้มีงานฉลองวัดยานนาวา เป็นเวลา ๗ วัน ในปี จ.ศ. ๑๒๐๙ ปีมะแม นพศก พ.ศ. ๒๓๙๐
             
เจดีย์รูปเรือสำเภา
     มูลเหตุที่สร้างเจดีย์รูปเรือสำเภาที่วัดยานนาวานั้น พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริเห็นว่า พระอุโบสถวัดคอกกระบือทรุดโทรมลงมาก จึงมีพระราชศรัทธาปฏิสังขรณ์พระอุโบสถ แล้วใคร่จะทรงสร้างเจดีย์เพิ่มขึ้น ทรงพระราชดำริเห็นว่า จะสร้างเป็นพระสถูปหรือพระปรางค์ก็มีอยู่ที่อื่นมากแล้ว ทรงปรารภว่า แต่ก่อนมา เรือที่ใช้ไปมาค้าขายกับต่างประเทศใช้เรือสำเภาเป็นพื้น ในเวลานั้นเกิดต่อเรือกำปั่นใบอย่างฝรั่งใช้กันมากขึ้นทุกที พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพยากรณ์ว่า เรือสำเภาคงจะสูญไป อาศัยเหตุนี้ เมื่อทรงดำริหาแบบอย่างพระเจดีย์ที่จะสร้างวัดที่คอกกระบือ ทรงระลึกขึ้นถึงธรรมทั้งหลายที่ซึ่งพระเวสสันดรโพธิสัตว์ อุปมาเหมือนเรือสำเภายานนาวาในมหาเวสสันดรชาดกกัณฑ์กุมาร จึงโปรดเกล้าฯให้สร้างพระเจดีย์มีฐานเป็นสำเภาเท่าขนาดเรือสำเภาจริงขึ้นไว้ที่วัดคอกกระบือ มีพระราชดำรัสว่า
                    “คนภายหน้าอยากจะเห็นเรือสำเภาเป็นอย่างไรจะได้มาดู”
อนึ่ง เมื่อมีการสร้างเจดีย์รูปเรือสำเภาจีนที่วัดแล้วเสร็จ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้ทรงพระราชทานนามวัดใหม่ จากวัดคอกกระบือ เป็น “วัดญานนาวาราม” แทน
ส่วนของสำเภาและพระเจดีย์
 
                ส่วนยาวของสำเภาตลอดลำ วัดแต่หงอนข้างบนถึงท้ายบาหลีได้ ๒๑ วา ๒ ศอก ส่วนยาวตลอดลำ วัดจากพื้นดินได้ ๑๘ วา ๑ ศอกเศษ ส่วนกว้างตอนกลางลำ ๔ วา ๓ ศอก ส่วนสูงตอน กลาง ลำ ๒ วา ๓ ศอก
มีพระเจดีย์อยู่ในสำเภา ๒ องค์ องค์ใหญ่ฐานล่างกว้าง ๓ วา ๑ ศอกเศษ สูงจากพื้นบนถึงยอด ๘ วา องค์เล็กฐานล่างกว้าง ๗ ศอกเศษ สูงจากพื้นบนถึงยอด ๖ วาถ้วน
                พระยาอนุมานราชธน ทรงประพันธ์เรื่องเรือสำเภาวัดยานนาวาที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๖๗ กับคำพยากรณ์ของพระองค์ไว้ในหนังสือตำนานศุลกากร เอาไว้ว่า
                “ท่านคงนึกแปลกใจอยู่บ้างว่า เวลานี้ก็ยังมีเรือสำเภาอยู่ จะว่าสูญไปอย่างไร แต่ที่จริงสำเภาที่เห็นอยู่ในทุกวันนี้ เป็นเรือสำเภาแบบไหหลำ หาใช่เรือสำเภาที่กล่าวถึงนี้ไม่ แบบเรือสำเภาที่แท้จริง ก็คือที่มีอยู่ที่วัดยานนาวา แต่ภายหลังเรือสำเภานี้ชำรุดตอนหัวเรือหักพังลง ได้บูรณะปฏิสังขรณ์ใหม่ รูปหัวเรือเห็นจะผิดไปจากเดิม เพราะได้ทราบจากผู้ใหญ่เล่าให้ฟังว่า เรือสำเภาของพวกเจ้าสัวที่ไปค้าขายยังเมืองจีนแต่ก่อน หัวของเรือสำเภาของเดิมมีรูปเหมือนมีดโกนพระของเก่า(มีตัวอย่างอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ) หาใช่เป็นรูปมีดดาบอย่างที่ซ่อมใหม่นี้ไม่…”


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 80  เมื่อ 17 เม.ย. 11, 16:13

รูปบนนี่มั้ง ที่หัวเรือเหมือนใบมีดโกนของพระ

ส่วนลำล่างเป็นสำเภาจีนขนาดย่อม ติดแจวให้โล้ได้



บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 81  เมื่อ 17 เม.ย. 11, 16:37

ย้อนกลับไปอ่านข้อความในพงศาวดารที่คุณหนุ่มคัดมาไว้
อ้างถึง
ครั้นถึง ณ วันอาทิตย์ เดือนยี่ ขึ้นสี่ค่า ปีระกา ตรีศก ( ตรงกับ ศักราช ๙๒๓ )

เดือนยี่ คือเดือนธันวาคม เป็นช่วงที่ลมเหนือพัดพาเอาหนาวลงมาจากจีนพอดี ตรงตามที่ผมสันนิฐานไว้ พระยาจีนจันตุคงมีแผนหนีอยู่นานแล้ว ไม่ใช่เรื่อบังเอิญแบบเหตุการณ์พาไปอย่างในหนัง ขึ้นสี่ค่ำ น้ำยังเต็มฝั่งอยู่ วิ่งไม่ต้องกลัวท้องครูดเลนใต้น้ำในบางช่วงด้วย

อ้างถึง
เพลาประมาณ สองนาฬิกา พระยาจีนจันตุ ก็พาครัวลงสาเภาหนีล่องลงไป ขณะนั้นสมเด็จพระนเรศวรเจ้า เสด็จลงมาแต่เมืองพระพิษณุโลก เสด็จอยู่ในวังใหม่ สมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้าก็เสด็จยกทัพเรือตามพระยาจีนจันตุลงไปในเพลากลางคืนนั้น
เสด็จตาม มิได้บอกว่าปะทะกันในคืนนั้นเลยทีเดียว ผมคิดว่าเรือสำเภาพอได้ลมก็วิ่งได้ฉิวอยู่แต่ก็คงช้ากว่าเรือดั้ง หากภายจ้ำตามมา และเวลาเข้าคุ้งน้ำก็ต้องเสียเวลามากพอสมควร พระนเรศวรกว่าจะทรงทราบ กว่าจะเกณฑ์คนลงเรือและเคลื่อนพลได้ คงเสียเวลาเป็นชั่วโมงๆอยู่ คงจะตามมาทันตอนรุ่งสาง จึงมีเรื่องให้บันทึกว่ามีการดวลปืนยาวเพราะเห็นตัวกันแล้ว

ไม่แน่นะครับ หากเสด็จมาทันก่อนแสงอาทิตย์สาดฟ้า ทหารเรือไทยอาจจะอาศัยความมืดกำบังเข้าไปประชิดเรือใหญ่ แล้วส่งหน่วยซีลบุกขึ้นเรือได้ ตอนนั้นปืนไฟคงไม่มีประโยชน์เท่าไหร่

ผมเอาเรือสำเภาจีนที่วิ่งค้าขายในลำน้ำเจ้าพระยา ตลอดไปถึงหัวเมืองปักษ์ใต้มาให้ดู เรือชนิดนี้เหลือรอดมาให้ฝรั่งถ่ายรูปไว้ได้ในยุครัตนโกสินทร์เลยทีเดียว



บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 82  เมื่อ 17 เม.ย. 11, 17:27

เอาแผนที่แม่น้ำเจ้าพระยามาให้ดูครับ ความยาววัดรวมคุ้งน้ำต่างๆจากอยุธยามาปากน้ำประมาณราวๆ 120 กม.

ผมคิดว่าที่พระยาจีนจันตุเลือกออกเรือตอน๒ยาม ก็น่าจะเป็นช่วงที่น้ำกำลังจะขึ้นสูงสุดแล้ว และจะทรงอยู่สักช่วงหนึ่งก่อนที่จะเริ่มไหลลงสู่ทะเลใหม่ เรือจะได้วิ่งตามน้ำตามลมมาสบายๆ ถ้าความเร็วเรือเฉลี่ยประมาณ๘น๊อต หรือประมาณ๑๕ กม./ชม. ก็น่าจะออกปากอ่าวได้ในตอนสายๆ

เรือดั้งของพระนเรศวร โชคดีที่พายตามน้ำมาเหมือนกัน ถ้าจ้ำๆหน่อยก็เร็วมากแต่จะยืนระยะไม่อยู่ ถ้ามาแบบเร่งๆแต่ไม่รีบ(เอ๊ะ แปลว่าอะไร?) พอไม่ให้เหนื่อยจนขาดใจไปเสียก่อน ก็น่าจะมาได้ประมาณ ๓๐ กม./ชม. เพราะมีความเร็วของกระแสน้ำส่งให้ด้วย

เผลอๆ คงจะมายิงกันแถวบางกอกนี่แหละครับ ช่วงที่น่าลุ้นก็คือตอนเรือสำเภาเข้าคุ้งบางกระเจ้า ตรงนั้นแม่น้ำเจ้าพระยาโค้งเหมือนกระเพาะหมู เรือสำเภาใช้ใบต้องวิ่งสลับฟันปลาไปด้วยลำบากแน่ เหมาะที่เรือดั้งจะเข้ารุมกินโต๊ะ แต่พอพ้นไปแล้ว แถวพระประแดง แม่น้ำถึงไม่ตรงก็เกือบตรง เรือสำเภาก็วิ่งได้ฉิวแล้วละครับ

จะทรงวางปืนก็คงจะตอนนั้น ไม่ต้องต่อไปปากน้ำให้ทหารเหนื่อยตายคาเรือเสียเปล่าๆ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
katathorn
อสุรผัด
*
ตอบ: 11


"ไปกับอนาคตได้ต้องไม่ลืมอดีต"


ความคิดเห็นที่ 83  เมื่อ 17 เม.ย. 11, 19:43

ขออนุญาตินอกเรื่องนิดนึงครับ ยิงฟันยิ้ม พอดีไปเห็นคันชีพของปืนแบบนี้แล้วสงสัยน่ะครับ ไม่รู้เขาใช้กันอย่างไร เพราะดูแล้วสั้นเหลือเกินไม่น่าจะหยั่งลงถึงพื้นได้ขณะที่ทำการยิงแม้ว่าจะลงจากหลังม้าแล้วก็ตาม แถมจะใช้ยิงจากบนหลังม้าถ้าห้อยคันชีพลงมาก็คงจะแทงคอม้าเอา(ปลายแหลมซะด้วย) เขามีไว้ทำอะไรและใช้อย่างไรหรือครับ


บันทึกการเข้า

ภริยา ปรมา สขา
ภริยาเป็นเพื่อนสนิท, ภรรยาเป็นสหายอย่างยิ่ง
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 84  เมื่อ 17 เม.ย. 11, 21:27

ผมละมึนอยู่หลายตลบ ตอนแรกไม่ทราบว่าคุณคฑาธร จะให้ดูอะไรในรูป

คันชีพ เขาใช้กันในหลายความหมาย สำหรับทหารแล้วหมายถึงกระเป๋าใส่กระสุนปืน ฝรั่งเรียก Gun Chief ไทยเราเรียกเพี้ยนแต่ฟังดูโก้ว่ากระเป๋าคันชีพ เป็นเครื่องแบบของทหารรักษาพระองค์


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 85  เมื่อ 17 เม.ย. 11, 21:29

และได้มีการนำคันชีพมาทำเป็นแหนบติดกระเป๋าประดับเครื่องแบบด้วย เรียกว่า แหนบกันชีพ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 86  เมื่อ 17 เม.ย. 11, 21:31

ส่วนทหารเรือ เรียกผ้าคาดเอวในเครื่องแบบโบราณของฝีพายในกระบวนเรือพระราชพิธีว่า เข็มขัดคันชีพครับ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 87  เมื่อ 17 เม.ย. 11, 21:38

คันชีพมีอีกความหมายดั้งเดิมในศาสนาพราหมณ์เวลาทำพิธีตรียัมพวาย คือเป็นจงกลเทียนที่มีหลายกิ่งหล่อจากทองเหลือง เรียกว่าคันชีพ  พราหมณ์ใช้แกว่งไปมาเพื่อบูชาเทวรูป



บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 88  เมื่อ 17 เม.ย. 11, 21:40

ส่วนปัญหาของคุณคือสิ่งนี้ใช่ไหมครับ


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 89  เมื่อ 17 เม.ย. 11, 21:45

ขออนุญาตินอกเรื่องนิดนึงครับ ยิงฟันยิ้ม พอดีไปเห็นคันชีพของปืนแบบนี้แล้วสงสัยน่ะครับ ไม่รู้เขาใช้กันอย่างไร เพราะดูแล้วสั้นเหลือเกินไม่น่าจะหยั่งลงถึงพื้นได้ขณะที่ทำการยิงแม้ว่าจะลงจากหลังม้าแล้วก็ตาม แถมจะใช้ยิงจากบนหลังม้าถ้าห้อยคันชีพลงมาก็คงจะแทงคอม้าเอา(ปลายแหลมซะด้วย) เขามีไว้ทำอะไรและใช้อย่างไรหรือครับ


อาจจะมิได้หมายถึงตั้งขาทรายบนคอม้า ปืนนั้นคงพกติดตัว เผื่อไว้ซุ่มในพุ่มไม้ หมอบราบกับพื้น ตั้งปืนด้วยขาทรายมากกว่าครับ


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 23
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.06 วินาที กับ 20 คำสั่ง