เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 23
  พิมพ์  
อ่าน: 164371 ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 16 เม.ย. 11, 20:36

มาสมทบด้วยภาพ ค่ะ   ภาพแรก เขาเขียนว่า matchlock  แต่ดิฉันเข้าใจว่าเป็นอาคีบัสนี่เอง


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 16 เม.ย. 11, 20:37

ทหารจีนสมัยราชวงศ์ชิง    กับอาคีบัส


บันทึกการเข้า
ShopperKimpy
อสุรผัด
*
ตอบ: 11



ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 16 เม.ย. 11, 21:45

สวัสดีครับทุกท่าน ณ เรือนไทย วิชาการ ผมสมาชิกใหม่นะครับ ฝากเนื้อฝากตัวด้วยครับ
ปกติเข้ามาแต่แอบชมรูปสวยๆ แ่ต่เห็นกระูทู้นี้หัวข้อการสนทนาถูกใจเลยว่าจะเข้ามามีส่วนร่วมด้วยครับ

ขยายภาพ ทรงประทับพระแสงปืนต้น ยิงบนหลังช้างทรงเครื่องคชาภรณ์ ประดับฉัตรทองเต็มยศ จะดูมากไปหน่อยสำหรับช่วงเวลาวิกฤตที่ยังทรงไม่ต่างกับเชลย เพราะยังอยู่ในดินแดนศัตรูต้องรีบหนีสุดแผ่นดินให้พ้นเงื้อมมือพม่า

ในความคิดผมนะครับ ผมไม่แน่ใจนักว่าเราจะอ้างอิงข้อมูลหลายๆอย่างของยุคพระนเรศวรจากศิลปะยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์ได้หรือไม่

อย่างภาพด้านบนนี้ ก็เป็นที่น่าสงสัยอยู่ว่า หมวกหูกระต่าย และ หมวกทรงประพาส ที่ใช้กันในสมัยสมเด็จพระนเรศวร หรือไม่ ?
แต่เป็นที่แน่นอนว่าสมัยรัชกาลที่ 4 มีการใช้หมวกทรงที่ว่าอยู่จริงๆ ไม่รู้ว่าเกิดจากผู้วาดใช้ข้อมูลในยุคตัวเองวาดรูปหรือเปล่า

ขออนุญาตลงภาพประกอบ


ภาพนี้สมัยรัชกาลที่ 4 เช่นกันครับ แต่กระผมไม่ได้จดลายละเอียดมาด้วย
เท่าที่จำได้มีคำบรรยายใต้ภาพว่า กองทัพสมเด็จพระนเรศวร น่าสังเกตว่า พลปืน ใส่หมวกทรงประพาส ด้วย



บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 48  เมื่อ 16 เม.ย. 11, 22:46

ขอต้อนรับคุณShopperKimpyครับ ดีใจที่กระทู้นี้สามารถดึงสมาชิกใหม่ให้เข้ามาในเรือนไทยได้

ข้อสงสัยข้างบนนั้น จะคาดคั้นเอาหลักฐานกันว่าสมัยพระนเรศวรอะไรเป็นอะไรคงไม่มีใครหารูปให้ได้ เราใช้การสันนิฐาน ดังที่ผมเกริ่นเรื่องไว้ว่า ความเจริญหรือความเปลี่ยนแปลงในสมัยโบราณจากศตวรรตหนึ่งสู่อีกศตวรรตหนึ่งนั้น น้อยมาก เทียบกับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในยุคปัจจุบันแล้ว เหมือนตัวคูณกับตัวเลขยกกำลังอย่างไงอย่างงั้น  สี่ห้าร้อยปีที่ต่างกันจากสมัยอยุธยามารัตนโกสินทรตอนต้น น่าจะน้อยกว่ากรุงเทพปัจจุบันกับกรุงเทพเมื่อ๕๐ปีก่อนที่ผมเห็นด้วยตนเองมากในทุกกรณีย์

เมื่อไทยเราตั้งหลักได้หลังเสียกรุง สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯท่านทรงพยายามที่จะถ่ายทอดศิลปวัฒนธรรม โบราณราชประเพณีขึ้นใหม่ตามแบบฉบับของกรุงศรีอยุธยาทุกประการ เครื่องแต่งตัวของคนไทย ทหารและยุทโธปกรณ์ที่สืบมาก็ไม่น่าจะแตกต่างกันมาก หลักฐานทางโบราณคดี ภาพเขียนฝาผนังสมัยอยุธยาที่ยังหลงเหลือมาสู่สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นก็เป็นหลักฐานที่ดีอีกประการหนึ่งของจิตรกรสมัยหลังๆ ที่จะเขียนภาพที่เชื่อว่าสมัยพระนเรศวรจะเป็นเช่นนั้นได้อย่างน้อยก็ใกล้เคียงกว่าที่ท่านมุ้ยประเลงไว้มากมาย

ผมเอาตัวอย่างภาพที่คุณติบอเคยนำมาลงไว้ในเรือนไทยนี้เอง เป็นจิตรกรรมฝาผนังสมัยอยุธยาที่วัดช่องนนทรี เห็นหมวกทหารคล้ายกับภาพของคุณด้วยครับ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 49  เมื่อ 17 เม.ย. 11, 08:29

ภาพที่๓ สมเด็จพระนเรศวรตามจับพระยาจีนจันตุ

พระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐกล่าวว่า ในระหว่างที่กรุงศรีอยุธยาตกเป็นเมืองขึ้นของพม่า พระยาละแวกได้ยกทัพเขมรมาตีกรุง๒ครั้งในพ.ศ. ๒๑๑๓และพ.ศ. ๒๑๑๘ ด้วยหวังจะปล้นเมืองเอาคืนจากที่กองทัพไทยเคยไปทำลายพระนครย่อยยับแล้วกวาดต้อนปัญญาชนคนเขมรลงมากรุงศรีอยุธยาหมด จนเขมรต้องทิ้งเมืองหนีไปอยู่ป่า เสียศูนย์ไปนานกว่าจะสร้างเมืองละแวกขึ้นมาได้ อย่างไรก็ตามทั้ง๒ครั้งนั้นเขมรก็ทำการไม่สำเร็จ ต้องถอยทัพกลับ เพราะไทยยังต่อสู้ป้องกันกรุงศรีอย่างเข้มแข็งดีอยู่

ในปีพ.ศ. ๒๑๒๑ มีไต้ก๋งจีนอาสาเจ้าเมืองละแวก ขอกำลังเขมรมาตีเมืองเพชรบุรี ถ้าไม่สำเร็จจะขอรับโทษฑัณท์ เจ้าเมืองละแวกจึงโปรดให้นายทหารชื่อพระยาอุเทศราชเป็นแม่ทัพ ตัวไต้ก๋งทรงโปรดให้เป็นพระยาจีนจันตุ ยกทัพเรือมาทางทะเล แต่เจ้าเมืองเพชรบุรีคุมพลป้องกันเมืองไว้ได้เป็นสามารถจนเขมรต้องเลิกทัพกลับ ส่วนพระยาจีนจันตุเห็นท่าไม่ดี ยังไม่กลับไปเมืองละแวกดีกว่า จึงเอาสำเภานั้นเข้ามากรุงศรีอยุธยา ขอสวามิภักดิ์กับพระมหาธรรมราชา เพ็ดทูลอย่างไรไม่ทราบแต่ทรงโปรดให้ชุบเลี้ยงไว้

ระหว่างนั้น พระนเรศวรเป็นสมเด็จพระมหาอุปราช วังหน้าแห่งพระนครศรีอยุธยา ประทับอยู่วังจันทร์เกษม พระยาจีนจันตุอยู่ได้สักพักหนึ่งเพื่อสืบการทั้งปวงในราชธานีแล้ว ก็ลอบแต่งเรือสำเภาหนี พระนเรศวรเมื่อทรงทราบ ก็เสด็จยกกองเรือเร็วออกติดตาม จากอยุธยามาทันกันแถวปากน้ำมั้ง เพราะในพงศาวดารกล่าวว่าปะทะกันสักพัก  พระยาจีนจันตุก็เร่งให้โล้สำเภาออกไปพ้นปากน้ำ พอออกลึก สำเภาติดลม กองเรือของพระนเรศวรเป็นเรือสำหรับแม่น้ำ จึงตามไม่ทัน ต้องเสด็จกลับพระนครศรีอยุธยา


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 50  เมื่อ 17 เม.ย. 11, 08:31

ในภาพขยาย จะเห็นยุทธวิธีที่ทรงใช้ พงศาวดารกล่าวว่า พระนเรศวรจะทรงให้ทหารปีนขึ้นสำเภา บัญชาการให้เรือพระที่นั่งหนุนไปให้ชิดเรือของพระยาจีนจันตุ แล้วทรงยิงปืนนกสับถูกจีนผู้ใหญ่ตายสามคน พระยาจีนจันตุยิงปืนนกสับมาต้องรางปืนที่ทรงอยู่ แล้วเร่งโล้สำเภาออกไปพ้นปากน้ำ….

ไม่มีตรงไหนกล่าวถึงปืนใหญ่เล้ย


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 51  เมื่อ 17 เม.ย. 11, 08:49

เรือพระที่นั่งในภาพ ก็เหมือนเรืออื่นๆที่ยกไป ลักษณะเป็นเรือดั้งซึ่งเป็นเรือรบแท้ๆ บรรทุกฝีพายที่เป็นทหารดาบด้วย เรือชนิดนี้หวังความเร็วที่จะไปให้ถึงจุดปะทะ ถ้าข้าศึกมาทางเรือด้วยกัน ก็เสียบหัวเข้ากลางเรือข้าศึกได้ก็ยิ่งดี แล้วทิ้งพาย โดดเข้าตลุมบอนเลย


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 52  เมื่อ 17 เม.ย. 11, 09:03

“ ครั้นถึง ณ วันอาทิตย์ เดือนยี่ ขึ้นสี่ค่า ปีระกา ตรีศก ( ตรงกับ ศักราช ๙๒๓ ) เพลาประมาณ สองนาฬิกา พระยาจีนจันตุ ก็พาครัวลงสาเภาหนีล่องลงไป ขณะนั้นสมเด็จพระนเรศวรเจ้า เสด็จลงมาแต่เมืองพระพิษณุโลก เสด็จอยู่ในวังใหม่ สมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้าก็เสด็จยกทัพเรือตามพระยาจีนจันตุลงไปในเพลากลางคืนนั้น แล้วตรัสให้ เรือประตู เรือกัน และเรือท้าวพระยาทั้งหลาย เข้าล้อมสาเภาพระยาจีนจันตุ และได้รบพุ่งกันป็นสามารถ พระยาจีนจันตุก็ให้โล้สาเภาไปกลางน้า รบต้านทานไว้ สมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้า ก็ตรัสให้เอา เรือคู่ เรือกัน เข้าจับจนท้ายสาเภาพระยาจันจันตุ ให้พลทหารปีนสาเภาขึ้นไป

แล้วเอาเรือพระที่นั่งหนุนเข้าไปให้ชิดสาเภา แล้วทรงปืนนกสับยิงถูกจีนผู้ใหญ่ตายสามคน พระยาจีนจันตุก็ยิงปืนนกสับมา ต้องรางปืนต้นอันทรงนั้นแตก พระยาจีนจันตุก็รบพุ่งป้องกันเป็นสามารถ พลทหารข้าหลวงจะปีนขึ้นสาเภามิได้ พระยาจีนจันตุก็ให้โล้สาเภาออกพ้นปากน้าตกลึก ฝ่ายสมเด็จพระราชบิดาเสด็จหนุนทัพสมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้าลงไปถึงเมืองพระประแดง พอสมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้า ยกกลับขึ้นมาพบสมเด็จพระราชบิดา ทูลการทั้งปวงให้ทราบ สมเด็จพระราชบิดากับสมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้า ก็เสด็จคืนมายังพระนคร ”

จาก พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ภาคทึ่ ๑ แบบเรียนพงศาวดาร กรมตารา กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.๒๔๖๕
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 53  เมื่อ 17 เม.ย. 11, 09:10

บทวิเคราะห์จำนวนกองกำลังทหาร
http://3ascom.rta.mi.th/pdffile/episod02.pdf


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 54  เมื่อ 17 เม.ย. 11, 09:13

แบบจาลองขบวนเรือพระที่นั่งของ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช และสมเด็จพระเอกาทศรถ ขณะไล่ติดตามพระยาจีนจันตุที่หลบหนีออกจากพระนครศรีอยุธยา ตามลำน้ำเจ้าพระยา


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 55  เมื่อ 17 เม.ย. 11, 09:40

เรือประตู เป็นเรือดั้งคู่หน้าสุดชื่อเรือทองขวานฟ้า และเรือทองบ้าบิ่นของกระบวนเรือพระราชพิธี


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 56  เมื่อ 17 เม.ย. 11, 09:47

เรือกัน เรือแซง เรือตำรวจ เป็นเรือลักษณะเดียวกันทั้งสิ้น คือเป็นเรือ-รบ



บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 57  เมื่อ 17 เม.ย. 11, 09:53

เรือรบโบราณอีกชนิดหนึ่งที่ใช้รบในแม่น้ำนั้น เรียกว่าเรือพิฆาต ติดตั้งปืนใหญ่ที่หัวเรือที่ทำเป็นรูปสัตว์ ปืนใหญ่สมัยพระนเรศวรเป็นชนิดที่เรียกว่า ปืนจ่ารง บางที่สะกดว่าจ่ารงค์

จ่ารงเป็นสำเนียงที่เพี้ยนมาจากศัพท์ว่า charoit อ่านว่า แชเรียท(ใครสามารถอ่านสำเนียงปอร์ตุกีส จะบอกได้ไหมครับว่าออกเสียงอย่างไร ไทยจึงฟังเป็นจ่ารง) แปลว่า รถลาก รถศึก หรือรถประเภทมีสองล้อ ซึ่งใช้บรรทุกปืนใหญ่ชนิดนี้  อย่างไรก็ตามจ่ารงก็มีอีกความหมายหนึ่ง คือเป็นปืนใหญ่ที่หล่อในประเทศ ไม่ใช่ที่ซื้อจากฝรั่ง

ในเอกสารโบราณ มีคำเรียกชื่อ ปืนจ่ารง ต่างกันไปหลายชื่อตามลักษณะที่นำไปใช้ เช่น ปืนจ่ารงรางล้อ หรือ ปืนจ่ารงรางเกวียน ปืนจ่ารงหลังช้าง  และปืนจ่ารงหน้าเรือ(ตามภาพ)ซึ่งใช้ขนาดกระสุนเพียง ๑-๒ นิ้ว
กระสุนขนาดดังกล่าวใช้ยิงทำลายพวกเรือพายด้วยกัน หรือใส่ลูกปลายเพื่อสังหารฝ่ายตรงข้าม ระยะยิงก็ต้องเผาขนด้วยจึงจะหวังผลเช่นนั้นได้ ผมหลับตานึกถึงตอนหัวเรือกำลังจะพุ่งเข้าชนเรือข้าศึกแล้วฝ่ายโน้นกำลังยืนยงโย่ยงหยกขึ้นมาตั้งรับ ก็ซัดมันเข้าไปสักโป้งหนึ่ง เป็นตายไม่รู้แต่ฝ่ายเราได้ใจแน่ ยิงแล้วไม่มีเวลาบรรจุกระสุนกันใหม่หรอก ขึ้นตะลุมบอนเอาแพ้ชนะกันไปเลย



บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 58  เมื่อ 17 เม.ย. 11, 09:59

ผมแน่ใจว่าพระนเรศวรคงไม่น่าจะเอาเรือพิฆาตติดปืนจ่ารงไปไล่กวดพระยาจีนจันตุ เพราะหนักเรือกว่าจะไล่ทัน ถึงจะทันแล้วยิงโดนไปโป้งนึง ลูกปืนขนาด๒นิ้วก็คงไม่มีทางจมเรือสำเภาได้ ใครเคยดูยุทธนาวีในหนังฝรั่งที่เรือสำเภาหันข้างเข้าซัลโวปืนใหญ่เป็นสิบๆกระบอกเข้าใส่กัน นั่นลูกปืนขนาด๔นิ้วขึ้นไปนะ ยังต้องซัดกันเป็นสิบเป็นร้อยลูก เรือถึงจะอับปางได้

เรือพิฆาตแบบของไทยติดปืนจ่ารงหน้าเรือยิงได้ตูมเดียว แล้วกลางน้ำอย่างนั้นคงไม่มีทางบรรจุลูกได้ใหม่ เอาไปก็เป็นตัวถ่วงเปล่าๆ


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 59  เมื่อ 17 เม.ย. 11, 10:18

ในภาพขยาย จะเห็นยุทธวิธีที่ทรงใช้ พงศาวดารกล่าวว่า พระนเรศวรจะทรงให้ทหารปีนขึ้นสำเภา บัญชาการให้เรือพระที่นั่งหนุนไปให้ชิดเรือของพระยาจีนจันตุ แล้วทรงยิงปืนนกสับถูกจีนผู้ใหญ่ตายสามคน พระยาจีนจันตุยิงปืนนกสับมาต้องรางปืนที่ทรงอยู่ แล้วเร่งโล้สำเภาออกไปพ้นปากน้ำ….

ไม่มีตรงไหนกล่าวถึงปืนใหญ่เล้ย


วิธีการขึ้นสำเภา เขาขึ้นกันตามภาพครับ จะใช้ไม้ถ่อค้ำยกตัวเดินขึ้นไป ด้านล่างมีผู้ช่วยพยุงตัวไว้


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 23
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.05 วินาที กับ 20 คำสั่ง