เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 23
  พิมพ์  
อ่าน: 164729 ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 15 เม.ย. 11, 16:29

หัวสิงห์


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 15 เม.ย. 11, 16:47

มีแต่รูปสมเด็จพระนเรศวรทรงพระแสงปืนต้น ข้ามแม่น้ำสะโตง อีกรูปหนึ่ง  ไม่ทราบฝีมือใครค่ะ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 15 เม.ย. 11, 17:13

^
คล้ายๆฝีมือเหม เวชกร
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 15 เม.ย. 11, 17:29

เรื่องพระแสงปืนต้นข้ามแม่น้ำสะโตงนี้น่าสนใจ ท่านมุ้ยเคยใช้นามแฝงว่า Cinephile เข้าเวปมาแถลงเองตอนที่กระแสแรงว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องโม้ของนักแต่งประวัติศาสตร์ ลองอ่านดูนะครับ

เถียงกันจังเลยครับเรื่องพระแสงปืนต้นข้ามแม่น้ำสโตง

หัวข้อก็เห็นจะเป็นปืนต้นของสมเด็จพระนเรศวรสามารถยิงข้ามแม่น้ำสะโตงไปได้หรือเปล่า
และ สามารถยิงถูกสุระกำมาได้จริงหรือเปล่า

เมื่อแรกตอนที่ผมอ่านพระราชพงศาวดารมาถึงตอนนี้ ผมเองก็ไม่เชื่อเหหมือนกันว่าปืนนกสับดินดำนี่น่ะหรือ สามารถที่จะยิงข้ามแม่น้ำที่กว้างใหญ่อย่างแม่น้ำสะโตงได้
แต่เพื่อความเป็นธรรมผมก็ต้องพิสูจน์ว่าความเป็นไปได้มันมากน้อยแค่ไหน
ก่อนอื่นเราต้องรู้ก่อนว่าสมเด็จพระนเรศวรข้ามแม่น้ำสะโตงที่ไหน
บริเวณที่จะข้ามได้ ถ้าเดินทางจากหงสาวดีหรือจากเมืองแครง(นี่ก็อีกประเด็นหนึ่ง คือเมืองที่ว่านี้คือเมืองอะไร) ก็น่าจะมีอยู่ที่เดียวคือที่เมืองสะโตงหรือเมืองจิตตอง
เมืองนี้คือเมืองที่สมิงทุดดอล่อให้พระเจ้าตะเบ็งชเวตี้มาจับช้างเผือกแล้วจับสังหารเสีย (พงศาวดารของพม่ายิ่งไม่น่าเชื่อกว่าของเราเสียอีกเพราะระบุว่าเมือพระเจ้าตะเบ็งชเวตี้ถูกตัดหัว ตาของพระเจ้าตะเบ็งชเวตี้ยังกลับกรอก กระพริบได้อีกวันหนึ่งทีเดียวเลยครับ)
เมืองสะโตงนี่เป็นท่าข้ามแม่น้ำสะโตงมาแต่โบราณ จนพวกอังกฤษมาสร้างสะพานรถไฟข้ามที่ตรงนั้น แต่ระเบิดทิ้งตอนสงครามโลกครังที่สองเพื่อป้องกันไม่ให้ญี่ปุ่นข้ามแม่น้ำสะโตงมาตีย่างกุ้งได้ (สมัยนั้นเราเรียกแรงกูนว่าย่างกุ้งครับ) ตรงบริเวณนั้นแม่น้ำสะโตงกว้าง 670 เมตรครับ

อันนี้เป็นแผนที่ที่คนอังกฤษทำเอาไว้เมื่อสมัยสงครามโลกครั้งที่สองครับ



บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 15 เม.ย. 11, 17:31

ผมเดินทางไปสำรวจบริเวณที่เชื่อว่าเป็นบริเวณที่สมเด็จพระนเรศวรข้ามแม่น้ำสะโตงหลายครั้ง เช่าเรือข้ามแม่น้ำสะโตงไปดูทั้งสองฝั่งแม่น้ำเพื่อให้ได้ข้อมูลที่สมบรูณ์ที่สุด ใช้เครื่องวัดระยะเลเซอร์ตรวจดูความกว้าง พบว่าจากชายน้ำถึงชายน้ำกว้าง 620 เมตรครับ ดังนั้นพระแสงปืนต้นจะต้องยิงได้ไกลกว่่า 620 เมตร ครับ

ภาพนี้คือภาพที่ผมยืนถ่ายรูปที่ริมแม่น้ำสะโตง บริเวณที่เชื่อว่าเป็นที่ที่พระนเรศวรยิงพระแสงปืนต้นข้ามแม่น้ำสะโตง ส่วนตอหม้อที่เห็นในพื้นหลังเป็นตอหม้อของสะพานรถไฟที่อังกฤษระเบิดทิ้งในสมัยสงครามโลกครั้งที่สองครับ



บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 15 เม.ย. 11, 17:34

เมื่อรู้ระยะแน่นอนว่าระยะทางที่ปืนของพระนเรศวรจะต้องยิงสุระกำมานั้นเป็นระยะห่างออกไปเท่าไร คราวนี้ลองมาดูพระแสงปืนต้นว่ายิงถึงหรือไม่

ปืนต้นที่สมเด็จพระนเรศวรยิงนั้นเป็นปืนประเภทเดียวกับปืนที่ผมเคยเห็นในอินเดีย (Rajastan) ที่เรียกกันว่า Siege Gun คือใช้ยิงข้าศึกจากกำแพงป้อม ซึ่งผู้อำนวยการของพิพิธภัณฑ์เล่าว่าสามารถยิงข้าศึกได้ไกลถึงสองกิโลเมตร
ไม่น่าเชื่อ แต่เอาแค่ครึ่งเดียว คือ 1กม. ก็สามารถยิงข้ามแม่น้ำสะโตงได้แล้วครับ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 15 เม.ย. 11, 17:41

เราให้กรมสรรพาวุธจำลองพระแสงปืนต้น ให้มีขนาดเท่ากับในพระราชพงศาวดารคือ 9 คืบ แล้วลองยิงดู พบว่าระยะทางขึ้นอยู่กับการอัดดินดำ ซึ่งถ้าถูกสัดส่วนก็สามารถยิงได้ไกลกว่า 800 เมตร ครับ
ดังนั้นประเด็นของปืนยิงถึงหรือไม่ถึงเป็นอันตกไป คือพระแสงปืนต้นสามารถยิงข้มแม่น้ำสะโตงได้แน่นอน
ส่วนเรื่องจะถูกหรือไม่ถูกก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งครับ

ปืนที่เห็นในรูปคือปืนพระแสงปืนต้นจำลอง ยาว 9 คืบ
เรื่องจะถูกหรือไม่คุณ Niceguy ใน คห. 50 อธิบายแล้วครับ ว่ามันเหมือนตี Hole in one นั่นแหละครับ เพราะใครจะคิอว่าคนเราสามารถตีลูกกอล์ฟ ระยะทางเกือบครึ่งกิโลไปลงในหลุมเล็กๆได้ แต่ก็มีคนทำได้ครับคือนายไมเคิล เจ. คลีน ครับ

Longest Hole-In-One
Michael J. Crean of Denver, CO- 517 yard par 5 9th hole at the Green Valley Ranch Golf Club on July 4, 2002.

แต่คงจะไม่มีใครตี Hole in One ได้ตลอดไป

การที่สมเด็จพระนเรศวรยิงถูกสุระกำมานั้น จะเรียกว่าฟลุ๊คก็ได้ แต่ก็ทำความแตกตื่นให้กับกองทัพพม่าจนถึงกับแตกหนีถอยกลับไป เพราะทหารพม่าคงเห็นว่าเป็นกฤษดาภินิหารของสมเด็จพระนเรศวร เพราะอย่างที่ทุกคนคิดนั่นแหละครับว่าเป็นไปไม่ได้ที่สมเด็จพระนเรศวรจะทรงปืนต้นยิงถูกสุระกำมาได้ แต่ถ้าสมเด็จพระนเรศวรทรงยิงอีกสิบกว่านัด พวกพม่าก็คงคิดว่าที่สมเด็จพระนเรศวรยองถูกสุระกำมาตายนั้นเป็นเรื่องฟลุ๊ค ดีที่สมเด็จพระนเรศวรยิงเพียงนัดเดียว (หรือหลายนัดก็ไม่รู้เหมือนกัน)


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 15 เม.ย. 11, 22:48

พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ที่ทุ่งมะชามหย่อง อยุธยา มีภาพหล่อโลหะนูนต่ำไว้ดังนี้

http://www.siamnava.com/fff/index.php?topic=2129.0




บันทึกการเข้า
katathorn
อสุรผัด
*
ตอบ: 11


"ไปกับอนาคตได้ต้องไม่ลืมอดีต"


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 16 เม.ย. 11, 07:14

สวัสดีครับเพิ่งสมัครมาเปนสมาชิกใหม่นะครับ อายจัง

เรื่องพระแสงปืนต้นข้ามแม่น้ำสะโตงนี่ ผมว่าพระแสงปืนที่รัชกาลที่หนึ่ง ทรงให้สร้างจำลองขึ้นมาเปนแบบปืนคาบชุดนั้นก็นับว่าถูกต้องและหน้าจะใกล้เคียงที่สุดครับ เพราะว่าในรัชสมัยของสมเด็จพระนเรศวรราชาธิราช(สมเด็จพระนเรศวร พ.ศ. ๒๐๙๘- ๒๕ เมษายน พ.ศ. ๒๑๔๘) )น่าจะราวๆสมัยศตวรรษที่ ๑๖ ซึ่งสมัยนั้นเองยังใช้ปืนที่เรียกกันว่า อาร์กิวบัสและแมทล็อก ปืนคาบชุด(ไฟ)หรือปืนชนวน

กลไกของปืนชนิดนี้คือใส่ดินปืนลงบนจานดินปืนแล้วใส่กระสุนกลมๆ และดินปืนทางปากกระบอกปืนแล้วกระทุ้งให้ดินปืนและกระสุนไปอยู่ในรังดินปืน ทางท้ายลำกล้อง เมื่อเหนี่ยวไกก็จะมีเหล็กรูปงูที่ติดเชือกที่ติดไฟเอาไว้(ไหม้ช้าๆคล้ายๆธูปซึ่งพลปืนจะต้องคอยปรับและเลื่อนกะระยะของเชือกให้พอดีกับจาน)ตีลงไปที่จานดินปืนจะเป็นการจุดสายชนวนไปที่ท้าย ลำกล้องทำให้ดินปืนระเบิดขึ้น
ปืนคาบชุดนั้นไม่ค่อยดีนัก เพราะการที่ต้องถือเชือกติดไฟแล้วออกเวรยามตอนกลางคืนนั้นเป็นเป้าสายตาได้ ดีเลยทีเดียว ซ้ำยังต้องคอยระวังไม่ให้เชือกที่ติดไฟดับหรือไหม้หมดไม่สามารถใช้ได้เมื่ออากาศชื้นเพราะจะทำให้จุดชนวนดินปืนไม่ติด  และเมื่อฝนตกด้วยแล้วปืนชนิดนี้แทบจะใช้การไม่ได้เลย




แต่ในภาพยนต์และงานศิลปกรรมที่เกี่ยวกับพระราชประวัติในรัชสมัยของพระองค์หลายๆเรื่องมักจะใช้เปนปืนนกสับคาบศิลาไปเสียอย่างนั้น

ซึ่งปืนนกสับคาบศิลาเริ่มจะมีใช้กันช่วงประมาณกลางศตวรรษที่ ๑๗ ครับ โดยชาวเยอรมันซึ่งเปนโจรขโมยไก่ เห็นว่าการใช้ปืนคาบชุดเวลากลางคืนนั้นทำให้ถูกสังเกตุเห็นได้ง่าย จึงคิดประดิษฐ์ดัดแปลงเอาหินเหล็กไฟมาใส่แทนเสีย โดยปืนชนิดนี้เดิมทีนั้นเรียกว่า สแนป ฮันท์(ถ้าจำผิดก็ขออภัย) อันเปนชื่อของผู้ประดิษฐ์หรือเรียกตามลักษณะของนกสับคาบศิลา(อันนี้ก็ยังไม่แน่ใจครับลืมไปแล้ว)  ต่อมาอาวุธชิ้นนี้ได้กลายเป็นอาวุธหลักของกองทัพยุโรปราวศตวรรษที่ ๑๘

ผิดพลาดล่วงเกินประการใดก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ครับ
บันทึกการเข้า

ภริยา ปรมา สขา
ภริยาเป็นเพื่อนสนิท, ภรรยาเป็นสหายอย่างยิ่ง
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 16 เม.ย. 11, 08:15

สวัสดีครับเพิ่งสมัครมาเปนสมาชิกใหม่นะครับ อายจัง

เรื่องพระแสงปืนต้นข้ามแม่น้ำสะโตงนี่ ผมว่าพระแสงปืนที่รัชกาลที่หนึ่ง ทรงให้สร้างจำลองขึ้นมาเปนแบบปืนคาบชุดนั้นก็นับว่าถูกต้องและหน้าจะใกล้เคียงที่สุดครับ เพราะว่าในรัชสมัยของสมเด็จพระนเรศวรราชาธิราช(สมเด็จพระนเรศวร พ.ศ. ๒๐๙๘- ๒๕ เมษายน พ.ศ. ๒๑๔๘) )น่าจะราวๆสมัยศตวรรษที่ ๑๖ ซึ่งสมัยนั้นเองยังใช้ปืนที่เรียกกันว่า อาร์กิวบัสและแมทล็อก ปืนคาบชุด(ไฟ)หรือปืนชนวน

กลไกของปืนชนิดนี้คือใส่ดินปืนลงบนจานดินปืนแล้วใส่กระสุนกลมๆ และดินปืนทางปากกระบอกปืนแล้วกระทุ้งให้ดินปืนและกระสุนไปอยู่ในรังดินปืน ทางท้ายลำกล้อง เมื่อเหนี่ยวไกก็จะมีเหล็กรูปงูที่ติดเชือกที่ติดไฟเอาไว้(ไหม้ช้าๆคล้ายๆธูปซึ่งพลปืนจะต้องคอยปรับและเลื่อนกะระยะของเชือกให้พอดีกับจาน)ตีลงไปที่จานดินปืนจะเป็นการจุดสายชนวนไปที่ท้าย ลำกล้องทำให้ดินปืนระเบิดขึ้น

ภาพแสดงการทำงานของกลไก



 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 16 เม.ย. 11, 08:18

ปืนคาบชุดนั้นไม่ค่อยดีนัก เพราะการที่ต้องถือเชือกติดไฟแล้วออกเวรยามตอนกลางคืนนั้นเป็นเป้าสายตาได้ ดีเลยทีเดียว ซ้ำยังต้องคอยระวังไม่ให้เชือกที่ติดไฟดับหรือไหม้หมดไม่สามารถใช้ได้เมื่ออากาศชื้นเพราะจะทำให้จุดชนวนดินปืนไม่ติด  และเมื่อฝนตกด้วยแล้วปืนชนิดนี้แทบจะใช้การไม่ได้เลย



 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 16 เม.ย. 11, 08:26

ยินดีต้อนรับคุณkatathornครับ

จากคลิ๊บข้างล่างจะเห็นว่า การยิงปืนชนิดนี้แต่ละครั้งไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องมีความชำนาญพอสมควรทีเดียว

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 16 เม.ย. 11, 08:35

ท่าน Cinephile ทรงเล่าไว้ใน พันทิป

ท้ายสุดก็คือ"พระแสงปืนต้นข้ามแม่น้ำสะโตง" ที่ระบุว่าเป็น"ปืนนกสับ" ยาว"เก้าคืบ" ถือว่าเป็นปืนที่ยาวพอสมควรคือหนึ่งวาหนึ่งคืบ ซึ่งยาวกว่าสองเมตรทีเดียว ปืนที่ยาวขนาดนี้สามารถยิงได้ไกลทีเดียว แต่ไกลแค่ไหนผมก็ไม่รู้ แต่กำลังทำปืนจำลองขึ้นมาเพื่อที่จะลองยิงดู

อย่างไรก็ตาม เมื่อได้เห็นแม่น้ำสะโตงกับตาตัวเองแล้ว ผมยังสงสัยว่าปืนนกสับจะยิงข้ามไปได้หรือไม่ ถึงได้แล้วจะยิงถูกเป้าเล็ก อย่างคนบนคอช้างได้หรือไม่

เอาละถ้าถือเป็นเรื่องอัศจรรย์ (Miracle) แล้วละก็ ก็น่าจะเป็นไปได้เพราะถ้าไม่ใช่เรื่องอัศจรรย์แล้วก็คงจะไม่มีใครพูดถึงเป็นแน่ แต่ผมขอเสนอว่า บางทีพระนเรศวรอาจจะทรงม้าขึ้นไปบนสะพาน (ที่ยังเหลือ) ทำให้ระยะยิงปืนสั้นลง ทรงลงจากม้าแล้วเอาปืนพาดขาหยั่ง เล็งยิงสุรกำมาจากกลางสะพาน ซึ่งความเป็นไปได้สูงกว่าที่จะยิงปืนที่ยาวสองเมตรกว่าจากหลังช้างอย่างที่เห็นในจิตรกรรมข้างฝา(คนวาดก็เดาเอาเหมือนกันแหละครับ)




 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 16 เม.ย. 11, 08:49

เคยอ่านหนังสือของคณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์   เรื่อง สมเด็จพระนเรศวรมหาราช  เรียบเรียงโดยดร.วินัย พงศ์ศรีเพียร    มีบทหนึ่งที่เล่าเต็มๆถึงเรื่องพระแสงปืน ว่าเป็นชนิดไหน
แต่หาหนังสือไม่เจอ(ตามเคย)    คุณเพ็ญชมพูมีไหมคะ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 16 เม.ย. 11, 08:59

ยินดีต้อนรับครับ คุณ katathorn  ยิงฟันยิ้ม

ผมเกิดความสงสัยเกี่ยวกับการยิงปืนประเภทนี้ครับ รบกวนเพื่อนสมาชิกและอาจารย์ต่างๆ ลองคิดเล่นๆดูดังนี้ครับ

๑. ปืนลักษณะแบบนี้ มีการเล็งระยะอย่างไร ใช้ศูนย์หน้า ตรงศูนย์หลัง หรือไม่

๒. ความแม่นของปืน ขึ้นกับอะไรบ้าง ด้วยเคยยิงปืนมาบ้าง ทำให้รู้ว่า "เป้า" นั้นยิ่งไกล ยิ่งยิงยาก เนื่องจากเป้านั้นจะเล็กลงไปเรื่อยๆ โอกาสพลาดได้มาก

๓. ปืนรุ่นนี้มีการถีบสะท้อนสูงหรือไม่

ลองจัดภาพเป้าเล่นๆ เพื่อให้ดูว่า เวลามุมมองของวัตถุอยู่ไกลๆ จะเห็นเป็นเพียงจุดเล็กๆเท่านั้น


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 23
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.077 วินาที กับ 20 คำสั่ง