ในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาไม่ได้บอกว่า
กองเรือที่สมเด็จพระนเรศวรเสด็จไปตามตีเรือพระยาจีนจันตุ
เริ่มต้นทางที่ไหนแน่ กรุงศรีอยุธยา หรือเป็นตำบลที่อยู่ล่างลงมา
กองเรือที่ตามเรือพระยาจีนจันตุในช่วงแรก
อาจจะเป็นเรือชาวด่านที่รักษาด่านด่านตามลำน้ำเจ้าพระยา
(เช่นแถวตลาดขวัญ บางกอก พระประแดง ฯลฯ)
ที่ไล่ตีเรือพระยาจีนจันตุทำให้เรือพระยาจีนจันตุเดินทางได้ไม่เร็ว
ทำให้กองเรือ(เรือเร็ว)สมเด็จพระนเรศวรตามทันก็ได้
ทั้งนี้ สมเด็จพระนเรศวรอาจจะไม่ได้เสด็จลงเรือ
มาตั้งแต่กรุงศรี แต่อาจจะทรงม้ามาเสด็จลงเรือแถบตำบลล่างๆ
ก็ได้กระมัง เพราะถ้าเส้นทางแม่น้ำคดอ้อมขนาดนั้น
กว่าจะพายเรือเร็วมาทันกัน ดูจะยากนัก
อันนี้คิดเล่นๆ นะ อย่าถือเป็นจริงเป็นจัง
ผมก็คิดเล่นๆต่อว่า ด่านที่รักษาแม่น้ำเจ้าพระยาสมัยอยุธยาจะมีไหมน๊อ ถ้ามี จะมีอยู่แห่งหนตำบลใด
หลักฐานทางประวัติศาสตร์เราก็ไม่มีให้ค้นกันง่ายๆเลย นอกจากคำว่า “ขนอน” ซึ่งแปลว่า ด่านภาษี และเรามีวัดขนอนอยู่มากมายหลายจังหวัด อาจตั้งอยู่ในตำบลต่างๆที่รัฐตั้งด่านเก็บภาษี
ผมไล่ลำน้ำเจ้าพระยามา ติดใจตรงที่ตั้งของ “ขนอนหลวง” อยู่ริมแม่น้ำพอดี น่าจะ “ใช่เลย” เป็นด่านภาษีแน่ๆ และธรรมเนียมของด่าน ก็ต้องมีกองกำลังด้วย พระยาจีนจันตุจะผ่านไปง่ายๆได้รึ
แต่ทว่า ขนอนหลวงนี้ อยู่ใกล้กรุงศรีอยุธยาเพียงพายเรืออึดใจเดียว ถ้าพระยาจีนจันตุหลุดตรงนี้ได้ ก็คงจะหลุดยาวไปถึงปากน้ำเลย ไม่มีขนอนที่ไหนอีก (วัดขนอนเหนือและวัดขนอนใต้ที่นนทบุรี ไม่อยู่ติดแม่น้ำ อาจเป็นด่านสำหรับเส้นทางทางบก ที่ตลาดขวัญไม่มีขนอน มีแต่แม่ค้ากับคนไปจีบแม่ค้า

)
คิดต่อว่า แล้วพระยาจีนจันตุหลุดด่านนี้ไปได้อย่างไร
ก็มีทางเดียวที่จะเดา
เรื่องค่าน้ำร้อนน้ำชาระหว่างพ่อค้าจีนกับชาวด่านเป็นของคู่กันมาช้านาน แบบไม่ต้องเหนียมแม้น้อย ถ้าก่อนออกเรือ จะโล้เรือมาคุยซะแต่หัววัน ขออำนวยความสะดวกที่จะผ่านด่านตอนน้ำขึ้นรอบดึก ถ้ามีการ “จัดให้” หนักหน่อยสมน้ำสมเนื้อ บางที เรือสำเภาตอนผ่านด่านอาจจะแค่ยกมือบ๋ายบายกัน ไม่ต้องเทียบท่าก็ได้
อันนี้ก็คิดเล่นๆเหมือนกันนะ ใครอย่าถือเป็นจริงเป็นจังไปเชียว