เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 9 10 [11] 12 13 ... 23
  พิมพ์  
อ่าน: 164380 ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 150  เมื่อ 21 เม.ย. 11, 21:21

เอกสารเรื่องอาวุธบนหลังช้าง คือ ของ้าว


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 151  เมื่อ 21 เม.ย. 11, 21:23

และภายในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติพระนคร ได้จำลองหุ่นรบช้างไว้ โดยยังมีเครื่องคชาธารอยู่ ถ้าเป็นของจริงคงโยกแรงยิ่งกว่าเครื่องเล่นไวกิ้งเสียอีก  ยิงฟันยิ้ม


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 152  เมื่อ 21 เม.ย. 11, 21:27

ให้ดูคมอาวุธว่าคมขนาดไหน บวกรับแรงฟาดฟันลงมา ถึงได้ขาดสะพายแล่ง

เกิดคำถามต่อมา  ฮืม เมื่อไม่มีเครื่องคชาธารแล้ว การส่งอาวุธ / การแบกอาวุธหลายประเภท จะทำกันอย่างไร  ฮืม


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 153  เมื่อ 21 เม.ย. 11, 21:57

ดร.สุเนตร ชุตินธรานนท์ แห่งคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นนักวิชาการที่ค้นคว้าประวัติศาสตร์อยุธยาอย่างจริงจัง มีผลงานตีพิมพ์จำนวนมาก รวมถึง "พม่ารบไทย-ว่าด้วยการสงครามระหว่างไทยกับพม่า" โดยสำนักพิมพ์ศิลปวัฒนธรรม

ดร.สุเนตรระบุในหนังสือเล่มเดียวกัน ถึงสงครามยุทธหัตถีว่า เรื่องสงครามยุทธหัตถีที่เป็นที่รับรู้และแพร่หลายในหมู่คนไทยคือเรื่องที่เขียนไว้ในพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ที่ชำระขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ก่อนจะถูกถ่ายทอดผ่านงานเขียนที่มีอิทธิพลต่อสังคมในวงกว้าง อาทิ ลิลิตตะเลงพ่าย พงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาพระนิพนธ์ไทยรบพม่า และพระประวัติสมเด็จพระนเรศวรมหาราชของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ

บันทึกประวัติศาสตร์ที่เก่าแก่กว่านั้น เช่น พงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับหลวงประเสริฐฯ ที่ชำระขึ้นในสมัยอยุธยา (พ.ศ. ๒๒๒๓) ก็มีความผิดแผกไปจากพงศาวดารและเรื่องที่ชำระหรือเขียนกันในสมัยหลัง แต่ยังมีประเด็นสำคัญยุติต้องกันอยู่ คือต่างระบุถึงการชนช้างระหว่างสมเด็จพระนเรศวรมหาราชและพระมหาอุปราชา จนพระมหาอุปราชาสิ้นพระชนม์กับคอช้าง
 
แต่ถ้าไปดูพงศาวดารพม่าฉบับอูกาลาและฉบับหอแก้ว จะพบว่า ผิดแผกไปจากหลักฐานข้างฝ่ายไทยมาก ไม่ว่าจะเป็นในด้านสมรภูมิรบและการสิ้นพระชนม์ของจอมทัพพม่า และได้ถอดความมาลงโดยละเอียดดังนี้

๗๔. การสงครามครั้งสุดท้าย วังหน้า มหาอุปราชาสิ้นพระชนม์

ทัพมหาอุปราชานั้นเคลื่อนมาถึงกรุงศรีอยุธยา ในวันขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๓ (กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๑๓๖) (ทัพเคลื่อนออกจากกรุงหงสาวดีในวันพุธ เดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๑๓๕) มหาอุปราชานั้นทรงพระคชาธารนาม (งะเยโซง ฉบับหอแก้วระบุนามพระคชาธารว่า เยโปงโซงซึ่งน่าจะหมายความว่าเปี่ยมด้วยอานุภาพหาญกล้า ส่วนหลักฐานไทยระบุนามช้างทรงนี้ว่า พัทธะกอ) เบื้องขวาพระองค์ยืนด้วยพระคชาธารและกำลังไพร่พลของพระอนุชาตะโดธรรมราชา (เจ้าเมืองแปร) ส่วนเบื้องซ้ายยืนด้วยพระคชาธารและไพร่พลของนัตชินนอง (โอรสพระเจ้าตองอู) แลตัดออกไปเบื้องขวาไม่ใกล้ไม่ไกลจากพระคชาธารแห่งมหาอุปราชานั้นยืนด้วยช้างของเจ้าเมืองซามะโร (ไทยว่าเป็นพระพี่เลี้ยงชื่อจาปะโร) ซึ่งกำลังตกน้ำมันหนักถึงกับต้องใช้ผ้าคลุมหน้าช้างไว้ ข้างพระนเรศวรกษัตริย์อยุธยาทรงพระคชาธารชื่อพระลโบง (ฝ่ายไทยว่าพระยาไชยานุภาพ) จึงนำไพร่พลทแกล้วทหารเป็นจำนวนมากออกมาจากพระนคร (หมายเผด็จดัสกร)

ครั้นทอดพระเนตรเห็นพระมหาอุปราชา ก็ไสพระคชาธารเข้ายังตำแหน่งที่จอมทัพพม่านั้นประทับอยู่โดยแรงเร็ว ฝ่ายเจ้าเมืองซามะโรครั้นเห็นพระนเรศวรขับพระคชาธารตรงรี่หมายเข้าชิงชนช้างประทับก็เปิดผ้าคลุมหน้าช้างพระหนะแห่งตนออก หมายมุ่งพุ่งสกัดช้างทรงองค์นเรศวร แต่ช้างตกน้ำมันเชือกนั้นกลับหันรีหันขวางแลกลับตัวเข้าแทงโถมเอาช้างทรงองค์อุปราชาโดยกำลังแรง พระมหาอุปราชาจึงจำต้องขับพระคชาธารเข้ารับไว้ ซึ่งช้างทรงองค์จอมทัพพม่าถึงจามสนั่น (ด้วยบาดเจ็บสาหัส) แลขณะนั้นข้างอยุธยาก็ระดมยิงปืนสวนทางมากระสุนถูกเอาองค์อุปราชาโดยถนัดจนสิ้นพระชนม์ซบกับคอคชาธาร คุเยงพละกลางช้างพระที่นั่งเห็นมหาอุปราชาต้องปืนใหญ่ (ปืนที่ยิงมหาอุปราชานั้นอูกาลาระบุว่า คือปืนชนิดเดียวกับที่เรียกว่า Jingal ในภาษาอังกฤษ) ก็เข้าพยุงพระศพไว้ และบังคับช้างเข้ากำบังในพุ่มไม้ ข้างพระนเรศวรยังไม่ทรงทราบว่ามหาอุปราชาหาพระชนม์ชีพไม่ จึงไม่ทรงขับพระคชาธารตามติดปะทะ เพียงยั้งรออยู่

ขณะนั้นนัตชินนองซึ่งทรงพระคชาธารนามอูบอตะกะ อยู่เบื้องซ้ายก็ไสพระคชาธารเข้าชนพระคชาธารทรงองค์นเรศวรกษัตริย์อยุธยา พระนเรศวรจำต้องถอยร่น แลตะโดธรรมราชา (เจ้าเมืองแปร) เห็นจอมทัพอยุธยาเพลี่ยงพล้ำร่นถอยก็กวัดแกว่งของ้าวขับช้างนำรี้พลตามติดเข้าตี ข้างองค์นเรศวรเมื่อถอยถึงคูพระนครก็รีบนำทัพเข้าภายในอาศัยพระนครนั้นตั้งรับ ข้างฝ่ายพม่าที่ไล่ตามติดมีเจ้าเมืองโทงโบและเจ้าเมืองเวงยอ ถลำรุกรบล่วงเลยเข้าไปมากจึงถูกจับเป็นเชลยสิ้น แต่ฝ่ายอยุธยานั้น อำมาตย์ออกญาเปะและออกญาจักรีก็ถูกทหารนัตชินนองล้อมจับได้ทั้งเป็น
 
เมื่อเกิดเหตุจนมหาอุปราชาถึงสิ้นพระชนม์แล้ว ตะโดธรรมราชา (เจ้าเมืองแปร) แลเหล่าทหารน้อยใหญ่ทั้งหลายต่างก็ถอยทัพไปประชุมพลอยู่ไกลว่าถึงกว่าหนึ่งตาย (คิดเป็นระยะ ๒ ไมล์โดยประมาณ) จากตัวพระนครโดยประมาณ และนายทัพทั้งหมดทั้งสิ้นต่างก็หันหน้าปรึกษาราชการศึกว่าครั้งนี้ยังจะจัดการพระศพองค์อุปราชาเสียในแดนโยธยาและระดมตีกรุงต่อไป หรือจะนำพระบรมศพกลับสู่พระนคร

ครานั้น ตะโดธรรมราชาเจ้าเมืองแปรจึงว่า "มาบัดนี้ พระเชษฐามหาอุปราชา (จอมทัพ) ก็หาพระชนม์ชีพไม่แล้ว เปรียบได้ดังแขนงไผ่อันไร้ซึ่งเชือกพันธนาไว้ การจะกลับไปกระทำการตีอยุธยาต่อไปเห็นว่าไม่สมควร อีกประการนั้นเล่าการซึ่งจะจัดการพระศพในแดนอยุธยาก็ไม่เหมาะด้วยยากจะประมาณว่าหากกระทำไปแล้วจะถูกปรามาสจากองค์บพิตรและพระญาติพระวงศ์ และแท้จริงราชการสงครามครั้งนี้ก็ยังนับว่ามีชัยอยู่ใช่น้อย ครั้งนี้ถึงมีอันต้องถอยกลับ แต่ภายภาคหน้าเมื่อสิ้นวสันตฤดูก็ย่อมยกมากระทำศึกได้อีก"

ฝ่ายข้าทหารใหญ่น้อยได้ฟังความตามตรัสก็เห็นคล้อย จึงต่อโลงใส่พระศพด้วยไม้มะม่วงอย่างเลิศ แลเอาปรอทกรอกพระศพแล้วก็จัดกระบวนรี้พลเชิญพระศพองค์อุปราชากลับคืนพระนคร เดือนมีนาคมก็บรรลุถึงหงสาวดี องค์ธรรมราชามหากษัตริย์ ครั้นสดับข่าวว่าพระราชาโอรสมหาอุปราชาสิ้นพระชนม์ชีพ และพระศพนั้นถูกอัญเชิญกลับคืนมาก็เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยอัครมเหสีราชมารดาออกรับพระศพ และลุเลิกพระศพเยี่ยงพระจักรพรรดิราช ห้อมล้อมด้วยช้างม้าไพร่พลสกลไกร การพระศพกระทำท่ามกลางความโศกเศร้าโศกาดูรยิ่ง ฯลฯ


จะเห็นว่า ข้อเท็จจริงเรื่องการสิ้นพระชนม์ของพระมหาอุปราชา มองจากฝ่ายพม่าแล้ว มีความแตกต่างกัน

ซึ่งดร.สุเนตรเห็นว่า ต่อปัญหาการสิ้นพระชนม์ของพระมหาอุปราชานั้น จำเป็นต้องศึกษาอย่างระมัดระวัง จะอาศัยความสอดคล้องระหว่างพงศาวดารพม่าและบันทึกฝรั่งต่างชาติที่มีอายุร่วมสมัยกับเหตุการณ์เป็นบรรทัดฐานตัดสิน คงไม่ได้ เพราะหากจะใช้หลักฐานฝรั่งต่างชาติเป็นเกณฑ์กัน ก็ยังมีหลักฐานเก่าแก่ อาทิ บันทึกของฝรั่งโปรตุเกส ที่ถอดความเป็นภาษาอังกฤษโดย A. Macgregor ในชื่อ "A Brief Account of the Kingdom of Pegu..." คาดว่ามีอายุไม่ต่ำไปกว่าปีค.ศ. ๑๖๒๑ (พ.ศ. ๒๑๖๔) ยืนยันชัดเจนว่าสงครามยุทธหัตถี เป็นการรบอย่างเป็นกิจจะลักษณะต่อหน้าทหารของทั้งสองฝ่าย โดยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงมีพระราชสาสน์ท้าพระมหาอุปราชาให้ออกมากระทำยุทธหัตถีอย่างสมพระเกียรติ
 
ดร.สุเนตรชี้ว่า ความขัดแย้งที่ปรากฏในหลักฐานต่าง ๆ ตามที่ได้กล่าวมา คือภาพสะท้อนของการเผชิญกันระหว่างจารีตของสงครามในรูปแบบเก่าคือการรบกันตัวต่อตัวบนหลังช้าง กับการแพร่กระจายของอาวุธสมัยใหม่คือปืนไฟ แม้ว่าในที่สุด ปืนไฟจะได้ทำให้ธรรมเนียมนิยมของการทำยุทธหัตถีหมดไป แต่ในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชนั้น ธรรมเนียมนิยมของการทำยุทธหัตถียังไม่หมดไปเสียทีเดียว มีหลักฐานปรากฏในพงศาวดารพม่าว่าพระเจ้านันทบุเรงทรงกระทำยุทธหัตถีกับพระเจ้าอังวะตะโดเมงสอถึงขั้นแพ้ชนะ พระเจ้าอังวะต้องหลบหนีเอาชีวิตรอด
 
และนี่คือสีสันของประวัติศาสตร์ ซึ่งถ้าต้องการมากกว่าความสนุกสนาน จะต้องศึกษาจากหลาย ๆ แหล่งข้อมูล

จากหนังสือพิมพ์ข่าวสด วันที่ ๒๒ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 154  เมื่อ 21 เม.ย. 11, 22:18

ภาพยุทธหัตถี ภาพนี้ติดไว้ที่วิหาร วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ พิษณุโลก


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 155  เมื่อ 21 เม.ย. 11, 22:22

เวปนี้มีภาพการรบบนหลังช้างในประเทศต่างๆ (ดูแล้วสมัยใหม่ เพื่อขายของ)

http://s12.invisionfree.com/ScaleModelsMalaysia/ar/t7476.htm



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 156  เมื่อ 21 เม.ย. 11, 22:57

^
ภาพล่างสุดมีสาวเกล้ามวยสองคนใจสู้  นุ่งกางเกงแค่เข่า (ไม่ใช่โจงกระเบนเพราะไม่มีหางกระเบน)  เนื้อตัวก็ไม่มีเกราะ  ไม่มีอะไรป้องกันเลย  นอกจากผ้าแถบ ถือดาบวิ่งเคียงข้างช้างไปรบกับข้าศึก
อาณาจักรไหนกันคะ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 157  เมื่อ 21 เม.ย. 11, 23:04

อ้างถึง
เจ้าพระยาชัยานุภาพเห็นช้างข้าศึกก็ไปด้วยฝีน้ำมันมิทันยั้งเสียที พลายพัทกอได้ล่างแบกรุนมา พระมหาอุปราชาจ้วงฟันด้วยพระแสงของ้าว สมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้าเบี่ยงพระมาลารับ พระแสงขอมิได้ต้องพระองค์ เจ้าพระยาชัยานุภาพสะบัดลงได้ล่างแบกถนัด พลายพัทกอเพลี่ยงเบนไป สมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้าได้ที จ้วงฟันด้วยพระแสงพลพ่าย ต้องพระอังสาเบื้องขวาพระมหาอุปราชาตลอดลงมาจนประจิมุราประเทศ ซบลงกับคอช้าง

ตอนอยู่มัธยม ถึงตอนนี้ครูสอนประวัติศาสตร์บอกว่า พระแสงของ้าว คือดาบที่มีด้ามยาวเหมือนด้ามหอก ตรงโคนดาบยาวมีดาบสั้นหักฉากเป็นตะขอ คมกริบ  ส่วนที่เป็นดาบ ไว้ฟันคอคู่ต่อสู้เบื้องล่างตอนที่เราอยู่บน ส่วนที่เป็นตะขอ ไว้เกี่ยวบ่าคู่ต่อสู้ที่อยู่ข้างบนแล้วกระชาก เมื่อเราอยู่เบื้องล่าง

ช้างที่ขาทั้งสี่มั่นคงจะนิ่งกว่าช้างที่ขาคู่หน้าลอย คนข้างบนจะโยกไปโยกมาทรงตัวไม่ค่อยจะได้ เมื่อปะทะกันแล้วผู้ที่นั่งคอช้างล่างจะเป็นฝ่ายได้เปรียบ ฟาดของ้าวได้ถนัดกว่า ถ้าส่วนที่เป็นดาบถูก คู่ด่อสู้ก็ตายด้วยดาบ ถ้าดาบไม่ถูก ส่วนที่เป็นดาบขอก็ง่ายที่จะเกี่ยว ได้คอก็กระชากคอ ได้ไหล่ก็กระชากไหล่ ชั๊วเดียวขาดตั้งแต่หลังมาถึงหน้าอก

เอ้อเฮอ เด็กนั่งกันอ้าปากค้าง ผมละจำติดสมองไม่ยักกะลืม

นั่งเพ่งดูภาพชุดที่เขาซ้อมชนช้างฟันง้าวกันแล้ว เสียงของครูยังเหมือนพากษ์อยู่ข้างหูอยู่เลย



บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 158  เมื่อ 21 เม.ย. 11, 23:26

^
ภาพล่างสุดมีสาวเกล้ามวยสองคนใจสู้  นุ่งกางเกงแค่เข่า (ไม่ใช่โจงกระเบนเพราะไม่มีหางกระเบน)  เนื้อตัวก็ไม่มีเกราะ  ไม่มีอะไรป้องกันเลย  นอกจากผ้าแถบ ถือดาบวิ่งเคียงข้างช้างไปรบกับข้าศึก
อาณาจักรไหนกันคะ

เป็นจินตนาการของฝรั่ง ภาพจากหนังสือ  War Elephants

http://www.ospreypublishing.com/blog/new_vanguard/seeing_the_elephant_peter_dennis_illustrates_war_e/



ภาพนี้วาดโดย Peter Dennis

ดูแล้วเหมือนคนไทยสู้กันเอง

  ตกใจ


บันทึกการเข้า
ShopperKimpy
อสุรผัด
*
ตอบ: 11



ความคิดเห็นที่ 159  เมื่อ 21 เม.ย. 11, 23:39

ภาพจากหนังสือ Osprey War Elephant รู้สึกจะได้แรงบันดาลใจจากสุริโยทัย ฉากตีค่ายออกยาจักรี

สังเกตว่าข้างหลังด้านซ้ายจะมีช้างปืนใหญ่อยู่ แต่ก็ไม่เข้าใจว่าทำไมถึงวาดให้อยุธยาสู้กันเอง  ฮืม
บันทึกการเข้า
katathorn
อสุรผัด
*
ตอบ: 11


"ไปกับอนาคตได้ต้องไม่ลืมอดีต"


ความคิดเห็นที่ 160  เมื่อ 22 เม.ย. 11, 14:28

^
ภาพล่างสุดมีสาวเกล้ามวยสองคนใจสู้  นุ่งกางเกงแค่เข่า (ไม่ใช่โจงกระเบนเพราะไม่มีหางกระเบน)  เนื้อตัวก็ไม่มีเกราะ  ไม่มีอะไรป้องกันเลย  นอกจากผ้าแถบ ถือดาบวิ่งเคียงข้างช้างไปรบกับข้าศึก
อาณาจักรไหนกันคะ

พวกโขลนครับ คนวาดเห็นจากในภาพยนต์เรื่องสุริโยทัยก็เลยวาดลงไปด้วย จริงๆก็นุ่งโจงนั่นล่ะครับแต่คนวาดคงไม่ได้วาดรายละเอียดหางกระเบนลงไปด้วย
บันทึกการเข้า

ภริยา ปรมา สขา
ภริยาเป็นเพื่อนสนิท, ภรรยาเป็นสหายอย่างยิ่ง
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 161  เมื่อ 22 เม.ย. 11, 19:56

คนวาดเห็นจากในภาพยนต์เรื่องสุริโยทัยก็เลยวาดลงไปด้วย

ฉากสำคัญเริ่มจากนาทีที่ ๐๗.๓๐



 ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 162  เมื่อ 22 เม.ย. 11, 20:16

เปรียบเทียบ ๒ ภาพ





เครื่องคชธารเหมือนกันทุกอย่าง

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
chupong
พาลี
****
ตอบ: 319


ความคิดเห็นที่ 163  เมื่อ 24 เม.ย. 11, 13:28

เรียนท่านอาจารย์เทาชมพู ตลอดจนท่านสมาชิกเรือนไทยที่เคารพยิ่งทุกท่านครับ

   อันเนื่องจากกระทู้นี้ใช้ “ภาพ” เป็นจุดตั้งต้นในการสื่อสาร ขยายความ สนทนาแลกเปลี่ยนผมจึงมีวาสนาได้แค่ตามอ่านอย่างเดียวเป็นเวลาหลายวัน อยากเห็นทุกภาพในกระทู้ก็ติดตรงวิบากบุรพกรรมบันดาลให้ตาบอด จึงเสียดายยิ่งครับ อย่างไรก็ดี ใคร่ถือโอกาสเรียนถามท่านผู้รู้ทุกท่านถึงปัญหาอันสงสัยมาช้านานว่า ตกลง ในรัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ไทยเราตีหงสาวดีสำเร็จหรือไม่ คุณหญิงวิมล สิริไพบูลย์ (ทมยันตี) เคยกล่าวไว้ในงานเขียนของท่านว่าพงศาวดารพม่าบันทึกไว้ ไทยเคยทลายหงสาวดีเสียราบ แต่เท่าที่ผมรู้ พงศาวดารข้างเรา บอกว่าสมเด็จพระนเรศวรท่านทรงยกทัพกลับเพราะกันดารเสบียง เรื่องนี้ นักประวัติศาสตร์ค้นพบข้อมูลใหม่ๆฉันใดบ้างครับ

ขอแสดงความนับถืออย่างสูงยิ่ง
ชูพงค์ ตรีวัฒน์สุวรรณ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 164  เมื่อ 24 เม.ย. 11, 14:08

วันนี้วันหยุดสุดสัปดาห์ท่านอาจารย์เทาชมพูคงจะพักผ่อนนอนหลับ เผอิญผมผ่านเข้ามา ไม่อยากให้คุณชูพงศ์รอนาน เลยเข้ามาตอบให้ก่อนเป็นการขัดตาทัพน่ะครับ

โดยย่อ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงยกทัพไปตีหงสาวดีสองครั้ง ครั้งแรกไม่สำเร็จ แต่ก็ก่อให้เกิดแรงกระเพื่อมทางการเมืองขึ้น เมืองสำคัญๆในพม่าพร้อมกันเอาใจออกห่าง และก่อกบฏขึ้น และเมื่อพระองค์ยกทัพไปในครั้งที่๒ เจ้าเมืองยะไข่ได้เข้าปล้นเมืองและเผาพระราชวังกรุงหงสาเสียราบคาบแล้ว ตัวพระเจ้านันทบุเรงเสด็จหนีไปตองอูและไปถูกปลงพระชนม์ที่นั่น สมเด็จพระนเรศวรทรงเหยียบเมืองหงสาได้ก็จริง แต่ก็เหลือเพียงซากปรักหักพัง

ทรงติดตามไปตีเมืองตองอู แต่กันดารและขัดสนเสบียงอาหาร ล้อมเมืองอยู่ได้ไม่กี่เดือนก็ทรงต้องเลิกทัพกลับกรุงศรี แต่อนุสรณ์สถานที่ทรงฝากไว้ที่นั่นซึ่งปรากฏอยู่ทุกวันนี้ ก็คือคูน้ำที่ทรงขุดขึ้นเพื่อระบายน้ำออกจากคูเมืองตองอู ดูเหมือนชาวบ้านจะเรียกว่าคลองเซียม

รายละเอียดอย่างยาว เข้าไปดูในเวปนี้ได้เลยครับ

http://www1.tv5.co.th/service/mod/heritage/king/naresuan/naresuan4.htm
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 9 10 [11] 12 13 ... 23
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.087 วินาที กับ 19 คำสั่ง