สวัสดีครับเพิ่งสมัครมาเปนสมาชิกใหม่นะครับ
เรื่องพระแสงปืนต้นข้ามแม่น้ำสะโตงนี่ ผมว่าพระแสงปืนที่รัชกาลที่หนึ่ง ทรงให้สร้างจำลองขึ้นมาเปนแบบปืนคาบชุดนั้นก็นับว่าถูกต้องและหน้าจะใกล้เคียงที่สุดครับ เพราะว่าในรัชสมัยของสมเด็จพระนเรศวรราชาธิราช(สมเด็จพระนเรศวร พ.ศ. ๒๐๙๘- ๒๕ เมษายน พ.ศ. ๒๑๔๘) )น่าจะราวๆสมัยศตวรรษที่ ๑๖ ซึ่งสมัยนั้นเองยังใช้ปืนที่เรียกกันว่า อาร์กิวบัสและแมทล็อก ปืนคาบชุด(ไฟ)หรือปืนชนวน
กลไกของปืนชนิดนี้คือใส่ดินปืนลงบนจานดินปืนแล้วใส่กระสุนกลมๆ และดินปืนทางปากกระบอกปืนแล้วกระทุ้งให้ดินปืนและกระสุนไปอยู่ในรังดินปืน ทางท้ายลำกล้อง เมื่อเหนี่ยวไกก็จะมีเหล็กรูปงูที่ติดเชือกที่ติดไฟเอาไว้(ไหม้ช้าๆคล้ายๆธูปซึ่งพลปืนจะต้องคอยปรับและเลื่อนกะระยะของเชือกให้พอดีกับจาน)ตีลงไปที่จานดินปืนจะเป็นการจุดสายชนวนไปที่ท้าย ลำกล้องทำให้ดินปืนระเบิดขึ้น
ปืนคาบชุดนั้นไม่ค่อยดีนัก เพราะการที่ต้องถือเชือกติดไฟแล้วออกเวรยามตอนกลางคืนนั้นเป็นเป้าสายตาได้ ดีเลยทีเดียว ซ้ำยังต้องคอยระวังไม่ให้เชือกที่ติดไฟดับหรือไหม้หมดไม่สามารถใช้ได้เมื่ออากาศชื้นเพราะจะทำให้จุดชนวนดินปืนไม่ติด และเมื่อฝนตกด้วยแล้วปืนชนิดนี้แทบจะใช้การไม่ได้เลย



แต่ในภาพยนต์และงานศิลปกรรมที่เกี่ยวกับพระราชประวัติในรัชสมัยของพระองค์หลายๆเรื่องมักจะใช้เปนปืนนกสับคาบศิลาไปเสียอย่างนั้น
ซึ่งปืนนกสับคาบศิลาเริ่มจะมีใช้กันช่วงประมาณกลางศตวรรษที่ ๑๗ ครับ โดยชาวเยอรมันซึ่งเปนโจรขโมยไก่ เห็นว่าการใช้ปืนคาบชุดเวลากลางคืนนั้นทำให้ถูกสังเกตุเห็นได้ง่าย จึงคิดประดิษฐ์ดัดแปลงเอาหินเหล็กไฟมาใส่แทนเสีย โดยปืนชนิดนี้เดิมทีนั้นเรียกว่า สแนป ฮันท์(ถ้าจำผิดก็ขออภัย) อันเปนชื่อของผู้ประดิษฐ์หรือเรียกตามลักษณะของนกสับคาบศิลา(อันนี้ก็ยังไม่แน่ใจครับลืมไปแล้ว) ต่อมาอาวุธชิ้นนี้ได้กลายเป็นอาวุธหลักของกองทัพยุโรปราวศตวรรษที่ ๑๘

ผิดพลาดล่วงเกินประการใดก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ครับ