เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
อ่าน: 23359 ขอทราบประวัติและความเป็นมาเกี่ยวกับสกุล "สุนทรศารทูล" ด้วยครับ
ดนัยรัตน์
อสุรผัด
*
ตอบ: 3


 เมื่อ 14 เม.ย. 11, 21:53

ขอสอบถามท่านผู้รู้ เพื่อขอทราบประวัติความเป็นมาของนามสกุล "สุนทรศารทูล" ด้วยครับ ผมเป็นคนนครปฐม "สุนทรศารทูล" เป็นนามสกุลฝ่ายคุณแม่ สมัยเด็กๆ เคยมีการรวมญาติที่บ้านของคุณดำรง สุนทรศารทูล (ซึ่งมีศักดิ์เป็นคุณลุง) ที่อำเภอสามพรานทุกปี แต่เมื่อคุณดำรงฯ ท่านถึงแก่กรรมไป กิจกรรมนี้ก็หายไปด้วย สมัยนั้นผมยังเด็กๆก็ไม่ได้สนใจอะไร ผ่านจนถึงปัจจุบันร่วมๆ 30 กว่าปีแล้ว ผมจึงเริ่มตระหนักว่า หากไม่ศึกษาไว้แต่วันนี้ ในอนาคตข้างหน้า ความรู้เกี่ยวกับญาติๆและต้นตระกูลของตนเองก็จะสูญหายไปตามกาลเวลา จึงขอความกรุณาท่านผู้รู้ ช่วยอธิบายด้วยครับ กราบขอบพระคุณล่วงหน้า  ยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 14 เม.ย. 11, 22:07

รู้จักคุณดำรง สุนทรศารทูล สมัยท่านเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม    อีกท่านคือคุณเทพ สุนทรศารทูล    ถึงแก่กรรมไปแล้วทั้งสองท่าน
คุณเทพเขียนหนังสือไว้มาก  รวบรวมนามสกุลพระราชทานไว้ด้วย   บางทีอาจจะเล่าถึงประวัติบรรพบุรุษท่านไว้บ้างก็ได้

ดิฉันไม่รู้ที่มาของนามสกุลนี้     จำได้แต่ว่าเป็นนามสกุลพระราชทาน จึงเข้าไปหาในเว็บนามสกุลพระราชทานมาได้  ว่า

เป็นนามสกุลหมายเลข ๑๘๓     สุนทรศารทูล  สะกดด้วยอักษรโรมันว่า    Sundarasa^rdula      
พระราชทานให้หลวงสากลพิทักษ์ (หมี) นอกราชการ (บิดา)  กับขุนภักดีภูธร (สด)  ยกระบัตรเมืองสุพรรณบุรี   
หลวงสากลเป็นบุตรพระยาสุนทรบุรีศรีพิไชยสงคราม (เสือ)

ท่านอื่นๆในเรือนไทยคงจะมาเพิ่มเติมข้อมูลมากกว่านี้ได้ค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 14 เม.ย. 11, 22:21

ขุนนางในอดีตที่ดำรงบรรดาศักดิ์พระยาสุนทรบุรีศรีพิไชยสงคราม   มีอยู่หลายท่านที่ได้รับราชทินนามนี้  ไม่ใช่มีแต่พระยาสุนทรบุรี(เสือ) บรรพบุรุษของคุณเพียงท่านเดียว
มีพระยาสุนทรบุรีฯ ท่านหนึ่ง รับราชการในรัชกาลที่ ๖ มีชื่อตัวว่า ชม (เป็นคนละคนกับบรรพบุรษของคุณดนัยรัตน์)  ตำแหน่งของท่านระบุว่า เป็น ข้าหลวงเทศาภิบาลสำเร็จราชการ มณฑลนครไชยศรี
ถ้าราชทินนามนี้ควบคู่ไปกับตำแหน่ง    ก็เป็นได้ว่าพระยาสุนทรบุรีฯ(เสือ ศารทูลสิงห์) เป็นข้าหลวงมณฑลนครไชยศรีเช่นกัน   อาจจะก่อนหรือหลังพระยาสุนทรบุรี(ชม) ก็ได้ค่ะ
บันทึกการเข้า
ดนัยรัตน์
อสุรผัด
*
ตอบ: 3


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 14 เม.ย. 11, 23:03

กราบขอบพระคุณท่านอาจารย์มากครับ คุณเทพ สุนทรศารทูล เป็นพี่ชายแท้ๆของคุณแม่ ท่านเป็นผู้ที่ชอบค้นคว้าและเขียนหนังสือไว้มากมาย คาดว่าท่านคงจะบันทึกเรื่องนี้ไว้ด้วย เพียงแต่ว่าสมัยก่อนผมยังเด็ก จึงไม่ค่อยสนใจเรื่องแบบนี้ จนเดี๋ยวนี้อายุใกล้จะ 50 เริ่มสนใจถึงเรื่องของต้นตระกูลตนเอง (ผมกำลังเริ่มเขียนบันทึกถึงต้นตระกูลทั้งทางสายคุณพ่อและคุณแม่ ก่อนที่ข้อมูลจะสูญหายไปตามกาลเวลา) มาบัดนี้คุณลุงเทพก็ได้ถึงแก่กรรมไปเสียแล้ว คงต้องติดต่อพี่ๆน้องๆ ที่เป็นทายาทของคุณลุงเพื่อขอข้อมูลต่อไป ในขณะเดียวกันก็พยายามหาข้อมูลจากผู้รู้ท่านอื่นๆด้วยเพื่อเป็นการสอบทานความถูกต้อง และอาจได้ข้อมูลหรือมุมมองอื่นที่เราไม่ทราบ อย่างไรก็ดี ขอกราบขอบพระคุณท่านอาจารย์มากๆครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 14 เม.ย. 11, 23:06

คุณลองติดต่อสำนักพิมพ์ที่พิมพ์หนังสือของคุณเทพ  เผื่อจะได้หนังสือที่ท่านเล่าถึงประวัติของตนเองและบรรพบุรุษของท่านไว้บ้าง      ในกรณีที่ลูกๆของคุณเทพอาจจะมีหนังสือของคุณพ่อไม่ครบ
เช็ครายชื่อหนังสือของคุณเทพในกูเกิ้ลหรือยังคะ
บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 15 เม.ย. 11, 17:48

ขุนนางในอดีตที่ดำรงบรรดาศักดิ์พระยาสุนทรบุรีศรีพิไชยสงคราม   มีอยู่หลายท่านที่ได้รับราชทินนามนี้  ไม่ใช่มีแต่พระยาสุนทรบุรี(เสือ) บรรพบุรุษของคุณเพียงท่านเดียว
มีพระยาสุนทรบุรีฯ ท่านหนึ่ง รับราชการในรัชกาลที่ ๖ มีชื่อตัวว่า ชม (เป็นคนละคนกับบรรพบุรษของคุณดนัยรัตน์)  ตำแหน่งของท่านระบุว่า เป็น ข้าหลวงเทศาภิบาลสำเร็จราชการ มณฑลนครไชยศรี
ถ้าราชทินนามนี้ควบคู่ไปกับตำแหน่ง    ก็เป็นได้ว่าพระยาสุนทรบุรีฯ(เสือ ศารทูลสิงห์) เป็นข้าหลวงมณฑลนครไชยศรีเช่นกัน   อาจจะก่อนหรือหลังพระยาสุนทรบุรี(ชม) ก็ได้ค่ะ


อาจารย์เทาครับ
ตำแหน่ง "สุนทรบุรี"
เป็นตำแหน่งเฉพาะเจ้าเมืองนครไชยศรีครับ
พระยาสุนทรบุรี (ชม สุนทราชุน) ที่ต่อมาเป็นเจ้าพระยาศรีวิชัยชนินทร์ ก่อนจะดำรงตำแหน่งเทศาภิบาลมณฑลนครไชยศรี
เคยเป็นเจ้าเมืองนครไชยศรีมาก่อนครับ

พระยาสุนทรบุรี (เสือ สุนทรศารทูล) ต้นสกุลของคุณดนัยรัตน์ คงเป็นเจ้าเมืองก่อนหน้านั้น
ไม่รัชกาลที่ 5 ก็ปลายรัชกาลที่ 4
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 15 เม.ย. 11, 18:06

ลองอ่านดูนะคะ  ดิฉันได้มาจากที่นี่ค่ะ

ความเป็นมาของพระแสงศรกำลังราม  พระนิพนธ์ ม.จ.พูนพิสมัย  ดิศกุล

  พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จำเดิมแต่ได้พระบรมราชาภิเษก แล้วมีพระภิกษุน้อมนำของโบราณ ทำด้วยฝีมืออันวิจิตรยิ่งนัก มาถวาย เพิ่มพูลพระบารมีในปีต้นแห่งรัชสมัยคือแผ่นสัมฤทธิ์ รูปพระกระบี่ธุชพระครุฑพ่าห์ เป็นของโบราณครั้งพระปฐมเจดีย์เป็นพระนครราชธานี ซึ่งพระกลั่นเจ้าอธิการวัดพระประโทน พระยาสุนทรบุรีศรีพิไชยสงคราม (ชม) ข้าหลวงเทศาภิบาลสำเร็จราชการ มณฑลนครไชยศรี เป็นผู้นำทูลเกล้าถวายเวลาเสด็จพระราชดำเนินพระปฐมเจดีย์ ในงานเฉลิมพระราช มณเฑียรที่พระราชวังสนามจันทร์ และสมโภชน์พระปฐมเจดีย์ ณ วันที่ 13 มกราคม รัตนโกสินทร์ศก 129
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 15 เม.ย. 11, 18:15

อีกแห่งค่ะ

เอกสารกรมราชเลขาธิการ กระทรวงมหาดไทย รัชกาลที่ 5

หน่วยราชการ มณฑลนครชัยศรี รหัสไมโครฟิล์ม มร. 5 ม/50,(ร.5ม.45(1-8)

มณฑลนครไชยศรี (ร.ศ.114-ร.ศ.124))
เลขที่เอกสาร ม.45/6 
จำนวน 59 หน้า

 พระยาสุนทรบูรีศรีพิไชยสงคราม ข้าหลวงเทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑลนครไชยศรี แจ้งต่อกรมหลวงดำรงราชานุภาพ ถึงคดีที่มีผู้ร้ายยิงจีนมิ่งตาย(หน้า20-24)…กรมการศาลฎีกานำคดีระหว่าง พนักงานอัยการโจทย์ อ้ายเชย,อ้ายสง จำเลย หาว่าจำเลยเป็นผู้ร้ายปล้นยิงจีนมิ่งตาย ที่ตำบลหนองไม้ตาย ศาลมณฑลนครไชยศรี แลศาลอุทธรณ์ข้าหลวงพิเศษพิพากษาประหารชีวิตร์อ้ายเชย อ้ายสงจำคุกตลอดชีวิตร์…นายวันเพชฆาฎลงดาบประหารชีวิตร์อ้ายเชยเวลา บ่าย1โมง15นาที แล้วนายพักเพชฆาฏที่2ตัดคออ้ายเชยขาดตกดิน แลผลักศพอ้ายเชยล้มลง แล้วนายธูปพวกเพชฆาฎได้เอาศรีศะอ้ายเชยปักไว้บนจอมปลวก ห่างจากศพอ้ายเชยประมาณ5วา เป็นการเสร็จการประหารชีวิตอ้ายเชยในเวลาบ่าย1โมง30นาที
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 15 เม.ย. 11, 20:54

นอกจากนี้ พระยาสุนทรบุรี ที่เป็นข้าหลวงหรือผู้ว่าราชการจังหวัดอื่น ที่ไม่ใช่นครไชยศรี ก็มีนะคะ

พ.ศ. 2446 พระยาสุนทรบุรี (อี้ กรรณสูต) ผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี เห็นว่าอาคารเรียนของโรงเรียนมีสภาพเก่าทรุดโทรม และอาณาบริเวรคับแคบ จึงย้ายไปก่อสร้างอาคารเรียนใหม่ริมถนนพระพันวษา (ที่ตั้งวิทยาลัยอาชีวศึกษาสุพรรณบุรีในปัจจุบัน) พร้อมทั้งรวมโรงเรียนวัดประตูสารเข้ามาด้วย ได้เปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนประจำจังหวัดสุพรรณบุรี"กรรณสูตศึกษาลัย"
จาก   เว็บร.ร.กรรณสูตศึกษาลัย ค่ะ
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 18 เม.ย. 11, 10:13

ผมมาสนับสนุนข้อมูลของคุณอาร์ท ๔๗
ที่ว่า "บรรดาศักดิ์พระยาสุนทรบุรี  เป็นบรรดาศักดิ์ของตำแหน่งเจ้าเมืองนครไชยศรี"
เป็นข้อมูลที่ถูกต้อง   เพราะแม้แต่ในพระอัยการตำแหน่งนาหัวเมือง
ในกฎหมายตราสามดวง  ก็ระบุไว้ชัดเจนว่า 
พระยาสุนทรบุรี....เป็นบรรดาศักดิ์ของเจ้าเมืองนครไชยศรี
และหัวเมืองนครไชยศรีนี้ก็ขึ้นกับกรมท่ามาแต่ไหนแต่ไร
จนกระทั่งมีการปฏิรูประบบราชการใหม่ในสมัยรัชกาลที่ ๕
จึงยกเอาหัวเมืองต่างๆ ที่อยู่ในกำกับของกรมพระกระลาโหมและกรมท่า
มาขึ้นกับกระทรวงมหาดไทยทั้งสิ้น

ครั้นต่อมา  เมื่อมีการจัดตั้งมณฑลเทศาภิบาลขึ้น
เมืองนครไชยศรี  ก็ได้จัดตั้งเป็นมณฑลนครไชยศรีขึ้น
โดยเอาเมืองสมุทสาคร   เมืองนครไชยศรี  เมืองสุพรรณบุรี รวมตั้งเป็นมณฑล
มีที่ทำการมณฑลอยู่ที่เมืองนครไชยศรี (ที่ทำการเมืองนครไชยศรี
เดิมอยู่ที่ท่านา อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ในปัจจุบัน 
ภายหลังย้ายไปอยู่ที่ตำบลพระปฐมเจดีย์ในสมัยรัชกาลที่ ๖)

เมื่อตั้งเป็นมณฑลนครไชยศรีแล้ว  ผู้ดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองนครไชยศรี
ก็ได้ดำรงตำแหน่งเป็นข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลนครไชยศรีด้วย
(แต่ก็มีข้าหลวงบางท่านที่ไม่ใช่เจ้าเมืองนครไชยศรีมาแต่เดิม
จึงไม่ได้มีบรรดาศักดิ์เป็นพระยาสุนทรบุรี)

ผู้ดำรงตำแหน่งข้าหลวงเทศาภิบาลและสมุหเทศาภิบาลมณฑลนครไชยศรี
ตามที่พระยามหาอำมาตยาธิบดี (เส็ง  วิริยศิริ) ได้จดเอาไว้มีดังนี้

๑.พ.ศ.๒๔๓๘ พระยามหาเทพฯ (บุตร  บุณยรัตพันธ์)
๒.พ.ศ.๒๔๔๑ เจ้าพระยาศรีวิชัยชนินทร  (ชม  สุนทรารชุน)
๓.พ.ศ.๒๔๕๘ พระยามหาอำมาตยาธิบดี (เส็ง  วิริยศิริ)
๔.พ.ศ.๒๔๕๘ พลเอก พระวรวงศืเธอ พระองค์เจ้าบวรเดช
๕.พ.ศ.๒๔๖๕ เจ้าพระยาสุรบดินทร์สุรินทรฦาชัย  (พร  จารุจินดา)
๖.พ.ศ.๒๔๖๘ เจ้าพระยามุขมนตรี  (อวบ  เปาโรหิตย์)
๗.พ.ศ.๒๔๗๑ พลโท  พระวรวงศ์เธอ  พระองค์เจ้าทศศิริวงศ์
๘.พ.ศ.๒๔๗๕  พระยากัลยาณวัฒนวิศฺษฐ์ (เชียร  กัลยาณมิตร)

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 18 เม.ย. 11, 12:56


หลวงสากลเป็นบุตรพระยาสุนทรบุรีศรีพิไชยสงคราม (เสือ)


เสียดายว่า จนป่านนี้ ก็ยังไม่อาจชี้ชัด ว่าพระยาสุนทรบุรีศรีพิไชยสงคราม (เสือ สุนทรศารทูล) เป็นใคร      หวังว่าคุณดนัยรัตน์คงจะพบหนังสือของคุณเทพ สุนทรศารทูล ที่ให้ความกระจ่างได้บ้างนะคะ
บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 18 เม.ย. 11, 20:11

หาข้อมูลมาได้อีกบางส่วน

1. ขุนภักดีภูธร (สด) หลานพระยาสุนทรบุรี (เสือ) ต่อมาภายหลังเป็น
อำมาตย์ตรี พระภักดีศรีสุพรรณภูมิ (สด สุนทรศารทูล) ปลัดจังหวัดสุพรรณบุรี ถูกดุลออกจากราชการเมื่อ พ.ศ. 2474
ชาตะ-มรณะ ยังไม่ได้ความ รู้เพียงว่า ได้รับพระราชทานเพลิงศพ ณ วัดมกุฏกษัตริยาราม วันที่ 19 พฤศจิกายน 2505
มีบุตรชื่อ รองอำมาตย์เอก หลวงอรรถประกาศกิดาการ (ประเสริฐ สุนทรศารทูล 2444-2508)

2. นอกจากพระยาสุนทรบุรี (เสือ สุนทรศารทูล) แล้ว ยังมี
พระยาสุนทรบุรี (สว่าง สุนทรศารทูล) อีกท่านหนึ่ง ท่านผู้นี้เป็นสามีของคุณหญิงตลับ หลานสาวของพระยาศรีสหเทพ (เพ็ง ศรีเพ็ญ)
เป็นบิดาของเจ้าจอมมารดาเรือน ในรัชกาลที่ 5 จึงเป็นขรัวตาของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพิสมัยพิมลสัตย์

ข้อสังเกต

1. พระยาสุนทรบุรี (สว่าง สุนทรศารทูล) ท่านนี้ น่าจะเป็นญาติ หรือถึงขั้นพี่น้อง บิดาบุตร กับพระยาสุนทรบุรี (เสือ สุนทรศารทูล)
ซึ่งอยู่ในสมัยรัชกาลที่ 3 - ถึงต้นรัชกาลที่ 5 (ดูจากบุตรชายคือหลวงสากล (หมี) ที่นอกราชการมาตั้งแต่ต้นรัชกาลที่ 6 (อายุน่าจะมากอยู่)
และอายุของคุณหลวงอรรถประกาศ (ประเสริฐ) ผู้เหลน ที่เกิดเมื่อปลายรัชกาลที่ 5)

2. ดูเหมือนว่าตระกูล "สุนทรศารทูล" จะเป็นตระกูลเจ้าเมืองนครไชยศรีมานมนาน และคงมีอิทธิพลพอสมควรในลุ่มน้ำท่าจีน
ตั้งแต่เมืองสุพรรณลงมาจนเมืองนครไชยศรี เหมือนตระกูล "วงศาโรจน์" แถบราชบุรี "ณ บางช้าง" แถบอัมพวา เป็นต้น

บันทึกการเข้า
ดนัยรัตน์
อสุรผัด
*
ตอบ: 3


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 18 เม.ย. 11, 23:16

ขอกราบขอบพระคุณทุกท่านที่กรุณาค้นคว้าและนำมาตอบในกระทู้ครับ (รวมทั้งบางท่านที่กรุณาตอบมาทางข้อความส่วนตัว) รายนามของผู้ใหญ่ในสกุลสุนทรศารทูลที่หลายท่านช่วยกันค้นคว้าและนำมาตอบนั้น ผมคุ้นหูอยู่ตั้งแต่สมัยเด็กๆ เพราะได้ยินคุณแม่พูดถึงอยู่เสมอ เช่น พระยาสุนทรบุรี (เสือ สุนทรศารทูล) พระยาสุนทรบุรี (สว่าง สุนทรศารทูล) หลวงอรรถประกาศกิดาการ (ประเสริฐ สุนทรศารทูล) ฯลฯ ส่วนคุณตาของผม (โอ้ สุนทรศารทูล) ก็เป็นผู้อยู่ในแวดวงกฎหมาย (คุณแม่เล่าให้ฟังเพราะผมเกิดไม่ทัน) ส่วนใหญ่ญาติๆสายนี้มีพื้นเพใน จ.นครปฐมหรือจังหวัดใกล้เคียงทั้งสิ้น

สำหรับข้อมูลจากการศึกษาค้นคว้าและบันทึกของคุณลุงเทพ สุนทรศารทูลนั้น ทราบมาว่าขณะนี้ คุณแมว (หรือคุณสุภาณี สุนทรศารทูล) ธิดาของคุณลุงเทพ สุนทรศารทูล (เธอเรียน รร.เตรียมอุดมศึกษา รุ่นเดียวกันกับผม) เป็นผู้รับช่วงกิจการสำนักพิมพ์ของคุณลุงอยู่ ซึ่งผมคงจะหาโอกาสติดต่อไปในไม่ช้า หากได้ข้อมูลเพิ่มเติมอย่างไรเป็นที่ยืนยัน ผมจะนำมาแบ่งปันเล่าสู่กันฟังในเว็บนี้ครับ

ขอกราบขอบพระคุณทุกท่านอีกครั้งครับ  เจ๋ง
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 19 เม.ย. 11, 07:02

ผู้ดำรงตำแหน่งข้าหลวงเทศาภิบาลและสมุหเทศาภิบาลมณฑลนครไชยศรี
ตามที่พระยามหาอำมาตยาธิบดี (เส็ง  วิริยศิริ) ได้จดเอาไว้มีดังนี้

๑.พ.ศ.๒๔๓๘ พระยามหาเทพฯ (บุตร  บุณยรัตพันธ์)
๒.พ.ศ.๒๔๔๑ เจ้าพระยาศรีวิชัยชนินทร  (ชม  สุนทรารชุน)
๓.พ.ศ.๒๔๕๘ พระยามหาอำมาตยาธิบดี (เส็ง  วิริยศิริ)
๔.พ.ศ.๒๔๕๘ พลเอก พระวรวงศืเธอ พระองค์เจ้าบวรเดช
๕.พ.ศ.๒๔๖๕ เจ้าพระยาสุรบดินทร์สุรินทรฦาชัย  (พร  จารุจินดา)
๖.พ.ศ.๒๔๖๘ เจ้าพระยามุขมนตรี  (อวบ  เปาโรหิตย์)
๗.พ.ศ.๒๔๗๑ พลโท  พระวรวงศ์เธอ  พระองค์เจ้าทศศิริวงศ์
๘.พ.ศ.๒๔๗๕  พระยากัลยาณวัฒนวิศฺษฐ์ (เชียร  กัลยาณมิตร)

ข้อมูลข้างต้นนับแต่ลำดับที่ ๓ ลงมาดูจะคลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริงอยู่สักหน่อย คือ

๓. พระยามหาอำมาตยาธิบดี (เส็ง  วิรยศิริ) เป็นอุปราชมณฑลภาคตะวันตกและสมุหเทศาภิบาลมณฑลนครไชยศรี
ต่อมาวันที่  ๑๔  ธันวาคม  พ.ศ. ๒๔๖๐  ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยามหาอำมาตยาธิบดี พ้นจากตำแหน่งสมุหเทศาภิบาลมณฑลนครไชยศรี  ไปเป็นผู้รั้งสมุหเทศาภิบาลมณฑลราชบุรี  แล้วโปรดเกล้าฯ ให้พระยาศิริไชยบุรินทร์ (ใหญ่  ศยามานนท์ - ต่อมาเป็นพระยามหินทรเดชานุวัฒน์) ผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐมเป็นสมุหเทศาภิบาลมณฑลนครไชยศรีแทน. ถึงวันที่  ๒๕  กันยายน  พ.ศ. ๒๔๖๖  ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยามหินทรเดชานุวัฒน์ สมุหเทศาภิบาลมณฑลนครไชยศรี ย้ายไปเป็นสมุหเทศาภิบาลมณฑลนครสวรรค์  แล้วโปรดเกล้าฯ ให้ พระยาสุนทรบุรี ศรีพิชัยสงคราม รามภักดี พิริยพาหะ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี มาเป็นสมุหเทศาภิบาลมณฑลนครไชยศรี

๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๖๘ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ จางวางตรี พระยาสุนทรบุรี ศรีพิชัยสงคราม รามภักดี พิริยพาหะ (อี้  กรรณสูต) สมุหเทศาภิบาลมณฑลนครไชยศรี ออกรับพระราชทานบำนาญเหตุสูงอายุพร้อมสมุหเทศาภิบาลอื่นอีก ๖ มณฑล  แล้วทรงย้ายหม่อมเจ้าธำรงศิริ  ศรีธวัช  สมุหเทศาภิบาลมณฑลปราจิณมาเป็นสมุหเทศาภิบาลมณฑลนครไชยศรี  ถึงวันที่  ๑  เมษายน  พ.ศ. ๒๔๗๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หม่อมเจ้าธำรงศิริ  ศรีธวัช ออกจากรับราชการรับพระราชทานเบี้ยบำนาญเหตุสูงอายุ  ต่อจากนั้นยังไม่ทันตั้งสมุหเทศาภิบาลคนใหม่ก็เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง  แล้วได้ยุบเลิกการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาลไปภายหลังเกิดกบฏบวรเดช ในพ.ศ. ๒๔๗๖

ส่วนรายนามลำดับที่ ๔ และ ๕ นั้น เป็นอุปราชมณฑลภาคพายัพและสมุหเทศาภิบาลมณฑลพายัพ
ลำดับที่ ๖ - ๘ นั้น  เป็นสมุหเทศาภิบาลมณฑลพายัพ  ในยุคที่ยุบเลิกตำแหน่งอุปราชในตอนต้นรัชกาลที่ ๗ แล้ว
บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 19 เม.ย. 11, 18:58

ยังมีอีกมากครับ คนในสกุล "สุนทรศารทูล" ที่รับราชการสมัยรัชกาลที่ 7

เช่นข้อมูลในปี พ.ศ. 2474 จากหนังสือ "พิพิธภัณฑ์สัพพะสยามกิจ"

อำมาตย์โท พระประชากรบริรักษ์ (แอร่ม สุนทรศารทูล) ผู้ว่าราชการจังหวัดสิงห์บุรี
อำมาตย์ตรี พระบำรุงนาวา (ชุบ สุนทรศารทูล) สมุห์บัญชีกรมเจ้าท่า
รองอำมาตย์เอก หลวงอรรถประกาศกิดาการ (ประเสริฐ สุนทรศารทูล) อัยการจังหวัดอุบลราชธานี
รองอำมาตย์โท หลวงประมาณคดี (เล็ก สุนทรศารทูล) อัยการจังหวัดอุดรธานี
รองอำมาตย์ตรี ขุนอุภัยระบิน (บุญช่วย สุนทรศารทูล) สังกัดกระทรวงยุติธรรม
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.063 วินาที กับ 20 คำสั่ง