เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 6358 เรไร
hobo
พาลี
****
ตอบ: 324


 เมื่อ 01 เม.ย. 11, 05:35

สวัสดีครับ ผมขอรบกวนท่านผู้รู้ภาษาไทยเกี่ยวกับคำว่า 'เรไร'
ไม่ทราบว่าเป็นสัตว์พวกไหนในหนังสือโบราณครับ
เนื่องจากผมได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับการบัญญัติศัพท์ทางสัตววิทยาของราชบัณฑิต

อาจารย์ผู้ใหญ่ที่ผมนับถือบอกว่าเป็นจิ้งหรีด ตั๊กแตน แต่ผมคิดว่าเป็นพวกจั๊กจั่น
ผมไม่กล้าทักท้วง เพราะผมเป็นคนรุ่นใหม่ ไม่เคยได้ยินเสียงเรไร ไม่เคยเห็นตัวจริง
ขอความกรุณาท่านที่มีเอกสารหรือได้ยินท่านผู้ใหญ่บอกว่านี่คือเสียงเรไรช่วยอธิบายด้วยครับ
แต่ถ้าปล่อยไปก็กลัวว่าจะผิดเพี้ยนไปจากความหมายเดิม ขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 01 เม.ย. 11, 09:30

ข้อมูลจาก :จารุจินต์ นภีตะภัฏ : สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย http://www.tistr.or.th/t/publication/page_area_show_bc.asp?i1=44&i2=44&noshow=1

เรไร (imperial cicadas) เป็นแมลงกลุ่มหนึ่ง จัดอยู่ในวงศ์จักจั่น (Cicadidae) เช่นเดียวกับจักจั่นแม่ม่ายลองไน แมลงอื๋ ฯลฯ
เป็นแมลงที่มีปากดูดกินน้ำเลี้ยงจากต้นไม้ และมีปีกใส มีเส้นปีกเป็นโครงร่างมากมาย ทั้งปีกคู่หน้าและปีกคู่หลัง จึงจัดอยู่ในอันดับโฮมอพเทอรา (Homoptera) ส่วนใหญ่จัดอยู่ในสกุล Pomponia ส่วนน้อยที่เหลืออยู่ในสกุล Tosena, Cryptotympana และ Platylomia ชนิดที่พบบ่อยๆ ในประเทศไทย มีชนิด Pomponia intermedia, P. fusca และ P. lactea

เรไรมีลำตัวยาว 35-65 มิลลิเมตร และปีกทั้งสองแผ่ออกกว้างถึง 80-176 มิลลิเมตร จึงมีลักษณะที่เด่นต่างออกมาจากจักจั่นสกุลอื่นๆ ที่พบในประเทศไทย สีลำตัวส่วนใหญ่ เป็นสีน้ำตาลอมเขียว หัวกว้างไล่เลี่ยกับส่วนอก ตาเดี่ยว (ocelli) อยู่รวมกันเป็นกระจุก 3 ตา ตรงกลางหน้าผาก ด้านหลังของอกปล้องแรก มีขอบด้านข้างแบนยื่นออกไป ส่วนท้องมี 6 ปล้อง ซึ่งส่วนท้องของ ตัวผู้ยาวกว่าความยาวของหัวรวมส่วนอก เฉพาะตัวผู้เท่านั้นที่มีอวัยวะสำหรับทำเสียงและมีแผ่นปิดอวัยวะนี้ ลักษณะสั้นและวางตัวตามแนวขวาง ปากดูดเวลาไม่ใช้งานจะสอดเข้าไปใต้ส่วนหัว โดยมีปลายปากยาว เลยโคนขาคู่ที่สามออกไป โคนขาคู่หน้ามักพองโตออกและมีหนาม ขนาดใหญ่อยู่ข้างใต้

เรไรมีเสียงร้องที่ดังกว่าจักจั่นชนิดอื่นๆ มาก เมื่อฟังดูจะคล้ายกับเสียงเลื่อยวงเดือนกำลังเลื่อยไม้ เสียงดัง ว้าง-ว้าง-ว้าง เป็นจังหวะ ไปเรื่อยๆ นานประมาณ 30-45 วินาทีจึงหยุด ประมาณ 10-20 วินาที จึงเริ่มต้นส่งเสียงอีกครั้งหนึ่ง เวลาที่เรไรส่งเสียงคือตอนพลบค่ำเวลา 17.00-18.00 นาฬิกา แต่ต้องไม่มีฝนตกในช่วงเวลานี้ และอากาศไม่หนาวเย็นจนเกินไป ส่วนใหญ่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเริ่มร้องเวลา 17.30 นาฬิกา จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อว่า “แมงง่วง” เพราะได้เวลาเลิกงาน เตรียมตัวกลับบ้านได้แล้ว
ในบริเวณป่าดิบภาคใต้ เรไรในสกุล Tosena และ Pomponia มักมีชื่อเรียกว่า "สามลูกควน" หรือ "สาวลูกครวญ" เพราะมีเสียง ร้องได้ยินไปไกลถึงสามลูกภูเขา (ควน) หรือร้องเพลงกล่อมลูกอยู่ตลอดเวลาเนื่องจากมีลูกที่ร้องกวนใจ

 ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.057 วินาที กับ 19 คำสั่ง