เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 24 25 [26]
  พิมพ์  
อ่าน: 167992 ละครในราชสำนักสยามไปสู่ราชสำนักเขมร
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 375  เมื่อ 14 เม.ย. 11, 13:14

เห็นว่ารัฐก็สนับสนุนอยู่  ยิงฟันยิ้ม

ข่าวจากสำนักข่าวไทย

วธ.เสนอรัฐบาลของบ ๘ ล้านบาท สืบทอดหุ่นละครเล็กโจหลุยส์

กรุงเทพฯ ๑๓ ต.ค.-นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กล่าวว่า ขณะนี้ วธ.ได้เสนอแนวทางต่อรัฐบาล ถึงการสนับสนุนคณะนาฏยศาลาหุ่นละครเล็ก โจหลุยส์ ที่ประสบปัญหาสถานที่จัดการแสดง ตามนโยบายของนายกรัฐมนตรี ที่มอบหมายให้กระทรวงฯ เสนอแนวทางส่งเสริมกิจกรรมเกี่ยวกับศิลปะการแสดงอันบ่งบอกถึงศิลปวัฒนธรรมไทย และสร้างชื่อเสียงให้ประเทศในเวทีนานาชาติ พร้อมหามาตรการส่งเสริม สนับสนุนให้ใช้ศิลปะการแสดงรณรงค์สร้างค่านิยมที่พึงประสงค์และสร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติ โดยมีแนวทางในระยะเร่งด่วน ประกอบด้วย การสนับสนุนการแสดง เรื่อง กูรมาวตาร ตำนานพระราหู ซึ่งได้รับรางวัลยอดเยี่ยมในการประกวดเทศกาลหุ่นโลก ครั้งที่ ๑๐ ณ กรุงปราก สาธารณรัฐเช็ก ที่โรงละครวิกหัวหิน จ.ประจวบคิรีขันธ์ จำนวน ๗ รอบ ระหว่างเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน ๒๕๕๓ และจัดแสดงที่โรงละครแห่งชาติ ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค

สำหรับมาตรการระยะปานกลาง จะสนับสนุนการแสดงหุ่นละครเล็ก เรื่อง พระมหาชนก ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับความเพียร ความวิริยะ และค่านิยมที่พึงประสงค์สู่เยาวชนและประชาชนใน ๔ ภูมิภาค เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ช่วงเดือน ธันวาคม ๒๕๕๓ และจะนำองค์ความรู้จากการแสดงไปพัฒนาสู่การถ่ายทอดมรดกทางภูมิปัญญาและการส่งเสริมคุณธรรม โดยในปี พ.ศ. ๒๕๕๔ ได้เสนอของบกลาง จำนวน ๘ ล้านบาท และปีต่อไปจะขอตั้งเป็นงบประมาณประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๕

ส่วนมาตรการในระยะยาว กระทรวงฯ จะพัฒนารูปแบบและมาตรการส่งเสริมสนับสนุนการสืบทอดมรดกวัฒนธรรมด้านศิลปะการแสดงพื้นบ้านอย่างยั่งยืน รวมถึงการจัดหาพื้นที่การแสดงถาวร โดยร่วมกับเอกชนและชุมชน เพื่อเสริมพลังศิลปินพื้นบ้านในการสืบสานและถ่ายทอดมรดกวัฒนธรรมแขนงนี้ให้คงอยู่สืบไป.-สำนักข่าวไทย

http://www.mcot.net/cfcustom/cache_page/114517.html
 
 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 14 เม.ย. 11, 13:59 โดย เทาชมพู » บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 376  เมื่อ 14 เม.ย. 11, 13:25

           กระทรวงวัฒนธรรมเร่งให้การช่วยเหลือคณะหุ่นละครเล็ก โจหลุยส์   (4/4/2011)
          กระทรวงวัฒนธรรม เร่งให้การช่วยเหลือคณะหุ่นละครเล็ก โจหลุยส์ โดยจัดหาสถานที่แสดงไปตามภูมิภาคต่างๆ พร้อมอัญเชิญบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่องพระมหาชนก มาจัดการแสดง

              นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เปิดเผยว่า จากกรณีที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี มอบหมายให้กระทรวงวัฒนธรรม ดูแลช่วยเหลือคณะหุ่นละครเล็ก โจหลุยส์ เพื่ออนุรักษ์การแสดงไว้ไม่ให้สูญหาย หลังได้รับผลกระทบจากการที่โรงละครนาฏยศาลา สวนลุมไนท์บาซาร์หมดสัญญาเช่า และยังไม่สามารถจัดหาสถานที่การแสดงใหม่ได้ ขณะนี้กระทรวงวัฒนธรรมได้ติดต่อหากิจกรรมและจัดตารางการแสดงให้คณะหุ่นละคร เล็ก โจหลุยส์เรียบร้อยแล้ว โดยมอบหมายให้จัดแสดงภายใต้โครงการ 84 พรรษา เฉลิมหล้ามหาราชัน พร้อมอัญเชิญบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่องพระมหาชนก มาใช้เป็นเนื้อเรื่องในการจัดแสดงด้วย โดยจะมีการเคลื่อนการจัดแสดงไปยังภูมิภาคต่างๆ เริ่มจากจังหวัดที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว ได้แก่ สงขลา เชียงใหม่ และขอนแก่น นอกจากนี้จะมีกิจกรรมกระจายองค์ความรู้ที่อยู่ในพระราชนิพนธ์ และศิลปะการแสดงหุ่นละครเล็ก จำนวน 4 ฐาน ได้แก่ ทศบารมี วิริยะบารมี ปัญญาบารมี และงานศิลปะไทยในการแสดงหุ่นละครเล็ก เพื่อให้ความรู้แก่ประชาชนที่เข้าชมการแสดงด้วย


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 377  เมื่อ 14 เม.ย. 11, 21:31

ยังอยู่ในช่วงวันหยุด   คุยกันไปเรื่อยๆ ก็แล้วกัน  นอกเรื่องเขมรบ้างก็ช่างเถอะ

นอกจากหุ่นละครเล็ก   เราก็ยังมีหุ่นกระบอกอีกด้วยนะคะ      น่าจะรวมเข้าด้วยกันเป็นละครหุ่นไทย
อย่างหุ่นกระบอกของอ.จักรพันธุ์

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 378  เมื่อ 14 เม.ย. 11, 21:35

รำไหว้ครูหุ่นกระบอก โดย ณัฐพันธุ์ นุชอำพันธ์ เป็นศิษย์ครูชูศรี (ชื้น) สกุลแก้ว ศิลปินแห่งชาติ (หุ่นกระบอก) เชิดรำไหว้ครูหุ่นกระบอกก่อนการแสดงหุ่นของมหาวิทยาลัยรัตนโกสินทร์ วิทยาเขตเพาะช่าง

บทร้องไหว้ครูหุ่นกระบอก โดย ม.ร.ว.เถาะ พยัคฆเสนา

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 379  เมื่อ 14 เม.ย. 11, 21:42

ยังหาหุ่นกระบอกเขมรไม่เจอ  คุณเพ็ญชมพูหาเจอไหมคะ
อยากจะรู้ว่าวัฒนธรรมหุ่นกระบอก ไหลไปไหลมาระหว่างไทยกับกัมพูชาหรือเปล่า
สิ่งที่เขาเรียกว่า puppet คือหนังตะลุง  Sbek Touch 

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 380  เมื่อ 14 เม.ย. 11, 22:55

เขมรไม่มีหุ่นกระบอกกระมัง

หุ่นกระบอกไทยก็เพิ่งเกิดมาร้อยกว่าปีมานี้เอง

จากลายพระหัตถ์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ในหนังสือสาส์นสมเด็จ ทำให้ทราบว่าการละเล่นหุ่นกระบอกนั้น ได้เริ่มขึ้นครั้งแรกราว พ.ศ. ๒๔๓๕ ที่เมืองสุโขทัย โดยนายเหน่ง สุโขทัย ซึ่งเป็นต้นคิด จำแบบอย่างมาจากหุ่นไหหลำ นำมาดัดแปลงเป็นหุ่นแต่งอย่างไทย โดยนายเหน่งได้ใช้เล่นหากินอยู่ที่เมืองสุโขทัยจนมีชื่อเสียง

และในกรุงเทพฯ ในสมัยใกล้เคียงกันนั้น (ประมาณ พ.ศ. ๒๔๓๖ ซึ่งอยู่ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว)  หม่อมราชวงศ์เถาะ พยัคฆเสนา มหาดเล็กในสมเด็จพระบรมวงศ์เธอฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ก็ได้คิดสร้างหุ่นอีกแบบหนึ่ง โดยดัดแปลงจากหุ่นที่ท่านได้ไปพบเห็นที่จังหวัดสุโขทัย โดยหุ่นที่หม่อมราชวงศ์เถาะสร้างนี้ เป็นหุ่นที่มีแต่หัวและแขน ส่วนหัวมาถึงลำคอทำด้วยไม้ทองหลางหรือไม้นุ่น  มีรายละเอียดเลียนแบบคนจริง  ส่วนลำตัวของหุ่นเป็นกระบอกไม้ไผ่เป็นแกนสำหรับจับ ด้านบนเอาหัวหุ่นสวมลงมา ไม่มีขาหุ่น แต่นำผ้าปักลายด้วยดิ้นเงิน ดิ้นทอง เลื่อม แบบเครื่องโขนละครมาทำเป็นเสื้อทรงกระสอบ (ไม่มีแขนเสื้อ) คลุมตั้งแต่คอ ยาวลงมาคลุมกระบอกไม้ไผ่เพื่อบังมือผู้เชิดที่จับกระบอก ต่อมือหุ่นตรงมุมผ้าผืนเดียวกันนั้น ผู้เชิดจะจับแกนไม้ซึ่งต่อกับมือของหุ่น ทำให้เชิดได้ว่องไว หุ่นแบบนี้ในตอนแรกเรียกว่า “หุ่นคุณเถาะ” ต่อมาจึงเปลี่ยนมาเรียกว่า “หุ่นกระบอก”

ความคิดริเริ่มก่อตั้งคณะหุ่นของหม่อมราชวงศ์เถาะ ก่อให้เกิดยุคทองของการเล่นหุ่นชนิดนี้ขึ้น เพราะในสมัยเดียวกัน และต่อมาภายหลัง ได้มีคณะหุ่นกระบอกเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก และเป็นมหรสพที่นิยมในหมู่ประชาชนในเวลานั้น

การแสดงหุ่นกระบอกไทยนั้น เรื่องที่นิยมเล่นคือ พระอภัยมณี ขุนช้างขุนแผน และลักษณวงศ์ คณะหุ่นที่มีชื่อเสียงในยุคเริ่มแรกได้แก่ หุ่นหม่อมราชวงศ์เถาะ พยัคฆเสนา หุ่นวังหน้า และหุ่นของจางวางต่อ ณ ป้อมเพ็ชร

หุ่นกระบอกคณะหม่อมราชวงศ์เถาะ  พยัคฆเสนา ซึ่งถือว่าเป็นผู้ให้กำเนิดหุ่นกระบอกไทยนั้น ได้รับการสืบทอดต่อมาโดยนายเปียก ประเสริฐกุล ผู้เชิดคนสำคัญของคณะ นายเปียกเปิดคณะของตัวเองตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๔๒ และเล่นเรื่อยมาจนถึงราวปี พ.ศ. ๒๕๐๐ คุณยายชื้น (ประเสริฐกุล) สกุลแก้ว ลูกสาวของนายเปียก ได้สืบทอดคณะหุ่นต่อมา และเปิดการแสดงไปทั่ว

http://www.thaiclassic.net/ver2011/index.php?option=com_content&task=view&id=50&Itemid=59




บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 381  เมื่อ 14 เม.ย. 11, 23:19

คิดว่าเขมรคงไม่มีหุุ่นกระบอกเช่นกัน
ขอย้อนกลับไปเรื่องหนังใหญ่


สุจิตต์ วงษ์เทศ เขียนไว้ว่า หนังใหญ่เข้าใจว่าได้รับอิทธิพลมาจากเขมร

ตามนี้เลยครับ ย่อหน้าสุดท้าย

http://www.lek-prapai.org/watch.php?id=21

ตอนอ่านบทความของคุณสุจิตต์ที่ท่าน Navarat ทำลิ้งค์ให้   ใจนึกแย้งๆคุณสุจิตต์ ว่าหนังตะลุงน่าจะมาจากทางใต้  ส่วนหนังใหญ่มาจากเขมร   ไม่จำเป็นว่าอย่างหนึ่งมาจากเขมร อีกอย่างก็ต้องมาจากเขมร   แต่ทำไมนึกยังงั้นยังหาเหตุผลไม่ได้
เก็บเป็นการบ้านในใจไว้หลายวัน    จนเมื่อคืนเพิ่งนึกออก ว่าที่คิดอย่างนั้น   ก็เพราะกำลังเขียนเรื่องละครนอกละครใน(วัง)อยู่ในกระทู้กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญน่ะเอง
ละครใน ๔ เรื่องคือรามเกียรติ์ อิเหนา ดาหลัง อุณรุท     คำว่า ดาหลัง แปลว่าคนเชิดหนัง    เพราะว่าระเด่นมนตรีพระเอกในเวอร์ชั่นนี้ ปลอมตัวเป็นคนเชิดหนัง เมื่อตามหานางเอก    ส่วนในอิเหนา พระเอกปลอมตัวเป็นปันหยี โจรป่า
ตามประวัติ  เจ้าฟ้ากุณฑลแต่งเรื่องดาหนัง  และเจ้าฟ้ามงกุฎ พระธิดาของพระเจ้าบรมโกศ  แต่งบทละครขึ้นจากตำนานกษัตริย์ชวา ที่นางพี่เลี้ยงชาวมลายูเล่าให้ฟัง
ตำนานผ่านจากชวามามลายู    จากมลายูมาอยุธยา       หนึ่งในวัฒนธรรมที่ติดมากับคำบอกเล่าคือการเชิดหนัง
หนังที่นี้น่าจะเป็นหนังตะลุง  ไม่ใช่หนังใหญ่แบบเขมร    ไม่มีความจำเป็นอะไรที่หนังทั้งสองแบบจะต้องมาจากแหล่งเดียวกัน  ในเมื่อแม่บทของหนังคืออินเดียก็กระจายการละเล่นแบบใช้เงาเคลื่อนไหว   ไปในหลายประเทศ  ไม่ใช่ประเทศเดียว

ขอฝากไว้พิจารณาค่ะ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 382  เมื่อ 18 เม.ย. 11, 09:59

          ว่า "มหรสพหน้าขึ้นตาของชาวไทยในสมัยโบราณอีกอย่างหนึ่งคือ หนัง ซึ่งเราเรียกกันในภายหลังว่า หนังใหญ่ เพราะหนังตะลุงซึ่งเป็นหนังตัวเล็ก เกิดขึ้นอีกอย่างหนึ่ง จึงเติมคำเรียกให้แตกต่างกันออกไป สำหรับหนังใหญ่ตามหลักฐานที่ปรากฎในสมุทรโฆษคำฉันท์บอกว่ามีมาก่อนสมัยพระนารายณ์ฯ" ดังนั้น ตามทรรศนะของธนิต อยู่โพธิ์ หนังตะลุงจึงเกิดขึ้นหลังรัชกาลดังกล่าว แต่จะเป็นช่วงใดไม่ได้สันนิษฐานไว้

         สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงกล่าวว่า หนังตะลุงเป็นของใหม่ เกิดขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยชาวบ้านควนพร้าว จังหวัดพัทลุง คิดเอาอย่างหนังชวามาเล่นเป็นเรื่องไทยขึ้นก่อนแล้วแพร่หลายไปยังที่อื่น และในสมัยรัชกาลที่ 5 นี้เองที่หนังตะลุงได้แสดงถวายหน้าพระที่นั่งเป็นครั้งแรก เมื่อปีชวด พ.ศ.2419

         สุธิวงศ์  พงศ์ไพบูลย์ มีความเห็นว่า หนังตะลุงคงได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมต่างชาติมากกว่าจะคิดขึ้นเอง และคงเป็นวัฒนธรรมต่างชาติมากกว่าจะคิดขึ้นเอง และคงเป็นวัฒนธรรมของกลุ่มที่มีวัฒนธรรมอินเดียปนอยู่ด้วยโดยยกเหตุผลประกอบดังนี้ 
         1. การออกรูปฤาษีและรูปพระอิศวรของหนังตะลุงมักขึ้นต้นด้วย โอม ซึ่งเป็นคำแทนเทพเจ้าสามองค์ของพราหมณ์ (โอม มาจาก อ + ม อ = พระวิษณุ, อุ = พระศิวะ, ม = พระพรหม)
        2. รูปหนังตัวสำคัญ ๆ มีชื่อเป็นคำสันสกฤต เช่น ฤาษี อิศวร ยักษ์ นุด (มนุษย์ = รูปที่เป็นพระราชโอรสของเจ้าเมือง) ชื่อตัวประกอบที่เป็นภาษาบาลีสันสกฤตก็มี เช่น ทาสี เสหนา (เสนา) 
       3. ลักษณะรูปหนังตัวสำคัญๆ มีสัญลักษณ์ของวัฒนธรรมอินเดีย เช่น พระราชาทรงศรหรือไม่ก็ทรงพระขรรค์เครื่องทรงของกษัตริย์ก็เป็นแบบอินเดีย รูปประกอบก็บอกลักษณะวัฒนธรรมอินเดีย เช่น ปราสาท ราชวัง ต้นรัง (ต้นสาละ)
         4. ลักษณะนิสัยตัวละครบางตัวมีสัญลักษณ์ของวัฒนธรรมอินเดีย เช่น พระอินทร์คอยช่วยเหลือผู้ตกยาก มียักษ์เป็นตัวมาร ตัวละครบางตัวมีความรู้ทางไสยศาสตร์ 
         5. เนื้อเรื่องแบบโบราณจริงๆ นิยมเล่นเรื่องรามเกียรติ์ตอนหลังแม้จะเล่นเรื่องอื่นๆ แต่ในพิธีแก้บนจะเล่นเรื่องรามเกียรติ์
อุดม  หนูทอง มีทรรศนะเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของหนังตะลุงว่า หนังตะลุงเป็นการเล่นที่ได้รับอิทธิพลมาจากวัฒนธรรมพราหมณ์อย่างชัดเจน ดังจะเห็นได้จากขนบนิยมในการแสดงและหลักฐานอื่นๆ ดังนี้
         1. เรื่องที่แสดง ปรากฏจากคำบอกเล่าและบทกลอนไหว้ครูหนังหลายสำนวนว่า เดิมทีหนังตะลุงเล่นเรื่องรามเกียรติ์ดังตัวอย่างกลอนไหว้ครูของหนังอนันต์ตอนหนึ่งว่า 

         "เรื่องรามเกียรติ์เล่นแต่ตอนปลาย หนุมานพานารายณ์ไปลงกา"

         2. ลำดับขั้นตอนในการแสดง มีการออกลิงดำลิงขาวหรือ ออกลิงหัวค่ำ (ปัจจุบันเลิกไปแล้ว) ออกฤาษี ออกโค (ออกรูปพระอิศวรทรงโค) ออกรูปฉะ คือ รูปพระรามกับทศกัณฐ์ต่อสู้กัน (ปัจจุบันเลิกไปแล้ว) ธรรมเนียมเหล่านี้แสดงร่องรอยของอิทธิพลพราหมณ์ทั้งสิ้น

http://www.tungsong.com/NakhonSri/Cultures&Games_Nakhonsri/%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B8%B0%E0%B8%A5%E0%B8%B8%E0%B8%87/History.html

คำตอบไปอยู่ในอีกกระทู้หนึ่งซะนี่

 ยิงฟันยิ้ม
 
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 383  เมื่อ 18 เม.ย. 11, 13:36

ข้อเท็จจริงอย่างที่พึงทราบสำหรับคนไทย

ในปัจจุบันนี้   มีนักวิชาการชาวกัมพูชาได้ค้นคว้าวิจัยข้อมูล
เกี่ยวกับการแสดงนาฏศิลป์และมหรสพของชาวกัมพูชา
และได้เรียบเรียงเป็นเล่มหนังสือเผยแพร่   ซึ่งมีนักวิชาการชาวไทย
ได้แปลเป็นภาษาไทยพิมพ์ออกเผยแพร่แล้วเมื่อไม่กี่ปีมานี้


หนังสือดังกล่าว  ถ้าเทียบกับงานวิชาการของไทยแล้ว
คงจะเห็นความแตกต่างมาก   การอ้างอิงข้อมูลต่างๆ
ยังอยู่ในรูปคำบอกเล่าลอยๆ  ไม่มีเชิงอรรถ หรือบรรณานุกรม


ที่สำคัญคือ  การวิจัยเกี่ยวกับการแสดงนาฏศิลป์และมหรสพของชาวกัมพูชา
ในหนังสือเล่มที่กล่าวถึงนี้   ผู้เรียบเรียงกล่าวถึงประวัติความเป็นมา
ของมหรสพการแสดงแต่ละชนิดของชาวเขมร   โดยเชื่อมโยง
หลักฐานจารึกสมัยพระนครหรือจดหมายเหตุโจวตากวน
หรือไม่ก็โยงไปถึงมหรสพในอินเดียโบราณ   มาสัมพันธืกับมหรสพ
ของชาวเขมรปัจจุบัน   โดยไม่มีการกล่าวถึงนาฏศิลป์ชาวสยาม
แม้แต่น้อย  ถ้าเลี่ยงไม่ได้  ก็จะกล่าวถึงให้น้อยที่สุด   
ฉะนั้นงานวิจัยดังกล่าว  ถ้าใครได้อ่านก็จะเห็นได้ว่า
ผู้เรียบเรียงยกเอาเขมรสมัยพระนครมาเล่าแล้วข้ามมาถึงยุคปัจจุบัน
โดยไม่มีการกล่าวถึงเขมรสมัยหลังพระนครที่เมืองละแวก
หรือแม้แต่เขมรในสมัยที่เป็นประเทศราชของสยามเลย


ถ้าถามว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้น  ทุกท่านคงจะหาคำตอบได้ไม่ยาก


ทุกวันนี้ศิลปะการแสดงของชาวกัมพูชาที่ว่าสวยงามในอดีต
ถูกทำลายไปเกือบหมดในสมัยเขมรแดงสมัยสงครามกลางเมือง
ศิลปะการแสดงของชาวเขมรทุกวันนี้  ส่วนใหญ่เป็นศิลปะที่นำเอา
ศิลปะของชาวบ้านที่หลงเหลือรอดจากสงครามมาฟื้นฟูใหม่
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 384  เมื่อ 18 เม.ย. 11, 15:28

ข้อเท็จจริงอย่างที่พึงทราบสำหรับคนไทย

ในปัจจุบันนี้   มีนักวิชาการชาวกัมพูชาได้ค้นคว้าวิจัยข้อมูล
เกี่ยวกับการแสดงนาฏศิลป์และมหรสพของชาวกัมพูชา
และได้เรียบเรียงเป็นเล่มหนังสือเผยแพร่   ซึ่งมีนักวิชาการชาวไทย
ได้แปลเป็นภาษาไทยพิมพ์ออกเผยแพร่แล้วเมื่อไม่กี่ปีมานี้


หนังสือเล่มนี้ชื่อเสียงเรียงนามว่ากระไร หน้าตาเป็นไฉน ใคร่อยากทราบ

 เจ๋ง
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 385  เมื่อ 18 เม.ย. 11, 15:42

1.Lkhpn khol / Bejr Dum Kravil
Khmer mask theater / Pich Tum Kravel
Phnom Penh : Toyota Foundation, 2001?
[4], 182 p. : ill. (some col.) ; 29 cm.
 

2.Saipak pan nin saipak tuc / Bejr Dum Kravil
Colour leather and shadow puppet / Pich Tum Kravel
Phnom Penh : Toyota Foundation, 2001?
[4], 170 p. : ill. (some col.) ; 29 cm.
 

O.K.?
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 386  เมื่อ 18 เม.ย. 11, 16:00

อยากทราบรายละเอียดเกี่ยวกับเล่มที่แปลเป็นภาษาไทยแล้ว

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 387  เมื่อ 18 เม.ย. 11, 16:11

อยากทราบรายละเอียดเกี่ยวกับเล่มที่แปลเป็นภาษาไทยแล้ว

 ยิงฟันยิ้ม

ถ้าผมไม่บอกข้อมูล  ผมจะมีความผิดไหมครับ

๑. ระบำขแมร์ = Khmer dances / เพชร ตุมกระวิล แต่ง ; ภูมิจิต เรืองเดช แปล.
บุรีรัมย์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 2548.

๒.ละครโขน = Khmer mask theater / เพชร ตุมกระวิล แต่ง ; ภูมิจิต เรืองเดช แปล.
บุรีรัมย์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 2548.

๓.หนังสีและหนังเล็ก = Colour leather and shadow pupet / เพชร ตุมกระวิล ; แปลโดย ภูมิจิต เรืองเดช.
บุรีรัมย์ : โรงพิมพ์วินัย, 2548.


เชิญไปค้นหาอ่านได้ตามห้องสมุดทั่วไปครับ
 
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 388  เมื่อ 19 พ.ย. 19, 07:45



นางละครที่เป็นแบบให้วาด  คือเจ้าหญิงบุบผาเทวี พระธิดาของเจ้านโรดมสีหนุ อดีตกษัตริย์เขมร  ปัจจุบันอายุ ๖๐ กว่าแล้ว

สมเด็จพระเรียมนโรดม บุปผาเทวี พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ พระราชาองค์ก่อนแห่งประเทศกัมพูชา สิ้นพระชนม์แล้วในวันจันทร์ที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๒ ที่โรงพยาบาลในประเทศไทยโดยไม่มีการเปิดเผยสาเหตุ สิริพระชันษา ๗๖ ปี

ทั้งนี้ เจ้าหญิงนโรดม บุปผาเทวีประสูตเมื่อวันที่ ๘ มกราคม ๒๔๘๖ เป็นพระราชธิดาพระองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ กับนางพาต กาญล นางรำสามัญชน พระชายาพระองค์แรก และทรงเป็นพระเชษฐภคินีต่างพระมารดา ในพระบาทสมเด็จพระบรมนาถ นโรดม สีหมุนี พระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบันแห่งกัมพูชา

เจ้าหญิงนโรดม บุปผาเทวี เสด็จหนีออกจากกัมพูชาก่อนปี ๒๕๑๘ ที่กลุ่มเขมรแดงจะยึดอำนาจ และเสด็จกลับประเทศพร้อมกับพระราชบิดาในปี ๒๕๓๔ ซึ่งในช่วงนั้นคณะละครหลวงถูกเขมรแดงสังหารจนเหลือสมาชิกไม่ถึง ๑๐ % อย่างไรก็ตาม เจ้าหญิงนโรดม บุปผาเทวี ถือเป็นหนึ่งในผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการฟื้นฟูนาฏศิลป์โบราณของประเทศ รวมทั้งการการแสดงระบำอัปสรา ให้ฟื้นคืนกลับมาอีกครั้ง

เจ้าหญิงนโรดม บุปผาเทวีทรงมีพระปรีชาสามารถโดดเด่นในด้านนาฏศิลป์มาตั้งแต่ทรงพระเยาว์ โดยทรงศึกษานาฏศิลป์ตั้งแต่พระชนมายุ ๕ พรรษา ก่อนได้รับเลือกเป็นนางละครหลวงขณะมีพระชนมายุ ๑๖ พรรษา และได้เป็นตัวชูโรงของคณะ Prima ballerina เมื่อพระชนมายุ ๑๘ พรรษา จากนั้นพระองค์ก็นำคณะละครออกแสดงไปทั่วโลกจนเป็นที่จดจำ และได้รำต่อหน้าผู้นำต่างชาติหลายคน รวมทั้ง ชาร์ลส์ เดอ โกล แห่งฝรั่งเศส และประธานาธิบดีซูการ์โน แห่งอินโดนีเซียด้วย

เจ้าหญิงนโรดม บุปผาเทวี ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมแห่งกัมพูชาในช่วงปี ๒๕๔๒-๒๕๔๗ ทรงเสกสมรส ๕ ครั้งตั้งแต่พระชนมายุ ๑๕ พรรษา มีพระโอรสและพระธิดา ๕ พระองค์

อนึ่ง หลังข่าวการสิ้นพระชนม์ของเจ้าหญิงนโรดม บุปผาเทวี ได้รับการเปิดเผยออกมา สมเด็จฯ ฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชาก็ส่งจดหมายแสดงความเสียใจอย่างที่สุดถึงพระมหาวีรกษัตรีย์นโรดม มุนีนาถ สีหนุ พระวรราชมารดา พระอัครมเหสีในพระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ โดยระบุว่า การจากไปของเจ้าหญิงนโรดม บุปผาเทวีนับเป็นการสูญเสียหนึ่งในผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปะและประเพณีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของกัมพูชา

https://www.thairath.co.th/news/foreign/1707180


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 389  เมื่อ 19 พ.ย. 19, 16:26

นับเป็นความสูญเสียครั้งใหญ่ของศิลปวัฒนธรรมกัมพูชา


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 24 25 [26]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.099 วินาที กับ 20 คำสั่ง