เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 21 22 [23] 24 25 26
  พิมพ์  
อ่าน: 167585 ละครในราชสำนักสยามไปสู่ราชสำนักเขมร
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 330  เมื่อ 11 เม.ย. 11, 16:37

^
แหะ แหะ ไม่ต้องรีเอ๊กแซมหรอกครับ เอาคะแนนเฉลี่ยมาใช้ก็ยังได้ A อยู่
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 331  เมื่อ 11 เม.ย. 11, 17:22

กลับไปตามหาการแสดงแบบเก่าของเขมรอีกครั้ง   วางคุณต่าย อรทัยเขมรไว้ก่อน      ก็เลยเจอศิลปะไหลไปมาอีกครั้ง( ชอบคำนี้มาก)  
ล่าสุดคือเขมรกลองยาว
ทีแรกนึกว่าเรามีแต่พม่ากลองยาว  ซึ่งไหลมาไทย  ทีแรกกำลังจะเอะอะว่า พม่ากลองยาวไหลมาไทยแล้วไหลต่อไปเขมร
แต่เกรงคุณเพ็ญชมพูจะหาบทความใหม่ของคุณสุจิตต์มาลงว่า  ไทยรับกลองยาวมาจากเขมรต่างหาก  ยิงฟันยิ้ม
เลยไม่พูดอะไรดีกว่า

เขมรกลองยาวของเขา มีอะไรคล้ายๆ มาละโหวย มาละวา ของเราเหมือนกัน
สถานที่ที่หนุ่มสาวพวกนี้แสดงกันอยู่ คือเมืองเอเธนส์ ในรัฐโอไฮโอ   คงมีชุมชนเขมรอพยพซึ่งเด็กรุ่นลูกกลายเป็นคนอเมริกันกันไปหมดแล้ว

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 332  เมื่อ 11 เม.ย. 11, 18:02

นี่คือก่อนจะไหลไปเขมร     หรือมิใช่



และก่อนจะไหลมาไทย  ก็คือกลองยาวของรัฐฉาน

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 333  เมื่อ 11 เม.ย. 11, 23:00

ในดินแดนอุษาคเนย์แห่งนี้ นอกจากลาวแล้วก็มีเขมรนี่แหละที่มีอะไรต่อมิอะไรเหมือนกับไทยเรา

ลองอ่านบทความเรื่อง "วัฒนธรรมร่วมราก ระหว่างไทย-เขมร" หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับวันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๔

แล้วจะรู้ว่า ไทย-เขมร ใกล้ชิดกันขนาดไหน

รักกันไว้ดีกว่า  ยิงฟันยิ้ม

http://www.thairath.co.th/today/view/149663



หน้าวังเขมรินทร์ในกรุงพนมเปญ  บางวันมีขนมเปียกปูนขาย ถ้าเดินเข้าไปภายในวัดพระแก้ว ภาพจิตรกรรมฝาผนังลออตา แม้จะเก่าคร่ำคร่า แต่เมื่อคนไทยเห็นก็มักหลุดคำอุทานออกมาคล้าย ๆ กันว่า เป็นลายไทย เสียงนั้นถ้าชาวกัมพูชายืนอยู่ใกล้ ๆ ได้ยิน เขาจะเถียงทันทีว่า เป็นลวดลายเขมร

ครั้นเดินไปด้านทิศตะวันออกของวัดพระแก้ว วัดที่อยู่ในอาณาบริเวณเดียวกับวังเขมรินทร์ จะพบเครื่องดนตรีมากมายตั้งอยู่ บางวันมีนักดนตรีประโคมขับ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องดนตรี และทำนองเพลง คนไทยเห็นและฟังย่อมเปล่งเสียงออกมาเต็ม ๆ ว่า เป็นดนตรีไทย

ขณะที่ชาวกัมพูชาเถียงทันทีว่าเป็นของเขมรร้อยเปอร์เซ็นต์


ยิ่งถ้าเห็นตัวเลขที่กำกับไว้ตามอาคารบ้านเรือน หรือป้ายโฆษณาต่าง ๆ ด้วยแล้ว คนไทยเห็นจะพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า ตัวเลขไทย แต่ชาวกัมพูชาจะเถียงเสียงแข็งทันทีว่า เป็นตัวเลขของกัมพูชา คนไทยต่างหากที่นำตัวเลขของเขมรมาใช้ ชาวเขมรผู้รู้บางคน อาจอ้างถึงตัวเลขในศิลาจารึกประกอบด้วย

คำอธิบายในเรื่องนี้คืออะไร ตัวเลขนั้น รากเหง้ามาจากตัวอักษรปัลวะเหมือนกัน คำว่าอักษรปัลวะที่เราเรียกกัน หมายถึงตัวอักษรสมัยราชวงศ์ปัลวะ ที่อยู่ในอินเดียทางตอนใต้ เราต่างรับมาด้วยกัน แล้วค่อยมาพัฒนาใช้

แต่ไทยเราพิเศษกว่าเขมรเล็กน้อย ตรงที่เราไม่ได้รับจากปัลวะโดยตรง แต่เป็นการรับผ่านเขมรและมอญ แล้วพัฒนาเป็นตัวอักษรไทยอย่างที่เห็นในปัจจุบัน

สำหรับเครื่องดนตรี เป็นเรื่องยากที่จะบอกว่าเขมรหรือไทยคิดได้ก่อน เพราะเป็นวัฒนธรรมร่วมกันมาตั้งแต่บรรพกาล เพียงแต่ว่า บันทึกที่เป็นลายลักษณ์อักษรเราไม่มียืนยัน แต่ของกัมพูชามีปรากฏในภาพจำหลักผนังปราสาท

"รากฐานทางด้านสังคมและวัฒนธรรมต่างก็มีที่มาที่ไป ไม่มีสังคมไหนที่บริสุทธิ์ร้อยเปอร์เซ็นต์ ล้วนแล้วแต่มีจุดร่วมและจุดต่างของตัวเอง" อาจารย์กังวล อธิบาย

ผศ.ดร.กังวล คัชชิมา อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ชี้ชวนให้เห็นอีกว่า "สังเกตไหมว่าคนไทยเราจะมีความรู้สึกกับกัมพูชาแตกต่างไปจากประเทศเพื่อนบ้านอื่น ๆ เดี๋ยวรักกัน เดี๋ยวโกรธกัน เดี๋ยวดีกัน เดี๋ยวงอนกัน ถ้าพูดในแง่ของคนทั่วไป ถือว่าเป็นความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้งมากกว่าความเป็นเพื่อนธรรมดา"


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 334  เมื่อ 11 เม.ย. 11, 23:06

ไทยกับกัมพูชา "มีความสัมพันธ์ที่ยาวนานมาก มีประวัติศาสตร์ร่วมกัน มีภาษา วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีที่เกี่ยวข้องกันมากมาย พูดได้ว่ามากกว่าประเทศเพื่อนบ้านอื่น ๆ"

ถ้าพูดถึงในแง่ประวัติศาสตร์ การศึกสงคราม "เราก็จะพบว่ามีการสู้รบกันมาตลอด มีการกวาดต้อนผู้คนเป็นจำนวนมากจากกัมพูชามาไว้ที่อยุธยาและบริเวณต่าง ๆ ในภาคกลางหลายครั้งหลายครา ซึ่งคนกัมพูชาเหล่านั้น ก็หล่อหลอมกลายเป็นคนไทยในปัจจุบันนี้ด้วย"

เราจะเชื่อได้ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ได้อย่างไรว่า เราเป็นคนไทยบริสุทธิ์ บางคนหน้าตาดำคล้ำ ยังมีญาติสายแม่มาจากเมืองจีน ในประเทศไทยเชื่อว่ามีไม่น้อยที่มีบรรพบุรุษเป็นชาวเขมร และถ้ามองในมุมกลับกัน เขมรเองก็คงไม่น้อย ที่มีบรรพบุรุษเป็นคนไทย

ประเด็นที่กล่าวมานี้ ไม่ได้นับชาวไทยที่เกาะกง

พูดถึงในด้านวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี ไทยกับกัมพูชาก็มีคล้าย ๆ กัน เพราะต่างรับอารยธรรมจากอินเดียมาเหมือนกัน วันสำคัญ ๆ ทางศาสนา เช่น วันมาฆบูชา วิสาขบูชา อาสาฬหบูชา วันเข้าพรรษา ออกพรรษา วันโกน วันพระ การทำบุญตักบาตร ก็ล้วนแล้วแต่เหมือนกัน

วันสำคัญอื่น ๆ เช่น วันปีใหม่ ทั้งไทยและกัมพูชาที่ถือกันมานาน ได้แก่ วันสงกรานต์ ก็เป็นวันเดียวกัน วันทำบุญอุทิศส่วนกุศลแด่บรรพบุรุษที่ชาวกัมพูชาถือว่ามีความสำคัญคือ "วันผชุมบิณฑ์" ก็คือวันสารทใหญ่ของไทยภาคกลาง ประเพณีตานก๋วยสลากของไทยภาคเหนือ และประเพณีชิงเปรตของไทยภาคใต้นั่นเอง

ขนบธรรมเนียม การไหว้ การกราบ การเคารพผู้ใหญ่ และราชประเพณีต่าง ๆ ก็เป็นเช่นเดียวกัน

"ที่ชัดเจนเห็นเป็นรูปธรรมที่สุดก็คือ ภาษา ทั้งไทยและกัมพูชานอกจากจะยืมภาษาบาลีสันสกฤตมาใช้เป็นจำนวนมากเช่นเดียวกันแล้ว ยังมีการหยิบยืมภาษาของกันและกันไปใช้เป็นจำนวนมาก โดย เฉพาะอย่างยิ่งคนไทยเรายืมภาษาเขมรมาใช้นานจนรู้สึกคุ้นชินแล้วว่าไม่ใช่ภาษาอื่น เช่น เดิน เหิน จมูก"

ในขณะเดียวกัน เราก็พบว่าในภาษาเขมรเองก็มีการหยิบยืมภาษาไทยไปใช้ด้วยเช่นกัน เช่น ผ้าห่ม และจำนวนนับตั้งแต่ ๓๐ ขึ้นไปจนถึง ๑๐๐ เป็นต้น

คนไทยมักจะบอกเสมอว่า คำภาษาเขมรเป็นคำสูง เพราะเรายืมคำเขมรธรรมดามาใช้เป็นคำราชาศัพท์ เช่น ดำเนิน เขนย บรรทม ขนง บัญชา สรวล เป็นต้น

แท้จริงแล้ว ไทยเราไม่ได้รับภาษาจากเขมรมาใช้เป็นคำราชาศัพท์แต่ฝ่ายเดียว ผศ.ดร.กังวลบอกว่า ถ้าเราลองไปเหลือบดูคำราชาศัพท์ในภาษาเขมร ก็จะพบว่า มีการนำคำสามัญของไทยไปใช้เป็นคำราชาศัพท์เขมรด้วยเช่นกัน

ตัวอย่างเช่น "เวลาพระเจ้าแผ่นดินเสด็จพระราชดำเนินไป คำราชาศัพท์เขมรจะใช้ว่า ยาง (เขมรออกเสียงว่า เยียง) ก็คือคำว่า ย่าง ที่มีความหมายว่า เดิน ในภาษาไทยเก่าก่อนนั่นเอง"

และยังมีคำราชาศัพท์เขมรอื่น ๆ ที่เป็นคำจากภาษาไทย

"เช่น ขึมขาด่ (เขมรออกเสียงว่า เขิม-ขัด) หมายถึงเข็มขัดที่ทำจากเงินหรือทอง คำว่า จุดหฺมาย (เขมรออกเสียงว่า จด-มาย) หมายถึง พระราชสาส์นที่ส่งไปยังเจ้าผู้ครองแผ่นดินเช่นเดียวกัน เตีน (เขมรออกเสียงว่า เติน) หมายถึง ตื่นบรรทม ทีนำง, ทีนัง (เขมรออกเสียงว่า ตี-เนียง) หมายถึง พระที่นั่ง อาเจียน (ออกเสียงว่า อา-เจียน) หมายถึง อาเจียน เป็นต้น"

คำราชาศัพท์ของเขมรที่ยกมา ถ้ามองมาในภาษาไทย จะเห็นว่าคำ เข็มขัด จดหมาย ตื่น ที่นั่ง อาเจียน ล้วนแล้วแต่เป็นคำสามัญ ที่คนไทยยุคกินไข่ชั่งกิโลขายยังใช้กันอยู่ แต่เขมรนำเอาไปใช้เป็นคำราชาศัพท์

ถ้ามองมุมกลับก็จะเห็นว่า  ขณะที่ไทยรับเอาคำเขมรมาเป็นราชาศัพท์ เขมรเองก็รับเอาคำไทยไปใช้เป็นคำราชาศัพท์เช่นกัน  ทั้งนี้เกิดมาจากการเลื่อนไหลทางวัฒนธรรม  อันเกิดจากการไปมาหาสู่กันมาแสนนาน

ครั้นจะระบุว่า เราสองมีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมมาแต่ปางใดนั้น คงเป็นเรื่องยากยิ่ง  สำหรับวัฒนธรรมเขมรที่ไทยรับเข้ามา  ที่พอจะเห็นเป็นหลักฐานสำคัญคือ  สมัยพระเจ้าสามพระยาแห่งกรุงศรีอยุธยา  ที่ไปตีเมืองพระนคร

ผลจากสงครามครั้งนี้ นายคอลริช เวลส์ นักประวัติศาสตร์ที่เขียนเรื่องการเมืองไทยในสมัยโบราณระบุว่า "เมื่อไทยสามารถตีนครธมได้ในปี พ.ศ. ๑๙๗๔   ก็ได้กวาดต้อนบรรดาพราหมณ์และขุนนางจำนวนมากเข้ามายังอยุธยา จึงมีผลทำให้ความคิดเกี่ยวกับการปกครองของเขมร  เข้ามามีอิทธิพลมากขึ้น..."

อิทธิพลที่นายคอลริชพูดถึง อาจส่งผลมาถึงรัตนโกสินทร์ตอนต้นด้วย เห็นได้จากคำพูดว่า "อ่าน เขียน เรียนขอม" คนไทยสมัยก่อน กลุ่มปัญญาชนต้องเรียนรู้ภาษาขอมด้วย แต่ปัจจุบันเหลือผู้เรียนที่เด่นชัดอยู่กลุ่มเดียวคือ "คนสักยันต์"

รากร่วมเหล่านี้ ช่วยหล่อเลี้ยงให้ชาติไทยและชาติกัมพูชาเป็นต้นไม้ที่เติบโต แข็งแรง แผ่กิ่งก้านสาขาให้ร่มเงา ผลิดอกออกผลหล่อเลี้ยงประชาชนทั้งไทยและกัมพูชา ได้อยู่ร่มเย็นเป็นสุข

การทะเลาะกัน หรือขัดแย้งกัน ย่อมมีเป็นธรรมดาของโลก แต่หากจะรุนแรงต่อกัน อย่าลืมหันกลับไปดูรากเหง้าของตัวเองด้วย

เราทั้งสอง ไทย-เขมร หาใช่คนอื่นไกลกันไม่.

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 335  เมื่อ 12 เม.ย. 11, 09:05

น้าหงา คาราวาน ศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์ เขียนในเพลงสุรชัย ๓ ช่า ไว้น่าคิด

เพื่อนฉันขะแมร์                รักจริงไม่แพ้ลาวญวน
น้ำคำคร่ำครวญ                 ชอบชักชวนร้องรำทำเพลง
ทำนาประสาบ้านนอก          ใส่เสื้อดอกตะกรุดของขลัง
สู้การสู้งานจริงจัง              ไม่หักหลังคดโกงผู้ใด

ไทย เขมร ลาว ญวน           ชักชวนคบหากันไป
แหลมอินโดจีนและไทย        ใช่อื่นไกลเชื้อสายสัมพันธ์

น้ำโขงไม่เคยคิดแบ่ง           เป็นกำแพงชนชาติชนชั้น
น้ำโขงเมื่อเป็นน้ำจัณฑ์         มาลัยสัมพันธ์จะคล้องคอเธอ



ไทย เขมร ลาว ญวน       ชักชวนคบหากันไป
แหลมอินโดจีนและไทย   ใช่อื่นไกลเชื้อสายสัมพันธ์


 ยิงฟันยิ้ม  
บันทึกการเข้า
reporter
อสุรผัด
*
ตอบ: 10


ความคิดเห็นที่ 336  เมื่อ 12 เม.ย. 11, 09:33

ผมมี paper มาให้อ่านครับ

Post/colonial Discourses on the Cambodian Court Dance
Southeast Asian Studies, Vol. 42, No. 4, March 2005

http://www.cseas.kyoto-u.ac.jp/seas/42/4/420403.pdf
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 337  เมื่อ 12 เม.ย. 11, 10:22

โหลดมาอ่านค่ะ   มีตอนหนึ่งบอกว่า
Toni Shapiro  คือคนเดียวกับคุณเจิมหรือคุณเฉิ่มของท่าน NAVARAT หรือเปล่านะ?

The other dissertation was written by Toni Shapiro, who interviewed many dancers and
teachers of the dance through participatory observation, and wrote an ethnography of good
quality. In her dissertation, Shapiro described how well a teacher had been aware of the
Siamese influence upon the court dance [Shapiro 1994: 105], but she did not discuss the reason
why such an awareness had not been revealed in public, and her other articles mentioned
nothing about the cultural influence from Siam
[Shapiro 1995; 1999].

รู้ก็รู้ แต่ก็ไม่รับทฤษฎีศิลปะไหลมา    ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
reporter
อสุรผัด
*
ตอบ: 10


ความคิดเห็นที่ 338  เมื่อ 12 เม.ย. 11, 10:29

คนที่ช่วยฝรั่งเศสบิดเบือนประวัติศาสตร์คือ Thiounn ซึ่งเป็น Minister of Royal Palace ในช่วงนั้นครับ

คนนี้เป็นตัวสำคัญที่เริ่มทำให้ประวัติศาสตร์บิดเบือน เพราะเขียนหนังสือออกมาเยอะ และเป็นถึงรัฐมนตรี

ส่วนเจ้าหญิงบุปผาเทวีมารับไม้ต่อช่วงหลัง ไปเอาเครื่องแต่งกายบาหลีมาปนกับรำไทยออกมาเป็นระบำพระราชาเฉยเลย  ยิงฟันยิ้ม

ในบทความนี้เขาเรียกเสียเจ็บแสบว่า "The Invention of Tradition"
 ยิ้มกว้างๆ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 339  เมื่อ 12 เม.ย. 11, 10:47

ถ้า อ.เทาชมพู อยากฟังเพลงไทย เทียบกับเขมรก็ทำได้โดยเพลงเขมรจะลดเสียงไป 1 ขั้น เช่น ไทยตีเพลงจังหวะซอล ส่วนเขมรก็จะตีจังหวะฟา (ทำนองเพลงเดียวกัน)และเพลงสำเนียงเขมรจะต้องมีเครื่องโทนและปี่กำกับด้วย

ครูดนตรีไทย ได้แต่งเพลงสำเนียงเขมรก็ได้ลดเสียงไป 1 เสียง เนื่องจากปี่เสียงสูงอยู่แล้ว ลดเพื่อจะได้เข้ากับเสียงปี่ครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 340  เมื่อ 12 เม.ย. 11, 11:48

คนที่ช่วยฝรั่งเศสบิดเบือนประวัติศาสตร์คือ Thiounn ซึ่งเป็น Minister of Royal Palace ในช่วงนั้นครับ

คนนี้เป็นตัวสำคัญที่เริ่มทำให้ประวัติศาสตร์บิดเบือน เพราะเขียนหนังสือออกมาเยอะ และเป็นถึงรัฐมนตรี

ส่วนเจ้าหญิงบุปผาเทวีมารับไม้ต่อช่วงหลัง ไปเอาเครื่องแต่งกายบาหลีมาปนกับรำไทยออกมาเป็นระบำพระราชาเฉยเลย  ยิงฟันยิ้ม

ในบทความนี้เขาเรียกเสียเจ็บแสบว่า "The Invention of Tradition"
 ยิ้มกว้างๆ


ไปตามหาประวัติของ  Thiounn  (ออกเสียงไม่ถูก) เจอที่นี่

http://www.topix.com/forum/world/cambodia/TD4HTPDS7RF6IJGGT

คนเขียนประวัติเขา ชื่อคล้ายๆคุณ reporter  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 341  เมื่อ 12 เม.ย. 11, 11:50

น้าหงา คาราวาน ศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์ เขียนในเพลงสุรชัย ๓ ช่า ไว้น่าคิด


น้ำโขงไม่เคยคิดแบ่ง           เป็นกำแพงชนชาติชนชั้น
น้ำโขงเมื่อเป็นน้ำจัณฑ์         มาลัยสัมพันธ์จะคล้องคอเธอ


ถ้าสัมพันธ์กันด้วยน้ำจัณฑ์  ไม่น่าจะแนบแน่นได้นานนะคะ ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 342  เมื่อ 12 เม.ย. 11, 12:51

อ้างถึง
โหลดมาอ่านค่ะ   มีตอนหนึ่งบอกว่า
Toni Shapiro  คือคนเดียวกับคุณเจิมหรือคุณเฉิ่มของท่าน NAVARAT หรือเปล่านะ?


คุณเจิมหรือคุณเฉิ่ม แต่งงานกับJohn Shapiro มีลูกด้วยกันสองคน
ในหนังสือไม่ได้ระบุชื่อ แต่ดูรูปในเน๊ตแล้ว เดาได้ไม่ยาก เป็นคุณลูกที่ว่าแน่นอน


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 343  เมื่อ 12 เม.ย. 11, 12:54

อ้างถึง
Thiounn  (ออกเสียงไม่ถูก)

เอาเป็น"ท่วน"ก็แล้วกันครับ

จะสะกดว่า"ถ้วน" เดี๋ยวคนจะเข้าใจว่าเป็นญาติกับคุณชวน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 344  เมื่อ 12 เม.ย. 11, 13:44

อ้างถึง
Thiounn  (ออกเสียงไม่ถูก)

เอาเป็น"ท่วน"ก็แล้วกันครับ
จะสะกดว่า"ถ้วน" เดี๋ยวคนจะเข้าใจว่าเป็นญาติกับคุณชวน

ตกลงเรียกคุณท่วน ตามนี้ค่ะ  ยิงฟันยิ้ม

อ่านประวัติคุณท่วนจากคุณ Leeporter  แล้วนึกถึงคุณหลวงวิจิตรวาทการ     ต่างกันว่าคุณหลวงท่านเน้นประวัติศาสตร์ไทยในแนวชาตินิยม ตามนโยบายท่านผู้นำของรัฐในยุคนั้น      ส่วนคุณท่วนคงต้องโอนอ่อนผ่อนถามลูกพี่ฝรั่งเศสว่าชอบอะไรแบบไหน
ทำให้นึกถึงเรื่องหม่อมหรือเจ้าจอมแพน ที่ต้องถูกกำจัดออกจากราชสำนักเขมร     เพียงเพราะหนังสือพิมพ์ฝรั่งในสยามเข้าไปจุ้นจ้านเรียกเธอว่า king's wife   ทั้งๆความหมายจริงๆก็คือเธอเป็นหนึ่งในฝ่ายใน(ซึ่งมีอยู่มากมายหลายคน) เท่านั้น 
ฝรั่งเศสคงจะเกรงอิทธิพลของสยามในเขมรละกระมัง   เพราะสมัยนั้นถึงไม่มีน้ำจัณฑ์  สยามกับกัมพูชาก็แนบแน่นกันอยู่แล้ว

แค่คิดค่ะ ยังไม่ได้ฟันธงลงไป
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 21 22 [23] 24 25 26
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.34 วินาที กับ 20 คำสั่ง