เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 20 21 [22] 23 24 ... 26
  พิมพ์  
อ่าน: 168092 ละครในราชสำนักสยามไปสู่ราชสำนักเขมร
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 315  เมื่อ 11 เม.ย. 11, 11:53

วงปี่พาทย์ในชุมชนเขมรข้างวัด


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 316  เมื่อ 11 เม.ย. 11, 11:55

วงปี่พาทย์เขมรในหัวเมือง


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 317  เมื่อ 11 เม.ย. 11, 11:55

นักดนตรีไทยถูกครอบงำว่าดนตรีไทยไพเราะที่สุด มากกว่าดนตรีเพื่อนบ้าน เลยยกตนข่มท่านเสมอมาจนทุกวันนี้ ทั้ง ๆไม่จริง

หนังสือเครื่องดนตรีกัมพูชาโบราณ (โดยนักวิชาการดนตรีชาวกัมพูชาจากมหาวิทยาลัยภูมินทรวิจิตรศิลปะ กัมพูชา) ที่สำนักพิมพ์วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล แปลเป็นไทยจากภาษาเขมร แล้วพิมพ์เป็นเล่ม ขายเล่มละ ๒๒๐ บาท ตั้งแต่กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๓ ผมเขียนคำนำเสนอว่า

ดนตรีกัมพูชาและดนตรีไทย มีรากเหง้าเก่าแก่ร่วมกันราว ๕,๐๐๐ ปีมาแล้ว มีระบบเสียงไม่เท่ากันมาแต่ดั้งเดิมเหมือนกัน เป็น ‘วัฒนธรรมร่วม’ ของดนตรีสุวรรณภูมิบนผืนแผ่นดินใหญ่อุษาคเนย์ มีความเป็นมายาวนานร่วมกันอย่างแยกไม่ได้

เช่นเดียวกับดินแดนและผู้คนในกัมพูชาและไทย มีพัฒนาการเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับดินแดนและผู้คนสุวรรณภูมิ


นางนาคเป็นสัญลักษณ์บรรพชนร่วมกันทั้งของตระกูลมอญ-เขมร และไทย-ลาว มีคำบอกเล่ากับมีพิธีกรรมเกี่ยวกับนางนาคเหมือนกันหมดดูได้จากเพลงนางนาค

ร้องนางนาค พรรณนาความงามของนางนาคที่แต่งตัวปักปิ่นทัดดอกไม้ ประดับดอกจำปาสองหู และที่สำคัญคือห้อยสไบสองบ่าสง่างามตามนิทานและตามประเพณีแต่งงานที่เจ้าบ่าวจะต้องเกาะชายสไบเจ้าสาวเข้าหอ (แสดงว่าผู้หญิงมีฐานะสูงกว่าผู้ชาย) มีเนื้อร้องอยู่ในบทมโหรีโบราณครั้งกรุงเก่า

เพลงนางนาคเป็นสัญลักษณ์บรรพชนร่วมกันของกัมพูชาและไทย เท่ากับเป็นพยานยืนยันว่าดนตรีกัมพูชาและไทย มีรากเหง้าเก่าแก่ร่วมกัน ตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์ ตราบจนทุกวันนี้ จะต่างกันบ้างก็ในรายละเอียดปลีกย่อย เช่น เรียกชื่อเครื่องดนตรีและเพลงบางอย่างไม่เหมือนกัน เพราะอยู่ในตระกูลภาษาต่างกัน ราวหลัง พ.ศ. ๑๘๐๐ กาฬโรคระบาดรัฐชายทะเล คนชั้นนำตระกูลมอญ-เขมรล้มตายมาก ทำให้ตระกูลไทย-ลาวเติบโตมีอำนาจแทน แล้วสถาปนากรุงศรีอยุธยาขึ้นเป็นศูนย์กลาง

ยกภาษาเขมรเป็นราชาศัพท์ แล้วปรับอักษรเขมร (ขอม)เป็นอักษรไทย เลขเขมรก็เป็นเลขไทย ประชากรที่เคยเป็นขอมหรือเขมรก็กลายเป็นคนไทย อยู่ในอำนาจรัฐไทยที่มีขึ้นมาใหม่

ขณะเดียวกันก็สืบทอดศิลปวิทยาจากเขมรเมืองพระนคร (นครวัด) กับเมืองนครหลวง (นครธม) รวมทั้งสืบทอดศิลปวัฒนธรรมอื่น ๆ เช่น พระที่นั่ง, พระเมรุมาศ, ถือน้ำพิพัฒน์สัตยา, การปกครอง, ฯลฯ

จนถึงดนตรีและ“เพลงการ” แล้วรับคำเขมรมาใช้งานว่า เพลง, ตระ ฯลฯ

ครั้นต่อมาราวหลัง พ.ศ. ๒๔๐๐ กัมพูชารับเทคโนโลยีก้าวหน้าบางอย่างและวัฒนธรรมร่วมสมัยจากไทย เช่น เพลงดนตรี“เถา” ที่สร้างใหม่สมัยกรุงรัตนโกสินทร์

จากบทความเรื่อง "ดนตรีเขมร—ดนตรีไทย มีรากเหง้าเก่าแก่ร่วมกัน"
สุจิตต์ วงษ์เทศ มติชนรายวัน ฉบับประจำวันอังคารที่  ๑๕ กุมภาพันธ์  พ.ศ. ๒๕๕๔


 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 318  เมื่อ 11 เม.ย. 11, 11:57

ไทยก็ไหลไปเขมร
พระราชวังเขมรินทร์ วัดพระแก้ว แห่งพนมเปญ



บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 319  เมื่อ 11 เม.ย. 11, 12:28

ไทย - เขมร คู่รักคู่แค้นแห่งสุวรรณภูมื

บุคคลนี้เป็นสยาม หรือ เขมร ดีหนอ  ฮืม


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 320  เมื่อ 11 เม.ย. 11, 12:35

เห็นเครื่องดนตรีเขมรที่คุณ siamese ไปหามาให้   อยากได้ยินเสียง ก็เลยไปหาจากยูทูปมาให้ฟังกัน

อ้างถึง
นักดนตรีไทยถูกครอบงำว่าดนตรีไทยไพเราะที่สุด มากกว่าดนตรีเพื่อนบ้าน เลยยกตนข่มท่านเสมอมาจนทุกวันนี้ ทั้ง ๆไม่จริง
ไม่ทราบว่าคุณสุจิตต์เอาอะไรมาพิสูจน์ว่าใครเพราะกว่าใคร

บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 321  เมื่อ 11 เม.ย. 11, 13:33

เห็นเครื่องดนตรีเขมรที่คุณ siamese ไปหามาให้   อยากได้ยินเสียง ก็เลยไปหาจากยูทูปมาให้ฟังกัน

อ้างถึง
นักดนตรีไทยถูกครอบงำว่าดนตรีไทยไพเราะที่สุด มากกว่าดนตรีเพื่อนบ้าน เลยยกตนข่มท่านเสมอมาจนทุกวันนี้ ทั้ง ๆไม่จริง
ไม่ทราบว่าคุณสุจิตต์เอาอะไรมาพิสูจน์ว่าใครเพราะกว่าใคร

เครื่องดนตรีไทย - เครื่องดนตรีเขมร เหมือนกันเกือบทุกอย่าง อยู่ที่ว่าลีลา เทคนิคและทักษะของคนที่ตีครับ เพลงไทยหลายเพลงก็ได้ท่วงทำนองสำเนียงเขมร สำเนียงลาว มาประยุกต์ให้ระรื่นหูสำเนียงไทย อันว่าเครื่องดนตรีไทย ทุกชิ้นมีความเรียบง่ายแต่การเล่นให้เพราะนั้นยาก

ตะโพน ตุ๊บ-ติ้ง-ติ ตีค่อยตีเบา ตีแผ่ว ตีหนัง ตีทั้งฝ่ามือ น้ำเสียงออกมาได้ต่างกัน

ผืนระนาดเอก ไม้เหลาเกลาแต่ละลูก ขึ้นกับการตีแต่ละลูก ตีกรอ ตีไว

แต่บรรดาครูเพลงไทยได้คิดประดิษฐ์ ท่วงทำนอง จังหวะให้เข้ากับชาวไทยแล้ว ผมว่าเพราะกว่าดนตรีทั้งปวงครับ


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 322  เมื่อ 11 เม.ย. 11, 14:16

อ้างถึง
นักดนตรีไทยถูกครอบงำว่าดนตรีไทยไพเราะที่สุด มากกว่าดนตรีเพื่อนบ้าน เลยยกตนข่มท่านเสมอมาจนทุกวันนี้ ทั้ง ๆไม่จริง
ไม่ทราบว่าคุณสุจิตต์เอาอะไรมาพิสูจน์ว่าใครเพราะกว่าใคร

คงเป็นไปอย่างที่คุณติบอและคุณเทาชมพูเคยถกกันไว้

ผมขออนุญาตถือวิสาสะยกข้อความบางส่วนจากลายพระหัตถ์ส่วนพระองค์ที่กรมพระยานริศทรงมีไปถึงหม่อมเจ้าหญิงพิลัยเลขา ลงวันที่ 18 เมษายน 2479 ขึ้นมาสนับสนุนคำพูดของอาจารย์เทาชมพูว่า

"...เธอตัดสินฝีมือช่างพะม่ากับช่างไทยว่าไทยดีกว่านั้น เปนการตัดสินอย่างไม่เข้าใครออกใครอยู่หน่อย... ...แท้จริงจะเอาช่างต่องช่างเข้าเทียบฝีมือกันนั้นไม่ได้ ช่างไทยดีที่สุดก็มี เลวที่สุดก็มี พะม่าก็เช่นเดียวกัน แล้วจะจับคู่เข้าแข่งขันกันฉันใดเล่า..."

ย้อนกลับมาเรื่องสมเด็จกรมพระยานริศฯ   ไหนๆคุณก็ถือหลักว่า จะเสพความยอดเยี่ยมในพระอัจฉริยภาพของท่าน
ก็ควรเจริญรอยตามหลักการของสมเด็จฯ  ที่ว่าศิลปะไทยกับพม่า ไม่ควรเอามาเปรียบว่าใครดีกว่ากัน

จริงที่ว่าดนตรีไทยกับเขมร ไม่ควรเอามาเปรียบว่าใครดีกว่ากัน

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 323  เมื่อ 11 เม.ย. 11, 14:54

แต่กระนั้น ก็น่าจะได้กล่าวถึง นักดนตรีเอกของไทย - ครูดนตรีไทยในราชสำนักเขมร - หลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง)

ย้อนกลับไปครั้งที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางรำไพพรรณี พระบรมราชินี เสด็จฯประพาสอินโดจีน (ประเทศเวียดนามและประเทศกัมพูชาในปัจจุบัน) ในปี พ.ศ. ๒๔๗๓

การดนตรีและนาฏศิลป์เสมือนเชี่ยนหมากทำที่รับรองแขกบ้าน ต่างเมือง ให้ซาบซึ้งถึงมิตรไมตรีที่หยิบยื่นให้ พร้อมชื่นชมความวิวัฒน์ในเชิงศิลปะที่ยึดถือเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ กล่าวง่าย ๆ นัยหนึ่งเพื่อผูกสัมพันธ์ หรืออีกนัยหนึ่งก็เพื่อการอวดโอ่อยู่กลาย ๆ

ครั้งนั้นพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเล็งเห็นว่า ควรจะนำนักดนตรีไทยในราชสำนักร่วมขบวนเสด็จฯด้วย พระองค์จึงมีพระราชโทรเลขแจ้งมายังราชสำนักให้ส่งยอดฝีมือจำนวนหนึ่งตามไปสมทบ

ขณะนั้นหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง)ได้รับราชการสนองพระเดชพระคุณเป็นผู้ควบคุมวงมโหรีหลวง มีฝีมือเป็นที่ประจักษ์ ทั้งยังได้สนองพระเดชพระคุณถวายการสอนดนตรี และการประพันธ์เพลงไทยแก่พระองค์ท่าน และสมเด็จพระราชินี จึงมิอาจหลบลี้หนีเลี่ยงภาระอันเป็นเกียรติเช่นนี้ โดยในการเดินทางครั้งนั้นหลวงประดิษฐไพเราะ หมายใจให้บุตรชายคนโต (ประสิทธิ์ ศิลปบรรเลง อายุ ๑๘ ปี) ร่วมเดินทางไปปรนนิบัติและเป็นล่ามส่วนตัวให้ด้วย

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ มีพระราชกระแสถึงหลวงประดิษฐไพเราะฯให้ตามไปสมทบกับขบวนเสด็จฯ ที่นครวัดให้ทันเวลาเย็นวันพรุ่งนี้ เพราะมีพระราชประสงค์ให้แสดงฝีมืออวดขุนนางชาวเขมร และฝรั่งเศสชม ในงานเลี้ยงที่ทางการเขมรจะจัดถวาย

เมืองเสียมเรียบ สารถีชาวฝรั่งเศสเทียบพาหนะบริเวณสระน้ำใหญ่หน้าปรัมพิธีท่ามกลางความสับสนวุ่นวายของฝูงชนที่แห่แหนเฝ้ารอรับเสด็จฯก่อนเวลางานเพียง ๑ ชั่วโมง แต่กระนั้นก็เป็นช่วงเวลาที่ยาวนานเพียงพอที่จะทำให้จิตใจของนักระนาดเอกแห่งกรุงสยามสงบนิ่ง พร้อมรอช่วงเวลาที่จะมาถึง

ในที่สุด เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯถึงบริเวณงาน  พระองค์ทรงมีพระราชดำรัสสั่งให้หลวงประดิษฐไพเราะแสดงฝีมือการเดี่ยวระนาดเอกให้แขกที่มาในงานฟัง ทั้งยังกับชับให้แสดงอย่างสุดฝีมือ

จากเพลงแรก กระทั่งเพลงสุดท้าย เสียงระนาดเอกจากลุ่มเจ้าพระยา ดังกังวาล เสนาะสนั่น ลั่นเลื่อน ก้องกล่อมมหาเทวสถาน สะกดจิต สะกิดใจให้บุคคลนับร้อยพันทั้งหลาย ณ สถานที่นั้นตระหนกตกอยู่ในถวังค์ สมดังคำร่ำลือถึงฝีมือระนาดที่มิเกินความจริงเลย

เย็นวันรุ่งขึ้นหลังจาก พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯเสด็จฯกลับยังพนมเปญ พระเจ้าศรีสวัสดิ์ มณีวงศ์ กษัตริย์เขมร ได้จัดงานเลี้ยงรับรองถวาย โดยมีการแสดงนาฏศิลป์และดนตรีซึ่งล้วนวิจิตรงดงามตามแบบราชสำนักเขมร ซึ่งได้สร้างรอยประทับใจให้นักดนตรีเอกจากสยามประเทศอยู่มิใช่น้อย

ในช่วงเวลาสั้น ๆ ที่เสด็จประทับอยู่ ณ พระบรมมหาราชวัง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงมีพระราชกระแสให้หลวงประดิษฐไพเราะแสดงการเดี่ยวระนาดเอกถวายสมเด็จพระเจ้ามณีวงศ์เป็นการส่วนพระองค์อีกหลายวาระ เพื่อเป็นการตอบแทนพระราชไมตรี ซึ่งสมเด็จพระเจ้ามณีวงศ์ ทรงพอพระราชหฤทัยเป็นอย่างยิ่ง จึงได้กราบบังคมทูลพระกรุณาขอพระราชทานตัวหลวงประดิษฐไพเราะไว้สอนนักดนตรีในราชสำนักเขมร

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ทรงมีพระราชดำรัสตอบว่า “ถ้าพระองค์ต้องประสงค์ที่จะได้ตัวหลวงประดิษฐไพเราะไว้ที่นี่เพื่อสอนดนตรี ก็มีความยินดีที่จะให้ยืมตัวไว้สักหนึ่งเดือน”

ด้วยเหตุนี้ หลวงประดิษฐไพเราะและบุตรชาย จึงต้องพำนักอยู่ ณ ประเทศเขมรต่อไป เพื่อสนองพระราชประสงค์ ด้วยสำนึกในพระราชดำรัสที่ทรงรับสั่ง ว่า

“จงทำหน้าที่ให้ดีที่สุด แล้วรีบกลับมาเร็ว ๆ

หลวงประดิษฐไพเราะ ได้ย้ายไปพักกับกับฝ่ายดุริยางค์ในวังหลวง ซึ่งพระเจ้ามณีวงศ์ก็โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายมาพักอยู่ที่โรงแรมเล็ก ๆเ ลียบพระบรมมหาราชวัง และได้มอบหมายหน้าที่ให้ทำการฝึกซ้อมนักดนตรีหลวง และพวกครูดนตรีทุกวันตั้งแต่เช้าจรดบ่าย บางวันพระเจ้ามณีวงศ์ก็มีรับสั่งให้เข้าเฝ้าเพื่อพบปะสนทนากัน บางครั้งก็ทรงโปรดเกล้าฯ พระราชทานเลี้ยงอาหารกลางวัน นายกรัฐมนตรีก็เคยเป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารกลางวันหรืออาหารค่ำ โดยมีบุคคลสำคัญหรือพระราชวงศ์เขมรมาร่วมด้วย ซึ่งก็เป็นธรรมดาอยู่เองที่จะต้องได้รับคำขอร้องให้แสดงฝีมือการเดี่ยวระนาดเอกหรือเครื่องดนตรีอื่น อาทิ ปี่ใน ซอด้วง อยู่เป็นนิจ

ช่วงเวลา ๓๐ วันในราชสำนักเขมร  หลวงประดิษฐไพเราะได้ฝึกหัดนักดนตรี รวมทั้งถ่ายทอดเพลงไทยไว้จำนวนมาก ในขณะเดียวกันก็จดจำศึกษาแนวทางการแต่งเพลงของเขมร และจดจำเพลงเขมรไว้หลายเพลง โดยมีบุตรชายรับหน้าที่ในการบันทึกโน้ตให้ ซึ่งภายหลัง หลวงประดิษฐไพเราะได้นำเพลงเหล่านั้น มาเรียบเรียงขึ้นใหม่ตามระเบียบวิธีการบรรเลงแบบราชสำนักสยาม แล้วนำออกบรรเลงสืบทอดกันมาจวบปัจจุบัน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 324  เมื่อ 11 เม.ย. 11, 15:02

ขอใช้สิทธิ์ ที่ถูกพาดพิง ยิงฟันยิ้ม

โดยส่วนตัว   เห็นว่างานช่างหรืองานศิลปะ  มีทั้งดีน้อยและดีมาก   การเปรียบเทียบกันเป็นของธรรมดา  ไม่งั้นเราก็คัดเลือกงานที่ดีกว่าจากงานที่ด้อยกว่าไม่ได้   เป็นผลให้ไม่รู้ว่าอะไรคืองานชิ้นเอก    กลายเป็นว่าศิลปินเอกก็ย่อมไม่มี  มีแต่ศิลปินทุกคนเท่ากันหมด  งานช่างทุกชิ้นเท่ากันหมด  ซึ่งไม่เป็นความจริง
มีขอบเขตว่างานที่แตกต่างกันมาก เช่นเป็นคนละสกุลช่างกัน  ไม่ควรเอามาเปรียบกัน     เพราะที่มา ฝีมือ แรงบันดาลใจ ที่มาที่ไปของงานชิ้นนั้นแตกต่างกัน
งานที่เรายังศึกษาไม่ดีพอ ก็อย่าเพิ่งด่วนตัดสินใจเปรียบเทียบ
อีกอย่างหนึ่งคือเปรียบเทียบในเชิงเหยียดหยาม กดงานอีกชิ้นลงไปจนไม่เหลือค่า   ข้อนี้ก็ไม่สมควรเปรียบเทียบ

อ้างถึง
นักดนตรีไทยถูกครอบงำว่าดนตรีไทยไพเราะที่สุด มากกว่าดนตรีเพื่อนบ้าน เลยยกตนข่มท่านเสมอมาจนทุกวันนี้ ทั้ง ๆไม่จริง
ไม่ทราบว่าคุณสุจิตต์เอาอะไรมาพิสูจน์ว่าใครเพราะกว่าใคร

ส่วนที่คุณสุจิตต์เขียน   ดิฉันถามขึ้นมา เพราะสะดุดกับคำว่า "ไม่จริง"     คำอื่นๆเช่น ถูกครอบงำ  ยกตนข่มท่าน   ฟังเหมือนคุณสุจิตต์ลงความเห็นว่าดนตรีเขมรเพราะว่าดนตรีไทย  หรือดนตรีไทยไม่ได้เพราะกว่าเขมร ก็เลยอยากรู้เหตุผล ว่าพิสูจน์ได้ยังไงว่าของใครเพราะกว่าของใคร

อ้างถึง
แต่บรรดาครูเพลงไทยได้คิดประดิษฐ์ ท่วงทำนอง จังหวะให้เข้ากับชาวไทยแล้ว ผมว่าเพราะกว่าดนตรีทั้งปวงครับ

ความเห็นของคุณ siamese   ดิฉันรับได้    เพราะคุณ siamese ไม่ได้พูดในทำนองเหยียดหยามใคร  เป็นการออกความเห็นตามความรู้สึกของตน
คนที่รักดนตรีไทยก็มักจะเห็นอย่างนี้   เหมือนคนรักดนตรีคลาสสิคของฝรั่งก็คงเห็นดนตรีฝรั่งเพราะกว่าดนตรีทั้งปวงเหมือนกัน
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 325  เมื่อ 11 เม.ย. 11, 15:12

ก่อนจะตามเสด็จฯยังประเทศเขมรนั้น หลวงประดิษฐไพเราะได้แต่งเพลงสำเนียงเขมรไว้จำนวนหนึ่งแล้ว เช่น เขมรราชบุรี ที่แต่งร่วมกับพระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์) (พ.ศ. ๒๔๕๒), เขมรเลียบพระนคร เถา (พ.ศ. ๒๔๕๘),เ ขมรพวง เถา (พ.ศ. ๒๔๕๘-๖๐), เขมรปากท่อ เถา (พ.ศ. ๒๔๖๑), ขอมทอง เถา (พ.ศ. ๒๔๖๘), เขมรสุ่มไก่ (พ.ศ. ๒๔๗๒)

ส่วนเพลงเขมรแท้ ๆ ที่หลวงประดิษฐไพเราะได้จดจำนำมาเปลี่ยนร่างแปลงรูปให้เป็นอัตราจังหวะ ๒ ชั้น  เช่น อังโกเลี้ยต (อังกอร์เวียต..หรือ..อังกอร์วัด..?), เขมรนางนก, เขมรจำปาศักดิ์, ขอมเล็ก, เครอว ศรีโสภณ ซงซาร์มะ ก๊บ  ตันบ๊อกซะเรา ปลายซงซาร์   ที่นำมาทำเป็นเพลง ๓ ชั้น ก็มี แมร์กอฮอม,  ขะแมร์ซอ,  ขะแมร์ธม หรือที่เรียกว่าเพลงชุดสามขะแมร์ หรือแม้แต่กลายเป็นเพลงเถา ที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย เช่น เพลงนกเขาขะแมร์ เถา ที่หลวงประดิษฐไพเราะได้ปรับปรุงขึ้นจากเพลงเขมรแท้ ๆ (ทำนอง ๒ ชั้น)  ราว พ.ศ. ๒๔๗๓-๗๖ เมื่อครั้งเป็นหัวหน้าแผนกดุริยางค์ไทย กรมศิลปากร โดยต่อให้ อ.เจริญใจ สุนทรวาทิน ร้องเป็นคนแรก ที่สถานีวิทยุวังพญาไท

คงไม่ผิดนัก ถ้าจะกล่าวว่าเพลงเขมรแท้ ๆ ที่หลวงประดิษฐไพเราะได้ยินได้ฟัง รวมถึงการใช้ชีวิตอยู่กับนักดนตรีเขมร ในช่วงเวลา ๓๐ วัน น่าจะเป็นประสบการณ์อันทำให้เกิดทรัพยากรทางความคิด เป็นทรัพย์สินทางปัญญาที่นำกลับมาผลิออดออกผลในภายหลัง เกิดเป็นสำเนียงเขมรที่งดงามเป็นอมตะประดับวงการดนตรีไทยอยู่บ้างไม่มากก็น้อย ไม่ว่าจะเป็นเพลงขอมใหญ่ เถา (๒๔๗๔), เขมรไทรโยค เถา (๒๔๙๑) , เขมรภูมิประสาท เถา (พ.ศ. ๒๔๘๙-๙๓), ขอมกล่อมลูก ๒ ชั้น (ทางเปลี่ยน ๒๔๗๘) , สาลิกาเขมร เถา (๒๔๗๔) เป็นอาทิ

สำเนียงเพลงเขมรที่หลวงประดิษฐไพเราะได้นำติดตัวกลับมา ได้ทำหน้าที่มอบความสุขรับใช้ผู้คนชนสยามหลากหลายชั้นวรรณะ ทั้งไพร่ฟ้าหน้าใส เรื่อยไปจนถึงในราชสำนัก มายาวนานกว่าค่อนศตวรรษ

นับว่าเพลงสำเนียงเขมร มีส่วนก่อร่างสร้างวิถีแห่งรสนิยมในการฟังเพลงของชาวไทยอยู่มิใช่น้อย


เก็บความจากบันทึกถึงประสบการณ์การเดินทางของ อาจารย์ประสิทธิ์ ศิลปบรรเลง

Thai Music at the Court of Cambodia : a personal souvenir of Luang Pradit Phairoh’s visit in 1930 เพื่อตีพิมพ์ลงในวารสารของสยามสมาคม (Journal of The Siam Society) เดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๑๓ และภายหลังได้มีการถอดความเป็นภาษาไทยโดยมธุรส วิสุทธกุล

จากเว็บของนายยางสน คนบางขวาง
http://yangson.thailifemusic.com/?p=441

 ยิงฟันยิ้ม

บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 326  เมื่อ 11 เม.ย. 11, 15:26

เข้ามาสลับฉากคร้าบบบ
อ้างถึง
อ้างถึง
นักดนตรีไทยถูกครอบงำว่าดนตรีไทยไพเราะที่สุด มากกว่าดนตรีเพื่อนบ้าน เลยยกตนข่มท่านเสมอมาจนทุกวันนี้ ทั้ง ๆไม่จริง
ไม่ทราบว่าคุณสุจิตต์เอาอะไรมาพิสูจน์ว่าใครเพราะกว่าใคร


ผมจัดให้ครับ

สำนวนฝรั่งบอกว่า เมื่อเปรียบเทียบแอปเปิลก็ต้องประกบกับเอปเปิล จะเอาแอปเปิลไปประกบกับส้มหาชอบไม่
 
ฉันใดก็ฉันนั้น

จะเอาวงวณิพกของเขมร ที่นักดนตรีล้วนเป็นเหยื่อกับระเบิด พิการขาขาดแขนขาด หาเลี้ยงชีพด้วยการเล่นเพลงดนตรีพื้นบ้าน แลกเงินบริจาคจากนักท่องเที่ยวไปวันๆ มาประกบกับวงอะไรของไทยในยูทูปก็หายากมาก ง่วนอยู่นานกว่าจะได้วงวณิพกของไทยวงนี้มา ถึงจะคนละแนว ก็เห็นจะพอเทียบกันไหว




ขอบคุณที่คุณหนุ่มทักท้วง เลยแอบเข้ามาแก้
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 327  เมื่อ 11 เม.ย. 11, 15:46

^
แอปเปิ้ลไทย ขาดขิม ขอรับ  ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 328  เมื่อ 11 เม.ย. 11, 15:56

เข้ามาสลับฉากคร้าบบบ
อ้างถึง
อ้างถึง
นักดนตรีไทยถูกครอบงำว่าดนตรีไทยไพเราะที่สุด มากกว่าดนตรีเพื่อนบ้าน เลยยกตนข่มท่านเสมอมาจนทุกวันนี้ ทั้ง ๆไม่จริง
ไม่ทราบว่าคุณสุจิตต์เอาอะไรมาพิสูจน์ว่าใครเพราะกว่าใคร


ผมจัดให้ครับ

สำนวนฝรั่งบอกว่า เมื่อเปรียบเทียบแอปเปิลก็ต้องประกบกับเอปเปิล จะเอาแอปเปิลไปประกบกับส้มหาชอบไม่
 
ฉันใดก็ฉันนั้น

จะเอาวงวณิพกของเขมร ที่นักดนตรีล้วนเป็นเหยื่อกับระเบิด พิการขาขาดแขนขาด หาเลี้ยงชีพด้วยการเล่นเพลงดนตรีพื้นบ้าน แลกเงินบริจาคจากนักท่องเที่ยวไปวันๆ มาประกบกับวงอะไรของไทยในยูทูปก็หายากมาก ง่วนอยู่นานกว่าจะได้วงของไทยวงนี้มา แต่ก็ยังได้เปรียบเขาอยู่อีกหลายขุม ภาษาม้าแข่งเรียกว่าต้องถ่วงน้ำหนักจึงจะแข่งขันกันได้

ดังนั้น เวลาท่านจะฟังวงของคนไทย ก็ให้เอามืออุดหูเสียข้างนึงด้วยนะครับ จึงจะยุติธรรม


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 329  เมื่อ 11 เม.ย. 11, 16:23

ไม่หา traditional Cambodian  Music แล้ว เกรงว่าจะรีเอ๊กแซมไม่ผ่าน    เกิดอยากรู้ว่ายุคนี้  เพลงของเขมรก้าวไปถึงไหน ก็เลยหา Cambodian songs แทน
ไปเจอเพลงเขมรโมเดิ้นเข้า   
   



ไม่รู้ว่านักร้องขะแมร์คนนี้เป็นใคร  แต่ขอส่งต่าย อรทัย เป็นแอปเปิลประกบค่ะ
คุณเพ็ญชมพูรู้จักเธอไหม?



บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 20 21 [22] 23 24 ... 26
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.049 วินาที กับ 20 คำสั่ง