NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 255 เมื่อ 10 เม.ย. 11, 06:31
|
|
^ ขอบคุณครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 256 เมื่อ 10 เม.ย. 11, 07:43
|
|
ผมขอเล่าต่อที่ท่านอาจารย์เทาชมพูจบไว้
เมื่อกองทัพเวียตนามยกเข้ามาตีเขมรแดงแตก เพราะเหตุว่าเขมรแดงฆ่าคนญวนในเขมรไปมากพอๆกับฆ่าคนเขมรด้วยกัน ตอนนั้นทำท่าจะข้ามพรมแดนไทยเข้ามาลุยเอาอิสานไปรวมเป็นสหพันธรัฐอินโดจีนด้วย ดีแต่ว่า จีนหมั่นไส้เวียตนาม ที่โซเวียตหนุนหลังอีกทีเต็มทน เลยส่งกองทัพมดลงมาเปิดสงครามสั่งสอนเวียตนาม ยับเยินไปทั้งสองฝ่าย โดยเวียตนามเละเทะกว่า ต้องถอยทัพออกจากเขมร สงครามระหว่างคอมมิวนิสต์ด้วยกันสงบ รัฐบาลใหม่ซึ่งเวียตนามจัดตั้งขึ้นก็เริ่มปัดกวาดเขมร จากทรากความหายนะ คนเขมรในค่ายผู้อพยพทั้งหลายก็เดินเท้าจากชายแดนไทยกลับบ้าน
พระนางบุปผาเทวีไม่ได้อยู่ในค่ายผู้อพยพตลอดเวลาอันสาหัสนั้น พระนางประทับอยู่ที่ปารีส นานๆจะบินมาลงกรุงเทพแล้วเลยไปเขาอีด่างสักที โรงเรียนนาฏศิลป์เขมรที่นั่นมีละครหลวงเก่าหลายคนช่วยกันดูแลอยู่ พระนางจะมาร่วมรำกับเด็กๆชั่ววันพอเป็นขวัญกำลังใจ แล้วก็กลับไปโฮเตล ไม่ได้นอนที่นั่น งานที่ทำอยู่สมัยนั้นทำให้ผมต้องไปตระเวนไประหว่างค่ายอพอพต่างๆตามชายแดน ที่เขาอิด่างก็เคยเข้าไปหลายครั้ง สภาพที่นั่นในระยะหลังๆ พระนางบุปผาเทวีท่านคงจะประทับค้างคืนไม่ไหวจริงๆ สภาพสิ่งก่อสร้างทั้งหลาย ถึงจะดีกว่าสลัมในเรื่องของความแออัด แต่ยิ่งเวลาผ่านไปยิ่งสกปรก ที่แย่ที่สุด คือความเสื่อมโทรมในคน ผมว่ามันมากมายกว่าสถานที่ เห็นสีหน้าและแววตาของกลุ่มชายฉกรรจ์เขมรที่จับกลุ่มกัน วันๆไม่ยอมทำอะไรแล้ว น่ากลัวมาก
การต่อสู้กับอุปสรรคอย่างไม่ย่อท้อ ความร่วมมือร่วมใจของครูบาอาจารย์ที่จะสืบศิลปวัฒนธรรม ประเพณีอันดีงามของชนชาติในด้านนาฏศิลป์เอาไว้นี้ จึง“เข้าตา”ยูเนสโกแล้วตั้งแต่ตอนนั้น
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33479
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 257 เมื่อ 10 เม.ย. 11, 08:32
|
|
ครับ ใช่ครับ สีกาน้อยทั้งสอง ไปเยี่ยมหลวงพ่อของเธอ ซึ่งบวชอยู่วัดบวร ตอนนี้ยังยินดีในเพศบรรพชิตอยู่ ไม่มีกำหนดสึก เลยกลายเป็นเรื่องของตนเองไปแล้วโดยไม่ได้ตั้งใจ ต้องขออภัยท่านทั้งหลายด้วยนะครับ ส่วนตราราชสกุลนวรัตน เอาแบบมาจากดารา ที่ประกอบเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์ ที่เห็นในภาพ ผมนำแบบมาสร้างขึ้นโดยให้ช่างแกะสลักไม้ ทาสีทองและฝังด้วยแก้วเจียรนัย๙สี เพื่อนำมาติดบนหน้าบันหอพระในบ้าน ตอนที่สร้างขึ้นมาใหม่ขณะนั้นน่ะครับ
งามและเหมาะสมมากค่ะ ในบรรดาการออกแบบนพเก้า แบบต่างๆ เครื่องราชฯนพรัตนราชวราภรณ์เป็นดีไซน์ที่สง่างามที่สุด
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 258 เมื่อ 10 เม.ย. 11, 08:39
|
|
^ ขอบคุณครับ
ต่อเรื่องเขมร
คนพนมเปญกลับมาถึงบ้านด้วยความกลัวๆกล้าๆ กลิ่นอายของการทำลายล้างชีวิตมนุษย์ด้วยกันยังคงหลอนอยู่ และนานกว่าที่ความหวาดกลัวจะคลายลง และออกไปสำรวจตรวจตราว่ายังมีอะไรหลงเหลืออยู่ ให้ทำมาหากินต่อไปได้
พวกละครหลวง (คงเทียบกับฝ่ายนาฏศิลป์ในกรมศิลปากรของไทย) เดิมเคยมีเกินร้อย กลับมาเห็นหน้ากันประมาณสามสิบคน พวกเขาเที่ยวติดตามหา ได้เครื่องแต่งตัวละครบางส่วนในกองขยะที่โรงละครแห่งชาติ ได้เครื่องดนตรี จำพวกระนาดที่ถูกนำไปเป็นรางอาหารเลี้ยงหมู ได้หัวโขนที่ไปกองทิ้งในสวนผัก บางส่วนยังไม่ได้สิ้นสภาพไปกับดิน เขาเหล่านั้นได้ช่วยกันนำมาชำระไว้เป็นต้นแบบ รอคอยสำหรับการรื้อฟื้นคืนสภาพ บรรดาพวกนาฏศิลป์ก็ช่วยกันต่อท่ารำจากกันและกัน ทั้งหมดทำไปภายใต้งบประมาณอันน้อยนิดที่รัฐบาลจัดให้
สิ่งทั้งปวงไม่ว่าที่เป็นรูปธรรมหรือนามธรรมล้วนอยู่ใต้กฏพระไตรลักษณ์ ไม่ใช่เฉพาะอะไรดีๆเท่านั้นที่ไม่เที่ยง ความเลวร้ายก็ไม่เที่ยงเช่นกัน การเมืองเขมรก็เปลี่ยนไปเรื่อยๆตามเหตุของมัน และแล้วเจ้าสีหนุก็มีอันที่จะได้รับการอัญเชิญให้เสด็จกลับมาเป็นองค์พระประมุขของชาติอีก และแม้ว่ารัฐบาลผสมระหว่างเจ้านโรดม รณฤทธิ์กับเฮง สัมริน นายกรัฐมนตรีแฝด มิใช่จะปราศจากความขัดแย้งในการบริหารประเทศ แต่โชคดียิ่ง ที่เรื่องการรื้อฟื้นนาฏศิลป์เขมรไม่มีผู้ใดไม่สนับสนุน ละครเขมรในที่สุดก็ออกโรงใหม่ได้ มิใช่ด้วยงบประมาณก้อนใหญ่ที่รัฐบาลจัดให้อย่างเดียว แต่เป็นเพราะคุณูปการของบรรดาครูบาอาจารย์ที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ท่านทั้งหลายเหล่านั้นได้ทุ่มชีวิตและจิตวิญญาณให้แก่การสร้างคนรุ่นใหม่ให้ขึ้นมารับช่วงต่อ ทั้งการสร้างพัศดุและสร้างทักษะ ซึ่งศิษย์หนุ่มสาวของท่านก็ทำสำเร็จน่าชื่นใจ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 259 เมื่อ 10 เม.ย. 11, 08:50
|
|
รูปการฟื้นตัวของละครเขมรอีกชุดนึงครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33479
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 260 เมื่อ 10 เม.ย. 11, 09:29
|
|
Lakhon Preah Reach Trop ល្ខោន - Royal Ballet of Cambodia World Heritage
นาฏศิลป์ไทยของเรา ได้เป็นมรดกโลก World Heritage หรือยังคะ?
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 261 เมื่อ 10 เม.ย. 11, 11:55
|
|
องค์การยูเนสโกประกาศให้ "รำพระราชา" ของเขมรขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกประเภทสืบทอดกันมาไม่สามารถจับต้องได้ (Oral and Intangible World Heritage)
ตามสมมติฐานของผม ฝรั่งในยูเนสโกให้คะแนนเขมรมาตั้งแต่ตั้งโรงเรียนสืบทอดวัฒนธรรมนี้ที่เขาอีด่างแล้ว รวมทั้งการรื้อฟื้นการดำรงอยู่นั้นให้ขึ้นมารุ่งเรืองใหม่ หลังที่ทุกสิ่งทุกอย่างในพนมเปญถูกทำลายย่อยยับ
ของไทย ที่มีผลงานลักษณะเดียวกันหลังเสียกรุงครั้งที่สอง แต่ไม่เคยสามารถทำอะไรให้เข้าตาฝรั่งได้เหมือนเขมร เพราะอะไร? มันก็เป็นอย่างนี้มานับร้อยปีแล้ว ลองย้อนไปอ่านตอนต้นๆดู
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 262 เมื่อ 10 เม.ย. 11, 12:03
|
|
ยังมีอีก
หนึ่งในตัวศิษย์ยุคใหม่ของละครเขมรนี้ ผมจะขอกล่าวถึงคุณเจิมซะหน่อย คำว่าเจิมนี้ผมไล่สำเนียงมาจากชื่อเธอที่เขียนเป็นภาษาอังกฤษว่า Cheam แต่ไม่ทราบเหมือนกัน จริงๆแล้วเธออาจจะชื่อแช่ม หรือเฉิ่ม ฯลฯ ประมาณนี้ก็ได้ อย่างไรก็ดี จากการที่เธอมีสามีเป็นอเมริกัน ก็เลยมีชื่อเต็มๆว่า Sophiline Cheam Shapiro ซึ่งเป็นมงคลนามที่เธอให้ทำมาหากินมีชื่อเสียงใหญ่โตที่เมืองนอก
ประวัติของเธอตอนเด็กๆน่าเศร้ามาก เมื่อแปดขวบพ่อแม่พี่น้องถูกเขมรแดงจับไปฆ่าตายหมด ตัวเธอถูกนำเข้าค่ายไปล้างสมอง แต่เสียงดี เลยได้อยู่ในหน่วยขับร้องเพลงปลุกใจที่เขมรแดงแต่งขึ้นมาบังคับให้ประชาชนปฏิวัติฟัง แทนเพลงกากเดนศักดินาดั้งเดิม การที่ได้อยู่ในหน่วยที่ไม่ต้องทำงานหนักกลางแดดเยี่ยงทาษ ทำให้เธอดำรงชีวิตผ่านยุคเข็ญมาได้ เมื่อเขมรแดงสลายตัว เธอติดตามคนอื่นๆเข้ามาในพนมเปญ และโชคชะตาพลิกผันให้ได้เข้าเรียนในโรงเรียนนาฏศิลป์หลวงที่ครูบาอาจารย์กำลังสืบทอดแบบแผนโบราณให้ลูกศิษย์อย่างทุ่มเท เมื่อจบแล้วเพียงสองปี โชคดีอีกครั้ง ได้ทุนไปเรียนต่อในอเมริกา ไม่นานเธอก็ได้สามีแล้วอยู่ด้วยกันที่ลองบีช ในแคลิฟอร์เนีย เริ่มต้นอาชีพด้วยการเปิดโรงเรียนสอนนาฏศิลป์เขมรให้แก่ลูกหลานเขมรอพยพ คนเหล่านี้เป็นบุคคลระดับปัญญาชนที่รัฐบาลอเมริกันคัดเลือกจากค่ายผู้อพยพในไทย เอาไปไว้เป็นชุมชนใหญ่โตที่นั่น
รูปคุณเจิม
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 263 เมื่อ 10 เม.ย. 11, 12:10
|
|
คุณเจิมแกได้สามีที่เบิกทางให้ได้เข้าไปสู่แวดวงของบุคคลสำคัญในด้านศิลปกรรมศาสตร์ สังคมอเมริกันเป็นสังคมเปิดของผู้มีความสามารถ ทำให้คุณเจิมมีโอกาสได้รู้จักหลายๆคนในวงการที่ให้คำแนะนำ หรือสนับสนุนเธอ ที่ในที่สุดเธอก็ประยุกต์แผนแบบของนาฏศิลป์เขมรเข้ากับความยึดมั่นถือมั่นของฝรั่ง ด้วยการนำเอาท้องเรื่อง The Magic Flute ของ Mozart มารังสรรค์ผลงานที่มีชื่อว่า Pamina ภามิณา (ผมเขียนให้ดูขลังๆไปอย่างนั้นเอง), Queen of the Night ใช้ศิษย์เขมรของเธอในการร่ายรำในท่วงทำนองที่ครูบาอาจารย์ในพนมเปญยังค้อนหลายตลบหลังจากที่ฟื้นจากสลบสามครั้ง
แต่ภามิณาก็จุดประกายขึ้นบนเวทีในอเมริกา ทำให้การแสดงชุดอื่นๆของเธอเช่น “สัมฤทธิจักร” ( Samrittechak) ตามเค้าโครงเรื่อง Othello ของ Shakespeare และ The Glass Box ติดตามมา ชื่อเสียงของเธอโด่งดังเป็นพลุ ได้รับเชิญไปแสดงในหลายต่อหลายประเทศ แต่ถือว่าไม่ประสพความสำเร็จในบ้าน เมื่อได้มาแสดงตามคำเรียกร้องของคนเขมรในพนมเปญ ถูกนักวิจารณ์ยำเสียเละเทะ
ข้างล่างเป็นภาพจาก ภามิณา
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 264 เมื่อ 10 เม.ย. 11, 12:11
|
|
ภาพนี้จาก สัมฤทธิจักร
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 265 เมื่อ 10 เม.ย. 11, 12:15
|
|
คลิ๊ปจากภามิณา อัพไม่เป็นอีกแล้ว  ใครก็ได้ ช่วยทีเถิดครับ เกรงใจคุณเพ็ญ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33479
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 266 เมื่อ 10 เม.ย. 11, 12:26
|
|
วิธีเอาคลิปจากยูทูปมาใส่ในนี้ คือทำเหมือนทำลิ้งค์ ก๊อบจาก url ของยูทูปอย่างที่ท่าน NAVARAT ทำ แต่แทนที่จะเอาลงในช่องข้อความเฉยๆ ก็ลากเม้าส์ไปตามลิ้งค์นั้น แล้วเอาเม้าส์ชี้ไปที่เครื่องหมาย youtube ตัวเล็กๆในแถวที่สองข้างบนช่องข้อความ มันก็ขึ้นมาเป็นข้อความว่า
[ยูทูป]http://www.youtube.com/watch?v=COIriBOQpGA[/ยูทูป]
ลองคลิก" แสดงตัวอย่าง" เพื่อตรวจสอบว่าทำถูกต้องไหม ถ้าทำถูกคลิปก็จะขึ้นมาให้ดู แล้วส่งข้อความได้เลย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 267 เมื่อ 10 เม.ย. 11, 12:30
|
|
^ ขอบคุณที่บอกครับ คราวหน้าจะลองทำตาม . .
ไม่ว่าจะเป็นอย่างไร ความสำเร็จของคุณเจิมในเมืองนอกเมืองนา ได้สะกิดครูละครของเขมรหลายคนที่จะพัฒนารูปแบบโบราณให้เข้ากับรสนิยมของคนสมัยใหม่ แข่งกับภาพยนต์ทั้งจอยักษ์และจอแก้ว แม้การต่อสู้นี้จะไม่มีทางชนะ พวกละครก็ขอที่ยืนเล็กๆแต่มั่นคงให้ศิลปวัฒนธรรมแขนงนี้ในหัวใจของคนชาติด้วย
ฉากและรูปแบบการแสดงบนเวทีของโขน ที่เริ่มจะเล่นกับแสงสี และการจัดองค์ประกอบมากขึ้น
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 268 เมื่อ 10 เม.ย. 11, 12:31
|
|
ลองดูตามคำบอก คลิ๊ปโฆษณาสัมฤทธิจักรครับ ฝรั่งทำมาร์เกตติ้งให้ เหมือนเดิมเลย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33479
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 269 เมื่อ 10 เม.ย. 11, 12:45
|
|
 โขนรามเกียรติ์ตอนไมยราพสะกดทัพ ?
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|