เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 15 16 [17] 18 19 ... 26
  พิมพ์  
อ่าน: 168022 ละครในราชสำนักสยามไปสู่ราชสำนักเขมร
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 240  เมื่อ 09 เม.ย. 11, 06:04

เอารูปเจ้าสีหนุ นักแสดงหลายสีหน้ามาให้ดู


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 241  เมื่อ 09 เม.ย. 11, 08:14

^
^
เยี่ยมครับผม  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 242  เมื่อ 09 เม.ย. 11, 08:20

หากสนใจเรื่องของราชวงศ์เขมร

กระทู้นี้ก็เยี่ยม

ราชวงศ์นโรดม
http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2009/03/K7623645/K7623645.html

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 243  เมื่อ 09 เม.ย. 11, 11:45

ขออนุญาตกลับเข้าสู่บรรยากาศการละครในสมัยรัชกาลที่ ๔ อันเป็นสมัยที่สยามส่งออกครูละครหลายไปสอนในราชสำนักเขมรดังรายละเอียดที่ได้เสนอไปแล้ว

ในตอนต้นรัชกาลที่ ๔ ยังไม่มีละครหลวง เพราะละครหลวงเลิกไปเสียแต่ครั้งรัชกาลที่ ๓ ครั้นถึงรัชสมัยของพระองค์มิได้ทรงรังเกียจ ดังนั้นสมเด็จพระนางโสมนัสวัฒนาวดี จึงทรงหัดละครเด็กผู้หญิงในพระบรมมหาราชวังขึ้นชุดหนึ่ง แต่ไม่ทันได้ออกแสดง เนื่องจากสมเด็จพระนางโสมนัสวัฒนาวดีได้สิ้นพระชนม์ก่อน ต่อมาเมื่อทรงรับช้างเผือก (คือพระวิมลรัตน กิริณี) สู่พระบารมี ใน พ.ศ. ๒๓๙๖ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวมละครของสมเด็จพระนางโสมนัสวัฒนาวดี ฝึกหัดเป็นละครหลวงได้ออกโรงเล่นสมโภชช้างเผือกเป็นครั้งแรกใน พ.ศ. ๒๓๙๗
 
ในรัชกาลนี้ โปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่าด้วย ละครผู้หญิง พ.ศ. ๒๓๙๘ โปรดอนุญาตให้เจ้านาย ขุนนาง และผู้มีบรรดาศักดิ์หัดละครผู้หญิงขึ้นได้ แต่ได้ขอจำกัดสิทธิ์บางประการไว้สำหรับละครหลวง เช่นรัดเกล้ายอด เครื่องแต่งตัวลงยา พานทอง หีบทอง ซึ่งใช้เป็นเครื่องยศ เครื่องประโคมแตรสังข์ และห้ามมิให้บังคับผู้ที่ไม่สมัครใจเล่นละครให้ได้รับความเดือดร้อน จึงโปรดเกล้าฯ ให้ออกประกาศในประชุมประกาศรัชกาลที่ ๔ ภาค ๒ ๕๘ (หอพระสมุดวชิรญาณ ๒๔๖๕ : ๕๕-๕๖) ความว่า

“...แต่ก่อนในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก แลแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาไลย มีลครผู้หญิงแต่ในหลวงแห่งเดียว ด้วยมีพระราชบัญญัติห้ามมิให้พระราชวงศานุวงศ์แลข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อยฝึกหัดลครผู้หญิง เพราะฉนั้นข้างนอกจึงไม่มีใครเล่นลครผู้หญิงได้ ครั้นในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวไม่โปรดลคร แต่ทว่าทรงแช่งชักติเตียนจะไม่ให้ผู้อื่นเล่น ถึงกระนั้นก็มีผู้ลักเล่นเงียบ ๆ อยู่ด้วยกันหลายราย มาในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนี้ พระราชวงศานุวงศ์ แลข้าราชการผู้ใหญ่ ผู้น้อย ผู้ใดเล่นลครผู้ชายผู้หญิงก็มิได้ทรงรังเกียจเลย ทรงเห็นว่ามีลครด้วยกันหลายรายดี บ้านเมืองจะได้ครึกครื้น จะได้เปนเกียรติยศแผ่นดิน เดี๋ยวนี้ท่านทั้งปวงเห็นว่าลครในหลวงมีขึ้นก็หามีใครเล่นลครเหมือนอย่างแต่ก่อนไม่ คอยจะกลัวผิดแลชอบอยู่ การอันนี้มิได้ทรงรังเกียจเลย ท่านทั้งปวงเคยเล่นอยู่แต่ก่อนอย่างไรก็ให้เล่นไปเถิด ในหลวงมีการงานอะไรบ้าง ก็จะได้โปรดหาเข้ามาเล่นถวายทอด พระเนตรบ้าง จะได้พระราชทานเงินโรงรางวัลให้บ้าง ผู้ใดจะเล่นก็เล่นเถิด ขอยกเสียแต่รัดเกล้ายอดอย่างหนึ่ง เครื่องแต่งตัวลงยาอย่างหนึ่ง พานทองหีบทองเปนเครื่องยศอย่างหนึ่ง เมื่อบททำขวัญยกแต่แตรสังข์อย่างหนึ่ง แล้วอย่าให้ฉุดบุตรชายหญิงที่เขาไม่สมัคเอามาเปนลคร ให้เขาได้ความเดือดร้อนอย่างหนึ่ง ขอห้ามไว้แต่การเหล่านี้ ให้ท่านทั้งปวงเล่นไปเหมือนอย่างแต่ก่อนเถิด”
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 244  เมื่อ 09 เม.ย. 11, 11:59

ละครผู้ชาย เป็นละครของเจ้านายหรือขุนนาง ตลอดจนผู้มีบรรดาศักดิ์ต่าง ๆ ซึ่งต้องการที่จะนำเรื่อง ละครใน โดยเฉพาะเรื่อง อิเหนา มาจัดแสดงตามจารีตประเพณีที่เป็นข้อยึดถือปฏิบัติมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ละครในที่ใช้ผู้หญิงแสดงจะมีได้เฉพาะพระมหากษัตริย์เท่านั้น แม้แต่พระบรมวงศ์ ในระดับเจ้าฟ้า มหาอุปราช ก็มิสามารถมีขึ้นได้ ดังจะเห็นหลักฐานในพงศาวดารในรัชกาลที่ ๑ ซึ่งสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร พระราชโอรสพระองค์ใหญ่ให้หัดเด็กหญิงไว้แสดงละคร ความทราบถึงพระเนตรพระกรรณ ทรงกริ้วและมีพระราชดำรัสห้ามเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร จึงต้องทรงเลิก ด้วยเหตุนี้ เจ้านายจึงทรงเลี่ยงจารีตประเพณี โดยการหัดผู้ชายให้เล่นละครใน เรื่องอิเหนา ซึ่งเป็นเรื่องที่มีตัวเอกเป็นเพียงเจ้าชาย เพื่อให้เหมาะสมกับพระฐานะซึ่งเรื่องรามเกียรติ์และอุณรุท ตัวเอกเป็นกษัตริย์

ยุคทองแห่งนาฏศิลป์ไทยอยู่ในรัชกาลที่ ๒ เหตุที่พระองค์ท่านโปรดปรานการกวี และนาฏกรรมทุกแขนง ตั้งแต่เมื่อครั้งยังดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ทรงมีละครผู้ชายในสังกัด ต่อมาเมื่อเสวยราชสมบัติ จังได้ตั้งคณะละครหลวง เพื่อประกอบพระอิสริยยศเป็นมหรสพสำหรับแผ่นดิน เป็นที่ยกย่องไปทั่วนานาประเทศราชทั้งปวง คณะละครหลวงในรัชกาลที่ ๒ ได้ครูท่านสำคัญในคณะของเจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์ ซึ่งต่อมาตกทอดมรดกมาถึงเจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษ์มนตรี พระอนุชา ครูทองอยู่ ครูรุ่งนี้ได้เข้ามาเป็นครูละครหลวง เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องอิเหนา เพื่อให้เหมาะสมกับวิธีการแสดง จึงพระราชนิพนธ์บทให้เจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษ์มนตรี ครูทองอยู่ ครูรุ่ง ร่วมกันคิดกระบวนท่ารำให้เหมาะสมกับบทพระราชนิพนธ์ เมื่อติดขัดหรือควรปรับปรุงอย่างไร ก็นำขึ้นกราบบังคมทูล ทรงร่วมกันแก้ไขจนเป็นที่ยุติ จึงโปรดเกล้าฯ ให้หัดละครหลวงใช้แสดงเป็นแบบแผนสืบมา

ถึงแม้ว่าละครหลวงในรัชกาลที่ ๒ จะมีชื่อเสียงมาก แต่ตามวังเจ้านาย บ้านข้าราชการผู้ใหญ่ก็น่าเชื่อว่าละครผู้ชายยังคงมีอยู่ ดังที่ปรากฎหลักฐานในรัชกาลต่อมา

บรรดาตัวละครหลวงในรัชกาลที่ ๒ ที่เชื่อว่าเป็นศิษย์ของเจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษ์มนตรี ครูทองอยู่ ครูรุ่ง ที่มีชื่อเสียงและได้เป็นครูละครหลวงในรัชกาลที่ ๔ ต่อมาคือ เจ้าจอมมารดาแย้ม (อิเหนา) คุณเอี่ยม (บุษบา) คุณมาลัย เป็นตัวย่าหรันและพระสังข์ ต่อมาได้เป็นท้าววรจันทร์ในรัชกาลที่ ๔ และเลื่อนเป็นท้าววรคณานันท์ในรัชกาลที่ ๕ เป็นผู้อำนวยการละครหลวงในรัชกาลที่ ๔-๕ ครูขำ (เงาะ) คุณภู่ (หนุมาน) คุณองุ่น (สีดา) และผู้อื่นอีกหลายท่าน สามารถหารายละเอียดได้จากหนังสือตำนานละครอิเหนา

เจ้าจอมมารดาแย้ม (อิเหนา) หรือคุณโตแย้ม นี้นับได้ว่าเป็นบุคคลสำคัญยิ่ง ด้วยเหตุที่ท่านได้เป็นครูของศิษย์ที่มีชื่อเสียงยิ่ง คือ ท้าววรจันทร์ฯ หรือเจ้าจอมมารดาวาด (อิเหนา) ในรัชกาลที่ ๔ เจ้าจอมมารดาเขียน (อิเหนา) ในรัชกาลที่ ๔ ซึ่งต่อมาได้เป็นครูให้กับคณะละครวังสวนกุหลาบและมีศิษย์ที่มีชื่อเสียงเป็นผู้ที่วางรากฐานการเรียนการสอน ตลอดจนรูปแบบการแสดง ตามแนวละครหลวงให้กับกรมศิลปากรต่อมาถึงปัจจุบัน คือ คุณครูลมุล ยมะคุปต์ คุณครูน้อม ประจายกฤต คุณครูเฉลย ศุขวณิช และท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี ดังนั้นจึงเป็นหลักฐานได้ว่ารูปแบบละครหลวงที่ใช้ผู้หญิงแสดงของกรมศิลปากร ในปัจจุบันเป็นรูปแบบที่สืบทอดมาจากละครหลวงในรัชกาลที่ ๒ อย่างชัดเจน และเชื่อได้ว่า "ละครผู้ชาย" ซึ่งมีตัวละครที่เป็นครู คือ เจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษ์สนตรี ครูทองอยู่ ครูรุ่งซึ่งเป็นครูละครหลวงรัชกาลที่ ๒ ได้ถ่ายทอดกระบวนท่า วิธีแสดงให้ปรากฎอยู่ในละครหลวงสืบมาแต่ครั้งนั้นเช่นกัน

ส่วนของละครผู้ชาย ในรัชกาลที่ ๓ ไม่มีละครหลวง ตัวละครครั้งรัชกาลที่ ๓ ที่เป็นครู ต่อมาจึงใช้ผู้ชายเป็นพื้น มีชื่อเสียงปรากฎหลายท่าน เช่น นายเกษ (พระราม) นายขุนทอง (อิเหนา) นายทองอยู่ (พระลักษมณ์) นายน้อย (สังคามาระตา) นายทับ (ส่าสำ) นายบัว (อิเหนา) นายนิ้ม (อิเหนา) นายแสง (พระ) นายพ่วง (เงาะ) นายแจ้ง (มโหธร) นายเมือง (บุษบา) นางเพ็ง (วิยะดา) นายมั่ ง(บุษบา) นายผึ้ง (วิยะดา) นายเกลื่อน (นาง) นายอ่ำ (นาง) นายฟ้อน (นาง) ตัวละครผู้ชายเหล่านี้ ได้เป็นครูละครในคณะต่าง ๆ ที่อยู่ในสังกัดเจ้านายและขุนนาง บางท่านได้ไปเป็นครูถึงราชสำนักกัมพูชา นับได้ว่ากระบวนท่ารำ ตลอดจนรูปแบบการแสดงละครผู้ชายได้แพร่หลายออกไปทั้งบ้านทั้งเมือง และเมื่อเริ่มฟื้นฟูจัดตั้งละครหลวงขึ้นใหม่ ในรัชกาลที่ ๔ ซึ่งเป็นการฟื้นฟูประเพณีให้มีละครหลวง เป็นเครื่องประกอบอิสริยยศของพระมหากษัตริย์ ก็ได้ครูผู้ชาย ให้เข้าไปถ่ายทอดท่ารำให้แก่คณะละครหลวง ดังปรากฎหลักฐานในประวัติคุณท้าววรจันทรบรมธรรมิกภักดี(เจ้าจอมมารดาวาด ในรัชกาลที่ ๔) ซึ่งพระวรวงศ์เธอกรมหมื่นพฤฒิยลาภฯ นิพนธ์ขึ้นเพื่อสนองพระคุณคุณย่า สรุปเนื้อความว่า

เมื่อเจ้าจอมมารดาวาด ได้ถวายตัวเป็นละครหลวง ในรัชกาลที่ ๔ แล้ว ท่านเป็นศิษย์ของเจ้าจอมมารดาแย้ม ในรัชกาลที่ ๒ ครั้งหนึ่ง คุณครูเจ้าจอมมารดาแย้มป่วย เจ้าจอมมารดาวาดผู้เป็นศิษย์ได้ออกไปเยี่ยม พอดีกับครูบัว (อิเหนา) ตัวละครผู้ชายได้มาเยี่ยมเช่นกัน เจ้าจอมมารดาแย้มจึงขอให้ครูบัวช่วยต่อท่ารำให้ (ผู้เขียนคิดว่าน่าจะเป็นกระบวนท่าสำคัญชุดใดชุดหนึ่ง เช่น เชิดฉิ่งตัดดอกไม้ฉายกริช หรือรำกริชบวงสรวงฯ) หลังจากนั้นเมื่อเจ้าจอมมารดาวาดกลับเข้าวัง ได้เล่นละครถวายจนเป็นที่โปรดปราณ ก็มีเสียงค่อนแคะว่า "เพราะไปให้ผู้ชายสอนมา" จึงมีการสอบสวน เจ้าจอมมารดาแย้ม จึงได้รับโทษในฐานะรู้เห็นเป็นใจ ซึ่งเป็นการผิดจารีต ด้วยเหตุที่นางในที่ถวายตัวไม่สามารถจะคบหากับชายใดได้ ยิ่งเป็นการสอนรำที่จะต้องถูกเนื้อต้องตัว ยิ่งผิดมหันต์ เจ้าจอมมารดาแย้ม ต้องรับโทษขังสนม ด้วยเหตุนี้เมื่อถึงคราวที่เจ้าจอมมารดาวาด จะต้องออกแสดงละครถวายตัวหน้าพระที่นั่ง ผู้แสดงท่านอื่น ๆ ล้วนมีครูคอยกำกับดูแล แต่ครูของท่านครูต้องถูกขังสนม ขณะที่ร่ายรำถวายตัวอยู่นั้น ท่านก็หวนคิด ไม่สามารถกลั้นความรู้สึกไว้ได้ จึงร้องไห้ออกมาเสียกลางโรง ความทราบถึงพระเนตรพระกรรณ จึงได้สอบถามกันวุ่นไป เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ทรงทราบเรื่องโดยตลอด จึงพระราชทานอภัยโทษให้เจ้าจอมมารดาแย้มและแต่นั้นมาครูบัวก็ได้เข้าไปเป็นครูละครหลวง

จากเรื่องราวนี้ น่าจะเป็นข้อยืนยันได้ว่า ละครผู้ชาย มีส่วนเข้าไปปะปนกับรูปแบบละครหลวง ในรัชกาลที่ ๔ จากนั้นครูละครหลวงรัชกาลที่ ๔ ได้มาเป็นครูละครหลวง รัชกาลที่ ๕ ในตอนต้นรัชกาล และได้มาเป็นครูคณะละครวังสวนกุหลาบ ในสมเด็จฯ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา และเป็นต้นแบบให้กับกรมศิลปากรในปัจจุบัน

ประการหนึ่ง นอกจากครูละครหลวง ในรัชกาลที่ ๔ ได้เข้ามาเป็นครูละครวังสวนกุหลาบแล้ว ยังมีครูละครวังหน้า (เชื่อว่าน่าจะเป็นละครเจ้าคุณมารดาเอม) คือ หม่อมครูอึ่ง หสิตเสน และหม่อมครูนุ่ม นวรัตน์ ณ อยุธยา ซึ่งได้เข้าไปเป็นครูผู้วางรากฐานให้กับคณะละครวังสวนกุหลาบ ละครเจ้าคุณจอมมารดาเอมนี้ นิยมแสดงตามรูปแบบละครหลวง เป็นต้น(สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ.๒๕๔๖:๓๗๘)

ที่กล่าวถึงประวัติความเป็นมา และความเกี่ยวข้องระหว่างละครผู้ชายกับละครหลวง ซึ่งมีความปะปนในส่วนของตัวครูผู้ถ่ายทอด ตั้งแต่ต้นกรุงรัตนโกสินทร์เป็นต้นมา ด้วยเหตุนี้ จึงเชื่อได้ว่า กระบวนท่ารำ วิธีการแสดงของละครผู้ชายได้เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของละครหลวง อันเป็นต้นแบบของละครในเรื่องอิเหนา ถึงแม้ว่าในปัจจุบันละครในเรื่องอิเหนา มักนิยมตามรูปแบบละครหลวง โดยนิยมใช้ผู้หญิงแสดงตามประเพณีของละครหลวง แต่กระบวนท่ารำ และวิธีแสดงไม่สามารถแยกออกมาได้ว่า ส่วนใดเป็นละครหลวง ส่วนใดเป็นละครผู้ชาย

จากบทความเรื่อง รูปแบบการแสดงละครผู้ชาย โดย  ประเมษฐ์  บุณยะชัย

http://department.utcc.ac.th/thaiculture/index.php?option=com_content&view=article&id=60:2009-03-10-07-40-10&catid=42:2008-12-19-08-47-26&Itemid=70





        
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 245  เมื่อ 09 เม.ย. 11, 20:27

ขอมาต่อเรื่องที่ค้างให้จบเสียที

เขมรแดงหมดอำนาจเพราะเกิดขัดแย้งกับเพื่อนคอมมิวนิสต์ด้วยกัน คือเวียดนาม  ถึงขั้นใช้กำลังเข้าห้ำหั่นกัน   เขมรแดงรุกเวียตนามก่อน เวียตนามก็เลยยาตราทัพเข้ายึดพนมเปญ   เขมรแดงแพ้ เป็นอันถึงจุดจบของยุคทมิฬลงแค่นั้น
เฮง สัมริน  ซึ่งมีเวียตนามหนุนหลังอยู่ ยึดอำนาจรัฐบาลพล พต   สถาปนา "สาธารณรัฐประชาชนกัมพูชา"  แล้วให้เจ้าสีหนุมาปกครองราชอาณาจักรกัมพูชาอีกครั้ง
วัฒนธรรมละครรำของกัมพูชารวมทั้งอัปสราก็ฟื้นคืนชีพขึ้นมาอีกครั้ง    และอยู่มาจนทุกวันนี้    แม้ว่าครูเก่าแก่ที่สอนวิชาล้มหายตายจากไปด้วยน้ำมือเขมรแดง  แต่ที่เหลืออยู่ มีเจ้าหญิงบุปผาเทวี ก็ช่วยกันปลุกชีพขึ้นมาได้จนสำเร็จ

เป็นความสำเร็จที่น่าทึ่งเสียด้วย  เพราะองค์การยูเนสโกประกาศเมื่อวันที่ 17 พ.ย.2553  ให้ Royal Ballet of Cambodia  หรือ นาฏศิลป์หลวงของกัมพูชา (หนังสือพิมพ์ของเรามาแปลว่า ระบำพระราชา)  ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกประเภท  Oral and Intangible World Heritage

หมายเหตุ   การร่ายรำของเขมร รวมระบำอัปสรา  ทางเขาเรียกว่า Ballet  ไม่ได้เรียกว่า Dance  

จบแล้วค่ะ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 246  เมื่อ 09 เม.ย. 11, 21:34

เพ็ญชมพู
อ้างถึง
ประการหนึ่ง นอกจากครูละครหลวง ในรัชกาลที่ ๔ ได้เข้ามาเป็นครูละครวังสวนกุหลาบแล้ว ยังมีครูละครวังหน้า (เชื่อว่าน่าจะเป็นละครเจ้าคุณมารดาเอม) คือ หม่อมครูอึ่ง หสิตเสน และหม่อมครูนุ่ม นวรัตน ณ อยุธยา ซึ่งได้เข้าไปเป็นครูผู้วางรากฐานให้กับคณะละครวังสวนกุหลาบ ละครเจ้าคุณจอมมารดาเอมนี้ นิยมแสดงตามรูปแบบละครหลวง เป็นต้น(สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ.๒๕๔๖:๓๗๘)
หม่อมครูนุ่ม เป็นนางเอกละครวังหน้าที่ท่านเจ้าคุณจอมมารดาเอมท่านรักมาก ต่อมาได้เป็นหม่อมห้ามในพระองค์เจ้าเนาวรัตน์ กรมหมื่นสถิตย์ธำรงสวัสดิ์

ท่านอาจารย์จำนงค์ ทองประเสริฐ ราชบัณฑิตท่านเขียนไว้ว่า คำที่อยู่ในชุดเดียวกัน "ลูก - หลาน - เหลน คือ  “ลื่อ” (ไม่ใช่โหลน) ถัดจาก "ลื่อ" ไปก็คือ "ลืด" และ "ลืบ" พจนานุกรมได้ให้ความหมายของคำทั้ง ๒ ไว้ดังนี้

      "ลืด น. ลูกของลื่อ, หลานของเหลน."

      "ลืบ น. ลูกของลืด."


แม้เลือดศิลปินไม่เข้มข้นเหมือนราชสกุลนโรดม แต่ด.ญ. ณัฐเรขา นวรัตน ณ อยุธยา ลืบของท่านเจ้าคุณจอมมารดาเอม หรือลืดของหม่อมนุ่มคนนี้อายุ๕ขวบ ชอบเล่นแต่งกายเป็นนางละครและชอบร่ายรำโดยไม่มีใครสั่งเคยสอนมาก่อนเลย




บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 247  เมื่อ 09 เม.ย. 11, 22:00

^
น่ารักมากครับ  ยิ้มเท่ห์ ยิ้มกว้างๆ ยิ้ม
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 248  เมื่อ 09 เม.ย. 11, 22:09

ขอบคุณครับคุณหนุ่ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 249  เมื่อ 09 เม.ย. 11, 22:18

น่ารักมากค่ะ  รำอะไรคะ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 250  เมื่อ 09 เม.ย. 11, 22:31

ขอบคุณครับ ก็รำไปเรื่อยแหละครับ อย่างที่ว่า ไม่มีใครสั่งใครสอน
รออีกสักนิด คงได้เรียนเป็นเรื่องเป็นราว
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 251  เมื่อ 09 เม.ย. 11, 22:41

ตั้งวง กับจีบนิ้ว ได้สวย  ถ้าเกิดจากการสังเกตของหนูน้อยอายุ ๕ ขวบ ก็ถือว่าเธอสังเกตท่ารำได้ดีมาก
ศิลปะสืบต่อกันทางสายเลือดได้  
อาจเรียกว่าเป็นโปรแกรมอยู่ใน DNA มาแต่เกิดแล้ว

คุยเรื่องระบำเขมรจบแล้ว   ถ้าจะคุยกันนอกรอบเมื่อม่านเวทีรูดปิด คงไม่มีใครห้าม
อยากถามว่าตรานพเก้าข้างบนในรูป   เป็นตราของราชสกุลนวรัตน หรือคะ    ประดับอยู่ที่ไหน และทำด้วยอะไร
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 252  เมื่อ 09 เม.ย. 11, 22:57

แม้เลือดศิลปินไม่เข้มข้นเหมือนราชสกุลนโรดม แต่ด.ญ. ณัฐเรขา นวรัตน ณ อยุธยา ลืบของท่านเจ้าคุณจอมมารดาเอม หรือลืดของหม่อมนุ่มคนนี้อายุ๕ขวบ ชอบเล่นแต่งกายเป็นนางละครและชอบร่ายรำโดยไม่มีใครสั่งเคยสอนมาก่อนเลย

ด.ญ. ณัฐเรขา คนทางขวาใช่ไหมเอ่ย



 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 253  เมื่อ 09 เม.ย. 11, 23:24

ครับ ใช่ครับ
สีกาน้อยทั้งสอง ไปเยี่ยมหลวงพ่อของเธอ ซึ่งบวชอยู่วัดบวร ตอนนี้ยังยินดีในเพศบรรพชิตอยู่ ไม่มีกำหนดสึก

เลยกลายเป็นเรื่องของตนเองไปแล้วโดยไม่ได้ตั้งใจ ต้องขออภัยท่านทั้งหลายด้วยนะครับ

ส่วนตราราชสกุลนวรัตน เอาแบบมาจากดารา ที่ประกอบเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์
ที่เห็นในภาพ ผมนำแบบมาสร้างขึ้นโดยให้ช่างแกะสลักไม้ ทาสีทองและฝังด้วยแก้วเจียรนัย๙สี เพื่อนำมาติดบนหน้าบันหอพระในบ้าน ตอนที่สร้างขึ้นมาใหม่ขณะนั้นน่ะครับ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 254  เมื่อ 10 เม.ย. 11, 06:21

ส่วนตราราชสกุลนวรัตน เอาแบบมาจากดารา ที่ประกอบเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์



 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 15 16 [17] 18 19 ... 26
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.061 วินาที กับ 20 คำสั่ง