เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 12 13 [14] 15 16 ... 26
  พิมพ์  
อ่าน: 167594 ละครในราชสำนักสยามไปสู่ราชสำนักเขมร
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 195  เมื่อ 08 เม.ย. 11, 09:36

นี่นางอัปสรของไทยคนนี้ ปางอะไรไม่แจ้ง แต่เล่นเอาเนียงอัปสราจืดไปเลย



ไหลมาจาก เขมร มาผสมกับ จีน

ระบำกวนอิมพันกร
http://www.oknation.net/blog/swongviggit/2009/11/30/entry-1



 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 196  เมื่อ 08 เม.ย. 11, 09:56

^
เยี่ยม


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 197  เมื่อ 08 เม.ย. 11, 10:18

ท่ากวนอิมพันกร  มาจากศิวะนาฏราชหรือเปล่า



ซึ่งเขมรรับมาอีกที


จากนั้นก็ไปจีน เป็นรำเจ้าแม่กวนอิมพันมือ


กลายเป็นนาฏอัปสราของไทย

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 198  เมื่อ 08 เม.ย. 11, 10:41

กวนอิมพันกรของจีน ก็ไหลมาจาก พระสหัสภุชสหัสเนตรอวโลกิเตศวรของอินเดีย นั่นเอง



คุณวิกกี้ อธิบายไว้ว่า

พุทธศาสนิกชนชาวจีนจะรู้จักพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ในพระนามว่า กวนซีอิม หรือ กวนอิม ซึ่งก็มีความหมายเช่นเดียวกับคำว่าอวโลกิเตศวรในภาษาสันสกฤต คือผู้เพ่งสดับเสียงแห่งโลก แต่โดยทั่วไปแล้วมักให้อรรถาธิบายเป็นใจความว่าหมายถึง พระผู้สดับฟังเสียงคร่ำครวญของสัตว์โลก (ที่กำลังตกอยู่ในห้วงทุกข์) คำว่ากวนซีอิมนี้พระกุมารชีวะชาวเอเชียกลางผู้ไปเผยแผ่พระศาสนาในจีนเป็นผู้แปลขึ้น ต่อมาตัดออกเหลือเพียงกวนอิมเท่านั้น เนื่องจากคำว่าซีไปพ้องกับพระนามของ จักรพรรดิถังไท่จง หรือ หลีซีหมิง นั่นเอง

พระสหัสภุชสหัสเนตรอวโลกิเตศวร

พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรพันหัตถ์พันเนตรรูปเคารพของพระอวโลกิเตศวรมีอยู่หลายปาง ทั้งภาคบุรุษ ภาคสตรี ไปจนถึงปางอันแสดงลักษณาการที่ดุร้าย ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของการปราบมารคือสรรพกิเลส แต่ปางที่สำคัญปางหนึ่งคือปางที่ทรงสำแดงพระวรกายเป็นพันหัตถ์พันเนตร ซึ่งมีเรื่องราวปรากฏในพระสูตรสันสกฤตคือ สหัสภุชสหัสเนตรอวโลกิเตศวรโพธิสัตวไวปุลยสัมปุรณอกิญจนมหากรุณาจิตรธารณีสูตรมหากรุณามนตร์ หรือเรียกสั้น ๆ ว่า มหากรุณาธารณีสูตร (大悲咒) นำเข้าไปแปลในจีนโดยพระภควธรรมชาวอินเดีย ในสมัยราชวงศ์ถัง ได้กล่าวถึงบทสวดธารณีแห่งพระโพธิสัตว์พระองค์นี้ คือ “มหากรุณาหฤทัยธารณี” เนื้อหากล่าวถึงเมื่อครั้งที่พระศากยมุนีสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ โปตาลกะบรรพต ในกาลนั้นพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ได้ขอพุทธานุญาตแสดงธารณีมนตร์อันศักดิ์สิทธิ์ไว้เพื่อเป็นที่พึ่งแก่สรรพสัตว์ ซึ่งธารณีนี้ย้อนไปในครั้งกาลสมัยของพระพุทธเจ้านามว่าพระสหัสประภาศานติสถิตยตถาคต พระพุทธเจ้าพระองค์นั้นได้ตรัสธารณีนี้แก่พระอวโลกิเตศวร และตรัสว่า “สาธุ บุรุษ เมื่อเธอได้หฤทัยธารณีนี้ จงสร้างประโยชน์สุขสำราญแก่สัตว์ทั้งหลายในกษายกัลป์แห่งอนาคตกาลโดยทั่วถึง”

ตามเนื้อความของพระสูตรได้กล่าวว่า ในขณะนั้น เมื่อพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ได้สดับมนตร์นี้แล้ว ก็ได้บรรลุถึงภูมิที่ ๘ แห่งพระโพธิสัตว์เจ้า จึงได้ตั้งปณิธานว่า “ในอนาคตกาล หากข้าพเจ้าสามารถยังประโยชน์สุขแก่สรรพสัตว์ได้ ขอให้ข้าพเจ้ามีพันเนตรพันหัตถ์ในบัดดล” เมื่อท่านตั้งปณิธานดังนี้แล้ว พลันก็บังเกิดมีพันหัสถ์พันเนตรขึ้นทันที และเพลานั้นพื้นมหาพสุธาดลทั่วทศทิศก็ไหวสะเทือนเลื่อนลั่น พระพุทธเจ้าทั้งปวงในทศทิศก็เปล่งแสงโอภาสเรืองรองมาต้องวรกายแห่งพระโพธิสัตว์ และฉายรัศมีไปยังโลกธาตุต่าง ๆ อย่างปราศจากขอบเขต พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสแก่พระอานนท์ว่า เนื่องจากปณิธานอันยิ่งใหญ่ของพระโพธิสัตว์ หากเหล่ามนุษย์และทวยเทพ ตั้งจิตสวดมหากรุณาธารณี มนตร์นี้คืนละ ๗ จบ ก็จะดับมหันตโทษจำนวนร้อยพันหมื่นล้านกัลป์ได้ หากเหล่ามนุษย์ทวยเทพสวดคาถามหากรุณาธารณีนี้ เมื่อใกล้ชีวิตดับ พระพุทธเจ้าทั้ง ๑๐ ทิศจะยื่นพระกรมารับให้ไปอุบัติในพุทธเกษตรทุกแห่ง

จากเรื่องราวในพระสูตรนี้ทำให้เกิดการสร้างรูปพระโพธิสัตว์พันหัตถ์พันเนตร อันแสดงถึงการทอดทัศนาเล็งเห็นทั่วโลกธาตุและพันหัสต์แสดงถึงอำนาจในการช่วยเหลือสรรพสัตว์ให้พ้นทุกข์ บทสวดในพระสูตรนี้เป็นภาษาสันสกฤตผสมภาษาท้องถิ่นโบราณในอินเดีย ที่หลงเหลือมาในปัจจุบันมีหลายฉบับที่ไม่ตรงกัน ทั้งในฉบับทิเบต ฉบับจีนซึ่งมีทั้งของพระภควธรรม พระอโมฆวัชระ ฯลฯ ต่อมาได้มีการค้นคว้าและปรับปรุงให้ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์โดย Dr.Lokesh Chandra และตีพิมพ์เผยแพร่เมื่อ ค.ศ. ๑๙๘๘ เป็นบทสวดสำคัญประจำองค์พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ที่พุทธศาสนิกชนมหายานสวดกันอยู่โดยทั่วไป

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 199  เมื่อ 08 เม.ย. 11, 10:43

เทคนิคกวนอิมพันมือจากจีนซึ่งไหลลงมายังนาฏศิลป์ไทยประยุกต์ครับ บรรดาเทพเจ้าทางจีนไม่ค่อยพบว่ามีหลายมือเท่าไร มีแต่เจ้าแม่กวนอิม ปางแสดงปฏิหารย์เท่านั้นที่มีมากถึงพันมือ แม้ว่าพระพุทธศาสนาและฮินดูจะไหลเข้าทางจีนด้านตะวันตก แต่จีนก็ไม่ค่อยมีเทพเจ้า ๔ กร เลยนะครับ คงไม่ถูกใจคนจีนเท่าไร

ไม่เหมือนวัฒนธรรมอินเดียที่ไหลลงทางใต้ สู่อินโดนิเซีย กัมพูชา ไทย ลาว รับมาเยอะมาก
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 200  เมื่อ 08 เม.ย. 11, 10:58

ระบำกวนอิมพันกร
http://www.oknation.net/blog/swongviggit/2009/11/30/entry-1



 ยิงฟันยิ้ม

อยากให้ดูในคลิปว่ายอดเยี่ยมเพียงใด



 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 201  เมื่อ 08 เม.ย. 11, 11:00

ท่ารำของเนียกอัปสราต้นฉบับที่บันทึกเป็นปฏิมากรรมในก้อนหินที่นตรวัต บวกกับท่ารำของเขมรที่ออกจะโด่งก้นไปข้างหลังอย่างมีเสน่ห์ ทำให้ผมนึกถึงท่ารำของบาหลี ที่นั่นก็รับศิลปวัฒนธรรมฮินดูไว้เต็มที่และยังคงสืบมาจนทุกวันนี้

ท่ารำมีอะไรคล้ายๆกันอยู่ ยกเว้นเครื่องแต่งกายที่วิวัฒนาการไปตามกาลสมัย แต่อย่าลืมนะครับ เมื่อสักร้อยปีมานี่ สาวๆบาหลียังนิยมเปลือยอก ไม่สวมเสื้อกันอยู่เลย ระบำTari Kreasi Penyambutan Dara Dewi สมัยนั้นคงจะคล้ายระบะอัปสรา ครั้งที่รุ่งเรืองในราชสำนักของพระเจ้าชัยวรมันไปใหญ่





บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 202  เมื่อ 08 เม.ย. 11, 11:06

^
^



 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 203  เมื่อ 08 เม.ย. 11, 11:15

^
ประมาณนาทีที่1.56
มีเพลง "ของๆใคร ของใครก็ห่วง" ที่คุณชายถนัดศรีนำมาร้องด้วยแฮะ ฮืม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 204  เมื่อ 08 เม.ย. 11, 11:25

เพลงหวงรัก คำร้อง สมศักดิ์ เทพานนท์ ทำนองจากเพลงไทยเดิมชื่อ "ลาวเจ้าซู"  บันทึกเสียงครั้งแรก พ.ศ. ๒๕๐๓
 


ฤๅทำนองเพลงนี้จะไหลจากไทยไปบาหลี

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 205  เมื่อ 08 เม.ย. 11, 11:26

^
ประมาณนาทีที่1.56
มีเพลง "ของๆใคร ของใครก็ห่วง" ที่คุณชายถนัดศรีนำมาร้องด้วยแฮะ ฮืม

ใช่ครับ ทำนองใช่เลยครับ "ศิลปะไหลได้" ครับ  ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม การร่ายรำแบบชวานี้ เน้นโยกคอ และส่งสายตา ได้รับจากอินเดียอย่างเต็มๆเลย ส่วนการจัดระเบียบมือ ท่วงท่ารำ อ่อนช้อยอย่างภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ สวยงามมากเลยครับ


เพลง " หวงรัก "  เพลงนี้เป็นเพลงที่ครูสมศักดิ์  เทพานนท์ ท่านแต่งเนื้อร้อง

ส่วนทำนองนั้น ครูเอื้อ  สุนทรสนาน  ท่านได้นำทำนองมาจาก

เพลงไทยเดิม " ลาวเจ้าซู "
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=639797
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 206  เมื่อ 08 เม.ย. 11, 11:45

เพลงลาวเจ้าซู =  ลาวเจ้าชู้

ขิม



กีตาร์



 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 207  เมื่อ 08 เม.ย. 11, 14:03

วางเรื่องเจ้าสีหนุไว้ก่อน     แล้วจะมาต่อให้จบว่า อัปสรา + สมเด็จเจ้าสีหนุ + เขมรแดง + พล พต  โยงเป็นเรื่องเดียวกันได้ยังไง   รอท่าน NAVARAT อินเทอร์มิชชั่นคราวหน้า

ตอนนี้นำรูปอัปสราชวามาให้ดูกันค่ะ



ส่วนนี่คือออริจินัลอัปสรา  กำเนิดของเธออยู่ที่ชมพูทวีป

บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 208  เมื่อ 08 เม.ย. 11, 15:15

อัปสรา ที่สุรินทร์มีมีอมากไม่แพ้กัน  ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 209  เมื่อ 08 เม.ย. 11, 15:30

อ้างถึง
วางเรื่องเจ้าสีหนุไว้ก่อน     แล้วจะมาต่อให้จบว่า อัปสรา + สมเด็จเจ้าสีหนุ + เขมรแดง + พล พต  โยงเป็นเรื่องเดียวกันได้ยังไง   รอท่าน NAVARAT อินเทอร์มิชชั่นคราวหน้า

เชิญครับ
ผมจบเรื่องนางอัปสราแล้ว
เชิญเจ้าสีหนุท่านเสด็จได้
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 12 13 [14] 15 16 ... 26
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.056 วินาที กับ 20 คำสั่ง