เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 11 12 [13] 14 15 ... 26
  พิมพ์  
อ่าน: 167588 ละครในราชสำนักสยามไปสู่ราชสำนักเขมร
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 180  เมื่อ 07 เม.ย. 11, 07:56

เอารูปพระนางบุปผาเทวี นางระบำอัปสราตัวแม่สมัยยังสาวๆมาให้ดูอีก

เจ้าสีหนุถือพระองค์เป็นผลผลิตที่ได้จากสนมที่เป็นนางละครประจำราชสำนัก และภูมิใจในฝีมือการผลิตของท่านมาก
.
.
เฮ้อออ สมัยเด็กๆที่ท่านอยู่กับสมเด็จย่า มีสิทธิ์พบพ่อได้อาทิตย์ละครั้งเท่านั้น ลังเล


บันทึกการเข้า
Ptikky
อสุรผัด
*
ตอบ: 3


ความคิดเห็นที่ 181  เมื่อ 07 เม.ย. 11, 08:29

เข้ามานั่งเอี้ยมเฟี้ยมรอฟังต่อ ด้วยความสนุกสนานค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 182  เมื่อ 07 เม.ย. 11, 10:06

ตอนนี้ ท่านโต้โผใหญ่อินเทอร์มิชชั่นไปอีกรอบหนึ่งแล้ว      ดิฉันก็ต้องเปิดรายการสลับฉากหน้าม่านไปพลางๆก่อน  ไม่ให้คนดูลุกออกจากโรง
คือเรื่องพระประวัติอันมีสีสันยากจะหาประมุขของประเทศใดเทียบได้ ของเจ้านโรดม สีหนุ
แต่คงจะไม่เล่ารวดเดียวจบ  เพราะยาวมาก    ถ้าท่านโต้โผใหญ่กลับมาเล่าระบำอัปสราเมื่อไร   ก็จะหยุดฉายวิดีโอเรื่องเจ้านโรดมสีหนุชั่วคราว

หมายเหตุ : พระนามเจ้านายเขมรในที่นี้   ถอดจากคำอังกฤษบ้าง และไทยบ้างแล้วแต่จะหาได้   เพราะในตำราและเว็บหลายแห่งสะกดไม่เหมือนกัน   ถ้าหากว่าผิดพลาด   ผู้รู้จะช่วยแก้ให้ด้วยก็จะขอบคุณมาก



เจ้านโรดมสีหนุไม่ได้เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสีสวัสดิ์ พระเจ้าแผ่นดินเขมร   แต่เป็นหลานตาที่เกิดจากพระราชธิดา   ชื่อเจ้าหญิงสีสวัสดิ์ กุสุมะ      พระบิดาทรงพระนามว่าเจ้าชายนโรดม สุรามฤต  เป็นพระญาติ อยู่ในราชวงศ์สมเด็จนโรดม ซึ่งเป็นกษัตริย์เขมรในอดีตอีกพระองค์หนึ่ง  เกี่ยวพันกับไทยอย่างไรก็คงได้อ่านกันในกระทู้นี้แล้ว

เสด็จพ่อของเจ้าชายสุรามฤต หรือเสด็จปู่ของเจ้าสีหนุ  ชื่อเจ้าชายสุทธารส   พระองค์และเจ้าหญิงพงางามผู้เป็นย่าของเจ้าสีหนุเคยอยู่ในสยามมาก่อน       ทั้งสององค์เป็นพระโอรสธิดาของสมเด็จนโรดม   เกิดจากหม่อมมารดาที่เป็นคนไทย      
หม่อมเอี่ยม แม่ของเจ้าชายสุทธารสนั้นอยู่ในสกุลอภัยวงศ์  เป็นหลานลุงของเจ้าพระยาอภัยภูเบศร์    ส่วนหม่อมแม่ของเจ้าหญิงพงางามชื่อนวล  ไม่แน่ว่าเป็นสาวเขมรหรือสาวไทย  แต่ฟังจากชื่อน่าจะเป็นคนไทย

พระเจ้าสีสวัสดิ์มีพระราชโอรสอยู่ในฐานะรัชทายาทสืบบัลลังก์เขมรก็จริง   แต่กระทำองค์ไม่เป็นที่ถูกใจฝรั่งเศสซึ่งกุมอำนาจเหนือเขมรอีกที    ส้มก็เลยมาหล่นที่หลานตา   ซึ่งขณะที่พระเจ้าสีสวัสดิ์สวรรคต   เจ้าชายหนุ่มน้อยอายุเพิ่ง ๑๘-๑๙ ปี    เรียนจบโรงเรียนฝรั่งเศสที่ไซ่ง่อนแล้วไปเรียนวิชาทหารต่อที่ปารีส     แต่ก็ยังไม่ทันเรียนจบก็ได้เป็นพระเจ้าแผ่นดินเขมรเสียก่อน
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 183  เมื่อ 07 เม.ย. 11, 11:23

อ.เทาชมพูครับ ผมขอส่งแผนผังพระราชวงศ์กษัตรย์กัมพูชาให้ได้ชมกันครับผม


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 184  เมื่อ 07 เม.ย. 11, 18:55

^
ขอบคุณค่ะ
*******************
ฝรั่งเศสยังไม่รู้จักเจ้าสีหนุดีพอ  จึงประมาทว่าเด็กหนุ่มอายุ ๑๘ คงไม่มีปัญญาพอจะทำอะไรได้มากกว่าสวมหัวโขนพระราชาไปวันๆ     แต่ที่ไหนได้  เด็กหนุ่มคนนี้มีความทะเยอทะยานและใฝ่ฝันอย่างแรงกล้า  ที่จะทำอะไรมากไปกว่าเป็นหุ่นเชิดของเจ้าอาณานิคม  และสิ่งที่ทำนั้นก็เพื่อพระราชอาณาจักรของพระองค์โดยตรง
ด้วยเหตุนี้   พระเจ้านโรดมสีหนุ จึงไม่มีความจงรักภักดีต่อฝรั่งเศสอย่างที่ฝรั่งเศสหลงคิด   แต่พระองค์ก็รู้จักสโลแกน "การเมืองไม่มีมิตรแท้และศัตรูถาวร"   ตั้งแต่ก่อนสโลแกนนี้จะเกิดเสียอีก    คือรู้จักดำเนินนโยบายเหยียบเรือสองแคม  คือพร้อมจะเป็นมิตรกับฝ่ายไหนก็ได้ที่ให้ประโยชน์และผลดีกับกัมพูชาสูงสุด

หลังจากครองราชย์ในปี 1941 สงครามโลกครั้งที่ 2 ก็ระเบิดขึ้น    กัมพูชาเป็นอีกประเทศในเอเชียอาคเนย์ที่ถูกญี่ปุ่นบุกยึดเหมือนกัน   ด้วยข้ออ้างว่าจะมาปลดแอกจากจักรวรรดินิยมตะวันตก    ในเมื่อได้ยินอย่างนี้   แม้ว่าจะเป็นการปลดแอกจากฝรั่งเศสโดยมีแอกของญี่ปุ่นสวมแทน   พระเจ้าสีหนุก็ถือว่าอย่างน้อยก็ปลดแอกเดิมออกไปก่อน ให้หมดไปเรื่องหนึ่ง    ดีกว่าไปขัดใจญี่ปุ่นให้ประเทศย่อยยับไปเปล่าๆ แล้วไม่ได้อะไรขึ้นมาสักอย่างเดียว      พระองค์จึงสนับสนุนให้ประชาชนกัมพูชาเดินขบวน  เรียกร้องอิสรภาพจากฝรั่งเศสอย่างรุนแรง   ประชาชนเขมรก็ลุกฮือขึ้นต่อต้านฝรั่งเศสและเป็นมิตรกับญี่ปุ่น   ประกาศตนเป็นอิสระจากฝรั่งเศส

สงครามโลกจบลงแบบพลิกล็อคจากตอนต้น  ด้วยความพ่ายแพ้ของญี่ปุ่น   ฝรั่งเศสเป็นฝ่ายพันธมิตร ได้ชื่อว่าเป็นผู้ชนะ     ก็กลับมายึดอำนาจเหนือกัมพูชาไว้ตามเดิม  พระเจ้าสีหนุก็ดำเนินนโยบายลู่ตามลม  กลับไปคืนดีกับฝรั่งเศส   ถึงกับยินยอมลงพระนามในสัญญาให้ฝรั่งเศสดูแลนโยบายด้านการต่างประเทศของกัมพูชาต่อไป ทำให้ประชาชนชาวกัมพูชาเคืองพระองค์ไปพักใหญ่
แต่ถ้ามองอย่างไม่ถือคติชาตินิยมแล้วก็น่าเห็นใจพระเจ้าสีหนุ   เพราะพระองค์จะเอาอะไรไปสู้กับฝรั่งเศส  เปลืองเลือดเนื้อของประชาชนและเสี่ยงต่อบัลลังก์ของพระองค์เองโดยใช่เหตุ     ประนีประนอมเอาไว้ปลอดภัยกว่า    ส่วนเรื่องอื่นๆก็คอยจังหวะให้ดี มันคงจะมาถึงในสักวันหนึ่ง

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 185  เมื่อ 07 เม.ย. 11, 19:25

หลังสงครามโลกสิ้นสุดลง   กัมพูชาเริ่มเข้าสู่ระบอบการปกครองสมัยใหม่ คล้ายๆประชาธิปไตย   คือปี ค.ศ. 1947 มีการตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญและประกาศใช้รัฐธรรมนูญ    ที่ว่าคล้ายก็คือพระเจ้าสีหนุก็ยังเป็นพระเจ้าแผ่นดินเขมรต่อไป   พร้อมกับรวบอำนาจในการบริหารมาไว้ในกำมือได้อีกด้วย
ด้วยวิธีเหยียบเรือสองแคม คือเหยียบทั้งระบบรัฐสภา และระบบราชาธิปไตย   ทำให้ในปีค.ศ. 1950 พระเจ้าสีหนุ ก็ทรงได้อำนาจสูงสุดทั้งสองแบบ คือนั่งเก้าอี้นายกรัฐมนตรีของประเทศควบไปกับนั่งบัลลังก์กษัตริย์  
อย่างไรก็ตาม  การปกครองแบบนี้อาจเป็นที่ไม่ถูกใจนักการเมืองเขมรนัก   จึงปรากฏผลว่าเมื่อมีเลือกตั้ง ในปี ค.ศ. 1951 เกิดผิดคาด พรรคประชาธิปไตยของเขมรได้รับคะแนนเสียงข้างมาก กลายเป็นรัฐบาล    อำนาจไปอยู่ในมือนักการเมือง แทนที่จะอยู่กับพระเจ้าสีหนุ

พระเจ้าสีหนุหันไปขอความร่วมมือจากมิตรเก่าคือฝรั่งเศส ปีต่อมาคือ 1952 พระองค์ก็ประกาศยุบสมัชชาแห่งชาติในพนมเปญซึ่งอยู่ภายใต้พรรคประชาธิปไตยลง   เท่านั้นยังไม่พอ  ทรงประกาศใช้กฎอัยการศึก  และยึดอำนาจกลับมาไว้ในมือโดยตรง   นักการเมืองเขมรก็ตกงานไปตามๆกัน  

อย่างไรก็ตาม  อย่างที่บอกแล้วว่า ไม่มีมิตรแท้และศัตรูถาวร   ทั้งๆฝรั่งเศสหนุนหลังพระองค์ให้กลับมามีอำนาจเบ็ดเสร็จอีกครั้ง  พระเจ้าสีหนุก็มองเห็นการเมืองระหว่างประเทศว่าฝรั่งเศสกำลังสะบักสะบอมจากทำสงครามกู้ชาติกับเวียตนาม ที่เดียนเบียนฟู
ถือว่าเป็นการสิ้นสุดของยุคอาณานิคม    ฝรั่งไม่สามารถครอบงำอินโดจีนได้อีกต่อไปอย่างเมื่อก่อน    
สิ่งที่พระเจ้าสีหนุใฝ่ฝันคือพาประเทศให้รอดพ้นจากการอยู่ใต้อำนาจของประเทศอื่น ก็ฉายแววขึ้นมาว่าจะเป็นจริง   พระองค์ก็ทรงรุกหนักขึ้นมาทันที     เรียกร้องเอกราชให้กัมพูชา ด้วยวิธีการต่างๆ   ได้ผลไม่ได้ผลก็ทรงเรียกร้องอย่างหนัก ไม่มีการย่อท้อ

ในที่สุด ก็ได้ผล   กัมพูชาได้รับอิสรภาพเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน ค.ศ. 1953   พระองค์จึงทรงได้รับคะแนนนิยมจากประชาชนอย่างสูงสุดในฐานะวีรบุรุษผู้ประกาศเอกราชให้กัมพูชา

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 186  เมื่อ 07 เม.ย. 11, 20:43

    ถ้าจะถามว่าดาราที่ครองพื้นที่บนเวทีการเมืองเขมร นอกจากพระเจ้าสีหนุแล้วมีใครอีก    ก็จะได้คำตอบว่ามี ๒ คน ซึ่งต่อมามีบทบาทแถวหน้าในประวัติศาสตร์การเมืองเขมรทั้งคู่
    คนแรกชื่อนายซัน ง็อก ทันห์  (Son Ngoc Thanh)คนเขมรที่เกิดในเวียตนาม และต่อมาได้ไปศึกษากฎหมายที่ปารีส   กลับมาทำงานในกัมพูชา   เขาเป็นแอ็คติวิสต์   ต่อต้านฝรั่งเศส  ต่อมาก็เป็นเจ้าของหนังสือพิมพ์หัวเอียงญี่ปุ่น   เมื่อญี่ปุ่นบุกกัมพูชาก็ตั้งเขาขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรี    นายซัน ง็อก ทันห์ มีนโยบายเรียกร้องเอกราชอย่างเปิดเผย    พระเจ้าสีหนุก็ทรงเห็นด้วยในข้อนี้  
    แต่เมื่อสงครามโลกจบด้วยความพ่ายแพ้ของญี่ปุ่น    ซัน ง็อก ทันห์ จึงกลายเป็นเชลยร่วมกับญี่ปุ่น  ถูกจับและถูกเนรเทศออกนอกประเทศ    พรรคพวกของเขาก็หนีไปอยู่ที่จังหวัดพระตะบอง และเสียมราฐ   แล้วร่วมมือกันตั้งพรรคการเมืองขึ้นใหม่ ในนาม พรรคประชาธิปไตย (The Democratic Party)
    อย่างที่บอกไว้ในค.ห.ข้างบนนี้ว่าพระเจ้าสีหนุกลับลำ ยอมเซ็นสัญญาให้ฝรั่งเศสดูแลนโยบายด้านต่างประเทศของกัมพูชาต่อไป ทำให้ชาวกัมพูชาจำนวนมากไม่พอใจ
    นาย ซัน ง็อก ทันห์ ได้รับอิสรภาพเมื่อค.ศ. 1951 เขาก็คืนกลับเมืองมาสมัครเป็นส.ส.  กลายมาเป็นความหวังใหม่ของประชาชน  พรรคประชาธิปไตยจึงได้คะแนนข้างมาก กลายมาเป็นเสี้ยนหนามชิ้นใหญ่    พระเจ้าสีหนุจึงยุบสภา กวาดล้างการเมืองเสียเรียบ     โดยมีฝรั่งเศสหนุนหลังให้พระองค์ครองอำนาจแบบเบ็ดเสร็จ      ทำให้นักศึกษากัมพูชาหัวรุนแรง ที่อยู่ในฝรั่งเศส โกรธแค้นมากจนถึงขั้นแสดงออกอย่างเปิดเผยว่าแอนตี้เจ้า
      หนึ่งในนั้นคือ พอล พต ผู้นำเขมรแดง (Khmer Rouge) เขาเขียนโจมดีระบบศักดินาในกัมพูชาอย่างรุนแรง จนถูกงดทุนการศึกษา  กลับกัมพูชาในปีต่อมา ทั้ง ๆ ที่เรียนค้างอยู่

ซัน ง็อก ทันห์ หน้าตาเป็นอย่างนี้

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 187  เมื่อ 07 เม.ย. 11, 20:45

ส่วนนักศึกษาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ที่ปารีส ชื่อ พอล พต  หน้าตาเป็นอย่างนี้

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 188  เมื่อ 07 เม.ย. 11, 21:26

บทบาทของนศ.เขมรในฝรั่งเศสนั้นไม่เบาเลยตั้งแต่แรก   เมื่อพระเจ้าสีหนุประกาศยุบสมัชชาแห่งชาติ และรวบอำนาจกลับเข้าพระองค์เอง   กลุ่มปัญญาชนปารีสก็ออกโรงต่อต้านทันที   ออกแถลงการณ์วันที่ 6 กรกฎาคม ประณามการกระทำของพระองค์และเรียกร้องถึงขั้นให้สละราชสมบัติ
พอล พต เขียนบทความชื่อ “ราชาธิปไตยหรือประชาธิปไตย?” (Monachy or Democracy?) ลงในนิตยสารสำหรับนักศึกษาชาวกัมพูชา ฉบับพิเศษ  โจมตีพระเจ้าสีหนุ    พวกนี้ก็เลยโดนเรียกกลับประเทศ และฝรั่งเศสสั่งปิดสมาคมนักศึกษาเขมรในปีต่อมา

แต่นศ.พวกนี้ก็ไม่ยอมแพ้  ไม่กี่ปีต่อมา ฮู ยวน และเขียว สัมพันธ์ (ผู้นำเขมรแดงอีกคนหนึ่ง)ก็ก่อตั้งกลุ่มใหม่ขึ้นมา ใช้ชื่อว่า “สหภาพนักศึกษาเขมร” (Khmer Students' Union) แนวความคิดมุ่งไปทางด้านมาร์กซิสม์
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 189  เมื่อ 08 เม.ย. 11, 08:50

ปล่อยให้เจ้าสีหนุท่านพักสักครู่
ผมขอสลับฉากไปเรื่องลครใหม่

ครูบาอาจารย์ของผมเคยกล่าวให้ฟังว่า “ศิลปะเป็นของไหลได้” งานที่ดีๆจึงมักจะถูกหยิบยืมไปใช้ ในลักษณะของการต่อยอดบ้างการเลียนแบบบ้าง ไม่ใช่เรื่องแปลก แต่เป็นเรื่องที่ต้องทำใจ

ลองดูปฎิมากรรมโบราณของอินเดีย ที่ไหลไปเป็นเขมร
(แต่รูปตัวอย่างศิลปวัตถุเขมรข้างล่างอาจดูปลอมๆไปหน่อยนะครับ)



บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 190  เมื่อ 08 เม.ย. 11, 08:57

นาฏศิลป์อินเดีย ที่กลายเป็นนาฏศิลป์เขมร





คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 191  เมื่อ 08 เม.ย. 11, 09:04

ระบำเนียงอัปสราของเขมร จึงกลายมาเป็นระบำนางอัปสรของไทย ด้วยลักษณาการข้างต้น
ที่เอามาให้ชมนี้ ไม่ได้ต้องการจะวิจารณ์ แต่เอามาให้ดูเป็นตัวอย่างเพื่อประกอบคำกล่าวครูบาอาจารย์ของผม

แรกเริ่มเลย ก็โดยกรมศิลปากรแหละครับ

ระบำลพบุรี เป็นระบำโบราณคดีเพลงหนึ่ง เกิดขึ้นโดยเลียนแบบลักษณะท่าทางของเทวรูป ภาพเขียน ภาพแกะสลัก รูปปั้น รูปหล่อโลหะและภาพศิลาจำหลัก-ทับหลังประตู ตามโบราณสถาน ที่ขุดพบในสมัยลพบุรี ระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๖-๑๙ ศิลปวัตถุโบราณประเภทนี้อยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น ปราสาทหินพิมาย ในจังหวัดนครราชสีมาพระปรางค์สามยอดลพบุรี แล้วนำมากำหนดยุดสมัยตามความเก่าแก่ของโบราณสถานและโบราณวัตถุ แล้วมาสร้างเป็นระบำสมัยนั้นขึ้น ลีลาท่าทางของศิลปวัตถุเป็นภาพนิ่ง(ท่าตาย) เหมาะเป็นท่าเทวรูปมากกว่า เมื่ออาศัยหลักทางด้านนาฎศิลป์เข้ามาดัดแปลงเป็นท่ารำ ทำให้มีความอ่อนช้อย สวยงาม ผู้ประดิษฐ์ท่ารำ คือ ครูลมุล ยมะคุปต์ ร่วมด้วยครูเฉลย ศุขะวณิช ผู้เชี่ยวชาญนาฎศิลป์ไทย กรมศิลปากร

รายละเอียด โปรดตามดูในเวป

http://sites.google.com/site/ajanthus/raba-borankhdi/raba-lphburi



บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 192  เมื่อ 08 เม.ย. 11, 09:09

และต่อมาก็บรรดาวิทยาลัยนาฏศิลป์ต่างๆแถวอิสาน ก็เสริมจินตนาการท้องถิ่นเข้าไปอีก




บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 193  เมื่อ 08 เม.ย. 11, 09:16

ครูบาอาจารย์ของผมเคยกล่าวให้ฟังว่า “ศิลปะเป็นของไหลได้” งานที่ดีๆจึงมักจะถูกหยิบยืมไปใช้ ในลักษณะของการต่อยอดบ้างการเลียนแบบบ้าง ไม่ใช่เรื่องแปลก แต่เป็นเรื่องที่ต้องทำใจ

เรื่องนี้จริงแท้แน่นอน

จากเขมรไหลสูสุรินทร์



ไหลสู่มหาสารคาม



จนถึงสระแก้ว



 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 194  เมื่อ 08 เม.ย. 11, 09:17

นี่นางอัปสรของไทยคนนี้ ปางอะไรไม่แจ้ง แต่เล่นเอาเนียงอัปสราจืดไปเลย


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 11 12 [13] 14 15 ... 26
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.088 วินาที กับ 20 คำสั่ง