เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 9 10 [11] 12 13 ... 26
  พิมพ์  
อ่าน: 167582 ละครในราชสำนักสยามไปสู่ราชสำนักเขมร
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 150  เมื่อ 04 เม.ย. 11, 21:27

คลิปนี้พูดถึงสยามนิดหน่อย   ว่านาฏศิลป์ของเขมรมีมานับพันปีแล้ว  ใน(คริสต)ศตวรรษที่ 15   บวก 543 ปีเข้าไป ก็ประมาณ พ.ศ. 2100 กว่าๆ    สยามไปตีเขมรแล้วกวาดต้อนผู้คนเขามา   แต่ศิลปการร่ายรำของเขมรก็ยังเหลืออยู่ในเขมร
แล้วข้ามมาถึงรัชกาลพระเจ้าสีสวัสดิ์  ที่นำศิลปะไปแสดงที่ปารีส      ไม่ได้เอ่ยถึงการถ่ายทอดวัฒนธรรมจากไทยไปกัมพูชา

http://www.youtube.com/watch?v=csRRi_RIx5s&feature=player_embedded#at=74

แน่นอนครับ ในลักษณะประเพณีร่ายรำ นาฏศิลป์ ชาวกัมพูชาย่อมรักและหวงแหนและต้องการถือเป็นเอก ไม่รองใคร ไม่ต้องการพูดถึงว่าได้รับอิทธิพลจากใคร จริงไหมครับผม ทั้งนี้ยังมีประเพณีและวัฒนธรรมต่างๆ ที่ทั้งไทย และกัมพูชา ต่างมีวัฒนธรรมที่ร่วมกัน ต่างถือการที่เป็นเบอร์ ๑ ซึ่งมีหลายกรณีที่ขัดแย้งกันเสมอ ใครไวกว่า ออกตัวประชาสัมพันธ์ก่อนย่อมทำให้คนได้รู้จักก่อน
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 151  เมื่อ 05 เม.ย. 11, 08:37

เรื่องที่ได้สนทนาในเวลาดูละครวันนี้ ตรัสถามว่าละครอย่างนี้ในกรุงเทพฯ ยังเล่นกันมากอยู่หรือ ทูลตอบว่ามิใคร่จะมีแล้ว ยังมีละครผู้หญิงโรงใหญ่อยู่แต่ละครเจ้าคุณพระประยุรวงศ์โรงเดียว นอกจากนั้นก็มีตัวละครอยู่ที่นั่นบ้างที่นี่บ้าง ถ้าจะเล่นต้องรวบรวม เพราะในสมัยนี้คนเล่นละครมักแก้ไขไปเป็นละครร้องบ้าง เป็นลิเกบ้าง ตรัสว่าในส่วนพระองค์เป็นคนเก่า ละครอย่างอื่นไม่ชอบ ชอบแต่ละครอย่างโบราณที่เล่นอย่างนี้ ที่ในกรุงกัมพูชาต่อไปข้างหน้าละครอย่างนี้ก็น่ากลัวสูญ ด้วยคนสมัยใหม่เราไม่ใคร่ชอบดู

ละครอย่างที่สมเด็จพระศรีสวัสดิ์ทรงโปรด ก็น่าจะคงรักษาอยู่ไว้ได้ โปรดเฉพาะนาฏศิลป์การร้องรำ และท่าจะรุ่งเสียด้วย


บันทึกการเข้า
nakor
อสุรผัด
*
ตอบ: 25


ความคิดเห็นที่ 152  เมื่อ 05 เม.ย. 11, 08:40



เจ้าหญิง บุบผาเทวี นั้น หากจะอ่านให้ถูกต้อง ต้องอ่าน บบ-พา-เต-วี ครับ

เพราะสระ อุ เจออักษร บ ซึ่งเป็นกลุ่มที่ ๑ จะออกเสียง โอะ, สระ อู เจอ บ ถึงจะออกเสียง โบ

ท ทหาร เขมรจะออกเสียง เตอะ


เจ้าหญิงบุผาเทวีเคยให้สัมภาษณ์ในนิตยสารบนเครื่องบินฉบับหนึ่ง ว่า เมื่อเทียบการรำในภาพสลักแล้ว เขมรโบราณมีการยกแข้งแหกขา แต่ไม่เหมาะสมกับสตรีเขมรในสมัยปัจจุบัน จึงไม่ได้ออกแบบท่ารำอัปสราให้ยกแข้งแหกขาแบบในภาพสลัก


พอมาดูการแสดงรามเกียรติ์ ศึกพรหมมาศ ที่จัดแสดงล่าสุด เห็นการรำเบิกโรงของไทยให้เทวดาถือฟ่อนหางนกยูงออกมา ก็นึกถึงการแสดงของเขมรที่มักจะมีนางรำถือฟ่อนหางนกยูงออกมารำเบิกโรง แต่ในนิราศนครวัดบันทึกว่ารำดอกไม้เงินทอง น่าสนใจตรงนี้นะครับ

ขอบคุณครับสำหรับข้อมูลจำนวนมาก
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 153  เมื่อ 05 เม.ย. 11, 08:46

แล้วตรัสว่าที่ในบางกอกเมื่อครั้งแผ่นดินพระบาทสมเด็จฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้นจะไปข้างไหน ก็ได้ยินแต่เสียงกลองละครดูครึกครื้นไปทั้งพระนคร เดี๋ยวนี้ละครของพระเจ้ากรุงสยามไม่มีดอกหรือ ทูลว่ามีจัดไว้เป็นกรมมหรสพ เล่นได้ทั้งโขนทั้งละคร แต่ว่าเป็นผู้ชายเป็นพื้น สนทนาต่อไปถึงเรื่องละครที่เล่น ได้ความว่าละครหลวงกรุงกัมพูชาเล่นทั้งละครในละครนอก เรื่องที่เล่นก็ชอบเล่นอย่างละครในกรุงเทพฯ ตั้งแต่เรื่องอิเหนาเป็นพื้น จนเรื่องพระอภัยมณีก็เล่น

จนเรื่องพระอภัยมณีก็เล่น

นี่ไงเป็นหลักฐานว่าสุนทรภู่ท่าน "ดัง" มาจนถึงเขมร


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 154  เมื่อ 05 เม.ย. 11, 08:56


พอมาดูการแสดงรามเกียรติ์ ศึกพรหมมาศ ที่จัดแสดงล่าสุด เห็นการรำเบิกโรงของไทยให้เทวดาถือฟ่อนหางนกยูงออกมา ก็นึกถึงการแสดงของเขมรที่มักจะมีนางรำถือฟ่อนหางนกยูงออกมารำเบิกโรง แต่ในนิราศนครวัดบันทึกว่ารำดอกไม้เงินทอง น่าสนใจตรงนี้นะครับ

ขอบคุณครับสำหรับข้อมูลจำนวนมาก



รำกิ่งไม้เงินทอง เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๔ ครับ

การรำกิ่งไม้เงินทองเป็นการแสดงเบิกโรงของละครในชุดหนึ่งที่เกิดขึ้นจากพระรามประสงค์ในราชกาลที่ ๔ ที่ทรงพระกรุณโปรดเกล้าให้ละครหลวงในสมัยนั้นฝึกหัดขึ้น และใช้แสดงในงานอันเป็นมงคลต่างๆ โดยในแล้วคงจะได้รับเครื่องราชบรรณาการดอกไม้เงินทองจากประเทศต่างๆ ส่งมาทูลเกล้า ฯ ถวายไว้เป็นอันมาก จึงโปรดให้พวกละครหลวงถือดอกไม้เงินทองรำเบิกโรงรำเบิกโรงแทนการถือหางนกยุงแบบการรำบรรเลง และยังทรงพระราชนิพนธ์บทขับร้องรำดอกไม้เงินทองขึ้น ซึ่งเดิมการรำบรรเลงไม่มีบทร้อง ผู้แสดงร่ายรำตามทำนองเพลงหน้าพากย์เท่านั้น ในเวลาเดียวกันนี้ก็ทรงพระราชนิพนธ์บทขับร้องรำฉุยฉายกิ่งไม้เงินทองให้ตัวละครฝ่ายนาง ๒ คน ออกมารำฉุยฉายเบิกโรงละครในด้วย ในสมัยโบราณก่อนแสดงละครในจะต้องมีการรำเบิกโรงละครก่อนแล้วจึงแสดงละครในเป็นเรื่องเป็นราว ต่อไปการรำเบิกโรงละครในอย่างแรกคือ รำบรรเลง ต่อมาในสมัยราชกาลอื่น ทรงเปลี่ยนการแสดงเบิกโรง ละครในชุดประเลงมาเป็นรำดอกไม้เงินทอง และรำฉุยฉายกิ่งไม้เงินทอง ในสมัยนั้นละครในทุกโรงจะต้องแสดงเบิกโรงชุดรำดอกไม้เงินทอง และรำฉุยฉายกิ่งไม้เงินทองทุกครั้ง ก่อนจะแสดงละครใน


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 155  เมื่อ 05 เม.ย. 11, 08:58

ก่อนเสด็จกลับยังได้พบกับคนไทยที่เคยเป็นครูละครหรือพนักงานในวังที่กรุงเทพฯ มาอาศัยในกัมพูชา ๓๐-๔๐ ปี ทรงเคยรู้จักหรือคุ้นเคยอยู่บ้าง

มีคนจำนวนหนึ่งคือผู้หญิงไทยชาวกรุงเทพฯ ที่ออกมาเป็นครูละครหรือเป็นพนักงานอยู่ในวังแต่ครั้งสมเด็จพระนโรดม ซึ่งเราได้เคยรู้จักเมื่อเขาอยู่ในกรุงเทพฯ บ้าง ไม่รู้จักบ้าง พากันมาหลายคน มีนายโรงปริงตัวอิเหนาของเจ้าคุณจอมมารดาเอม ในกรมพระราชังบวรฯ เป็นต้น ออกมาอยู่กรุงกัมพูชา ได้เป็นหม่อมสมเด็จพระนโรดม เปลี่ยนชื่อว่าหม่้อมเหลียง พวกเหล่านี้ถึงแม้คนที่เคยรู้จักอยู่แต่ก่อน ก็จำไม่ได้เกือบทั้งนั้น ด้วยมาอยู่เมืองเขมรเสียตั้ง ๓๐-๔๐ ปี จนหัวหงอกฟันหัก แรกพบรู้ว่าเป็นไทยแต่ด้วยน้ำเสียง ต้องถามนามและโคตรจึงได้รู้ว่าเป็นใครต่อใคร พวกเหล่านี้มักยังมีความขวยเขินในข้อที่ทิ้งบ้านเมืองมา พอใจจะชี้แจงเหตุแก่เรา โดยอ้างว่ายากจนเป็นต้น ต้องตอบตัดความเสียว่าเกิดมาเป็นมนุษย์ย่อมรักสุขชังทุกข์เป็นธรรมดา จะอยู่เมืองไทยหรือเมืองเขมรที่ไหนเป็นสุขก็ควรอยู่ที่นั่น สำคัญแต่อย่าทำความชั่วให้เขาติเตียนขึ้นชื่อได้ว่าไทยเลวทราม ได้ไต่ถามถึงที่ออกมาอยู่ได้ความว่าที่เป็นครูละครครั้งสมเด็จพระนโรดมนั้น สมเด็จพระศรีสวัสดิ์ชุบเลี้ยงให้เป็นครูละครต่อมาได้รับเงินเดือนตั้งแต่ ๒๐ เหรียญ ลงมาจน ๒๑ เหรียญ ดูก็ควรจะมีความสุข



บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 156  เมื่อ 05 เม.ย. 11, 09:01

ประเลง เป็นชื่อเรียกการรำเบิกโรงอย่างหนึ่งของละครในซึ่งมีมาแต่โบราณ ผู้แสดงแต่งกายยืนเครื่องพระ 2 คน สวมหัวเทวดาไม่มียอด เหตุที่ใช้ผู้แสดงแต่งกายยืนเครื่องพระเนื่องจาก ในการแสดงครั้งหนึ่งๆจะมีผู้แสดงที่แต่งกายยืนเครื่องพระอยู่แล้ว การแสดงเบิกโรงเพื่อความเป็นสิริมงคลนั้น นิยมใช้ตัวพระเป็นผู้รำ โดยให้สวมหัวเทวดาไม่มียอดปิดหน้าทั้งหมด เพื่อมิให้ผู้ชมเห็นว่าแสดงซ้ำกัน คือ นอกจากเป็นผู้รำประเลงแล้ว ยังแสดงเป็นตัวละครในเรื่องอีกนั่นเอง ตัวนายโรงทั้ง 2 คนที่รำประเลง จะต้องถือหางนกยูงทั้งสองมือออกมาร่ายรำตามทำนองเพลง โดยไม่มีบทร้อง ส่วนเพลงหน้าพาทย์ประกอบการรำประเลง บางท่านก็ใช้เพลงกลม บ้างก็ใช้เพลงโคมเวียน แล้วออกด้วยเพลงตระบองกัน

การรำประเลงเบิกโรงเป็นการสมมุติว่าเทวดาลงมารำ เพื่อให้เกิดสวัสดิมงคล และปัดรังควานป้องกันเสนียดจัญไร ที่มาของการรำประเลงนั้น ท่านผู้รู้เล่ากันว่า แต่เดิมก่อนการแสดงละคร จะมีผู้ถือไม้กวาดออกมาปัดกวาด ทำความสะอาดโรงละครเสียก่อน ผู้ที่ออกมาปัดกวาดเหล่านี้มักจะเป็นศิลปิน เวลาปัดกวาดก็คงทำท่าอย่างรำละครไปด้วย ครูบาอาจารย์ทางนาฏศิลปไทยก็เลยคิดประดิษฐ์เป็นท่ารำ แล้วให้ผู้แสดงถือหางนกยูงแทนการถือไม้กวาด ออกมาร่ายรำในเชิงความหมายปัดรังควาน


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 157  เมื่อ 05 เม.ย. 11, 09:26


เจ้าหญิงบุผาเทวีเคยให้สัมภาษณ์ในนิตยสารบนเครื่องบินฉบับหนึ่ง ว่า เมื่อเทียบการรำในภาพสลักแล้ว เขมรโบราณมีการยกแข้งแหกขา แต่ไม่เหมาะสมกับสตรีเขมรในสมัยปัจจุบัน จึงไม่ได้ออกแบบท่ารำอัปสราให้ยกแข้งแหกขาแบบในภาพสลัก

ขออนุญาตตั้งข้อสังเกต

ระบำนางอัปสร (รำอัปสรา?)
สังเกตว่านางรำของเขมรยกเท้าสูงมาก   ท่ารำของไทยแต่เดิมเป็นอย่างนี้หรือ?

ท่ายกแข้งยกขาสูงนี้ น่าจะเป็นท่าดั้งเดิมของเขมร สังเกตจากท่าร่ายรำที่ปรากฏในรูปสลัก



ท่าอย่างข้างบนนี้ จะเรียกว่า "ยกแข้งแหกขา" ก็น่าจะได้

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 158  เมื่อ 05 เม.ย. 11, 09:56


พอมาดูการแสดงรามเกียรติ์ ศึกพรหมมาศ ที่จัดแสดงล่าสุด เห็นการรำเบิกโรงของไทยให้เทวดาถือฟ่อนหางนกยูงออกมา ก็นึกถึงการแสดงของเขมรที่มักจะมีนางรำถือฟ่อนหางนกยูงออกมารำเบิกโรง แต่ในนิราศนครวัดบันทึกว่ารำดอกไม้เงินทอง น่าสนใจตรงนี้นะครับ

ก่อนที่จะแสดงละครใน จะต้องมีการแสดงชุดเบิกโรงเสียก่อน โดยผู้แสดงละครใน ๒ คน แต่งกายยืนเครื่องพระ สวมหัวเทวดาโล้น สองมือกำหางนกยูง (หัวเทวดาที่ไม่มีมงกุฏ) ออกมารำเบิกโรง เรียกว่า รำประเลง จนถึงสมัยรัชกาลที่ ๔ ทรงคิดประดิษฐ์ดอกไม้เงิน ดอกไม้ทอง โดยเอาแบบมาจากเครื่องราชบรรณาการ เป็นอุปกรณ์สำหรับใช้ในการรำเบิกโรง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนแปลงการแสดงรำเบิกโรงละครในจากชุด รำประเลง มาเป็น รำดอกไม้เงิน ดอกไม้ทอง โดยใช้ผู้แสดงละครใน ๒ คน แต่งกายยืนเครื่องพระ สวมชฏาแทนสวมหัวเทวดาโล้น สองมือถือดอกไม้เงินดอกไม้ทองแทนหางนกยูง แล้วทรงพระราชนิพนธ์บทขับร้องประกอบการรำดอกไม้เงินดอกไม้ทองขึ้นใหม่

เมื่อนั้น                                ไทท้าวเทพบุตรบุรุษสอง
สองมือถือดอกไม้เงินทอง          ป้องหน้าออกมาว่าจะรำ
เบิกโรงละครในให้ประหลาด       มีวิลาศน่าชมคมขำ
ท่าก็งามตามครูดูแม่นยำ           เปนแต่ทำอย่างใหม่มิใช่ฟ้อน
หางนกยูงอย่างเก่าเขาเล่นมาก   ไม่เห็นหลากจืดตามาแต่ก่อน
คงแต่ท่าไว้ให้งามตามละคร       ที่แต่งตนก้นไม่งอนตามโบราณ
รำไปให้เห็นเปนเกียรติยศ         ปรากฏทุกตำแหน่งแหล่งสถาน
ว่าพวกฟ้อนฝ่ายในใช้ราชการ     สำหรับพระภูบาลสำราญรมย์
ย่อมช่วงใช้ดอกไม้เงินทอง       ไม่เหมือนของเขาอื่นมีถื่นถม
ถึงผิดอย่างไปใครจะไม่ชม        ก็ควรนิยมว่าเปนมงคลเอย


 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 159  เมื่อ 05 เม.ย. 11, 11:39

คงแต่ท่าไว้ให้งามตามละคร       ที่แต่งตนก้นไม่งอนตามโบราณ


ก้นไม่งอน ทรงหมายถึง ละครคณะพระองค์ตุ้ย (พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงดวงประภา) พระธิดาของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งละครคณะนี้รำก้นงอนแตกต่างจากคณะอื่น และพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร ได้เคยถามคุณท้าววรจันทร์ (เจ้าจอมมารดาวาด ในรัชกาลที่ ๔ ) ท่านก็กล่าวรับรองไว้ว่าเป็นความจริง

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
nakor
อสุรผัด
*
ตอบ: 25


ความคิดเห็นที่ 160  เมื่อ 06 เม.ย. 11, 11:01

จริงด้วยครับ อาจารย์ แบบนี้ก็ยกแข้งแหกขา
แต่เจ้าหญิงบุบผาเทวีคงหมายถึงแหกด้านหน้า แล้วยกเข่าสูง ตามภาพสลักจากปราสาทบายน และข้อความในหนังสือนิตยสารเล่มนั้นเป็นภาษาอังกฤษ ใช้คำว่าอะไรลืมไปแล้วครับ "ยกแข้งแหกขา" เป็นภาษาของผมเอง แต่ถ้าหากค้นนิตยสารบนเครื่องบินฉบับนั้นเจอจะเอามาลงอีกทีครับ

  
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 161  เมื่อ 06 เม.ย. 11, 20:06

ผมขอออกโรงสลับฉากอีกครั้งหนึ่ง
ขอต่อด้วยประวัติศาสตร์เขมรอันเกี่ยวเนื่องกับหัวข้อของกระทู้นี้

เมื่อสมเด็จพระศรีสวัสดิ์เสด็จสวรรคต พระโอรสได้ขึ้นสืบราชสมบัติทรงพระนามว่า สมเด็จพระสีสุวัตถิ์ มุนีวงศ์ หรือศรีสวัสดิ์ มุนีวงศ์ พระนามที่คล้ายกับพระราชบิดานี้แหละที่ทำเอาผมสับสนเรื่องนางสาวแพน นางลครไทยที่มีวาสนาได้ไปเป็นเจ้าจอมกษัตริย์เขมร ก็เป็นรัชสมัยของพระองค์นี้ ไม่ใช่องค์พระราชบิดาที่ผมเขียนไปก่อนหน้า

วิกิ้ เขียนถึงกษัตริย์พระองค์ใหม่ว่า


พระบาทสมเด็จพระสีสุวัตถิ์ มุนีวงศ์ ทรงโปรดและพอพระราชหฤทัยที่จะถูกห้อมล้อมด้วยพระชายาและพระสนมจำนวนมากมาย รวมถึงนางรำด้วย โดยพระองค์มีพระสนมที่เป็นนางรำชาวไทยหนึ่งพระองค์ คือ นางสาวแพน เรืองนนท์ ภายหลังถูกตั้งเป็นเจ้าจอมสีสุวัตถิ์ อำไพพงศ์ (Chao Chom Srivasti Amphaibongse) ต่อมาเธอได้ถูกออกจากราชสำนัก โดยทางกงสุลฝรั่งเศสในไทยได้ออกแถลงการณ์ฉบับที่ 2 ความว่า "กษัตริย์สีสุวัตถิ์ มุนีวงศ์ แห่งกัมพูชา ทรงไม่พอพระพระทัยและปฏิเสธข้อมูลที่คลาดเคลื่อนและไร้สาระจากการให้สัมภาษณ์ของบิดาของนางสาวแพน จึงทรงบัญชาให้ส่งตัวนางสาวแพนกลับกรุงเทพโดยทันที" โดยนางสาวแพนได้กลับมาในวันรุ่งขึ้น และไม่มีโอกาสได้กลับไปยังราชสำนักกัมพูชาอีกเลย


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 162  เมื่อ 06 เม.ย. 11, 20:12

หลังจากสมเด็จพระศรีสวัสดิ์ มุนีวงศ์ เสด็จสวรรคตเมื่อปี พ.ศ. 2484  ตอนนั้นฐานะของฝรั่งเศสทำท่าจะง่อนแง่นเพราะถูกกองทัพนาซีเข้ายึดครองปารีส สยามในขณะนั้นก็ได้โอกาส ยกกองทัพเข้ายึดครองสามจังหวัดของเขมรที่เคยเป็นของสยามมาก่อน ภายใต้ความรู้เห็นเป็นใจของญี่ปุ่น มหาอำนาจตัวจริงของภูมิภาค รัฐบาลอาณานิคมของฝรั่งเศสจึงต้องสวมวิญญาณกิ้งก่า เปลี่ยนสีให้กลมกลืนเข้ากับความประสงค์ของญี่ปุ่นเพื่อความอยู่รอด ขณะนั้นพระราชโอรสของกษัตริย์ในพระบรมโกศที่ทรงมีวุฒิภาวะเป็นผู้ใหญ่แล้ว อาจจะมีการแสดงออกอย่างใดที่จะเอาใจออกห่างจากฝรั่งเศสไปบ้างมั้ง รัฐบาลวีซีของฝรั่งเศสจึงสั่งให้ข้ามพระองค์ไป ไม่ให้ขึ้นเป็นกษัตริย์สืบต่อพระราชบิดา  แล้วชี้นิ้วไปที่นักองสีหนุ สายราชสกุลนโรดมของนักองราชาวดี พระชนม์เพียง๑๙ชนษา น่าจะว่านอนสอนง่ายกว่า และพระราชมารดาของนักองสีหนุ พระนางกุสุมะก็เป็นราชสกุลสีสุวัติด้วย จึงน่าทำให้ไร้ปัญหาด้วยประการทั้งปวง

นักองสีหนุเลยส้มหล่น ได้ขึ้นครองราชย์ทรงพระนามว่าสมเด็จพระนโรดมสีหนุ (ความจริงพระนามเต็มยาวกว่านี้มาก)



บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 163  เมื่อ 06 เม.ย. 11, 20:19

พระราชชนนีกุสุมะ พระราชธิดาของสมเด็จพระศรีสวัสดิ์ แม้จะมิได้ทรงเป็นละครแต่ก็โปรดปรานการละครเป็นอย่างยิ่ง ในช่วงตกต่ำสมัยรัชกาลก่อนๆ ก็ทรงเป็นองค์อุปถัมภ์ค้ำชูให้ละครพระราชทรัพย์ยังคงอยู่ โดยพยายามรักษามาตรฐานให้อยู่ในระดับอันเป็นที่ยอมรับของสังคมเขมรชั้นสูง




บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 164  เมื่อ 06 เม.ย. 11, 20:24

ภาพละครเขมรในสมัยรุ่งเรือง





บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 9 10 [11] 12 13 ... 26
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.081 วินาที กับ 20 คำสั่ง