เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 8 9 [10] 11 12 ... 26
  พิมพ์  
อ่าน: 167598 ละครในราชสำนักสยามไปสู่ราชสำนักเขมร
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 135  เมื่อ 04 เม.ย. 11, 09:49

เกี่ยวกับลิเกเขมร  คุณเทาชมพูคงจะสนใจ

ขันอยู่ที่ลิเก เมื่อเราผ่านไป เห็นตัวแขกรดน้ำมนต์ออกเต้นอยู่ เราอดปากไม่ได้ว่า "นี่เอาอย่างมาจากบางกอก" พวกฝรั่งบางคนที่เข้าใจภาษาไทย เถียงว่าพวกที่เล่นนั้นเป็นแขกจาม ลิเกเป็นการเล่นของแขก เราต้องเถียงยืนยันว่า คนที่เล่นจะเป็นแขกหรือเป็นฝรั่งก็ตาม แต่ลิเกอย่างที่เล่นนั้นได้แบบมาแต่เมืองไทยเป็นแน่ เราได้เคยเห็นตั้งแต่แรกลิเกเกิดด้วยตาตัวเอง จะเชื่อว่าเป็นอย่างอื่นอย่างไรได้

ทรงเล่าถึงละครชาวบ้านเขมรต่อ

ละครนั้นก็น่าดู ว่าไปหามาจากเกาะแห่งหนึ่งในลำน้ำโขง มีผู้หญิงตัวละครสัก ๑๐ คน กับปี่พาทย์เครื่องคู่สำรับหนึ่ง ละครแต่งตัวอย่างบ้่านนอก แต่แต่งตามแบบละครหลวงกรุงกัมพูชา กระบวนเล่นเห็นรำแต่เพลงช้ากับเพลงไว แต่มีเพลงจีนรำพัดได้ เห็นมีหนังสือบทมาวางไว้ขอเอามาเปิดอ่านดู เป็นหนังสือขอมขึ้นต้นว่า "กาลเนาะโฉมเจ้าไกรทองพงศา" ก็รู้ได้ว่าเอาบทละครไทยไปแปลงนั้นเอง

นายไกรเดินทางจากเมืองนนท์ ไปพิจิตร แล้วยังไปแวะที่เขมรด้วย

 ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 136  เมื่อ 04 เม.ย. 11, 09:56

ละครหลวงเรื่อง "พระสมุท"

มีโปรแกรมพิมพ์ทั้งภาษาฝรั่งเศสและภาษาเขมร ว่าละครหลวงจะเล่าเรื่องพระสมุท เป็นภาษาไทยประทานเป็นเกียรติแก่เรา กระบวนที่เล่นนั้นตั้งต้นมีเทพบุตรออกรำดอกไม้เงินทองสี่คู่เบิกโรงก่อน แล้วตัวพระสมุทจึงออก จับเล่นตั้งแต่พระสมุทอยู่ในสวนนางบุษมาลีไปชมสวน พระสมุทลักนางบุษมาลีพาหนีไป ท้าวรณจักรยกทัพตาม ในโปรแกรมจะเล่นไปจนรณจักรตาย และพระสมุทกลับเข้าเมือง


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 137  เมื่อ 04 เม.ย. 11, 10:02

เรื่องต่อไปจะเป็นตำนานละครหลวงกัมพูชา และครูละครที่ไปจากกรุงเทพฯครั้งรัชกาลที่ ๔

ขออนุญาตพักครึ่งเวลา รอสมาชิกมาชมละครกันพร้อมหน้าพร้อมตา

มีข้อวิจารณ์อันใด

ขอเชิญได้

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 138  เมื่อ 04 เม.ย. 11, 10:06

หากใครใจร้อน เข้าไปอ่านหนังสือทั้งเล่มได้ที่นี่

http://www.sac.or.th/databases/siamrarebooks/main/index.php/literature/41-transmitted/215-nirat-nakornwat

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 139  เมื่อ 04 เม.ย. 11, 10:20

เอาภาพสตรีเล่นกระจับปี่ ที่กล่าวถึงไว้ครับ ภาพนี้ผมได้ลิขสิทธิ์มาแล้ว ยังไงหากเก็บไว้ดูคงไม่เป็นไร แต่อย่าได้ทำเพื่อการค้านะครับ


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 140  เมื่อ 04 เม.ย. 11, 11:43

วงมโหรีในราชสำนักเขมร

กระจับปี่อยู่ทางซ้าย  ซอสามสายอยู่ทางขวา ระนาดอยู่ตรงกลาง  มีอะไรอีกบ้างเชิญบรรยาย

 ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 141  เมื่อ 04 เม.ย. 11, 14:33

ตำนานละครหลวงกรุงกัมพูชา

ละครหลวงกรุงกัมพูชานี้ ทรงเรื่องตามตำนานว่าแรกมีขึ้นเมื่อครั้งสมเด็จพระหริรักษ์ ได้ครูไทยมาจากเจ้าพระยาบดินทร์เดชา (สิงห์ สิงหเสนี) หัดเล่นตั้งแต่รัชกาลที่ ๓ กรุงรัตนโกสินทร์ แต่เล่นเป็นอย่างเจ้าต่างกรม ต่อมาสมเด็จพระนโรดมจึงเล่นเอาอย่างละครหลวง

ครั้งรัชกาลที่ ๔ เมื่อสมเด็จพระนโรดมครองกรุงกัมพูชาอยู่นั้น พยายามหาครูกละครมาจากกรุงเทพฯ ได้ใครออกมาก็ยกย่องชุบเลี้ยง ได้ละครตัวดีของเจ้าคุณจอมมารดาเอมบ้าง ละครพระองค์เจ้าดวงประภาบ้าง ละครพระองค์เจ้าสิงหนาทบ้าง และละครโรงอื่น ๆ ก็ได้มาเป็นครูอีกหลายคน ละครหลวงครั้งสมเด็จพระนโรดมเล่นแต่ภาษาไทยอย่างเดียว มาถึงครั้งสมเด็จพระศรีสวัสดิ์ก็โปรดเล่นละคร ได้ละครของสมเด็จพระนโรดมประสมโรงเล่นต่อมาบ้าง หัดขึ้นใหม่บ้าง แต่เล่นทั้งภาษาไทยและภาษาเขมร ได้เคยให้ไปเล่นที่เมืองฝรั่งเศสถึง ๒ ครั้ง โดยปกติเล่นแต่ข้างในพระราชวัง ทอดพระเนตรเองเดือนละครั้งหนึ่งหรือสองครั้ง ออกมาเล่นข้างหน้าให้ชาวต่างประเทศดูแต่งานปีใหม่ หรือเวลามีแขกเมืองบรรดาศักดิ์สูงมาจากต่างประเทศ


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 142  เมื่อ 04 เม.ย. 11, 14:57

กระบวนรำเต้นถึงเทียบกับละครกรุงเทพฯ ที่ควรชมว่าดีก็มี กระบวนร้องและเจรจาเป็นภาษาไทย ที่ชัดเหมือนชาวกรุงเทพฯ ก็มี ที่แปร่งก็มี เครื่องแต่งตัวมีผิดกับละครกรุงเทพฯ แต่บางอย่าง คือมงกุฎสตรี มีแต่กระบังหน้ากับยอดตั้งตรงกลางกระหม่อมสูงโทงเทงดูน่าเกลียด ชฎาทรงก็อยู่ข้างสูงไป ผ้าห่มนางตัวดีห่มสไบเฉียง (ว่าเป็นแบบของสมเด็จพระหริรักษ์) ก็ไม่น่าดู ด้วยต้องปล่อยแขนเปล่าให้แลเห็นรักแร้อยู่ข้างหนึ่ง เครื่องแต่งตัวยักษ์นั้น เจียระบาดทำเป็นชายไหวอย่างรูปปั้น


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 143  เมื่อ 04 เม.ย. 11, 15:08

^
^
ตัวนางบุษมาลีชื่อ นักเมียงมะปรางหวาน



ฟังชื่อแล้วน้ำลายไหล

 ยิ้มกว้างๆ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 144  เมื่อ 04 เม.ย. 11, 19:24

ได้เคยให้ไปเล่นที่เมืองฝรั่งเศสถึง ๒ ครั้ง

๑๐ กรกฎาคม ค.ศ. ๑๙๐๖ แสดงที่สวนสาธารณะ Bois de Boulogne ปารีส


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 145  เมื่อ 04 เม.ย. 11, 19:53

ความเป็นมาของนาฏศิลป์เขมร สยามไม่เกี่ยว  ฮืม



เรื่องนี้เจ้าหญิงบุปผาเทวีเป็นนางเอก

 ยิ้มเท่ห์
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 146  เมื่อ 04 เม.ย. 11, 20:32

๑  เรื่องถกเขมร  เห็นจะไม่เข้ากับจังหวะของกระทู้ในตอนนี้   เลยยังไม่ตัดซอยแยก   เก็บไว้ก่อนนะคะ
๒  เรื่องพระสมุทร   เป็นพระบวรราชนิพนธ์ในกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ   เก็บไปเล่ารายละเอียดในกระทู้กรมพระราชวังบวรฯ ดีกว่า
    ถามตัวเองว่าทำไมเขมรถึงเลือกละครนอกเรื่องนี้ไปเล่น   ในเมื่อคนดูไทยรู้จักกันน้อยมาก      เดาว่า คงเป็นเพราะครูละครที่ไปฝึก เคยเป็นละครหญิงของเจ้าคุณจอมมารดาเอมละมัง
๓  ชื่อเจ้าหญิงบุปผาเทวี   ถือว่าออกเสียงแบบไทย   ในภาษาอังกฤษสะกดจากเสียงเขมรว่า Bopha Devi  ไม่ทราบว่าเขมรออกเสียงอย่างไร    ถ้าภาษาเขมรไม่มีวรรณยุกต์เสียงสูงอย่างที่ม.ร.ว.คึกฤทธิ์เล่าไว้   อาจจะออกเสียงว่า โบพาเดวี
๔  สนใจประวัติของเจ้าหญิงองค์นี้   วิกี้เล่าย่อๆว่าเป็นพระธิดาของพระเจ้านโรดมสีหนุ  พระมารดาชื่อ Neak Moneang Phat Kanthol    (ถอดเป็นเสียงไทยไม่ถูก) 
เคยรู้มาว่าพระเจ้านโรดมสีหนุเคยมีพระชายาเป็นชาวฝรั่งเศส     เข้าใจว่าเป็นพระมารดาของเจ้าหญิงองค์นี้   

ในประวัติบอกว่าเป็นพี่สาวของเจ้านโรดมรณฤทธิ์   และต่างมารดากับพระเจ้านโรดมสีหมุนี   เกิดเมื่อค.ศ. 1943  ปัจจุบันอายุ 68 ปี




บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 147  เมื่อ 04 เม.ย. 11, 20:55

๔  สนใจประวัติของเจ้าหญิงองค์นี้   วิกี้เล่าย่อๆว่าเป็นพระธิดาของพระเจ้านโรดมสีหนุ  พระมารดาชื่อ Neak Moneang Phat Kanthol    (ถอดเป็นเสียงไทยไม่ถูก) 
เคยรู้มาว่าพระเจ้านโรดมสีหนุเคยมีพระชายาเป็นชาวฝรั่งเศส     เข้าใจว่าเป็นพระมารดาของเจ้าหญิงองค์นี้ 
 
Neak Moneang Phat Kanthol   ออกเสียงว่า นัก มนาง พัต กัญญล เป็นนางรำหลวง คงไม่ใช่ชาวฝรั่งเศส

พระชายาลูกครึ่งฝรั่งเศส คือ ควีนโมนิก



 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 148  เมื่อ 04 เม.ย. 11, 21:01

ดูคลิปที่คุณเพ็ญชมพูหามาให้ชมกัน   เจ้าหญิงบุปผาเทวีตอนสาวๆ รำได้ชดช้อย จังหวะจะโคนดี   มองเห็นเค้าของครูละครไทยรุ่นเก่าที่ฝึกตกทอดกันมาในเขมร     
เห็นอะไรคุ้นๆหลายอย่างเช่นเมขลาล่อแก้ว  และคำว่า "เพลงสาธุการ" เปล่งจากปากของครูที่ทำพิธี

โชคดีเจอคลิปรวบรวมรูปถ่ายเก่าๆของนาฏศิลป์เขมร     อาจจะเหมือนกับที่สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ เคยทอดพระเนตร
บางรูปตัวพระตัวนางและตัวลิง  เล่นกันอยู่หน้าปราสาทหิน   ไม่มีเวที ไม่มีเครื่องประกอบ     บางรูปก็แสดงกันในบรรยากาศโอ่อ่าของพระราชวัง 
ทำให้นึกถึงคำบรรยายข้างล่างนี้้

หลังจากที่ละครเขมรกลับจากปารีสแล้ว เจ้าอาณานิคมฝรั่งเศสก็ไม่ได้กำหนดให้ละครเขมรรุ่งเรืองอยู่ในวังดังแต่ก่อน สมเด็จพระศรีสวัสดิ์ถูกตัดทอนงบประมาณของสำนักพระราชวังลงทุกปีๆ โดยเฉพาะเรื่องละครซึ่งเคยมีคนในสังกัดอยู่ร่วมสามร้อย ถูกลอยแพไปจนหมด สุดท้ายเหลืออยู่แค่๑๒คน บทบาทของละครหลวง (ศัพท์เขมรเรียกละครพระราชทรัพย์-คือถือเสมือนเป็นทรัพย์สินส่วนพระองค์) ก็กลายเป็นแค่ผู้แสดงกล่อมอารมณ์ (Entertainer) เวลามีการจัดเลี้ยงในวัง แทนที่จะเป็นสัญญลักษณ์แห่งจิตวิญญาณ ในพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์ของเขมรดังแต่ก่อน
 
พวกละครที่แตกแพออกไป ส่วนใหญ่ก็จะไปหากินอยู่ในนครวัต ผมเชื่อแน่ว่าตัวละครเหล่านี้คงไม่ได้ประกอบวิชาชีพการแสดงโดยเป็นอิสระได้ ต้องสังกัดอยู่กับซุ้มมาเพียการท่องเที่ยว ไม่ซุ้มใดซุ้มหนึ่ง ซึ่งผมก็ขอเดาต่อว่า ตัวนายใหญ่ของมาเฟียเหล่านี้ก็ต้องเป็นคนฝรั่งเศส เผลอๆจะมีเอี่ยวกับพวกเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาลอาณานิคมด้วย
 
ก็มันเรื่องของผลประโยชน์ทั้งน้าน



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 149  เมื่อ 04 เม.ย. 11, 21:12

คลิปนี้พูดถึงสยามนิดหน่อย   ว่านาฏศิลป์ของเขมรมีมานับพันปีแล้ว  ใน(คริสต)ศตวรรษที่ 15   บวก 543 ปีเข้าไป ก็ประมาณ พ.ศ. 2100 กว่าๆ    สยามไปตีเขมรแล้วกวาดต้อนผู้คนเขามา   แต่ศิลปการร่ายรำของเขมรก็ยังเหลืออยู่ในเขมร
แล้วข้ามมาถึงรัชกาลพระเจ้าสีสวัสดิ์  ที่นำศิลปะไปแสดงที่ปารีส      ไม่ได้เอ่ยถึงการถ่ายทอดวัฒนธรรมจากไทยไปกัมพูชา

http://www.youtube.com/watch?v=csRRi_RIx5s&feature=player_embedded#at=74
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 8 9 [10] 11 12 ... 26
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.048 วินาที กับ 20 คำสั่ง