เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 7 8 [9] 10 11 ... 26
  พิมพ์  
อ่าน: 167586 ละครในราชสำนักสยามไปสู่ราชสำนักเขมร
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 120  เมื่อ 01 เม.ย. 11, 15:37

ความที่กระทู้นี้ฮิทติดลมแรง   อาจทำให้ผู้อ่านซึ่งยังไม่คุ้นกับกระทู้วิ่งเร็วของเรือนไทย อาจตามไม่ทัน
อยากจะขอให้คุณ siamese สรุปว่า ความคล้ายคลึงระหว่างนาฏศิลป์เขมรกับไทย (ในระยะ ๑๐๐ ปีมาจนถึงปัจจุบัน) มีการถ่ายทอดสู่กันอย่างไร แบบไหน
ดิฉันไม่มีอะไรจะเสริมมากไปกว่ารูปภาพนักเรียนนาฏศิลป์เขมรในปัจจุบัน     กำลังฝึกรำกันอยู่   ท่ารำพวกเขา คุณ siamese พอจะดูออกไหมว่าเหมือนท่ารำอะไรของเราบ้าง

ความแตกต่างของนาฏศิลป์ไทยและนาฏศิลป์กัมพูชานั้น ก็แล้วแต่ว่าจะมองกันอย่างไร เรามองเขา หรือ เขามองเรา ในส่วนที่เรามองเขา จะเห็นลักษณะนาฏศิลป์กัมพูชาจะรำ “แอ่น”, “รำช้า” และ “หนัก” แต่ “งาม”

ในขณะที่เขามองเรา จะเห็นว่านาฏศิลป์ไทยรำได้ “เก๋” ด้วยลีลาเบาและไวกว่า

นอกจากนี้นาฏศิลป์ของกัมพูชานั้นเมื่อชมแล้วจะเกิดอาการขลังเพิ่มเข้ามา ด้วยดนตรีที่บรรเลงประกอบและบทร้องอย่างภาษาเขมร ทำให้เกิดสุนทรียสะกดคนดูได้มากว่า การรำที่ “ช้า” และ “หนัก” ตามที่ได้กล่าวไว้ทำให้นักแสดงแต่ละคนจับจังหวะได้อย่างพร้อมเพรียงกัน จะเห็นว่าการรำแต่ละครั้งจะใช้นักแสดงมากกว่าของไทย ดังนั้นการรำที่ช้า จึงออกมาในลักษณะที่พร้อมเพรียง ทำให้สะกดสายตาจากผู้ชมได้ถึงความพร้อมเพรียงกัน

การพัฒนาในรอบ ๑๐๐ ปีที่ผ่านมาของนาฏศิลป์ทั้งสองประเทศนั้น ฝั่งไทยได้รับการพัฒนาทั้งรูปแบบเครื่องแต่งกายและดนตรี เช่น พระบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ได้ทรงประพันธ์บทเพลงไว้มากมาย, กรมศิลปากรก็ได้จัดทำท่ารำมาตรฐาน ชุดยืนเครื่องมาตรฐานเพื่อเป็นแม่แบบใน พ.ศ. ๒๔๙๘ เป็นต้น ทำให้นาฏศิลป์ไทยมีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ผิดกับทางฝ่ายกัมพูชา ที่ช่วงยุคทองในอดีตได้หยุดชักลง และคนในรุ่นต่อมาได้หวนสืบทอดตามแบบฉบับเดิม อาจจะมีการเปลี่ยนไปแต่ก็ไม่มาก

“ถึงอย่างไรก็ไม่เหมือนกัน” แม้ว่าต้นสายธารมาจากที่เดียวกัน แต่กาลเวลาและสถานที่ทำให้รูปแบบนาฏศิลป์แปรเปลี่ยนไป ไทยมีการไหว้ เขมรก็มีการไหว้ แต่ลีลา ท่วงท่าต่างกัน การรำนาฏศิลป์ก็เช่นเดียวกันแล้วแต่ใครมองใคร

หากมองในลักษณะท่ารำนั้น ก็คล้ายกัน คือ
ศีรษะตรง-เอียงขวา-เอียงซ้ายเหมือนกัน, ท่ารำในส่วนของการจีบมือก็คล้ายกัน มีการก้าวข้าง, ยกขา, กระดกขา, คุกเข่า, หลบเหลี่ยม, ประสมเท้า, เหลื่อมเท้า คล้ายกัน
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 121  เมื่อ 01 เม.ย. 11, 15:59

ครูผู้รู้ฝ่ายไทยมักตั้งข้อสังเกตว่าการแสดงของเขมรนั้นมักรำไม่ครบท่า ไม่ครบเพลง ไม่ครบเครื่อง สัดส่วนมงกุฎไม่งาม เมื่อเทียบกับฝั่งไทย และโดยเฉพาะโขนนั้น ตัวยักษ์ชั้นสูงและลิงชั้นสูงไม่น่าเกรงขาม คงได้ครูยักษ์และลิงชั้นรองจากไทยไปฝึกสอน แต่กระนั้นนาฏศิลป์กัมพูชายังคงมีลักษณะเฉพาะของตัวเองและมีความน่าสนใจเป็นอันมาก ลักษณะเฉพาะที่น่าสนใจประการหนึ่งนั้นก็คือสามารถรักษาลักษณะเก่าแก่บางประการของละครไทยเอาไว้ได้

ชาวไทยโดยทั่ว ๆ ไปโดยมากที่ได้ชมนาฏศิลป์กัมพูชามักให้ความเห็นว่ารำแอ่นเกินไป แต่นี่เป็นลักษณะดั้งเดิมของนาฏศิลป์ไทยสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ที่เขมรยังรักษาเอาไว้ ขณะที่ครูรำไทยเห็นว่าเขมรนั้นรำช้า หนัก ขณะที่ของไทยนั้นเร็วและเบากว่า ครูรำเขมรก็ให้ความเห็นเช่นเดียวกัน ครูไทยบางท่านก็ว่าไทยนั้น "รำเก๋" ส่วนเขมรนั้น "รำงาม" การร่ายรำที่เชื่องช้าและมั่นคงของเขมรผนวกกับดนตรีประกอบนั้นเองสร้างมนต์ขลังให้คนดู บังเกิดความศักดิ์สิทธิ์ที่สามารถสื่อกันได้ระหว่างผู้แสดงและผู้ชม

ความงามทางสุนทรียะเหล่านี้ทำลายกำแพงขวางกั้นทางวัฒนธรรม คนต่างชาติต่างวัฒนธรรมเมื่อได้ชมก็เห็นว่างามหลาย ลักษณะการแสดงออกของตัวละครเขมรนั้นบางทีก็ดูเป็นโบราณกว่าของไทย เนื่องจากสังคมเขมรทุกวันนี้ยังไม่มีความเจริญทางวัตถุมากเหมือนไทยในปัจจุบัน ดังนั้นจึงรักษาอารมณ์คนโบราณได้ดีกว่า

ลักษณะของการร่ายรำที่เชื่องช้าทำให้นางรำเขมรรำได้พร้อมเพรียงกันราวกับมีลมหายใจอันเดียวกัน หากชมระบำหมู่จะพบว่าการตั้งมือตั้งไม้เท่ากันหมดแสดงให้เห็นการฝึกซ้อมด้วยกันเป็นอย่างดี ขณะที่ผู้เขียนไม่พบลักษณะเช่นนี้ในนาฏศิลป์ไทย

เครื่องละครเขมรเมื่อดูบนเวทีอาจดูอับแสงกว่าเครื่องละครไทย เนื่องจากใช้เพชรน้อยและเม็ดเล็กกว่า แต่เมื่อหยิบมาดูใกล้ ๆ แล้วจะเห็นฝีมือเชิงช่างที่แสดงความสามารถในการปักเครื่องที่ยังรักษาไว้ได้ดี เราอาจเห็นเค้ารอยบางอย่างในละครเขมรที่เคยเป็นของไทย ขณะที่ไทยเราปัจจุบันไม่ได้รักษาลักษณะเช่นนี้แล้ว ในการสวมเครื่องละครบางชิ้น เช่น ดอกไม้ปลายมือ ปะวะหล่ำกำไลข้อมือข้อเท้าเต็มเครื่องเหมือนละครไทยโบราณ

 ยิงฟันยิ้ม




บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 122  เมื่อ 01 เม.ย. 11, 21:11

รัชกาลที่ ๓

๑. หลักฐานเพิ่มเติมเกี่ยวกับการถ่ายโอนระหว่างนาฏศิลป์จากราชสำนักสยาม สู่ ราชสำนักเขมร เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๓ โดยเจ้าพระยาบดินทรเดชา เดิมหัดโขนให้เล่นละครผู้ชาย ต่อมาจึงหัดละครหญิง เมื่อได้ไปขัดตาทัพที่เมืองอุดงค์มีไชย กรุงกัมพูชาได้พาละครผู้หญิงไปด้วย และได้หัดละครผู้หญิงให้สมเด็จพระหริรักษ์ (นักพระองค์ด้วง) กัมพูชาซึ่งเดิมมีละครนอกสมัยรัชกาลที่ ๑ จึงมีละครใน (ละครหญิง) ตั้งแต่นั้น

๒. ครูละคร "นายแสง" เป็นตัวนายโรงละครเจ้าจอมมารดาอัมพา ได้ออกไปเป็นครูละครสมเด็จพระนโรดมในกรุงกัมพูชา

๓. "นายเพ็ง" เป็นตัวนางวิยะดา ละครกรมหลวงรักษรณรักษ์ ได้ออกไปเป็นครูละครกรมหมื่นมเหศวรศิววิลาศ และได้ออกไปเป็นครูละครสมเด็จพระนโรดมในกรุงกัมพูชา

๔. "เรือง" เป็นตัวนางศุภลักษณ์ ละครผู้หญิงของเจ้าพระยาบดินทรเดชา ไปเป็นครูละครสมเด็จพระนโรดมในกรุงกัมพูชา

๕. "อิ้ว" เป็นตัวนางบุษบา ละครผู้หญิงของเจ้าพระยาบดินทรเดชา ไปเป็นครูละครเจ้าพระยาคฑาธรธรรมณินทร์ ที่เมืองพระตะบอง

....อ้างถึงวิวัฒนาการนาฏศิลป์ไทยในกรุงรัตนโกสินทร์ หน้า ๑๓๔ - ๑๓๖
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 123  เมื่อ 01 เม.ย. 11, 21:53

รัชกาลที่ ๕

มีปรากฎครูละครผู้หญิงวังหน้า ๒ ท่าน

๑. "ปริง" อินเหนา ก่อนไปเป็นครูละครสมเด็จพระศรีสวัสดิ์ กรุงกัมพูชา

๒. "เล็ก" สังคามาระตา ต่อมาเป็นครูละครสมเด็จพระศรีสวัสดิ์ กรุงกัมพูชา

ละครในภูมิภาค

๑.ละครของเจ้าพระยาคฑาธรธรณินทร์ (เยีย) เจ้าเมืองพระตะบอง
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 124  เมื่อ 03 เม.ย. 11, 09:44

กระทู้นิ่งไประยะนึงแล้ว สมควรที่ผมจะออกมาสลับฉาก
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 125  เมื่อ 03 เม.ย. 11, 09:46

หลังจากที่ละครเขมรกลับจากปารีสแล้ว เจ้าอาณานิคมฝรั่งเศสก็ไม่ได้กำหนดให้ละครเขมรรุ่งเรืองอยู่ในวังดังแต่ก่อน สมเด็จพระศรีสวัสดิ์ถูกตัดทอนงบประมาณของสำนักพระราชวังลงทุกปีๆ โดยเฉพาะเรื่องละครซึ่งเคยมีคนในสังกัดอยู่ร่วมสามร้อย ถูกลอยแพไปจนหมด สุดท้ายเหลืออยู่แค่๑๒คน บทบาทของละครหลวง (ศัพท์เขมรเรียกละครพระราชทรัพย์-คือถือเสมือนเป็นทรัพย์สินส่วนพระองค์) ก็กลายเป็นแค่ผู้แสดงกล่อมอารมณ์ (Entertainer) เวลามีการจัดเลี้ยงในวัง แทนที่จะเป็นสัญญลักษณ์แห่งจิตวิญญาณ ในพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์ของเขมรดังแต่ก่อน
 
พวกละครที่แตกแพออกไป ส่วนใหญ่ก็จะไปหากินอยู่ในนครวัต ผมเชื่อแน่ว่าตัวละครเหล่านี้คงไม่ได้ประกอบวิชาชีพการแสดงโดยเป็นอิสระได้ ต้องสังกัดอยู่กับซุ้มมาเพียการท่องเที่ยว ไม่ซุ้มใดซุ้มหนึ่ง ซึ่งผมก็ขอเดาต่อว่า ตัวนายใหญ่ของมาเฟียเหล่านี้ก็ต้องเป็นคนฝรั่งเศส เผลอๆจะมีเอี่ยวกับพวกเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาลอาณานิคมด้วย
 
ก็มันเรื่องของผลประโยชน์ทั้งน้าน




บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 126  เมื่อ 03 เม.ย. 11, 09:48

เอาละครับ คราวที่แล้วผมค้างเรื่องไว้ที่ปฏิกิริยาลูกโซ่จากงานเอ๊กซโปครั้งแรก เรากลับมาต่อเรื่องนี้กัน

ภาพเขียนของโรแด็งส์ชุดที่วาดนางละครของเขมรไว้ ถูกนำไปจัดแสดงในเมืองต่างๆของฝรั่งเศส และยุโรป ได้ไปกระตุ้นต่อมคิดของศิลปินด้านการแสดงหลายคน ให้เกิดจินตนาการถึงระบำเขมรในรูปแบบของบัลเล่ย์ อันเป็นศิลปวัฒนธรรมแท้ๆในจิตวิญญาณของฝรั่ง
ศิลปะมี๒รูปแบบ คือแบบคลาสสิก หรือแบบแผนตามโบราณนิยมของแท้ กับแบบร่วมสมัย อันเกิดจากความเบื่อหน่ายรูปแบบคลาสสิกที่ไม่เข้ากันนักกับรสนิยมที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาตามสิ่งแวดล้อม

นาฏศิลป์ก็เช่นกัน  ระบำแบบคาสสิกของเขมร แม้จะสร้างความตื่นตาให้กับฝรั่งได้ ก็ในครั้งแรกๆที่ได้เห็น แต่จะให้ดื่มด่ำดังเช่นโอเปร่าหรือบัลเล่ห์ของเขา เห็นจะเป็นไปไม่ได้ ฝรั่งแค่มามุงดูเพราะเป็นของแปลก และส่วนใหญ่จบแล้วก็แล้วกัน
ทว่าละครเขมรไปครั้งนั้นก็ไม่ได้จางหายไปในระยะเวลาอันสั้น เพราะฝรั่งได้ความบันดาลใจไปสร้างสรรระบำเขมรที่ผู้ชม “เข้าถึง” ได้ง่ายกว่าของแท้

ระบำเขมร สวมวิญญาณฝรั่ง ร่ายรำโดยฝรั่งพวกนี้ ผลัดกันวนเวียนอยู่บนเวทีทั้งที่ปารีส ลอนดอน และนิวยอร์ค ในระยะต่อมานับสิบๆปี สร้างภาพลักษร์ที่ดีให้แก่เขมร ในขณะที่ละคร “คิงแอนด์ไอ” ก็เริ่มฮิตติดอันดับโลก





บันทึกการเข้า
nakor
อสุรผัด
*
ตอบ: 25


ความคิดเห็นที่ 127  เมื่อ 03 เม.ย. 11, 09:51

ระบำอัปสรา พร้อมคำบรรยายชื่อเพลงไทยที่นำมาบรรเลงประกอบ





ยิงฟันยิ้ม

ระบำชุดนี้ถือว่านางรำไม่ค่อยสันทัดนะครับ จากที่เคยดูๆ มา เหมือนคนเพิ่งหัดรำ

ภาพบางภาพของเขมรที่นำมาอ้าง บางภาพนั้นเหมือนเป็นเด็กที่รำในโรงเรียนเด็กกำพร้า หรือกลุ่มเด็กที่มารำโชว์นักท่องเที่ยวหรือผู้บริจาค

ก็จะดูแตกต่างจากท่าที่เหมาะสมถูกต้องของระบำราชสำนักเขมร ดังนั้นพึงระวังนิดหนึ่ง

อีกประการที่อยากแนะนำคือ เมื่อตั้งท่ารำแล้ว ของเขมรจะเห็นเส้นโค้ง S curve จากการมองจากด้านข้างของลำตัว

หากมองข้างหน้าจะไม่เห็นเส้นโค้งนี้ชัดเจน และเส้นนี้เองทำให้นางรำเขมรแอ่น

แต่ของไทย เส้น S จะมองเห็นจากการมองทางด้านหน้าผู้รำ นางรำไทยจึงเอียงตัวมากกว่านางรำเขมร
  
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 128  เมื่อ 03 เม.ย. 11, 09:54

สรุปในสลับฉากตอนนี้

ไม่ต้องบอกก็ได้ว่า ผลกระทบในเรื่องของภาพพจน์ดังกล่าว ส่งผลอย่างไร
ในสายตาฝรั่งชาวบ้านสมัยนั้น เขมรกับสยาม ประเทศไหนจะศิวิไลซ์กว่ากัน


ความรู้สึกดังกล่าว มีอิทธิพลต่อความคิดทางการเมืองด้วย ฝรั่งจึงไม่ลังเลที่จะเข้าข้างเขมรไว้ก่อน
โดยไม่สนใจจะทราบข้อเท็จจริงด้วยซ้ำ

แล้วจะกลับมาว่าต่อถึงที่มาของระบำอัปสรา ที่คุณnakorเอามาลงไว้ข้างบน
ใบ้ให้ก็ได้ว่า มีการเมืองแฝงอีก
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 129  เมื่อ 03 เม.ย. 11, 18:08

นิราศนครวัด พระนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ในบทที่  ๘ อยู่เมืองพนมเพ็ญครั้งหลัง ได้เสด็จไปทอดพระเนตรการแสดงละครของเขมร ซึ่งนิยมเล่นละครอย่างของไทย เรื่องพระสมุทร ทรงเล่าถึงการแต่งตัว เปรียบเทียบกับละครของไทยด้วย ก่อนเสด็จกลับยังได้พบกับคนไทยที่เคยเป็นครูละครหรือพนักงานในวังที่กรุงเทพฯ มาอาศัยในกัมพูชา ๓๐-๔๐ ปี ทรงเคยรู้จักหรือคุ้นเคยอยู่บ้าง



แล้วจะนำรายละเอียดมาเสนอ

 ยิงฟันยิ้ม

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 130  เมื่อ 03 เม.ย. 11, 21:43

เตรียมพวงมาลัยหน้าเวทีไว้ให้ชาวเรือนไทย สวมให้ท่านซุปตาร์     
พรุ่งนี้จะมาแยกซอย  เล่าเรื่องอัปสราและนครวัดจากหนังสือ "ถกเขมร" ของม.ร.ว.คึกฤทธิ์ให้ฟังค่ะ


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 131  เมื่อ 03 เม.ย. 11, 22:42

เข้ามามอบพวงมาลัยให้ด้วยอีกแรง  ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 132  เมื่อ 04 เม.ย. 11, 09:17

นิราศนครวัดที่จะเสนอต่อไปนี้ เป็นฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๕๑๕  ราคาเล่มละ ๔๐ บาท มีอยู่ทั้งหมด ๙  บท

ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของเราเป็นบทที่ ๘ อยู่เมืองพนมเพ็ญครั้งหลัง


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 133  เมื่อ 04 เม.ย. 11, 09:25

บทที่ ๘ อยู่เมืองพนมเพ็ญครั้งหลัง   เริ่มด้วยการแนะนำให้รู้จักสามพี่น้องชื่อคล้องกัน ๓ พระองค์

สมเด็จพระนโรดมทรงนามราชาวดี แล้วถึงสมเด็จพระศรีสวัสดิ์ แล้วจึงถึงพระองค์ไวยวัตถา



บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 134  เมื่อ 04 เม.ย. 11, 09:37

การเล่นของเขมรซึ่งควรจะพรรณนาโดยเฉพาะ มีเครื่องดนตรีบางอย่างเป็นต้นว่ากระจับปี่โบราณ ในเมืองไทยเลิกกันหมดแล้ว ที่เมืองเขมรเขายังเล่นอยู่ ซอสามสายก็ยังเล่น แต่ทำขนาดเล็กสักครึ่งขนาดซอสามสายของเรา ซออู้ซอด้วงนั้นต่อกันยาวขึ้นไปกว่าของเราสักคืบหนึ่ง สังเกตเพลงที่ทำเป็นเพลงเขมรทั้งนั้น


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 7 8 [9] 10 11 ... 26
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.11 วินาที กับ 20 คำสั่ง